๗. มหาสมัยสูตร เรื่องเทวสันนิบาต
[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 73
๗. มหาสมัยสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 14]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 73
๗. มหาสมัยสูตร
เรื่องเทวสันนิบาต
[๒๓๕] ข้าพเจ้าฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ป่าใหญ่ ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะ พร้อมกับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่เป็น พระอรหันต์. อนึ่ง พวกเทวดาโดยมากจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ก็มาประชุมกันเพื่อ ชมพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์. ครั้งนั้นแล พวกเทพชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้แล กําลังประทับอยู่ที่ป่าใหญ่ใกล้ กรุงกบิลพัลดุ์ในสักกชนบทพร้อมกับพระภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่ง ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น อนึ่ง พวกเทวดาโดยมากจาก ๑๐ โลกธาตุก็มาประชุมกันเพื่อชมพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ อย่ากระนั้นเลย แม้ พวกเราก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงกล่าวคาถาองค์ละหนึ่งคาถาในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้นแล พวกเทวดาเหล่านั้นก็หายตัวจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส แล้วปรากฏเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษที่มีกําลังพึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดออกฉะนั้น. ครั้งนั้น พวกเทวดาเหล่านั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. เทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งยืนอยู่แล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ได้กล่าวคาถานี้ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 74
[๒๓๖] การประชุมใหญ่มีในป่าใหญ่ หมู่เทพก็มาประชุมกันแล้ว เราทั้งหลายก็มาแล้วสู่ที่ประชุมธรรมนี้ เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ซึ่งไม่มีใครเอาชนะได้เลย.
[๒๓๗] ลําดับนั้นแล เทวดาอีกองค์หนึ่ง ก็ได้กล่าวคาถานี้ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เหล่าพระภิกษุในที่ประชุมนั้น มั่นคงได้ทําจิตของตนให้ตรงแล้ว เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย เหมือนสารถีจับเชือกทั้งหลายอยู่ ฉะนั้น.
[๒๓๘] ลําดับนั้นแล เทวดาอีกองค์หนึ่งก็ได้กล่าวคาถานี้ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พวกภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตาปูตัดกิเลส ดุจลิ่มสลักได้แล้ว ถอนกิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไร้ตัณหา หมดจด ไม่มีมลทินเที่ยวไป ท่านเป็นนาคหนุ่มมีดวงตา ฝึกฝนดีแล้ว.
[๒๓๙] ลําดับนั้นแล เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะแล้วซิ ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างของมนุษย์แล้ว จักทําให้ร่างเทพบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 75
[๒๔๐] ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดา ๑๐ โลกธาตุโดยมากมาประชุมกันแล้วเพื่อชมตถาคตและหมู่ภิกษุ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น แม้เหล่าใด ได้มีแล้วในอดีตกาล หมู่เทวดามาประชุมเพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้นก็มากเท่ากับของเรา เดี๋ยวนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จักมีในอนาคตกาล หมู่เทวดาที่จักเป็นผู้เข้าประชุมกัน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จะมากเท่ากับของเราเดี๋ยวนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักบอกชื่อของหมู่เทพทั้งหลาย เราจักระบุชื่อของหมู่เทพทั้งหลาย เราจักแสดงชื่อของหมู่เทพทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังการแสดงชื่อหมู่เทพทั้งหลายนั้น จงเอาใจใส่ให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น สนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสภาษิตนี้ว่า
ทรงประกาศนามเทวดา
[๒๔๑] เราจักร้อยกรองโศลก ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด ภิกษุก็อาศัยที่นั้น อาศัยซอกเขา ส่งตนไปแล้วมีจิตตั้งมั่น. เป็นจํานวนมาก เร้นอยู่เหมือนราชสีห์ ครอบงําความขนพอง สยองเกล้าเสียได้ มีใจผุดผ่อง เป็นผู้หมดจด ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว.
พระศาสดาทรงทราบภิกษุ ๕๐๐ รูปเศษในป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แต่นั้น จึงตรัส เรียกพระสาวกทั้งหลาย ผู้ยินดีในพระศาสนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 76
เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดาเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังพระดํารัสของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทําความเพียร.
ญาณเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์ได้ปรากฏแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกได้เห็นอมนุษย์ร้อยหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์พันหนึ่ง บางพวกได้เห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น บางพวกได้เห็นอมนุษย์หนึ่งแสน บางพวกได้เห็นไม่มีที่สุด อมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ.
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงใคร่ครวญทราบเหตุนั้นสิ้นแล้ว แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น เราจักบอกพวกเธอด้วยวาจาตามลําดับ ยักษ์ ๗,๐๐๐ เป็นภุมมเทวดา อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ ๖,๐๐๐ ที่อาศัยอยู่ในเขาเหมวัต มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ มุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 77
ยักษ์ ๓,๐๐๐ ที่อาศัยอยู่ที่เขาสาตาคีรี มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ เหล่านั้นรวมเป็น ๑๖,๐๐๐ ตน ซึ่งมีผิวพรรณแตกต่างกัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ ๕๐๐ อยู่ที่เขาวิศวามิตร มีผิวพรรณแตกต่างกัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ยักษ์ชื่อ กุมภีร์ อยู่ในกรุงราชคฤห์ อาศัยเขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ ยักษ์มากกว่าแสนไปเฝ้ายักษ์กุมภีร์นั้น แม้ยักษ์ชื่อกุมภีร์ อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์นั้น ก็ได้มาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ชื่อพวกเทพ จตุโลกบาล
[๒๔๒] ก็ท้าวธตรัฐปกครองทิศตะวันออก เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ ท้าวเธอเป็นมหาราช มียศ. แม้บุตรเป็นอันมากของท้าวเธอนั้น ชื่อว่าอินทร์ มีกําลังมาก มีฤทธิ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 78
มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ส่วนท้าววิรุฬห์ ปกครองทิศใต้ เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ท้าวเธอเป็นมหาราช มียศ. ถึงบุตรเป็นอันมาก ของท้าวเธอนั้น ก็ชื่อว่า อินทร์ มีกําลังมาก มีฤทธิ์มีอานุภาพ มีรัศมี ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ฝ่ายท้าววิรูปักษ์ ปกครองทิศตะวันตก เป็นอธิบดีของพวกนาค ท้าวเธอเป็นมหาราช มียศ. แม้บุตรเป็นอันมากของท้าวเธอนั้น ก็ชื่อว่า อินทร์ต่างมีกําลังมากมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
ท้าวกุเวร ปกครองด้านทิศเหนือ เป็นอธิบดีของพวกยักษ์ ท้าวเธอเป็นมหาราช มียศ. แม้บุตรเป็นอันมากของท้าวเธอนั้น ก็มีชื่อว่า อินทร์ มีกําลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ต่างก็ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 79
ท้าวธตรัฐปกครองทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกปกครองทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ปกครองทิศตะวันตก ท้าวกุเวรปกครองทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ องค์นั้น ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองประทับอยู่ในป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์.
บ่าวของท้าวโลกบาล
[๒๔๓] พวกบ่าวของมหาราชทั้ง ๔ องค์นั้นต่างมีมายาล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ คือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑ วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเศรษฐ์ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทวสูต ๑ มาตลี ๑ จิตรเสนผู้คนธรรพ์ ๑ นโฬราช ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา ๑
ราชาและคนธรรพ์เหล่านั้น และเหล่าอื่น พร้อมด้วยเทวราชทั้งหลาย ยินดีมุ่งหน้ากันมาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
อนึ่ง พวกนาคที่อยู่ในสระชื่อ นาสภะ และอยู่ในเมืองไพศาลี กับบริษัทแห่งตัจฉกะนาคราชก็มา พวกนาคตระกูลกัมพลและตระกูลอัสดรก็มา พวกนาคที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 80
อยู่ในท่าปายาคะ พร้อมกับหมู่ญาติก็มาพวกนาคในแม่น้ำยมุนา ตระกูลธตรัฐ ผู้มียศก็มา เอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่แม้นั้น ก็มาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
[๒๔๔] ปักษีเกิดสองครั้ง เป็นทิพย์ มีตาหมดจดนําพญานาคไปได้อย่างรวดเร็ว (คือพญาครุฑ) เหล่าใด พญาครุฑเหล่านั้นมาโดยเวหา ถึงท่ามกลางป่า ชื่อของพญาครุฑเหล่านั้นว่า จิตรสุบรรณ ในครั้งนั้น การอภัยได้มีแล้วแก่พวกพญานาคพระพุทธเจ้าได้ทรงกระทําความปลอดภัยจากสุบรรณแล้ว พวกนาคและพวกสุบรรณทักทายกันด้วยวาจาที่ไพเราะ ต่างกระทําพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะแล้ว.
พวกอสูรที่อาศัยสมุทร ซึ่งถูกพระอินทร์ปราบจนพ่ายแพ้แล้ว นาคและครุฑเหล่านั้นเป็นพี่น้องของท้าววาสวะ มีฤทธิ์ มียศ.
พวกอสูรตระกูลกาลกัญชา มีกายใหญ่น่ากลัว พวกอสูรตระกูลทานเวฆัส อสูรเวปจิตติ และอสูรสุจิตติปาราท กับนมุจี บุตรของอสูรพลี ๑๐๐ ซึ่งมีชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 81
ไพโรจน์ทั้งนั้น ผูกสอดเครื่องเสนา ที่ทรงพลัง เข้าไปหาราหุภัทร (อสุรินทราหู) แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวันประชุม แล้วก็เข้าไปสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทวนิกาย ๖๐
[๒๔๕] หมู่เทพพวกอาปะ พวกปฐวี พวกเตชะและพวกวายะ ก็มาในครั้งนั้นด้วยหมู่เทพพวกวรุณ พวกวารุณ พวกโสมะ พวกยสสะ หมู่เทพผู้เกิดด้วยเมตตาและกรุณา ผู้มียศ ก็มา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ มุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย
เทพพวกเวณฑู พวกสหลี พวกโสมะและพวกยมทั้ง ๒ พวก เทพที่อาศัยพระจันทร์ ทําพระจันทร์เป็นเบื้องหน้าก็มา.
พวกเทพที่อาศัยสุริยะ ทําสุริยะเป็นเบื้องหน้าก็มา พวกเทพทํานักษัตรทั้งหลาย เป็นเบื้องหน้า พวกเทพมันทพลาหกก็มา แม้ท้าวสักกะ วาสวะ ผู้ให้ทานเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 82
กาลก่อน ผู้ประเสริฐกว่าพวกอสูรเทพก็เสด็จมา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศยินดี มุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทพพวกสหภู ซึ่งรุ่งเรืองปานเปลวเพลิง เทพพวกอริฏฐกะ และพวกโรชะ มีรัศมีเหมือนสีดอกผักตบ เทพพวกวรุณ พวกสหธรรม พวกอัจจุตะ พวกอเนชกะและสุไลยรุจิระ ก็มา พวกวาสวเนสิน ก็มา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทพพวกสมาน พวกมหาสมาน พวกมานุสะ พวกมานุสุตะ พวกขิฑฑาปทูสิกะ พวกมโนปทูสิกะ ก็มา อนึ่ง เทพพวกหริก็มา พวกเทพซึ่งชื่อโลหิตวาสี เทพพวกปารัค และพวกมหาปารัคผู้มียศ ก็มา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 83
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทพพวกสุกกะ พวกกรุมหะ พวกอรุณ พวกเวฆนัส ก็มาด้วยกัน เทพพวกโอทาตคัยห์ ซึ่งเป็นหัวหน้า พวกวิจักษณ์ พวกสทามัตต์ พวกหารคัช และพวกมิสสัก ผู้มียศ ก็มา เทพผู้ซึ่งคํารามให้ฝนตกทั่วทิศก็มา.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวกทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
เทพพวกเขมีย์ พวกดุสิต พวกยามะและพวกกัฏฐักผู้มียศ พวกลัมพิตัก พวกลามเศรษฐ์ พวกโชตินาม พวกอาสวะและพวกนิมมานรดี ก็มา อนึ่ง พวกปรนิมมิต ก็มาด้วย.
หมู่เทพ ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก โดยทั้งหมดล้วนแต่มีผิวพรรณต่างๆ กันมีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 84
หมู่เทพ ๖๐ หมู่นี้ล้วนแต่มีผิวพรรณต่างๆ กัน มาแล้วโดยส่วนแห่งชื่อ และเทพเหล่าอื่น ก็มา เช่นเดียวกัน ด้วยคิดว่าพวกเราจักเฝ้าพระมหานาคผู้ปราศจากชาติผู้ไม่มีกิเลสดุจตาปู ผู้ข้ามห้วงน้ำได้แล้ว ผู้ไร้อาสวะ ผู้ข้ามจากกิเลสที่เปรียบเหมือนห้วงน้ำ ผู้ก้าวล่วงกรรมดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น.
พวกพรหม
[๒๔๖] สุพรหม และปรมัตตะ ผู้เป็นบุตรของผู้มีฤทธิ์ก็มาด้วย สนังกุมารพรหมและติสสพรหม แม้เขาก็มาสู่ป่า ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย.
มหาพรหมย่อมปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง เป็นอุปปาติกะ มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา.
พวกพรหม ๑๐ องค์ ผู้เป็นอิสระในพรหมโลกพันหนึ่งนั้น ผู้มีอํานาจเป็นไปเฉพาะผู้เดียวก็มา และพรหมชื่อหาริตะ อันพวกบริวารแวดล้อมแล้วก็มา ในท่ามกลางแห่งพรหมเหล่านั้น.
และกองทัพมาร ได้เห็นพวกเทพพร้อมกับพระอินทร์ทั้งหมดนั้น ก็มาด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 85
แล้วกล่าวว่า ท่านจงดูความเขลาของมารพวกท่านจงมาจับผูกไว้ จงผูกด้วยราคะ จงล้อมไว้โดยรอบ พวกท่านอย่าปล่อยให้ใครไปได้.
แม่ทัพ บังคับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้ แล้วก็เอาฝ่ามือตบพื้นดิน ทําเสียงอย่างน่ากลัวเหมือนเมฆ ทําให้ฝนตกคํารามอยู่ เป็นไปกับฟ้าแลบ.
ในเวลานั้น พญามารนั้น ไม่ทําให้ใครเป็นไปในอํานาจของตนได้ เดือดดาลแล้วกลับ ไป พระศาสดาผู้มีดวงตา ทรงพิจารณาจนทราบเนื้อความนั้นหมดสิ้นแล้ว แต่นั้นจึงตรัสเรียกพวกพระสาวกผู้ยินดีในพระศาสนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กองทัพมารมุ่งหน้ามา พวกท่านจงรู้จักพวกเขาไว้ ก็ภิกษุเหล่านั้น ฟังพระดํารัสของพระพุทธเจ้าแล้ว กองทัพมารหลีกไปจากพวกพระภิกษุ ผู้ปราศจากราคะแล้วไม่ทํา แม้ขนของพวกท่านให้หวั่นไหวได้ สาวกทั้งหมดของพระองค์ ชนะสงความแล้วล่วงความกลัวเสียได้แล้ว เป็นผู้มียศปรากฏแล้ว ในที่ประชุมชน บันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้าทั้งหลายแล.
จบ มหาสมัยสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 86
อรรถกถามหาสมัยสูตร
มหาสมัยสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
ต่อไปนี้เป็นการพรรณนาตามลําดับบทในมหาสมัยสูตรนั้น. บทว่า ในแคว้นของพวกชาวสักกะ ความว่า ชนบทแม้แห่งเดียวเป็นที่อยู่แห่งพระราชกุมารที่ได้พระนามว่าสักกะเพราะอาศัยพระอุทานว่า ท่าน! พวกเด็กช่างเก่งแท้ตามนัยแห่งการเกิดขึ้นที่กล่าวไว้ในอัมพัฏฐสูตร ก็เรียกว่า สักกะทั้งหลาย ในชนบทของพวกชาวสักกะนั้น. บทว่า ที่ป่าใหญ่ คือในป่าใหญ่ที่เกิดเองมิได้ปลูกไว้ ติดต่อเป็นอันเดียวกันกับหิมพานต์. บทว่า ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด คือผู้สําเร็จพระอรหัตในวันที่ตรัสพระสูตรนี้เอง. ต่อไปนี้เป็นลําดับถ้อยคํา
เล่ากันมาว่า ชาวศากยะและโกลิยะ ช่วยกันกั้นแม่น้ำชื่อโรหิณีในระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะด้วยเขื่อนเดียวเท่านั้นแล้วหว่านกล้า. ต่อมาในต้นเดือนเจ็ด เมื่อกล้ากําลังเหี่ยว พวกคนงานของชาวเมืองทั้งสองก็ประชุมกัน. ในที่ประชุมนั้น พวกชาวเมืองโกลิยะพูดว่า น้ำนี้เมื่อถูกทั้งสองฝ่ายนําเอาไป (ใช้) พวกคุณก็จะไม่พอ พวกฉันก็จะไม่พอ แต่กล้าของพวกฉันจะสําเร็จด้วยน้ำ แต่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ขอให้พวกคุณจงให้น้ำแก่พวกฉันเถิดนะ ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดว่า เมื่อพวกคุณใส่ข้าวจนเต็มยุ้งแล้ว พวกฉันจะเอาทองแดงมณีเขียวและกหาปณะดํา มีมือถือกะบุงและไถ้เป็นต้น เดินไปใกล้ประตูบ้านของพวกคุณก็ไม่ได้ ถึงข้าวกล้าของพวกฉันก็จะสําเร็จด้วยน้ำครั้งเดียวเหมือนกัน ขอให้พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกฉันเถิดนะ พวกฉันให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 87
ไม่ได้. ถึงพวกฉันก็ให้ไม่ได้. เมื่อทะเลาะกันลามปามอย่างนี้แล้ว คนหนึ่งก็ลุกไปตีคนหนึ่ง แม้คนนั้นก็ตีคนอื่น ต่างทุบตีกันและกันอย่างนี้แล้วก็ทะเลาะกันลามปามจนเกี่ยวโยงไปถึงชาติของพวกราชตระกูลด้วยประการฉะนี้.
พวกคนงานฝ่ายโกลิยะ พูดว่า พวกแกจงพาเอาพวกชาวกบิลที่ร่วมสังวาสกับพี่น้องสาวของตนเหมือนกับพวกสุนัขและหมาจิ้งจอกเป็นต้นไป ต่อให้ ช้าง ม้า และโล่ และอาวุธของพวกนั้นก็ทําอะไรพวกข้าไม่ได้. พวกคนงานฝ่ายศากยะก็พูดบ้างว่า พวกแกก็จงพาเอาเด็กขี้เรือน ซึ่งเป็นพวกอนาถาหาคติมิได้ อยู่ใต้ไม้กระเบาเหมือนพวกดิรัจฉานไปเดี๋ยวนี้ ต่อให้ช้าง ม้า และโล่ และอาวุธของพวกนั้นก็ทําอะไรพวกข้าไม่ได้หรอก. ครั้นพวกเหล่านั้นกลับไปแล้วก็แจ้งแก่พวกอํามาตย์ที่เกี่ยวกับงานนั้น. พวกอํามาตย์ก็กราบทูลพวกราชตระกูลจากนั้นพวกเจ้าศากยะก็ว่า พวกเราจะแสดงความเข้มแข็งและกําลังของเหล่าผู้ร่วมสังวาสกับพี่สาวน้องสาวแล้วก็เตรียมยกทัพไป. ฝ่ายพวกเจ้าโกลิยะก็ว่าพวกเราจะแสดงความเข้มแข็งและกําลังของเหล่าผู้อยู่ใต้ต้นกระเบา แล้วก็เตรียมยกทัพไป.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเวลาใกล้รุ่งนั้นเอง เสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ เมื่อทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นพวกเหล่านี้ กําลังเตรียมยกทัพไปอย่างนี้ ครั้นทรงเห็นแล้วก็ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า เมื่อเราไป การทะเลาะนี้จะสงบหรือไม่หนอ ได้ทรงทําการสันนิษฐานว่า เมื่อเราไปที่นั้นแล้วจะแสดงชาดกสามเรื่อง เพื่อระงับการทะเลาะกัน แต่นั้นการทะเลาะกันก็จะสงบ ต่อจากนั้น เพื่อประโยชน์การส่องถึงความพร้อมเพรียงกัน เราจะแสดงอีกสองชาดกแล้วแสดงถึงเรื่อง อัตตทัณฑสูตร เมื่อชาวเมืองทั้งสองได้ฟังเทศน์แล้ว จะให้เด็กฝ่ายละสองร้อยห้าสิบคน เราจะให้เด็กเหล่านั้นบวช ทีนั้น การประชุมใหญ่ก็จะมี เพราะเหตุนั้น ขณะที่พวกเหล่านั้นกําลังเตรียมยกทัพออกไป ไม่ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 88
แจ้งใครๆ พระองค์เองนั่นแหละเสด็จถือบาตร จีวร ไปขัดบัลลังก์ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีหกสีที่อากาศระหว่างกองทัพทั้งสอง.
พอชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าเท่านั้น ก็คิดว่าพระศาสดาพระญาติประเสริฐของพวกเราเสด็จมาแล้ว พระองค์ทรงเห็นความที่พวกเรากระทําการทะเลาะกันหรือหนอ แล้วคิดว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว พวกเราจะให้ศัสตราถึงสรีระผู้อื่นไม่ได้อย่างเด็ดขาด แล้วก็ทิ้งอาวุธนั่งไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. แม้พวกชาวเมืองโกลิยะ ก็คิดเหมือนกันอย่างนั้นแหละ พากันทิ้งอาวุธนั่งไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ทั้งที่ทรงทราบอยู่เทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสถามว่า มหาบพิตร ! พวกพระองค์เสด็จมาทําไม. พวกเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พวกข้าพระองค์เป็นผู้มาที่นี้ไม่ใช่เพื่อเล่นที่ท่าน้ำ ไม่ใช่เพื่อเล่นที่ภูเขา ไม่ใช่เพื่อเล่นแม่น้ำ ไม่ใช่เพื่อชมเขา แต่มารบกัน. มหาบพิตร ! เพราะอาศัยอะไร พระองค์จึงทะเลาะกัน. น้ำ พระพุทธเจ้าข้า. น้ำมีค่าเท่าไร มหาบพิตร มีค่าน้อยพระเจ้าข้า. ชื่อว่าแผ่นดิน มีค่าเท่าไร มหาบพิตร หาค่ามิได้พระเจ้าข้า. ชื่อว่าพวกกษัตริย์มีค่าเท่าไร มหาบพิตร ชื่อว่าพวกกษัตริย์หาค่ามิได้ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มหาบพิตร! พวกพระองค์อาศัยน้ำที่มีค่าน้อยแล้วมาทําให้พวกกษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ ฉิบหาย เพื่ออะไร แล้วตรัสว่า ในการทะเลาะกัน ไม่มีความชื่นใจ มหาบพิตรทั้งหลาย ! ด้วยอํานาจการทะเลาะกันความเจ็บใจที่รุกขเทวดาคนหนึ่งผู้ทําเวรในที่ที่ไม่น่าเป็นไปได้แล้วผูกไว้กับหมีได้ติดตามไปตลอดกัปทั้งสิ้น แล้วตรัสชาดกเรื่องต้นสะคร้อ. ต่อจากนั้นตรัสอีกว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ! ไม่พึงเป็นผู้แตกตื่น เพราะฝูงสัตว์สี่เท้าในป่าหิมพานต์ซึ่งกว้างทั้งสามพันโยชน์ แตกตื่นเพราะคําพูดของกระต่ายตัวหนึ่งได้แล่นไปจนถึงทะเลหลวง เพราะฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้แตกตื่น แล้วตรัสชาดก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 89
เรื่องแผ่นดินถล่ม ต่อจากนั้นตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ! บางทีแม้แต่ผู้ที่อ่อนกําลังก็ยังเห็นช่องผิดของผู้มีกําลังมากได้ บางทีผู้มีกําลังมาก ก็เห็นช่องพิรุธของผู้อ่อนกําลังได้ จริงอย่างนั้น แม้แต่นางนกมูลไถ ก็ยังฆ่าช้างได้ แล้วตรัสชาดกเรื่องนกมูลไถ. เมื่อตรัสชาดกทั้งสามเรื่องเพื่อระงับการทะเลาะกันอย่างนี้แล้ว เพื่อประโยชน์การส่องถึงความพร้อมเพรียงกัน จึงตรัสชาดก (อีก) สองเรื่อง. ตรัสอย่างไร ตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ! ก็ใครๆ ไม่สามารถเพื่อจะเห็นช่องผิดของพวกผู้พร้อมเพรียงกันได้ แล้วตรัสรุกขธัมมชาดก. จากนั้นตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจเห็นช่องผิดของเหล่าผู้พร้อมเพรียงกันได้ แต่เมื่อพวกเขาได้ทําการวิวาทกันและกัน เมื่อนั้นลูกพรานก็ฆ่าพวกนั้นถือเอาไป ขึ้นชื่อว่าความชื่นใจ ย่อมไม่มีในการวิวาทกัน แล้วตรัสชาดกเรื่องนกคุ่ม ครั้นตรัสชาดกทั้ง ๕ เรื่อง เหล่านี้เสร็จแล้ว สุดท้ายตรัสเรื่องอัตตทัณฑสูตร.
พระราชาทั้งหลายทรงเลื่อมใส ตรัสว่า หากพระศาสดาจักมิได้เสด็จมา พวกเราก็จะฆ่ากันเองด้วยมือของตนแล้วทําให้แม่น้ำเลือดไหลไป พวกเราจะไม่พึงเห็นลูกและพี่น้องของเราที่ประตูเรือน พวกเราจะไม่ได้มีแม้แต่ผู้สื่อสารโต้ตอบกัน พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยพระศาสดา ก็ถ้าพระศาสดาจะทรงครองเรือน ราชสมบัติในทวีปใหญ่สี่อัน มีทวีปน้อย สองพันเป็นบริวาร ก็คงจะได้อยู่ในอุ้งพระหัตถ์ของพระองค์ ก็ลูกๆ ของพวกเราตั้งพันกว่าคน ก็จะได้มี และแต่นั้นพระองค์ก็จะมีกษัตริย์เป็นบริวารท่องเที่ยวไป แต่พระองค์มาทรงละสมบัตินั้นแล้วทรงออกไปบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว ถึงบัดนี้ก็ขอให้จงทรงมีกษัตริย์เป็นบริวารเที่ยวไปนั่นเทียว. กษัตริย์ชาวสองพระนครก็ได้ถวายพระกุมารฝ่ายละสองร้อยห้าสิบองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระกุมารเหล่านั้น ทรงผนวชแล้ว ก็เสด็จไปป่าใหญ่ เพราะความที่ท่านเหล่านั้นเคารพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 90
อย่างหนัก ความไม่ยินดีจึงได้เกิดแก่พวกท่านผู้ซึ่งมิได้บวชตามความพอใจของตน. แม้พวกภรรยาเก่าของท่านเหล่านั้นก็พูดคําเป็นต้นว่า ขอให้พระลูกเจ้าทั้งหลายจงสึกเถิด การครองเรือนจะทรงอยู่ไม่ได้ แล้วก็ส่งข่าวไป. พวกท่านก็ยิ่งกระสันหนักขึ้นอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ก็ทรงทราบความไม่ยินดีของพวกท่านเหล่านั้นทรงคิดว่า พวกภิกษุเหล่านี้อยู่ร่วมกันกับพระพุทธเจ้าเช่นเรา ยังกระสัน ถ้าไฉนเราจะกล่าวยกย่องสระดุเหว่าแก่พวกเธอแล้วก็ทรงพาไปที่นั้น ทรงคิดว่า เราจะบรรเทาความไม่ยินดี จึงทรงกล่าวคุณของสระดุเหว่า. พวกภิกษุได้เป็นผู้อยากเห็นสระนั้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอเป็นผู้อยากจะเห็นสระดุเหว่าหรือ. พวกภิกษุกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. ถ้าอย่างนั้น มา พวกเราไปกัน. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! พวกข้าพระองค์จะไปสู่ที่สําหรับไปของพวกท่านผู้มีฤทธิ์ได้อย่างไร. พวกเธอเป็นผู้อยากไปสระนั้น เราจะพาไปด้วยอานุภาพของเราเอง. ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหาะไปในอากาศลงที่ใกล้สระดุเหว่า และตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ที่สระดุเหว่านี้ ใครไม่รู้จักชื่อพวกปลา ก็จงถามเรา. ท่านเหล่านั้นทูลถามแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกสิ่งที่ภิกษุถามแล้วถามอีก. และไม่ใช่แต่ชื่อพวกปลาเท่านั้น ยังให้ถามถึงชื่อของต้นไม้ทั้งหลายในราวป่านั้นด้วย ของสัตว์สองเท้า สี่เท้า และนกในเชิงเขาด้วย แล้วก็ทรงบอก.
ครั้งนั้น พญานกดุเหว่าจับที่ท่อนไม้ซึ่งนกสองตัวใช้ปากกัดคาบไว้มีพวกนกล้อมหน้าหลังทั้งสองข้างกําลังมา. เมื่อภิกษุได้เห็นนกนั้น ก็ทูลถามว่าพระเจ้าข้า ! นั่นคงจะเป็นพญานกของนกเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าใจว่า พวกเหล่านั้น คงจะเป็นบริวารของพญานกนั่น. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น แม้นี้ก็เป็นวงศ์ของเรา เป็นประเพณีของเรา. พระเจ้าข้า ! พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 91
ข้าพระองค์จะดูนกเหล่านี้สักประเดี๋ยวก่อน และก็พวกข้าพระองค์อยากจะฟังข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้นี้ก็เป็นวงศ์ของเรา เป็นประเพณีของเรา. อยากฟังหรือ ภิกษุทั้งหลาย. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น จงฟัง แล้วก็ตรัสชาดกเรื่องนกดุเหว่า ประดับด้วยคาถาสามร้อย ทรงบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว เมื่อจบเทศน์แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลทุกรูป และแม้แต่ฤทธิ์ของท่านเหล่านั้น ก็มาพร้อมกับมรรคนั่นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดว่า สําหรับภิกษุเหล่านี้เพียงเท่านี้ก่อนเถิดแล้วก็ทรงเหาะไปในอากาศเสด็จไปสู่ป่าใหญ่นั่นแล. แม้ภิกษุเหล่านั้นเวลาไปไปด้วยอํานาจของพระทศพล แต่ เวลามาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าลงในป่าใหญ่ด้วยอํานาจของตนเอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับบนที่นั่งที่ปูไว้แล้วตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จงมานั่งลง เราจะบอกกัมมัฏฐาน เพื่อให้พวกเธอละกิเลสที่ต้องละด้วยสามมรรคเบื้องบน แล้วก็ทรงบอกกัมมัฏฐานให้. พวกภิกษุพากันคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพวกเราไม่มีความยินดีจึงทรงพาไปสระดุเหว่าทรงบรรเทาความไม่ยินดี บัดนี้ ได้ทรงประทานกัมมัฏฐานสําหรับมรรคทั้งสามในที่นี้แก่พวกเราซึ่งบรรลุโสดาปัตติผลในที่นั้นแล้ว ก็แลพวกเราไม่ควรให้เสียเวลาด้วยคิดว่า พวกเราเป็นพระโสดาบันแล้ว พวกเราควรเป็นอุดมบุรุษ ท่านเหล่านั้นจึงไหว้พระบาทของพระทศพลแล้วลุกขึ้นสลัดที่นั่งแยกกันไปนั่งที่เงื้อมและโคนไม้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดําริว่า ภิกษุเหล่านี้ แม้โดยปกติก็ไม่ทิ้งการงาน และก็สําหรับภิกษุที่ได้อุบาย จะไม่มีเหตุแห่งการเหน็ดเหนื่อย และเมื่อไปตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุอรหัต ก็จะพากันมาสู่สํานักเรา ด้วยคิดว่า พวกเราจะกราบทูลคุณวิเศษที่แต่ละคนได้เฉพาะแล้ว เมื่อพวกเธอเหล่านั้นมาแล้วพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลก็จะประชุม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 92
กันในจักรวาลหนึ่ง การประชุมใหญ่ก็จะมี เราควรนั่งในโอกาสที่สงัด. ลําดับนั้นก็รับสั่งให้ปูพุทธอาสน์ในโอกาสที่สงัดแล้วประทับนั่งลง.
พระเถระที่ไปรับกัมมัฏฐานก่อนเขาหมด สําเร็จพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ต่อไปก็อีกรูป ถัดไปก็อีกรูป ดังนี้ก็เป็นอันว่าภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป เบิกบานเหมือนปทุมที่บานในสระปทุมฉะนั้น. ภิกษุที่สําเร็จพระอรหัตก่อนเขาหมด คิดว่า เราจะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงคลายบัลลังก์ สลัดที่นั่งลุกขึ้นบ่ายหน้าไปหาพระทศพล. อีกรูปหนึ่งก็อย่างนั้น อีกรูปหนึ่งก็อย่างนั้น ดังนี้ก็เป็นอันว่าภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ทะยอยกันมาเหมือนเข้าสู่โรงอาหาร ฉะนั้น. ผู้ที่มาก่อนเขาหมด ไหว้และปูที่นั่งแล้วนั่งในที่ควรส่วนหนึ่งเป็นผู้อยากจะกราบทูลถึงคุณพิเศษที่ได้โดยเฉพาะ คิดว่า ใครอื่นมีหรือไม่มีหนอ กลับไปมองดูทางมาได้เห็นแม้อีกรูปหนึ่ง ได้เห็นแม้อีกรูปหนึ่ง. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันว่า ท่านทั้งหมดแม้นั้นก็มานั่งในที่ควรส่วนหนึ่งแล้วก็ต่างคิดว่า รูปนี้กําลังละอายจึงไม่บอกแก่รูปนี้ รูปนี้ก็กําลังละอายจึงไม่บอกแก่รูปนี้ ได้ยินว่า สําหรับพวกผู้สิ้นอาสวะแล้วย่อมมีอาการสองอย่างคือ
๑. เกิดความคิดว่า ชาวโลกพร้อมกับเทวดาจะพึงรู้แจ้งแทงตลอดคุณวิเศษที่เราได้เฉพาะแล้ว พลันทีเดียว
๒. ไม่ประสงค์จะบอกคุณที่คนได้แล้วแก่ผู้อื่น เหมือนคนที่ได้ขุมทรัพย์ฉะนั้น.
ก็เมื่อสักว่าวงของพระอริยเจ้านั้นหยั่งลงแล้ว พระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหลุดพ้นจากตัวการที่ทําให้เศร้าหมองคือ หมอก น้ำค้าง ควัน ฝุ่น ราหู จากขอบเขตรอบเขายุคนธรทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยสิริแห่งล้อเงิน ซึ่งกําลังจับขอบกงหมุนไป คล้ายกับวงแว่นส่องแผ่นใหญ่ที่สําเร็จด้วยเงินที่ยกขึ้นในด้านทิศตะวันออก เพื่อทัศนะอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ของโลกที่ประดับด้วยพุทธุปบาท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 93
ลอยเด่นดําเนินไปสู่ทางลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าใหญ่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ในแคว้นแห่งพวกชาวสักกะกับหมู่ภิกษุจํานวนมาก คือ ภิกษุมีจํานวน ๕๐๐ รูป ทุกรูปล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ในขณะ คือในลยะ ได้แก่ในครู่หนึ่งเห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้.
ในที่ประชุมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเกิดในวงศ์พระเจ้ามหาสมมต เหล่าภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้นเล่า ก็เกิดในตระกูลพระเจ้ามหาสมมต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดในพระครรภ์กษัตริย์ ท่านเหล่านั้นเล่าก็เกิดในครรภ์กษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นนักบวชชั้นเจ้า ท่านเหล่านั้นเล่าก็เป็นนักบวชชั้นเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเศวตฉัตร ทรงสละราชสมบัติจักรพรรดิที่อยู่ในกําพระหัตถ์ ทรงผนวช ท่านเหล่านั้น เล่าก็สละเศวตฉัตร ทิ้งราชสมบัติที่อยู่ในกํามือบวช. ดังว่ามานี้จึงเป็นอันว่า องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าเองทรงหมดจด ทรงมีบริวารที่หมดจด ในโอกาสที่หมดจด ในส่วนราตรีที่หมดจด ทรงปราศจากราคะ ทรงมีบริวารที่ปราศจากราคะ ทรงปราศจากโทสะทรงมีบริวารที่ปราศจากโทสะ ทรงปราศจากโมหะ ทรงมีบริวารที่ปราศจากโมหะ ทรงไม่มีตัณหา ทรงมีบริวารที่ไม่มีตัณหา ทรงไม่มีกิเลส ทรงมีบริวารที่ไม่มีกิเลส ทรงสงบ ทรงมีบริวารที่สงบ ทรงฝึกแล้ว ทรงมีบริวารที่ฝึกแล้ว ทรงพ้นแล้ว ทรงมีบริวารที่พ้นแล้ว ทรงรุ่งเรืองเกินเปรียบด้วยประการฉะนี้. นี่ชื่อว่าเป็นชั้นวรรณะสามารถพูดได้เท่าใด ก็พึงพูดเท่านั้น. ดังที่ว่ามานี้ ท่านพระอานนท์ หมายเอาภิกษุเหล่านี้จึงกล่าวว่า คือภิกษุมีจํานวน ๕๐๐ รูป ทุกรูปล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น.
บทว่า โดยมาก คือ มากกว่า ประชุมกันแล้ว ที่น้อยยกเว้นเทพไม่มีสัญญา เทพชั้นอรูปาวจร และเทพที่เข้าสมาบัติ ไม่ได้เข้าประชุม. ต่อไปนี้ เป็นลําดับการเข้าประชุมในมหาสมัยสูตรนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 94
เล่ากันมาว่า เหล่าเทวดาโดยรอบป่าใหญ่เคลื่อนไหวแล้ว ทําเสียงดังว่า มาเถิดผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก การฟังพระธรรมมีอุปการะมาก การเห็นหมู่ภิกษุมีอุปการะมาก มา มาเถิดพวกเรา แล้วก็พากันมา นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าพระขีณาสพผู้บรรลุพระอรหัต เมื่อครู่นั้น แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. โดยอุบายนี้นั่นแหละ พึงทราบว่า ทวยเทพทั้งหลายในแสนจักรวาลมาประชุมกัน เพราะฟังเสียงเทวดาเหล่านั้นๆ โดยลําดับ คือ เทวดาผู้อยู่ในจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในสกลชมพูทวีป ปุพพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป ในทวีปน้อยสองพันทวีป คือ พวกเทวดาที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งกว้างประมาณสามพันโยชน์ โดยฟังเสียงเทวดาผู้อาศัยอยู่ในที่กึ่งคาวุต หนึ่งคาวุต กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์โดยลําดับต่อกันไป เทวดาในนคร ๑๘๙,๐๐๐ นคร เทวดาอยู่ที่โทณมุข ๙,๙๐๐,๐๐๐ แห่ง เทวดาอยู่ที่ปฏนะ ๙๖ แสนโกฏิ และอาศัยอยู่ที่ทะเล ๕๖ แห่ง มาประชุมกันแล้ว แต่นั้นก็เทวดาในจักรวาลที่สองที่สามเป็นต้น มาประชุมกันด้วยประการฉะนี้. ก็หมื่นจักรวาลท่านหมายเอาว่า ๑๐ โลกธาตุในที่นี้. เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เทวดาจาก ๑๐ โลกธาตุโดยมากเป็นผู้เข้าประชุมแล้ว.
ห้องจักรวาลทั้งสิ้น จนถึงพรหมโลกเต็มแน่นไปด้วยพวกเทวดาที่เข้าประชุมอย่างนั้น เหมือนกล่องเข็มที่เต็มแน่นไปด้วยเข็มที่ใส่ไปจนหาที่ว่างไม่ได้. ในห้องจักรวาลทั้งสิ้นนั้นพึงทราบว่า ที่สูงกว่าเขาได้แก่ห้องจักรวาลของพรหมโลก. เล่ากันมาว่า ผู้ยืนในพรหมโลกเอาก้อนหินเท่าเรือนยอดเจ็ดชั้นในโลหะปราสาท โยนลงล่างสี่เดือนจึงถึงแผ่นดิน. ในโอกาสใหญ่ขนาดนั้นได้มีเทวดาจนหาที่ว่างไม่ได้. เหมือนดอกไม้ที่คนยืนข้างล่างโยนไป หรือเหมือนควันไม่ได้ช่องเพื่อขึ้นไปเบื้องบน หรือเหมือนเมล็ดผักกาดที่คนยืนข้างบน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 95
โรยไปไม่ได้ช่องเพื่อลงล่างฉะนั้น. ก็ที่ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่คับแคบ พวกเทวดาและพวกพรหมที่มีศักดิ์ใหญ่ ซึ่งมาแล้วๆ ย่อมได้ช่องทุกองค์เหมือนที่ประทับนั่งของพระเจ้าจักรพรรดิย่อมเป็นที่ไม่คับแคบ พวกกษัตริย์ชั้นผู้ใหญ่ที่เสด็จมาแล้วๆ ก็ยังทรงได้ช่องว่างอยู่นั่นเองฉะนั้น. เออก็ยังเล่ากันมาว่า ประเทศขนาดเท่ากับปลายขนทราย ตามนัยที่กล่าวไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง ก็ยังมีเทวดา ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง เนรมิตร่างละเอียดยืนอยู่. ข้างหน้าทั้งหมดมีเทวดา ๖๐ องค์ยืนอยู่.
บทว่า พวกชั้นสุทธาวาส คือชาวสุทธาวาส. พรหมโลก ๕ ชั้นอันเป็นที่อยู่ของพระอนาคามีและพระขีณาสพผู้หมดจดชื่อว่าสุทธาวาส. คําว่า ได้มีคําดําริอย่างนี้ คือ ทําไมจึงได้มี. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พวกพรหมเหล่านั้นเข้าสมาบัติแล้วออกตามกําหนด เมื่อมองดูที่อยู่ของพรหมก็ได้เห็นว่าง เหมือนโรงอาหารในเวลาหลังอาหาร แต่นั้นเมื่อใคร่ครวญดูว่า พวกพรหมไปไหนก็ทราบว่าไปที่ประชุมใหญ่ คิดว่า สมาคมนี้ใหญ่ ฝ่ายพวกเรามามัวชักช้าก็สําหรับพวกผู้ชักช้าจะหาโอกาสได้ยาก เพราะฉะนั้น เมื่อจะไปพวกเราอย่ามีมือเปล่า แต่งคาถาองค์ละบทแล้วค่อยไปพวกเราจะให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าตนมาในสมาคมเหมือนกันด้วยคาถานั้น และจะกล่าวพระเกียรติคุณของพระทศพลด้วย. ความดําริอย่างนี้จึงได้มีเพราะความที่พรหมเหล่านั้นออกจากสมาบัติแล้วใคร่ครวญด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปรากฏข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ท่านทําพรหมเล่านั้นให้เหมือนหยั่งลงในที่เฉพาะพระพักตร์ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองกล่าวไว้แล้ว. ในบาลีแต่ในที่นี้ไม่พึงเข้าใจความอย่างนี้เลย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 96
ก็พรหมเหล่านั้น แต่งคาถาแต่ยังอยู่ในพรหมโลกเสร็จแล้วองค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก องค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้านใต้ องค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้านตะวันตก องค์หนึ่งลงที่ขอบปากจักรวาลด้านเหนือ. ต่อจากนั้นพรหมที่ลงที่ขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก ก็เข้ากสิณเขียวแล้วปล่อยรัศมีเขียว เหมือนกําลังสวมหนังแก้วมณีให้เทวดาในหมื่นจักรวาลทราบว่าตนมาแล้ว ธรรมดาวิถีของพระพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถจะผ่านไปได้ เพราะฉะนั้น จึงมาด้วยวิถีของพระพุทธเจ้าที่กระทบแล้วไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้ายืนในที่ควรส่วนหนึ่งแล้วก็ได้กล่าวคาถาที่ตนได้แต่งไว้. พรหมที่ลงที่ขอบปากจักรวาลด้านใต้ ก็เข้ากสิณเหลืองปล่อยรัศมีแสงทองเหมือนกําลังห่มผ้าทองประกาศให้เทวดาในหมื่นจักรวาลทราบว่าตนมาแล้วได้ยืนอยู่ในนั้นนั่นเอง. พรหมที่ลงทางขอบปากจักรวาลด้านตะวันตก เข้ากสิณแดง เปล่งรัศมีแดงเหมือนห่มผ้าขนสัตว์ชั้นดีสีแดง ประกาศให้ทรงทราบว่าตนมาแล้ว แก่เทวดาในหมี่นจักรวาลแล้วได้ยืนอย่างนั้นเหมือนกัน. พรหมที่ลงทางขอบปากจักรวาลด้านเหนือ เข้ากสิณขาว เปล่งรัศมีขาวเหมือนนุ่งผ้าดอกมะลิ ประกาศให้ทราบว่าตนมาแล้ว แก่เทวดาในหมื่นจักรวาลได้ยืนอย่างนั้นเหมือนกัน. แต่ในบาลีท่านกล่าวว่า พรหมทั้งหลายเหล่านั้น ปรากฏข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ครั้งนั้นเทวดาเหล่านั้น อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนในที่ควรส่วนหนึ่ง ดังนี้ แล้วได้กล่าวความปรากฏข้างหน้า และการอภิวาทแล้วยืนในที่ควรส่วนหนึ่ง เหมือนกับในขณะเดียวกันอย่างนั้น. การปรากฏและการยืนได้มีตามลําดับนี้ แต่ท่านกระทําเป็นพร้อมกันแสดงไว้แล้ว. ส่วนการกล่าวคาถาในบาลีท่านแยกกล่าวไว้เป็นแผนกๆ ทีเดียว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มหาสมัย แปลว่า การประชุมใหญ่ ป่าชัฏ เรียกว่าป่าใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การประชุมใหญ่ คือการเข้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 97
ประชุมพร้อมกันครั้งใหญ่มีในวันนี้ที่ชัฏป่านี้ แม้ด้วยบททั้งสอง. แต่นั้น เพื่อแสดงพวกที่เข้าประชุมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หมู่เทพมาประชุมกันแล้ว. ในบทว่า หมู่เทพนั้น คือพวกเทวดา บทว่า พวกเราเป็นผู้มาสู่การประชุมธรรมนี้ คือ เมื่อได้เห็นหมู่เทพมาประชุมกันอย่างนี้ แม้พวกเราก็มาสู่การประชุมธรรมนี้. เพราะเหตุไร เพราะเหตุ เพื่อเห็นหมู่ที่ไม่มีใครปราบได้นั่นเอง อธิบายว่า พวกเราได้เป็นผู้มาเพื่อชมหมู่ที่ไม่มีใครปราบได้นี้ ผู้ชื่อว่าพิชิตสงคราม เพราะเป็นผู้ที่ไม่มีใครทําให้พ่ายแพ้ได้แล้วย่ํายีมารทั้งสามชนิดได้ในวันนี้นั่นเอง. ก็พรหมนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ก็อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนทางขอบปากจักรวาลด้านตะวันออก. ถัดมาองค์ที่สองก็มากล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทว่า ภิกษุทั้งหลายใน...นั้น นั้นได้แก่ พวกภิกษุในที่ประชุมนั้น. บทว่า ตั้งมั่นแล้ว คือประกอบด้วยสมาธิ. บาทคาถาว่า ได้ทําจิตของตนให้ตรงแล้ว ได้แก่ ได้นําความคดโกง และความโค้งออกจนหมดแล้วทําจิตของตนให้ตรง. บาทคาถาว่า เหมือนสารถีถือเชือก ความว่าเมื่อพวกม้าสินธพ ไปอย่างเรียบร้อย สารถีวางปฏักลงแล้วคอยจับเชือกทั้งหมดไว้ไม่เตือน ไม่รั้ง ตั้งอยู่ฉันใด ภิกษุหมดทั้งห้าร้อยนี้ถึงพร้อมด้วยความวางเฉยมีองค์หก คุ้มทวารได้แล้ว บัณฑิตรักษาอินทรีย์ทั้งหลายไว้ฉันนั้น พรหมกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มาที่นี้เพื่อชมภิกษุเหล่านี้. แล้วพรหมแม้นั้นก็ไปยืนตามตําแหน่งทีเดียว. ถัดมาองค์ที่สามก็มากล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตัดตาปูได้แล้ว คือ ตัดตาปูอัน ได้แก่ ราคะโทสะและโมหะ. บทว่า ลิ่มสลัก ก็ได้แก่ลิ่มสลัก คือราคะโทสะและโมหะนั่นเอง. บทว่า เสาเขื่อน ก็ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะโทสะและโมหะนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 98
บทว่า ถอนแล้วไม่มี เอชา คือ ภิกษุเหล่าชื่อว่าไม่มีความหวั่นไหว เพราะไม่มีความหวั่นไหวคือตัณหา ถอนแล้วคือกระชากเสาเขื่อนจนหลุดแล้ว. บทว่า ท่านเหล่านั้นเที่ยวไป คือเที่ยวจาริกไปชนิดที่ไม่กระทบกระทั่งใครในสี่ทิศ. บทว่า หมดจด คือไม่มีตัวการที่เข้ามาทําให้จิตใจเศร้าหมอง. บทว่า ปราศจากมลทิน คือไม่มีมลทิน. คําว่า ปราศจากมลทินนี้ ก็เป็นคําสําหรับใช้แทนคําว่า หมดจด นั่นเอง. บทว่า มีตา คือมีดวงตาด้วยดวงตา ๕ ชนิด. บทว่า ฝึกแล้วเป็นอย่างดี คือ ทางตาก็ฝึกแล้ว ทางหู. ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ฝึกแล้ว. บทว่า นาคหนุ่ม คือนาครุ่นๆ. พรหมอธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เป็นผู้มาแล้วเพื่อชมนาครุ่นที่ฝึกแล้วด้วยความเพียรเป็นเครื่องประกอบอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้เหล่านี้. แม้พรหมองค์นั้นก็ได้ไปยืนตามตําแหน่งนั่นแล. ถัดมาองค์ที่สี่ ก็ได้มากล่าวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถึงแล้ว คือถึงแล้วด้วยการถึงสรณะที่ไม่มีความสงสัย. แม้พรหมองค์นั้นก็ได้ไปยืนตามตําแหน่งนั่นแล.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อได้ทรงสํารวจดูตั้งแต่พื้นแผ่นดินจนจรดกําหนดขอบปากจักรวาล จากกําหนดขอบปากจักรวาลจนจรดพรหมโลกทอดพระเนตรเห็นการประชุมของเทวดาแล้วจึงทรงพระดําริว่า สมาคมเทวดานี้ใหญ่. ฝ่ายพวกภิกษุไม่ทราบว่า สมาคมเทวดานี้ใหญ่อย่างนี้ เอาเถิด เราจะบอกพวกเธอ เมื่อทรงพระดําริอย่างนั้นเสร็จแล้ว ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกภิกษุ ด้วยประการฉะนี้. พึงขยายให้กว้างทั้งหมด.
บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า มีเท่านี้เป็นอย่างยิ่ง คือ ชื่อว่ามีเท่านี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเท่านี้เป็นประมาณอย่างยิ่งของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. แต่เพราะบัดนี้ ไม่มีพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ตรัสครั้งที่สามว่า ภิกษุทั้งหลาย!
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 99
แม้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นใดในบัดนี้. บทว่า ภิกษุทั้งหลายเราจะบอก ความว่า ถามว่า ทําไมจึงตรัส ตอบว่า เพื่อให้ทราบพรั่งพร้อมแห่งจิตของทวยเทพ. ได้ยินว่า พวกเทวดาพากันคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงกล่าวชื่อและโคตรแต่ของทวยเทพชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ของพวกชั้นผู้น้อยจะทรงบอกไปทําไมในสมาคมใหญ่นี้. ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่า เทพเหล่านั้นคิดอย่างไร ทรงทราบวาระจิตนั้นของเทวดาเหล่านั้น เหมือนสอดมือเข้าปากแล้วคลําดวงใจ และเหมือนจับโจรได้ทั้งของกลางจึงทรงดําริว่า เราจะกล่าวถึงชื่อและโคตรของเหล่าเทพแม้ทั้งหมดทั้งชั้นผู้น้อยและชั้นผู้ใหญ่ซึ่งต่างมาจากหมื่นจักรวาล.
ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเป็นผู้ใหญ่ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงเป็นสัตว์พิเศษ ทรงทราบสิ่งที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดาได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้ใช้ใจท่องเที่ยวไปตาม ไม่ว่าสิ่งไรๆ ในที่ใดๆ จะเป็นรูปารมณ์ในรูปารมณ์ที่จําแนกด้วยสามารถรูปมีรูปสีเขียวเป็นต้น หรืออารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่แยกไว้เป็นแผนกๆ ในสัททารมณ์เป็นต้น ที่จําแนกด้วยสามารถเสียงกลองเป็นต้น มีอยู่ซึ่งมาสู่คลองที่หน้าพระญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดา ฯลฯ รวมทั้งเทวดาและมนุษย์ ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้ใช้ใจท่องเที่ยวไปตาม เรารู้สิ่งนั้น เราเห็นสิ่งนั้น เราเข้าใจสิ่งนั้นอย่างแจ่มแจ้ง (๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระญาณไม่มีอะไรมาขัดขวางได้ในทุกหนทุกแห่งอย่างนี้ ทรงได้ทําพวกเทวดา. แม้ทั้งหมดนั้นเป็นสองพวกด้วยอํานาจภัพและอภัพ คือ พวกที่เป็นอภัพสัตว์ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า หรือสัตว์เหล่าใด ถึงพร้อมด้วยทํานบคือกรรม สัตว์พวก
(๑) สํ. จตุก. ๓๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 100
นั้นถึงจะอยู่ร่วมวิหารกัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงมอง และพวกภัพสัตว์ที่ตรงกันข้ามกับพวกอภัพสัตว์นั้น พวกนั้นต่อให้อยู่ไกลก็เสด็จไปทรงสงเคราะห์. เพราะฉะนั้น แม้ในการประชุมของเทพนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละพวกที่อภัพ (ไม่เหมาะไม่สมควรโชคร้าย) แล้วรวบรวมเอาแต่พวกภัพสัตว์ เมื่อรวบรวมเอาเสร็จแล้วก็มาทรงจัดเป็น ๖ พวก ตามอํานาจจริตนั่นเองว่า พวกราคจริตเท่านี้ พวกโทสจริตเป็นต้นเท่านี้.
ต่อมาก็ทรงใคร่ครวญธรรมเทศนาอันเป็นที่สบายแก่พวกจริตเหล่านั้นทรงกําหนดเทศนาว่า พวกเทวดาราคจริต เราจักแสดงสัมมาปริพพาชนียสูตร (สูตรว่าด้วยเรื่องที่พึงเว้นโดยชอบ) จักแสดงกลหวิวาทสูตร (สูตรเกี่ยวกับเรื่องทะเลาะวิวาท) แก่พวกโทสจริต จักแสดงมหาพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกใหญ่) แก่พวกโมหจริต จักแสดงจูฬพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกน้อย) แก่พวกวิตกจริต จักแสดงตุวัฏฏกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของนกคุ่ม) แก่พวกสัทธาจริต จักแสดง ปุราเภทสูตร (สูตรว่าด้วยเรื่องแตกในอนาคต) แก่พวกพุทธิจริต แล้วก็ทรงใส่พระทัยถึงบริษัทนั้นอีกว่า บริษัทพึงรู้ด้วยอัธยาศัยของตน ด้วยอัธยาศัยของคนอื่น ด้วยการเกิดเรื่องขึ้น หรือด้วยอํานาจการถามหนอแล แต่นั้นก็ทรงทราบว่า บริษัทพึงรู้ด้วยอํานาจการถามแล้วทรงพระดําริว่าจะมีใครหรือไม่หนอที่เป็นผู้ถือเอาอัธยาศัยของทวยเทพแล้ว สามารถถามปัญหาด้วยอํานาจจริตได้ ได้ทรงเห็นว่า ในพวกภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น แม้รูปเดียวก็จะไม่สามารถ. จากนั้นทรงรวมเอาพระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป และพระสาวกชั้นเลิศ ๒ รูป ก็ทรงเห็นว่า ถึงท่านเหล่านั้นก็จะไม่อาจแล้วทรงพระรําพึงว่า ถ้าพึงมีพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าจะสามารถหรือไม่หนอ ทรงทราบว่า ถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จะไม่สามารถทรงรวมว่า ในบรรดาท้าวสักกะและท้าวสุยามะเป็นต้น ใครๆ จะพึงอาจ แม้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 101
ถ้าในท่านแม้เหล่านั้น ผู้ไรๆ จะพึงอาจจะให้ถามพระองค์แล้วจะพึงตอบเสียเอง. แต่แม้ในท่านเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจ.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าอย่างเราเท่านั้นจึงจะพึงอาจ และก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่นในที่ใดบ้างไหม แล้วก็ทรงแผ่พระญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดไปในโลกธาตุอันไม่มีที่สิ้นสุด ทรงตรวจดูก็ไม่ได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้าองค์อื่น. ข้อที่ไม่ทรงเห็นผู้ใดเสมอพระองค์ในบัดนี้นั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย แม้ในวันประสูติ เมื่อไม่ทรงเห็นใครเสมอพระองค์ตามนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาพรหมชาลสูตร พระองค์ก็ได้เปล่งสีหนาทที่ไม่มีใครจะพึงปฏิวัติได้ว่า เราเป็นยอดของโลก ดังนี้. เมื่อไม่ทรงเห็นคนอื่นเท่าพระองค์อย่างนี้แล้ว ก็ทรงคิดว่า ถ้าเราพึงถามแล้วตอบเองเสียเลย แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เทวดาเหล่านี้ ก็จะไม่อาจแทงตลอดได้แต่เมื่อพระพุทธเจ้าองค์อื่นนั่นแล ทรงถามและเราตอบจึงจะเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์และพวกเทวดาก็จะสามารถแทงตลอดได้ด้วยฉะนั้น เราจะสร้างพระพุทธนิรมิต. แล้วทรงเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท ครั้นทรงออกแล้วก็ทรงบริกรรมด้วยกามาวจรจิตทั้งหลายว่า ขอให้การถือบาตรและจีวร การเหลียวหน้าและเหลียวหลัง และการคู้เข้าและเหยียดออกจงเหมือนเราทีเดียว แล้วก็ทรงอธิษฐานด้วยรูปาวจรจิต เหมือนทําลายดวงจันทร์ที่กําลังลอยเด่นจากวงในโดยรอบเขายุคนธรทางทิศตะวันออก ให้ออกไปอยู่ฉะนั้น.
ครั้นหมู่เทพได้เห็นพุทธนิรมิตนั้น ก็พูดว่า ท่าน พระจันทร์ดวงอื่นขึ้นไปแล้วหรือหนอแล. เมื่อพระพุทธที่ทรงนิรมิตละดวงจันทร์แล้วเข้ามาใกล้. ก็พูดว่า ไม่ใช่พระจันทร์ แต่เป็นพระอาทิตย์ขึ้นต่างหาก เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก ก็พูดว่า ไม่ใช่พระอาทิตย์ แต่นั่นเป็นวิมานเทวดา. เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีกก็พูดว่า ไม่ใช่วิมานเทวดา แต่นั่นเป็นเทพบุตร. เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก ก็พูด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 102
ว่า ไม่ใช่เทพบุตร แต่นั่นเป็นมหาพรหม เมื่อยิ่งใกล้เข้ามาอีก ก็พูดว่าไม่ใช่เป็นมหาพรหม แต่เป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งเสด็จมา ดังนี้. ในที่นั้นพวกเทวดาปุถุชน ก็พากันคิดว่า พระพุทธเจ้าองค์เดียว ที่ประชุมเทวดาก็ใหญ่ขนาดนี้แล้ว สองพระองค์จะใหญ่ขนาดไหน (ส่วน) เทวดาอริยะก็พากันคิดว่า ในโลกธาตุเดียว ไม่มีพระพุทธเจ้าสองพระองค์ พระผู้มีพระเจ้าทรงเนรมิตพระพุทธเจ้าองค์อี่นขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่งที่เหมือนกับพระองค์เป็นแน่.
ขณะที่หมู่เทพกําลังเห็นพระพุทธนิรมิตนั่นเอง พระพุทธนิรมิตก็เสด็จมาถึงไม่ทรงไหว้พระทศพลเลย ทําให้เท่าๆ กันในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วก็ประทับนั่งบนพระที่นั่งที่เนรมิตไว้. มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพระพุทธนิรมิต ก็มี ๓๒ ประการเหมือนกัน. พระรัศมี ๖ สี ออกไปจากพระสรีระแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพระพุทธนิรมิตก็เหมือนกัน. พระรัศมีจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทบพระกายของพระพุทธนิรมิต พระรัศมีจากพระสรีระของพระพุทธเนรมิตก็กระทบพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัศมีเหล่านั้นพุ่งจากพระสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ไปจรดชั้นนอกนิฏฐพรหม กลับจากนั้นก็ลงในที่สุดของทุกเศียรของเหล่าเทพ แล้วตั้งอยู่ที่ขอบปากจักรวาล. ห้องจักรวาลทั้งสิ้นรุ่งเรืองดังเรือนพระเจดีย์ที่มีไม้จันทันโค้งที่แล้วไปด้วยเงินรึงรัดไว้แล้วฉะนั้น. เทวดาในหมื่นจักรวาล รวมเป็นกลุ่มในจักรวาลเดียวเข้าไปตั้งอยู่ในระหว่างห้องรัศมีของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์. เมื่อพระพุทธเนรมิตกําลังประทับนั่งอยู่นั่นแล ชมเชยการละกิเลสที่โพธิบัลลังก์ของพระทศพล จึงตรัสคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 103
เราขอถามท่านมุนี ผู้มีปัญญามาก ผู้ข้ามแล้ว ถึงฝังแล้ว เย็นสนิท มีพระองค์ตั้งมั่น ออกจากเรือนแล้วบรรเทากามทั้งหลาย
ภิกษุนั้นพึงท่องเที่ยวไปในโลกโดยชอบอย่างไร.
พระศาสดา ครั้นทรงคิดว่า เราจะกล่าวถึงชื่อและโคตรของผู้ที่มาแล้วๆ เพื่อให้พวกเทวดาเกิดความเป็นผู้มีจิตพร้อม ก่อนจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะบอก ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เราจะทําโศลก คือถ้อยคําที่ประพันธ์เป็นฉันท์ คือ จะให้หมู่คําที่นิยมแล้วด้วยบทอักษรเป็นไป. บทว่า ภุมมเทวดาในที่ใดก็อาศัยที่นั้น ความว่า พวกเทวาที่อยู่ตามพื้นดินในที่ใดๆ อาศัยที่นั้นๆ แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกชั้นวรรณะแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยบทเป็นต้นว่า พวกที่อาศัยซอกเขา. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดอาศัยท้องภูเขา. บทว่า ส่งตนไปแล้ว คือมีตนที่ส่งไปแล้ว. บทว่า ตั้งมั่น คือไม่ฟุ้งซ่าน. บทว่า มาก คือ ชนมาก. บทว่า เหมือน สีหะ ซ่อนเร้น คือเข้าถึงความเป็นผู้มีจิตเป็นหนึ่ง เหมือนสีหะ หลบซ่อน. บทว่า ครอบงําความพองขน คือ ครอบงําขนพอง แล้วตั้งอยู่. มีคําอธิบายว่า ไม่มีความกลัว. บทว่า มีใจผุดผ่อง หมดจด คือเป็นผู้มีจิตขาวผ่อง หมดจด. บทว่า ผ่องใส ไม่ขุ่น คือ ผ่องแผ้ว ไม่ขุ่นมัว. บทว่า ทรงทราบภิกษุเกิน ๕๐๐ รูป คือทรงรู้จักภิกษุเกิน ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย. บทว่า ที่ป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ คือที่ชัฏป่าซึ่งเกิดใกล้กรุงกบิลพัสดุ์. บทว่า แต่นั้นพระศาสดาจึงตรัสเรียก คือ ตรัส เรียกในครั้งนั้น. บทว่า หมู่สาวกผู้ยินดีในศาสนา คือ ชื่อว่าสาวกเพราะเกิดในที่สุดการฟังพระธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 104
เทศนาของพระองค์ ชื่อว่า ผู้ยินดีในศาสนาเพราะยินดีในศาสนาคือสิกขาสาม.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําคําทั้งหมดนี้ให้เหมือนคนอื่นกล่าว ตรัสด้วยพระดํารัสว่า เราจะทําโศลก. บทว่า หมู่เทพมุ่งหน้ามากันแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพเหล่า นั้นไว้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพี่อประโยชน์ แก่อภินิหารแห่งทิพยจักษุญาณของภิกษุเหล่านั้นว่า พวกเธอจงรู้จักพวกเทพเหล่านั้นด้วยทิพยจักษุ ดังนี้.
บทว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น ฟังพระพุทธศาสน์แล้วได้กระทําความเพียร ความว่าก็แลภิกษุเหล่านั้นฟังคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นแล้ว ทันใดนั้นเองก็ได้กระทําความเพียรเพื่อประโยชน์แก่ทิพยจักษุนั้น. ญาณก็ได้ปรากฏแก่ท่านเหล่านั้นผู้พอได้ลงมือกระทําความเพียรนั่นเองอย่างนั้น. เป็นอย่างไรคือทิพยจักษุญาณอันเป็นเครื่องเห็นพวกอมนุษย์เกิดขึ้นแล้ว. ทิพยจักษุญาณนั้นมิใช่ว่าพวกท่านเหล่านั้นกระทําบริกรรม แล้วให้เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่ทิพยจักษุญาณนั้นสําเร็จด้วยมรรคทีเดียว. ก็แลเหตุเพียงอภินิหาร แห่งทิพยจักษุญาณเพื่อเห็นอมนุษย์นั้นเท่านั้น ได้กระทําแล้ว. ถึงพระศาสดาก็ทรงหมายเอาข้อนี้เองว่า พวกเธอมีญาณ ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงน้อมญาณไปรู้ แล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพเหล่านั้น. บทว่า เหล่าภิกษุบางพวกได้เห็น ๑๐๐ ความว่า ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกได้เห็นพวกอมนุษย์หนึ่งร้อย. บทว่า หนึ่งพัน และ เจ็ดหมื่น ความว่า บางพวกเห็นอมนุษย์หนึ่งพัน บางพวกเห็นอมนุษย์เจ็ดหมื่น. บทว่า บางพวกหนึ่งร้อยพัน คือบางพวกเห็นอมนุษย์หนึ่งแสน. บทว่า บางพวกได้เห็นไม่มีที่สุด ความว่าได้เห็นอย่างใหญ่. อธิบายว่า ได้เห็นอมนุษย์แม้จะกําหนดด้วยสามารถร้อยและด้วยสามารถพันก็ไม่ได้ เพราะเหตุไร เพราะอมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ คือได้เต็มที่ทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 105
บทว่า และรู้ยิ่งสิ่งทั้งหมดนั้น คือ ในภิกษุเหล่านั้น สิ่งใดที่แต่ละรูปได้เห็น ก็รู้สิ่งทั้งหมดนั้นด้วย. บทว่า ผู้ทรงมีจักษุทรงใคร่ครวญแล้ว คือ พระศาสดาผู้ทรงมีจักษุด้วยจักษุทั้ง ๕ อย่าง ทรงใคร่ครวญโดยประจักษ์ เหมือนผู้ใคร่ครวญดูลายมือฉะนั้น จึงตรัสพระคาถาที่กล่าวมาเมื่อก่อนว่า แต่นั้นจึงตรัสเรียก เพื่อทรงต้องการระบุถึงชื่อและโคตร. ในบทนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างนี้ว่า พวกเธอจงรู้จัก คือจงดู ได้แก่ จงมองดูพวกอมนุษย์ที่เราจะระบุแก่พวกเธอ. บทว่า ด้วยถ้อยคําทั้งหลาย คือด้วยคําพูดทั้งหลาย. บทว่า โดยลําดับ คือ ตามลําดับ.
บทว่า ยักษ์ทั้งหลายเจ็ดพันเป็นพวกเทพอยู่ตามแผ่นดินอาศัยกรุงกบิลพัสดุ์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า หมู่ยักษ์ คือพวกเทพอยู่ตามแผ่นดินอาศัยกรุงกบิลพัสดุ์เกิดในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นก่อน. บทว่า มีฤทธิ์ คือประกอบด้วยฤทธิ์ทิพย์. บทว่า มีความรุ่งเรือง คือถึงพร้อมด้วยอานุภาพ. บทว่า มีวรรณะ คือสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณของร่างกาย. บทว่า มียศ คือสมบูรณ์ด้วยบริวาร. บทว่า ยินดีมุ่งหน้ามา คือ มีจิตยินดีมา. บทว่า สู่ป่าเป็นที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย คือมาเพื่อต้องการดูป่าใหญ่นี้ คือสํานักของพวกภิกษุนี้ ได้แก่เพื่อต้องการดูภิกษุทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่งพวก เรียกว่า ประชุม. อธิบายว่า มาเพื่อชมพวกภิกษุดังนี้ก็ได้. บทว่า พวกยักษ์ชาวเขาเหมวัตหกพัน มีผิวพรรณต่างๆ กัน คือพวกยักษ์ที่เกิดที่ภูเขาเหมวัตหกพัน พวกยักษ์แม้ทั้งหมดนั้น มีสีต่างๆ กัน ด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้น. บทว่า พวกยักษ์ชาวเขาสาตาคิรีสามพัน คือ พวกยักษ์ที่เกิดที่ภูเขาสาคาคิรี ๓,๐๐๐. บทว่า ยักษ์เหล่านี้หมื่นหกพันด้วยประการฉะนี้ คือยักษ์แม้ทั้งหมดนี้ รวมกันเป็นหมื่นหกพัน. บทว่า ชาวเขาวิศวามิตรห้าร้อย คือ พวกยักษ์ที่เกิดที่ภูเขาวิศวามิตร ๕๐๐ บทว่า กุมภีร์ชาวเมือง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 106
ราชคฤห์ คือยักษ์ชี่อกุมภีร์เกิดในกรุงราชคฤห์. บทว่า เขาไพบูลย์เป็นที่อยู่ของยักษ์นั้น อธิบายว่าภูเขาไพบูลย์ (เวปุลละ) เป็นนิเวศน์คือที่อยู่ของยักษ์นั้น. บทว่า ยักษ์มากกว่าแสนเข้าเฝ้ายักษ์ชื่อกุมภีร์นั้น คือ ยักษ์เกินแสนเข้าเฝ้ายักษ์ชื่อกุมุภีร์นั้น. บทว่า ยักษ์ชื่อกุมภีร์ชาวเมืองราชคฤห์แม้นั้น ก็มาสู่ป่าเป็นที่ประชุมภิกษุทั้งหลาย คือแม้ยักษ์ชื่อกุมภีร์นั้นพร้อมกับบริวารก็มาสู่ป่านี้ เพื่อชมการประชุมของภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ก็ท้าวธตรัฏฐ์ ทรงปกครองทิศตะวันออก คือ ทรงปกครองทางทิศปราจีน. บทว่า ทรงเป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ คือทรงเป็นหัวหน้าของพวกคนธรรพ์ (คนธรรพ์ -นักดนตรี) คนธรรพ์ทั้งหมดนั้น เป็นไปในอํานาจของท้าวธตรัฏฐ์นั้น. บทว่า ท้าวเธอทรงเป็นมหาราช ทรงมียศ คือ มหาราชพระองค์นั้น ทรงมีบริวารมาก. บทว่า แม้พวกบุตรของท้าวเธอก็มาก มีนามว่า อินทร์มีกําลังมาก คือ พวกลูกๆ ของท้าวธตรัฏฐ์นั้น มีมาก มีกําลังมาก. เธอทั้งหลายทรงชื่อของท้าวสักกะ ผู้เป็นราชาของเทวดา. บทว่า ท้าววิรุฬห์ทรงปกครองทิศนั้น คือทิศนั้น ท้าววิรุฬหก ทรงอนุศาสน์. บทว่า แม้พวกลูกๆ ของท้าวเธอ คือลูกๆ แม้ของท้าวเธอก็เช่นนั้นเหมือนกัน. ก็ในบาลีท่านเขียนว่า มหพฺพลา - มีกําลังมาก. ในวาระทั้งหมดในอรรถกถาปาฐะเป็น มหาพฺพลา - มีกําลังมาก. ส่วนคาถาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอํานาจรวมเอาหมดอย่างนี้ว่า
ท้าวธตรัฏฐ์ทรงปกครองทิศตะวันออก ทางทิศใต้ท้าววิรุฬหก ทางทิศตะวันตกท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวรทรงปกครองทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 107
ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองประทับอยู่ที่ป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์.
ในคาถานั้น มีใจความดังต่อไปนี้ ในหมื่นจักรวาลต่างมีพวกมหาราช ทรงพระนามว่า ธตรัฏฐ์. แม้ทั้งหมดนั้นต่างก็ทรงมีคนธรรพ์แสนโกฏิแสนโกฏิเป็นบริวาร ยืนเต็มห้องจักรวาลตั้งแต่ป่าใหญ่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ทางทิศตะวันออก. ท้าววิรุฬหกเป็นต้นในทิศใต้เป็นต้น ก็อย่างนี้. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทรงยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรืองประทับอยู่. ก็คําอธิบายมีอย่างนี้ว่า มาจากจักรวาลโดยรอบ ยังทิศทั้ง ๔ ให้รุ่งเรืองอย่างดีประทับอยู่เหมือนกองไฟบนยอดเขา. ก็ท่านเหล่านั้นทรงหมายเอาป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์เท่านั้นแล้วจึงมาเพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงพวกท่านว่า เป็นผู้ยังจักรวาลให้เต็มเท่าๆ กัน ด้วยจักรวาล แล้วประทับที่ป่าใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ดังนี้.
บทว่า พวกบ่าวของมหาราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น มีมารยาล่อลวง โอ้อวดก็มา ความว่า มหาราชเหล่านั้น ทรงมีทาสที่ประพฤติคดโกงประกอบด้วยเจ้าเล่ห์ ซึ่งมีการปกปิดความชั่วที่กระทําไว้เป็นลักษณะ เป็นพวกที่เรียกว่าผู้ล่อลวง. เพราะหลอกลวงโลกด้วยการหลอกลวงทั้งต่อหน้าและลับหลัง และพวกที่เรียกว่าผู้โอ้อวด เพราะประกอบด้วยความฉ้อฉลและโอ้อวดแม้พวกเหล่านั้นก็มา. บทว่า เป็นเจ้าเล่ห์ คือ กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏ วิฏกะ คือ บ่าวแม้ทั้งหมดนั้น ล้วนแต่เป็นผู้กระทํามารยาทั้งนั้น ก็ในพวกทํามารยานี้โดยชื่อ ก็มี กุเฏณฑุ ๑ วิเฏณฑุ ๑. ส่วนในบาลีท่านเขียนว่า เวเฏณฺฑุ (ต่อไปก็เป็น) วิฏ๑ วิฏฏะ ๑. บทว่า กับ คือ แม้วิฏฏะนั้นก็มากับพวกเหล่านั้นเหมือนกัน. (ถัดไปก็มี) จันทน์ ๑ กามเศรษฐ์ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ กินนุฆัณฑะอีกผู้หนึ่ง ๑. แต่ในบาลีเขียนเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 108
กินฺนุฆณฺทุ. ชื่อนิฆัณฑุอื่น ก็ชื่อนิฆัณฺฑุด้วย. (= นิฆัณฑุมีสองตน) พวกบ่าวมี (๑๐ ตน) เท่านี้. ส่วนพวกอื่นจากนี้ก็ได้แก่เทวราชเหล่านี้ คือ :-
ปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทวสูตะ ๑ มาตลี ๑ จิตตเสนะ ๑ คนธรรพ์ ๑ นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา ๑ ก็มาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวสูตะ คือเทวสารถี. บทว่า จิตตเสนะ คือ แยกออกเป็นเทวราชได้ ๓ องค์ จิตตะ ๑ เสนะ ๑ จิตตเสนะ ๑.บทว่า คนธรรพ์ ก็ได้แก่ จิตตเสนะ อันเป็นพวกคนธรรพ์นี้. ไม่ใช่แต่จิตตเสนะนี้เท่านั้น ถึงปนาทะเป็นต้นทั้งหมดนี้ ก็เป็นคนธรรพ์ทั้งนั้น. บทว่า นโฬราชะ ได้แก่เทพองค์หนึ่งชื่อนฬการเทวบุตร. บทว่า ชโนสภะ คือเทวบุตรชื่อชนวสภะ. บทว่า และปัญจสิขะ ก็มาเหมือนกัน คือ ปัญจสิขะเทวบุตรนั่นเทียวก็มา. บทว่า ติมพรู คือคนธรรพเทวราช. บทว่า สุริยวัจฉสา ได้แก่ลูกสาวของท้าวติมพรูนั่นเอง. บทว่า เทพเหล่านี้ และคนธรรพ์ผู้เป็นราชาเหล่า อื่นพร้อมกับเหล่าราชา คือเทพเหล่านี้ เหล่าพญาคนธรรพ์ที่กล่าวด้วยอํานาจพระนาม และคนธรรพ์จํานวนมากเหล่าอื่นพร้อมกับพระราชาเหล่านั้น. บทว่า ยินดีมุ่งหน้ามาสู่ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย มีความว่า มีจิตร่าเริงยินดี มาแล้วสู่ป่านี้อันเป็นที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า อนึ่งพวกนาคชาวสระนาภสะ และพวกนาคชาวไพศาลีก็มาพร้อมกับตัจฉกะ คือ พวกนาคชาวสระนภสะ และพวกนาคชาวเมืองไพศาลี ก็มาพร้อมกับบริษัทของตัจฉกนาคราช. บทว่า กัมพลและอัสดร คือกัมพล ๑ อัสดร ๑. เล่ากันมาว่า นาคเหล่านี้ อยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ เป็นนาค
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 109
ชั้นผู้ใหญ่ที่แม้พวกสุบรรณ (ครุฑ) ก็พึงฉุดไป (= นําไป จับไป) ไม่ได้.บทว่า และพวกนาคชาวประยาคะ พร้อมกับหมู่ญาติ คือและพวกนาคที่อยู่ท่าประยาคะ ก็มากับหมู่ญาติ. บทว่า และพวกชาวยมุนาและพวกธตรัฏฐ์ คือ พวกนาคที่อยู่ในแม่น้ำยมุนา และพวกนาคที่เกิดในตระกูลธตรัฏฐ์. บทว่า ช้างใหญ่ชื่อเอราวัณ คือ และเอราวัณเป็นเทวบุตร ไม่ใช่เป็นช้างโดยกําเนิด แต่เทวบุตรนั้นถูกเรียกว่าช้าง. บทว่า แม้เขาก็มา คือ แม้เอราวัณเทวบุตรนั้นก็มา. บทว่า พวกใดนํานาคราชไปได้รวดเร็ว คือพวกครุฑเหล่าใด มีความโลภครอบงําแล้วนํา คือจับเอาพวกนาคมีประการที่กล่าวแล้วนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว. บทว่า เป็นทิพย์ เกิดสองครั้ง มีปีก มีตาหมดจด คือ ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะมีอานุภาพทิพย์ ชื่อว่าเกิดสองครั้งเพราะเกิดแล้วสองครั้งคือจากท้องแม่และจากกะเปาะไข่ ชื่อว่ามีปีก เพราะประกอบด้วยปีก ชื่อว่ามีตาหมดจด เพราะประกอบด้วยตาที่สามารถเห็นหมู่นาคในระหว่างร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. บทว่า พวกเหล่านั้น ไปถึงกลางป่าทางเวหา คือ พวกครุฑเหล่านั้น ถึงป่าใหญ่นี้โดยทางอากาศนั่นเอง. บทว่า ชื่อของพวกเหล่านั้นว่าจิตระและสุบรรณ คือ ครุฑเหล่านั้นชื่อจิตระ และสุบรรณ. บทว่า ในครั้งนั้นได้มีการอภัยแก่พวกนาคราช พระพุทธเจ้าทรงทําความปลอดภัยจากสุบรรณ คือ (เพราะเหตุใด) เพราะเหตุนั้น พวกนาคและครุฑทั้งหมดนั้น ทักกันด้วยวาจาที่สุภาพคุยกันเพลิดเพลินเหมือนเพื่อนและเหมือนญาติ สวมกอดกันจับมือกันวางมือบนจงอยบ่า มีจิตร่าเริงยินดี. บทว่า พวกนาค พวกสุบรรณ ทําพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ คือ พวกเขาเหล่านั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
พวกที่อยู่ในทะเลหลวงคือพวกอสูร ผู้อาศัยทะเล ซึ่งถูกพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพ ซึ่งมีพระนามว่าท้าววชิรหัตถ์ (มีวชิราวุธในพระหัตถ์) ปราบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 110
เมื่อคราวก่อน เพราะเหตุนางสุชาดาลูกสาวของอสูร แม้เหล่าใด แม้เหล่านั้นทั้งหมด เป็นพี่น้องของท้าววาสวะ. (พระอินทร์) พวกเหล่านั้นมีฤทธิ์ มียศ. บทว่า พวกกาลกัญชามีกายใหญ่พิลึก คือ พวกอสูรกาลกัญชานิรมิตร่างใหญ่ น่าสะพึงกลัวแล้วก็มา. บทว่า พวกอสูรตระกูลทานเวฆัส ได้แก่ พวกอสูรถือธนู เหล่าอื่นชื่อทานเวฆัส. บทว่า เวปจิตติ สุจิตติ และปหาราทะกับนมุจี ได้แก่ พวกอสูรเหล่านี้ คืออสูรชื่อเวปจิตติ ๑ อสูรชื่อสุจิตติ ๑. (๑) บทว่า กับนมุจี ได้แก่ มาร ชื่อนมุจิ ผู้เป็นเทวบุตร ก็มาพร้อมกับอสูรเหล่านั้นนั่นแล. อสูรเหล่านี้อยู่ในทะเล แต่นมุจีนี้อยู่ในเทวโลกชั้นปรนิมมิต เหตุไรจึงมาพร้อมกับอสูรเหล่านั้น? เพราะเป็นพวกไม่ถูกใจเป็นพวกอภัพ. ส่วนนมุจีนี้ก็เช่นกันนั่นแหละ ธาตุถูกกัน เพราะฉะนั้น จึงมา. บทว่า พวกลูกของพลิอสูรหนึ่งร้อย คือ ลูกร้อยหนึ่งของพลีผู้อสูรใหญ่ บทว่า ทุกตนชื่อไพโรจน์ คือทรงชื่อราหูผู้เป็นลุงของตนนั่นเอง. บทว่า ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกําลัง คือ ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกําลังของตนทุกตนกลายเป็นผู้จัดเครื่องสนามเสร็จแล้ว. บทว่า เข้าใกล้ราหุภัทรแล้ว คือ เข้าหาจอมอสูรชื่อราหู. บทว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัยของท่าน คือความเจริญจงมีแก่ท่าน บัดนี้เป็นเวลาประชุม. อธิบายว่าท่านจงเข้าไปสู่ป่าเป็นที่ประชุมแห่งภิกษุทั้งหลาย เพื่อดูหมู่ภิกษุ.
บทว่า เหล่าอาโปเทพ เหล่าปฐวีเทพ เหล่าเตโชเทพ และเหล่าวาโยเทพ ก็มาในครั้งนั้น คือ เหล่าเทพที่มีชื่อขึ้นต้นว่า น้ำ เพราะทําบริกรรมในกสิณน้ำเป็นต้นจึงเกิดขึ้นมา ก็มาในครั้งนั้น. บทว่า เหล่าวรุณเทพ เหล่าวารุณเทพ และโสมเทพ กับยศเทพ ความว่า พวกเทพที่มีชื่ออย่างนี้ คือ วรุณเทพ วารุณเทพ โสมเทพ ก็มาด้วยกัน กับยศเทพ.
(๑) ปหาราทะ หายไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 111
บทว่า พวกเมตตากรุณา คือพวกเทพผู้ทําบริกรรมในฌานที่ประกอบด้วยความรัก และในฌานที่ประกอบด้วยความเอ็นดูแล้วจึงเกิดขึ้น. บทว่า เหล่าเทพผู้มียศมาแล้ว คือ แม้พวกเทพเหล่านั้น เป็นผู้มียศใหญ่ ได้มาแล้ว. บทว่า หมู่เทพสิบหมู่เหล่านี้ ตั้งอยู่โดยส่วนสิบ ทั้งหมดมีผิวพรรณต่างๆ กัน ความว่า พวกเทพสิบหมู่เหล่านั้นตั้งอยู่โดยส่วนสิบ ทั้งหมดมีผิวพรรณต่างๆ กัน ด้วยสามารถแห่งสีเขียวเป็นต้น ก็มาแล้ว.
บทว่า เทพชื่อเวณฑู คือ เวณฑุเทพ ๑. บทว่า สหลีด้วย คือเทพชื่อสหลี ๑. บทว่า เทพชื่ออสมา และยมะทั้งสอง คืออสมเทพและยมกเทพอีก ๒. บทว่า พวกเทพที่อาศัยพระจันทร์ เอาพระจันทร์ไว้ข้างหน้าแล้วก็มา คือ พวกเทพที่อาศัยพระจันทร์ ทําพระจันทร์ไว้ข้างหน้าแล้วก็มา ถึงพวกเทพที่อาศัยพระอาทิตย์ ก็ทําพระอาทิตย์ไว้ข้างหน้าแล้วก็มาเหมือนกัน. บทว่า ทํานักษัตรไว้ข้างหน้า คือ เทวดาทั้งหลายที่อาศัยนักษัตร (ดาวเคราะห์) ทําหมู่นักษัตรไว้ข้างหน้าแล้วก็มา. บทว่า มันทวลาหกทั้งหลายก็มา ความว่า เหล่าวาตวลาหก เหล่าอัพภวลาหก เหล่าอุณหวลาหก พวกวลาหกเทพแม้ทั้งหมดนี้ เรียกชื่อว่ามันทวลาหก แม้เหล่ามันทวลาหกนั้นก็มา. บทว่า ถึงแม้ท้าวสักกะ วาสวะปุรินททะ ผู้ประเสริฐกว่าพวกวสุ ก็มา คือ วาสวะ คือ พระองค์ใดที่เรียกว่า สักกะและปุรินททะ ผู้ประเสริฐกว่าวสุเทพทั้งหลาย แม้ท้าววาสวะนั้น ก็เสด็จมา. บทว่า พวกเทพ ๑๐ เหล่านี้ คือพวกเทพ ๑๐ เหล่านี้ มาแล้วโดยส่วน ๑๐. บทว่า ล้วนแต่มีผิวพรรณแตกต่างกัน คือ มีผิวพรรณต่างๆ กันด้วยสามารถสีเขียวเป็นต้น.
บทว่า ต่อมา พวกสหภูเทพก็มา คือ ลําดับต่อมา พวกเทวดาชื่อสหภูก็มา. บทว่า ชลมคฺคิสิขาริว คือ รุ่งเรืองอยู่ดุจเปลวไฟ. ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 112
กล่าวว่า บทว่า รุ่งเรืองดุจเปลวเพลิงนี้ เป็นชื่อของเทพเหล่านั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า พวกอริฏกะ และพวกโรชะ คือ พวกอริฏฐกเทพ และพวกโรชเทพ. บทว่า มีรัศมีเหมือนดอกผักตบ คือพวกเทวดาเหล่านั้น ชื่อว่าพวกเทพดอกผักตบ. เพราะว่า แสงตัวเทวดาเหล่านั้นเหมือนกับดอกผักตบฉะนั้น จึงเรียกว่า อุมฺมาปุปฺผนิภาสิ-มีรัศมีเหมือนดอกผักตบ. คําว่า วรุณและสหธรรม คือเทพทั้งสององค์เหล่านี้ด้วย. คําว่า อัจจุตะและอเนชกะ คือ เหล่าอัจจุตเทพและเหล่าอเนชกเทพ. คําว่า สุไลยและรุจิระก็มา คือพวกเทวดาชื่อสุไลย และพวกเทวดาชื่อรุจิระก็มา. คําว่า วาสวเนสีก็มา คือพวกเทวดาวาสวเนสี ก็มา. คําว่า หมู่เทพทั้ง ๑๐ เหล่านี้ คือ หมู่เทพทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้มาแล้วโดยส่วนสิบทีเดียว.
คําว่า สมานะ มหาสมานะ คือ พวกเทพชื่อสมานะและพวกเทพชื่อมหาสมานะ. คําว่า มานุสะ มานุสุตตมะ คือ พวกเทพชื่อมานุสะและพวกเทพชื่อมานุสุตตมะ. คําว่า พวกขิฑฑาปทูสิกะก็มา พวกมโนปทูสิกะก็มา คือ พวกเทพที่มีการเล่น ประทุษร้าย และพวกเทพที่มีใจประทุษร้ายก็มา. คําว่า ถัดไปพวกหริเทพก็มา คือ พวกที่ชื่อหริเทพก็มา. คําว่าและพวกใด ชื่อโลหิตวาสี คือ และเทพพวกโลหิตวาสีก็มา. และเทพสองพวกเหล่านี้คือ พวกที่ชื่อ ปารคะ และพวกที่ชื่อมหาปารคะ ก็มา. คําว่า หมู่เทพทั้งสิบเหล่านี้ คือ หมู่เทพทั้งสิบแม้เหล่านี้ มาแล้วโดยส่วนสิบเทียว.
คําว่า พวกเทพชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่ออรุณะ ชื่อเวฆนัสก็มาด้วยกัน คือ พวกเทพทั้งสามมีพวกสุกกะเป็นต้น และเทพพวกเวฆนัสก็มาพร้อมกับเทพเหล่านั้น. คําว่า พวกเทพผู้หัวหน้าชื่อโอทาตคัยหะ คือพวกเทพผู้เป็นหัวหน้าชื่อ โอทาตคัยหะ ก็มา. คําว่า พวกวิจักขณเทพก็มา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 113
คือ พวกเทพชื่อวิจักขณะ ก็มา. คําว่า พวกสทามัตตะ พวกหารคชะ คือพวกเทพชื่อสทามัตตะและพวกเทพชื่อหารคชะ คําว่า พวกมิสลกะผู้มียศ คือ พวกชื่อมิสสกเทพถึงพร้อมด้วยยศ. คําว่า ปัชชุนคํารามอยู่ก็มา คือ เทวราชชื่อปัชชุน คํารามอยู่ก็มา. คําว่า ผู้ให้ฝนตกทั่วทิศ คือผู้ที่ไปทิศใดๆ ฝนตกในทิศนั้นๆ . คําว่า หมู่เทพทั้งสิบเหล่านี้ คือ หมู่เทพทั้งสิบแม้เหล่านี้มาแล้วโดยส่วนสิบเทียว.
คําว่า พวกเทพชั้นดุสิตผู้มีความเกษมและพวกชั้นยามาได้แก่ พวกเทพผู้มีความเกษมอยู่ดุสิตบุรี และพวกเทพที่อยู่ในยามาเทวโลก คําว่า พวกกถกา ผู้มียศ ได้แก่ พวกเทพชื่อกถกะ ผู้สมบูรณ์ด้วยยศด้วย. ส่วนในบาลีเขียนว่า กัฏฐกะ. คําว่า ลัมพิตกะ (และ) ลามเสฏฐะ ได้แก่ พวกเทพชื่อลัมพิตกะ และพวกเทพชื่อลามเสฏฐะ. คําว่า โชตนามและอาสวะความว่า มีพวกเทวดาชื่อโชติเทพ โชติช่วงเหมือนกองไฟอ้อที่ก่อบนยอดภูเขาและพวกอาสาเทพก็มา. แต่ในบาลีเขียน โชตินาม ท่านเรียกอาสาเทพว่าอาสวะ ด้วยอํานาจฉันท์. เทวดาชั้นนิมมานรดีก็มา ถัดมาเทวดาชั้นปรนิมมิตาก็มา. คําว่า หมู่เทพทั้งสิบเหล่านี้ ได้แก่ หมู่เทพทั้งสิบแม้เหล่านี้มาแล้วโดยส่วนสิบทีเดียว.
คําว่า หมู่เทพ ๖๐ เหล่านี้ ได้แก่ เทพ ๑๐ หมู่ ๖ ครั้ง เริ่มแต่อาโปเป็นต้นไป ก็เป็นหมู่เทพ ๖๐ หมู่. เทพทั้งหมดมีผิวพรรณแตกต่างกันด้วยอํานาจสีเขียวเป็นต้น. คําว่า มาแล้วโดยกําเนิดชื่อ ได้แก่ มาแล้วโดยภาคแห่งชื่อ คือ โดยส่วนแห่งชื่อนั่นเทียว. คําว่า และเทพเหล่าอื่นใดที่เช่นกันกับ ได้แก่ และแม้เทพในจักรวาลที่เหลือเหล่าอื่นใดที่เช่นกันกับเทพเหล่านี้ คือ เป็นเช่นนั้นเหมือนกันทั้งโดยผิวพรรณ ทั้งโดยชื่อ เทพเหล่านั้นมาแล้วเทียว ดังนี้ เป็นอันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทวดาทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 114
เหมือนรวบยอดมัดเป็นกลุ่มๆ ด้วยบทเดียวเท่านั้น. ครั้นทรงแสดงหมู่เทวดาในหมื่นโลกธาตุอย่างนี้เสร็จแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความต้องการที่เทวดาเหล่านั้นมาจึงตรัสคาถาเป็นต้นว่า มีชาติ (ความเกิด) ที่อยู่แล้ว ดังนี้.
พึงทราบใจความของคาถานั้น พระอริยสงฆ์ชื่อว่า มีชาติที่อยู่แล้ว เพราะชาติของท่าน ท่านอยู่แล้วปราศไปแล้ว. ท่านผู้มีชาติที่อยู่แล้วนั้น. พวกเราจะดู คือจะเห็นพระอริยสงฆ์ที่ชื่อว่าไม่มีตาปู เพราะตาปูคือ ราคะ โทสะและโมหะไม่มี ชื่อว่า ข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำ) แล้ว เพราะข้ามโอฆะทั้งสี่ได้แล้วตั้งอยู่ ชื่อว่า หาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะทั้ง ๔ ชื่อว่าผู้ข้ามโอฆะ เพราะข้ามโอฆะเหล่านั้นนั่นเองได้แล้ว ชื่อว่านาคะ เพราะไม่ทําความชั่ว. คําว่า ผู้ล่วงกรรมดํา คือและพวกเราจะดู คือจะเห็นพระทศพลที่ทรงรุ่งเรืองอยู่ด้วยพระสิริเหมือนพระจันทร์ที่ล่วงความดํา (คือ เมฆเวลาหก) ฉะนั้น. เทพเหล่านั้นและเทพเหล่าอื่นใดที่เช่นเดียวกันกับเทพเหล่านั้น แม้ทั้งหมดมาแล้วด้วยการระบุชื่อเพื่อประโยชน์นั้น ด้วยประการฉะนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงพวกพรหม จึงตรัสคําเป็นต้นว่า สุพรหมและปรมัตต (ปรมาตมัน) พรหม ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพรหม ได้แก่ พรหมประเสริฐองค์หนึ่งและพรหมชื่อ ปรมัตตะ. บทว่า เป็นบุตรของท่านผู้มีฤทธิ์ ได้แก่อริยพรหมเหล่านี้ เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์มาด้วยกันทีเดียว. บทว่า สนังกุมารและติสสะ ได้แก่ สนังกุมารองค์หนึ่ง ๑ ติสสมหาพรหมองค์ ๑. บทว่า แม้เขาก็มา ได้แก่ แม้ติสสมหาพรหมนั้นก็มา. มีพระดํารัสในเรื่องพรหมนี้ว่า
มหาพรหมเข้าถึงพรหมโลกมีความรุ่งเรืองมีร่างใหญ่โต มียศ ปกครองพรหมโลกพันหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 115
บทว่า พรหมโลกพันหนึ่ง ได้แก่ พรหมชั้นผู้ใหญ่พันองค์มาแล้วสามารถทําแสงสว่างในพันจักรวาลด้วยนิ้วพระหัตถ์นิ้วเดียว ในหมื่นจักรวาลด้วยนิ้วพระหัตถ์สิบนิ้ว. บทว่า มหาพรหมปกครอง ได้แก่ พรหมชั้นผู้ใหญ่แต่ละองค์ครอบงําพรหมเหล่าอื่นแล้วตั้งอยู่ในที่ใด. บทว่า เข้าถึง ได้แก่เกิดในพรหมโลก. บทว่า มีความรุ่งเรือง ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยอานุภาพ. บทว่า มีร่างใหญ่โต ได้แก่ มีร่างกายใหญ่มีขนาดร่างกายเท่ากับสองสามเขตหมู่บ้านชาวมคธ. บทว่า มียศ ได้แก่ประกอบพร้อมด้วยยศกล่าวคือ สิริแห่งอัตภาพ. บทว่า พรหมสิบองค์เป็นอิสระในพรหมพันหนึ่งนั้น มีอํานาจเป็นไปเฉพาะก็มา ได้แก่ มหาพรหมเป็นอิสระสิบองค์เห็นปานนั้น ยังอํานาจให้เป็นไปโดยเฉพาะๆ ก็มา. บทว่า พรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้วก็มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น ความว่า ก็มหาพรหมชื่อหาริตะ มีพรหมแสนองค์เป็นบริวาร ก็มาในท่ามกลางพรหมเหล่านั้น. บทว่า เห็นพวกเทวดาที่มานั้นหมด ทั้งพระอินทร์พร้อมทั้งพระพรหม ความว่า พวกเทวดา แม้ทั้งหมดนั้นทําท้าวสักกเทวราชให้เป็นหัวหน้าแล้วมา และพวกพรหมก็ทําหาริตมหาพรหมให้เป็นหัวหน้าแล้วมา. บทว่า กองทัพมารก็มา ความว่า กองทัพมาร ก็เข้ามา. บทว่า พวกท่านจงดูความเขลาของกฤษณะ (มารผู้ดํา) ความว่า พวกท่านจงดูความโง่ของมารผู้ดํา พญามารสั่งบริษัทของตนอย่างนี้ว่า พวกท่านจงมาจับผูกไว้.บทว่า การผูกด้วยราคะ จงมีแก่พวกท่าน ความว่า เทวมณฑลของท่านทั้งหมดนี้ จงเป็นอันผูกไว้แล้วด้วยราคะ. บทว่า พวกท่านจงแวดล้อมไว้โดยรอบ บรรดาพวกท่านใครๆ อย่าปล่อยเขาไป ความว่า บรรดาพวกท่าน แม้ผู้หนึ่งอย่าปล่อยไปแม้แต่ผู้เดียวในพวกนี้ ปาฐะว่า มา โว มุญฺจิตฺถ พวกท่านอย่าปล่อยไป ใจความก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า แม่ทัพ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 116
ใหญ่ บังคับกองทัพกฤษณะในที่ประชุมนั้นดังนี้ ความว่า มารผู้เป็นแม่ทัพใหญ่บังคับกองทัพมารในที่ประชุมนั้นอย่างนี้. บทว่า เอามือตบพื้น ความว่า ตบพื้นแผ่นดินด้วยมือ. บทว่า ทําเสียงน่ากลัว ความว่า และทําเสียงที่น่ากลัว เพื่อแสดงเสียงที่น่ากลัวของมาร. บทว่า เหมือนเมฆที่หลั่งฝน คํารามอยู่เป็นไปกับด้วยฟ้าแลบ ความว่า เหมือนเมฆหลั่งน้ำฝนเป็นไปกับด้วย ฟ้าแลบขู่คํารามอย่างใหญ่. บทว่า ครั้งนั้นมารนั้นกลับไปแล้ว ความว่า สมัยนั้น ครั้นแสดงสิ่งที่น่ากลัวนั้น เสร็จแล้ว มารนั้นก็กลับไป. บทว่า เดือดดาลกับผู้ที่ไม่เป็นไปในอํานาจตน ความว่า เมื่อไม่อาจเพื่อจะให้ใครๆ เป็นไปในอํานาจของตนได้ ก็แสนเดือดดาลพลุ่งพล่านเอากับผู้ที่ไม่อยู่ในอํานาจตัว หมดอยากด้วยอํานาจของตนแล้วก็กลับไป. เล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่า มารนี้เห็นสมาคมนี้ใหญ่ คิดว่า จะทําอันตรายแก่การ บรรลุมรรคผลประชุมที่สําคัญ จึงส่งกองทัพมารไปแสดงสิ่งอันน่ากลัวเป็นพักๆ ก็แล ปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็คือ ในที่ใดจะไม่มีการบรรลุมรรคผล ในที่นั้น พระองค์จะไม่ทรงห้ามมารที่แสดงสิ่งอันน่ากลัวของมาร แต่ในที่ใดจะมีการบรรลุมรรคผล ในที่นั้นพระองค์จะทรงอธิษฐานไม่ให้บริษัทเห็นรูป ไม่ให้ยินเสียงมาร ก็เพราะในสมัยนี้ จะมีการตรัสรู้มรรคผลใหญ่ ฉะนั้น จึงทรงอธิษฐานโดยประการที่พวกเทวดาจะไม่เห็น จะไม่ยินเสียงของมารนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ครั้งนั้นมารนั้น แสนเดือดดาลกับ ผู้ที่ไม่เป็นไปในอํานาจตน ได้กลับไปแล้ว.
บทว่า พระศาสดาผู้มีดวงตา ทรงพิจารณาและทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมดแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบและทรงพิจารณาเหตุนั้นทั้งหมดแล้ว. บทว่า กองทัพมารเข้ามาแล้ว ภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 117
พวกเธอจงรู้จักพวกเขา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายกองทัพมารเข้ามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักพวกเขาตามสมควรแก่ตน พวกเธอจงเข้าผลสมาบัติ. บทว่า ได้กระทําความเพียรแล้ว ความว่า ภิกษุเหล่านั้นปรารภความเพียรเพื่อประโยชน์เข้าผลสมาบัติ. บทว่า หลีกไปจากท่านปราศจากราคะแล้ว ความว่า มารและผู้เที่ยวไปตามมาร ได้หลีกไปอย่างไกลจากเหล่าพระอริยะผู้ปราศจากราคะแล้วเทียว. บทว่า แม้แต่ขนของพวกท่านก็ไม่ไหว ความว่า แม้แต่ขนของท่านผู้ปราศจากราคะเหล่านั้นก็ไม่หวั่นไหว. ครั้งนั้นมารปรารภหมู่ภิกษุแล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า
เหล่าสาวกของพระองค์ทั้งหมด พิชิตสงครามได้แล้ว ล่วงความกลัวเสียได้แล้ว มียศปรากฏในประชุมชน บันเทิงอยู่กับหมู่พระอริยะผู้เกิดแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า บันเทิงอยู่กับภูตทั้งหลาย ความว่าบันเทิงคือ บันเทิงทั่วกับหมู่พระอริยะอันเกิดแล้ว (ภูต) คือเกิดพร้อมแล้วในศาสนาของพระทศพล. บทว่า ปรากฏในประชุมชน ความว่า ปรากฏโดยวิเศษ คือ แจ่มแจ้ง ได้แก่อันเขารู้จักเป็นอย่างยิ่ง. ก็เพราะมหาสมัยสูตรนี้เป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา ฉะนั้น ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคล ก็พึงกล่าวแต่พระสูตรนี้นั่นเทียว.
ได้ยินว่า พวกเทวดาพากันคิดว่า พวกเราจะฟังพระสูตรนี้แล้ว ก็เงี่ยหูลงฟัง. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจบ เทวดาจํานวนหนึ่งแสนโกฏิได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ผู้ที่เป็นพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มีการนับ. และเรื่องนี้ พึงมีเพราะความที่เป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 118
มีเรื่องเล่าว่า ที่วัดโกฏิบรรพต มีเทพธิดาองค์หนึ่งอยู่ที่ต้นกากทิงใกล้ประตูถ้ำกากทิง. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งท่องพระสูตรนี้ภายในถ้ำ. เทพธิดาได้ฟังในเวลาจบพระสูตร ก็ได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง.
นั่นใคร? ภิกษุหนุ่มถาม.
ดิฉันเป็นเทพธิดาเจ้าค่ะ เทพธิดาตอบ.
ทําไมจึงได้ให้สาธุการ ภิกษุหนุ่มถามอีก.
ท่านเจ้าค่ะ ดิฉันได้ฟังพระสูตรนี้ในวันที่พระทศพลประทับนั่งแสดงที่ป่าใหญ่วันนี้ได้ฟัง (อีก) ธรรมบทนี้ท่านถือเอาดีแล้ว เพราะไม่ทําให้อักษรแม้ตัวเดียวจากคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้เสียไป เทพธิดาชี้แจง.
เมื่อพระทศพลกําลังแสดงอยู่ คุณได้ฟังหรือ? ภิกษุถามอีก.
อย่างนั้น เจ้าค่ะ นางรับรอง.
เขาว่าเทวดาเข้าประชุมกันมาก แล้วคุณยืนฟังที่ไหน?
ท่านเจ้าค่ะ ดิฉันเป็นเทวดาชาวป่าใหญ่ ก็เมื่อพวกเทวดาชั้นผู้ใหญ่กําลังพากันมา ไม่ได้ที่ว่างในชมพูทวีปเลยมาสู่ตามพปัณณิทวีปนี้ ยืนริมฝังที่ท่าชัมพูโกล ถึงที่ท่านั้นก็ตาม เมื่อพวกเทวดาชั้นผู้ใหญ่กําลังพากันมา ก็ถอยร่นมาโดยลําดับ แช่น้ำทะเลลึกแค่คอทางส่วนหลังหมู่บ้านใหญ่ในจังหวัดโรหณะแล้วก็ยืนฟังในที่นั้น นางบรรยายรายละเอียด.
จากที่ซึ่งคุณยืนมันไกลแล้ว คุณจะเห็นพระศาสดาหรือ เทวดา
ท่าน! พูดอะไร ดิฉันเข้าใจว่า พระศาสดาทรงแสดงธรรมอยู่ที่ป่าใหญ่ทรงแลดูดิฉัน เสมอๆ รู้สึกกลัว รู้สึกละอาย.
เขาเล่ามาว่า วันนั้นมีเทวดาแสนโกฏิสําเร็จพระอรหัต แล้วคุณล่ะ ตอนนั้นสําเร็จพระอรหัตหรือ
ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 119
สําเร็จอนาคามิผล กระมัง?
ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ
เห็นจะสําเร็จสกทาคามิผล กระมัง
ไม่หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ
เขาว่า พวกเทวดาที่สําเร็จมรรคสามนับไม่ไค้ แล้วคุณล่ะ เห็นจะเป็นพระโสดาบันกระมัง?
ในวันนั้น เทพธิดาสําเร็จโสดาปัตติผล รู้สึกอาย จึงพูดว่า พระคุณเจ้าถามสิ่งไม่น่าถาม (ถามซอกถามแทรก) ลําดับนั้น ภิกษุนั้น จึงกล่าวกะนางว่า เทวดา! คุณจะแสดงกายให้อาตมาเห็นได้ไหม?
จะแสดงหมดทั้งตัวไม่ได้หรอกค่ะ ท่านผู้เจริญ! ดิฉันจะแสดงแก่พระคุณเจ้าแค่ข้อนิ้วมือ.
ว่าแล้วก็เอานิ้วมือสอดหันหน้าเข้าภายในถ้ำตามรูกุญแจ. นิ้วมือก็เป็นเหมือนเวลาพระจันทร์พระอาทิตย์ขึ้นเป็นพันๆ ดวง เทพธิดากล่าวว่า จงอย่าประมาทนะ ท่านเจ้าค่ะ! แล้วไหว้ภิกษุหนุ่มกลับไป. สูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายย่อมถือว่า พระสูตรนั้นเป็นของเราด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถามหาสมัยสูตรที่ ๗