๘. สักกปัญหสูตร เรื่อง ท้าวสักกะกับปัญจสิขคนธรรพบุตร
[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 121
๘. สักกปัญหสูตร
เรื่องท้าวสักกะกับปัญจสิขคนธรรพบุตร หน้า 121
ว่าด้วยสมณพราหมณ์พวกอื่น หน้า 138
ท้าวสักกะเปล่งอุทาน ได้ธรรมจักษุ หน้า 142
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 14]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 121
๘. สักกปัญหสูตร
เรื่อง ท้าวสักกะกับปัญจสิขคนธรรพบุตร
[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ถ้ำอินทสาลระหว่างเขาเวทิยกะ ด้านเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ข้างทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์ ในแคว้นมคธ.
สมัยนั้น ท้าวสักกะผู้จอมเทพมีพระประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระรําพึงว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ อยู่ที่ไหนหนอ ครั้นทรงเห็นแล้วได้ตรัสเรียกหมู่เทพชั้นดาวดึงส์มา ตรัสว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ถ้ำอินทสาลระหว่างเขาเวทิยกะ ด้านเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ข้างทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. หมู่เทพชั้นดาวดึงส์ได้รับสนองเทวโองการแล้ว จึงท้าวเธอตรัสเรียกปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรมาแล้วรับสั่งเหมือน อย่างนั้น ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรรับสนองเทวโองการแล้วได้ถือพิณสีเหลือง ดุจผลมะตูม ตามเสด็จท้าวสักกะผู้จอมเทพไปด้วย. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ จอมเทพอันเทพชั้นดาวดึงส์แวดล้อมแล้ว มีปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรนําเสด็จ ได้อันตรธานจากดาวดึงส์เทวโลกไปปรากฏที่ภูเขาเวทิยกะ ด้านเหนือแห่งบ้าน พราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ข้างทิศตะวันออกแห่งกรุงราชคฤห์ในแคว้นมคธ เหมือนบุรุษมีกําลัง เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น. สมัยนั้น ภูเขา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 122
เวทิยกะได้ปรากฏสว่างรุ่งโรจน์นัก และบ้านของพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์ ก็ได้สว่างไสวเหมือนกัน เพราะเทวานุภาพ. หมู่มนุษย์ในบ้านโดยรอบได้กล่าวว่าวันนี้ภูเขาเวทิยกะได้ลุกโพลงสว่างไสวรุ่งโรจน์แล้ว ทําไมวันนี้ภูเขาเวทิยกะและบ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสณฑ์จึงสว่างไสวนัก. ต่างพากันตกใจมีขนลุกชันแล้วครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ตรัสเรียกปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรว่า พ่อปัญจสิขะ ตถาคตผู้มีฌานทรงยินดีในฌาน บัดนี้ ทรงเร้นอยู่ คนเช่นเราเข้าเฝ้าได้ยากนัก ก็ถ้าเธอทําให้พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดก่อนแล้ว พวกเราจะเข้าเฝ้าในภายหลัง ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร ได้รับสนองเทวโองการแล้ว ถือพิณเข้าไปทางถ้ำอินทสาล แล้วยืน ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง รําพึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ไม่ไกลนักไม่ใกล้นักเพียงแค่นี้ คงจักทรงได้ยินเสียงของเรา. จึงยกพิณขึ้นบรรเลงและได้กล่าวคาถาที่เนื่องด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระอรหันตคุณและเกี่ยวไปในทางกามเหล่านี้ว่า
[๒๔๘] ดูก่อนน้องสุริยวัจฉสา พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุ ผู้เป็นบิดาให้กําเนิดน้องผู้เป็นเทพกัลยาณี ยังความยินดีให้เกิดแก่พี่ น้องผู้มีรัศมีอันเปล่งปลั่ง เป็นที่รักของพี่ ดุจลมเป็นที่ใคร่ของผู้มีเหงื่อ ดุจน้ำเป็นที่ปรารถนาของคนผู้กระหาย ดุจธรรมเป็นที่รักของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดุจยาเป็นที่รักของคนไข้หนัก ดุจโภชนะเป็นที่รักของคนหิว ฉะนั้น.
ขอแม่จงช่วยดับความกลัดกลุ้มของพี่ดุจเอาวารีดับไฟที่กําลังโพลงฉะนั้น. เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 123
ไรหนอพี่จักได้หยั่งลงสู่ระหว่างถันยุคลและอุทรประเทศของน้อง ดุจช้างสารที่ถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อน หยั่งลงสู่สระโบกขรณีมีน้ำอันเย็น ประกอบด้วยเกสรละอองดอกปทุมฉะนั้น. พี่หลงใหลในนิ่มน้องผู้มีขางาม จึงไม่รู้จักเหตุการณ์ ประดุจช้างสารที่เหลือขอเข้าใจว่า ตนชนะขอและหอกแล้ว แม้ถูกแทงอยู่ก็ไม่รู้สึก ฉะนั้น.พี่มีจิตปฏิพัทธ์ในน้อง ไม่อาจจะกลับจิตที่ปรวนแปรแล้วได้ ดุจปลาที่กลืนเบ็ดฉะนั้น.
เชิญน้องผู้เป็นเทพกัลยาณี มีลําขาอันงาม มีนัยน์ตาอันชมดชม้อย จงสวมกอดคลึงเคล้าพี่ พี่ปรารถนาดั่งนี้ยิ่งนัก ส่วนความรักของพี่มีไม่น้อย ดุจทักษิณาอันบุคคลถวายแล้วในพระอรหันต์ ฉะนั้น. แน่ะ น้องผู้งามทั่วสรรพางค์ บุญพี่ที่ทําไว้ในพระอรหันต์ทั้งหลาย บุญนั้นพึงอํานวยผลให้พี่กับน้องได้ร่วมรักกัน. บุญที่พี่ได้ก่อสร้างไว้ในปฐพีมณฑลนี้ จงอํานวยผลให้พี่กับน้องได้ร่วมรักกัน.
แน่ะ น้องสุริยวัจฉสา พี่เสาะหาน้องดุจพระศากยบุตรพุทธมุนีมีพระสติปัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 124
เข้าฌานอยู่โดดเดี่ยว แสวงหาอมตธรรม ฉะนั้น. พระพุทธมุนีทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว พึงทรงเพลิดเพลินฉันใด พี่ถึงความคลอเคลียกับน้องแล้ว จึงเพลิดเพลินฉันนั้น. ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งทวยเทพชั้นดาวดึงส์ พึงประทานพรแก่พี่ไซร้ น้อง พี่ขอเลือกน้อง (ทันที) ความรักของพี่มั่นคงอย่างนี้ แน่ะ น้องผู้มีปรีชาดี น้องมีความงามเช่นนี้ เป็นธิดาของท่านผู้ใด พี่ขอนอบน้อมกราบไหว้ท่านผู้นั้น ผู้ประหนึ่งว่าไม้รังซึ่งผลิตดอกออกผลยังไม่นานคือบิดาของน้อง ดังนี้
[๒๔๙] เมื่อปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเธอว่า ปัญจสิขะ เสียงพิณของท่าน ย่อมกลมกลืนกับเสียงเพลงขับ และเสียงเพลงก็กลมกลืนกับเสียงพิณ อนึ่ง เสียงพิณและเสียงเพลงขับของท่านพอเหมาะกัน ปัญจสิขะ ก็คาถาเหล่านี้ ท่านร้อยกรองไว้แต่ครั้งไร? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ อชปาลนิโครธ ใกล้ฝังแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. สมัยนั้นแลข้าพระองค์ย่อมมุ่งหวังนางสุริยวัจฉสา ซึ่งเป็นธิดาของท้าวคนธรรพราช ชื่อติมพรุ ก็แต่นางรักผู้อื่นอยู่ นางมุ่งหวังบุตรแห่งมาตลีเทพสารถี ชื่อสิขัณฑิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้นางโดยปริยายอะไรๆ จึงได้ถือพิณเข้าไปถึงที่อยู่แห่งท้าวคนธรรพราชนั้นแล้ว ได้บรรเลงพิณและกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 125
ดูก่อน น้องสุริยวัจฉสา พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุผู้เป็นบิดาให้กําเนิดน้อง ผู้เป็นเทพกัลยาณี ยังความยินดีให้เกิดแก่พี่ ฯลฯ แน่ะ น้องผู้มีปรีชาดี น้องมีความงามเช่นนี้ เป็นธิดาของท่านผู้ใด พี่ขอนอบน้อมกราบไหว้ท่านผู้นั้น ผู้ประหนึ่งว่าไม้รังซึ่งผลิตดอกออกผลยังไม่นาน คือบิดาของน้อง ดังนี้.
[๒๕๐] ครั้นข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ฉันไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์เลย ก็แต่ว่าเมื่อฉันฟ้อนอยู่ในเทวสภา ชื่อสุธรรมา ได้สดับ (พระนาม) พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ผู้นิรทุกข์ท่านยอพระเกียรติพระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะเหตุใดเล่า? วันนี้ เราเลิกพบปะกันเสียเถิด ดั่งนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สมาคมกับน้องหญิงนั้น เท่านั้น ภายหลังแต่นั้นก็ไม่ได้พูดกันอีก.
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพได้ทรงปริวิตกว่า ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้สนทนากันอย่างเพลิดเพลิน จึงทรงเรียกปัญจสิขคนธรรพเทพบุตรมาตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ ท่านจงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแทนเราแล้วทูลว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยอํามาตย์และบริวาร ขอถวายบังคมพระบาทยุคล ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. ปัญสิขคนธรรพเทพบุตรรับสนองเทวโองการแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแทนตามเทพบัญชาแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปัญจสิขะ ขอท้าวสักกะจอมเทพพร้อมอํามาตย์และบริวาร จงทรงพระสําราญตามประสงค์ อนึ่ง เทพดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 126
มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมากเป็นผู้ใคร่ต่อความสุข ก็จงมีความสุขเช่นกัน.
[๒๕๑] ก็แหละพระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสรับรองเทวดาผู้มีศักดาใหญ่เห็นปานนี้ ด้วยอาการอย่างนี้. ท้าวสักกะจอมเทพ อันพระคถาคตเจ้าตรัสรับรองแล้ว เสด็จเข้าไปสู่ถ้ำอินทสาล ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ทั้งปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร ก็เข้าไปถวายอภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกัน. ก็แหละโดยสมัยนั้น ถ้ำอินทสาลเป็นสถานอันไม่สม่ําเสมอ ได้ถึงความสม่ําเสมอเคยคับแคบ ได้ถึงความกว้างขวาง ความมืดในถ้ำได้หายไป ความสว่างไสวบังเกิดขึ้นแทน เพราะเทวานุภาพ.
[๒๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า การที่ท้าวโกสีย์ผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก เสด็จมา ณ ถ้ำนี้น่าอัศจรรย์ยังไม่เคยมีแล้วมามีขึ้น. ท้าวสักกะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกไปเสียนาน ตั้งใจจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ แต่ข้าพระองค์ยุ่งด้วยกิจและกรณียะบางอย่าง ของหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ จึงไม่อาจจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่สลฬคันธกุฎี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ข้าพระองค์ได้ไปเฝ้า แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเข้าสมาธิอันใดอันหนึ่งเสีย นางภุชคีเทพธิดาบริจาริกาของท้าวเวสวัณมหาราช เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะนางว่า ดูก่อนน้องหญิง เธอจงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแทนเรา กราบทูลว่า ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยอํามาตย์และบริวาร ขอถวายบังคมบาทพระยุคลด้วยเศียรเกล้า. เมื่อข้าพระองค์กล่าวแล้วอย่างนี้ นางได้บอกแก่ข้าพระองค์ว่า บัดนี้มิใช่กาลจะเฝ้า เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 127
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําลังหลีกเร้นอยู่ ข้าพระองค์กล่าวว่า ถ้ากระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้วในกาลใด ในกาลนั้น เธอจงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคําของเราเถิด. นางได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแทนข้าพระองค์บ้างหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึงคําของนางได้อยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ขอถวายพระพร นางได้ไหว้อาตมา อาตมภาพยังระลึกถึงคําของนางได้อยู่ อีกประการหนึ่ง อาตมภาพออกจากสมาธินั้น เพราะเสียงแห่งล้อและดุมรถของมหาบพิตร.
เรื่องศากยธิดาโคปิกา
ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับถ้อยคําเฉพาะหน้าแห่งหมู่เทพ ซึ่งอุบัติในดาวดึงส์มาก่อนว่า ในกาลใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้นหมู่เทพเทวดาย่อมเต็มบริบูรณ์ หมู่อสูรย่อมเสื่อมไป ข้อนี้นั้น ข้าพระองค์ได้เห็นเป็นพยานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญศากยธิดา นามว่าโคปิกา ในกรุงกบิลพัสดุ์นี้เอง ได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทําให้บริบูรณ์ในศีลเป็นปกติ นางเบื่อหน่ายสตรีเพศ ปรารถนาบุรุษเพศเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เป็นพวกกับทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของข้าพระองค์แม้ทวยเทพในดาวดึงส์นั้น ย่อมรู้จักเธออย่างนี้ว่า โคปกเทพบุตรๆ ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่น ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ชั้นต่ํา เธอเหล่านั้นเพรียบพร้อมบําเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ มาสู่ที่บํารุงบําเรอของข้าพระองค์. โคปกเทพบุตรได้ตักเตือนพวกเธอว่า ท่านผู้นิรทุกข์ พวกท่านได้รวบรวมธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 128
(มาเป็น) เช่นนี้ชื่อว่าเอาหน้าไปไว้ไหน ก็เราชื่อว่าเป็นสตรีเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทําให้บริบูรณ์ในศีลเป็นปกติ เบื่อหน่ายสตรีเพศปรารถนาบุรุษเพศ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เป็นพวกกับทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรแห่งท้าวสักกะจอมเทพแม้ทวยเทพชั้นนี้ย่อมรู้จักเราอย่างนี้ว่า โคปกเทพบุตรๆ ดังนี้ ส่วนพวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ชั้นต่ําพวกเราได้เห็นแล้วช่างไม่น่าดูเสียเลย เมื่อโคปกเทพบุตรได้ตักเตือนคนธรรพ์เหล่านั้นแล้ว เทวดา ๒ องค์ กลับได้สติในอัตภาพนั้น เข้าถึงหมู่พรหมชั้นพรหมปุโรหิต ส่วนองค์ ๑ ยังอยู่ในชั้นกามาวจรนั้นแล.
[๒๕๓] ครั้งท้าวสักกะตรัสคํานี้แล้ว โคปกเทพบุตรได้กล่าวคาถาว่า
ข้าพเจ้าเป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ทั้งข้าพเจ้าก็ชื่อ โคปิกา ข้าพเจ้าเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธ พระธรรม และมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้บํารุงพระสงฆ์.
ข้าพเจ้าเป็นบุตรแห่งท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองมาก เข้าถึงทิพยสถาน เพราะความที่ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นแลเป็นธรรมอันดี ทวยเทพแม้ในชั้นนี้ ย่อมรู้จัก ข้าพเจ้าว่าโคปกะ ดังนี้.
ข้าพเจ้าได้เคยเห็นพวกภิกษุที่เคยเห็นกัน เข้าถึงหมู่แห่งคนธรรพ์อยู่ ก็ภิกษุเหล่านี้เป็นสาวกของพระโคดมทั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ ในกาลก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 129
ยังได้ชําระเท้า ได้เลี้ยงดูแล้วด้วยข้าวและน้ำในเรือนของตน ท่านผู้เจริญเหล่านี้ ไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า ชื่อว่าเอาหน้าไปไว้ไหน.
เพราะธรรมอันบัณฑิตพึงรู้เฉพาะตนอันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุได้แสดงดีแล้ว อันพระสาวกตรัสรู้ตามแล้ว แม้ข้าพเจ้าได้เข้าไปหาพวกท่านได้ฟังสุภาษิตของพระอริยะ.
ข้าพเจ้าได้เป็นโอรสของท้าวสักกะ มีอานุภาพใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาก เข้าถึงไตรทศแล้ว ส่วนพวกท่านนั่งใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนาอันยอดเยี่ยม แล้วยังเข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ํา ความอุบัติของพวกท่านไม่สมควรเลย ข้าพเจ้าได้เห็นสหธัมมิกที่เข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ําแล้วช่างไม่น่าดูเสียเลย.
พวกท่านเข้าถึงหมู่คนธรรพ์ มาสู่ที่บําเรอแห่งหมู่เทพ ท่านจงเห็นความแตกต่างนี้ของข้าพเจ้าผู้อยู่ครองเรือน.
ข้าพเจ้าเคยเป็นสตรี แล้วมาเป็นเทพบุตรในวันนี้ พรั่งพร้อมด้วยกามอันเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 130
ทิพย์ คนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น อันสาวกของพระโคดมตักเตือนแล้ว ถึงความสลดเพราะมาพบโคปกเทพบุตร. (พูดกันว่า) เชิญพวกเราจงมาขวนขวายพยายาม อย่าเป็นคนรับใช้เขาเลย บรรดาท่านทั้ง ๓ นั้น ๒ ท่านปรารภความเพียร ท่าน ๑ ระลึกถึงศาสนาของพระโคดม.
เธอทั้ง ๒ นั้นพรากจิตเสียได้ในชั้นนี้เห็นโทษในกามแล้วละกามคุณที่ละเอียดอันเป็นเครื่องข้อง เครื่องผูก คือ กามสังโยชน์ ซึ่งเป็นเครื่องประกอบของมาร ที่ยากจะข้ามพ้นได้.
ก้าวล่วงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ดุจช้างตัดเครื่องผูกพ้นไปได้ฉะนั้น ปวงเทพพร้อมด้วยพระอินทรเทวราชและปชาบดีเทวราช ได้เข้าไปในสภาสุธรรมาเทวสภาแล้ว.
เทพทั้ง ๒ นั้น นั่งไม่เลยไป ยังเป็นผู้แกล้วกล้าไม่มีกําหนัด ทําให้หมดธุลีไปได้ ท้าววาสพผู้เป็นใหญ่กว่าเทพ ประทับท่ามกลางหมู่เทพ ทอดพระเนตรเห็น ๒ เทพบุตรแล้ว ได้ทรงสลดพระหฤทัย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 131
เพราะ ๒ เทพนั้นเข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ํายังล่วงเลยหมู่เทพชาวดาวดึงส์เสียได้ เมื่อทรงพิจารณาแล้ว ทรงสลดพระหฤทัยอยู่นั่นแหละ โคปกเทพบุตรได้กราบทูลว่าขอเดชะ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมแห่งหมู่ชนประทับอยู่ในมนุษยโลก ปรากฏว่าเป็นศากยมุนีผู้ครอบงําเสียซึ่งกามนี้ บุตรของพระองค์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากสติ อันข้าพระองค์ตักเตือนแล้ว กลับ ได้สติ.
บรรดาเธอทั้ง ๓ รูป ๑ อยู่ในที่นี้เข้าถึงหมู่แห่งคนธรรพ์อยู่ ส่วน ๒ รูปมีปกติระลึกถึงทางตรัสรู้ (อนาคามิมรรค) ย่อมดูหมิ่นแม้ซึ่งเทวดาทั้งหลาย เพราะเธอเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น.
สาวกผู้มีคุณเครื่องประกาศธรรมเช่นนั้นในพระศาสนานี้ สาวกไรๆ ย่อมไม่หวังอะไรในเพราะการประกาศธรรมนั้น พวกเราขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะ ตัดความสงสัยได้แล้วเป็นชนินทะ ผู้ชนะ.
บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น ๒ รูป ได้รู้ธรรมใดของพระองค์ในพระศาสนานี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 132
แล้วบรรลุคุณพิเศษ เข้าถึงหมู่พรหมชั้นปุโรหิต.
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทั้งหลายมาแล้ว เพื่อบรรลุธรรมนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานพระวโรกาสแล้ว ข้าพระองค์ก็จะพึงทูลถามปัญหา.
[๒๕๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระปริวิตกนี้ว่า ท้าวสักกะนี้แล เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วสิ้นกาลนาน จักถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งกะเราก็จักถามล้วนแต่ประกอบด้วยประโยชน์ถ่ายเดียว หาไร้ประโยชน์ไม่ อนึ่งเราจักพยากรณ์ปัญหาใดแก่พระองค์ พระองค์จักทรงทราบทั่วถึงปัญหานั้นได้ฉับพลันทีเดียว จึงตรัสคาถาว่า
มหาบพิตรผู้วาสพ พระองค์จึงถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งทรงประสงค์ไว้ในพระหฤทัย ก็จงถามเถิด อาตมภาพจะทําที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ นั่นแลแก่พระองค์.
จบ ปฐมภาณวาร
ทรงแก้ปัญหาท้าวสักกะ
[๒๕๕] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้รับประทานพระวโรกาสแล้ว ได้ทูลถามปัญหาทีแรกนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เทวดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 133
มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก มีอะไรเป็นเครื่องผูกพัน เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีความคับแค้นใจ มีความหวังอยู่ว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น อยู่เถิด ดังนี้แต่ไฉนยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีข้าศึก มีความคับแค้นใจ เป็นไปกับด้วยเวรอยู่อีกเล่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพยากรณ์แก่ท้าวเธอว่า ขอถวายพระพรเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่นเป็นอันมาก มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องผูกพัน เขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีความคับแค้นใจ หวังอยู่ว่า ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้นอยู่เถิด ดังนี้ แต่ก็ยังเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีข้าศึก มีความคับแค้นใจ เป็นไปกับด้วยเวรอยู่.
ท้าวสักกะผู้จอมเทพ มีพระหฤทัยชื่นชม เพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อพยากรณ์นั้น ย่อมเป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อพยากรณ์นั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ข้ามพ้นข้อสงสัยในข้อนั้นเสียได้แล้ว หมดความสงสัยที่จะพึงกล่าวว่าอะไรๆ แล้วเพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๒๕๖] ครั้นแล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็นนิทาน (เค้ามูล) มีอะไรเป็นสมุทัย (เครื่องก่อ) มีอะไรเป็นชาติ (เหตุเกิด) มีอะไรเป็นแดนเกิด ก็เมื่ออะไรยังมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่จึงมี และเมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่ย่อมไม่มี.
พ. ชื่อถวายพระพร ความริษยาและความตระหนี่ มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 134
อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักยังมีอยู่. ความริษยาและความตระหนี่ย่อมมีเมื่อไม่มีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่ย่อมไม่มี.
ส. ก็อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีอะไร เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก จึงมี เมื่ออะไรไม่มีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักจึงไม่มี.
พ. อารมณ์อัน เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก มีฉันทะเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อฉันทะยังมีอยู่ อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักย่อมมี เมื่อไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รักย่อมไม่มี ดังนี้.
ส. ฉันทะ (ความพอใจ) มีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ ฉันทะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ฉันทะจึงไม่มี.
พ. ฉันทะมีวิตก (ความตรึก) เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อวิตกยังมีอยู่ ฉันทะย่อมมี เมื่อไม่มี ฉันทะ ย่อมไม่มี.
ส. ก็วิตกมีอะไรเป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่ออะไรยังมีอยู่ วิตกจึงมี เมื่ออะไรไม่มี วิตกจึงไม่มี.
พ. วิตก มีส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรม (ธรรมเครื่องเนิ่นช้า) เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นชาติ เป็นแดนเกิด เมื่อส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรมยังมีอยู่ วิตกย่อมมี เมื่อไม่มี วิตกย่อมไม่มี.
[๒๕๗] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ดําเนินปฏิปทาอันสมควร และให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญาอันสัมปยุตด้วยปปัญจธรรม.
พ. ก็อาตมภาพ กล่าวโดยโสมนัส โทมนัส และอุเบกขา ส่วนละ ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี อาตมภาพกล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยอะไรจึงกล่าว ดังนั้น บรรดาโสมนัส ๒ อย่างนั้น บุคคลพึงรู้จัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 135
โสมนัสใดว่า เมื่อเราเสพโสมนัสนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมาก กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ดังนี้ โสมนัสเห็นปานนั้นไม่ควรเสพ. บุคคลพึงรู้จักโสมนัสใดว่าเมื่อเราเสพโสมนัสนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมากดังนี้ โสมนัสเห็นปานนั้นควรเสพ. บรรดาโสมนัสนั้น โสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยปฐมฌาน ยังมีวิตก วิจาร โสมนัสที่ไม่มีวิตก วิจาร ประณีตกว่า อาตมภาพกล่าวโสมนัสใด โดยส่วน ๒ ว่าควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี อาตมภาพกล่าว หมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยเหตุนี้จึงกล่าวดังนั้น. แม้โทมนัสและอุเบกขา ก็มีลักษณะดังนี้แล ขอถวายพระพร. ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ดําเนินปฏิปทาอันสมควรและให้ถึงความดับส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม.
ท้าวสักกะจอมเทพมีพระหฤทัยชื่นชม เพลิดเพลิน อนุโมทนาภาษิตแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ข้ามพ้นข้อสงสัยอันจะพึงกล่าวว่า เป็นอย่างไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๒๕๘] ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสํารวมในพระปาติโมกข์.
พ. ขอถวายพระพร ก็อาตมภาพย่อมกล่าวกายสมาจาร (มรรยาททางกาย) วจีสมาจาร (มรรยาททางวาจา) และความแสวงหาโดยอย่างละ ๒ๆ คือที่ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี. นี่อาตมภาพกล่าวถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยอะไร จึงกล่าวดังนั้น บรรดาธรรมเหล่านั้น บุคคลพึงรู้จักกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาใดว่า เมื่อเราเสพกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาชนิดนี้แล้ว อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ดังนี้ กายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาเห็นปานนั้น ไม่ควรเสพ. บรรดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 136
ธรรมเหล่านั้น บุคคลพึงรู้จักกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาใดว่าเมื่อเราเสพกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหานี้แล้ว อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญมากดังนี้ กายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาเป็นปานนั้น ควรเสพ. อาตมภาพกล่าวกายสมาจาร วจีสมาจาร และการแสวงหาโดยส่วนละ ๒ๆ คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี. อาตมภาพกล่าวหมายถึงข้อความดังว่ามาฉะนี้ และอาศัยเหตุนี้ จึงกล่าวดังนั้น ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แลย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสํารวมในพระปาฏิโมกข์.
[๒๕๙] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสํารวมในอินทรีย์.
พ. อาตมภาพย่อมกล่าว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มนะ ส่วนละ ๒ คือที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบซึ้งถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร เมื่อบุคคลเสพ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มนะ อย่างใดอยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญมาก กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ดังนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เห็นปานนั้นไม่ควรเสพ. เมื่อบุคคลเสพ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้ด้วยจักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มนะ อย่างใดอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลย่อมเจริญมาก ดังนี้แล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เห็นปานนั้น ควรเสพ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 137
ส. ข้าพระองค์ทราบซึ้งถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร ได้ข้ามข้อสงสัยในข้อนี้ได้แล้ว หมดความสงสัยอันจะพึงกล่าวว่าอะไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๒๖๐] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ได้ทูลถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สมณพราหมณ์ทั้งหมดแล มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีที่สุดเป็นอย่างเดียวกันหรือ.
พ. หามิได้ มหาบพิตร.
ส. ก็ทําไม สมณพราหมณ์ทั้งหมด จึงเป็นผู้ไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีที่สุดลงเป็นอย่างเดียวกันเล่า.
พ. โลกมีธาตุไม่เป็นอันเดียวกัน มีธาตุต่างๆ กัน หมู่สัตว์ถือมั่นในธาตุใดๆ แล ย่อมยึดถือธาตุนั้นๆ กล่าวด้วยกําลังความยึดถือว่า อย่างนี้แหละแน่นอน อย่างอื่นเหลวไหล ดังนี้ เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์จึงเป็นผู้ชื่อว่า มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน มีฉันทะเป็นอย่างเดียวกัน มีที่สุดลงเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมดไม่ได้.
[๒๖๑] ส. สมณพราหมณ์มีความสําเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนทั้งหมดหรือ.
พ. หามิได้ มหาบพิตร.
ส. เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลุดพ้น เพราะสิ้นตัณหา ภิกษุเหล่านั้นมีความสําเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน เพราะเหตุนั้นสมณพราหมณ์จึงเป็นผู้มีความสําเร็จล่วงส่วนทั้งหมดไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 138
ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ชื่นชมเพลิดเพลิน อนุโมทนาภาษิตแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ได้ข้ามความสงสัยในข้อนี้แล้ว หมดความสงสัยอันจะพึงกล่าวว่าเป็นอย่างไรๆ แล้ว เพราะได้สดับปัญหาพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ว่าด้วยสมณพราหมณ์พวกอื่น
[๒๖๒] ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาภาษิตแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความหวั่นไหว (ตัณหา) เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร ย่อมคร่าบุรุษนี้ เพื่อให้บังเกิดในภพนั้นๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น บุรุษนี้ย่อมถึงความสูงๆ ต่ําๆ ข้าพระองค์ไม่ได้โอกาสที่จะถามปัญหาเหล่าใด ในสมณพราหมณ์อื่นภายนอกแต่ศาสนานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้เห็นมาช้านาน ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงถอนลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงของข้าพระองค์เสียแล้ว.
พ. มหาบพิตร ได้ทรงถามปัญหาเหล่านั้น กะสมณพราหมณ์เหล่าอื่น แล้วทรงเข้าใจหรือไม่.
ส. เข้าใจอยู่ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น พยากรณ์ไว้แล้วอย่างไร ถ้ามหาบพิตรไม่ทรงหนักพระหฤทัย จงตรัสเถิด.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้วในที่ใด หรือพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าปรากฏอยู่แล้วในที่ใด ในที่นั้นความหนักใจของข้าพระองค์ไม่มีแล.
พ. ถ้าดังนั้นมหาบพิตรจงตรัส.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 139
ส. ข้าพระองค์ย่อมสําคัญสมณพราหมณ์เหล่าใดว่า เป็นผู้อยู่ป่ามีเสนาสนะอันสงัด จึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถามปัญหาเหล่านี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกข้าพระองค์ถามแล้วแก้ไม่ได้ แทนที่จะตอบกลับย้อนถามข้าพระองค์ว่า ท่านชื่อไร ข้าพระองค์ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้าแลเป็นท้าวสักกะผู้จอมเทพ ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นย้อนถามข้าพระองค์อีกว่า ก็ท่านผู้จอมเทพ ท่านทํากรรมอะไรไว้ จึงได้ถึงฐานะนี้ ข้าพระองค์ย่อมแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้มีใจปลาบปลื้มด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้นว่า พวกเราได้เห็นท้าวสักกะผู้จอมเทพ และได้ถามปัญหากะท้าวเธอๆ ได้พยากรณ์ปัญหานั้นแล้วเขาเหล่านั้นย่อมสําเร็จเป็นสาวกของข้าพระองค์โดยแท้แล แต่ไม่ใช่ข้าพระองค์สําเร็จเป็นสาวกของเขา ก็ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ําไปเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
พ. มหาบพิตร การได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้ พระองค์ได้เคยประสบในกาลก่อน แต่กาลนี้บ้างไหม.
ส. เคยได้ประสบ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. มหาบพิตร ทรงทราบได้อย่างไร.
ว่าด้วยเทวาสุรสงคราม
[๒๖๓] ส. เรื่องเคยมี พระพุทธเจ้าข้า สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว. ก็ในสงครามนั้น หมู่เทพชนะ พวกอสูรปราชัย.ข้าพระองค์ชํานะสงครามนั้นแล้ว ได้ปริวิตกว่า บัดนี้ หมู่เทพจักเสวยโอชานี้ ที่เป็นทิพย์และที่เป็นของอสูรทั้ง ๒ ในเทวโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การได้ความยินดี การได้โสมนัสนั้นของข้าพระองค์ เป็นไปด้วยกับอาชญา เป็นไปกับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 140
ด้วยศัสตรา ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การได้ความยินดี การได้โสมนัสของข้าพระองค์ เพราะได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น ไม่เป็นไปด้วยกับอาชญา ไม่เป็นไปด้วยกับศัสตรา ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
พ. มหาบพิตร เห็นอํานาจประโยชน์อะไรอยู่ จึงเพลิดเพลินการได้ความยินดี การได้โสมนัสเห็นปานนั้นเล่า.
ส. ข้าพระองค์เห็นอํานาจประโยชน์ ๖ ประการ จึงประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเห็นปานนั้น คือ
[๒๖๔] (๑) เมื่อข้าพระองค์เป็นเทวดา มีสติดํารงอยู่ในที่นี้นั่นแลข้าพระองค์ได้อายุต่อไปอีก.
[๒๖๕] (๒) ข้าพระองค์ละอายุอันไม่ใช่ของมนุษย์ จุติแล้วจากกายอันเป็นทิพย์ เป็นผู้ไม่หลงแล้ว จักเข้าถึงครรภ์ในภพเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์.
[๒๖๖] (๓) ข้าพระองค์นั้นยินดีแล้ว ในศาสนาของพระองค์ มีปัญหาอันไม่ฟันเฝือแล้วอยู่ จักเป็นผู้รอบรู้ มีสติมั่นคง อยู่ด้วยความประพฤติชอบ.
[๒๖๗] (๔) ถ้าว่าความตรัสรู้จักมีแก่ข้าพระองค์ในเบื้องหน้า ด้วยความประพฤติชอบ และเป็นผู้รอบรู้อยู่ไซร้ ที่สุดนั่นแล จักมีแก่ข้าพระองค์.
[๒๖๘] (๕) ข้าพระองค์จุติแล้ว จากกายอันเป็นของมนุษย์ และอายุอันเป็นของมนุษย์ จักเป็นเทวดาอีก จักเป็นผู้สูงสุดในเทวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 141
[๒๖๙] (๖) ในอัตภาพอันมีในที่สุด ข้าพระองค์จักอยู่ในหมู่เทพชั้นอกนิฏฐะ ผู้มียศอันประณีตกว่า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอํานาจประโยชน์ ๖ อย่างเหล่านี้แล ย่อมประกาศการได้ความยินดี การได้โสมนัสเช่นนี้.
[๒๗๐] ท้าวสักกะทูลคํานี้แล้ว ได้กราบทูลว่า
ข้าพระองค์มีความดําริอันยังไม่ถึงที่สุดแล้ว ยังมีความสงสัยเคลือบแคลงอยู่ ยังท่องเที่ยวไปสู่ทางไกล ยังต้องค้นหาพระตถาคตเจ้าอยู่. ย่อมสําคัญสมณะผู้มีปกติอยู่ในเสนาสนะอันสงัดว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมดังนี้ ย่อมเข้าไปหาสมณะเหล่านั้นๆ .
พวกสมณะที่ข้าพระองค์ถามแล้วว่าความยินดีเป็นอย่างไร ความยินร้ายเป็นอย่างไร ดังนี้ ย่อมไม่สามารถจะบอกในมรรคและปฏิปทาได้ จึงย้อนถามข้าพระองค์ในกาลนั้นว่า ท่านทํากรรมอะไร จึงถึงความเป็นจอมเทพ ดังนี้.
ข้าพระองค์ย่อมแสดงธรรม ตามที่ได้ยินได้ฟังมาแก่สมณะเหล่านั้น สมณะเหล่านั้นมีใจปลาบปลื้ม เพราะเหตุนั้นและพากันคิดว่า เราได้เห็น ท้าววาสวะ แล้วดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 142
ก็ข้าพระองค์ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ยังหมู่ชนให้ข้ามพ้นวิจิกิจฉาในกาลใด กาลนั้น ข้าพระองค์ปราศจากความกลัว เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนี้.
ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ขจัดเสียซึ่งลูกศร คือตัณหา ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้กล้าหาญ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ในกาลก่อน ข้าพระองค์ทําความนอบน้อมแก่พรหมพร้อมด้วยหมู่เทพ วันนี้ ข้าพระองค์ถวายนมัสการแด่พระองค์ เชิญพวกเราจงทําความนอบน้อมเถิด.
พระองค์เป็นสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยม บุคคลที่จะเปรียบกับพระองค์ในโลกนี้ กับทั้งเทวโลกไม่มีเลย.
ท้าวสักกะเปล่งอุทาน - ได้ธรรมจักษุ
[๒๗๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้เรียกปัญจสิขคนธรรพ์เทพบุตรมาแล้วตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ เธอเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามากนัก เธอยังพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดให้ทรงยินดีก่อนแล้ว ภายหลังฉันจึงได้เข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 143
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฉันจักตั้งเธอไว้ในตําแหน่งเทพบิดร เธอจงเป็นคนธรรพราช อนึ่ง ฉันได้ยกนางสุริยวัจฉสาให้ ตามความปรารถนาของพ่อ. ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้จอมเทพ ได้ทรงลูบคลําแผ่นดินด้วยฝ่าพระหัตถ์ (เพื่อเป็นพยาน) แล้ว ได้ทรงอุทาน ๓ ครั้งว่า
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ดังนี้.
[๒๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์นี้จบลง ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) อันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท้าวสักกะผู้จอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีอันดับไปเป็นธรรมดา อนึ่ง ธรรมจักษุเช่นนั้น ได้เกิดขึ้นแก่เทพดาเหล่าอื่นแปดหมื่นองค์ด้วย. ปัญหาเหล่าใดที่ท้าวสักกะผู้จอมเทพทรงปรารถนา ได้ทูลถามแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ไวยากรณ์นี้ จึงได้มีชื่อว่า สักกปัญหา ดังนี้แล.
จบ สักกปัญหสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 144
อรรถกถาสักกปัญหสูตร
สักกปัญหาสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.
ต่อไปนี้ เป็นการขยายความเฉพาะบทที่ไม่แจ่มแจ้งในสักกปัญหสูตรนั้น. บทว่า อมฺพสณฺโฑ นาม พฺราหฺมณคาโม (ดงมะม่วง) คือ เล่ากันมาว่าหมู่บ้านนั้นอยู่ไม่ไกลดงมะม่วง ฉะนั้นจึงเรียกว่าอัมพสณฑ์. บทว่า เวทิยาเก ปพฺพเต คือ นัยว่า เขานั้นมีดงป่าสีเขียวเหมือนเวทีแก้วมณี ซึ่งเกิดที่เชิงเขาล้อมรอบ ฉะนั้นจึงเรียกว่าเขาเวทิยกะ. บทว่า อินทสาลคุหายํ คือ แต่ก่อนมาถ้ำนั้นอยู่ระหว่างเขาสองลูก และที่ประตูถ้ำนั้นมีต้นช้างน้าว ฉะนั้นจึงเรียกว่า ถ้ำช้างน้าว ต่อมาพวกคนก็กั้นฝาถ้ำนั้น ติดประตูหน้าต่างทําที่เร้นที่วิจิตร ด้วยลายดอก ลายเถา โบกปูนขาวจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่คนทั้งหลายก็ยังรู้จักถ้ำนั้นว่า ถ้ำช้างน้าว ตามชื่อเดิมนั้นเอง. ท่านพระอานนท์หมายเอาถ้ำนั้นจึงกล่าวว่า ที่ถ้ำช้างน้าว.
บทว่า อุสฺสุกฺกํ อุทปาทิ คือ เกิดความอุตสาหะที่ประกอบด้วยธรรมขึ้น. ถามว่า ก็แลท้าวสักกะนั้น ก็ทรงเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามาบ่อยแล้วมิใช่หรือ มีประชุมเทวดากันที่ไหนนั้น ก็ไม่ใช่ว่าท้าวสักกะนี้ไม่เคยเสด็จมาขึ้นชื่อว่าเทวบุตรขนาดท้าวสักกะอยู่อย่างประมาทก็ไม่มี เมื่อเป็นเช่นนั้นทําไม ท้าวสักกะนั้นจึงทรงเกิดความอุตสาหะเหมือนผู้ไม่เคยมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเล่า ตอบว่า เพราะถูกความกลัวตายคุกคามเอา.
นัยว่า สมัยนั้น พระชนมายุของท้าวเธอหมดแล้ว. ท้าวเธอได้ทรงเห็นบุพพนิมิตรห้าประการ ทรงทราบว่า บัดนี้เราหมดอายุแล้ว ก็เครื่องหมาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 145
ความตายปรากฏแก่เทวบุตรเหล่าใด ในเทวบุตรเหล่านั้น พวกใดเกิดในเทวโลกด้วยบุญกรรมเล็กน้อย พวกนั้นก็ย่อมถึงความหวาดสะดุ้งเพราะความกลัวว่า คราวนี้เราจักเกิดที่ไหนหนอ พวกใด ได้เตรียมป้องกันภัยที่น่าสะพึงกลัวไว้ทําบุญไว้มากเกิดแล้ว พวกนั้นคิดว่า เราอาศัยทานที่ตนได้ให้ ศีลที่รักษาไว้ และภาวนาที่ได้อบรมไว้แล้ว จักเสวยสมบัติในเทวโลกชั้นสูง ย่อมไม่กลัว. ส่วนท้าวสักกเทวราชเมื่อได้ทรงเห็นบุพพนิมิตร ก็ทรงมองดูสมบัติทั้งหมดอย่างนี้ว่า เทพนครหมื่นโยชน์ ประสาทไพชยันต์สูงพันโยชน์ สุธรรมาเทวสภาสามร้อยโยชน์ ต้นมหาปาริฉัตรสูงร้อยโยชน์ หินปัณฑุกัมพลหกสิบโยชน์ นางฟ้อนยี่สิบห้าโกฎิ เทพบริษัทในสองเทวโลก สวนนันทน์ สวนจิตรลดา สวนมิสสกะ สวนปารุสก์ แล้วก็ทรงถูกความกลัวครอบงําว่า ท่านเอย สมบัติของเรานี้จักฉิบหายหนอ ต่อไปก็ทรงมองดูว่ามีใครบ้างไหมหนอ ไม่ว่าเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ หรือมหาพรหมผู้เป็นพระบิดาของโลก ที่พึงถอนลูกศรคือความโศกที่อาศัยหัวใจเราแล้วทําให้สมบัตินี้มั่นคงได้ เมื่อทรงมองใครๆ ก็ไม่เห็น ก็ทรงเห็นอีกว่า มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ทรงสามารถถอนความโศกศัลย์ ที่เกิดแก่เทพทั้งหลาย เช่นเราแม้ตั้งแสนได้. ต่อมาโดยสมัยนั้นแล ความขวนขวายเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ผู้ทรงพระดําริอยู่อย่างนี้.
คําว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหนหนอ คือท้าวสักกะทรงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่จังหวัดอะไร ทรงเข้าไปอาศัยเมืองอะไรอยู่ กําลังเสวยปัจจัยของใครอยู่ กําลังทรงแสดงอมฤตธรรมแก่ใครอยู่. คําว่า ได้ทรงเห็นแล้วแล ความว่า ทรงได้เห็น คือ ทรงแทงตลอดแล้ว. คําว่า ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย นี้เป็นคําที่น่ารัก เป็นสํานวนของพวกเทพโดยเฉพาะ มีอธิบายว่า ผู้ไม่มีทุกข์ ก็ได้. ก็ทําไมท้าวสักกะนี้จึงทรงเรียกพวกเทพ เพื่อต้องการเป็นเพื่อน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 146
ครั้งก่อน ก็เล่ากันมาว่า ท้าวสักกะนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังประทับอยู่ที่กุฏิใกล้ต้นสน ก็เสด็จไปได้เฝ้าโดยลําพังมาแล้ว. พระศาสดาทรงพระดําริว่า ญาณของท้าวเธอยังไม่แก่กล้าพอ แต่ถ้ารอไปอีกสักหน่อย ขณะที่เราอยู่ถ้ำช้างน้าว ท้าวเธอจักเห็นบุพพนิมิตรห้าอย่าง ทรงกลัวมรณภัยเข้ามาหาพร้อมกับพวกเทวดาในสองเทวโลก ทรงถามปัญหาสิบสี่ข้อ เมื่อแก้จบปัญหาเกี่ยวกับอุเบกขาแล้ว ทรงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับเทวดาแปดหมื่นองค์ดังนี้ จึงไม่ประทานพระโอกาส. ท้าวสักกะนั้นทรงพระดําริว่า พระศาสดาไม่ประทานพระโอกาส เพราะเมื่อก่อนเราไปโดยลําพังผู้เดียว เรายังไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคผลเป็นแน่ ก็เมื่อเราผู้เดียวมีอุปนิสัย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรมแก่บริษัทแม้จนสุดจักรวาลแน่ ก็แน่ล่ะในเทวโลกสองชั้น ใครผู้ใดผู้หนึ่งคงจะมีอุปนิสัยแท้เทียว พระศาสดาคงจะทรงหมายเอาผู้นั้นแล้วทรงแสดงธรรมถึงเราเองเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ก็คงจะดับความโทมนัสของตนได้ ดังนี้แล้วจึงตรัสเรียกเพื่อต้องการเป็นเพื่อน.
คําว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์รับ สนองพระดํารัสว่า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์อย่างนั้น ความว่า ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิดมหาราช พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสภาพที่หาได้ยาก ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ผู้ไม่ตรัสว่า ขอให้เราทั้งหลายจงไปเล่นตามภูเขา ไปเล่นตามแม่น้ำ แล้วทรงประกอบพวกข้าพระองค์ไว้ในฐานะเห็นปานนี้. คําว่า ได้ฟังตอบแล้ว คือรับพระดํารัสของท้าวเธอไว้ด้วยเศียรเกล้า.
คําว่า ตรัสเรียกปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์ คือ (ถามว่า) ก็เมื่อตรัสเรียกพวกเทวดาเหล่านั้นแล้ว ทําไมจึงตรัสเรียกปัญจสิขบุตรคนธรรพ์นี้ต่างหากเล่า ตอบว่า เพื่อให้ขอประทานพระโอกาส. เล่ากันมาว่า ท้าวสักกะนั้นได้ทรงมีความคิดอย่างนี้ว่า การจะพาเอาพวกเทวดาในสองเทวโลกเข้าไปเฝ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 147
พระศาสดาพร้อมกันไม่เหมาะ. ก็ปัญจสิขะนี้เป็นอุปัฏฐากผู้รับใช้ที่พระทศพลโปรดปราน ไปทูลถามปัญหาแล้วฟังธรรมได้ทุกขณะที่ต้องการ พวกเราส่งปัญจสิขะนี้ล่วงหน้าไปก่อนให้ขอประทานพระโอกาส แล้วจึงเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาในเวลาที่ปัญจสิขะนี้ขอประทานพระโอกาสเสร็จแล้ว จึงตรัสเรียกเพื่อให้ขอประทานพระโอกาส.
คําว่า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์อย่างนั้น ความว่า แม้ปัญจสิขะนั้นก็สนับสนุนอย่างแข็งขันว่า ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิด มหาราช ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ผู้ไม่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ผู้นิรทุกข์มาเถิด พวกเราจะไปเที่ยวชมกีฬาที่อุทยานเป็นต้น หรือไปชมมหรสพของนักฟ้อนเป็นต้น (แต่) ตรัสว่า พวกเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จะฟังธรรม แล้วก็รับสนองพระดํารัสของจอมทวยเทพ แล้วก็เข้าร่วมขบวนเสด็จตามติดไปด้วยกัน. ในคําเหล่านั้น คําว่า พิณสีเหลืองดุจผลมะตูม คือพิณสีเหลืองเหมือนลูกมะตูมสุก. เล่ากันว่า ช่องพิณนั้นทําด้วยทอง คันทําด้วยแก้วอินทนิล สายทําด้วยเงิน กระโหลกทําด้วยแก้วประพาฬ ใบพิณหนึ่งคาวุต ชะเนาะหนึ่งคาวุต คันท่อนบนหนึ่งคาวุต ดังนี้ พิณจึงมีขนาดสามคาวุต. ปัญจสิขะนั้นถือพิณนั้นดังที่ว่ามานี้แล้ว ก็ปล่อยการประโคมอย่างสุดผีมือเท่าที่มีความรู้ ใช้ปลายเล็บดีดคลอเสียงขับที่ไพเราะ แจ้งให้พวกเทพที่เหลือทราบเวลาเสด็จไปของท้าวสักกะแล้วยืนอยู่ในที่ควรส่วนหนึ่ง. เมื่อคณะเทพประชุมกันตามสัญญาณแห่งเสียงขับบรรเลงของปัญจสิขะนั้นดังนี้แล้ว ทีนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ฯลฯ ก็เสด็จไปปรากฏที่เขาเวทิยกะ.
คําว่า เกิดแสงสว่างไสวเหลือเกิน คือ ในวันอื่นๆ ก็เกิดแสงสว่างด้วยแสงของเทพมารหรือพรหม เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่วันนั้น เกิดมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 148
แสงสว่างไสวเหมือนกัน โชติช่วงไปเป็นอันเดียวกันเหมือนเวลาพระจันทร์และพระอาทิตย์ขึ้นไปเป็นพันดวง เพราะแสงของทวยเทพในเทวโลกทั้งสองชั้น.
คําว่า พวกคนในหมู่บ้านโดยรอบ คือพวกคนในหมู่บ้านใกล้เคียง. เล่ากันมาว่า ในเวลาอาหารมื้อเย็นเป็นปกตินั้นเอง เมื่อพวกเด็กกําลังเล่นกันในท่ามกลางหมู่บ้าน ท้าวสักกะก็ได้เสด็จไปที่เขาเวทิยกะนั้น เพราะฉะนั้น พวกคนเมื่อได้เห็นจึงกล่าวกันอย่างนั้น. เออก็พวกเทวดาเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตอนยามกลางวันมิใช่หรือ ทําไมท้าวสักกะนี้จึงได้เสด็จมาในภาคแรกแห่งยามต้นเล่า. เพราะทรงถูกมรณภัยนั่นแหละคุกคามเอา. คําว่า อะไรกัน ความว่า พวกคนพูดกันว่า อะไรนั่นท่าน วันนี้เทวดาหรือพรหมผู้ศักดิ์ใหญ่องค์ไรกันหนอ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทูลถามปัญหาเพื่อจะฟังธรรม แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแก้ปัญหา จะทรงแสดงธรรมอย่างไร ลาภของพวกเราที่มีพระศาสดาผู้ทรงบรรเทาความสงสัยของพวกเทวดาเสด็จประทับอยู่ในวัดใกล้ๆ ซึ่งพวกเราได้ถวายภิกษาถาดหนึ่งบ้าง ภิกษาทัพพีหนึ่งบ้าง แล้วก็ตกใจ โลมชาติชูชัน ขนลุกซู่ซ่า ยกกระพุ่มมือที่รุ่งเรืองที่รวมเอาสิบเล็บวางไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการอยู่.
คําว่า เข้าเฝ้ายาก คือพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. เรายังมีราคะ โทสะ โมหะ (แต่) พระศาสดา ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลายอันผู้เช่นเราพึงเข้าไปนั่งใกล้ยาก. บทว่า ทรงมีฌาน คือการทรงมีฌานด้วยลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน. ชื่อว่า ทรงยินดีในฌานเพราะทรงยินดีในฌานนั้นนั่นเอง. คําว่า ถัดจากที่ทรงเร้น คือในลําดับที่ทรงเร้นนั้น หรือทันทีที่ทรงเร้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เข้าเฝ้ายากเพราะทรงมีฌาน ทรงยินดีในฌาน เท่านั้น แต่เข้าเฝ้ายากแม้เพราะเพิ่งเสด็จทรงเร้นเมื่อกี้นี้เองด้วย. คําว่า พึงให้โปรด คือ พึงให้ทรงพอพระทัย. ท้าวสักกะตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 149
เธอพึงทําให้ประทานพระโอกาสแก่เราแล้วให้. ถามว่า ถือพิณที่มีสีเหลืองเหมือนผลมะตูม แล้ว ก็เป็นอันว่าพิณนั้น ถือไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือ? ตอบว่า เออ ถือไว้แล้ว ก็พิณนั้น ห้อยไว้ที่ จงอยบ่า ด้วยสามารถไปตามทาง เดี๋ยวนี้ เอามันมาวางไว้ที่มือซ้าย ทําการเตรียมบรรเลง จึงถือไว้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าถือไว้แล้ว. คําว่า ให้ทรงได้ยิน คือให้ทรงฟัง. คําว่า เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า คือปรารภพระพุทธเจ้า อธิบายว่า ทําพระพุทธเจ้าเป็นหลักอิงเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.
พึงทราบในวินิจฉัยในคําว่า น้องสุริยวัจฉสา พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุผู้เป็นบิดาของน้อง นี้ต่อไป. คําว่า สุริยวัจฉสา คือมีร่างเท่ากับพระสุริยะ. เล่ากันว่า รัศมีตั้งขึ้นที่ปลายเท้าของเทพธิดานั้นแล้วพุ่งขึ้นไปจนจรดปลายผม ฉะนั้น จึงปรากฏเหมือนดวงอาทิตย์อ่อนๆ ด้วยประการฉะนี้ เทพทั้งหลายจึงรู้จักนางว่า สุริยวัจฉสา. ปัญจสิขะ ประสงค์เอาความข้อนั้น จึงกล่าวว่า น้องสุริยวัจฉสา ดังนี้. ปัญจสิขะ กล่าวว่า พี่ขอไหว้ท้าวติมพรุ คนธรรพเทวราชผู้เป็นบิดาของน้อง. คําว่า เพราะเหตุที่น้องผู้เป็นกัลยาณีได้เกิดมาแล้ว คือเพราะอาศัยติมพรุเทวราชใด น้องผู้งดงาม คือสวยหมดทุกส่วนจึงได้เกิดมา. คําว่า ยังความยินดีให้เกิดแก่พี่ คือ ทําให้ความอิ่มเอิบและความดีใจเจริญแก่พี่.
คําว่า ดุจลมเป็นที่ใคร่ของผู้มีเหงื่อ อธิบายว่า ลมเป็นที่รักใคร่พอใจ ของเหล่าผู้ที่เกิดเหงื่อเพื่อให้เหงื่อระเหยออกฉันใด ก็ฉันนั้น. คําว่า ดุจน้ำเป็นที่ปรารถนาของผู้กระหาย คือ (น้ำเป็นที่ปรารถนา) ของผู้ที่ถูกความกระหายครอบงําแล้ว อยากจะดื่ม. คําว่า ผู้มีรัศมีจากกาย คือรัศมีจากกายของเธอมีอยู่ เหตุนั้นเธอจึงชื่อว่า ผู้มีรัศมีจากกาย. ปัญจสิขะกล่าวพร่ําปรารภถึงนางสุริยวัจฉสานั้นแหละ. คําว่า ดุจธรรมเป็นที่รักของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 150
พระอรหันต์ทั้งหลาย คือ เหมือนโลกุตตรธรรมเก้าอย่างของพระอรหันต์ทั้งหลาย.
คําว่า ของคนหิว คือของผู้ที่ถูกความหิวครอบงําใคร่จะบริโภค. คําว่า ดุจเอาน้ำดับไฟที่กําลังโพลง คือ ปัญจสิขะ กล่าวว่า ใครๆ พึงเอาน้ำดับไฟที่กําลังลุกโพลงฉันใด น้องจงดับความกลัดกลุ้ม เพราะความกําหนัดของพี่ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะน้องเป็นเหตุฉันนั้น.
คําว่า ประกอบด้วยเกสรและละออง คือประกอบด้วยเกสรและละอองดอกบัว คําว่า ดุจช้างที่ถูกแดดหน้าแล้งแผดเผา คือเหมือนช้างที่ถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อน. คําว่า หยั่งลงสู่ถันและอุทรของน้อง คือปัญจสิขะกล่าวว่า เมื่อไรหนอ พี่จะได้ลงสู่ถันและอุทร อันได้แก่ สู่กลางถันและอุทรของน้องแล้วได้รับความสุขและความชื่นใจ เหมือนช้างนั้นหยั่งลงสู่สระบัวดื่มแล้วแช่ตัวโผล่แต่ปลายวงเท่านั้น ให้ปรากฏได้รับความสุขและความชื่นใจ ฉะนั้น. หนามเหล็กที่ใช้สับกกหูเรียกว่า ขอ ในคาถานี้ว่า
พี่หลงใหลในน้องผู้มีขางาม จึงไม่รู้จักเหตุการณ์ ประดุจช้างสารเหลือขอ เข้าใจว่าตนชนะขอ และหอก ฉะนั้น.
ที่เรียกว่า หอก ได้แก่หอกอาชญาใช้แทงเท้า เป็นต้น. ที่เรียกว่า ขอ ได้แก่.เหล็กแหลมงอใช้สับหัว (ช้าง). ก็ช้างที่ตกมันเต็มที่ เป็นช้างที่เหลือขอดื้อขอต่อให้เอาขอสับอยู่ก็เอาไว้ไม่อยู่ และมันเข้าใจว่า ข้าเอาชนะขอและหอกได้แล้ว เพราะแม้แต่ขอก็ยังเอาข้าไว้ไม่อยู่ มันไม่ยอมรับรู้เหตุการณ์อะไรๆ เพราะแรงเมามัน. ปัญจสิขะกล่าวว่า แม้ตัวพี่ ก็หลงใหล เมา เมามันเหมือนเป็นบ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 151
ในน้องผู้มีขางาม เพราะมีขาถึงพร้อมด้วยลักษณะ จึงไม่รู้จักเหตุการณ์อะไรๆ เหมือนช้างที่เหลือขอนั้น มันเข้าใจว่า ข้าเอาชนะขอ และหอกได้แล้ว ก็ไม่รู้จักเหตุการณ์อะไรๆ ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ตัวพี่เองเหมือนช้างที่เหลือขอหลงใหลน้องผู้มีขางาม ฉะนั้นจึงไม่รู้จักเหตุแห่งการสํารอกความกําหนัดสักน้อยหนึ่งได้. เพราะเหตุไร? เพราะต่อให้ใครๆ มากล่าว พี่ก็ไม่ถือเอาถ้อยคํา เหมือนช้างที่คิดว่า ข้าเอาชนะขอ และหอกได้แล้วนั้น.
คําว่า พี่มีจิตที่ติดรักน้อง ความว่า น้องรัก พี่นี้เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในน้องผู้มีขางาม. หรือคําว่า มีจิตคิดรัก ได้แก่มีจิตเพ่งจ้องปองรัก. คําว่า จิตแปรปรวนแล้ว คือจิตละปกติตั้งอยู่. คําว่า ไม่สามารถกลับได้ คือพี่กลับไม่ได้. คําว่า ดุจปลาที่กลืนเบ็ด คือเหมือนปลาที่กลืนเบ็ดแล้วติดอยู่ปาฐะว่า ฆสะ ก็มี. ใจความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
คําว่า มีลําขาอันงาม คือมีลําขาที่ตั้งมั่นด้วยท่าทางที่งาม หรืออธิบายว่ามีลําขาเหมือนต้นกล้วย. คําว่า โอบ คือ โปรดจงกอดพี่เข้าไว้. คําว่า มีนัยน์ตาอันชมดชม้อย คือ พวกผู้หญิงย่อมไม่จ้องเขม็ง แต่ย่อมชะแง้แลมอง ฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีนัยน์ตาชมดชม้อย. คําว่า โอบกอด คือจงสวมกอดพี่ไว้ทุกส่วน. คําว่า พี่ปรารถนาดังนี้ยิ่งนัก คือพี่ต้องการดังนี้เสมอ.
คําว่า มี (ความรัก) ต่อพี่น้อยนัก คือมีอยู่น้อยโดยปกติทีเดียว. คําว่า มีผมเป็นคลื่น คือชื่อว่ามีผมเป็นคลื่นเพราะผมของหญิงนั้นในเวลาที่สยายแล้วปล่อยไว้ข้างหลังเลื้อยไปเหมือนงู. ผู้มีผมเหมือนคลื่นนั้น. คําว่า เกิดมีขึ้นไม่ใช่น้อย คือเกิดขึ้นไม่ใช่อย่างเดียว. ปาฐะว่ามิใช่น้อย ก็มี. คําว่า เหมือนทักษิณาในพระอรหันต์ คือแตกขยายออกไปโดยประการต่างๆ เหมือนทานที่ถวายในพระอรหันต์ (ให้ผลมากมาย ฉะนั้น) .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 152
คําว่า มีบุญใดที่พี่ได้ทําไว้แล้ว คือ บุญใดที่พี่ได้ทําไว้มีอยู่. คําว่า ในพระอรหันต์ทั้งหลายผู้คงที่ คือ ในพวกพระอรหันต์ ผู้ถึงลักษณะแห่งผู้คงที่. คําว่า จงอํานวยผลให้พี่กับน้อง คือ บุญทั้งหมดจงให้ผลให้พี่กับน้องนั่นเอง.
บทว่า โดดเดี่ยว คือถึงความเป็นผู้เดียว. บทว่า มีปัญญาเครื่องคุ้มตัว มีสติ ได้แก่ ชื่อว่ามีปัญญาเครื่องครองตัวเพราะประกอบด้วยปัญญาที่เรียกว่าเครื่องคุ้มตัวนั้น เพราะประกอบด้วยสติจึงชื่อว่า มีสติ. บทว่า พระมุนีแสวงหาอมฤตธรรม คือองค์พระพุทธมุนีนั้นทรงแสวงหา คือเสาะหาอมฤต ได้แก่ พระนิพพาน ฉันใด พี่เองก็ฉันนั้นนะน้องสุริยวัจฉสา ย่อมแสวงหาคือเสาะหาน้อง. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระพุทธมุนีองค์นั้น ทรงเที่ยวเสาะแสวงหาอมฤตธรรมฉันใด พี่ก็เที่ยวแสวงหาน้องฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า พระมุนีทรงบรรลุพระสัมโพธิญานอันสูงสุดแล้ว พึงทรงเพลิดเพลินแม้ฉันใด ความว่า พระพุทธมุนีผู้ประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พึงทรงเพลิดเพลิน คือพึงทรงยินดีฉันใด. บทว่า พึงเพลิดเพลินฉันนั้น ความว่า ปัญจสิขะกล่าวว่า แม้พี่เองถึงความคลอเคลียกับน้องแล้ว ก็พึงเพลิดเพลิน คือพึงเป็นผู้เกิดความอิ่มเอิบและความดีใจ ฉันนั้นเหมือนกัน.
คําว่า อเห ในบาทคาถาว่า ตาหํ ภทฺเท วเรยฺยาเห เป็นคําสําหรับเรียก. อธิบายว่า นี่แน่ะสุริยวัจฉสายอดรัก ถ้าท้าวสักกะผู้จอมทวยเทพประทานพรอย่างนี้ว่า เธอจะเอาเทวราชย์ในเทวโลกทั้งสองชั้น หรือ สุริยวัจฉสา พี่จะกราบทูลว่า ข้าพระองค์ขอสละเทวราชย์แล้วเอาสุริยวัจฉสา พี่ต้องเลือกคือต้องการ ได้แก่ ต้องเอาน้องไว้ ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 153
คําว่า เหมือนสาละที่บานยังไม่นาน ความว่า ใกล้ประตูเมืองของบิดาน้อง. มีต้นสาละซึ่งบานยังไม่นาน ต้นสาละนั้นน่าชื่นใจเกินเปรียบเหมือนสาละที่บานยังไม่นานนั้น. คําว่า แน่ะน้องผู้มีปรีชาดี บิดาของน้อง ความว่า พี่ผู้เมื่อจะไหว้ก็ขอนอบน้อม คือขอทําความนอบน้อมบิดาของน้อง ผู้ทรงสิริอย่างหาที่เปรียบมิได้. คําว่า ผู้เป็นเช่นนี้ เป็นประชาของผู้ใด ความว่า น้องผู้เป็นเช่นนี้เป็นลูกสาวของท่านผู้ใด.
ถามว่า ทําไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสชมเสียงขับและเสียงพิณว่าย่อมกลมกลืนกัน ความกําหนัดจัดในเสียงนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีอยู่หรือ. ตอบว่า ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้วางเฉย ด้วยความวางเฉยมีองค์หกประการ ในฐานะเช่นนี้ ก็ยังทรงทราบอารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจทุกอย่างอยู่ ก็ไม่ทรงคิดในอารมณ์นั้น. สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีอยู่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปด้วยพระเนตร ความกําหนัดเพราะความพอใจของพระผู้มีพระภาคเจ้าหามีอยู่ไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระหฤทัยหลุดพ้นแล้วเป็นอย่างดี ผู้มีอายุพระกรรณของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมีอยู่แล (๑) ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชมเพราะทรงทราบว่า ก็หากเราไม่กล่าวชม ปัญจสิขะก็ทราบไม่ได้ว่าเราได้ให้โอกาสแล้ว ทีนั้น ท้าวสักกะก็จะทรงพาพวกเทวดากลับไปจากที่นั้นเพราะทรงเข้าพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานพระโอกาสแก่ปัญจสิขะแต่นั้น ก็จะพึงฉิบหายใหญ่ เมื่อตรัสชม แต่นั้น ท้าวสักกะก็จะทรงเข้าพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาสแก่ปัญจสิขะแล้ว ก็จะทรงเข้ามาเฝ้าพร้อมกับพวกเทวดา ทรงถามปัญหา เมื่อแก้เสร็จ พร้อมกับพวกเทพแปดหมื่นก็จักทรงดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. ในบทเหล่านั้น บทว่า
(๑) สํ สฬายตน. ๒๐๔ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 154
ร้อยกรองไว้แต่เมื่อไร ความว่า (คาถาเหล่านี้เธอ) แต่งคือรวบรวมไว้แต่ครั้งไร.
คําว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สมัยนั้นแล ข้าพระองค์ ความว่าโดยสมัยนั้น คือในสัปดาห์ที่แปดแต่พระองค์บรรลุสัมโพธิญาณนั้น. คําว่าชื่อ ภัทราสุริยวัจฉสา คือโดยชื่อ ชื่อ ภัทรา เพราะถึงพร้อมด้วยรูปร่าง ที่สวยงาม จึงชื่อ สุริยวัจฉสา. คําว่า น้อง นี้เป็นคําสํานวนเรียก. หมายความว่า เทพธิดา. คําว่า รักผู้อื่นอยู่ คือ รัก ได้แก่ หวังผู้อื่นอยู่. คําว่า กําลังเข้าไปฟ้อนอยู่ ได้แก่ กําลังรําอยู่. เล่ากันมาว่า สมัยหนึ่ง นางไปเพื่อต้องการชมงานฟ้อนของท้าวสักกเทวราชกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา. ก็ในขณะนั้น ท้าวสักกะได้ทรงกล่าวสรรเสริญพระคุณตามที่เป็นจริงแปดประการของพระตถาคตเจ้า. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าในวันนั้น นางก็ได้ไปชมการฟ้อน.
คําว่า ย่อมเพลิดเพลินต่อกัน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคําเป็นต้นว่า ย่อมกลมกลืนแท้ ของเธอ ก็ชื่อว่าทรงเพลิดเพลิน ปัญจสิขะก็ชื่อว่าเพลิดเพลินตอบ เมื่อปัญจสิขะกําลังกล่าวคาถาอยู่ ก็ชื่อว่าเพลิดเพลินพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ชื่อว่า ทรงเพลิดเพลินตอบ. คําว่า ตรัสเรียก คือทรงแจ้งให้ทราบ. ได้ทราบมาว่า ท้าวสักกะนั้นได้ทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า เราส่งปัญจสิขะนี้ไปด้วยงานของเรา เขาก็ไปทํางานของตัวเองเสีย เขายืนอยู่ในสํานักพระศาสดาผู้เห็นปานนั้นแล้ว ไปกล่าวถ้อยคําที่ประกอบด้วยกามคุณ ซึ่งเป็นคําที่หาสมควรไม่ ก็ขึ้นชื่อว่าพวกนักฟ้อนเป็นพวกไร้ยางอาย ปัญจสิขะเมื่อกําลังกล่าวอยู่พึงแสดงอาการที่ประหลาดก็ได้ เอาล่ะ เราจะเตือนให้เขารู้งานของเราเมื่อทรงคิดดังนี้แล้วก็ตรัสเรียกมา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 155
บทว่า ก็แล เมื่อเป็นอย่างนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ดังนี้ อันพวกพระเถระรวบรวมธรรม ตั้งไว้แล้ว. คําว่า กล่าวเพิ่ม คือกล่าวด้วยการรับ การไหว้ ได้แก่ ด้วยคําที่เพิ่มขึ้น. คําว่า อันกล่าวยิ่งแล้ว คืออันกล่าวด้วยคําที่เพิ่มขึ้น. คําว่า ได้ถึงความกว้างขวาง คือ กลายเป็นเปิดกว้างใหญ่. คําว่า ความมืด ในถ้ำได้หายไป ความสว่างไสวเกิดขึ้นแทน คือความมืด โดยปกติของถ้ำนั้นได้หายไป เกิดความสว่างไสวแทน. ทั้งหมดนี้เป็นคําของพวกท่านผู้รวบรวมธรรม.
คําว่า ข้าพระองค์หลีกไปเสียนาน พระพุทธเจ้าข้า ความว่าข้าพระองค์ใคร่จะเฝ้าตั้งนานแล้ว อธิบายว่า ข้าพระองค์ใคร่จะเฝ้าจําเดิมแต่นานมาแล้ว. คําว่า ด้วยกิจและกรณียะบางอย่าง ความว่า พวกลูกหญิงและลูกชายย่อมเกิดบนตักของพวกเทพ พวกสตรีที่เป็นบาทปริจาริกา ย่อมเกิดบนที่นอน พวกเทวดาที่เป็นพนักงานตกแต่งประดับประดาของเทวดาเหล่านั้นย่อมเกิดรอบๆ ที่นอน พวกช่วยกิจการงาน (ไวยาวัจกร) ย่อมเกิดภายในวิมานการก่อคดีเพื่อประโยชน์แก่เทพพวกนี้ไม่มี แต่พวกที่เกิดระหว่างเขตแดนนั้น เมื่อไม่อาจตัดสินว่า ของท่าน ของข้าพเจ้า ดังนี้ ก็เป็นความกัน ย่อมทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นพระราชาของเทพ พระองค์ก็จะตรัสว่า ใกล้วิมานผู้ใดกว่าเป็นของผู้นั้น ถ้าวิมานทั้งสองเกิดมีระยะที่เท่าๆ กัน พระองค์ก็จะตรัสว่ายืนมองวิมานผู้ใด เป็นของผู้นั้น ถ้าไม่มองดูแม้แต่วิมานเดียว เพื่อตัดการทะเลาะของทั้งสองฝ่าย ก็ทรงเอาเสียเอง ยังกิจมีการกีฬาเป็นต้น ก็จําเป็นต้องทรงจัดการทั้งนั้น ท้าวเธอทรงหมายเอาพระกรณียะเหล่านั้น เห็นปานนี้แล้วจึงตรัสว่า ด้วยกิจและกรณียะบางอย่าง ดังนี้.
คําว่า ที่อาคารไม้สน ได้แก่พระคันธกุฎีที่สร้างด้วยไม้สน. คําว่า ด้วยสมาธิอันใดอันหนึ่ง คือ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 156
ทราบว่า พระญาณของท้าวสักกะนั่นเองยังไม่แก่กล้า จึงไม่ทรงประทานพระโอกาส เลยประทับนั่งด้วยธรรมเครื่องพัก คือผลสมาบัติเสีย ท้าวเธอไม่ทรงทราบถึงข้อนั้น จึงตรัสว่า ด้วยสมาธิอันใดอันหนึ่ง ดังนี้. คําว่าชื่อ ภุชคี คือเทพธิดานั้น ชื่อว่า ภุชคี. คําว่า บริจาริกา คือ เทพธิดาผู้เป็นบาทบริจาริกา. มีเรื่องเล่ามาว่า นางบรรลุผลสองอย่าง เหตุนั้น นางจึงไม่มีความยินดีในเทวโลกเลย นางมาสู่ที่บํารุงพระผู้มีพระภาคเจ้าเสมอ ยืนยกกระพุ่มมือวางไว้บนเศียรไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.
ในคําว่า ออกจากสมาธินั้นเพราะเสียงล้อและดุมรถ นี้ ไม่ต้องพูดว่าทรงเข้าสมาบัติแล้วทรงได้ยินเสียง. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสกับท้าวสักกะ ผู้จอมทวยเทพว่า อีกประการหนึ่ง อาตมภาพออกจากสมาธินั้นก็เพราะเสียงล้อและดุมรถของมหาบพิตร มิใช่หรือ. ตอบว่า เสียงดุมรถยกไว้เถิด ธรรมดาผู้เข้าสมาบัติ ในภายในสมาบัติ ต่อให้ใครเอาคู่สังข์มาเป่าใส่ใกล้ๆ กกหูก็ดีฟ้าผ่าเปรี้ยงก็ดี ก็ย่อมไม่ได้ยินเสียง. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําหนดว่า ตลอดเวลาเท่านี้ เราจะยังไม่ให้โอกาสแก่ท้าวสักกะ จึงทรงเข้าผลสมาบัติด้วยอํานาจเวลา. ท้าวสักกะทรงคิดว่า บัดนี้ พระศาสดายังไม่ประทานโอกาสแก่เรา จึงทรงทําประทักษิณพระคันธกุฎี แล้วให้กลับรถบ่ายพระพักตร์สู่เทวโลก. บริเวณพระคันธกุฎี ก็มีสนั่นเพราะเสียงรถ เหมือนดนตรีมีองค์ห้า. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติตามอํานาจเวลาที่ได้ทรงกําหนดไว้แล้ว จิตที่ทําหน้าที่พิจารณาอารมณ์ดวงแรกก็เกิดขึ้น ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนั้น.
คําว่า ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเป็นปกติ คือ เป็นผู้มีปกติทําให้บริบูรณ์ในศีล ๕ ข้อ. คําว่า คลายจิตในความเป็นสตรี คือมาคิดว่าพอกันทีสําหรับความเป็นสตรี เพราะว่าดํารงอยู่ในความเป็นสตรีแล้ว จะเสวย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 157
สิริของพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ได้ เสวยสิริของพระอินทร์ มาร และ พรหมก็ไม่ได้ จะบรรลุปัจเจกโพธิญาณก็ไม่ได้ จะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็ไม่ได้อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าย่อมสํารอกความใคร่ในความเป็นสตรี ส่วนผู้ที่คิดว่าธรรมดาความเป็นบุรุษนี้ยิ่งใหญ่ประเสริฐสูงสุด เพราะผู้ดํารงอยู่ในความเป็นบุรุษนี้สามารถถึงพร้อมซึ่งสมบัติเหล่านี้ อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าย่อมทําความเป็นบุรุษให้มี แม้นางก็ได้ทําอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า สํารอกความใคร่จิตในความเป็นสตรีแล้ว ทําจิตบุรุษให้มีดังนี้. คําว่า กายคนธรรพ์เลว คือ พวกคนธรรพ์เลว คือ ลามก. ถามว่าก็พวกเธอเหล่านั้นล้วนแต่มีศีลบริสุทธิ์ ทําไมจึงเกิดขึ้นในเทวโลกนั้นเล่า. ตอบว่า เพราะความพอใจมาก่อน. เล่ามาว่าแต่ก่อนมาที่นั่นแหละเป็นที่ที่เคยอยู่มาแล้วของพวกนั้น เพราะฉะนั้น จึงเกิดขึ้นในที่นั้น ด้วยสามารถแห่งความพอใจ. คําว่า ที่บํารุง ได้แก่โรงสําหรับบํารุง. คําว่า บําเรอ ได้แก่ การปรนเปรอ. คนธรรพ์เหล่านั้นย่อมมา ด้วยคิดว่าพวกเราจะบําเรอด้วยการขับ และการบรรเลง.
คําว่า ตักเตือน คือให้สติ. เล่ากันมาว่า เมื่อโคปกเทพบุตรเห็นคนธรรพ์เหล่านั้นจึงใคร่ครวญว่า เทวบุตรเหล่านี้มีรัศมีเหลือเกิน ทํากรรมอะไรไว้หนอจึงได้มา ได้เห็นว่า เป็นพวกภิกษุ จากนั้นก็ใคร่ครวญอีกว่าพวกภิกษุ มีปกติทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย หรือไม่ ได้เห็นว่า มีปกติทําให้บริบูรณ์ ใคร่ครวญต่อไปว่า มีปกติทําให้บริบูรณ์ก็เถอะ คุณพิเศษอย่างอื่นมีหรือไม่มี ได้เห็นว่าเป็นพวกมีปกติได้ฌาน ใคร่ครวญต่อไปอีกว่าถึงมีปกติได้ฌานก็ช่างเถอะ เป็นชาวไหนกัน ได้เห็นว่า เป็นผู้มารับบาตรประจําตระกูลของเรานั่นเอง จึงคิดว่า ธรรมดาผู้มีศีลบริสุทธิ์ย่อมเกิดในเทวโลกหกชั้นในชั้นที่ต้องการ แต่พวกนี้ไม่เกิดในเทวโลกชั้นสูง ธรรมดาผู้ได้ฌานย่อมเกิดในพรหมโลก แต่พวกนี้ไม่เกิดในพรหมโลก ส่วนตัวเราตั้งอยู่ในโอวาทของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 158
พวกนี้ เกิดเป็นบุตรที่บัลลังก์ของท้าวสักกะ จอมทวยเทพผู้เป็นเจ้าแห่งเทวโลก พวกนี้เกิดในหมู่คนธรรพ์ที่เลว ขึ้นชื่อว่าพวกคนธรรพ์นั่น ใครๆ เขาก็เจอแต่เป็นพวกบุคคลที่เอากระดูกมาเจาะ (คล้องคอ) เต้นกันไปเต้นกันมาเท่านั้นเอง จึงเตือนด้วยคํา เป็นต้นว่า ชื่อว่าเอาหน้าไปไว้ไหน. ในบทเหล่านั้น คําว่า เอาหน้าไปไว้ไหน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหันพระพักตร์มาแสดงธรรมอยู่ พวกท่านมัวเอาหน้าไปไว้ไหน หรือ มัวแต่ส่งใจไปที่อื่น มองนั่นมองนี่ หรือมัวแต่หลับอยู่. คําว่า รูปที่ไม่น่าดูเสียเลย คือไม่เหมาะที่จะเห็นสภาพที่ไม่น่าดู. คําว่า พวกสหธัมมิก คือ ผู้ประพฤติธรรม ได้แก่ ทําบุญในศาสนา ของพระศาสดาองค์เดียวกัน.
คําว่า แห่งเทพบุตรเหล่านั้น พระเจ้าข้า ความว่า แห่งเทพบุตรเหล่านั้น ผู้ที่ถูกโคปกเทพบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ตักเตือนอีกด้วยคําเป็นต้นว่า โอ้! พวกท่าน ช่างไร้ยางอาย ช่างไม่มีความขายหน้า เทพสองท่านกลับได้สติในทันทีทันใดทีเดียว. คําว่า หมู่พรหมปุโรหิต คือได้ยินว่า เทพบุตรเหล่านั้นพากันคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพวกนักฟ้อน ที่ฟ้อนรํา ขับร้อง ดีดสีตีเป่ามาแล้ว ก็ต้องได้ค่าจ้างรางวัล ส่วนโคปกเทพบุตรนี้ ตั้งแต่เวลาที่เราเห็น เอาแต่ปะทุเปรี๊ยะๆ เหมือนเอาเกลือโรยใส่เตาไฟ นี้มันอะไรกันหนอ เมื่อใคร่ครวญต่อไป ก็เห็นว่าตนเป็นสมณะ มีศีลบริสุทธิ์ ได้ฌานและก็เป็นผู้รับบาตรประจําตระกูลของโคปกเทพบุตรนั้นเสียด้วย แล้วมาทราบว่า ธรรมดาผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมเลือกเกิดในเทวโลกทั้ง ๖ ชั้นได้ ผู้ได้ฌานก็ย่อมเกิดในพรหมโลก (แต่) พวกเรา ทั้งในเทวโลกชั้นสูง ทั้งในพรหม หาได้เกิดได้ไม่ โคปกเทพบุตรนี้ เคยเป็นสตรีตั้งอยู่ในโอวาทของพวกเรา ยังได้เกิดสูง พวกเราเป็นภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดในพวกคนธรรพ์ที่เลวเหตุนั้น โคปกเทพบุตรนี้ จึงข่มพวกเราอย่างนี้ได้ จึงต่างก็ยอมฟังถ้อยคํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 159
ของโคปกเทพบุตรนั้น. ในเทพทั้งสามท่านนั้น สองท่านกลับได้ความระลึกถึงฌานที่ ๑ เอาฌานเป็นบาทแล้วก็พิจารณาสังขาร ตั้งอยู่ในอนาคามิผลนั่นแล. ทีนั้น อัตภาพชนิดท่องเที่ยวในกามซึ่งเป็นสภาพที่เล็กน้อยของพวกท่านเหล่านั้น ทรงอยู่ไม่ไหว ฉะนั้นทันใดนั่นเอง ท่านก็เคลื่อนไปเกิดในชั้นพรหมปุโรหิต และกายของพวกเขาที่อยู่ในชั้นพรหมปุโรหิตนั้น ก็เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้นท้าวสักกะจึงตรัสว่า พระเจ้าข้า แห่งเทพบุตรเหล่านั้นผู้ที่โคปกเทพบุตรตักเตือนแล้ว เทพสองท่านกลับได้สติในทันทีทันใด ทีเดียว เข้าถึง หมู่พรหมปุโรหิตแล้ว ดังนี้.
ในคําเหล่านั้น คําว่า ในทันทีทันใด ทีเดียว คือ กลับได้สติในอัตภาพนั้นเอง. พึงเห็นอธิบายในคํานั่นอย่างนี้ว่าก็ยังอยู่ในที่นั้นนั่นเอง. เคลื่อนแล้วกลับได้กายเป็นพรหมปุโรหิต. คือสรีระเป็นพรหมปุโรหิต. คําว่า แต่เทวบุตรท่านหนึ่ง คือ เทพบุตรท่านหนึ่ง ทําลายความติดใจยังไม่ได้ก็อยู่ครองกาม คือ ยังอยู่ประจํา คือ ยังอาศัยอยู่ในกามาวจรภพนั่นเอง.
คําว่า และบํารุงสงฆ์ คือ บํารุงสงฆ์ด้วย คําว่า เป็นธรรมดี คือ ด้วยความที่พระธรรมเป็นธรรมดี. คําว่า เข้าถึงไตรทิพ คือเกิดในไตรทิพ ได้แก่ ไตรทศบุรี. คําว่า เข้าอาศัยอยู่ในหมู่นักดนตรี คือเป็นผู้เข้าอยู่อาศัยในหมู่คนธรรพ์. คําว่า ก็พวกเราผู้ที่เมื่อก่อนเป็นมนุษย์ คือ เมื่อก่อนนี้พวกเราผู้ที่เป็นมนุษย์. พึงประกอบกับคํานี้ว่า ข้าพเจ้าบํารุงด้วยข้าวน้ำ แล้วทราบใจความ. คําว่า ยังได้ชําระเท้า คือเข้าไปใกล้เท้าแล้วทั้งบูชาด้วยการเพิ่มการล้างเท้าและการทาเท้า ทั้งไหว้ที่เท้า. คําว่า ในนิเวศน์ของตน คือในเรือนของตน. สําหรับบทนี้ ก็ต้องเอาไปเชื่อมกับบทว่า บํารุงแล้ว นี้เหมือนกัน. คําว่า พึงรู้ในเฉพาะตัว คือ พึงรู้ได้ด้วยตัวเอง. คําว่า สุภาษิตทั้งหลายของพวกพระอริยะ คือ สุภาษิตทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 160
ที่พวกท่านกล่าวอยู่. คําว่า แต่ส่วนพวกท่านนั่งใกล้ผู้ประเสริฐ คือ นั่งอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้สูงสุด. บทว่า อันยอดเยี่ยม คือ หรือ ในพระพุทธศาสนา. บทว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ ความประพฤติที่ประเสริฐสุด. บทว่า ความอุบัติของพวกท่าน ได้แก่ ความเข้าถึงของพวกท่าน. คําว่า เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในอาคาร ได้แก่ เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่กลางเรือน. คําว่า สฺวาชฺช ตัดบทว่า โส อชฺช แปลว่า โคปกเทพบุตรนั้น ในวันนี้.
ท่านเรียกโคปกะว่า สาวกพระโคดม ในที่นี้ว่า อันสาวกพระโคดม. คําว่า มาพร้อมแล้ว คือประชุมกันแล้ว. คําว่า เอาเถิด มาเร่งพยายามกันเถิด คือ เอาเถิด มาขะมักเขม้น พยายามกันเถิด. คําว่า โน ในบทว่า พวกเราอย่ามาเป็นผู้รับใช้เขาเลย นี้เป็นเพียงคําที่แทรกเข้ามาเท่านั้น. ความหมายก็คือ พวกเราอย่ามาเป็นผู้รับใช้ของผู้อื่นเลย. ในคําว่า คําสั่งสอนของพระโคดม นี้ โดยปกติท่านเรียกปฐมฌานที่ได้นั่นเองว่า คําสั่งสอนของพระโคดม หมายความว่า อนุสรณ์ คือ ตามระลึกถึงปฐมฌานนั้น. คําว่า พรากจิตทั้งหลาย คือ พรากพวกจิตที่ประกอบด้วยกามคุณห้าอย่าง. คําว่า โทษในเหล่ากาม คือ ได้เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปฐมฌานเพราะอํานาจการข่ม เพราะอํานาจการตัดได้ขาด ท่านเหล่านั้นได้เห็นทั้งเครื่องประกอบคือ กาม และเครื่องผูก คือกาม ที่ชื่อว่า กามสังโยชน์ ด้วยมรรคที่สาม. คําว่า เป็นเครื่องประกอบของผู้มีบาป หมายความว่า เป็นเครื่องประกอบเป็นเครื่องผูกของผู้มีบาป คือ ของมาร. คําว่า พ้นไปได้ยาก คือยากที่จะก้าวข้ามไปได้. คําว่า หมู่เทพรวมทั้งพระอินทร์ รวมทั้งประชาบดี ความว่า ผู้ที่ทําพระอินทร์ให้เป็นหัวหน้าแล้วเข้าไปชื่อว่า รวมทั้งพระอินทร์ผู้ที่ทําประชาบดีเทวราชให้เป็นหัวหน้าแล้วเข้าไปชื่อว่า รวมทั้งประชาธิบดี. คําว่า เข้าไปในสภา ความว่า เข้าไปนั่งในที่ประชุม. คําว่า ผู้กล้า คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 161
ผู้กล้าหาญ. คําว่า คลายกําหนัด คือ ปราศจากกําหนัด. คําว่า กระทําธรรมที่ปราศจากมลทิน คือ กระทําได้แก่ทําอนาคามิมรรคที่ไม่มีมลทินให้เกิดขึ้น. คําว่า ตัดกามคุณที่ละเอียด เหมือนช้าง คือ ตัดเครื่องประกอบคือกามและเครื่องผูกพันได้แล้ว ก็ก้าวล่วงพวกเทพชั้นดาวดึงส์ไป.
คําว่า ทรงเกิดความสลด คือ แก่ท้าวสักกะ ผู้ทรงเกิดความสลด. คําว่า ผู้ครอบงํากาม คือ ผู้ทรงครอบงํากามแม้ทั้งสองอย่าง. คําว่า ผู้เสื่อมจากสติ คือ ผู้เว้นจากความระลึกถึงฌาน. คําว่า แห่งสามท่านนั้น คือ ในสามท่านนั้น. คําว่า ท่านหนึ่งยังอยู่ในภพนั้น คือ ที่เป็นผู้ยังอยู่ในพวกชั้นเลวนั้น มีเพียงผู้เดียวเท่านั้น. คําว่า มีปกติตามระลึกถึงทางแห่งความตรัสรู้ คือ มีปกติตามระลึกถึงอนาคามิมรรค. คําว่า ย่อมดูถูกแม่แต่พวกเทพ คือ ดูหมิ่น ได้แก่กดเทวโลกแม้ทั้งสองชั้นให้ต่ําลง เพราะความที่ตนตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ จึงเอาฝุ่นที่ติดเท้าตนมาโปรยใส่ศีรษะพวกเทวดา เหาะไปในอากาศได้. คําว่า ผู้ประกาศธรรมเป็นเช่นนี้ในศาสนานี้ คือ หมู่สาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ที่ประกาศธรรมเห็นปานนี้ในพระศาสนานี้. คําว่า ใครๆ ที่เป็นสาวกย่อมไม่สงสัยอะไรในข้อนั้น คือ ในสาวกเหล่านั้น ใครๆ แม้แต่เป็นสาวกรูปเดียวก็ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือในความเป็นทิศทั้งสี่ เป็นผู้ไม่ติดขัดไม่ยึดมั่นในทิศทั้งหมดอยู่. บัดนี้เมื่อจะทรงสรรเสริญพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ทรงข้ามห้วงน้ำได้แล้ว ตัดความลังเลได้แล้ว ผู้ทรงชํานะ ผู้เป็นจอมชน ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น คําว่า ผู้ตัดความลังเลได้แล้ว คือ ตัดความสงสัยได้แล้ว. คําว่า ผู้เป็นจอมชน คือผู้สงสุดในโลกทั้งหมด. คําว่า ธรรมใดของพระองค์ คือ ธรรมของพระองค์ใด. คําว่า ท่านเหล่านั้นได้ถึงแล้ว คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 162
เทพบุตรเหล่านั้นได้บรรลุแล้ว. คําว่า กายพรหมปุโรหิต คือ เมื่อพวกข้าพระพุทธเจ้ากําลังดูอยู่นั้น ก็กลายสรีระเป็นพรหมปุโรหิต. มีคําที่ท้าวสักกะทรงขยายไว้ดังนี้ว่า เทพเหล่านั้น ทราบธรรมของพระองค์ใดแล้ว ในสามท่านนั้น ท่านทั้งสองนั้นได้ถึงคุณพิเศษ ขณะที่พวกข้าพระองค์เห็นกันอยู่นั้น ก็บรรลุกายเป็นพรหมปุโรหิตแล้วได้บรรลุคุณพิเศษ คือมรรคผล ท่านผู้นิรทุกข์ ถึงพวกข้าพระองค์ก็มาเพื่อบรรลุธรรมนั้น. คําว่า มาแล้ว คือ ถึงพร้อมแล้ว. คําว่า พวกข้าพระองค์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาสแล้วจะพึงทูลถามปัญหา ท่านผู้นิรทุกข์ หมายความว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะประทานพระโอกาส ทีนั้น ท่านผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระโอกาสแล้วก็จะพึงทูลถามปัญหา.
คําว่า ยักษ์ (พระอินทร์) นี้ เป็นผู้บริสุทธิ์มานานแล้วแล คือเป็นผู้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ดีจําเดิมแต่กาลนานแล้ว. กาลนานเท่าไร. นานจําเดิมแต่ครั้งเป็นมาฆมาณพในหมู่บ้านมจละ แคว้นมคธ ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงเกิดขึ้นมาแล้ว.
ดังมีเรื่องเล่ามาว่า ครั้งนั้น วันหนึ่ง มาฆมาณพนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วไปสู่ที่ทํางานประจําหมู่บ้านของพวกคนกลางหมู่บ้าน เอาปลายเท้านั่นแหละเขี่ยก้อนดินและขยะมูลฝอยออกไป ทําที่ซึ่งตนยืนให้น่ารื่นรมย์. คนอื่นก็มายืนในที่นั้น. ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นเอง เขาก็กลับได้ความระลึก จึงถางที่เท่าวงสนามกลางหมู่บ้านแล้ว ก็ขนทรายมาเกลี่ยลง ขนเอาฟืนมาก่อไฟในเวลาหนาว. ทั้งหนุ่มสาวและผู้เฒ่าผู้แก่ก็พากันมานั่งในที่นั้น. ต่อมาวันหนึ่งเขาเกิดความคิดว่า เมื่อเราไปเมืองก็เห็นพระราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นต้น คนทั้งหลายต่างก็กล่าวกันว่า ในพระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้น ต่างก็มีเทพบุตรชื่อจันทร์ เทพบุตรชื่อสูรย์ พวกเหล่านั้นทําอะไรหนอจึงได้สมบัติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 163
เหล่านี้. ต่อมาจึงคิดได้ว่า สิ่งอื่นไรๆ ไม่มี ต้องทําบุญเท่านั้น แล้วคิดว่า ถึงเราเองก็ต้องทําบุญที่ให้สมบัติอย่างนี้เหมือนกัน. เขาจึงลุกขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ ดื่มข้าวต้มแล้วก็ถือเอาพร้าขวานเสียมและสากไปที่ทางใหญ่สี่แยก เอาสากงัดก้อนหินให้ไหวแล้วกลิ้งไป เอาไม้มาสอดใส่เพลายาน ปราบที่ขรุขระให้เรียบราบแล้ว ก็สร้างศาลาตรงทางใหญ่สี่แพร่ง ขุดสระบัว ผูกสะพานทํางานอย่างนี้ตลอดวัน ตะวันตกจึงกลับบ้าน.
มีคนอื่นถามเขาว่า เพื่อนมาฆะ คุณออกไปตั้งแต่เช้า ตกเย็นจึงมาจากป่า คุณทํางานอะไร. ผมทําบุญ ถางทางไปสวรรค์. ชื่อว่าบุญนี้ คืออะไรกันเพื่อน. คุณไม่รู้จักหรือ. เออ ผมไม่รู้จัก. เวลาไปเมืองท่านเคยเห็น พวกราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นต้นหรือ. เคยเห็นครับ พวกนั้นทําบุญแล้วจึงได้ตําแหน่งนั้น ผมเองก็จะทํางานที่ให้สมบัติอย่างนั้นบ้าง คุณเคยฟังไหมว่า เทพบุตรชื่อจันทร์ เทพบุตรชื่อสูรย์. เออ เคยฟัง. ผมก็จะถางทางไปสวรรค์นั้น. เออก็บุญกรรมนี้ เหมาะสําหรับคุณเท่านั้น หรือสําหรับคนอื่นก็เหมาะด้วย. บุญนั้น ไม่กีดกันใครๆ หรอก. ถ้าอย่างนั้น พรุ่งนี้ เวลาไปป่าคุณเรียกผมด้วยนะ. วันรุ่งขึ้น เขาก็พาคนนั้นไป. ด้วยประการฉะนี้ ในหมู่บ้านนั้นจึงมีคนอยู่ในวัยฉกรรจ์รวมสามสิบสามคน ทุกคนล้วนแต่เป็นไปตามนายมาฆะทั้งนั้น. พวกเขาเที่ยวทําบุญเป็นเอกฉันท์ วันใดไปเมื่อจะปราบทางให้ราบ ปราบวันเดียวเท่านั้น เมื่อจะขุดสระบัว สร้างศาลา สร้างสะพานก็ให้เสร็จในวันเดียวเท่านั้น.
ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านของพวกเขาก็คิดว่า แต่ก่อน เมื่อพวกนี้ยังดื่มเหล้าและยังฆ่าสัตว์เป็นต้น เราย่อมได้ทรัพย์ด้วยอํานาจกหาปณะเล็กน้อยเป็นต้นบ้าง ด้วยอํานาจภาษีอาชญาบัตรบ้าง เดี๋ยวนี้ ตั้งแต่พวกนี้ทําบุญ รายได้จํานวน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 164
นั้นก็ขาดไป เอาล่ะ เราจะทําลายพวกนั้นในราชตระกูล จึงเข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่า มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าพบกองโจร.
ราชา. ที่ไหนกัน พ่อ.
ผู้ใหญ่บ้าน. ในหมู่บ้านข้าพระพุทธเจ้า.
ราชา. โจรชนิดไหนกัน พ่อ.
ผู้ใหญ่บ้าน. ชนิดทําผิดต่อพระราชา พระองค์.
ราชา. ชาติอะไร.
ผู้ใหญ่บ้าน. ชาติชาวบ้าน พระองค์.
ราชา. ชาวบ้านจะทําอะไรได้ เมื่อเธอรู้เช่นนั้นทําไมจึงไม่บอกเรา.
ผู้ใหญ่บ้าน. มหาราช ที่ไม่กราบทูลเพราะกลัวพระอาชญา บัดนี้ขอพระองค์อย่าพึงลงพระอาชญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า.
ลําดับนั้น พระราชาทรงคิดว่า ผู้ใหญ่บ้านนี้ร้องเสียงดัง จึงทรงเชื่อจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอนั่นแหละจงไป นําพวกโจรเหล่านั้นมา แล้วก็ประทานกําลังส่งไป. ผู้ใหญ่บ้านนั้นก็ไปล้อมพวกนั้นขณะที่ทํางานประจําวันในป่าเสร็จแล้วนั่งรับประทานอาหารเย็นกลางหมู่บ้านแล้ว กําลังปรึกษากันว่า พรุ่งนี้พวกเราจะทํางานอะไร จะปราบทางให้เสมอกัน จะขุดสระ หรือจะผูกสะพาน แล้วสําทับไปว่า อย่าขยับเขยื้อนนะ นี่คําสั่งในหลวง มัดแล้วก็จูงไป.
ลําดับนั้น พวกผู้หญิงของคนเหล่านั้น ได้ฟังว่า นัยว่า พวกสามีของพวกเราเป็นโจรขบถต่อพระราชา เจ้าหน้าที่เขาหาว่าเป็นโจร จึงมัดนําออกไป จึงพูดว่า พวกนี้เป็นคนโกงมานานแล้ว แต่ละวันๆ มีแต่พูดว่า ทําบุญแล้วก็ไปป่าท่าเดียว งานการทุกอย่างเสื่อมทรามหมด ในเรือนจะหาอะไรก้าวหน้าสักนิดก็ไม่มี มัดให้ดี นําไปให้ดี. แม้ผู้ใหญ่บ้าน ก็นําพวกเขาไปแสดง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 165
แด่พระราชา. พระราชายังไม่ทันได้ทรงสอบสวนเลย ตรัสว่า จงให้ช้างเหยียบ. เมื่อพวกเขาถูกนําไป มาฆะพูดกับคนนอกนี้ว่า เพื่อน พวกคุณจะทําตามคําของผมได้ไหม.
เมื่อทําตามคําของคุณนั่นแหละ พวกเราจึงถึงภัย ถึงเช่นนั้นก็เถอะเราก็ยังทําตามคําของคุณ ว่าแต่คุณเถอะ จะให้พวกเราทําอะไร พรรคพวกว่า.
เพื่อน มาเถอะ นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ที่ท่องเที่ยวในวัฏฏะ ก็พวกท่านเป็นโจรหรือ มาฆะชี้แจง และถามพรรคพวก.
พวกเราไม่ใช่โจร พรรคพวกตอบอย่างแข็งขัน.
ชื่อว่าการกระทําสัจจะเป็นที่พึ่งของโลกนี้ ฉะนั้น ถ้าพวกเราแม้ทั้งหมดเป็นโจร ขอให้ช้างจงเหยียบ ถ้าไม่เป็นโจร อย่าเหยียบ ขอให้พวกคุณจงกระทําสัจจะดังที่ว่ามานี้ มาฆะแนะนํา. พวกเขาก็ได้ทําอย่างนั้น.
ช้างแม้แต่จะเข้าใกล้ก็ไม่ได้ ร้องพลาง หนีไปพลาง แม้จะเอาเหล็กแหลม หอก และขอสับสักเท่าไรก็รั้งไว้ไม่อยู่. พวกควาญช้างจึงไป กราบทูลพระราชาว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าขับช้างเข้าไปใกล้ไม่ได้.
ถ้าอย่างนั้น ก็เอาเสื่อลําแพนคลุมปิดข้างบนพวกมันแล้วให้เหยียบซิพระราชาตรัสสั่ง. เมื่อครอบเสื่อลําแพนไว้ข้างบนแล้ว เจ้าช้างก็ยิ่งร้องเป็นสองเท่าพลางก็หนีไป.
พระราชาทรงฟังแล้ว ก็ทรงมีรับสั่งให้เรียกตัวการยุแหย่มาแล้วตรัสว่าพ่อ ช้างมันไม่อยากเหยียบ.
ทราบด้วยเกล้า ขอเดชะ มาณพผู้เป็นหัวหน้ารู้มนต์ นั่นเป็นอานุภาพของมนต์แท้เทียว ผู้ใหญ่บ้านสนองพระดํารัสและกราบทูลใส่ความต่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 166
พระราชาทรงมีรับสั่งให้หัวหน้านั้นเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามว่า เขาว่า แกมีมนต์หรือ.
ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีมนต์ แต่พวกข้าพระพุทธเจ้าได้กระทําสัจจกิริยาไว้ว่า ถ้าพวกเราเป็นโจรของพระราชา ขอให้เหยียบเถิด ถ้าไม่เป็นโจร ขออย่าเหยียบ นั่นเป็นอํานาจของสัจจกิริยาของพวกข้าพระพุทธเจ้า.
ราชา. แล้วก็ พวกพ่อกระทํางานอะไร.
หัวหน้า. พวกข้าพระพุทธเจ้า ปราบทางที่ขรุขระให้เรียบ สร้างศาลาในทางใหญ่สี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวสร้างบุญกรรมเห็นปานนี้.
ราชา. ผู้ใหญ่บ้านยุยงพวกพ่อเพื่ออะไร?
หัวหน้า. เวลาที่พวกข้าพระพุทธเจ้าประมาท เขาย่อมได้สิ่งนี้และสิ่งนี้เวลาไม่ประมาท สิ่งนั้นก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้จึงยุยง.
ราชา. พ่อ ช้างเชือกนี้ เป็นดิรัจฉาน แม้มันก็ยังรู้คุณของพวกพ่อ ข้าเองแม้เป็นมนุษย์ ก็ไม่รู้ ข้าขอยกหมู่บ้านที่อยู่ของพวกพ่อเป็นหมู่บ้านปลอดภาษีที่ใครๆ มาเก็บไม่ได้แล้วให้แก่พวกพ่อนี้แหละอีก ถึงช้างนี้ก็จงเป็นของพวกพ่อเหมือนกัน ส่วนตัวการยุแหย่ขอมอบให้เป็นทาสของพวกพ่อนี่แหละ ตั้งแต่นี้ไป ขอให้พวกพ่อจงทําบุญเพื่อข้าบ้างนะ ตรัสแล้วก็พระราชทานพระราชทรัพย์ให้แล้วก็ทรงปล่อยไป.
พวกเขารับพระราชทรัพย์แล้ว ก็เปลี่ยนเวรขึ้นช้างกันไป พลางปรึกษากันว่า เพื่อนเอย ธรรมดาว่าบุญกรรม เป็นของที่ต้องทําเพื่อประโยชน์แห่งภพในอนาคต เพราะบุญนั้นของพวกเราให้ผลในอัตภาพนี้แหละ เหมือนอุบลเขียวที่ผลิดอกออกผลภายในน้ำ บัดนี้พวกเราจะทําบุญให้ยิ่งขึ้นไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 167
พวกเราจะทําอะไร? เราทําสิ่งถาวรในทางใหญ่สี่แยกแล้ว สร้างศาลาสําหรับพักของมหาชน. แต่กับพวกผู้หญิงจะไม่ยอมให้มีส่วนร่วม เพราะเมื่อพวกเราถูกเจ้าหน้าที่หาว่าเป็นโจรจับพาไป ในพวกผู้หญิงแม้คนเดียว ก็ไม่ทําแม้แต่เพียงเอาใจช่วย มีแต่ส่งเสริมว่ามัดดีๆ จับดีๆ เพราะฉะนั้น พวกเราจะไม่ยอมให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีส่วนร่วม. พวกเขาก็พากันไปเรือนตนให้ข้าวสามสิบสามก้อน นําหญ้าสามสิบสามกําแก่ช้าง. ทั้งหมดนั้นก็เต็มท้องช้าง. พวกเขาเข้าป่าตัดไม้. ช้างก็ลากเอาไม้ที่ตัดแล้วๆ มาวางไว้ที่ทางเกวียน. พวกเขาช่วยกันถากไม้ เริ่มสร้างศาลา.
มาฆะ มีภรรยาอยู่ในเรือนสี่คน คือ นางสุชาดา นางสุธรรมา นางสุจิตรา นางสุนันทา. นางสุธรรมาถามช่างไม้ว่า พ่อ! พวกเพื่อนเหล่านั้น เช้าก็ไป ตกเย็นจึงมา พวกเขาทํางานอะไร. ทําศาลาแม่. พ่อ! ขอให้ท่านช่วยทําให้ดิฉันมีส่วนร่วมในศาลาด้วยคนซิ. พวกเพื่อนเหล่านี้กล่าวว่า พวกเราจะไม่ยอมให้พวกผู้หญิงมีส่วนร่วม. นางได้ให้เงินช่างไม้แปดกหาปณะด้วยพูดว่า เอาเถอะ พ่อขอให้ท่านช่วยหาอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งทําให้ดิฉันมีส่วนร่วมด้วย. เขากล่าวว่า ตกลง แม่ แล้วก็ถือเอามีดและเอาขวานอย่างเร็วไปยืนกลางหมู่บ้านตะโกนเสียงดังๆ ว่า คุณ! วันนี้เวลาป่านนี้แล้ว ยังไม่ออกกันอีกหรือ? รู้ว่าขึ้นสู่ทางกันหมดแล้ว จึงว่า พวกคุณจงล่วงหน้าไปก่อน ผมมีความจําเป็นต้องล่าช้า แล้วก็ให้พวกนั้นล่วงหน้าไปก่อน แล้วเดินไปทางอื่นตัดไม้สําหรับใช้เป็นช่อฟ้า ถากไสแล้วขนมาไว้ที่เรือนนางสุธรรมาแล้ว สั่งนางว่า ท่านพึงให้ขนออกไปได้ ในวันที่ผมแจ้งไปว่า จงให้เถิด.
ต่อมาเมื่อเสร็จงานเกี่ยวกับเครื่องเครา และเมื่อทําเครื่องผูกที่ยึด การยกเสา การประกอบขื่อและที่ติดช่อฟ้าตั้งแต่ปราบพื้นที่เสร็จแล้ว ช่างไม้นั้นก็นั่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 168
ณ ที่สําหรับติดช่อฟ้า ยกไม้จันทันทั้งสี่ทิศ พูดว่า โอ้! มีลืมไปอย่างหนึ่งเสียแล้ว. คุณมีอะไรที่ไม่ลืมเล่า? ลืมทั้งหมดนั่นแหละ. แล้วจะเอาไม้จันทันเหล่านี้ไปตั้งไว้ตรงไหน? ควรจะได้ช่อฟ้ามา. พ่อคุณเอย บัดนี้ เราอาจได้ที่ไหนเล่า. อาจได้ในเรือนแห่งสกุลทั้งหลาย ลองเที่ยวถามดูซิ. พวกเขาก็เข้าไปถามในหมู่บ้าน แล้วมายืนที่ประตูเรือนนางสุธรรมาถามว่า ในเรือนนี้มีช่อฟ้าไหม.นางบอกว่า มี. เชิญรับค่าไป. ไม่รับค่าหรอก ถ้าพวกคุณยอมให้ดิฉันมีส่วนร่วมด้วย ดิฉันจะให้. มาเถอะ พวกเราจะไม่ยอมทําให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม พวกเราจะไปป่าแล้วตัดไม้ว่าแล้วก็พากันออกไป. แต่นั้นพวกเขาเมื่อถูกช่างไม้ถามว่าเป็นอย่างไร พ่อได้ช่อฟ้าไหม? ก็แจ้งความข้อนั้น. ช่างไม้นั่งอยู่ที่ติดช่อฟ้าอย่างเดิมเงยมองดูอากาศแล้วพูดว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ฤกษ์ดีเลยฤกษ์นี้แล้ว ปีอื่น จึงจะสามารถได้ และพวกคุณก็จะนําเอาเครื่องเครามาลําบากด้วย เครื่องเคราเหล่านั้น เอามากองไว้ ตลอดปี ก็จะเน่าผุในที่นี้นี่เอง เวลาเกิดในเทวโลกก็จงยอมให้ศาลามุมหนึ่งแก่นางเถิด ไปเอาช่อฟ้านั้นมาเถิด. แม้นางสุธรรมานั้นตลอดเวลาที่พวกนั้นยังไม่มาอีก ได้สั่งให้ฉลุตัวหนังสือว่า ศาลาหลังนี้ชื่อสุธรรมา ไว้ที่พื้นล่างช่อฟ้า แล้วเอาผ้าใหม่มาพันตั้งไว้.
เมื่อพวกคนงานมาแล้วกล่าวว่า ช่วยนําเอาช่อฟ้ามา เท่าที่จะเป็นได้.พวกเราจะทําให้คุณนายมีส่วนร่วมด้วย. นางก็นําออกมา สั่งว่า พ่อทั้งหลาย! อย่าเพิ่งเอาผ้านี้ออกนะคะจนกว่ายังไม่ขึ้นไม้จันทันได้แปดหรือสิบหกท่อนก่อนแล้วก็ให้ไป. พวกนั้นก็รับว่า ตกลง ครั้นยกไม้จันทันขึ้นเสร็จแล้วก็เอาผ้าออก. เพื่อนบ้านสําคัญคนหนึ่งเงยหน้าขึ้นข้างบนเห็นตัวหนังสือจึงพูดว่า นี่อะไร? แล้วให้ไปตามคนที่อ่านหนังสือออกมาแสดง. คนนั้น ก็อ่านว่า ศาลาหลังนี้ชื่อสุธรรมา. พวกเขาก็ร้องเอะอะว่า เอาออกไปท่าน ตั้งแต่ต้นมา เมื่อสร้างศาลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 169
พวกเราไม่ได้แม้แต่ชื่อ นางนี้เอาไม้ช่อฟ้าแค่ศอกแล้วให้ทําศาลาด้วยชื่อตัว. เมื่อพวกเขากําลังร้องเอะอะอยู่นั่นเอง ช่างไม้ก็สอดไม้จันทันแล้วตอกสลักเป็นอันเสร็จงานสร้างศาลา. เขาแบ่งศาลาเป็นสามส่วน คือ ส่วนหนึ่งทําเป็นที่พักพวกคนใหญ่คนโต ส่วนหนึ่งสําหรับพวกคนยากคนจน อีกส่วนหนึ่งสําหรับผู้เจ็บป่วย. สามสิบสามคนปูกระดานสามสิบสามแผ่นแล้วให้สัญญาณช้างว่าอาคันตุกะมานั่งบนแผ่นกระดานที่ผู้ใดปูไว้ เจ้าจงพาเขาไปตั้งไว้ที่เรือนของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ ให้การนวดเท้า ให้การนวดหลัง ของขบเคี้ยวของกินและที่นอน ทั้งหมดแก่อาคันตุกะนั้น จะเป็นภาระของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ. ช้างก็พาแขกที่มาแล้ว นําไปสู่เรือนของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นเอง. วันนั้นเจ้าของแผ่นกระดานนั้นก็จัดการที่พึงทําแก่แขกนั้น
ในที่ไม่ไกลศาลา มาฆมาณพปลูกต้นทองหลางไว้. และที่โคนไม้นั้นลาดแผ่นหินไว้. แม้ภริยาของเขาที่ชื่อสุนันทาก็ให้ขุดสระบัวไว้ใกล้ๆ . นางสุจิตรา ปลูกพุ่มไม้ดอก. ส่วนเมียหลวงเอาแต่เที่ยวส่องกระจกตกแต่งร่างกายเท่านั้น. มาฆะพูดกับนางว่า น้อง แม่สุธรรมานี้ เขามีส่วนแห่งศาลา แม่สุนันทา เขาให้ขุดสระบัว และก็แม่สุจิตราเขาก็ปลูกพุ่มไม้ดอก ส่วนน้องยังไม่มีบุญกรรม น้องจงทําบุญสักอย่างเถอะที่รัก. นางตอบว่า พี่ทําเพราะเหตุใคร ที่พี่ทําก็เพื่อน้องเหมือนกันมิใช่หรือ? แล้วก็เอาแต่หมกมุ่นกับการแต่งตัวท่าเดียว.
เมื่อมาฆะดํารงอยู่จนตลอดอายุแล้ว ก็เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้นไปเกิดเป็นท้าวสักกะในชั้นดาวดึงส์. คนเพื่อนบ้านทั้งสามสิบสามคนตายแล้ว ก็เป็นเทพบุตรสามสิบสามองค์เกิดในสํานักของท้าวสักกะนั้นเอง. ปราสาทชื่อไพชยนต์ของท้าวสักกะ ผุดขึ้นสูงตั้งเจ็ดร้อยโยชน์. ธง ผุดขึ้นสูงดังสามร้อยโยชน์. ด้วยผลของไม้ทองหลาง เกิดต้นปาริฉัตร มีปริมณฑลโดยรอบสามร้อยโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 170
ลําต้นกว้างสิบห้าโยชน์. ด้วยผลแห่งแผ่นหิน เกิดหินเหมือนผ้าขนสัตว์สีเหลืองหกสิบโยชน์ที่โคนปาริฉัตร. ด้วยผลแห่งไม้ช่อฟ้าของนางสุธรรมา เกิดเทวสภาชื่อสุธรรมาสามร้อยโยชน์. ด้วยผลแห่งสระบัวของนางสุนันทา เกิดสระบัวชื่อนันทาห้าสิบโยชน์. ด้วยผลแห่งสวนพุ่มไม้ดอกของนางสุจิตรา เกิดอุทยานชื่อจิตรลดาวันหกสิบโยชน์.
ท้าวสักกะผู้เป็นราชาแห่งเทพ ประทับนั่งบนบัลลังก์ทองโยชน์หนึ่งในสุธรรมาเทวสภา มีเศวตฉัตรสามโยชน์กางกั้น แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรเหล่านั้นด้วยเทพธิดาเหล่านั้น ด้วยนางฟ้อน ๒๕ โกฏิและด้วยหมู่เทวดาในเทวโลกสองชั้น เมื่อตรวจดูมหาสมบัติ ก็ทรงเห็นสตรีสามคนเหล่านั้น ทรงดูว่า สามคนนี้ปรากฏก่อน สุชาดาอยู่ไหน ทรงเห็นว่า นางนี้ไปเกิดเป็นนางนกยางตัวหนึ่งในซอกเขาเพราะไม่ยอมทําตามคําเรา แล้วทรงลงจากเทวโลกเสด็จไปสู่สํานักนาง. พอนางเห็นเท่านั้น แหละก็จําได้เลยก้มหน้า. ท้าวสักกะจึงตรัสว่า เจ้าผู้เขลา บัดนี้ไฉนจึงไม่ยอมยกหัวขึ้นล่ะ เจ้าไม่ทําตามคําเรา เอาแต่แต่งเนื้อแต่งตัว ทําให้เสียเวลา สมบัติอันยิ่งใหญ่เกิดแล้วแก่นางสุธรรมา นางสุนันทา และนางสุจิตรา จงมาดูสมบัติพวกเราสิ แล้วก็ทรงพาไปเทวโลกทรงปล่อยที่สระบัวชื่อนันทาแล้ว เสด็จประทับนั่งบนบัลลังก์. พวกนางนักฟ้อนกราบทูลถามว่า มหาราช ทูลกระหม่อมเสด็จไปไหน. พระองค์แม้ไม่ทรงอยากจะบอก เมื่อถูกพวกนางเหล่านั้นบีบคั้นหนักเข้า ก็ตรัสว่าไปสู่สํานักสุชาดา.
นาฏกา. มหาราช นางเกิดที่ไหน.
ส. ที่เชิงซอกเขา.
นาฏกา. เดี๋ยวนี้อยู่ไหน.
ส. ฉันปล่อยไว้ที่สระบัวชื่อนันทา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 171
นาฏกา. มาเถิด ท่านผู้เจริญ พวกเราไปดูเจ้าแม่ของพวกเรา แล้วทั้งหมดก็พากันไปที่นั้น.
นางสุชาดานั้น แต่ก่อนมา ถือตัวว่าเป็นใหญ่กว่าเขาหมด. บัดนี้ชั้นแต่พวกหญิงนักฟ้อน เมื่อเห็นนางเข้าก็พากันพูดจาเยาะเย้ยเอาเป็นต้นว่า ดูเถิดท่าน ปากเจ้าแม่พวกเราอย่างกะหลาวแทงปู.
นางเกิดอึดอัดเหลือเกิน จึงทูลท้าวสักกะ ผู้เป็นราชาของเทพว่ามหาราช วิมานทอง วิมานเงิน หรือนันทาโปกขรณีเหล่านี้ จักทําอะไรแก่หม่อนฉัน มหาราช ชาติภูมิเท่านั้นแหละที่เป็นสุขของหมู่สัตว์โปรดปล่อยหม่อมฉันไว้ที่เชิงซอกเขานั้นตามเดิมเถิด. ท้าวสักกะ ทรงปล่อยนางไว้ที่นั้นแล้วตรัสว่า เจ้าจะทําตามคําของฉันไหม. นางทูลถามว่า จะทําตามมหาราช. ท้าวสักกะจึงตรัสว่า เจ้าจงรับศีลห้ารักษาอย่าให้ขาด ไม่กี่วันฉันจะทําเจ้าให้ใหญ่กว่านางเหล่านั้น. นางก็ได้ทําอย่างนั้น. ล่วงไปได้สองสามวันท้าวสักกะ ทรงคิดว่า นางรักษาศีลได้ไหมหนอ จึงเสด็จไปจําแลงเป็นปลาหงายท้อง ลอยบนหลังน้ำข้างหน้านาง. นางคิดว่า คงเป็นปลาตาย จึงไปจิกเอาที่หัว. ปลากระดิกหาง. นางคิดว่า ชะรอยปลายังเป็นแล้วก็ปล่อยน้ำไป. ท้าวสักกะประทับยืนที่อากาศ ตรัสว่า สาธุ สาธุ เจ้ารักษาสิกขาบทได้ ฉันจะทําเจ้าผู้รักษาได้อย่างนี้ให้เป็นหัวหน้าของพวกนางละครเทวดาโดยไม่นานทีเดียว.นางมีอายุ ๕๐๐ ปี. แม้แต่วันเดียวก็ไม่ได้อาหารเต็มท้อง แม้จะเหี่ยวแห้งแห้งผากร่วงโรยอยู่ ก็ไม่ทําให้ศีลขาด เมื่อตายแล้ว ก็เกิดในเรือนช่างหม้อในกรุงพาราณสี.
เมื่อท้าวสักกะทรงตรวจดูว่า เกิดที่ไหน ก็ทรงเห็น ทรงคิดว่า เรายังนํานางมาที่นี้จากที่นั้นไม่ได้ เราจะให้ความเป็นไปแห่งชีวิตแก่นาง จึงทรงเอาฟัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 172
ทองทองคําบรรทุกยานน้อยไปจนเต็ม จําแลงเพศเป็นคนแก่ นั่งในท่ามกลางหมู่บ้าน ร้องว่า พวกท่านจงมาเอาฟักทอง. พวกชาวบ้านโดยรอบมากล่าวว่า จงให้มาพ่อ. คนแก่พูดว่า ฉันจะให้แก่คนผู้รักษาศีล. พวกท่านรักษาศีลกันไหม. พวกคนก็ว่า พ่อเอย พวกเราไม่รู้ว่าศีลเป็นอย่างไร ตาจงขายเถอะ ตาเฒ่าพูดว่าฉันจะให้แก่ผู้รักษาศีลเท่านั้น. พวกคนพูดว่า มาซิท่าน เฒ่าขายฟักทองนี้เป็นใครกัน แล้วก็กลับกันหมด. เด็กหญิงคนนั้นก็ถามว่าแม่ ท่านไปเพื่อต้องการฟักทอง ทําไม จึงกลับมามือเปล่าล่ะ. พวกหญิงเหล่านั้นตอบว่า หนูเอยเฒ่าขายฟักทองเป็นใคร แกพูดว่า ฉันจะให้แก่ผู้รักษาศีล แม้เด็กหญิงรักษาศีลแล้วย่อมควรได้ฟักทองนี้เป็นแน่ พวกเราไม่รู้จักศีลเลย. นางคิดว่า คงจะนํามาเพื่อเราเป็นแน่ จึงไปแล้วพูด พ่อจา โปรดให้ฟักทอง.
อินทร์. เจ้ารักษาศีลหรือแม่หนู.
ด.ญ. ค่ะ พ่อ หนูรักษาศีลค่ะ.
อินทร์. ข้าก็นําเอาฟักทองนี้มาเพื่อหนูเท่านั้น แล้วก็ตั้งไว้พร้อมกับยานน้อยที่ประตูเรือนแล้วเสด็จหลีกไป. แม้นางก็รักษาศีลตลอดชีวิต จุติแล้วก็เกิดเป็นธิดาของเวปจิตติอสูร. เพราะผลของศีล นางจึงเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส. ท้าวเวปจิตติคิดว่า เราจะทําวิวาหมงคลแก่ลูกสาว จึงให้พวกอสูรประชุมกัน.
ท้าวสักกะทรงตรวจดูว่า เกิดที่ไหน ทรงเห็นว่า เกิดในภพอสูรวันนี้จะทําวิวาหมงคลแก่นาง ทรงคิดว่า บัดนี้ เราควรทําอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนํานางมา จึงไปทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแล้ว ประทับยืนในระหว่างพวกอสูร. พระบิดาตรัสว่า พ่ออนุญาตให้ลูกเลือกสามี แล้วก็ประทานพวงดอกไม้ที่มือของนาง ตรัสว่า ลูกต้องการผู้ใด ก็จงซัดดอกไม้บนผู้นั้น. เมื่อนางตรวจดูก็เห็นท้าวสักกะ เกิดความรักเพราะเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน กําหนดว่า นี้เป็นสามีของเรา แล้วก็ซัดพวงไปบนเขา. ท้าวสักกะนั้น ก็ทรงจับแขน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 173
นางเหาะไปบนอากาศ. ขณะนั้นพวกอสูรก็จําได้. พวกอสูรเหล่านั้น ร้องไปว่าจับจับเฒ่าสักกะไว้ เป็นศัตรูพวกเรา พวกเราจะไม่ยอมให้เจ้าสาวแก่เฒ่าสักกะนั้นแล้วต่างก็ติดตามไป. ท้าวเวปจิตติตรัสถามว่า ใครนําไป. เฒ่าสักกะ มหาราชพวกอสูรตอบ. ในบรรดาผู้ที่เหลือ ท้าวสักกะนี้เท่านั้น ประเสริฐสุด ออกไปท้าวเวปจิตติตรัส. เมื่อท้าวสักกะพานางไปแล้วก็ทรงตั้งไว้ในตําแหน่งหัวหน้านางฟ้อน ๒๕ โกฎิ. นางทูลขอพรต่อท้าวสักกะว่า มหาราช ในเทวโลกนี้หม่อนฉันไม่มีมารดา บิดา หรือพี่น้องชายหญิง พระองค์เสด็จไปที่ใดๆ โปรดพา หม่อมฉันไปในที่นั้นๆ ด้วยมหาราช. ท้าวสักกะประทานพระปฏิญาณว่าตกลง. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความที่ท้าวสักกะนั้นเป็นผู้หมดจด ตั้งแต่ครั้งเป็นมาฆมาณพในหมู่บ้านมจล ดังที่ว่ามานี้ จึงตรัสว่า ยักษ์นี้เป็นผู้หมดจดตลอดกาลนานแล้วแล. คําว่า ประกอบด้วยประโยชน์ คืออาศัยผลอาศัยเหตุ.
จบ ภาณวารที่ ๑
บทว่า มีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ คือ มีอะไรเป็นเครื่องผูกได้แก่เป็นผู้ถูกเครื่องผูกอะไรผูกเอาไว้. บทว่า กายมาก คือ ชนมาก. บทว่า ไม่มีเวร คือไม่มีความกระทบกระทั่ง. บทว่า ไม่มีอาชญา คือพ้นจากอาชญาคืออาวุธ และอาชญาคือธนู. บทว่า ไม่มีข้าศึก คือไม่มีศัตรู. บทว่า ไม่มีความพยาบาท ได้แก่ปราศจากโทมนัส. บทว่า พึงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ คือ ย่อมให้ทาน ย่อมทําการบูชาแล้วปรารถนาว่า โอ้หนอ ขอให้พวกเราพึงเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่กับใครๆ เถิด ขอให้พวกเราพึงไม่ก่อความกําเริบให้เกิดในใครๆ แล้วใช้สอยของที่ถือเอาด้วยนิ้วมือพร้อมกับคนหนึ่งพันเถิด. บทว่า และย่อมมีแก่พวกเขาด้วยประการฉะนี้ คือและก็ความปรารถนานี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 174
ย่อมมีแก่พวกเขาด้วยประการฉะนี้. บทว่า และก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คือเมื่อความปรารถนาอย่างนั้นแม้มีอยู่. บทว่า มีริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องประกอบเข้าไว้ คือ ความริษยามีความสิ้นไปแห่งสมบัติของอื่นเป็นลักษณะ และความตระหนี่อันมีความทนไม่ได้ต่อความที่สมบัติของตนเป็นของทั่วไปกับพวกคนเหล่าอื่นเป็นลักษณะ. ชื่อว่า ผู้มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องประกอบเข้าไว้ เพราะความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่องประกอบเข้าไว้ของพวกเขา. นี้เป็นความย่อในที่นี้. ส่วนควาษริษยาและความตระหนี่อย่างพิสดาร ได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในอภิธรรม.
สําหรับในเรื่องความตระหนี่นี้ เพราะความตระหนี่ที่อยู่ สัตว์ไม่ว่าเป็นยักษ์หรือเป็นเปรตต่างก็เที่ยวใช้ศีรษะทูนขยะของที่อยู่นั้นเอง. เพราะความตระหนี่ตระกูล เมื่อบุคคลเห็นผู้ที่กําลังทําทานเป็นต้นแก่ผู้อื่นในตระกูลนั้นก็คิดว่า ตระกูลของเรานี้แตกแล้วหนอ ถึงกับกระอักเลือดบ้าง ถ่ายท้องบ้างไส้ขาดเป็นท่อนน้อยใหญ่ทะลักออกมาบ้าง. เพราะความตระหนี่ลาภ ผู้เกิดตระหนี่ในลาภของสงฆ์หรือของหมู่ บริโภคเหมือนบริโภคของส่วนบุคคลเกิดเป็นยักษ์บ้าง เปรตบ้าง งูเหลือมขนาดใหญ่บ้าง. ก็เพราะความตระหนี่วรรณแห่งสรีระและวรรณแห่งคุณ และเพราะความตระหนี่การศึกษาเล่าเรียนบุคคลจะกล่าวชมแต่คุณของตัวเองเท่านั้น หากล่าวชมคุณของคนเหล่าอื่นไม่กล่าวอยู่แต่โทษนั้นๆ ว่า คนนี้ มีดีอะไร และจะไม่ให้การศึกษาเล่าเรียนอะไรๆ แก่ใครๆ พูดแต่โทษว่า คนนี้ขี้เหร่ และบ้าบอ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยความตระหนี่ที่อยู่ เขาย่อมไหม้ในเรือนโลหะ. ด้วยความตระหนี่ตระกูล เขาย่อมเป็นผู้มีลาภน้อย. ด้วยความตระหนี่ลาภ เขาย่อมเกิดในคูถนรก. ด้วยความตระหนี่วรรณ เมื่อเกิดในภพ จะไม่มีวรรณ. ด้วยความตระหนี่ธรรม เขาย่อมเกิดในนรกขี้เถ้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 175
ก็แล ความริษยาและความตระหนี่ที่เป็นเครื่องประกอบ (สัตว์ไว้ในภพ) นี้ จะละได้ก็ด้วยโสดาปัตติมรรค. ตลอดเวลาที่ยังละมันไม่ได้ เทวดาและมนุษย์ แม้ปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้นอยู่ก็ตาม ก็หาได้รอดพ้นไปจากเวรเป็นต้นไม่เลย. บทว่า ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยในปัญหานี้ได้แล้ว ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า ในปัญหานี้ เพราะฟังพระดํารัสของพระองค์ ข้าพระองค์จึงข้ามความสงสัยได้แล้ว. ท้าวสักกะไม่ได้ทรงแสดงความที่ทรงข้ามความสงสัยได้ด้วยอํานาจมรรค. คําว่า ความสงสัยที่ต้องถามว่าอย่างไรๆ ปราศไปแล้ว คือความสงสัย แม้นี้ว่า อย่างไรนี้นี้อย่างไร ปราศไปแล้ว.
คํามี เค้ามูลเป็นต้น มีใจความอันได้กล่าวไว้เสร็จแล้ว. บทว่า มีที่ชอบและที่ชังเป็นเค้ามูล คือความตระหนี่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล ริษยามีสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นเค้ามูล หรือทั้งสองก็มีทั้งสองเป็นเค้ามูล. ก็สําหรับนักบวช ลูกศิษย์ลูกหาเป็นต้น สําหรับชาวบ้านลูกเป็นต้น หรือสัตว์ก็มีช้าง ม้าเป็นต้น ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่หยอกล้อ เป็นที่ยึดถือว่าของเรา. เมื่อไม่เห็นพวกเหล่านั้น แม้ครู่เดียวก็ทนไม่ได้. เมื่อเขาได้เห็นคนอื่นผู้ได้สัตว์ที่น่ารักอย่างนั้นก็เกิดริษยา ถูกคนอื่นขอสัตว์นั้นเองว่าพวกเรามีงานบางอย่างด้วยสัตว์นี้ โปรดให้ยืมสักครู่เถิด ก็ให้ไม่ได้ กล่าวว่าเขาจะเหนื่อยหรือเขาจะกลุ้ม แล้วก็เกิดความตระหนี่. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่า ความริษยาและความตระหนี่แม้ทั้งสอง มีสัตว์อันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล. ก็แหละ สําหรับภิกษุบริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือสําหรับชาวบ้านอุปกรณ์มีเครื่องประดับเป็นต้น ย่อมเป็นที่รักที่ชื่นใจ. เมื่อเขาเห็นสิ่งชนิดนั้นกําลังเกิดแก่คนอื่น ก็เกิดความริษยาว่า โอ้หนอ ขอสิ่งเห็นปานนี้ ไม่พึงมีแก่คนนั้น และแม้ถูกขอก็เกิดความตระหนี่ว่า แม้พวกเรากําลังรักยังใช้สอยสิ่งนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 176
อยู่ ยังให้ไม่ได้หรอก. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าแม้ความริษยาและความตระหนี่ทั้งสอง ย่อมมีสังขารอันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล. แต่เมื่อได้สัตว์และสังขารประการที่กล่าวมาแล้วนั้น แต่เป็นชนิดที่ไม่น่ารักเลย ถึงแม้ว่าสัตว์และสังขารเหล่านั้นไม่เป็นที่ชื่นใจเขา แม้อย่างนั้นก็ตาม เพื่อให้พวกกิเลสที่ตรงกันข้ามเป็นไปได้ ก็กระทําความริษยาว่า เว้นข้าเสียแล้ว ใครอื่น เป็นผู้ได้สัตว์และสังขารเห็นปานนี้ หรือถูกขอยืมก็ไม่ให้ ย่อมกระทําความหวง. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่า ความริษยาและความตระหนี่แม้ทั้งสองย่อมมีสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นเค้ามูล.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความพอใจเป็นเค้ามูล นี้. ความพอใจมี ๕ อย่างคือ ความพอใจในการแสวงหา ความพอใจในการได้เฉพาะ ความพอใจในการใช้สอย ความพอใจในการสะสม ความพอใจในการสละ. ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส ย่อมแสวงหาสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมแสวงหาทรัพย์ นี้ความพอใจในการแสวงหา. ความพอใจในการได้เฉพาะเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมได้เฉพาะรูปเสียง กลิ่น รส ย่อมได้เฉพาะสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมได้เฉพาะทรัพย์ นี้ความพอใจในการได้เฉพาะ. ความพอใจในการใช้สอยเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมใช้สอยรูป เสียงกลิ่น รส ย่อมใช้สอยสิ่งที่พึงถูกต้อง ย่อมใช้สอยทรัพย์ นี้ความพอใจในการใช้สอย. ความพอใจในการสะสมเป็นไฉน คือ คนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่ม ย่อมทําการสะสมทรัพย์ ด้วยคิดว่า จะมีในคราววิบัติ นี้ความพอใจในการสะสม.ความพอใจในการสละเป็นไฉน คือคนบางคนในโลกนี้ เกิดความพอใจไม่อิ่มย่อมจ่ายทรัพย์แก่พลช้าง พลม้า พลรถ ขมังธนู ด้วยคิดว่า คนเหล่านี้ จัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 177
รักษา จักคุ้มครอง จักรัก จักแวดล้อมเรา นี้ความพอใจในการสละ. ความพอใจแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความพอใจนั้น จึงได้ตรัสคํานี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีความตรึกเป็นเค้ามูล นี้. ความตรึกที่เกิดจากความรู้สึกตระหนักแน่ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อาศัยลาภเกิด ความรู้สึกตระหนักแน่ (๑) ชื่อว่า ความตรึก. คําว่า ความรู้สึกตระหนักแน่ คือ ความรู้สึกตระหนักแน่ มีสองอย่างคือ ความรู้สึกตระหนักแน่คือตัณหา และความรู้สึกตระหนักแน่คือทิฎฐิ. ตัณหาวิปริต ๑๐๘ ชนิด ชื่อว่า ความรู้สึกตระหนักแน่คือตัณหา ความเห็น ๖๒ อย่าง ชื่อว่า ความตระหนักแน่คือทิฏฐิ ก็ด้วยประการฉะนี้ จึงไม่มีการชี้ขาดลงไปว่าน่าใคร่ไม่น่าใคร่ และน่ารักไม่น่ารักด้วยอํานาจความตระหนักแน่ คือ ตัณหา ที่กล่าวมาแล้วอย่างนั้น เพราะสิ่งนั้นเองเป็นของน่าใคร่สําหรับบางคน ไม่น่าใคร่สําหรับบางคน เหมือนการชี้ขาดในไส้เดือนมฤคและเนื้อเป็นต้น ของพระราชาในส่วนภูมิภาค และพระราชาในประเทศส่วนกลาง ก็เมื่อวัตถุที่ได้รับมานั้นถูกชี้ขาดด้วยความตระหนักแน่คือตัณหาแล้วจึงจะมีการ ชี้ชัดลงไปด้วยความรู้สึกตระหนักแน่คือความตรึกว่า เป็นของรูปเท่านี้ เท่านี้เป็นของเสียง เป็นของกลิ่นเท่านี้ เท่านี้เป็นของรส เป็นของสิ่งที่พึงถูกต้องเท่านี้ เท่านี้เป็นของเรา เป็นของเขาเท่านี้ เท่านี้จะเก็บไว้ จะให้เท่านี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จอมทวยเทพ ความพอใจนี้เอง มีความตรึกเป็นเค้ามูล ดังนี้.
คําว่า มีส่วนความสําคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าเป็นเค้ามูล คือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้ามี ๓ อย่างคือ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ. ใน ๓อย่าง
(๑) ที.ม. มหานิทานสุตฺต ๗๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 178
นั้น ตัณหาวิปริต ๑๐๘ อย่าง ชื่อว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา มานะ ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ ทิฏฐิ ๖๒ ชนิดชื่อว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ. ในธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น ในที่นี้ท่านหมายเอาธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา. ที่เรียกว่าธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะอรรถว่ากระไร. ที่เรียกว่าธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะอรรถว่าให้ถึงอาการของคนมัวเมาประมาท. ความสําคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านั้น ชื่อว่า ปปัญจสัญญา (ความสําคัญที่คลุกเคล้าไปด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า). ส่วนเรียกว่า สังขา เหมือนในคําเป็นต้นว่า ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า มีความสําคัญเป็นเค้ามูล (๑) ด้วยประการฉะนี้ คําว่า มีส่วนความสําคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าเป็นเค้ามูล จึงหมายความว่า ความตรึกมีส่วนแห่งความสําคัญ ที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าเป็นเค้ามูล.
คําว่า ข้อปฏิบัติให้เข้าถึงความสมควรแก่การดับ โดยไม่เหลือแห่งส่วนความสําคัญที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ความว่า ความดับโดยไม่เหลือ ได้แก่ความสงบระงับอันใดแห่งส่วนความสําคัญที่ประกอบไปด้วยเครื่องเนิ่นช้านี้ ท้าวสักกะย่อมทูลถามทางพร้อมทั้งวิปัสสนาคือ ความเหมาะสมแห่งความดับโดยไม่เหลือนั้น และข้อปฏิบัติให้ถึงในความดับโดยไม่เหลือนั้น. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเริ่มเวทนา ๓ อย่างแก่ท้าวสักกะนั้นว่า และอาตมภาพโสมนัส. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่ข้อที่ทูลถาม ข้อที่ไม่ทูลถาม ข้อที่มีความต่อเนื่อง ข้อที่ไม่มีความต่อเนื่องหรือ. ตอบว่าตรัสแต่ข้อที่ทูลถามเท่านั้น ไม่ใช่ข้อที่ไม่ทูลถาม ตรัสข้อที่มีความต่อเนื่องเท่านั้น ไม่ใช่ข้อที่ไม่มีความต่อเนื่อง. จริงอยู่สําหรับเทวดาทั้งหลาย อรูปปรากฏกว่าโดยความเป็นรูป ถึงแม้ในอรูป เวทนาก็ปรากฏกว่า. เพราะเหตุไร. เพราะกาย
(๑) ขุ. สุตฺตนิปาต ๔๑๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 179
ที่เกิดจากธุลีในน้ำ (กรัชกาย) ของพวกเทวดา เป็นของละเอียด รูปที่เกิดจากกรรมเป็นของ มีกําลัง เพราะความที่กายอันเกิดแต่ธุลีในน้ำเป็นของละเอียด (และ) เพราะรูปที่เกิดจากกรรมเป็นของมีกําลัง ถ้าก้าวล่วงอาหารแม้มื้อเดียวพวกเทวดาก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมแหลกไปเหมือนก้อนเนยใสบนแผ่นหินที่ร้อน. พึงทราบถ้อยคําทั้งหมดตามนัยที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั้นแล. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเวทนาทั้ง ๓ อย่างแก่ท้าวสักกะ.
ก็แหละกัมมัฏฐานมี ๒ อย่างคือ รูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐาน. จะเรียกกัมมัฏฐานนั้นเองว่า การกําหนดรูป และการกําหนดอรูปก็ได้. ในกัมมัฏฐาน ๒ อย่างนั้น รูปปรากฏแก่ผู้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทําการกําหนดธาตุ ๔ ให้พิสดารแก่ผู้นั้นด้วยอํานาจเอาใจใส่โดยย่อ หรือด้วยอํานาจเอาใจใส่โดยพิสดาร ก็ตรัสรูปกัมมัฎฐาน อรูปปรากฏแก่ผู้ใด ก็ตรัสอรูปกัมมัฏฐานแก่ผู้นั้น และเมื่อจะตรัสอรูป ก็ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานอันเป็นที่ตั้งของอรูปนั้นจึงตรัส. แต่สําหรับพวกเทวดา ทรงทราบว่าอรูปปรากฏ จึงทรงเริ่มเวทนาด้วยอํานาจอรูปกัมมัฏฐาน.
ก็ความตั้งมั่นในอรูปกัมมัฏฐานมี ๓ อย่างคือ ด้วยอํานาจผัสสะ ด้วยอํานาจเวทนา ด้วยอํานาจจิต. อย่างไร คือ สําหรับบางคนเมื่อรับเอารูปกัมมัฏฐานไปจะโดยสังเขป หรือโดยพิสดารก็ตาม ย่อมมีความตกไปเป็นอย่างยิ่งในชั้นแรกของจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์นั้น ผัสสะเกิดถูกต้องอารมณ์นั้นอยู่ย่อมเป็นของปรากฏ. สําหรับบางคน เวทนาเกิดตามเสวยอารมณ์นั้นอยู่ย่อมเป็นของปรากฏ. สําหรับบางคนวิญญาณที่เกิดขึ้นรู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ย่อมเป็นของปรากฏ.
ในความตั้งมั่นทั้ง ๓ อย่างนั้น ผู้ใดมีผัสสะแจ่มแจ้ง แม้ผู้นั้น ไม่ใช่จะเกิดขึ้นแต่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมกับผัสสะนั้น แม้เวทนาที่ตามเสวย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 180
อารมณ์นั้นเองอยู่ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย ถึงสัญญาที่จําอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่คิดอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จึงชื่อว่าย่อมรวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้าเหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. ผู้ใดมีเวทนาแจ่มแจ้ง แม้ผู้นั้นก็ย่อมชื่อว่ารวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้าอีกเหมือนกัน เพราะมิใช่แต่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ยังมีผัสสะเกิดขึ้นกระทบอารมณ์นั้นเองอยู่ ยังมีสัญญาที่จําอารมณ์ ยังมีเจตนาที่คิดอารมณ์ ยังมีวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่เกิดขึ้นด้วย. สําหรับผู้ที่มีวิญญาณแจ่มแจ้งแม้นั้น ก็ย่อมชื่อว่ารวบถือเอาหมวดเจตสิกธรรม ที่มีผัสสะเป็นที่ห้าอีกเหมือนกันนั่นแหละ เพราะมิใช่เกิดขึ้นแต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้น พร้อมกับวิญญาณนั้น ก็ยังมีผัสสะที่เกิดขึ้นกระทบอารมณ์นั้นเองอยู่ ยังมีเวทนาที่ตามเสวยอารมณ์ ยังมีสัญญาที่จําอารมณ์ยังมีเจตนาที่คิดอารมณ์เกิดขึ้นด้วย.
เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมหมวดที่มีผัสสะเป็นที่ห้าเหล่านี้ อาศัยอะไร ก็ย่อมรู้ชัดว่าอาศัยที่ตั้ง. ชื่อว่า ที่ตั้งก็คือร่างกาย (ที่เกิดจากละอองในน้ำ) ที่ท่านหมายเอากล่าวว่า ก็แลวิญญาณของเรานี้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้เกี่ยวข้องในร่างกายนี้. โดยใจความก็คือเขาย่อมรู้ชัดทั้งภูตรูปและอุปาทารูป. เมื่อรู้ชัดว่า ที่ตั้งในร่างกายนี้เป็นรูป หมวดที่มีผัสสะเป็นที่ห้า เป็นนามอย่างนี้ก็ชื่อว่าย่อมเห็นสักว่าเป็นนามรูปเท่านั้น. และนามรูปก็เป็นเพียงขันธ์ห้าคือ รูปในที่นี้เป็นรูปขันธ์ และนามก็เป็นขันธ์ที่ไม่มีรูปทั้ง ๔ . ก็ขันธ์ห้าที่พ้นไปจากนามรูป หรือนามรูปที่พ้นไปจากขันธ์ห้าหามีอยู่ไม่. เมื่อเขาไตร่ตรองว่า ขันธ์ห้าเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็ย่อมเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้นเป็นเหตุ แต่นั้นเมื่อไตร่ตรองถึงปัจจัย และสิ่งที่เกิดเพราะปัจจัยจนรู้ว่า นอกเหนือไปจากปัจจัยและสิ่งที่เกิดจากปัจจัยนั้นแล้ว ไม่มีสัตว์ หรือบุคคลอื่น มีแต่กลุ่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 181
สังขารล้วนๆ เท่านั้นเอง แล้วก็ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยอํานาจนามรูปพร้อมกับปัจจัย เที่ยวพิจารณาว่า ไม่เที่ยง ทนไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นตัวตน ตามลําดับแห่งวิปัสสนา. เขาหวังการแทงตลอดอยู่ว่า วันนี้ วันนี้ ในวันเห็นปานนั้นเมื่อได้ ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย อาหารเป็นที่สบาย หรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว ก็นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่านั้น ครั้นให้วิปัสสนาถึงยอดแล้ว ก็ย่อมตั้งอยู่ในอรหัตตผล. โคปกเทพเทพบุตรบอกกัมมัฏฐานจนถึงอรหัตแก่ท่านทั้งสามเหล่านี้อย่างนี้แล.
แต่ในที่นี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงบอกอรูปกัมมัฏฐาน ก็ทรงแสดงด้วยเวทนาเป็นหัวข้อ. เมื่อพระองค์จะแสดงด้วยอํานาจผัสสะ หรือด้วยอํานาจวิญญาณจะไม่มีความแจ่มแจ้งแก่ท้าวสักกะนี้ แต่จะปรากฏเหมือนความมืด. แต่ด้วยอํานาจเวทนา จึงจะแจ่มแจ้ง. เพราะเหตุไร. เพราะการเกิดเวทนาขึ้น เป็นของแจ่มแจ้งแล้ว. จริงอยู่ การเกิดสุขและทุกขเวทนาขึ้นเป็นสิ่งแจ่มแจ้งแล้ว. เมื่อความสุขเกิดขึ้น ทั่วทั้งร่างก็เกิดกระเพื่อม ข่มอยู่ซาบซ่า ซึมซาบ เหมือนให้กินเนยใสที่ชําระร้อยครั้ง เหมือนกําลังทาน้ำมันที่เจียวร้อยครั้ง เหมือนกําลังเอาน้ำพันหม้อมาดับความเร่าร้อน เปล่งวาจาว่า สุขหนอ สุขหนอ อยู่นั่นแหละ. เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้น ทั่วทั้งร่างก็เกิดกระเพื่อม ข่มอยู่ ซู่ซ่า ซึมซาบเหมือนเข้าสู่กระเบื้องร้อน เหมือนเอาน้ำทองแดงเหลวมารด เหมือนโดนมัดคบเพลิงไม้ในป่าที่มีหญ้าและไม้ใหญ่ๆ ที่แห้ง คร่ําครวญว่า ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ อยู่นั่นแล. สุขและทุกขเวทนาเกิดขึ้นปรากฏดังว่ามานี้. ส่วนอทุกขมสุขเวทนา ชี้แจงยากเหมือนกะถูกความมืดครอบงํา. อทุกขมสุขเวทนานั้น เพราะหลีกสุขและทุกข์ไป จึงมีอาการเป็นกลางด้วยอํานาจเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขและทุกข์ ดังนี้ เมื่อถือเอาโดยนัย จึงจะแจ่มแจ้ง. เหมือนอะไร พรานเนื้อเดินไปตามรอยเท้าเนื้อที่ขึ้นหลังแผ่นหินใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 182
ระหว่างแล้วหนีไปได้เห็นรอยเท้าที่ส่วนนี้บ้าง ส่วนอื่นบ้างของหลังแผ่นหิน แม้ตรงกลางไม่เห็นก็ย่อมรู้ได้โดยนัยว่า มันคงจะขึ้นทางนี้แล้วลงทางนี้ไปโดยประเทศนี้ ตรงกลางบนหลังแผ่นหินฉันใด ก็การเกิดสุขเวทนาขึ้นย่อมเป็นสิ่งแจ่มแจ้งเหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันขึ้น การเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาก็เป็นสิ่งแจ่มแจ้ง เหมือนรอยเท้าตรงที่เนื้อมันลง เมื่อถือเอาโดยนัยว่า เพราะหลีกสุขและทุกข์ไป อทุกขมสุขเวทนานั้น จึงมีอาการเป็นกลางด้วยอํานาจเป็นปฏิปักษ์ต่อทั้งสุขและทุกข์ ก็ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง เหมือนการถือเอาโดยนัยว่า มันขึ้นตรงนี้ ลงตรงนี้ แล้วไปอย่างนี้ ฉันนั้น.
ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานไว้ก่อนอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงพลิกแพลงแสดง อรูปกัมมัฏฐานด้วยอํานาจเวทนาในภายหลัง. และก็ไม่ใช่ทรงแสดงอย่างนี้อย่างเดียวในที่นี้เท่านั้น หากแต่ทรงแสดงรูปกัมมัฏฐานก่อนในพระสูตรไม่ใช่น้อยอย่างนี้คือ ในมหาสติปัฏฐานสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร มหาตัณหาสังขยสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคันทิยสูตร ธาตุวิภังคสูตร อเนญชสัปปายสูตร (และ) ในเวทนาสังยุตทั้งหมดแล้วจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐาน ด้วยอํานาจเวทนาในภายหลัง. และก็ในพระสูตรเหล่านั้น ฉันใด แม้ในสักกปัญหสูตรนี้ ก็ฉันนั้น ครั้งแรกทรงแสดงรูปกัมมัฏฐาน แล้วภายหลังจึงทรงพลิกแพลงแสดงอรูปกัมมัฏฐานด้วยอํานาจเวทนา. สําหรับในสักกปัญหสูตรนี้ รูปกัมมัฏฐานพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อเพียงเป็นอารมณ์ของเวทนาเท่านั้น ฉะนั้น ในบาลีจึงไม่มียกขึ้นมา. เพื่อจะทรงแสดงข้อที่เป็นหลักสําหรับตั้งมั่นด้วยอํานาจของเวทนา ที่แจ่มแจ้งแก่ท้าวสักกะนั้นนั่นเอง ในอรูปกัมมัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําเป็นต้นว่า จอมทวยเทพ อาตมภาพกล่าวโสมนัส ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สองอย่าง คือสองชนิด หมายความว่าโดยส่วนสอง. คําว่า ไม่พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือไม่พึงเสพโสมนัสที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 183
อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ชื่อว่าโสมนัสที่อาศัยเรือน ได้แก่โสมนัสที่อาศัยกามคุณเป็นไปในทวาร ๖ อย่างนี้คือ ในเวทนาเหล่านั้น โสมนัสที่อาศัยเรือน ๖ อย่าง. ๖ อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตาที่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ที่เกี่ยวกับเหยื่อของโลก โดยความได้เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะเมื่อก่อน ซึ่งล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่าโสมนัสที่อาศัยเรือน (๑) ดังนี้เป็นต้น. คําว่า พึงเสพโสมนัสเห็นปานนี้ คือ พึงเสพโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ชื่อว่าโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ได้แก่โสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ผู้เกิดโสมนัสว่า เราได้ขวนขวายวิปัสสนาแล้ว ผู้สามารถเร่งเร้าใจให้ขวนขวายเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอํานาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ในอารมณ์ที่น่ารักซึ่งมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้เป็นต้นว่า ในเวทนาเหล่านั้น โสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ๖ อย่างเป็นไฉน ก็แลเมื่อบุคคลมารู้ความที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไปดับไป แล้วเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่าโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน. คําว่า พึงเสพ คือ โสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจการออกจากเรือน ด้วยอํานาจวิปัสสนา ด้วยอํานาจการตามระลึกถึง ด้วยอํานาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่า พึงเสพ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า หากโสมนัสใด มีความตรึก มีความตรอง คือ ในโสมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน แม้นั้น ก็ต้องรู้ว่าโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจการออกจากเรือน ด้วยอํานาจวิปัสสนา ด้วยอํานาจการตาม
(๑) ม.อุ. สฬายตนวิภงฺคสุตฺต ๓๖๙.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 184
ระลึกถึง และด้วยอํานาจแห่งฌานที่หนึ่งนั้น เป็นโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง. บทว่า หากโสมนัสใดไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง คือส่วนโสมนัสที่เกิดด้วยอํานาจฌานที่สองและที่สามนั้น ก็ต้องรู้ว่าเป็นโสมนัสที่ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง. คําว่า เหล่าใด ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง ประณีตกว่า ความว่า แม้ในโสมนัสทั้งสองนี้ โสมนัสที่ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรองนั้น ประณีตกว่า. ด้วยคํานี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงอะไร. กล่าวถึงอรหัตตผลของสองท่าน. อย่างไร จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อเริ่มตั้งวิปัสสนาในโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง แล้วก็มาใคร่ครวญว่าโสมนัสนี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่า อาศัยที่ตั้ง แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผลโดยลําดับตามนัยที่กล่าวแล้ว ในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในโสมนัสที่ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผลตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในโสมนัสที่ตั้งมั่นเหล่านั้น โสมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง โสมนัสวิปัสสนาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ประณีตกว่า แม้โสมนัสวิปัสสนาที่มีความตรึกและมีความตรอง โสมนัสผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น ที่ประณีตกว่า โสมนัสผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความตรอง ประณีตกว่า ดังนี้.
คําว่า ไม่พึงเสพโทมนัสเห็นปานนี้ ความว่า ไม่พึงเสพโทมนัสที่อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัสอันอาศัยเรือนได้แก่ โทมนัสที่อาศัยกามคุณซึ่งเกิดแก่ผู้ตรึกอยู่ว่า เราไม่ตามเสวยแล้ว จักไม่ตามเสวย ย่อมไม่ตามเสวย ซึ่งอิฏฐารมณ์ในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ว่า ในเวทนาเหล่านั้น โทมนัสที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 185
อาศัยเรือน ๖ อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ซึ่งเกี่ยวกับเหยื่อของโลก ที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตาโดยความไม่ได้เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะ เมื่อซึ่งล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโทมนัสขึ้น โทมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกโทมนัสที่อาศัยเรือน ดังนี้เป็นต้น. คําว่า พึงเสพโทมนัสเห็นปานนี้ คือ พึงเสพโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ได้แก่ โทมนัสที่เกิดแก่ผู้ที่ไม่สามารถเพื่อจะเร่งเข้าใจให้ขวนขวายเข้าไปตั้งความอยากได้ในธรรมคืออริยผล กล่าวคือความหลุดพ้นชั้นเยี่ยม แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอํานาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อบรรลุอริยผลนั้น ผู้ตามเศร้าใจว่า เราไม่สามารถเพื่อจะเร่งเร้าใจให้ขวนขวายวิปัสสนามาตลอดปักษ์แม้นี้ ตลอดเดือนแม้นี้ ตลอดปีแม้นี้ แล้วบรรลุอริยภูมิได้ ในอารมณ์ที่น่ารักอันมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ว่า ในเวทนาเหล่านั้น โทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเป็นไฉน ก็แล เมื่อบุคคลมารู้ความที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไปแล้ว เห็นรูปนั้นด้วยปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้เหล่าใด รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แล้วจึงเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้นเยี่ยมว่า ชื่อว่าเมื่อไรหนอ เราจึงจะเข้าถึงอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ คืออายตนะที่พวกพระอริยเจ้าในบัดนี้ ย่อมเข้าถึงแล้วแลอยู่. เมื่อเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้นเยี่ยม ดังที่ว่ามานี้ โทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะความอยากได้เป็นปัจจัย. โทมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่าโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ดังนี้เป็นต้น. คําว่า พึงเสพ คือ โทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจการออกจากเรือน ด้วยอํานาจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 186
วิปัสสนา ด้วยอํานาจการตามระลึกถึง ด้วยอํานาจฌานที่หนึ่งเป็นต้นนี้ ชื่อว่าเป็นโทมนัสที่พึงเสพ.
ในคําเหล่านั้น คําว่า หากโทมนัสใด ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง คือ ในโสมนัสทั้งสองอย่างแม้นั้น โทมนัสที่อาศัยเรือนเท่านั้น ที่ชื่อว่าโทมนัสยังมีความตรึก ยังมีความตรองอยู่. ส่วนโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจการออกจากเรือน ด้วยอํานาจวิปัสสนา ด้วยอํานาจ การตามระลึกถึง ด้วยอํานาจฌานที่หนึ่งและฌานที่สอง พึงทราบว่าเป็นโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองอยู่. ส่วนโดยทํานองอย่างตรงขึ้นชื่อว่าโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองไม่มี. สําหรับอินทรีย์คือโทมนัส เป็นอกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น และยังมีความตรึกและยังมีความตรองด้วย. แต่ด้วยอํานาจความเข้าใจของภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์คือโทมนัส ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และว่า ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ดังนี้.
ต่อไปนี้ เป็นนัยในเรื่องโทมนัสนั้น คือในกรณีนี้ภิกษุถือเอาธรรมที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และธรรมที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองอันเป็นธรรมที่มีโทมนัสเป็นปัจจัย และธรรม คือ มรรค และผลที่เกิดขึ้น มีโทมนัสเป็นปัจจัยนั่นเอง ว่าเป็นโทมนัส เพราะ อํานาจเห็นการปฏิบัติของภิกษุเหล่าอื่นแล้วก็มาคิดว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัส ที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองได้เสียที เมื่อไรเราจึงเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัส ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองได้เสียที และคิดอีกว่า เมื่อไรหนอแล เราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัส ที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองเกิดได้เสียที เมื่อไรเราจึงจักให้ผลสมาบัติในโทมนัส ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเกิดได้เสียที แล้วก็ถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน หกเดือนหรือเก้าเดือน เมื่อถือข้อปฏิบัติตลอดสามเดือน ในเดือนแรกเดินเสียหนึ่งยาม สองยามทํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 187
โอกาสแก่การหลับ ในเดือนกลางเดินเสียสองยาม ทําโอกาสแก่การหลับหนึ่งยาม ในเดือนสุดท้ายให้ร่างกายเป็นไปด้วยการเดินจงกรม และการนั่งเท่านั้นเอง ถ้าแบบนั้น บรรลุพระอรหัตนั้นก็ดีไป. ถ้าไม่บรรลุ เธอก็ถือข้อปฏิบัติประเภท ๖ เดือน ให้วิเศษ (ขึ้นไปอีก) แม้ในข้อปฏิบัติประเภท ๖ เดือนนั้น ทุกสองเดือนๆ ก็ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้ว เมื่อไม่สามารถ สําเร็จพระอรหัตได้ ก็ยึดหลักปฏิบัติชนิดเก้าเดือนให้วิเศษ (ยิ่งขึ้นไปอีก) แม้ในหลักปฏิบัติชนิดเก้าเดือนนั้น ทุกสามเดือนๆ ก็ปฏิบัติอย่างนั้นแหละ เมื่อไม่สามารถบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ (และ) เมื่อพิจารณาว่า โอ้หนอ! เราไม่ได้ปวารณาแบบวิสุทธิปวารณา พร้อมกับพวกเพื่อนพรหมจรรย์เสียแล้ว ความโทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น. สายน้ำตา ก็ไหลพรู เหมือนสายน้ำตาของพระมหาสิวเถระผู้อยู่ที่เงื้อมเขาท้ายหมู่บ้าน.
เล่ากันว่า พระเถระสอนหมู่ใหญ่ ๑๘ หมู่ พวกภิกษุสามหมื่นรูป ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านบรรลุอรหัตแล้ว. ต่อมามีภิกษุรูปหนึ่งมารําพึงว่าภายในตัวเราก่อน มีคุณประมาณไม่ได้ คุณของอาจารย์เราเป็นอย่างไรหนอแล กําลังรําพึงอยู่ก็เห็นความเป็นปุถุชน จึงคิดว่า อาจารย์พวกเราเป็นที่พึ่งของคนเหล่าอื่น (แต่) ไม่สามารถเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตนได้ เราจะให้โอวาทแก่ท่าน แล้วก็เหาะมาลงใกล้วัด เข้าไปหาอาจารย์ผู้นั่งในที่พักกลางวัน แสดงวัตรแล้วก็นั่งในที่ควรส่วนหนึ่ง. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนผู้ถือการบิณฑบาตเป็นวัตรคุณมาเพราะเหตุไร.
ภิกษุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นผู้มาแล้ว ด้วยคิดว่า จักเอาอนุโมทนา สักบทหนึ่ง.
เถระ. คงจะไม่มีโอกาสหรอกคุณ
ภิกษุ. ท่านขอรับ กระผมจะเรียนถามในเวลายืนที่โรงตรึก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 188
เถระ. ในที่นั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในทางเที่ยวบิณฑบาตล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในทางนั้น พวกคนอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในที่นุ่งผ้าสองชั้น ในที่ห่มสังฆาฏิ ในที่นําเอาบาตรออกในเวลาเที่ยวไปในหมู่บ้านแล้วดื่มข้าวต้มในโรงฉันล่ะขอรับ.
เถระ. ในที่นั้นๆ ก็จะมีพวกเถระทางอรรถกถาบรรเทาความสงสัยของตน.
ภิกษุ. กระผมจะเรียนถามในเวลาออกจากภายในหมู่บ้าน ขอรับ.
เถระ. แม้ในที่นั้น ก็จะมีคนพวกอื่นถาม คุณ.
ภิกษุ. ท่านขอรับในระหว่างทาง ท่านขอรับในเวลาเสร็จการฉันในโรงอาหาร ท่านขอรับ ในเวลาล้างเท้า ในเวลาล้างหน้าในที่พักกลางวัน.
เถระ. ตั้งแต่นั้นไปจนถึงสว่าง ก็จะมีพวกอื่นอีกถาม คุณ.
ภิกษุ. ในเวลาเอาไม้สีฟันแล้วไปสู่ที่ล้างหน้า ขอรับ.
เถระ. ตอนนั้น พวกอื่น ก็จะถาม.
ภิกษุ. ในเวลาล้างหน้าแล้วมาล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในตอนนั้น พวกอื่นก็จะถาม.
ภิกษุ. ในเวลาเข้าเสนาสนะแล้วนั่งล่ะ ขอรับ.
เถระ. แม้ในตอนนั้น พวกอื่น ก็จะถาม.
ภิกษุ. ท่านขอรับ มันน่าจะเป็นโอกาสและเวลาของพวกผู้ที่ล้างหน้าเสร็จแล้วเข้าสู่เสนาสนะให้สามสี่บัลลังก์ได้รับความอบอุ่นแล้วทํางานด้วยความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลมิใช่หรือ ท่านขอรับท่านจะไม่ได้แม้แต่ขณะแห่งความตาย ท่านจงเป็นเหมือนแผ่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 189
กระดานเถิด ขอรับ ท่านจงเป็นที่พึ่งของคนอื่นเถิด ขอรับท่านไม่อาจเพื่อจะเป็นที่พึ่งของตน กระผมไม่มีความต้องการด้วยการอนุโมทนาของท่าน ว่าแล้วก็ได้เหาะไปในอากาศ.
พระเถระทราบว่า งานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของภิกษุรูปนี้ไม่มี แต่เธอมาด้วยคิดว่า จะเป็นผู้สั่งสอนเรา แล้งคิดว่า บัดนี้จะไม่มีโอกาสเวลาใกล้รุ่งเราจะไป แล้วก็เก็บบาตรจีวรไว้ใกล้ๆ สอนธรรมตลอดยามต้นและยามกลางคืนยังรุ่ง ขณะที่พระเถระรูปหนึ่งเรียนอุทเทศแล้ว จะออกไปในยามสุดท้าย ก็ถือบาตรจีวรออกไปด้วยกันกับพระเถระนั้นนั่นเอง พวกศิษย์ (อันเตวาสิก) ที่นั่งเข้าใจว่า อาจารย์ ออกไปด้วยธุระบางอย่างนานแล้ว. พระเถระที่ออกไปก็ทําความเข้าใจว่า เป็นภิกษุที่ร่วมอาจารย์กัน บางรูปนั่นเอง. ได้ยินว่า พระเถระ คิดว่า ชื่อว่าความเป็นพระอรหันต์สําหรับคนชั้นเรา จะอะไรหนักหนาเล่า แค่สองสามวันเท่านั้นแหละ ก็จะสําเร็จแล้วจึงจะกลับมา ดังนี้ จึงไม่บอกพวกลูกศิษย์เลย ในวันขึ้นสิบสามค่ําเดือนแปดไปสู่เงื้อมเขาท้ายหมู่บ้าน เมื่อขึ้นสู่ที่จงกรมแล้ว เอาใจใส่กัมมัฏฐาน ในวันนั้นยังถือเอาพระอรหัตตผลไม่ได้. เมื่อถึงวันอุโบสถ ก็คิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสองสามวัน เราจะเอาพระอรหัตตผลให้ได้ ก็ยังเอาไม่ได้ สามเดือนก็เหมือนสามวันนั่นแหละ คอยถึงวันมหาปวารณาก่อนจะรู้ ถึงเข้าพรรษาแล้วก็ยังเอาไม่ได้. ในวันปวารณาท่านคิดว่า เรามาแล้วด้วยคิดว่า โดยสองสามวัน เราจะเอาพระอรหัตตผลให้ได้ นี่ก็ตั้งสามแล้ว ก็ยังไม่สามารถจะเอาได้ ส่วนพวกเพื่อนพรหมจรรย์ จะปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากัน เมื่อท่านคิดอย่างนั้น สายน้ำตาก็หลั่งไหล. จากนั้นท่านคิดว่า มรรคผล จะไม่เกิดขึ้นเพราะอิริยาบถ ๔ ของเราบนเตียง ถ้าเดี๋ยวนี้ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล เราจะไม่ยอมเหยียดหลัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 190
บนเตียงอย่างเด็ดขาด จะไม่ยอมล้างเท้า แล้วก็ให้ยกเอาเตียงไปเก็บไว้ภายในพรรษาก็ถึงอีก. ท่านก็ยังเอาพระอรหัตตผลไม่ได้ตามเคย สายน้ำตาก็หลั่งไหล
ในวันปวารณายี่สิบเก้าครั้ง. พวกเด็กในหมู่บ้านพากันเอาหนามมากลัดที่ที่แตกในเท้าทั้งสองข้างของพระเถระ. แม้เมื่อจะพากันเล่น ก็เล่นเอาว่า ขอให้เท้าทั้งสองข้างจงเป็นเหมือนเท้าของพระคุณเจ้า มหาสิวเถระเถิดใ
ในวันมหาปวารณาปี (ที่) สามสิบ พระเถระยืนยึดแผ่นกระดานสําหรับพิง คิดว่า เมื่อเราทําสมณธรรมมาตั้งสามสิบปีเข้านี้แล้ว เราก็ไม่สามารถสําเร็จพระอรหัตตผลได้ ในอัตภาพของเรานี้ มรรคหรือผลย่อมไม่มีเป็นแน่ เราไม่ได้ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณากับเพื่อนพรหมจรรย์แล้ว. และก็เมื่อท่านคิดอยู่อย่างนั้น ก็เกิดโทมนัสขึ้นมา สายน้ำตาก็หลั่งไหล. ขณะนั้นในที่ใกล้ๆ มีเทพธิดาองค์หนึ่ง กําลังยืนร้องไห้อยู่.
เถระ. ใครร้องไห้ที่นี้.
เทพธิดา. ดิฉัน นางเทพธิดา เจ้าค่ะ.
เถระ. ร้องไห้ทําไม.
เทพธิดา. เมื่อมรรคผลกําลังเกิดเพราะการร้องไห้ ดิฉันคิดว่าแม้เราก็จะให้เกิดมรรคผลหนึ่ง (หรือ) สองจึงร้องไห้เจ้าค่ะ.
จากนั้นพระเถระก็คิดว่า นี่แน่ะ มหาสิวะ แม้แต่เทพธิดาก็ยังมาเยาะเย้ยเธอได้ นี่มันควรแก่เธอหรือหนอ แล้วก็เจริญวิปัสสนาได้ถือเอาความเป็นพระอรหันต์พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.
ท่านคิดว่า บัดนี้เราจะนอน แล้วก็จัดแจงเสนาสนะ ปูลาดเตียงตั้งน้ำในที่น้ำ คิดว่า เราจะล้างเท้าทั้งสองข้าง แล้วก็นั่งลงที่ขั้นบันได. แม้พวกศิษย์ของท่าน ก็พากันคิดอยู่ว่า เมื่ออาจารย์ของเราไปทําสมณธรรมตั้งสามสิบปีท่านอาจทําคุณวิเศษให้เกิดได้หรือไม่อาจ เห็นว่าท่านสําเร็จพระอรหัตแล้วนั่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 191
ลงเพื่อล้างเท้า จึงต่างก็คิดว่า อาจารย์พวกเรา เมื่อพวกศิษย์ เช่น พวกเรายังอยู่ คิดว่า จะล้างเท้าด้วยตนเองนี้ไม่ใช่ฐานะ เราจะล้าง เราจะล้าง แล้วทั้ง ๓๐,๐๐๐ รูปต่างก็เหาะมาไหว้แล้วกราบเรียนว่า กระผมจะล้างเท้าถวาย ขอรับ. ท่านห้ามว่า คุณ ฉันไม่ได้ล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว พวกคุณไม่ต้องฉันจะล้างเอง.
แม้ท้าวสักกะก็ทรงพิจารณาว่า พระคุณเจ้ามหาสิวะเถระของเราสําเร็จพระอรหัตแล้ว เมื่อพวกศิษย์สามหมื่นรูปมาแล้วด้วยคิดว่า พวกเราจะล้างเท้าทั้งหลายถวาย ก็ไม่ให้ล้างเท้าให้ ก็เมื่ออุปัฏฐากเช่นเรายังมีอยู่ พระคุณเจ้าคิดว่าจะล้างเท้าเองนี่เป็นไปไม่ได้ แล้วทรงตัดสินพระทัยว่า เราจะล้างถวายจึงพร้อมด้วยสุชาดาเทวีได้ทรงปรากฏในสํานักของหมู่ภิกษุ. ท้าวเธอทรงส่งนางสุชาดาผู้เป็นอสุรกัญญาล่วงหน้าไปก่อนให้เปิดโอกาสว่า ท่านเจ้าขา พวกท่านจงหลีกไป โปรดให้โอกาสผู้หญิง แล้วทรงเข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วนั่งกระหย่งต่อหน้าตรัสว่า ท่านขอรับ กระผมจะล้างเท้าถวาย พระเถระตอบว่าโกสีย์ อาตมภาพไม่เคยล้างเท้ามาตั้งสามสิบปีเข้านี่แล้ว และแม้โดยปกติชื่อว่ากลิ่นตัวคนเป็นของ น่าเกลียดสําหรับพวกเทพ แม้อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์เหมือนเอาซากศพมาแขวนคอ อาตมภาพจะล้างเอง. ตรัสตอบว่า ท่านขอรับ ชื่อว่ากลิ่นอย่างนี้ไม่ปรากฏ เพราะว่ากลิ่นศีลของท่านเลยเทวโลกหกชั้นไปตั้งอยู่สูงถึงชั้นภวัคคพรหมในเบื้องบน ไม่มีกลิ่นอื่นที่ยิ่งไปกว่ากลิ่นศีล ท่านขอรับกระผมมาเพราะกลิ่นศีลของท่าน แล้วก็ทรงเอาพระหัตถ์ซ้ายจับข้อต่อตาตุ่ม แล้วเอาพระหัตถ์ขวาลูบฝ่าเท้า. เท้าของท่านก็เป็นเหมือนกับเท้าของเด็กหนุ่มขึ้นมาทันที. ครั้นท้าวสักกะทรงล้างเท้าถวายเสร็จแล้วก็ทรงไหว้ แล้วเสด็จไปสู่เทวโลกตามเดิม.
พึงทราบว่าท่านเรียกอารมณ์ของวิปัสสนาก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ว่า โทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง และว่าโทมนัสที่ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 192
ความตรึก และไม่มีความตรอง ด้วยอํานาจความเข้าใจของภิกษุผู้อาศัยโทมนัสที่เกิดขึ้นแล้วพิจารณาอยู่ว่า เราไม่ได้ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณาด้วยกันกับพวกเพื่อนพรหมจรรย์ ดังที่ว่ามานี้.
ในเรื่องของโทมนัสนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองมาใคร่ครวญว่า โทมนัสนี้อาศัยอะไร ก็รู้ชัดว่าอาศัยวัตถุ จึงตั้งอยู่ในพระอรหัตตผลโดยลําดับ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวดธรรมที่มีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรอง ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล ตามนัยที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน.
แม้ในโทมนัสที่ตั้งมั่นแล้วเหล่านั้น โทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองประณีตกว่าที่มีความตรึกและความตรอง วิปัสสนาในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองก็ประณีตกว่าวิปัสสนาในโทมนัสที่มีความตรึกและมีความตรองด้วย ผลสมาบัติในโทมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองก็ประณีตกว่า แม้ผลสมาบัติในโทมนัสที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรองนั่นเทียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่าใด ที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองประณีตกว่าดังนี้.
คําว่า ไม่พึงเสพอุเบกขาเห็นปานนั้น ความว่าไม่พึงเสพอุเบกขาที่อาศัยเรือนเห็นปานนั้น. ที่ชื่อว่าอุเบกขาที่อาศัยเรือนได้แก่ อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ ซึ่งติดข้อง เกิดขึ้นในกามคุณนั้นเอง เป็นไปล่วงรูปเป็นต้นไม่ได้เหมือนแมลงวันตอมงบน้ำอ้อย ในอารมณ์ที่น่ารักที่มาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ อย่างนี้ คือ ในเวทนาเหล่านั้น อุเบกขาที่อาศัยเรือน ๖ อย่างเป็นไฉน เพราะเห็นรูปด้วยตา อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่คนโง่ คนหลง คนมีกิเลสหนา คนเอาแต่ชนะไม่มีขอบเขตไป เอาแต่ชนะไม่เป็นผล มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่ได้รับการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 193
ศึกษาคือเป็นปุถุชน อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขานั้นก้าวล่วงรูปไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกอุเบกขานั้น ว่าอาศัยเรือน (๑) ดังนี้เป็นต้น. คําว่า อุเบกขาเห็นปานนี้ อันบุคคลพึงเสพ คือ พึงเสพอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่า อุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือน ได้แก่ อุเบกขาที่ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก ไม่ลุ่มหลงเพราะขาดการเพ่งพิจารณาในอารมณ์ มีอารมณ์ที่น่ารักเป็นต้น ที่มาสู่คลองในทวารทั้งหกอย่างนี้คือ ในเวทนาเหล่านั้นอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนหกอย่างเป็นไฉน คือ อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้รู้แจ้ง ความไม่เที่ยงนั้นเอง ความแปรปรวน ความคลาย ความดับของรูป แล้วเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายทั้งในเมื่อก่อน ทั้งในบัดนี้ รูปเหล่านั้นล้วนแต่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขา นั้นก้าวล่วงรูปได้ เพราะฉะนั้น อุเบกขานั้นจึงเรียกว่าอาศัยการออกจากเรือน ดังนี้เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่งแม้อุเบกขาที่เป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ มีส่วนเสมอกันกับเวทนา ก็จัดเป็นอุเบกขาในที่นี้ได้เหมือนกัน. คําว่า เพราะฉะนั้น พึงเสพ ความว่า พึงเสพอุเบกขาที่เกิดด้วยอํานาจการออกจากเรือนด้วยอํานาจวิปัสสนา ด้วยอํานาจการตามระลึกถึง ด้วยอํานาจฌานที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม และที่สี่นี้ไว้
ในคําเหล่านั้นคําว่า ถ้าอุเบกขาใดยังมีความตรึกยังมีความตรอง คือแม้ในอุเบกขาที่อาศัยการออกจากเรือนนั้นก็พึงทราบว่า อุเบกขายังมีความตรึก ยังมีความตรองซึ่งเกิดขึ้นด้วยอํานาจการออกจากเรือน ด้วยอํานาจวิปัสสนาด้วยอํานาจการตามระลึกถึงและด้วยอํานาจฌานที่หนึ่งใด. คําว่า ใด ถ้าไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง คือ ก็พึงทราบว่าอุเบกขาที่ไม่มีความตรึก
(๑) ม.อุ. ๓๗๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 194
ไม่มีความตรอง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอํานาจฌานที่สอง และที่สามเป็นต้นใด. คําว่า เหล่าใดไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง ความว่า ในอุเบกขาทั้งสอง เหล่านี้อุเบกขาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองนั้นประณีตกว่า. ด้วยคํานี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงอะไร กล่าวถึงอรหัตตผลของสองท่าน. จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อเริ่มตั้งวิปัสสนาในอุเบกขาที่ยังมีความตรึก และยังมีความตรองแล้วก็มาใคร่ครวญว่า อุเบกขานี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่าอาศัยที่วัตถุ แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผลโดยลําดับ ตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้งวิปัสสนาในอุเบกขาที่ไม่มีความตรึก และไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่ ในอรหัตตผลตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในอุเบกขาที่ตั้งมั่นเหล่านั้น อุเบกขาที่ไม่มีความตรึก และไม่มีความตรองประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง อุเบกขาวิปัสสนาที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองประณีตกว่า แม้อุเบกขาวิปัสสนาที่มีความตรึกและมีความตรอง อุเบกขาผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น ที่ประณีตกว่าอุเบกขาผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความตรองประณีตกว่า ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จอมทวยเทพ! ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลชื่อว่า ย่อมปฏิบัติข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความสมควร เพื่อความดับโดยไม่เหลือแห่งส่วนที่มีความจําได้หมายรู้อันประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า แล้วก็ทรงจบเทศนาลงด้วยยอดคือ พระอรหัตตผล. ส่วนท้าวสักกะทรงบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.
ธรรมดาพระอัธยาศัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเลว มีแต่ชั้นยอดทั้งนั้น. เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่คนเดียวก็ดี แก่หลายคนก็ดี ล้วนแต่ทรงถือยอดด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 195
พระอรหัตตผลทั้งนั้น. แต่พวกสัตว์อยู่ในอุปนิสัยที่สมควรแก่ตน. บางพวกก็เป็นโสดาบัน บางพวกก็เป็นสกทาคามี บางพวกก็เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นอรหันต์. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหมือนพระราชา พวกเวไนยสัตว์เหมือนพวกพระราชกุมาร. เหมือนอย่างว่า ในเวลาเสวยพระกระยาหารพระราชาทรงตักก้อนข้าวตามขนาดพระองค์ แล้วทรงป้อนพวกพระราชกุมาร. พวกพระราชกุมารเหล่านั้น ก็ทรงทําคําข้าวตามขนาดพระโอษฐ์ของพระองค์จากก้อนข้าวนั้นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ทรงถือเอายอดด้วยพระอรหัตตผลด้วยเทศนาที่สมควรแก่พระอัธยาศัยของพระองค์เท่านั้น เวไนยสัตว์ทั้งหลายต่างก็ย่อมรับเอาโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลนั่นแหละจากพระธรรมเทศนานั้น ตามประมาณแห่งอุปนิสัยของตน.
ส่วนท้าวสักกะ ครั้นทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ทรงจุติต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองแล้วก็ทรงเกิด กลายเป็นท้าวสักกะหนุ่ม.ธรรมดาที่ไปและที่มาของอัตภาพของเหล่าเทพที่จุติอยู่ ย่อมไม่ปรากฏ. ย่อมเป็นเหมือนการปราศไปของเปลวประทีป ฉะนั้น พวกเทพที่เหลือจึงไม่ทราบกัน. ส่วนท่านที่ทรงทราบมีสองท่านเท่านั้น คือท้าวสักกะ เพราะทรงจุติเอง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงมีพระญาณที่หาอะไรมาขัดข้องไม่ได้ ๑. ลําดับนั้นท้าวสักกะทรงคิดว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลของผู้เกิดในสามสถานเท่านั้นแก่เรา ส่วนมรรคหรือผลนี้ ไม่มีใครเหาะไปเอาได้เหมือนนางนก อันการถือเอามรรคหรือผลนั้น พึงเป็นได้ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคหรือผลอันจะต้องมา เอาเถิด เราจะทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพระขีณาสพในเบื้องบนให้ได้. ต่อจากนั้นเมื่อจะทูลถามข้อปฏิบัตินั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สิ้นทุกข์ ก็ผู้ปฏิบัติแล้วอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 196
บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า ด้วยความสํารวมในปาฏิโมกข์ คือด้วยความสํารวมในศีลที่สูงสุดและเจริญที่สุด. คําเป็นต้นว่า แม้ถึงมารยาททางกาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงถึงความสํารวมในปาฏิโมกข์ ด้วยอํานาจมารยาททางกายที่พึงเสพ. ก็แล ชื่อว่า ถ้อยคําที่เกี่ยวกับศีลนี้ ย่อมเป็นอันพึงกล่าวด้วยอํานาจกรรมบถ หรือด้วยอํานาจบัญญัติได้. ในกรรมบถและบัญญัตินั้น อันผู้จะกล่าวด้วยอํานาจกรรมบถ ต้องกล่าวถึงมารยาททางกายก็ไม่พึงเสพด้วยการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์และความประพฤติผิดในกามทั้งหลายก่อน เมื่อจะกล่าวด้วยอํานาจบัญญัติ ต้องกล่าวด้วยอํานาจบัญญัติสิกขาบทและการละเมิดในกายทวาร. ต้องกล่าวถึงมารยาททางกายที่พึงเสพด้วยเจตนาเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น และด้วยบัญญัติสิกขาบทและการไม่ละเมิดในกายทวาร. ต้องกล่าวถึงมารยาททางวาจาที่ไม่พึงเสพด้วยความประพฤติชั่วทางวาจามีการกล่าวเท็จเป็นต้น และด้วยบัญญัติสิกขาบท และการละเมิดในวจีทวาร ต้องกล่าวถึงมารยาททางวาจาที่พึงเสพด้วยเจตนาเครื่องเว้นจากการกล่าวเท็จเป็นต้น และด้วยบัญญัติสิกขาบท และการไม่ละเมิดในวจีทวาร.
สําหรับการแสวงหา ก็ได้แก่การแสวงหาด้วยกายและวาจานั่นเอง. การแสวงหานั้น ก็เป็นอันถือเอาแล้วด้วยศัพท์ คือ มารยาททางกายและวาจา เพราะเหตุที่ธรรมดาศีลอันมีอาชีพเป็นที่แปด ย่อมเกิดขึ้นแต่ในสองทวารนี้เท่านั้น ไม่ใช่ในอากาศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการแสวงหานั้นไว้แผนกหนึ่งต่างหาก เพื่อทรงแสดงถึงศีลซึ่งมีอาชีพเป็นที่แปด. ในการแสวงหานั้นไม่พึงกล่าวถึง การแสวงหาที่พึงเสพ ด้วยการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ พึงกล่าวถึงการแสวงหาที่พึงเสพด้วยการแสวงหาที่ประเสริฐ.
สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาสองอย่างเหล่านี้ คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐหนึ่ง การแสวงหา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 197
ที่ประเสริฐหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ก็การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ตัวเองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้วก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดานั่นแล ตัวเองมีความแก่เป็นธรรมดา... มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา... มีความตายเป็นธรรมดา... มีความโศกเป็นธรรมดา... มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวอะไรว่ามีความเกิดเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ลูกเมียมีความเกิดเป็นธรรมดา คนใช้หญิงชายมีความเกิดเป็นธรรมดา แพะแกะมีความเกิดเป็นธรรมดา ไก่หมู มีความเกิดเป็นธรรมดา ช้าง วัว ม้า ลา มีความเกิดเป็นธรรมดาเงินทองมีความเกิดเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านี้ เป็นตัวอุปธิทั้งหลาย (สภาพเครื่องเข้าไปทรงสัตว์ไว้ในทุกข์) บุคคลนี้เป็นผู้อันอุปธิผูกไว้ ทําให้สยบ ให้ต้องโทษในสิ่งเหล่านี้ ตัวเองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาแล้ว ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่ามีความแก่เป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลายลูกเมียมีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่ามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาภิกษุทั้งหลาย ลูกเมีย มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่ามีความตายเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย! ลูกเมียมีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงสิ่งอะไรว่ามีความโศกเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ลูกเมียมีความโศกเป็นธรรมดา ฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย! ก็พวกเธอย่อมกล่าวถึงอะไรว่าเศร้าหมองเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย!
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 198
ลูกเมีย มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ฯลฯ ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นแล ภิกษุทั้งหลาย นี้การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ (๑) อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐมี ๕ อย่าง ด้วยอํานาจการโกงเป็นต้น มี ๖ อย่าง ด้วยอํานาจอโคจร มี ๒๑ อย่าง ด้วยอํานาจงานของหมอเป็นต้น. การแสวงหาที่ไม่สมควร แม้ทั้งหมดที่เป็นไปอย่างนี้ พึงทราบว่าเป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐโดยแท้.
ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนการแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้ ตัวเองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เห็นโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่เกิด เป็นที่เกษมจากโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์) อันยอดเยี่ยม ตัวเองมีความแก่เป็นธรรมดา ... มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ... มีความตาย โศก และเศร้าหมอง เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เห็นโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่เศร้าหมอง เป็นที่เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม. ภิกษุทั้งหลาย!นี้ การแสวงหาที่ประเลริฐ. อีกอย่างหนึ่ง แม้การเว้นการกระทํา ๕ อย่างมีการโกงเป็นต้น อโคจร ๖ แห่ง และการแสวงหาที่ไม่สมควร ๒๑ อย่างแล้วแสวงหาด้วยการเที่ยวภิกษา ด้วยธรรม ด้วยสม่ําเสมอ ก็พึงทราบว่า เป็นการแสวงหาที่ประเสริฐทั้งนั้น.
สําหรับในเรื่องมารยาทของกายนี้ มารยาทใดๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่พึงเสพมารยาทนั้นๆ ต้องอย่าเสพตั้งแต่เวลาแห่งเครื่องมือการแสวงหาการทําความพยายามและการไปในส่วนเบื้องต้นแห่งการฆ่าสัตว์เป็นต้นทีเดียว. นอกนี้พึงเสพตั้งแต่ต้น. ผู้ที่ไม่สามารถก็พึงทําแม้เพียงจิตให้เกิดขึ้น (คิดเอาก็ได้). อีกอย่างหนึ่ง ต้องไม่เสพมารยาททางกายที่เหมือนของพระเทวทัต
(๑) ม.มู. ปาสราสิสุตฺต ๒๙๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 199
เป็นต้นที่บากบั่นเพื่อต้องการทําลายสงฆ์เป็นอาทิ. ต้องเสพมารยาททางกายที่เหมือนของพระธรรมเสนาบดีและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ซึ่งเป็นไปด้วยอํานาจการไปสู่ที่รับใช้พระรัตนตรัยวันละสองสามครั้ง. มารยาททางวาจาที่ไม่พึงเสพก็เหมือนของ พระเทวทัตเป็นต้น ที่ลั่นวาจาด้วยอํานาจการส่งนายขมังธนูเป็นต้น. พึงเสพมารยาททางวาจาที่เหมือนของพระธรรมเสนาบดีและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ที่เป็นไปด้วยอํานาจ การประกาศพระคุณพระไตรรัตน์. ต้องไม่เสพการแสวงหาที่เหมือนของพระเทวทัตเป็นต้นที่แสวงหาการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ. ต้องเสพการแสวงหาที่เหมือนของพระธรรมเสนาบดีและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ที่แสวงหาแต่การแสวงหาที่ประเสริฐเท่านั้น. คําว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ความว่า ท่านจอมทวยเทพ! ภิกษุผู้ละมารยาททางกายและวาจาและการแสวงหา ที่ไม่พึงเสพ ปฏิบัติเพื่อความเต็มที่แห่งมารยาททางกายและวาจาและการแสวงหาที่พึงเสพอย่างที่ว่ามานี้แล้ว ก็ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อต้องการสํารวมศีล ที่สูงสุดและเจริญที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อปฏิบัติอันเป็นภาคแรกที่จะต้องมาของผู้สิ้นอาสวะแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ในคําถามที่ ๒. คําว่า เพื่อสํารวมอินทรีย์ ได้แก่ เพื่อปิดอินทรีย์ทั้งหลาย คือเพื่อคุ้มครองทวารได้ หมายความว่า เพื่อความระแวดระวังทวารไว้. สําหรับในการทรงแก้แก่ท้าวสักกะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคําเป็นต้นว่า รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา เพื่อทรงแสดงความสํารวมอินทรีย์ ด้วยอํานาจรูปที่พึงเสพเป็นต้น. คําว่า ครั้นตรัสอย่างนี้ในอินทรีย์นั้นแล้ว ความว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ ท้าวสักกะ ผู้จอมทวยเทพก็ทรงเกิดความไหวทันว่า แม้นี้ ก็ต้องเป็นด้วยลักษณะการแบบเดียวกันนั่นแหละ เพราะความที่การทรงแก้ปัญหาในเรื่องโสมนัสเป็นต้น เป็นเรื่องที่ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 200
ได้ฟังมาแล้วในหนหลัง จึงได้ทรงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ คือได้ตรัสคําเป็นต้นนี้ว่า นี้ แล ข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า. ถึงแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ประทานพระโอกาสแก่ท้าวเธอ จึงทรงนิ่ง. ความจริงมีอยู่ว่าผู้ที่ไม่สามารถทําให้สําเร็จประโยชนได้นั้น เป็นคนชอบพูด หรือผู้ที่สามารถทําให้สําเร็จประโยชน์ได้นั้น ไม่เป็นคนชอบพูด คนแบบนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานโอกาสให้. ส่วนท้าวสักกะนี้ เพราะทรงเป็นผู้ชอบตรัส และทั้งยังทรงสามารถทําประโยชน์ให้สําเร็จได้ด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทานพระโอกาสให้ท้าวเธอ.
ในเรื่องการสํารวมอินทรีย์นั้น นี้เป็นความย่อในคําเป็นต้นว่า ไม่พึงเสพ เห็นปานนั้น. เมื่อดูรูปใด ความรักเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ไม่พึงเสพ ไม่พึงแลดูรูปนั้น แต่เมื่อดูรูปใด ความสําคัญว่าไม่งาม ย่อมตั้งมั่น ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้น หรือการกลับได้ซึ่งความสําคัญว่าไม่เที่ยงย่อมมี พึงเสพรูปนั้น. เมื่อฟังเสียงที่มีอักษรพิจิตรก็ดี มีพยัญชนะพิจิตรก็ดี ย่อมเกิดความรักเป็นต้นขึ้น เสียงเห็นปานนั้น ไม่พึงเสพ. แต่เมื่อฟังเสียงใดแม้แต่เพลงขับของนางคนใช้ตักน้ำ (กุมภทาสี) ที่อาศัยอรรถ (ผล) อาศัยธรรม (เหตุ) ย่อมเกิดความเลื่อมใสขึ้น หรือความเบื่อหน่ายย่อมตั้งมั่น เสียงเห็นปานนั้นพึงเสพ. เมื่อดมกลิ่นใด ย่อมเกิดความกําหนัดเป็นต้นขึ้นมา กลิ่นอย่างนั้นไม่พึงเสพ. แต่เมื่อดมกลิ่นใด ย่อมมีการกลับได้ความเข้าใจว่าไม่งามเป็นต้น กลิ่นอย่างนั้นพึงเสพ เมื่อลิ้มรสใด ย่อมเกิดความกําหนัดเป็นต้นขึ้นมารสอย่างนั้นไม่พึงเสพ. แต่เมื่อลิ้มรสใด ย่อมเกิดความเข้าใจว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร และย่อมอาศัยแรงกายเพราะรสที่ได้ลิ้มเป็นปัจจัยแล้วสามารถก้าวลงสู่อริยภูมิได้ เหมือนของสามเณรสิวะ หลานพระมหาสิวเถระหรือเมื่อบริโภค ก็ย่อมมีการสิ้นกิเลสไป รสเห็นปานนั้นพึงเสพ. เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 201
ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ย่อมเกิดราคะเป็นต้น ไม่พึงเสพโผฎฐัพพะเห็นปานนั้น. แต่เมื่อถูกต้องสิ่งใด ย่อมมีการสิ้นกิเลสเครื่องหมักดองได้เหมือนของพระสารีบุตรเถระเป็นต้น ทั้งความเพียร ก็ได้รับการประคับประคองไว้เป็นอย่างดีและทั้งประชุมชนในภายหลัง ก็ย่อมได้รับการอนุเคราะห์ด้วยการดําเนินตามเยี่ยงอย่างที่ได้เห็น โผฎฐัพพะเห็นปานนั้น พึงเสพไว้เถิด.
เล่ากันมาว่า พระสารีบุตรเถระ ไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงตลอด ๓๐ ปีพระมหาโมคคัลลานเถระก็เหมือนกัน. พระมหากัสสปเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียง ๑๒๐ ปี. พระอนุรุทธเถระ ๕๕ ปี พระภัททิยเถระ ๓๐ ปี พระโสณเถระ ๑๘ ปี พระรัฏฐปาลเถระ ๑๒ ปี พระอานนทเถระ ๑๕ ปี พระราหุลเถระ ๑๒ ปี พระพากุลเถระ ๘๐ ปี พระนาฬกเถระไม่เคยเหยียดหลังบนเตียงจนปรินิพพาน.
เมื่อพิจารณาธรรมที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจเหล่าใด ย่อมเกิดราคะเป็นต้นขึ้นมา หรือความเพ่งเล็งอยากได้เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า โอ้หนอ ขอให้เครื่องอุปกรณ์คือ สมบัติที่คนอื่นปลื้มใจของคนเหล่าอื่นนั้นจงเป็นของเราเถิดย่อมมาสู่คลองพึงเสพไม่ได้. แต่ธรรมทั้งหลายของพระเถระ ๓ รูปเหล่าใดด้วยอํานาจเมตตาเป็นต้นอย่างนี้ว่า ขอให้พวกสัตว์ทั้งหมด จงเป็นผู้ไม่มีเวรกันเถิด ธรรมเห็นปานนี้เหล่านั้นพึงเสพได้.
ได้ยินว่า พระเถระ ๓ รูป ในวันเข้าพรรษาได้วางกฎไว้ว่า ความตรึกที่เป็นอกุศลมีความตรึกถึงความใคร่เป็นต้น พวกเราไม่พึงตรึก. ครั้นในวันปวารณา พระเถระในสงฆ์ถามผู้ใหม่ในสงฆ์ว่า คุณ ใน ๓ เดือนนี้ คุณให้จิตวิ่งวนไปกี่แห่ง. พระเถระรูปที่ ๑ เรียนว่า ท่านขอรับ กระผมไม่ได้ให้วิ่งออกนอกเขตบริเวณ. พระเถระในสงฆ์จึงถามรูปที่ ๒ ว่า ของคุณกี่แห่งคุณ. รูปที่๒ นั้นตอบว่า ท่านขอรับ กระผมไม่ได้ให้วิ่งไปนอกที่อยู่. ครั้นแล้วพระเถระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 202
ทั้ง ๒ รูปก็พากันถามพระเถระบ้างว่า ของท่านเล่าขอรับ. พระเถระตอบว่าผมไม่ได้ให้วิ่งออกนอกขันธ์ ๕ หมวดที่แนบแน่นในภายใน. ท่านทั้ง ๒ รูปจึงเรียนว่า ท่านขอรับ ท่านได้ทําสิ่งที่ทําได้ยากแล้ว. พึงเสพธรรมที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยใจเห็นปานนี้ไว้เถิด.
คําว่า ผู้มีถ้อยคํามีที่สุดอย่างเดียว คือ ที่ชื่อว่า ผู้มีถ้อยคํามีที่สุดอย่างเดียว เพราะที่สุดถ้อยคําของคนเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้นไม่ใช่ ๒ ถ้อยคํา. ท้าวสักกะทรงถามว่าย่อมกล่าวอย่างเดียวเท่านั้น. คําว่า มีศีล มีที่สุดอันเดียว คือมีมารยาทอย่างเดียว. คําว่า มีความพอใจ มีที่สุดอย่างเดียว คือ มีลัทธิอย่างเดียว. คําว่า มีการสิ้นสุด มีที่สุดอย่างเดียว คือมีการจบถ้วน มีที่สุดอย่างเดียว. คําว่า ท่านจอมทวยเทพ โลกมีธาตุไม่ใช่อย่างเดียว มีธาตุต่างกัน ความว่า ท่านจอมทวยเทพ! โลกนี้มีอัธยาศัยไม่ใช่อย่างเดียว มีอัธยาศัยแตกต่างกัน เมื่อคนหนึ่งอยากเดิน (แต่อีก) คนหนึ่งอยากยืน เมื่ออีกคนหนึ่งอยากยืน (แต่อีก) คนหนึ่งอยากนอน สัตว์ทั้ง ๒ ชื่อว่ามีอัธยาศัยอย่างเดียวกันหาได้ยาก.
ในโลกที่มีธาตุมากมาย และมีธาตุแตกต่างกันนั้น หมู่สัตว์ย่อมยึดมั่นย่อมถือเอาธาตุใดๆ อัธยาศัยใดๆ คือ ก็ย่อมยึดมั่น ย่อมถือเอาธาตุนั้นๆ แหละ ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยการลูบคลํา เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงคือระบุ ว่าย่อมยึดมากกว่า ย่อมถือเอามากล่าวอย่างดี ด้วยเรี่ยวแรงและด้วยการลูบคลํา. คําว่า นี่เท่านั้นจริง อย่างอื่นโมฆะ คือ คําของพวกเราเท่านั้นแหละจริง คําของคนเหล่าอื่นโมฆะ คือเปล่า ได้แก่ ไม่มีประโยชน์
ความฉิบหายอันเรียกว่า อันตะ (ที่สุด) ในบทว่า มีความดับเป็นที่สุด (ยิ่งล่วงส่วน) ชื่อว่า ผู้มีความดับล่วงส่วนเพราะความดับของเขาเหล่านั้นล่วงที่สุดแล้ว. ความดับของพวกเขาใด ความหวังอย่างยิ่งคือ พระนิพพานใด นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 203
ท่านเรียกว่าสิ่งมีที่สุดล่วงส่วนก้าวล่วงความฉิบหายของพวกเขาทั้งหมด. คําว่า ความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในทุกข์ เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเอง. ชื่อว่า ผู้มีความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์อันล่วงส่วน เพราะความโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์ของเขาเหล่านี้มีอยู่. ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐเพราะเขาย่อมประพฤติทางที่ไกลจากข้าศึกที่ชื่อว่า ประเสริฐเพราะอรรถว่าประเสริฐสุด. ผู้ประพฤติประเสริฐเพราะเป็นความประพฤติที่ล่วงส่วน ชื่อว่าผู้ประพฤติประเสริฐล่วงส่วน. คําว่า ที่จบถ้วน เป็นชื่อของพระนิพพานนั่นเอง. ชื่อว่า ผู้มีความจบถ้วนเพราะเขามีความจบถ้วนที่ล่วงส่วน. คําว่า ความสิ้นไปพร้อมแห่ง ความทะยานอยาก ในคําว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยากนี้เป็นมรรคก็ได้ เป็นพระนิพพานก็ได้ มรรคชื่อว่าเป็นเครื่องสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะทําตัณหาให้สิ้นไปพร้อม คือ ให้หายไปพระนิพพานชื่อว่าเป็นที่สิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะความทะยานอยาก เมื่อมาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ก็ย่อมสิ้นไปพร้อม คือย่อมฉิบหายไปชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก เพราะหลุดพ้นแล้วด้วยมรรคอันเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งความทะยานอยาก หรือหลุดพ้นคือพ้นอย่างยิ่งในเพราะพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปพร้อมแห่งความทะยานอยาก. ด้วยพระดํารัสมีประมาณเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาครบทั้ง ๑๔ ข้อแล้ว.
ชื่อปัญหา ๑๔ ข้อคือ
๑. ความหึงและความหวง (อิสสามัจฉริยะ)
๒. ความชอบและความชัง (ปิยาปิยะ)
๓. ความพอใจ (ฉันทะ)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 204
๔. ความตรึก (วิตก)
๕. ธรรมเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจ)
๖. ความสุขใจ (โสมนัส)
๗. ความทุกข์ใจ (โทมนัส)
๘. ความรู้สึกเฉยๆ (อุเบกขา)
๙. มารยาททางกาย (กายสมาจาร)
๑๐. มารยาททางวาจา (วจีสมาจาร)
๑๑. การแสวงหา (ปริเยสนา)
๑๒. ความสํารวมอินทรีย์ (อินทริยสังวร)
๑๓. ธาตุจํานวนมาก (เอนกธาตุ)
๑๔. ความดับล่วงส่วน (อัจจันตนิฏฐา) .
ความทะยานอยาก ท่านเรียกว่า เอชา คือ ความหวั่นไหว เพราะอรรถว่าไหวหวั่น. ความหวั่นไหวนั้น เรียกว่า โรค เพราะอรรถว่า เบียดเบียน เรียกว่า ผี เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายภายใน เรียกว่า ลูกศร เพราะอรรถตามแทง. คําว่า เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ คือ ความหวั่นไหวย่อมคร่าคนเพื่อประโยชน์แก่อันเกิดยิ่งขึ้นในภพนั้นๆ ตามสมควรแก่กรรมที่คนได้ทําไว้เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น บุรุษนี้จึงย่อมถึงความสูงต่ําด้วยอํานาจภพนั้นๆ . สูงในพรหมโลก ในเทวโลกต่ํา สูงในเทวโลก ในมนุษยโลกต่ํา สูงในมนุษยโลก ในอบายต่ํา. คําว่า เยสาหํ ภนฺเต ตัดบทเป็น เยสํ อหํ ภนฺเต. เพราะคําว่า เยสาหํ ในที่นี้ เป็นด้วยอํานาจการเชื่อม (สนธิ) . คําว่า ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมา คือ ข้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังมาและได้เรียนมาอย่างไร. คําว่า ย่อมแสดงธรรมอย่างนี้ คือ ย่อมแสดงธรรมคือวัตตบทเจ็ดประการ. คําว่า น จาหํ เตสํ คือ ส่วนข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นสาวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 205
ของท่านเหล่านั้นยังเข้าถึงไม่ได้. ท้าวสักกะทรงแจ้งให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบความที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันด้วยพระดํารัสเป็นต้นว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ ข้าพระพุทธเจ้า แล. คําว่า การได้เฉพาะซึ่งความดีใจ คือ การได้เฉพาะซึ่งความยินดี.
คําว่า สงครามระหว่างเทวดากับอสูร ได้แก่ สงครามของพวก
เทวดาและพวกอสูร. คําว่า ประชิดกัน ได้แก่เผชิญหน้ากันแบบถึงลักษณะ
ที่เอาหน้าผากเข้ากระแทกกัน. เล่ากันว่า บางที พวกเหล่านั้นถึงกับรบกัน
บนหลังทะเลหลวงก็มี. แต่ในที่นั้นไม่มีการฆ่ากันและกันด้วยการฟันการแทง
เป็นต้น. เอากันแค่ชนะและแพ้เหมือนการรบกันระหว่างไม้กับแกะเท่านั้นเอง.
บางครั้งเหล่าเทพก็ชนะ บางครั้งก็เหล่าอสูร. ในการรบกันนั้น พวกเทพชนะ
พวกอสูรด้วยการไม่กลับมาอีกในสงครามใด ท้าวสักกะทรงหมายเอาสงคราม
นั้นจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ นั้น แล. คําว่า ทั้งสอง นี้
ได้แก่ พวกเทวดาเท่านั้น ย่อมบริโภคโอชะทั้งสองคือสองอย่างนี้ใน
เทวโลกนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อท้าวสักกะนั้นทรงใคร่ครวญอยู่ความปลาบปลื้มและ
ความดีพระทัยที่มีกําลังจึงเกิดขึ้น. คําว่า เที่ยวไปพร้อมกับอาชญา ได้แก่
ผู้เที่ยวเป็นประจําพร้อมกับอาชญา. ท่านแสดงว่าได้เป็นผู้เที่ยวไปพร้อมกับการ
ถือกระบอง พร้อมกับการถือศัสตรา ไม่ใช่วางอาชญาและอาวุธ. คําว่า
เพื่อความเบื่อหน่ายที่มีที่สุดอย่างเดียว ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่ายในการ
เวียนว่ายตายเกิดโดยที่สุดอย่างเดียวเท่านั้น. ทุกอย่างได้กล่าวไว้ในมหาโควินทสูตรเสร็จแล้ว. คําว่า แจ้ง ได้แก่กล่าว คือแสดง.
บทว่า ใน นี้นั่นเทียว คือในโอกาสนี้แหละ. บทว่า ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทวดาเป็นอยู่ คือ ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เทพเป็นอยู่ คําว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 206
และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้อายุอีกทีเดียว ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ชีวิตด้วยผลกรรมอย่างอื่นอีก. ด้วยคํานี้ ท้าวสักกะทรงเปิดเผยถึงความจุติและความเกิดของพระองค์.
คําว่า กายทิพย์ คืออัตภาพเป็นทิพย์. คําว่า ละอายุที่ไม่ใช่เป็นของมนุษย์ คือ ทิ้งอายุทิพย์. คําว่า จะไม่หลงเข้าครรภ์ คือ เป็นผู้ไม่หลง เพราะมีคติเที่ยงแท้ จะเข้าถึงครรภ์ในตระกูลกษัตริย์เป็นต้นที่ใจของข้าพระพุทธเจ้าจะรื่นรมย์นั้นเท่านั้น. ท้าวสักกะทรงแสดงความข้อนี้ว่า ในเทวดาและในมนุษย์เจ็ดครั้ง.
คําว่า จะอยู่อย่างถูกต้อง ความว่า แม้ข้าพระพุทธเจ้าเกิดในหมู่มนุษย์จะอยู่อย่างถูกต้องคือตามเหตุผล โดยสม่ําเสมอ เพราะความเป็นผู้ไม่ควรแก่การปลงแม่จากชีวิตเป็นต้น (ฆ่าแม่) .
ท้าวสักกะตรัสหมายเอาสกทาคามิมรรคนี้ว่า หากความตรัสรู้จะมี. ทรงแสดงว่า หากข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นสกทาคามี. คําว่า เป็นผู้รู้ทั่วถึงจะอยู่ คือ ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้รู้ทั่วถึง คือจะเป็นผู้ใครรู้ทั่วถึงอยู่. คําว่า ที่สุดนั้นแลจะมี คือที่สุดในมนุษยโลกนั้นแลจะมี.
ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นสักกะผู้จอมทวยเทพที่สูงสุดในเทวโลกอีก ด้วยคํานี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นเทพผู้สูงสุดในเทวโลกอีก.
คําว่า อันมีในที่สุด ที่กําลังเป็นไปอยู่ คือในภพอันมีในที่สุดที่กําลังเป็นไปอยู่. คําว่า นั้นจะเป็นที่อยู่ คือ พวกเทวดาเหล่านั้นใด ที่ไม่น้อยกว่าใคร ทั้งด้วยอายุ ทั้งด้วยปัญญา เป็นผู้เจริญที่สุดประณีตกว่าพวกเทพทั้งหมด ในที่สุด ภพนั้นจะเป็นที่อยู่อาศัยของข้าพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 207
เล่ากันมาว่า ท้าวสักกะนี้ จุติจากอัตภาพแห่งท้าวสักกะนั้นแล้ว จะเป็นผู้มีกระแสสูงไปจนถึงชั้นอกนิฏฐ์ เพราะความที่ทรงได้อนาคามิมรรคในอัตภาพนั้น เมื่อทรงเกิดในชั้นอวิหาเป็นต้นอยู่ สุดท้ายจะเป็นอกนิฏฐคามีพรหม. ท้าวเธอทรงหมายถึงข้อนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.
ได้ยินว่า ท้าวสักกะนี้ จะทรงอยู่ในชั้นอวิหาพันกัป แม้ในชั้นอตัปปาก็พันกัป ในชั้นสุทัสสาสี่พันกัป ในชั้นสุทัสสีแปดพันกัป ในชั้นอกนิฏฐ์สิบหกกัป ดังว่ามานี้ ท้าวเธอจึงจะเสวยอายุพรหมสามหมื่นหนึ่งพันกัป. จริงอยู่ชื่อว่าสัตว์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในการเวียนว่ายตายเกิดมีประมาณอายุอย่างเดียวกันแท้ เหล่านี้สามท่าน ได้แก่ ท้าวสักกะผู้เป็นราชาของเทพ อนาถปิณฑิกคฤหบดี นางวิสาขามหาอุบาสิกา. ธรรมดาผู้มีส่วนความสุขเท่ากับท่านเหล่านี้ไม่มี.
คําว่า ผู้มีความดําริยังไม่ถึงที่สุด คือมีมโนรถที่ยังไม่จบลง. คําว่า ข้าพระพุทธเจ้าสําคัญสมณะเหล่าใดสิ คือข้าพระพุทธเจ้าย่อมสําคัญว่าสมณะเหล่าใดเป็นผู้มีปกติเงียบสงบอยู่. คําว่า อาราธนา แปลว่า ความสําเร็จ. คําว่า วิราธนา แปลว่า ความล้มเหลว. คําว่า ไม่เป็นพร้อม คือ ไม่อาจพูดให้สําเร็จได้. คําว่า เป็นญาติของพระอาทิตย์ คือ พระอาทิตย์ก็เป็นโคตมโคตรด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเป็นโคตมโคตรด้วย ฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น. คําว่า ย่อมกระทําสิ่งใดกันล่ะ คือแต่ก่อนมาพวกเราย่อมกระทําความนอบน้อมใดแก่พรหม. คําว่า เสมอกับพวกเทพ คือ พร้อมกับพวกเทพ. ท้าวสักกะทรงแสดงว่า บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป พวกเราไม่มีการกระทําความนอบน้อมแก่พรหม พวกเราเลิกไหว้พรหม. คําว่า ย่อมกระทําความสมควร คือ พวกเราย่อมกระทําความนอบน้อม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 208
คําว่า ทรงลูบคลํา ความว่า ท้าวสักกะมีพระทัยปลาบปลื้ม ทรงตบ แผ่นดิน หรือทรงตบเพื่อพระประสงค์ให้เป็นพยาน เหมือนคนเอามือลูบมือ เพื่อนตรัสว่า เราก็เหมือนท่านที่ไม่หวั่นไหว. คําว่า ปัญหาที่ทรงเชื้อเชิญ แล้ว คือ ปัญหาที่ได้รับอาราธนา หมายความว่าปัญหาที่ถูกทูลถาม. คําที่เหลือ ในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสักกปัญหสูตรที่ ๘