พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รัตนจังกมนกัณฑ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ก.ค. 2564
หมายเลข  34726
อ่าน  1,320

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย พุทธวงศ์

เล่มที่ ๙ ภาคที่ ๒

รัตนจังกมนกัณฑ์

๑. รัตนจังกมนกัณฑ์ 1/1

อรรถกถาขุททกนิกายกถาปรารภคัมภีร์ 15

ปริจเฉท ๒๒ 17

วาระปริทเฉจ 18

การอยู่จําพรรษาของพระพุทธเจ้า 20

อัพภันตรนิทาน 25

อธิบาย พรหม ศัพท์ 35

อธิบายอิธศํพท์ 37

อธิบาย ธัมม ศัพท์ 38

คําว่าวิชชาและจรณะ 41

อธิบาย ตถาคต ศัพท์ 43

ทรงพบอุปกาชีวกโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์และพระยสกุลบุตร 51

โปรดภัททวัคคีย์กุมาณ และ ชฏิล ๓ พี่น้อง 53

พระพุทธบิดาเชิญเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ 60

อิทธิ๑๐ ประการ 89

พระญาณ ๑๐ ประการ 92

ปฐวี ๔ ประการ 95

ยมกปาฏิหาริย์ 99

จักษุ ๕ ประการ 105

วสี ๕ ประการ 108

พระกําลังของพระตถาคตเท่าช้าง ๑๐ ตระกูล 124

โลกปสาทนปาฏิหาริย์หรือที่เรียกว่า พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก 130

อสงไขย ๔ 140

มหาวิโลกนะ ๕ ประการ 144

อธิบายโพธิศัพท์ 146

อนุสนธิ ๓ ประการ 151

บารมี ๑๐ ประการ 353

เรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ 162

อธิบาย กัปป ศัพท์ 163

บุพนิมิต ๓๒ ประการ 187

พุทธการกธรรม ๘ ประการ 208


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย พุทธวงศ์

เล่มที่ ๙ ภาคที่ ๒

รัตนจังกมนกัณฑ์

ทรงเนรมิตรัตนจงกรม

[๑] ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลี ทูลขอพรอันยอดเยี่ยมว่า หมู่สัตว์ในโลกนี้ที่มีกิเลสดุจ ธุลีในดวงตาน้อย ยังมีอยู่ ขอทรงเอ็นดูแสดงธรรม โปรดหมู่สัตว์นี้ด้วยเถิด.

[พระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าโลก ผู้สูงสุดในนรชน อันหมู่พรหมผู้ประคองอัญชลีทูลขอว่า หมู่ปราชญ์ในโลกนี้ ที่มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยยังมีอยู่ ขอทรงเอ็นดูแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์นี้ด้วยเถิด ข้าแต่พระผู้นำ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม โปรดแสดงอมตบท โปรดแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์โลกทั้งหลาย]

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 2

พระตถาคต ผู้มีวิชชาและจรณะพรั่งพร้อมแล้ว ผู้คงที่ ผู้ทรงความรุ่งโรจน์ ทรงพระวรกายสุดท้าย ไม่มีผู้เปรียบ ทรงเกิดพระกรุณาในสัตว์ทั้งปวง.

[พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระศาสดาทรงสดับคำของพรหมนั้นแล้ว จึงได้มีพระพุทธดำรัสว่า]

ดูก่อนพรหม เราเปิดประตูแห่งอมตนครสำหรับท่านแล้ว ขอสัตว์ที่มีโสตจงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด แต่ก่อนเราเข้าใจว่าจะลำบากเปล่า จึงไม่กล่าวธรรม อันประณีตที่คล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์.

[สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจอมมุนี ผู้ทรงอนุเคราะห์เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ทรงออกจากต้น อชปาลนิโครธ เสด็จพุทธดำเนินโดยลำดับ ก็ถึงกรุงพาราณสี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือ พุทธอาสน์อันประเสริฐนั้น ทรงประกาศพระธรรมจักรคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคอันอุดม แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศพระธรรมจักรนั้นแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ ภัททิยะ วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งหมู่เทวดา พรหม ๑๘ โกฏิ ในครั้งนั้น ก็ตรัสรู้ธรรมในการประชุมครั้งแรก. ภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้งหมด อันพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแนะนำโดยธรรมปริยายอื่นตามลำดับ พร้อมทั้งหมู่เทวดาพรหม ๑๘ โกฏิ ใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 3

ครั้งนั้น โสดาปัตติผล ก็ได้มีในการประชุมครั้งแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพุทธดำเนินถึงกรุงราชคฤห์. พระจอมมุนีประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร. พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท้าวเธอมีบริวารมากถึง ๑๑ นหุต ทรงบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเทียน ธูป ของหอมและดอกไม้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุบุพพีกถาประกอบด้วย กามาทีนพในสมาคมนั้นนั่นแล จบเทศนาในครั้งนั้น สัตว์ ๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประธาน ก็ตรัสรู้ธรรม.

พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทรงสดับข่าว ก็ทรงส่งทูต ๙ คน พร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ คน. ทูตทั้ง ๙ คน พร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐ คน ก็บรรลุพระอรหัต ทูลขอบวชกะพระมุนี. ในที่สุด กาฬุทายีอำมาตย์ ก็ถือเพศภิกษุ พร้อมบริวาร ๑,๐๐๐ คน ท่านจึงทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระจอมศากยมุนี ทรงรับอาราธนาแล้ว เสด็จเดินทางใหญ่ เสด็จพุทธดำเนินมาโดยลำดับพร้อมด้วย ภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป ก็ลุถึงกรุงกบิลพัศดุ์. พระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี. พระผู้มีพระภาคเจ้า จอมศากยมุนี ประทับนั่งแสดงธรรมคือมหาเวสสันดรชาดกโปรดพระพุทธบิดา ท่ามกลางบัลลังก์นั้น. สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม]

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 4

พระประยูรญาติเหล่านี้ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนนี้เป็น เช่นไร กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร กำลังของพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เป็นเช่นไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า

พระประยูรญาติเหล่านี้ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ไม่รู้ดอกว่า พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนนี้ เป็นเช่นนี้ กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้ กำลังของพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เป็นเช่นนี้.

เอาเถิด จำเราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า อันยอดเยี่ยม จักเนรมิตที่จงกรม ประดับด้วยรัตนะในนภากาศ.

เทวดาภาคพื้นดิน เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ทั้งเทวดาเนื่องในหมู่พรหม ก็ร่าเริงพากัน ทำเสียงกึกก้องอย่างเต็มที่.

แผ่นดินมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า โลกันตริกนรกอันหนาก็ปิดกั้นไว้ไม่ได้ ความมืดมิดก็ได้ถูกขจัดออกไป. เทวดาและมนุษย์ทั้งสัตว์นรก ต่างก็เห็นปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์ ถึงปีติปราโมชอย่างยิ่ง.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 5

แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ ได้เกิดในโลกนี้พร้อม ทั้งเทวดา คนธรรพ์ มนุษย์ รากษส และในโลกอื่นทั้งสอง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ทั้งเบื้องขวางกว้างออกไป.

พระศาสดา ผู้สูงสุดในสัตว์ ผู้ยอดเยี่ยม ผู้นำพิเศษ ได้เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ผู้มี อานุภาพมาก มีบุญลักษณะนับร้อย ทรงแสดงปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์.

[ในสมาคมนั้น พระชินพุทธเจ้าผู้พระศาสดา เหาะขึ้นไปในพื้นนภากาศ ทรงเนรมิตสิเนรุบรรพต อันน่ารื่นรมย์เป็นที่จงกรม.

เทวดาในหมื่นโลกธาตุ ก็นอบน้อมพระตถาคต ในสำนักพระชินเจ้า พากันทำพุทธบูชา]

พระองค์ผู้มีพระจักษุ สูงสุดในนรชนผู้นำโลก อันเทวดาผู้ประเสริฐทูลวอนแล้ว ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์ในครั้งนั้น จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อันประดับด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก เป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อันประดับด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 6

ทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพตในหมื่นโลกธาตุ เป็นประหนึ่งเสาซึ่งตั้งอยู่เรียงกันเป็นรัตนจงกรม ที่จงกรมสำเร็จด้วยรตนะ.

พระชินเจ้าทรงเนรมิต ที่จงกรมเหลื่อมล้ำหมื่นโลกธาตุ ที่สองข้างพื้นที่เป็นทองทั้งหมด ณ รัตนจงกรมทรงเนรมิตไพรทีทองล้วน ปูด้วยแผ่นกระดานทอง เวียนไปตามจันทันคู่ทั้งสองข้าง.

รัตนจงกรมที่ทรงเนรมิต เกลื่อนกลาดด้วยทรายแก้วมณี ทรายแก้วมุกดา ส่องแสงสว่างไปทุกทิศ เหมือนดวงอาทิตย์ขึ้น.

ณ ที่จงกรมนั้น พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้มีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ รุ่งโรจน์อยู่ เสด็จจงกรม เหนือที่จงกรม เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน โปรยดอกมณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตร อันเป็นทิพย์ลง ณ ที่จงกรม.

หมู่เทพหมื่นโลกธาตุมาประชุมกัน เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ หมอบ ลงนมัสการ.

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต เทพชั้นนิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เห็นพระผู้นำโลก ก็พากันดีใจ มีจิตเบิกบาน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 7

นาค สุบรรณ หรือแม้ กินนร พร้อมทั้งเทวดา คนธรรพ์ มนุษย์ และ รากษส พากันชมพระองค์ เหมือนชมดวงจันทร์ที่ขึ้นโคจรในท้องนภากาศ.

พรหมชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้นเวหัปผละ และชั้นอกนิฏฐะ พากันทรงผ้าขาวสะอาด ยืนประคองอัญชลีโปรยดอกมณฑารพ ๕ สี ผสม จุรณจันทน์โบกผ้า ณ พื้นอัมพรในครั้งนั้น โดยเปล่งอุทานว่า โอ! พระชินเจ้าผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก.

พระองค์เป็นพระศาสดา เป็นยอด เป็นธง เป็นหลัก เป็นที่พัก ที่พึ่งพาอาศัย เป็นประทีป ของ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า.

เทวดาผู้มีมหิทธิฤทธิ์ในหมื่นโลกธาตุ ต่างยินดี ร่าเริง บันเทิงใจ พากันห้อมล้อมนมัสการ.

เทพบุตร เทพธิดา เลื่อมใส มีใจยินดีแล้วก็พา กันบูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.

หมู่เทพเห็นพระองค์ก็เลื่อมใส มีใจยินดีพากันบูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.

โอ ความอัศจรรย์ในโลก ไม่เคยมี น่าขนลุกขนชัน ความอัศจรรย์น่าขนลุกขนชันเช่นนี้ เราไม่ เคยเห็น.

เทวดาเหล่านั้น นั่งอยู่ในภพของตนๆ เห็นอัศจรรย์ในท้องฟ้า ก็พากันยินดี ร่าเริงใหญ่.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 8

เทวดาที่อยู่ในอากาศ อยู่ที่ภาคพื้นดิน อาศัยอยู่ที่หญ้าและดาวประกายพฤกษ์ ก็ยินดีร่าเริงบันเทิง ใจ พากันประคองอัญชลีนมัสการ.

เหล่านาค ที่อายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์มาก ก็พากันบันเทิงใจนมัสการ บูชาพระผู้สูงสุดในนรชน.

เพราะเห็นความอัศจรรย์ในท้องฟ้า สังคีตทั้งหลาย ก็พากันบรรเลง กลองหุ้มหนังทั้งหลาย ก็พากันประโคม ในอัมพรนภากาศ.

เพราะเห็นความอัศจรรย์ในท้องฟ้า สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึกทั้งหลาย ก็พากันบรรเลงใน กลางหาวเปล่งอุทานว่า วันนี้ อาการขนลุกขนชันที่ไม่เคยมีก็เกิดขึ้นแล้วหนอ เราจะได้สำเร็จประโยชน์แน่แล้ว เราได้ขณะกันแล้ว.

เพราะได้ยิน พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติขึ้นในทันที ต่างพากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ พุทฺโธ.

หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า ก็พากันประคองอัญชลี เปล่งเสียง หึ หึ เสียงสาธุ เสียงโห่เอิกอึง ลิงโลดใจ.

ขับกล่อม ประสานเสียง บรรเลง ปรบมือและฟ้อนรำ พลางโปรยดอกมณฑารพ ๕ สี ผสมด้วยจุรณจันทน์ เปล่งวาจาว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 9

ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะจักรที่พระยุคลบาทของพระองค์ ประดับด้วยธงชัยวชิระ ธงประฏาก เครื่องแต่งพระองค์และขอช้าง พระองค์ก็ไม่มีผู้เสมือนในพระรูปกาย ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ ในการประกาศพระธรรมจักร.

กำลังพระยาช้าง ๑๐ ตระกูล เป็นกำลังปกติใน พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีผู้เสมอ ด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระผู้เข้าถึงพระคุณทุกอย่าง ผู้พรักพร้อมด้วยองค์คุณครบถ้วน ผู้เป็นพระมหามุนี มีพระกรุณาเป็นนาถะของโลก.

พระองค์ควรซึ่งการกราบ การชม การไหว้ การสรรเสริญ การนอบน้อม และการบูชาทุกอย่าง.

ข้าแต่พระมหาวีระ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเขาควรไหว้ในโลก คนเหล่าใดควรการไหว้ พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด แห่งคนเหล่านั้นทั้งหมด ผู้เสมือนพระองค์ ไม่มี.

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน ยืนอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ก็เห็นพระผู้นำโลก.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 10

เห็นพระนราสภ เหมือนต้นพญาสาลพฤกษ์ ที่ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า เหมือนดวงอาทิตย์ เวลาเที่ยงวัน.

เห็นพระผู้นำโลก เรืองรองด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง เหมือนต้นประทีปที่ลุกโพลงอยู่ เหมือนดวง อาทิตย์แสงอ่อนๆ ที่อุทัยขึ้น.

จึงเรียกประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เสร็จกิจแล้ว ผู้คงที่ เป็นพระขีณาสพไร้มลทินทันที กล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อโลกปสาทนะ ทำโลกให้เลื่อมใส. แม้พวกเราก็จักไปถวายบังคม พระชินเจ้าในที่นั้น.

มาเถิด เราทั้งหมดจักไปทูลถามพระชินเจ้า เราพบพระผู้นำโลกแล้ว จักบรรเทาความสงสัย.

ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีปัญญา รักษาตน สำรวมอินทรีย์ รับคำว่า สาธุ แล้วก็ถือบาตรจีวรรีบเข้าไปหาพระเถระ.

พระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก กับพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้ไร้มลทิน ผู้ฝึกแล้ว เพราะการฝึกสูงสุด เข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์.

พระสารีบุตร เจ้าคณะใหญ่ อันภิกษุเหล่านั้น แวดล้อมแล้ว ลีลางาม เข้าไปเฝ้าด้วยฤทธิ์ ณ ท้องนภากาศ เหมือนเทวดา.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 11

ภิกษุเหล่านั้น มีมรรยาทงาม ไม่ไอ ไม่จาม มีความเคารพ มีความยำเกรง เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้นเฝ้าแล้ว ก็ดูพระสยัมภูผู้นำโลก เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยในนภากาศ เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า เห็นพระผู้นำโลก เหมือนต้นประทีปที่ลุกโพลง เหมือนสายฟ้าแลบในท้องฟ้า เหมือนดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวัน.

ภิกษุหมดทั้ง ๕๐๐ รูป เห็นพระผู้นำโลก ผ่องใสเหมือนห้วงน้ำ เหมือนดอกปทุมที่บานงาม ต่างยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ พากันประคองอัญชลีหมอบนมัสการ ณ ลักษณะจักรของพระศาสดา.

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้เสมือนแม้นดอกหงอนไก่ ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน ถวายบังคมพระผู้นำโลก.

ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้มีฤทธิ์มาก ไม่มีเสมอ ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ผู้เสมือนแม้นดอกบัวขาบ เหมือนเมฆฤดูฝนที่คำราม

แม้ท่านพระมหากัสสปเถระ ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ชมเชยสถาปนาว่า เป็นเอตทัคคะ ทางธุดงค์คุณ ก็เหมือนกับทองผุดขึ้น.

ท่านพระอนุรุทธะ เจ้าคณะใหญ่ เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุผู้มีทิพยจักษุ พระญาติผู้ประเสริฐ ของพระผู้มี พระภาคเจ้า ก็ยืนอยู่ไม่ไกล.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 12

ท่านพระอุบาลี อันพระศาสดาทรงยกย่องสถาปนาเป็นเอตทัคคะในวินัย ผู้ฉลาดในอาบัติ อนาบัติ อาบัติอย่างนี้ยังแก้ไขได้.

ท่านผู้แสวงหาคุณ ปรากฏชื่อว่า ปุณณะ บุตรพราหมณีชื่อมันตานี ผู้แทงตลอดอรรถะอันสุขุมลุ่มลึก ผู้เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พร้อมคณะ.

พระมหาวีระมุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมา ผู้ตัดความสงสัยได้ ทรงทราบจิตใจของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัส คุณของพระองค์ว่า

อสงไขย ที่มีเบื้องปลายอันใครๆ ตามไปไม่รู้ มี ๔ คือ หมู่สัตว์ ๑ อากาศ ๑ จักรวาลที่ไม่มีที่สุด ๑ พระพุทธญาณ ที่ประมาณมิได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจรู้ได้.

การทำฤทธิ์ต่างๆ ของเราจะอัศจรรย์อะไรในโลก ความอัศจรรย์อื่นๆ ที่ไม่เคยมี น่าขนลุกขนชัน ยังมีมาก.

กาลใด เรามีชื่อว่า ท้าวสันดุสิต ในหมู่เทพชั้นดุสิต กาลนั้น เทวดาหมื่นโลกธาตุ ประชุมกัน ประคองอัญชลีอ้อนวอนเราว่า ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับพระองค์ ที่จะเสด็จไปอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดา เมื่อจะยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆสงสาร ขอโปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.

กาลใด เราจุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงในพระครรภ์ กาลนั้น พระธรณีในหมื่นโลกธาตุก็ไหว.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 13

กาลใด เรามีสัมปชัญญะ ออกจากพระครรภ์ ของพระมารดา กาลนั้น เทวดาทั้งหลายก็ให้สาธุการ หมื่นโลกธาตุก็ไหว.

ไม่มีผู้เสมอเรา ในการลงสู่พระครรภ์ ในการออกจากพระครรภ์ เราเป็นผู้ประเสริฐสุด ในการตรัสรู้ ในการประกาศพระธรรมจักร.

โอ! ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณมาก น่าอัศจรรย์ในโลก หมื่นโลกธาตุไหว ๖ ครั้ง แสงสว่างใหญ่ก็เกิด น่าอัศจรรย์ น่าขนลุกขนชัน.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเจริญที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในนรชน พระชินเจ้า เมื่อทรงแสดงโลกพร้อมทั้งเทวโลก เสด็จจงกรมด้วยพระวรฤทธิ์.

พระผู้นำโลก เสด็จจงกรมพลางตรัสธรรมกถาไปพลาง จะไม่เสด็จกลับในระหว่างเหมือนที่จงกรม ระยะ ๔ ศอก.

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน ผู้บรรลุสาวกบารมี ด้วยปัญญา จึงทูลถามพระผู้นำโลกว่า

ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดในนรชน อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระโพธิญาณอันสูงสุด พระองค์ทรงปรารถนา ในกาลไร.

ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญาและวิริยะเป็นเช่นไร ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่นไร.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 14

ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี ๑๐ เป็นเช่นไร อุปบารมีเป็นอย่างไร ปรมัตถบารมี เป็น อย่างไร.

[อธิษฐานอย่างไร ความเป็นใหญ่เป็นเช่นไร บารมีเป็นเช่นไร พระจอมปราชญ์ในโลก เป็นอย่างไร.

เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นอย่างไร พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธธรรมทั้งหลาย บริบูรณ์สิ้นเชิง อย่างไร]

พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ ดังนกการะเวก ทรงดับความร้อนใจ ปลอบประโลมโลกพร้อมทั้งเทวโลก อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว โปรดทรงพยากรณ์ ด้วยเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศธรรมกถา พุทธจริตของอดีตชินพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มาถึงโดยสืบๆ กันมาของพระพุทธเจ้า เป็นพุทธวงศ์ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ด้วยพระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.

ท่านทั้งหลาย จงฟังพุทธวงศ์ ที่ให้เกิดปีติปราโมช บรรเทาความโศกศัลย์ ให้ได้สมบัติทั้งปวงของเรา ใส่ใจไว้.

ท่านทั้งหลาย จงปฏิบัติดำเนินมรรคเป็นเครื่องบำบัดความเมา บรรเทาความโศกเปลื้องโอฆสงสาร โดยเคารพเถิด.

จบรัตนจังกมนกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 15

มธุรัตถวิลาสินี

อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์

กถาปรารภคัมภีร์

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้มีพระญาณ อันหาที่สุดมิได้ มีพระกรุณาเป็นที่อาศัย ทรงทำลายมลทิน มีพระหฤทัยมั่นคง อำนวยประโยชน์เกื้อกูล.

ขอนอบน้อมพระธรรมอันประเสริฐ เครื่องป้อง กันภพ.

ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้ปราศจากมลทินและ เป็นบ่อเกิดคุณความดี.

ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวกทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา จอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทินถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธวงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริสุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาตินี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 16

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถแห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับ ฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้.

เพราะเหตุที่การพรรณนาพุทธวงศ์นั้นนั่นแล อันไม่ขาดสายแห่งพระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ตาย ฟังกันได้ให้เกิดความเลื่อมใสและปัญญา แก่ชนทั้งหลายทุกเมื่อ เป็นไปตามลำดับ. ฉะนั้น ข้าพเจ้าอันท่านพุทธสีหะ ผู้ยินดีในพระสัทธรรมโดยเคารพ อันคุณมีศีลเป็นต้นบันดาลใจ อ้อนวอนแล้วจึงจักเริ่ม พรรณนาพุทธวงศ์นั้น เพื่อกำจัดความชั่วร้าย ของชนทั้งหลายทุกเมื่อ เพื่อความตั้งมั่น แห่งพระพุทธศาสนา เพื่อความเกิดและเจริญแห่งบุญ แม้ของข้าพเจ้าเอง และเพื่อยังมหาชนให้เลื่อมใส.

ก็การพรรณนาพุทธวงศ์โดยสังเขปนี้ อาศัยทางบาลีที่มาจากสำนักมหาวิหาร ละโทษคือการปะปนกันเสีย จักเป็นสาระ. แต่เพราะเหตุที่ในที่นี้ ไม่มีเรื่องที่ควรฟัง ที่จะเป็นเครื่องยังผู้ยินดีในพระพุทธคุณให้ เลื่อมใส เป็นเครื่องลอยบาป ซึ่งเป็นมลทินใหญ่ นอกจากเรื่องพุทธวงศ์ ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายจงเป็น ผู้ประกอบอยู่ในสมาธิโดยเคารพ ละความฟุ้งซ่าน ไม่มีจิตเป็นอื่น จงตั้งโสตประสาทดังภาชนะทองรองรับ สดับมธุรสของข้าพเจ้า ผู้กำลังกล่าวพรรณนา.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 17

ก็กถาพรรณนาพุทธวงศ์ ควรที่จะมัจจะคนที่ต้องตาย เป็นผู้รู้จะต้องละกิจอื่นเสียให้หมดแล้ว ฟังก็ดี กล่าวก็ดี ในที่นี้ได้ตลอดกาลเป็นนิจ โดยเคารพด้วยว่ากถานี้ แต่งได้แสนยากแล.

ควรกำหนดพุทธวงศ์ก่อน เพราะในคาถาปรารภนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า กถาพรรณนาพุทธวงศ์ จักเป็นสาระดังนี้ ก็การกำหนดในพุทธวงศ์นั้น มีดังนี้ การกล่าวประเพณีอย่างพิศดาร โดยปริเฉทมีกัปปปริเฉทเป็นต้น อันเกิดขึ้น แต่พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติใน ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า พุทธวงศ์.

พุทธวงศ์กำหนดด้วยปริเฉท

ก็พุทธวงศ์นั้น ท่านกำหนดไว้เป็นปริเฉท ๒๒ ปริเฉท ที่มาตามบาลี เหล่านี้คือ

๑. กัปปปริเฉท ตอนว่าด้วย กัป

๒. นามปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนาม

๓. โคตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโคตร

๔. ชาติปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชาติ

๕. นครปริเฉท ตอนว่าด้วย พระนคร

๖. ปิตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธบิดา

๗. มาตุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระพุทธมารดา

๘. โพธิรุกขปริเฉท ตอนว่าด้วย ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้

๙. ธัมมจักกัปวัตตนปริเฉท ตอนว่าด้วย การประกาศพระธรรมจักร

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 18

๑๐. อภิสมยปริเฉท ตอนว่าด้วย การตรัสรู้

๑๑. สาวกสันนิบาตปริเฉท ตอนว่าด้วย การประชุมพระสาวก

๑๒. อัคคสาวกปริเฉท ตอนว่าด้วย พระอัครสาวก

๑๓. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก

๑๔. อัครสาวิกาปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอัครสาวิกา

๑๕. ปริวารภิกขุปริเฉท ตอนว่าด้วย ภิกษุบริวาร

๑๖. รังสิปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธรังสี

๑๗. สรีรปริมาณปริเฉท ตอนว่าด้วย ขนาดพระพุทธสรีระ

๑๘. โพธิสัตตาธิการปริเฉท ตอนว่าด้วย บารมีของพระโพธิสัตว์

๑๙. พยากรณปริเฉท ตอนว่าด้วย การพยากรณ์

๒๐. โพธิสัตตปณิธานปริเฉท ตอนว่าด้วย การตั้งความปรารถนา ของพระโพธิสัตว์

๒๑. อายุปริเฉท ตอนว่าด้วย พระชนมายุ

๒๒. ปรินิพพานปริเฉท ตอนว่าด้วย การเสด็จปรินิพพาน.

ก็แม้ว่าวาระมากวาระที่ท่านมิได้ยกไว้โดยบาลี ก็พึงนำมาไว้ในกถานี้ด้วย. วาระนั้น เป็นอันท่านกำหนดไว้เป็นปริเฉท ๑๐ ปริเฉท คือ

๑. อคารวาสปริเฉท ตอนว่าด้วย การอยู่ครองเรือน

๒. ปาสาทัตตยปริเฉท ตอนว่าด้วย ปราสาท ๓ ฤดู

๓. นาฏกิตถีปริเฉท ตอนว่าด้วย สตรีนักฟ้อน

๔. อัคคมเหสีปริเฉท ตอนว่าด้วย พระอัครมเหสี

๕. ปุตตปริเฉท ตอนว่าด้วย พระโอรส

๖. ยานปริเฉท ตอนว่าด้วย พระราชยาน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 19

๗. อภินิกขมนปริเฉท ตอนว่าด้วย อภิเนษกรมณ์

๘. ปธานปริเฉท ตอนว่าด้วย ทรงบำเพ็ญเพียร

๙. อุปัฏฐากปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธอุปัฏฐาก

๑๐. วิหารปริเฉท ตอนว่าด้วย พุทธวิหาร

แต่ครั้นแสดงวาระมากวาระ แม้นั้น ตามฐานแล้ว ก็จักกล่าวแต่โดยสังเขปในที่นั้นๆ.

พุทธวงศ์นั้น ข้าพเจ้ากำหนดไว้ดังนี้ว่า

พุทธวงศ์นี้ใครแสดง แสดงที่ไหน แสดงเพื่อประโยชน์แก่ใคร แสดงเพื่ออะไร แสดงเมื่อไร คำของใคร ใครนำสืบมา.

ครั้นกล่าววิธีนี้โดยสังเขปหมดก่อนแล้วภายหลัง จึงจักทำการพรรณนาความแห่งพุทธวงศ์.

ในคาถานั้น บทว่า เกนายํ เทสิโต ได้แก่

ถามว่า พุทธวงศ์นี้ใครแสดง.

ตอบว่า พระตถาคต ผู้สำรวจด้วยพระญาณ อันไม่ติดขัด ในธรรมทั้งปวง ทรงทศพลญาณ ทรงแกล้วกล้าในเวสารัชญาณ ๔ จอมทัพธรรมเจ้าของแห่งธรรม ผู้เป็นสัพพัญญู สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ถามว่า ทรงแสดงที่ไหน.

ตอบว่า พระตถาคตเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจงกรม เหนือรัตนจงกรม อันเป็นจุดที่ชุมนุมดวงตาของเทวดาและมนุษย์ งดงามน่าทอดทัศนายิ่งนัก ทรงแสดง ณ นิโครธารามมหาวิหาร ใกล้กบิลพัศดุ์มหานคร.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 20

ถามว่า และทรงแสดงเพื่อประโยชน์แก่ใคร.

ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติ ๘๒,๐๐๐ และแก่เทวดาและมนุษย์หลายโกฏิ.

ถามว่า ทรงแสดงเพื่ออะไร.

ตอบว่า ทรงแสดงเพื่อช่วยสัตว์โลกให้ข้ามโอฆะทั้ง ๔.

ถามว่า ทรงแสดงเมื่อไร.

ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับไม่ประจำอยู่ ๒๐ พรรษา ในปฐมโพธิกาล ที่ใดๆ เป็นที่ผาสุก ก็เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้นๆ นั่นแหละ คือ

๑. พรรษาแรก ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ ให้เหล่าพรหม ๑๘ โกฏิดื่มน้ำอมฤต ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุง พาราณสี.

๒. พรรษาที่ ๒ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน มหาวิหาร กรุงราชคฤห์.

๓. พรรษาที่ ๓ ที่ ๔ ก็ประทับอยู่ พระเวฬุวันมหาวิหารนั้น เหมือนกัน.

๔. พรรษาที่ ๕ ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี.

๕. พรรษาที่ ๖ ประทับอยู่ ณ มกุลบรรพต.

๖. พรรษาที่ ๗ ประทับอยู่ ณ ดาวดึงส์พิภพ.

พรรษาที่ ๘ ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สุงสุมารคิรี แคว้นภัคคะ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 21

๘. พรรษาที่ ๙ ประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี.

๙. พรรษาที่ ๑๐ ประทับอยู่ ณ ราวป่าปาลิเลยยกะ.

๑๐. พรรษาที่ ๑๑ ประทับอยู่ ณ บ้านพราหมณ์ ชื่อนาฬา.

๑๑. พรรษาที่ ๑๒ ประทับอยู่ ณ เมืองเวรัญชา.

๑๒. พรรษาที่ ๑๓ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต.

๑๓. พรรษาที่ ๑๔ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร.

๑๔. พรรษาที่ ๑๕ ประทับอยู่ ณ กบิลพัศดุ์มหานคร.

๑๕. พรรษาที่ ๑๖ ทรงทรมาน อาฬวกยักษ์ ให้สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤต ประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี.

๑๖. พรรษาที่ ๑๗ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์.

๑๗. พรรษาที่ ๑๘ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต.

๑๘. พรรษาที่ ๑๙ ก็ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพตเหมือนกัน.

๑๙. พรรษาที่ ๒๐ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั่นเอง.

ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ไม่ประจำ ๒๐ พรรษาในปฐมโพธิกาล ที่ใดๆ เป็นที่ผาสุก ก็เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้นๆ นั่นแล.

แต่นับตั้งแต่นั้นไป ก็ประทับอยู่เป็นประจำ ณ พระเชตวันมหาวิหาร และบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี.

ก็เมื่อใด พระศาสดาเป็นพระพุทธเจ้า เสด็จจำพรรษาแรก ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ออกพรรษา ปวารณาแล้ว เสด็จ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 22

ไปยังตำบลอุรุเวลา จำพรรษาไตรมาส* ณ ที่นั้น ทรงทรมาณชฎิลสามพี่น้อง ทำภิกษุจำนวนหนึ่งพันรูปเป็นบริวาร แล้วเสด็จไปกรุงราชคฤห์กลางเดือนผุสสมาส** ประทับอยู่ ณ ที่นั้นสองเดือน เมื่อนั้น เมื่อพระองค์เสด็จออกจาก กรุงพาราณสี ก็กินเวลาเข้าไปห้าเดือน. ล่วงฤดูหนาวไปสิ้นทั้งฤดู นับแต่วันที่ท่านพระอุทายีเถระมาถึง ก็ล่วงไป ๗ - ๘ วัน. ก็ท่านพระอุทายีเถระนั้น ใน ราวกลางเดือนผัคคุน [เดือน ๘] ก็ดำริว่า ฤดูเหมันต์ล่วงไปทั้งฤดู ฤดูวสันต์ก็มาถึงแล้ว เป็นสมัยควรที่พระตถาคตจะเสด็จไปกรุงกบิลพัศดุ์ได้ ท่านครั้นดำริ อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวพรรณาการเสด็จไปด้วยคาถา ๑๐ คาถา เพื่อประโยชน์ แก่องค์พระศาสดาจะเสด็จไปยังพระนครแห่งสกุล. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงสดับคำของท่าน มีพระพุทธประสงค์จะทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติ จึงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพหมดด้วยกันสองหมื่นรูป คือ ที่เป็นกุลบุตรชาวอังคะและมคธะหมื่นรูป ที่เป็นกุลบุตรชาวกรุงกบิลพัศดุ์หมื่นรูป นับจากกรุงราชคฤห์ ถึงกรุงกบิลพัศดุ์ ระยะทาง ๖๐ โยชน์ สองเดือนจึงถึง ได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ เพื่อให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคม ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์นี้.

ถามว่า คำของใคร.

ตอบว่า พระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว ไม่ทั่วไป แก่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ถามว่า ใครนำมาเล่า.

ตอบว่า อาจารย์นำสืบๆ กันมา จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้อันพระเถระ ทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ พระภัททชิ พระติสสะ พระ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 23

สิคควะ พระโมคคัลลีบุตร พระสุทัตตะ พระธัมมิกะ พระทาสกะ พระโสณกะ พระเรวตะ นำสืบกันมาถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ แม้ต่อแต่นั้นไป ศิษยานุศิษย์ของพระเถระเหล่านั้นนั่นแหละ ก็ช่วยกันนำมา เหตุนั้น จึงควรทราบว่า อาจารย์นำสืบๆ กันมาตราบเท่าปัจจุบันนี้ อย่างนี้ก่อน.

คาถานี้

พุทธวงศ์นี้ใครแสดง แสดงที่ไหน แสดงเพื่อ ประโยชน์แก่ใคร แสดงเพื่ออะไร แสดงเมื่อไร คำของใคร และใครนำสืบกันมา.

เป็นอันมีความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ด้วยกถามีประมาณเท่านี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 24

นิทานกถา

พาหิรนิทาน

บัดนี้ จะพรรณาความแห่งพุทธวงศ์นั้น ที่นำกันสืบมาอย่างนี้ ก็เพราะเหตุที่การพรรณาความนี้ จำต้องแสดงนิทาน ๓ เหล่านี้คือ ทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน และสันติเกนิทาน แล้วพรรณนา จึงชื่อว่าเป็นอันพรรณนาด้วยดี เเละชื่อว่า ผู้ที่ฟังนิทานนั้นรู้เรื่องได้ เพราะรู้มาตั้งแต่ต้นเหตุที่เกิด ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแสดงนิทานเหล่านั้นแล้ว จึงจักพรรณนา.

ในนิทานนั้น พึงทราบปริเฉทตอนของนิทานเหล่านั้น เริ่มตั้งแต่ต้นก่อน การแสดงความโดยสังเขป ในนิทานนั้นดังนี้ ตั้งแต่พระมหาสัตว์บำเพ็ญบารมี แทบเบื้องบาทของพระทศพลพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร จน จุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้ว บังเกิดในภพดุสิต กถาที่เป็นไปเพียง เท่านั้นชื่อว่า ทูเรนิทาน.

ตั้งแต่จุติจากภพดุสิต จนเกิดพระสัพพัญญุตญาณ ที่โพธิมัณฑสถาน กถาที่เป็นไปเพียงเท่านั้น ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน.

ตั้งแต่ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน จนถึงเตียงเป็นที่ปรินิพพาน ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใดๆ ที่นั้นๆ เช่นว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ว่าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ และว่าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลีดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน.

การพรรณนาพาหิรนิทาน นิทานนอก ๓ นิทาน คือทูเรนิทาน อวิทูเรนิทานและสันติเกนิทาน โดยสังเขปนี่แล เป็นอันจบด้วยนิทานกถาเพียงเท่านี้.

จบพาหิรนิทาน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 25

อัพภันตรนิทาน

พรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์

ก็บัดนี้ จะพรรณนาความแห่งอัพภันตรนิทาน ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า

ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูล ขอพรอันยอดเยี่ยมว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสดุจธุลีใน ดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระองค์ทรงเอ็นดูหมู่สัตว์นี้แสดงธรรมโปรดเถิด.

ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า เหตุไรท่านไม่กล่าวนิทานโดยนัยเป็นต้นว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธวงศ์ดังนี้ แต่กล่าวนิทานโดยนัยเป็นต้นว่า ท้าวสหัมบดีพรหม เจ้าโลก ประคองอัญชลีทูลขอพรอันยอดเยี่ยม ดังนี้. ขอชี้แจงดังนี้ว่า ท่านกล่าวดังนั้น ก็เพื่อชี้ถึงการทูลขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม อันเป็นเหตุแห่งการแสดงธรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอชี้แจงปัญหานี้ที่ว่า

พระชินพุทธเจ้านี้ถูกพรหมอาราธนา เพื่อทรงแสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ ใครยกขึ้นกล่าว กล่าวเมื่อไร และที่ไหน.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 26

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า เข้าสัปดาห์ที่ ๘ พระศาสดา ก็ถูกพรหมทูลอาราธนาอ้อนวอน เพื่อทรงแสดงธรรม.

ในเรื่องนั้น กล่าวความตามลำดับ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในวันเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พระมหาบุรุษทรงเห็นนางรำ นักสนมนอนผ้าผ่อนเปิดน่าเกลียด ทรงสังเวชพระหฤทัยยิ่งนัก เรียก นายฉันทะ ผู้ปิดกายด้วยผ้าส่วนหนึ่งตรัสว่า เจ้าจงนำม้าฝีเท้าดี ชื่อ กัณฐกะ ที่ข่มข้าศึกตัวยงได้ ให้นำม้ากัณฐกะมาแล้ว ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จขึ้นทรงม้า เมื่อเทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ประตูพระนคร เปิดประตูพระนครแล้ว ก็ออกจากพระนครไป ผ่าน ๓ ราชอาณาจักร โดยส่วนที่เหลือจากสมบัติที่พระราชาพระองค์นั้นทรงยินดีแล้ว ทรงเป็นสัตว์ที่ไม่ต่ำทราม ประทับยืนริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสกะนายฉันนะเท่านั้นว่า ฉันนะ เจ้าจงพาเครื่องอาภรณ์ที่ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ เหล่านี้ และกัณฐกะม้าฝีเท้าดีของเรากลับไปกรุงกบิลพัสดุ์นะ ทรงปล่อยนายฉันนะแล้ว ก็ทรงตัดมกุฏผ้าโพกพร้อมกับพระเกศา ด้วยดาบคือพระขรรค์อันคมกริบ เสมือนกลีบบัวขาบ แล้วเหวี่ยงไปในอากาศ ทรงถือบาตรจีวรที่เทวดาถวาย ทรงผนวชด้วยพระองค์เองเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำคงคา ที่มีคลื่นหักโหมปั่นป่วนเพราะแรงลม ได้ไม่ติดขัด เสด็จเข้าสู่พระนครชื่อว่าราชคฤห์ ที่มีราชนิเวศน์โชติช่วงด้วย ข่ายรัศมีแห่งหมู่แก้วมณี ทรงไม่ติดขัดด้วยการเสด็จดำเนิน มีพระอินทรีย์สงบ มีพระมนัสสงบ ทรงแลดูชั่วแอก ประหนึ่งทรงปลอบชนผู้มัวเมาเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ แห่งกรุงราชคฤห์นั้น ประหนึ่งทรงทำให้เกิดความละอาย แก่ชนผู้มีเพศอันฟุ้งเฟ้อแล้ว ประหนึ่งทรงผูกหัวใจของชนชาวกรุงไว้ในพระองค์ ด้วยความรักในวัย ประหนึ่งทรงแย่งดวงตาของชนทุกคนด้วยพระสิริรูป ที่ส่องประกายด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 27

กองบุญ และประหนึ่งบรรพตที่เดินได้ด้วยพระบาทที่มีรูปงาม เสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับอาหารเพียงยังอัตภาพให้พอเป็นไปได้ เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ประทับนั่ง ณ โอกาสสงัดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เป็นภูมิภาคสะอาด พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ข้างปัณฑวบรรพต เสวยอาหารที่คลุกกัน อันพระเจ้าพิมพิสารมหาราช แห่งอาณาจักรมคธ เสด็จไปหาพระมหาบุรุษ ตรัสถามพระนามและพระโคตรแล้ว มีพระราชหฤทัยบันเทิงกับพระองค์ ทรงเชื้อเชิญด้วยราชสมบัติว่า ขอทรงโปรดรับราชสมบัติส่วนหนึ่งของหม่อมฉันเถิด. ด้วยพระสุรเสียงไพเราะดังบัณเฑาะว์ตรัสตอบว่า อย่าเลยพระมหาราชเจ้า หม่อมฉันไม่ประสงค์ด้วยราชสมบัติดอก หม่อมฉันละราชสมบัติมาประกอบความเพียร เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีกิเลสดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก ดังนี้แล้วเสด็จออกไป อันพระเจ้าพิมพิสารพระองค์นั้นตรัสวอนว่า พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อนแคว้นอื่นทั้งหมด ทรงถวายปฏิญญา คำรับรองแด่พระเจ้าพิมพิสารนั้นว่า สาธุ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสและอุทกดาบส ไม่ทรงพบสาระแห่งธรรมเทศนาของดาบสทั้งสองท่านนั้น ก็ทรงหลีกออกจากที่นั้น แม้ทรงทำทุกกรกิริยาถึง ๖ ปี ณ ตำบลอุรุเวลา ก็ไม่อาจบรรลุอมตธรรมได้ ทรงทำพระสรีระให้อิ่มหนำสำราญด้วยการเสวยพระกระยาหารอย่างหยาบ.

ครั้งนั้น หญิงรุ่นชื่อ สุชาดา ธิดาของกุฎุมพีเสนานิคม ในตำบลอุรุเวลา เสนานิคม โตเป็นสาวแล้วทำความปรารถนา ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้าดิฉันไปเรือนสกุลที่มีชาติสมกัน [มีสามี] ได้ลูกชายในท้องแรกก็จักทำพลีกรรมสังเวย. ความปรารถนาของนางสำเร็จแล้ว ในวันเพ็ญเดือน ๖ นาง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 28

ดำริว่า วันนี้จักทำพลีกรรม พอเช้าตรู่จึงให้จัดข้าวปายาสที่ไม่แข้นแข็ง มีรสอร่อยอย่างยิ่ง. ในวันนั้นนั่นเอง แม้พระโพธิสัตว์ทรงทำสรีรกิจแล้ว คอยเวลาภิกษาจาร เช้าตรู่ก็เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนต้นไทรนั้น. ครั้งนั้น ทาสีชื่อ ปุณณา แม่นมของนางสุชาดาเดินไปหมายจะทำความสะอาดที่โคนต้นไทร ก็พบพระโพธิสัตว์ประทับนั่งสำรวจโลกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่ ผู้มีพระสรีระงาม เสมือนยอดภูเขาทองซึ่งเรื่องรองด้วยแสงสนธยา ผู้เป็นดวงอาทิตย์แห่งมุนี ผู้เข้าไปสู่ต้นไม้อันประเสริฐ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ผู้ทำการฝังตัวลง ในกลุ่มมืด [กำจัดมืด] ผู้ทำความแย้มผลิแห่งดงบัว ผู้สอดเข้าสู่หลืบเมฆ. เพราะเห็นต้นไม้นั้นมีสีเหมือนสีทองหมดทั้งต้น โดยรัศมีที่แล่นออกจากพระสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น นางปุณณาทาสีจึงคิดว่า วันนี้เทวดาของเราลงจาก ต้นไม้ คงอยากจะรับเครื่องพลีกรรมด้วยมือตนเอง จึงมานั่งคอย. นางจึงรีบไปบอกความเรื่องนั้นแก่นางสุชาดา.

จากนั้น นางสุชาดาเกิดศรัทธาขึ้นมาเอง ก็แต่งตัวด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง บรรจุถาดทองมีค่านับแสนเต็มด้วยข้าวมธุปายาสมีรสอร่อยอย่างยิ่ง ปิดด้วยถาดทองอีกถาดหนึ่ง เทินศีรษะ เดินมุ่งหน้าตรงต้นไทร. นางกำลังเดินไป เห็นพระโพธิสัตว์นั้นแต่ไกล ประทับนั่งงดงามเหมือนกองบุญ ทำต้นไม้นั้นทั้งต้น มีสีเหมือนสีทองด้วยรัศมีแห่งพระสรีระ ประหนึ่งรุกขเทวดา ก็เกิดปีติปราโมทย์ เดินน้อมตัวลงตั้งแต่ที่เห็นด้วยเข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดา ปลงถาดทองนั้นลงจากศีรษะ ประคองวางไว้ในพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์ แล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์กล่าวว่า มโนรถ ความปรารถนาของดิฉันสำเร็จแล้ว ฉันใด มโนรถแม้ของพระองค์ก็จงสำเร็จฉันนั้นเถิด แล้วก็กลับไป.

ครั้งนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงถือถาดทอง เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว้ที่ริมฝั่งใกล้ท่าน้ำชื่อสุปปติฏฐิตะ สรงสนานแล้ว

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 29

เสด็จขึ้น ทรงทำเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน เสวยข้าวปายาสนั้นแล้วทรงลอยถาดทองนั้นลงไป พร้อมทรงอธิษฐานว่า ถ้าวันนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ขอถาดทองนี้ จงลอยทวนน้ำ ถาดนั้นก็ลอยทวนน้ำ เข้าไปยังภพของพระยานาค ชื่อว่า กาฬนาคราช ยกถาดของพระพุทธเจ้าสามพระองค์ขึ้นแล้วตั้งอยู่ข้าง ใต้ถาดเหล่านั้น.

พระมหาสัตว์ประทับพักกลางวัน ณ ราวป่านั้นนั่นแล เวลาเย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ทราบอาการของพระมหาบุรุษถวายแล้ว เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน ประทับยืน ณ ทิศทักษิณ. ประเทศนั้นก็ไหวเหมือนหยาดน้ำบนใบบัว. พระมหาบุรุษทรงทราบว่า ประเทศตรงนี้ไม่อาจทรงคุณของเราได้ ก็เสด็จไปทิศปัศจิม. แม้ประเทศตรงนั้นก็ไหวเหมือนกัน จึงเสด็จไปทิศอุดรอีก แม้ประเทศตรงนั้นก็ไหวเหมือนกัน จึงเสด็จไปทิศบูรพาอีก ในทิศนั้น สถานที่ขนาดบัลลังก์ มิได้ไหวเลย พระมหาบุรุษทรงสันนิษฐานว่า ที่นี้เป็นสถานที่กำจัดกิเลสแน่จึงทรงจับปลายหญ้าเหล่านั้น สะบัด. หญ้าเหล่านั้น ได้เรียงเรียบเหมือนถูกกำหนดด้วยปลายแปรงทาสี พระโพธิสัตว์ก็ทรงอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ว่า เราไม่บรรลุโพธิญาณแล้ว จักไม่ทำลายบัลลังก์ แล้วทรงคู้บัลลังก์นั่งขัดสมาธิ ประทับนั่งให้ต้นโพธิ์อยู่ เบื้องพระปฤษฏางค์ หันพระพักตร์ออกสู่ทิศบูรพา.

ทันใดนั้นเอง มารผู้รังควานโลกทั้งปวง ก็เนรมิตแขนพันแขนขึ้น ขี่พระยาช้าง ผู้กำจัดศัตรูตัวยง ชื่อ คิริเมขละ ขนาด ๑๕๐ โยชน์ เสมือนยอดเขาหิมวันตคิรี ถูกห้อมล้อมด้วยพลมารหนาแน่นยิ่งนัก มีพลธนู พลดาบ พลขวาน พลศร พลหอกเป็นกำลัง ครอบทะมึนโดยรอบดุจภูเขา ยาตรเบื้องเข้าหาพระมหาสัตว์ผู้เป็นประดุจศัตรูใหญ่ พระมหาบุรุษ เมื่อดวงอาทิตย์

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 30

ตั้งอยู่นั่นแล ก็ทรงกำจัดพลมารจำนวนมากมายได้ ถูกบูชาด้วยยอดอ่อนโพธิที่ งดงามน่าดูเสมือนหน่อแก้วประพาฬสีแดง ซึ่งร่วงตกลงบนจีวรที่มีสีเสมือนดอก ชะบาแย้ม ประหนึ่งแทนปีติทีเดียว ปฐมยาม ก็ทรงได้บุพเพนิวาสานุสสติญาณ มัชฌิมยาม ก็ทรงชำระทิพยจักษุญาณ ปัจฉิมยาม ก็ทรงหยั่งพระญาณลง ในปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาวัฏฏะและวิวัฏฏะ พออรุณอุทัยก็ทรงเป็นพระพุทธเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

เราแสวงหาช่างผู้สร้างเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ ก็ท่องเที่ยวไปสิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์. ดูก่อนช่างผู้สร้างเรือนคือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนคืออัตภาพอีกไม่ได้ โครงเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาทั้งหลายแล้ว.

ทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน วันที่ ๘ ทรงออกจากสมาบัติ ทรงทราบความสงสัยของเทวดาทั้งหลายทรงเหาะไปในอากาศ เพื่อกำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์กำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับยืน ณ เบื้องทิศอุดร เยื้องทิศบูรพาจากบัลลังก์ ไปนิดหน่อย ทรงจ้องดูบัลลังก์และต้นโพธิ สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีทั้งหลายที่ทรงบำเพ็ญมาถึงสี่อสงไขยแสนกัป ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบว่า เราแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เหนือบัลลังก์นี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้นจึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 31

ต่อจากนั้น เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ต่อจากทิศบูรพาและทิศปัศจิมระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้นจึงชื่อ ว่ารัตนจังกมเจดีย์.

เทวดาทั้งหลาย ช่วยกันเนรมิตเรือนแก้วถวายในส่วนทิศปัศจิม ต่อจากนั้น ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ที่นั้นทรงพิจารณาเฟ้นพระอภิธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์สมันตปัฏฐาน ที่มีนัยไม่มีที่สุด ณ ที่นั้น ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.

พระพุทธเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ใกล้ๆ ต้นโพธิ ๔ สัปดาห์อย่างนี้แล้ว ใน สัปดาห์ที่ ๕ จึงออกจากโคนต้นโพธิ์ เสด็จเข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ. แม้ในที้นั้นก็ทรงพิจารณาเฟ้นธรรม และเสวยวิมุตติสุข ทรงยับยั้งอยู่ ณ อชปาลนิโครธ ๗ วัน.

ประทับนั่ง ณ มุจลินท์ ต้นจิกด้วยอาการอย่างนี้อีก ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้า พอประทับนั่งในที่นั้นเท่านั้น มหาเมฆซึ่งมิใช่ฤดูกาลก็เกิดขึ้นเต็ม ทั่วห้องจักรวาล เมื่อมหาเมฆเกิดขึ้นแล้ว พระยานาคชื่อมุจลินท์ก็คิดว่า เมื่อพระศาสดาพอเสด็จเข้าสู่ภพของเรา มหาเมฆนี่ก็เกิดขึ้น ควรได้อาคารที่ประทับอยู่ สำหรับพระศาสดานั้น พระยานาคนั้นแม้จะสามารถเนรมิตวิมานทิพย์ได้เหมือนวิมานเทพ อันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ก็คิดว่า เมื่อเราสร้างวิมานอย่างนี้ จักไม่มีผลมากแก่เรา จำเราจักขวนขวายด้วยกายตนเองเพื่อพระทศพล จึงทำอัตภาพให้ใหญ่ยิ่งล้อมพระศาสดาไว้ด้วยขนด ๗ ชั้น แผ่พังพานไว้ข้างบน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บัลลังก์มีค่ายิ่ง ที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ เพดานมีพวงดอกไม้หอมต่างชนิดห้อยอยู่เบื้องบน อบด้วยกลิ่นหอมต่างชนิด ในโอกาสใหญ่ภายในขนดล้อม เหมือนประทับอยู่ในพระคันธ-

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 32

กุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่ต้นมุจลินท์นั้นตลอด ๗ วันนั้นอย่างนี้ ต่อจากนั้น ก็ประทับนั่ง ณ ราชายตนะต้นเกดอีก ๗ วัน เสวยวิมุตติสุขอยู่ในที่นั้นนั่นแล ด้วยอาการดังกล่าวมานี้ ก็ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์ ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในฌานและสุขในผล.

ครั้นล่วงไป ๗ สัปดาห์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็เกิดจิตคิดจะบ้วนพระโอษฐ์ ท้าวสักกะจอมทวยเทพก็นำผลสมอที่เป็นยาถวาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะได้ถวายไม้สีฟันชื่อนาคลดา และน้ำบ้วนพระโอษฐ์แด่พระองค์ ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเคี้ยวไม้สีฟัน ทรงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำในสระอโนดาต ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ สมัยนั้น เมื่อท้าวจตุโลกบาล น้อมบาตร ศิลามีค่ายิ่งเข้าไปถวาย ทรงรับข้าวสัตตูผงและสัตตูก้อนของพาณิชชื่อตปุสสะ และ ภัลลิกะ [ด้วยบาตรนั้น] เสวยเสร็จแล้วเสด็จกลับมาประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ. ลำดับนั้น พระองค์พอประทับนั่ง ณ ทีนั้นเท่านั้น ทรงพิจารณาทบทวนถึงภาวะแห่งธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นธรรมลุ่มลึก ก็ทรงเกิดปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประพฤติมา ถึงอาการคือความที่มีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ตรึกคาดคิดเอาไม่ได้ ละเอียด บัณฑิตพึงรู้.

ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมล่วงรู้ถึงจิตปริวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจตนแล้ว ก็เปล่งวาจาว่า น่าที่โลกจะพินาศละสิหนอ น่าที่โลกจะพินาศละสิหนอ อันหมู่พรหมในหมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว อันท้าวสักกะ ท้าว สุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมิต ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีติดตามเสด็จมา ปรากฏอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงเนรมิต

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 33

ผืนแผ่นดิน เพื่อเป็นที่ประทับยืนของพระองค์เอง จึงทรงคุกชาณุมณฑล [เข่า] เบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ทรงทำอัญชลี ประนมกรที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมือนบัวตูมเกิดในน้ำไร้มลทินไม่วิกลขึ้นเหนือเศียร ทูลวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงธรรม ด้วยนัยมิใช่น้อยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าจงทรงแสดง ธรรมโปรดเถิด หมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ยังมีอยู่ เพราะไม่ได้สดับธรรม ก็ย่อมเสื่อมเสียประโยชน์ไปเปล่า หมู่สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม คงจักมีแน่แท้ ดังนี้

แต่ก่อนในแคว้นมคธ ปรากฏมีแต่ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ อันมีผู้มีมลทินคิดแล้ว ประตูแห่งอมตนคร ก็ยังมิได้เปิด ขอหมู่สัตว์จงสดับธรรมที่พระผู้ไร้มลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ชนผู้ยืนอยู่เหนือยอดภูผาหิน จะพึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบแม้ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ พระองค์ปราศจากโศกแล้วจง เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ที่สำเร็จด้วยธรรม โปรดพิจารณาดูหมู่ชน ผู้ระงมด้วยโศก ถูกชาติชราครอบงำแล้ว ก็อุปมาฉันนั้น ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะสงครามแล้ว ผู้ประดุจนายกองเกวียน ไม่เป็นหนี้ โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์เถิด หมู่สัตว์ที่รู้ทั่วถึงธรรม คงจักมีเป็นแน่ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 34

พระองค์ตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้แล้ว ทรงข้ามโอฆะที่พระองค์ควรข้ามแล้ว ทรงหลุดพ้นทุกข์ที่พระองค์ควรหลุดพ้นแล้ว มิใช่หรือ ดังนี้.

ทรงทำความปรารถนาไว้ว่า

ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ด้วยการทำให้แจ้งธรรม ในโลกนี้ เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว จักยังโลกนี้กับทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร ดังนี้.

ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว. และว่า เมื่อพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรม คนอื่นใครเล่า จักแสดงธรรม, สิ่งอื่นอะไรเล่า จะเป็นสรณะของโลก จะเป็นเครื่องช่วย เครื่องเร้น เครื่องนำไปเบื้องหน้า. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าเข้าสัปดาห์ที่ ๘ พระศาสดาก็ถูกพรหมทูลอ้อนวอน เพื่อทรงแสดงธรรม.

บัดนี้ ถึงโอกาสตอบปัญหาเหล่านี้ที่ว่า คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าวเมื่อไร และที่ไหน ในปัญหานั้นถามว่า คาถานี้ท่านกล่าวเมื่อไร ตอบว่า กล่าวครั้งทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก การสังคายนาใหญ่ครั้งแรกนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในสังคีติขันธกะ. ถามว่า ใครกล่าวที่ไหน. ตอบว่า ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว คาถานี้ว่า พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านพระอานนทเถระ ผู้นั่งอยู่ ณ ธรรมาสน์ในมณฑปสารมัณฑะ สถานที่ควรเห็นคล้ายดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ชนะศัตรูทุกคน มหาราชแห่งแคว้นมคธ ทรงให้สร้างไว้ใกล้ประตูสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภาระ พระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาธรรม กล่าวไว้แล้ว ความสัมพันธ์แห่งคาถา ในเรื่องนี้ มีดังนี้

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 35

แม้คาถานี้ว่า

พระชินพุทธเจ้านี้ อันพรหมอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมเมื่อไร ก็คาถานี้ใครยกขึ้นกล่าว กล่าวเมื่อไร กล่าวที่ไหน

มีเนื้อความที่กล่าวไว้แล้ว แต่ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่ยาก แห่งคาถานี้ที่กล่าวแล้ว โดยความสัมพันธ์นี้ ดังต่อไปนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา ความว่า ชื่อว่าพรหม เพราะเป็นผู้เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้นๆ ก็ พรหม ศัพท์นี้ ปรากฏอยู่ในอรรถทั้งหลาย มีมหาพรหม พราหมณ์ พระตถาคต มารดาบิดา และผู้ประเสริฐสุดเป็นต้น. จริงอย่างนั้น พรหมศัพท์ ท่านหมายว่ามหาพรหม ในประโยคเป็นต้นว่า ทฺวิสหสฺโส พฺรหฺมา มหาพรหมสองพัน. ท่านหมายว่าพราหมณ์ในคาถานี้ว่า

ตโมนุโท พุทฺโธ สมนฺตจกฺขุ

โลกนฺตคู สพฺพภวาติวตฺโต

อนาสโว สพฺพทุกฺขปฺปหีโน

สจฺจวฺหโย พฺรหฺเม อุปาสิโต เม.

ดูก่อนพราหมณ์ พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความมืด ผู้มีพระจักษุโดยรอบ ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพทั้งปวง ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ได้หมด เรียกกันว่า พระสัจจะ เราก็เข้าเฝ้าใกล้ชิด.

ท่านหมายว่า พระตถาคต ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมาติ โข ภิกฺขเว ตถาคตสฺเสตํ อธิวจนํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายว่า พรหม นี้แลเป็นชื่อของ ตถาคต.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 36

ท่านหมายว่า มารดาบิดา ในบาลีนี้ว่า

พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร มารดาบิดาเรา เราเรียกว่าพรหม เรียกว่าบุรพาจารย์.

ท่านหมายว่าประเสริฐสุด ในบาลีนี้ว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ทรงยังจักรอันประเสริฐสุดให้เป็นไป.

ส่วนในที่นี้ ท่านผู้เจริญปฐมฌานอันประณีตแล้วบังเกิดในภูมิแห่งปฐมฌาน ท่านหมายว่ามหาพรหมมีอายุกัปหนึ่ง. ศัพท์ มีอรรถว่ารวมความอธิบายว่า พรหมและพรหมเหล่าอื่นในหมื่นจักรวาล. หรือว่า ศัพท์เป็นเพียงทำบทให้เต็ม. โลก ๓ คือสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก ชื่อว่า โลก ในคำว่า โลกาธิปตินี้. ในโลกทั้ง ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาสัตวโลก. ชื่อว่าโลกาธิปติ เพราะเป็นใหญ่เป็นเจ้าแห่งสัตวโลกนั้น ผู้เป็นเจ้าส่วนหนึ่งแห่งโลก ท่านก็เรียกว่า โลกาธิบดี เหมือนเทวาธิบดี นราธิบดี.

บทว่า สหมฺปติ ความว่า เล่ากันมาว่า พรหมองค์นั้น เป็นพระเถระ ชื่อว่า สหกะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ทำปฐมฌานให้เกิดแล้ว ฌานไม่เสื่อม จบชีวิต ก็บังเกิดเป็นมหาพรหมมีอายุหนึ่งกัป ในปฐมฌานภูมิ. แต่ในสมัยนั้น เขาก็จำพรหมองค์นั้นกันได้ว่า ท้าวสหัมบดีพรหม ท่านกล่าวหมายถึงพรหมพระองค์นั้น คนทั้งหลาย เมื่อควรจะกล่าวว่า สหกปติ แต่ก็กล่าวเสียว่า สหมฺปติ โดยลงนิคคหิตอาคม ขยายคำออกไป. บทว่า กตญฺชลี แปลว่า มีอัญชลีอันทำแล้ว อธิบายว่า ทำกระพุ่มอัญชลีไว้เหนือเศียร. บทว่า อนธิวรํ ความว่า พรที่ล่วงส่วน พรที่ยิ่ง ไม่มีแก่พรนั้น เหตุนั้น พรนั้น ชื่อว่าไม่มีพรที่ยิ่ง หรือว่าชื่อว่า อนธิวรํ เพราะ ไม่มีพรที่ยิ่งไปกว่านั้น อธิบายว่ายอดเยี่ยม พรอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า อยาจถ ได้แก่ ได้วอนขอ ได้เชื้อเชิญ.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 37

บัดนี้ ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประ โยชน์ใด เพื่อแสดงประโยชน์นั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สนฺตีธ สตฺตา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ อันเขาได้อยู่ อธิบายว่าสัตว์ทั้งหลายที่มาสู่คลองพุทธจักษุ [ปรากฏ] มีอยู่. ศัพท์ว่า อิธ นี่เป็นนิบาต ใช้ในการอ้างถึงถิ่นที่ ศัพท์ว่า อิธ นี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงศาสนา เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิเธว ภิกขเว สมโณ อิธ ทุติโย สมโณ อิธ ตติโย สมโณ อิธ จตุตฺโถ สมโณ สุญฺา ปรปฺปวาทา สมเณกิ อญฺเหิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.

บางแห่งหมายถึง โอกาส เหมือนอย่างที่ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า

อิเธว ติฏฺมานสฺส เทวภูตสฺส เม สิโต

ปุนรายุ จ เม ลทฺโธ เอวํ ชานาหิ มาริส.

เมื่อเราเป็นเทพตั้งอยู่ในโอกาสนี้นี่แล เราก็ได้

อายุต่อไปอีก โปรดทราบอย่างนี้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์.

บางแห่ง ก็เป็นเพียง ปทปูรณะ ทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแลบริโภคอาหารเสร็จแล้ว ก็พึงห้าม ไม่ให้เขาถวายอีก [โดยชัก พระหัตถ์ออกจากบาตร] บางแห่งหมายถึงโลก เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก แม้ในที่นี้ อิธ ศัพท์ ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงโลกเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงมีความว่าในสัตวโลกนี้. บทว่า สตฺตา ความว่า ชนทั้งหลาย ติด ขัด ข้อง คล้อง เกี่ยว อยู่ในขันธ์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 38

มีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยฉันทราคะ เหตุนั้นจึงชื่อว่า สัตตะ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ท่านเรียกว่า สัตตะ แต่เพราะศัพท์ขยายความ โวหารนี้ จึงใช้แม้ในท่านผู้ ปราศจากราคะแล้วเท่านั้น.

บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า กิเลสดุจธุลีคือราคะ โทสะ และ โมหะ ในดวงตาที่สำเร็จด้วยปัญญาของสัตว์เหล่านั้น มีเล็กน้อย และสัตว์เหล่านั้น ก็มีสภาพอย่างนั้น เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย หรือว่า กิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อย. พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพ แก่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพเหล่านั้น พึงทำการเปลี่ยนวิภัตติว่า สตฺตานํ แล้วทำการเชื่อมกับคำนี้ว่า เทเสหิ ธมฺมํ ก็เห็นความได้. คำว่า เทเสหิ นี้เป็นคำวอนขอ. อธิบายว่าโปรดแสดง กล่าว สอน. ในคำว่า ธมฺมํ นี้ ธัมม ศัพท์นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ธัมม ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ปริยัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํฯ เปฯ เวทลฺลํ ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ เวทัลละ ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า ปัญญา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา วานรินฺท ยถา ตว

สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ทิฏฺํ โส อติวตฺตติ.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 39

ท่านพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการคือ

สัจจะ ธรรมะ [ปัญญา] ธิติ จาคะ เหมือนอย่างท่าน

ผู้นั้น ย่อมล่วงศัตรูเสียได้.

ใช้ในอรรถว่า ปกติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ชาติธมฺมา ชราธมฺมา อโถ มรณธมฺมิโน สัตว์ทั้งหลาย มีชาติเป็นปกติ มีชราเป็นปกติและมีมรณะเป็นปกติ.

ใช้ในอรรถว่า สภาวะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา

ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรมฝ่ายกุศล สภาวธรรมฝ่าย

อกุศล สภาวธรรมฝ่ายอัพยากฤต.

ใช้ในอรรถว่า สุญญตา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย

ธมฺมา โหนฺติ ขนฺธา โหนฺติ สมัยนั้นก็มีแต่ความว่างเปล่า มีแต่

ขันธ์.

ใช้ในอรรถว่า บุญ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมา-

วหาติ บุญอันบุคคลสั่งสมไว้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข.

ใช้ในอรรถว่า อาบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เทฺว อนิยตา ธมฺมา อาบัติอนิยต มี ๒ สิกขาบท.

ใช้ในอรรถว่า เญยยะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สพฺเพ ธมฺมา สพฺพา-

กาเรน พุทฺธสฺส ภควโต าณมุเข อาปาถํ อาคจฺฉนฺติ เญยยธรรม

ทั้งหมด มาปรากฏในมุขคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง.

ใช้ในอรรถว่า จตุสัจธรรม ได้ในบาลีว่า ทิฏฺธมฺโม ปตฺตธมฺโม

วิทิตธมฺโม ผู้มีสัจธรรม ๔ อันเห็นแล้ว ผู้มีสัจธรรม ๔ อันบรรลุแล้ว ผู้มี

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 40

สัจธรรม ๔ อันรู้แล้ว แม้ในที่นี้ ธัมม ศัพท์ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า จตุสัจธรรม. บทว่า อนุกมฺป ได้แก่ โปรดทรงทำความกรุณาเอ็นดู ท่านกล่าวชี้หมู่สัตว์ด้วยบทว่า อิมํ. บทว่า ปชํ ความว่า ชื่อว่า ปชา เพราะเป็นสัตว์เกิดแล้ว ซึ่งหมู่สัตว์นั้น. อธิบายว่า ขอจงโปรดปลดปล่อยหมู่สัตว์จากสังสารทุกข์ด้วยเถิด. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า

พระผู้เป็นใหญ่ในโลกคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้

สูงสุดในนรชน อันหมู่พรหมทำอัญชลีทูลวอนขอแล้ว.

คาถานี้ มีความที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ด้วยกถาเพียงเท่านี้.

ครั้งนั้น พระมหากรุณาเกิดขึ้นโดยเพียงทำโอกาสในสัตว์ทั้งปวง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีกำลังแห่งพระกรุณาผุดขึ้นในสมัยที่กำหนดไม่ได้ เพราะทรงสดับคำวอนขอของท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงมีพระกำลังสิบ ทรงสำรวจ ด้วยพระมติอันละเอียดในการทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. แต่ครั้งทำสังคายนา ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงความเกิดพระกรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงตั้งคาถานี้ว่า

ความมีพระกรุณาในสรรพสัตว์ เกิดขึ้นแด่พระตถาคต ผู้มีวิชชาและจรณะพรักพร้อมแล้ว ผู้คงที่ผู้ทรงความรุ่งโรจน์ ทรงพระกายครั้งสุดท้าย ไม่มีบุคคลจะเปรียบปานได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวิชฺชาจรณสฺส ความว่า ชื่อว่า สัมปันนะ มี ๓ คือ ปริปุณณสัมปันนะ สมังคิสัมปันนะ และ มธุรสัมปันนะ ในสัมปันนะนั้น สัมปันนะ นี้ว่า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 41

สมฺปนฺนํ สาลิเกทารํ สุวา ภุญฺชนฺติ โกสิย

ปฏิเวเทมิ เต พฺรหฺเม น นํ วาเรตุมุสฺสเห.

ดูก่อนโกสิยพราหมณ์ นกแขกเต้าทั้งหลายกินข้าวสาลีในนาที่ บริบูรณ์ ดูก่อนพราหมณ์ เราขอแจ้งให้ท่านทราบ ท่านจะไม่อุตสาหะป้องกันข้าวสาลีในนานั้นหรือ.

ชื่อว่า ปริปุณณสัมปันนะ.

สัมปันนะ นี้ว่า อิมินา ปาติโมกฺขสํวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต

อุปคโต สมุปคโต สมฺปนฺโน สมนฺนาคโต ภิกษุ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว พรั่งพร้อมแล้ว ประกอบ

ด้วยปาติโมกขสังวรนี้. ชื่อว่า สมังคิสัมปันนะ.

สัมปันนะ นี้ว่า อิมิสฺสา ภนฺเต มหาปฐวิยา เหฏฺฐิมตลํ สมฺปนฺนํ

เสยฺยถาปิ ขุทฺทมธุํ อนีลกํ เอวมสฺสาทํ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นเบื้องล่างของมหาปฐพีนี้ ถึงพร้อมแล้ว มีง้วนดินอร่อย เปรียบเหมือนผึ้งเล็ก [มิ้ม] ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น. ในที่นี้ ทั้งปริปุณณสัมปันนะ ทั้งสมังคิสัมปันนะ ย่อมถูก.

บทว่า วิชฺชา ความว่า ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าเจาะแทงธรรมที่เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า ทำให้รู้ และเพราะอรรถว่า ควรได้ ก็วิชชาเหล่านั้น วิชชา ๓ ก็มี วิชชา ๘ ก็มี. วิชชา ๓ พึงทราบตามนัยที่มาในภยเภรวสูตรนั่นแล วิชชา ๘ พึงทราบตามนัยที่มาในอัมพัฏฐสูตร. ความจริงในอัมพัฏฐสูตรนั้น ท่านกำหนดอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เรียกว่าวิชชา ๘. บทว่า จรณํ ความว่าพึงทราบ ธรรม ๑๕ เหล่านี้คือ ศีลสังวร, ความคุ้มครอง

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 42

ทวารในอินทรีย์, ความรู้จักประมาณในโภชนะ, ชาคริยานุโยค, ศรัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, พาหุสัจจะ, ความเป็นผู้ปรารภความเพียร. ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น, ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา, รูปาวจรฌาน ๔, จริงอยู่ ธรรม ๑๕ เหล่านี้ นี่แหละ เพราะเหตุที่พระอริยสาวก ย่อมประพฤติ ย่อมไปสู่ทิศอมตะได้ด้วยธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า จรณะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน มหานาม อริยสาวกในพระศาสนานี้เป็นผู้มีศีล. จรณะทั้งหมดพึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในมัชฌิมปัณณาสก์. วิชชาด้วย จรณะด้วย ชื่อว่า วิชชาและจรณะ. วิชชาและจรณะของผู้ใดถึงพร้อมแล้ว บริบูรณ์แล้ว ผู้นี้นั้น ชื่อว่าผู้มีวิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว ผู้ถึงพร้อมแล้ว ผู้พรั่งพร้อมแล้ว หรือผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีวิชชาและจรณะ อันถึงพร้อมแล้ว. ความก็ถูกแม้ทั้งสองนัย. แด่พระตถาคตพระองค์นั้น ผู้มีวิชชาและจรณะถึงพร้อมแล้ว.

บทว่า ตาทิโน ความว่า ผู้คงที่ ตามลักษณะของผู้คงที่มาในมหานิเทศ โดยนัยว่าเป็นผู้คงที่ทั้งในอิฏฐารมณ์ คงที่ทั้งในอนิฏฐารมณ์ ดังนี้เป็นต้น อธิบายว่า ผู้มีอาการไม่ผิดปกติในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าผู้คงที่. บทว่า ชุตินฺธรสฺส ได้แก่ ผู้รุ่งโรจน์. อธิบายว่าผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านออกแห่งรัศมีของพระสรีระอันมีสิริเกินกว่าดวงอาทิตย์ในฤดูสารท เหนือขุนเขายุคนธร หรือจะกล่าวว่าผู้ทรงความรุ่งโรจน์ด้วยปัญญา ดังนี้ก็ควร. สมจริง ดังที่ท่าน กล่าวไว้ว่า

จตฺตาโร โลเก ปชฺโชตา ปญฺจเมตฺถ น วิชฺชติ

ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 43

อถ อคฺคิ ทิวารตฺตึ ตตฺถ ตตฺถ ปภาสติ

สมฺพุทฺโธ ตปตํ เสฏฺโ เอสา อาภา อนุตตรา.

แสงสว่างในโลกมี ๔ ไม่มีข้อที่ ๕ คือดวงอาทิตย์

ส่องสว่างกลางวัน ดวงจันทร์ส่องสว่างกลางคืน ส่วน

ไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวันกลางคืน

พระสัมพุทธเจ้าทรงประเสริฐสุดแห่งแสงสว่าง แสงสว่าง

นี้ยอดเยี่ยม.

เพราะฉะนั้น จึงอธิบายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความแล่นซ่านแห่งพระรัศมี ทางพระสรีระและทางพระปัญญาแม้ทั้งสองประการ. บทว่า อนฺติมเทหธาริโน ได้แก่ ผู้ทรงพระสรีระสุดท้ายที่สุด. อธิบายว่าไม่เกิดอีก.

จะวินิจฉัยในบทว่า ตถาคตสฺส นี้ ดังนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ อะไร

บ้าง คือ

๑. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น

๒. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น

๓. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้

๔. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ตามเป็นจริง

๕. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง

๖. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง

๗. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง

๘. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 44

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมีและอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ คือบารมี ๑๐ เหล่านี้ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงสละมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือบริจาคอวัยวะ บริจาคชีวิต บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคบุตรภรรยา เสด็จมาแล้วด้วยอภินิหารใดอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว ด้วยอภินิหารนั้น อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ยเถว โลกมฺหิ วิปสฺสิอาทโย

สพฺพญฺภาวํ มุนโย อิธาคตา

ตถา อยํ สกฺยมุนีปิ อาคโต

ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา.

พระมุนีทั้งหลาย มีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น

เสด็จมาสู่พระสัพพัญญุตญาณในโลกนี้ อย่างใด แม้

พระสักยมุนีพระองค์นี้ก็เสด็จมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระจักษุ ท่านจึงเรียกว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ประสูติได้ชั่วเดี๋ยวเดียว ก็ประทับยืนที่แผ่นดิน ด้วยพระบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ-

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 45

พักตร์ทางทิศอุดร เสด็จไปด้วยย่างพระบาท ๗ ย่างก้าว อย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จไปอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า

มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา

สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธรํ

โส วิกฺกมี สตฺตปทานิ โคตโม

เสตญฺจ ฉตฺตํ อนุธารยุํ มรู.

คนฺตฺวาน โส สตฺถปทานิ โคตโม

ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต

อฏฺงฺคุเปตํ คิรมพฺภุทีรยี

สีโห ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺฺโต.

โคจ่าฝูง เกิดได้ครู่เดียว ก็สัมผัสพื้นแผ่นดิน

ด้วยเท้าที่เสมอกัน ฉันใด พระโคดมพระองค์นั้นก็ย่าง

พระบาท ๗ ย่างก้าว และทวยเทพก็กั้นเศวตฉัตร

ฉันนั้น. พระโคดมพระองค์นั้น ครั้นเสด็จ ๗ ย่างก้าว

แล้ว ทรงเหลียวดูทิศเสมอกันโดยรอบ ทรงเปล่ง

อาสภิวาจา ประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนพระยาสีหะ

ยืนหยัดเหนือยอดขุนเขาฉะนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงถึงลักษณะที่แท้เป็นอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 46

ตอบว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงมาถึง บรรลุไม่ผิดพลาดรู้ตามลักษณะของตนเอง และลักษณะที่เสมอทั่วไป อันถ่องแท้ แท้จริง ของรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งปวง ด้วยญาณคติ.

สพฺเพสํ ปน ธมฺมานํ สกสามญฺลกฺขณํ

ตถเมวาคโต ยสฺมา ตสฺมา สตฺถา ตถาคโต.

เพราะเหตุที่ทรงบรรลุถึงลักษณะตนและลักษณะ

ทั่วไปอันแท้จริงของธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระศาสดา

จึงชื่อว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้ ตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร.

ตอบว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมแท้. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็นอย่างอื่น อริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง คืออริยสัจที่ว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้เป็นของจริง ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ พึงทราบความพิศดาร. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอันแท้. ความจริง คตศัพท์ในคำว่า ตถาคโต นี้มีอรรถว่า ตรัสรู้.

ตถนามานิ สจฺจานิ อภิสมฺพุชฺฌิ นายโก

ตสฺมา ตถานํ สจฺจานํ สมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต.

พระผู้นายกตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ที่เป็นของแท้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้สัจจะ

ทั้งหลายที่เป็นของแท้.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 47

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริง เป็นอย่างไร

ตอบว่า แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็นอารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมะ ที่มาปรากฏในทวารคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในโลกธาตุที่ไม่มีประมาณโดยอาการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่ความจริงอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงแต่สิ่งที่แท้ในโลก แก่โลก อย่างนั้นเท่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต ในที่นี้พึงทราบความหมายแห่งบทว่า ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นแต่ความจริงแท้.

ตถากาเรน โย ธมฺเม ชานาติ อนุปสฺสติ

ตถทสฺสีติ สมฺพุทโธ ตสฺมา วุตฺโต ตถาคโต.

ท่านผู้ใด ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมทั้งหลายโดย

อาการที่แท้จริง ท่านผู้นั้น ชื่อว่าผู้เห็นแต่ความจริง

เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้จริงดังว่า จึงเรียกว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริง

เป็นอย่างไร

ตอบว่า ก็คำใดที่สงเคราะห์เป็นนวังคสัตถุศาสตร์มีสุตตะเป็นต้น อันพระตถาคตภาษิตดำรัสไว้ตลอดกาลประมาณ ๔๕ พรรษา ระหว่างตรัสรู้และปรินิพพาน คำนั้นทั้งหมดเป็นคำแท้ ไม่เท็จเลย ดุจชั่งได้ด้วยตาชั่งอันเดียว.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ณ ราตรีใด ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 48

ธาตุ ณ ราตรีใด ในระหว่างนี้ตถาคตภาษิตกล่าว ชี้แจง คำใดไว้ คำนั้นทั้งหมด เป็นคำแท้จริงอย่างเดียว ไม่ เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกกันว่า ตถาคต.

ก็ในคำว่า ตถาคต นี้ คตศัพท์มีอรรถว่ากล่าวชัดเจน. ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสแต่คำจริงอย่างนี้ การกล่าวชัดเจน ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า พระดำรัส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นของแท้ไม่วิปริต เหตุนั้นจึงชื่อว่า ตถาคต ท่านกล่าวเอา ท เป็น ต.

ตถาวาที ชิโน ยสฺมา ตถธมฺมปฺปกาสโก ตถามาคทนญฺจสฺส ตสฺมา พุทฺโธ ตถาคโต.

เพราะเหตุที่ พระชินพุทธเจ้า ตรัสแต่คำจริง ทรงประกาศธรรมที่แท้จริง และพระดำรัสของพระองค์ก็เป็นคำจริง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง เป็น อย่างไร.

ตอบว่า ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระวาจาใดๆ ก็ทรง ทำพระวาจานั้นๆ ด้วยพระกาย คือพระกายก็อนุโลมตามพระวาจา ทั้งพระวาจาก็อนุโลมตามพระกาย ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำ อย่างนั้น ตถาคตทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต.

อนึ่ง พระวาจาไปอย่างใด แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น พระกายไป อย่างใด แม้พระวาจาก็ไปอย่างนั้น. ชื่อว่า ตถาคตเพราะทรงทำจริง ด้วย ประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 49

ยถา วาจา คตา ตสฺส ตถา กาโย คโต ยโต ตถาวาทิตา สมฺพุทฺโธ สตฺถา ตสฺมา ตถาคโต.

เพราะเหตุที่พระวาจาของพระองค์ไปอย่างใด พระกายก็ไปอย่างนั้น เพราะตรัสแต่คำจริง ฉะนั้น พระศาสดาผู้ตรัสรู้จริง จึงชื่อว่าตถาคต.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ครอบงำ เป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครอบงำสัตว์ทั้งปวง เบื้องบน ถึงภวัคคพรหม. เบื้องขวาง ในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้ เบื้องล่าง ก็มีอเวจี มหานรกเป็นที่สุดด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณ- ทัสสนะบ้าง ไม่มีเครื่องชั่งหรือเครื่องนับสำหรับพระองค์ ที่แท้พระองค์ก็ชั่ง ไม่ได้ นับไม่ได้ ยอดเยี่ยม. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ ไม่มี ใครครอบงำ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจ ฯลฯ ในโลกทั้งเทวโลก เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า ตถาคต.

พึงทราบความสำเร็จความแห่งบท ในบทว่าตถาคโตนี้ ดังกล่าวมา ฉะนี้ อานุภาพ เปรียบเหมือนยา. ก็นั่นคืออะไรเล่า คือความงดงามแห่ง เทศนา และกองบุญ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นแพทย์ ผู้มีอานุภาพมาก ทรงครอบงำผู้มีลัทธิตรงข้ามทั้งหมด และครอบงำโลกพร้อม ทั้งเทวโลก ด้วยอานุภาพนั้น เหมือนหมองูครอบงำงูทั้งหลาย ด้วยยาทิพย์ ฉะนั้น ดังนั้น อานุภาพ คือความงดงามแห่งเทศนาและกองบุญ ที่ไม่วิปริต เพราะครอบงำโลกได้หมดของพระองค์มีอยู่ เหตุนั้น พระองค์จึงควรทราบว่า ตถาคต เพราะทำ ท อักษร เป็น ต อักษร. ชื่อว่าตถาคตเพราะอรรถว่าครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 50

ตโถ อวิปรีโต จ อคโท ยสฺส สตฺถุโน

วสวฺตีติ โส เตน โหติ สตฺถา ตถาคโต.

ศาสดาพระองค์ใด ทรงมีอานุภาพแท้ไม่วิปริต

ศาสดาพระองค์นั้น เป็นผู้มีอำนาจ เพราะฉะนั้น

พระศาสดาพระองค์นั้น จึงชื่อว่า ตถาคต.

บทว่า อปฺปฏิปุคฺคลสฺส ได้แก่ปราศจากบุคคลที่จะเปรียบได้. บุคคลอื่นไรเล่า ชื่อว่า สามารถให้คำปฏิญาณรับรองว่าเราเป็นพุทธะ ไม่มีสำหรับพระตถาคตนั้นเหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่าไม่มีบุคคลเปรียบได้. แก่พระตถาคต ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบได้พระองค์นั้น.

บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า อุบัติแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า การุญฺตา ได้แก่ ความมีแห่งกรุณา ชื่อว่า การุญฺตา. คำว่า สพฺพสตฺเต เป็นคำกล่าวครอบคลุมถึงสัตว์ ไม่เหลือเลย. อธิบายว่าหมู่สัตว์ทั้งสิ้น. คาถาแม้นี้ มีความที่กล่าวมาด้วยกถามีประมาณเท่านี้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพรหมทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว ทรงยังพระมหากรุณาให้เกิดในสัตว์ทั้งหลาย มีพุทธประสงค์จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาแก่พรหมทั้งหลายว่า

ดูก่อนพรหม ประตูทั้งหลายแห่งอมตนคร เรา

เปิดสำหรับท่านแล้วละ ขอเหล่าสัตว์ที่มีโสตประสาท

จงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด แต่ก่อนเราสำคัญว่าจะ

ลำบากเปล่าจึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่ชำนาญใน

หมู่มนุษย์.

ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ว่าเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิด โอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงประคองอัญชลี อันรุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 51

ขึ้นเหนือเศียร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ อันหมู่พรหมแวดล้อมเสด็จกลับไป. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทานปฏิญาณแก่พรหมนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เราควรจะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเกิดความคิดว่า อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทรงสำรวจทบทวนก็ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้น ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว และทรงทราบว่าอุทกดาบสทำกาละแล้วตอนพลบค่ำ ก็ทรงนึกถึงปัญจวัคคีย์อีกว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี พอราตรีสว่างวันเพ็ญอาสาฬหะเช้าตรู่ ก็ทรงถือบาตรจีวร ทรงเดินทาง ๑๘ โยชน์ ระหว่างทางทรงพบอาชีวกนักบวชชื่อว่า อุปกะ ทรงบอกแก่เขาว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ตอนเย็นวันนั้นนั่นเอง ก็ได้เสด็จถึงป่าอิสิปตนะ ณ ที่นั้น ทรงประกาศแก่ปัญจวัคคีย์ว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เสด็จประทับบนพุทธอาสน์อันดีที่เขาจัดไว้แล้ว ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.

บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ส่งญาณไปตามกระแสเทศนา จบพระสูตรก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ พระศาสดาทรงเข้าจำพรรษาในที่นั้นนั่นเอง วันรุ่งขึ้นทรงทำให้พระวัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยอุบายนี้นี่แล ก็ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลหมดทุกรูป รุ่งขึ้นวัน ๕ ค่ำแห่งปักษ์ ทรงประชุมพระเถระ เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร. จบเทศนา พระเถระทั้ง ๕ รูป ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต.

ครั้งนั้น ในที่นั้นนั่นเอง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ ยสกุลบุตร และเห็นเขาละเรือนออกไปแล้ว จึงตรัสเรียกว่า มานี่แน่ะ ยสะ ทรงทำเขาให้

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 52

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นนั่นแล รุ่งขึ้นก็ให้เขาตั้งอยู่ในพระอรหัต แม้ในวันอื่นอีก ก็ทรงให้ชน ๕๔ คนสหายของยสกุลบุตร บวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้วให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต เมื่อเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลก จำนวน ๖๑ รูปอย่างนี้ พระศาสดาทรงออกพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อบำเพ็ญประโยชน์

ตนและประโยชน์ผู้อื่น จงแยกกันไปเที่ยวธรรมจาริก

แก่มนุษย์ทั้งหลายตลอดแผ่นดินผืนนี้.

เมื่อประกาศสัทธรรมของเราแก่โลกเนืองนิตย์

ก็จงอยู่เสียที่ป่าเขาอันสงัด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อทำหน้าที่พระธรรมทูต

ก็จงปฏิบัติด้วยดีซึ่งคำของเรา สั่งสอนเขา

เพื่อประโยชน์แก่สันติของสัตว์ทั้งหลาย.

พวกเธอไม่มีอาสวะ จงช่วยปิดประตูอบายทั้งสิ้น

เสียทุกประตู จงช่วยเปิดประตูสวรรค์ มรรค และ ผล.

พวกเธอ จงมีคุณมีกรุณาเป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัย

เพิ่มพูนความรู้และความเชื่อแก่ชาวโลกทุกประการ

ด้วยการเทศนาและการปฏิบัติ.

เมื่อพวกคฤหัสถ์ ทำการอุปการะด้วยอามิสทาน

เป็นนิตย์ พวกเธอ ก็จงตอบแทนพวกเขาด้วยธรรมทานเถิด.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 53

พวกเธอเมื่อจะแสดงธงชัยของพระฤษีผู้แสวงคุณ

ก็จงยกย่องพระสัทธรรม เมื่อการงานที่พึงทำ ทำเสร็จแล้ว

ก็จงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงส่งภิกษุเหล่านั้นไปในทิศทั้งหลาย

ส่วนพระองค์เองก็เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ระหว่างทาง ทรง

แนะนำ ภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คน ที่ราวป่าฝ้าย บรรดากุมารทั้ง ๓๐ คนนั้น ผู้ใดอ่อนกว่าเขาหมด ผู้นั้นก็เป็นพระโสดาบัน ผู้ใดแก่กว่าเขาหมด ผู้นั้นก็เป็นพระอนาคามี แต่แม้สักคนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชนไม่มีเลย ทรงยังกุมารแม้เหล่านั้นให้บวชด้วยเอหิภิกขุหมดทุกคน แล้วทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย พระองค์เองครั้นเสด็จถึงอุรุเวลาประเทศแล้ว ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๑,๒๕๐ อย่าง ทรมานชฏิล ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลากัสสปเป็นต้นพร้อมด้วยบริวารชฏิลพันคน ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุแล้ว ให้นั่งประชุมกันที่คยาสีสะประเทศ ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต ด้วยเทศนาชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร อันภิกษุอรหันต์พันรูปแวดล้อมแล้ว เสด็จไปยัง ลัฏฐิวนอุทยาน อันเป็นอุปจารแห่งกรุงราชคฤห์ด้วยพุทธประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสาร ต่อนั้น พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานกราบทูลแด่พระราชา พระราชาทรงสดับว่าพระศาสดาเสด็จมาแล้ว อันพราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุตห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระทศพล ผู้เป็นดวงอาทิตย์แห่งพระมุนีผู้ประเสริฐ ซึ่งเสด็จอยู่ในช่องแห่งวนะดุจดวงทิพากรเข้าไปในช่องหลืบเมฆ ทรงซบพระเศียรซึ่งโชติช่วงด้วยประกายรุ้งแห่งมงกุฏมณีลงแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระทศพล อันดารดาษด้วยโกมลดอกไม้น้ำไร้มลทินไม่วิกล ที่มีพื้นฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่งพร้อมด้วยราชบริพาร.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 54

ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นก็คิดปริวิตกไปว่า พระมหาสมณะทรงประพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสป หรือท่านอุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น จึงได้ตรัสกะพระเถระ ด้วยพระคาถาว่า

กิเมว ทิสฺวา อุรุเวลวาสิ

ปหาสิ อคฺคึ กิสโกวทาโน

ปุจฉามิ ตํ กสฺสป เอตมตฺถํ

กถํ ปหีนํ ตว อคฺคิหุตฺตํ.

ดูก่อนกัสสป ท่านอยู่อุรุเวลประเทศสั่งสอน

ศิษย์ชฎิลมานาน เห็นเหตุอะไรหรือจึงละการบูชาไฟ

เราถามความนี้กะท่าน ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟ.

พระเถระทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคาถา นี้ว่า

รูเป จ สทฺเท จ อโถ รเส จ

กามิตฺถิโย จาภิวทนฺติ ยญฺา

เอตํ มลนฺติ อุปธีสุ ตฺวา

ตสฺมา น ยิฏฺเ น หุเต อรญฺชึ.

ยัญทั้งหลาย สรรเสริญรูป เสียง รส กามและ

สตรีทั้งหลาย. ข้าพระองค์รู้ว่า นั่นเป็นมลทินในอุปธิ

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในยัญ

ในการบูชาไฟ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 55

แล้วซบศีรษะลงแทบเบื้องยุคลบาทของพระตถาคตเพื่อประกาศความที่ตนเป็นสาวก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดา ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก แล้วก็โลดขึ้นสู่อากาศ ๗ ครั้ง ประมาณชั่วหนึ่งลำตาล ชั่วสองลำตาล ฯลฯ ชั่วเจ็ดลำตาล ทำปาฏิหาริย์แล้วก็ลงจากอากาศ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

ครั้งนั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระนั้นแล้วคิดกันว่า โอ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก แม้ท่านอุรุเวสกัสสปมีทิฏฐิกล้า สำคัญตนว่า เป็นอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทรงทำลายข่ายทิฏฐิทรมานแล้ว ก็พากันกล่าวสรรเสริญคุณของพระทศพล. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้วตรัสว่า มิใช่เราทรมานอุรุเวลกัสสปผู้นี้ในชาตินี้เท่านั้นดอกนะ แม้ในอดีตชาติ อุรุเวลกัสสปนี้เราก็ทรมานมาแล้วเหมือนกัน. ครั้งนั้นมหาชนลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีเหนือศีรษะ กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาตินี้ ท่านอุรุเวลกัสสปถูกทรมารพวกข้าพระองค์เห็นแล้ว ในอดีตชาติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานอย่างไร พระเจ้าข้า. แต่นั้น พระศาสดาอันมหาชนนั้นทูลวอนแล้ว จึงตรัสมหานารทกัสสปชาดก ซึ่งระหว่างภพปกปิดไว้แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔. พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับราชบริพาร ๑๑ นหุต. ๑ นหุตประกาศตนเป็นอุบาสก. พระราชาทรงถึงสรณะแล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าสามครั้ง แล้วถวายบังคมเสด็จกลับ.

วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุพันรูปแวดล้อมแล้วเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เสมือนท้าวสหัสนัยน์เทวราชอันหมู่เทพห้อมล้อมแล้ว เสมือน

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 56

ท้าวมหาพรหม อันหมู่พรหมห้อมล้อมแล้ว. พระราชาถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน เสร็จเสวยแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่เว้นพระไตรรัตน์ได้. ข้าพระองค์ จะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาบ้าง ไม่ใช่ในเวลาบ้าง ชื่อว่าอุทยานลัฏฐิวัน ก็อยู่ไกลเกินไป. ส่วนอุทยานชื่อว่าเวฬุวันของข้าพระองค์นี้ สำหรับผู้ต้องการ วิเวก ไม่ไกลนักไม่ใกล้นัก พรั่งพร้อมด้วยทางคมนาคม ไร้ผู้คนเบียดเสียด สงัดสุข พร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ ประดับพื้นศิลาเย็น เป็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ อย่างยิ่งมีต้นไม้อย่างดีมีดอกหอมกรุ่นชั่วนิรันดร์ ประดับประดาด้วยปราสาท ยอดปราสาทโล้น วิหาร ดุจวิมานเรือนมุงแถบเดียว มณฑปเป็นต้น. ขอพระผู้มี พระภาคเจ้า โปรดทรงรับอุทยานเวฬุวันนี้ของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า แล้วทรงถือน้ำมีสีดังแก้วมณีอันอบด้วยดอกไม้กลิ่นหอมด้วยพระเต้าทอง เสมือน ถ่านร้อนใหม่ เมื่อทรงบริจาคพระเวฬุวนาราม ก็ทรงหลั่งน้ำลงเหนือพระหัตถ์ ของพระทศพล. ในการรับพระอารามนั้น มหาปฐพีนี้ก็ตกสู่อำนาจปีติว่า ราก ของพระพุทธศาสนา หยั่งลงแล้ว ก็ไหวราวกะฟ้อนรำ. ธรรมดาเสนาสนะอื่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้วทำให้แผ่นดินไหว เว้นพระเวฬุวันมหาวิหาร เสียไม่มีเลยในชมพูทวีป. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงรับพระเวฬุวนารามแล้วได้ ทรงทำอนุโมทนาวิหารทาน

อาวาสทานสฺส ปนานิสํสํ โก นาม วตฺถํ ปุริโส สมตฺโถ อญฺตฺร พุทฺธา ปน โลกนาถา ยุตฺโต มุขานํ นหุเตน จาปิ.

นอกจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก ปาก คน ๑ นหุต บุรุษไรเล่าผู้สามารถจะกล่าวอานิสงส์ของ การถวายที่อยู่อาศัยได้.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 57

อายุญฺจ วณฺณญฺจ สุขํ พลญฺจ วรํ ปสตฺถํ ปฏิภาณเมว ททาติ นามาติ ปวุจฺจเต โส โย เทติ สงฺฆสฺส นโร วิหารํ.

นรชนใด ถวายที่อยู่แก่สงฆ์ นรชนนั้น ท่าน กล่าวว่า ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิ- ภาณอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.

ทาตา นิวาสสฺส นิวารณสฺส สีตาทิโน ชีวิตุปทฺทวสฺส ปาเลติ อายุํ ปน ตสฺส ยสฺมา อายุปฺปโท โหติ ตมาหุ สนฺโต.

เพราะเหตุที่ผู้ถวายที่อยู่อาศัย อันป้องกันอุปัทวะ แห่งชีวิตมีความเย็นเป็นต้น ย่อมรักษาอายุของเขาไว้ ได้ ฉะนั้น สัตบุรุษทั้งหลายจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ ให้อายุ.

อจฺจุณฺหสีเต วสโต นิวาเส พลญฺจ วณฺโณ ปฏิภา น โหติ ตสฺมา หิ โส เทติ วิหารทาตา พลญฺจ วณฺณญฺจ ปฏิภาณเมว.

พละ วรรณะ และปฏิภาณย่อมจะไม่มีแก่ผู้อยู่ใน ที่อยู่อาศัยอันร้อนจัดเย็นจัด เพราะฉะนั้นแล ผู้ถวาย วิหารที่อยู่นั้นจึงชื่อว่าให้พละ วรรณะ และปฏิภาณ ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 58

ทุกฺขสฺส สีตุณฺหสิรึสปา จ วาตาตปาทิปฺปภวสฺส โลเก นิวารณาเนกวิธสฺส นิจฺจํ สุขปฺปโท โหติ วิหารทาตา.

ผู้ถวายวิหาร ย่อมชื่อว่าให้สุขเป็นนิตย์ เพราะ ป้องกันทุกข์มากอย่างที่เกิดแต่เย็นร้อนสัตว์เลื้อยคลาน ลม แดดเป็นต้นในโลก.

สีตุณฺหวาตาตปฑํสวุฏฺิ สิรึสปาวาฬมิคาทิทุกฺขํ ยสฺมา นิวาเรติ วิหารทาตา ตสฺมา สุขํ วินฺทติ โส ปรตฺถ.

เพราะเหตุที่ผู้ถวายวิหาร ย่อมป้องกันทุกข์มีเย็น ร้อน ลม แดด เหลือบฝน สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ร้าย เป็นต้นได้ ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ได้สุขในโลกหน้า.

ปสนฺนจิตฺโต ภวโภคเหตุํ มโนภิรามํ มุทิโต วิหารํ โย เทติ สีลาทิคุโณทิตานํ สพฺพํ ทโท นาม ปวุจฺจเต โส.

ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส บันเทิงแล้วถวายวิหารอันเหตุ แห่งภพและโภคะที่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจ แก่ท่านผู้มี คุณมีศีลเป็นต้นอันเกิดแล้ว ผู้นั้นท่านเรียกชื่อว่าผู้ให้ ทุกอย่าง.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 59

ปหาย มจฺเฉรมลํ สโลภํ คุณาลยานํ นิลยํ ททาติ ขิตฺโตว โส ตตฺถ ปเรหิ สคฺเค ยถาภตํ ชายติ วีตโสโก.

ผู้ใดละมลทินคือตระหนี่ พร้อมทั้งโลภะ ถวาย วิหาร แก่เหล่าท่านผู้มีคุณเป็นที่อยู่อาศัย ผู้นั้น ก็เป็น เหมือนถูกผู้อื่นโยนไปในสวรรค์นั้น ย่อมเกิดเป็นผู้ ปราศจากความเศร้าโศกถึงสมบัติที่รวบรวมไว้.

วเร จารุรูเป วิหาเร อุฬาเร นโร การเย วาสเย ตตฺถ ภิกฺขู ทเทยฺยนฺนปานญฺจ วตฺถญฺจ เนสํ ปสนฺเนน จิตฺเตน สกฺกจฺจ นิจฺจํ.

นรชนสร้างวิหารทองประเสริฐเลิศโอฬารนิมนต์ ภิกษุทั้งหลายอยู่ในวิหารนั้น พึงถวายข้าวน้ำและผ้า แก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตที่เลื่อมใส โดยเคารพเป็นนิตย์.

ตสฺมา มหาราช ภเวสุ โภเค มโนรเม ปจฺจนุภุยฺย ภิยฺโย วิหารทานสฺส ผเลน สนฺตํ สุขํ อโสกํ อธิคจฺฉ ปจฺฉา.

ถวายพระพร เพราะฉะนั้น มหาบพิตรจะเสวย โภคะที่น่ารื่นรมย์ใจในภพทั้งหลายยิ่งขึ้นไป ด้วยผล แห่งวิหารทาน ภายหลังจงทรงประสบธรรมอันสงบ สุข ไม่เศร้าโศกแล.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 60

พระจอมมุนี ครั้นทรงทำอนุโมทนาวิหารทานแก่พระเจ้าพิมพิสาร จอมนรชนประการดังนี้อย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เมื่อทรงทำนครให้เป็นวนวิมานเป็นต้น ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ที่น่าทอดทัศนาอย่างยิ่ง ประหนึ่งเลื่อมพรายที่เกิดแต่รดด้วยน้ำทอง เสด็จ เข้าสู่พระเวฬุวันมหาวิหาร ด้วยพระพุทธลีลา หาที่เปรียบมิได้ด้วยพระพุทธสิริ ที่ไม่มีสิ้นสุดแล.

อกีฬเน เวฬุวเน วิหาเร ตถาคโต ตตฺถ มโนภิราเม นานาวิหาเรน วิหาสิ ธีโร เวเนยฺยกานํ สมุทิกฺขมาโน.

พระตถาคตจอมปราชญ์ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ซึ่งมิใช่เป็นที่เล่น แต่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจนั้น ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่างๆ ทรงคอยตรวจดูเวไนยสัตว์ทั้งหลาย.

พระพุทธบิดาเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเวฬุวันวิหารนั้น พระเจ้า สุทโธทนะมหาราชทรงสดับว่า โอรสเรา ทำทุกกรกิริยา ๖ ปี บรรลุอภิสัมโพธิญาณอย่างเยี่ยม ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงเรียกมหาอมาตย์ผู้หนึ่งมาตรัสสั่งว่า พนายมานี่แน่ะ เจ้าพร้อมบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร จงไปกรุงราชคฤห์ พูดตาม คำของเราว่า พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชบิดาท่านมีประสงค์จะพบท่าน แล้วจง พาโอรสของเรามา.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 61

มหาอมาตย์ผู้นั้น รับพระราชโองการแล้ว มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร ก็เดินทาง ๖๐ โยชน์ เข้าไปยังวิหาร ในเวลาทรงแสดงธรรม มหาอมาตย์ผู้นั้น คิดว่าข่าวที่พระราชาทรงส่งมาพักไว้ก่อน ก็ยืนท้ายบริษัท ฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา ทั้งที่ยืนอยู่ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมกับบุรุษพันหนึ่ง ทูลขอ บรรพชา. พระศาสดา ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว พวกเธอ จงเป็นภิกษุมาเถิด ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ในทันใด ถึงพร้อมด้วยกิริยาที่เหมาะแก่สมณะ ประหนึ่งพระเถระ ๑๐๐ พรรษา แวดล้อม พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระราชาทรงพระดำริว่า คนที่ไปก็ยังไม่มา ข่าวก็ไม่ได้ยิน ทรงส่ง อมาตย์ไป ๙ ครั้ง โดยทำนองนี้นี่แล บรรดาบุรุษ ๙,๐๐๐ คนนั้น ไม่ได้ กราบทูลพระราชาแม้แต่คนเดียว ทั้งไม่ส่งข่าวคราวด้วย บรรลุพระอรหัตแล้ว พากันบวชหมด.

ครั้งนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า ใครหนอจักทำตามคำของเรา ทรง สำรวจดูกำลังส่วนของราชสำนักทั้งหมดก็ได้ทรงพบอุทายีอมาตย์ เล่ากันว่า อุทายีนั้นเป็นอมาตย์สำเร็จราชการทั้งหมดของพระราชา เป็นคนภายในมีความ สนิทสนมยิ่งนัก เกิดในวันเดียวกับพระโพธิสัตว์เป็นพระสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน มา. ครั้งนั้นพระราชาทรงเรียกอุทายีอมาตย์มาแล้วตรัสว่า อุทายีลูกเอย พ่อ ประสงค์จะพบโอรส จึงส่งบุรุษไปถึง ๙,๐๐๐ คน มากันแล้วจะบอกเพียงข่าว แม้แต่คนเดียวก็ไม่มี อันตรายแห่งชีวิตของพ่อ รู้ได้ยาก พ่ออยากจะพบโอรส แต่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกจักพาโอรสมาแสดงแก่พ่อได้ไหมลูก.

อุทายีอมาตย์กราบทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าได้ บวช.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 62

พระราชารับสั่งว่า ลูกจะบวชหรือไม่บวชก็ตามที แต่ลูกต้องนำโอรส มาแสดงแก่พ่อ.

อุทายีอมาตย์ รับพระราชดำรัสใส่เกล้าแล้ว ก็นำข่าวของพระราชา ไปถึงกรุงราชคฤห์. ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยบุรุษพันหนึ่ง ตั้งอยู่ในเอหิภิกขุภาวะแล้วเพ็ญเดือนผัคคุนี [เดือน ๔] ก็ดำริฤดูเหมันต์ก็ล่วงไปแล้ว ถึงฤดูวสันต์เข้านี่แล้ว ราวป่าก็มีดอกไม้บาน สะพรั่ง หนทางก็เหมาะที่จะเดิน เป็นกาลสมควรที่พระทศพลจะทรงทำการ สงเคราะห์พระประยูรญติ ครั้นดำริแล้วก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนา คุณการเสด็จพุทธดำเนิน เพื่อเข้าไปยังพระนครแห่งพระสกุลด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถา

๑. องฺคาริโน ทานิ ทุมา ภทนฺเต ผเลสิโน ฉทนํ วิปฺปหาย เต อจฺจิมนฺโตว ปภาสยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลาย สลัดใบ มีแต่ลำต้น เตรียมจะติดช่อติดผล ต้นไม้เหล่านั้น ส่องพระกายสว่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒. ทุมา วิจิตฺตา สุวิราชมานา รตฺตงฺกุเรเหว จ ปลฺลเวหิ รตนุชฺชลมณฺฑปสนฺนิภาสา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 63

ต้นไม้ทั้งหลาย งดงาม รุ่งเรืองด้วยหน่อสีแดง และใบอ่อน ประหนึ่งมณฑปที่รุ่งเรืองด้วยรัตนะ ข้าแต่ พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓. สุปุปฺผิตคฺคา กุสุเมหิ ภูสิตา มนุญฺภูตา สุจิสาธุคนฺธา รุกฺขา วิโรจนฺ ติ อุโภสุ ปสฺเสสุ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ต้นไม้ทั้งหลาย บนยอดมีดอกบานงาม ประดับ ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย น่าชื่นใจ ดอกสะอาด สวย และ มีกลิ่นหอม อร่ามไปทั้งสองข้างทาง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า

๔. ผเลหิเนเกหิ สมิทฺธิภูตา วิจิตฺตรุกฺขา อุภโตวกาเส ขุทฺทํ ปิปาสมฺปิ วิโนทยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ต้นไม้ที่งดงามทั้งหลาย ในโอกาสสองข้างทาง ดกดื่นด้วยผลเป็นอันมาก บรรเทาความยากไร้ ทั้ง ความหิวระหายได้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 64

๕. วิจิตฺตมาลา สุจิปลฺลเวหิ สุสชฺชิตา โมรกลาปสนฺนิภา รุกฺขา วิโรจนฺติ อุโภสุ ปสฺเสสุ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ต้นไม้ทั้งหลาย มีดอกงดงาม อันใบอ่อนที่สะอาด ตกแต่งแล้ว เสมือนต้นหางนกยูง อร่ามไปทั้งสอง ข้างทาง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๖. วิโรจมานา ผลปลฺลเวหิ สุสชฺชิตา วาสนิวาสภูตา โตเสฺนฺติ อทฺธานกิลนฺตสตฺเต สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ต้นไม้ทั้งหลาย รุ่งโรจน์ อันผลและใบอ่อน ตกแต่งแล้ว ประดับประดาด้วยน้ำหอม ย่อมปลอบ ประโลมใจเหล่าสัตว์ที่เหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกล ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

๗. สุผุลฺลิตคฺคา วนคุมฺพนิสฺสิตา ลตา อเนกา สุวิราชมานา โตเสนฺติ สตฺเต มณิมณฺฑปาว สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 65

เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยพุ่มไม้ในป่า บนยอด ออกดอกบานสวย สง่างาม ย่อมปลอบประโลมใจ เหล่าสัตว์ เหมือนมณฑปมณี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๘. ลตา อเนกา ทุมนิสฺสิตาว ปิเยหิ สทฺธึ สหิตา วธูว ปโลภยนฺติ หิ สุคนฺธคนฺธา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. เถาวัลย์เป็นอันมาก อาศัยตัดต้นไม้ ประหนึ่งหญิง สาวไปกับชายที่รัก มีกลิ่นหอมอบอวลประโลมใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

๙. วิจิตฺตนีลาทิมนุญฺวณฺณา ทิชา สมนฺตา อภิกูชมานา โตเสนฺติ มญฺชุสฺสรตา รตีหิ สโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ฝูงนก มีสีสรรสวยงามน่าชื่นใจ มีสีเขียวเป็นต้น ส่งเสียงร้องไพเราะโดยรอบ ด้วยความยินดี ปลอบ ประโลม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๐. มิคา จ นานา สุวิราชมานา อุตฺตุงฺคกณฺณา จ มนุญฺเนตฺตา

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 66

ทิสา สมนฺตา มภิธาวยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ฝูงเนื้อนานาชนิด เกลื่อนกราด ยกหูชูชัน เบิ่งตา น่าชื่นใจ พากันวิ่งไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๑. มนุญฺภูตา จ มหี สมนฺตา วิราชมานา หริตา ว สทฺทลา สุปุปฺผิรุกฺขา โมฬินิวลงฺกตา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. แผ่นปฐพีมีหญ้าแพรกขึ้นเขียวขจีส่องประกาย โดยรอบน่าชื่นใจ ต้นไม้ดอกบานงาม ก็ประดับดุจ โมลี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า

๑๒. สุสชฺชิตา มุตฺตมยาว วาลุกา สุสณฺฐิตา จารุสุผสฺสทาตา วิโรจนยนฺเตว ทิสา สมนฺตา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ทรายทั้งหลาย ดูดังมุกดาอันธรรมดาจัดแต่งไว้ ทรวดทรงงามให้สัมผัสดีดังทอง ส่องแสงสกาว รอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 67

๑๓. สมํ สุผสฺสํ สุจิภูมิภาคํ มนุญฺปุปฺโผทยคนฺธวาสิตํ วิราชมานํ สุจิมญฺจ โสภํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. พื้นแผ่นดินสะอาด ราบเรียบ สัมผัสดี กลิ่นเกิด จากดอกไม้หอม ตลบอบอวลน่าชื่นใจ ส่องประกาย สะอาดงาม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๔. สุสชฺชิตํ นนฺทนกานนํว วิจิตฺตนานา ทุมสณฺฑมณฺฑิตํ สุคนฺธภูตํ ปวนํ สุรมฺมํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ป่าใหญ่อันธรรมดาตกแต่งดีแล้ว ประดับด้วย ต้นไม้นานาชนิดเรียงรายงามตระการ มีกลิ่นหอม น่า รื่นรมย์อย่างดี ดั่งสวนนันทวัน ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๕. สรา วิจิตฺตา วิวิธา มโนรมา สุสชฺชิตา ปงฺกชปุณฺฑรีกา ปสนฺนสีโตทกจารุปุณฺณา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. สระทั้งหลาย หลากชนิดวิจิตรน่ารื่นรมย์ใจ อัน ธรรมดาตกแต่งไว้ มีบัวบุณฑริก เต็มเปี่ยมด้วยน้ำเย็น

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 68

ใสดั่งทอง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๖. สุผุลฺลนานาวิธปงฺกเชหิ วิราชมานา สุจิคนฺธคนฺธา ปโมทยนฺเตว นรามรานํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ สระทั้งหลาย อร่ามเหลืองด้วยบัวนานาชนิดดอก บานงาม กลิ่นกรุ่นสะอาด ทำให้เหล่ามนุษย์ชาติแล เทพดาบันเทิงใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๗. สุผุลฺลปงฺเกรุหสนฺนิสินฺนา ทิชา สมนฺตา มภินาทยนฺตา โมทนฺติ ภริยาหิ สมงฺคิโน เต สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ฝูงนักจับกอบัวที่ดอกบานร้องเจี๊ยบจ๊าบไปรอบๆ นกเหล่านั้นบันเทิงพร้อมกับตัวเมีย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๘. สุผุลฺลปุปฺเผหิ รชํ คเหตฺวา อลี วิธาวนฺติ วิกูชมานา มธุมฺหิ คนฺโธ วิทิสํ ปวายติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ฝูงผึ้งเก็บละอองจากดอกไม้บานส่งเสียงร้องบิน เวียนว่อน กลิ่นน้ำหวาน ก็กำจายไปทั่วทิศ ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 69

พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๑๙. อภินฺนนาทา มทวารณา จ คิรีหิ ธาวนฺติ จ วาริธารา สวนฺติ นชฺโช สุวิราชิตาว สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. โขลงช้างเมามัน ส่งเสียงแปร๋แปร๋นแล่นออก จากซอกเขา และกระแสน้ำก็พราวพรายไหลจากลา แม่น้ำ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๐. คิรี สมนฺตาว ปทิสฺสมานา มยูรคีวา อิว นีลวณฺณา ทิสา รชินฺทาว วิโรจยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ขุนเขาทั้งหลาย ปรากฏเห็นอยู่รอบๆ มีสีเขียว ขาบ เหมือนคอนกยูง รุ่งทะมึน เหมือนเมฆ ข้าแต่ พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๑. มยูรสงฺฆา คิริมุทฺธนสฺมึ นจฺจนฺติ นารีหิ สมงฺคิภูตา กูชนฺติ นานามธุรสฺสเรหิ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 70

ฝูงยูงผู้พร้อมด้วยตัวเมีย พากันฟ้อนรำเหนือยอด คิรี กู่ก้องด้วยเสียงอันไพเราะต่างๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๒. สุวาทิกา เนกทิชา มนุญฺา วิจิตฺตปตฺเตหิ วิราชมานา คิริมฺหิ ฐตฺวา อภินาทยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ฝูงนกเป็นอันมาก มีเสียงเพราะ น่าชื่นใจ เลื่อมพรายด้วยขนปีกอันงดงาม ยืนร้องก้องกังวาน เหนือคิรี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๓. สุผลฺลปุปฺผา กรมาภิกิณฺณา สุคนฺธนานาทลลงฺกตา จ คีรี วิโรจนฺติ ทิสา สมนฺตา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ภูเขาทั้งหลาย มีดอกไม้บานงาม เกลื่อนกลาด ด้วยต้นเล็บเหยี่ยว ประดับด้วยกลีบดอกไม้นานาชนิด มีกลิ่นหอม งามระยับไปรอบทิศ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๔. ชลาสยา เนกสุคนฺธคนฺธา สุรินฺทอุยฺยานชลาสยาว สวนฺติ นชฺโช สุวิราชมานา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 71

ชลาศัยลำน้ำมีกลิ่นหอมกรุ่นเป็นอันมาก พร่าง พรายไหลมาแต่แม่น้ำ เหมือนชลาลัยในอุทยานของ ท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๕. วิจิตฺตติตฺเถหิ อลงฺกตา จ มนุญฺนานามิคปกฺขิปาสา นชฺโช วิโรจนฺติ สุสนฺทมานา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. แม่น้ำทั้งหลาย ประดับด้วยท่าน้ำอันงาม เป็น ที่ฝูงเนื้อและนกนานาชนิดลงดื่มกินน่าชื่นใจ ไหลอยู่ พร่างพราย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๖. อุโภสุ ปสฺเสสุ ชลาสเยสุ สุปุปฺผิตา จารุสุคนฺธรุกฺขา วิภูสิตคฺคา สุรสุนฺทรี จ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. กลุ่มต้นไม้งาม กลิ่นหอม ออกดอกบาน ณ ชลาลัยทั้งสองฝั่ง ยอดมีดอกประดับ สวยงามสง่า ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

๒๗. สุคนฺธนานาทุมชาลกิณฺณํ วนํ วิจิตฺตํ สุรนนฺทนํว

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 72

มโนภิรามํ สตตํ คตีนํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ป่าเกลื่อนกลาดด้วยแนวไม้นานาชนิด มีกลิ่น หอม งดงามดังสวนนันทนวันของเทวดา เป็นที่รื่นรมย์ใจยิ่งของผู้ที่ไปเนื่องๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็น สมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๘. สมฺปนฺนนานาสุจิอนฺนปานา สพฺยญฺชนา สาธุรเสน ยุตฺตา ปเถสุ คาเม สุลภา มนุญฺา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ข้าวน้ำอันสะอาดนานาชนิด สมบูรณ์พร้อมทั้ง กับแกล้ม ประกอบด้วยรสอร่อย หาได้ง่ายในหมู่บ้าน ใกล้ทาง น่าชื่นใจ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๒๙. วิราชิตา อาสิ มหี สมนฺตา วิจิตฺตวณฺณา กุสุมาสนสฺส รตฺตินฺทโคเปหิ อลงฺกตาว มโย มหาวีร องฺคีรสานํ. แผ่นดินแห่งที่ตั้งดอกไม้ ที่มีสีสรรงดงาม ก็ เรืองอร่ามไปโดยรอบ ยามราตรีก็ประดับด้วยหิ่งห้อย ทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 73

๓๐. วิสุทฺธสทฺธาทิคุเณหิ ยุตฺตา พุทฺธราชํ อภิปตฺถยนฺตา หิ ตตฺเถว ชนา สมนฺตา ย มหาวีร องฺคีรสานํ. ชนทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น อันบริสุทธิ์ ปรารถนายิ่งนักซึ่งราชะคือภาวะเป็นพระสัมพุทธเจ้า มีอยู่เป็นอันมากรอบๆ ณ แผ่นดินนั้น นั่นแล ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๑. วิจิตฺรอารามสุโปกฺขรญฺโ วิจิตฺนานาปทุเมหิ ฉนฺนา ภิเสหิ ขีรํว รสํ ปวายติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. สระโบกขรณีอันงามน่ารื่นรมย์ ปกคลุมด้วย ปทุมนานาชนิดอันงาม ย่อมหลั่งรสดุจน้ำมัน โดย เหง้าทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๒. วิจิตฺรนีลจฺฉทเนนลงฺกตา มนุญฺรุกฺขา อุภโตวกาเส สมุคฺคตา สตฺตสมูทภูตา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 74

ต้นไม้น่าชื่นใจทั้งหลาย ประดับด้วยใบเขียวงาม ขึ้นสล้าง ณ โอกาสสองข้างทาง เป็นที่ชุมนุมของสัตว์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี- รสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๓. วิจิตฺรนีลพฺภมิวายตํ วนํ สุรินฺทโลเก อิว นนฺ ทนํ วนํ สพฺโพตุกํ สาธุสุคนฺธปุปฺผํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. วนะที่ครึ้มด้วยเมฆคือตัดต้นไม้เขียวตระการ มีดอก บานงามและหอมทุกฤดู ดั่งนันทนวัน ในภพของ องค์อัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ- หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๔. สุภฺชสํ โยชนโยชเนฺสุ สุภิกฺขคามา สุลภา มนุญฺา ชนาภิกิณฺณา สุลภนฺนปานา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. หนทางดี ทุกๆ โยชน์ หมู่บ้านมีอาหารดี หา ได้ง่าย น่าชื่นใจ มีผู้คนหนาแน่น มีข้าวน้ำหาได้ สะดวก ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 75

๓๕. ปหูตฉายูทกรมฺมภูตา นิวาสินํ สพฺพสุขปฺปทาตา วิสาลสาลา จ สภา จ พหู สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ศาลากว้างและสภาที่ประชุม มีร่มเงาและน้ำ มากพอน่ารื่นรมย์ มอบความสุขทุกอย่างแก่ผู้อยู่อาศัย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

๓๖. วิจิตฺรนานาทุมสณฺฑมณฺฑิตา มนุญฺอุยฺยานสุโปกฺขรญฺโ สุมาปิตา สาธุสุคนฺธคนฺธา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. สระโบกขรณีดีในอุทยานที่น่าชื่นใจ ประดับด้วย แนวต้นไม้นานาชนิดอันงาม อันธรรมดาสร้างสรรไว้ มีกลิ่นหอมกรุ่นสำเร็จประโยชน์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๗. วาโต มุทูสีตลสาธุรูโป นภา จ อพฺภา วิคตา สมนฺตา ทิสา จ สพฺพาว วิโรจยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ลมอ่อนเย็นให้สำเร็จประโยชน์ และท้องฟ้าก็ ปราศจากเมฆหมอกโดยรอบทิศทั้งหลายก็สว่างไสวไป

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 76

หมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๘. ปเถ รโชนุคฺคมนตฺถเมว รตฺตึ ปวสฺสนฺติ จ มนฺทวุฏฺี นเภ จ สูโร มุทุโกว ตาโป สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ฝนตกน้อยๆ ในราตรีเพื่อไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งขึ้น ที่หนทาง ดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าก็มีแสงแดดอ่อนๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี- รสแล้ว พระเจ้าข้า.

๓๙. มทปฺปพาหา มทหตฺถิสงฺฆา กเรณุสงฺเฆหิ สุกีฬยนฺติ ทิสา วิธาวนฺติ จ คชฺชยนฺตา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ ฝูงช้างพลายซุกซน มีงวงซุกซน หยอกเล่นกับ ฝูงช้างพังทั้งหลาย ร้องคำรณวิ่งแล่นไปรอบทิศ ข้า แต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

๔๐. วนํ สุนีลํ อภิทสฺสนียํ นีลพฺภกูฏํ อิว รมฺมภูตํ วิโลกิตานํ อติวิมฺหนียํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 77

วนะเขียวสด น่าพิศยิ่งนัก น่ารื่นรมย์ เป็น ของน่าประหลาดสำหรับคนที่มองดู เหมือนยอดเมฆ สีคราม ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับ พระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๑. วิสุทฺธมพฺภํ คคนํ สุรมฺมํ มณิมเยหิ สมลงฺกตาว ทิสา จ สพฺพา อติโรจยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ท้องฟ้าปราศจากเมฆหมอก น่ารื่นรมย์ดี ทิศ ทุกทิศจะเป็นเหมือนประดับด้วยสิ่งที่ทำด้วยแก้วมณี รุ่งโรจน์อยู่ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๒. คนฺธพฺพวิชฺชาธรกินฺนรา จ สุคีติยนฺตา มธุรสฺสเรน จรนฺติ ตสฺมึ ปวเน สุรมฺเม สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. เหล่าคนธรรพ์ พิทยาธร และกินนรขับร้องเพลง ด้วยเสียงอันไพเราะ พากันเที่ยวไปในป่าใหญ่ที่น่า รื่นรมย์นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๓. กิเลสสงฺฆสฺส ภิตาสเกหิ ตปสฺสิสงฺเฆหิ นิเสวิตํ วนํ

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 78

วิหารอารามสมิทฺธิภูตํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. วนะอันหมู่ผู้มีตบะ ผู้กลัวแต่หมู่กิเลสของตนเอง ซ่องเสพแล้ว เป็นวิหาร เป็นอารามที่สำเร็จประโยชน์ ข้าแต่พระมหาวีระเป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

๔๔. สมิทฺธินานาผลิโน วนนฺตา อนากุลา นิจฺจมโนภิรมฺมา สมาธิปีตึ อภิวฑฺฒยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. วนะให้สำเร็จผลต่างๆ ไม่อากูลเป็นที่น่ารื่นรมย์ ยิ่งแห่งใจเป็นนิตย์ เพิ่มพูนสมาธิจิตและปีติ ข้าแต่ พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๕. นิเสวิตํ เนกทิเชหิ นิจฺจํ คาเมน คามํ สตตํ วสนฺตา ปุเร ปุเร คามวรา จ สนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. วนะอันฝูงนกเป็นอเนก ซ่องเสพอยู่เป็นนิตย์ หมู่คนจากบ้านตำบลหนึ่ง สู่บ้านตำบลหนึ่ง ก็อยู่กัน เป็นประจำ หมู่บ้านทั้งหลาย ก็กลายเป็นแต่ละเมืองๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรส แล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 79

๔๖. วตฺถนฺนปานํ สยนาสนญฺจ คนฺธญฺจ มาลญฺจ วิเลปนญฺจ ตหึ สมิทฺธา ชนตา พหู จ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ชุมชนเป็นอันมาก อาศัยผ้า ข้าวน้ำ ที่นั่งที่นอน ของหอม ดอกไม้และเครื่องลูบไล้ ก็สำเร็จประโยชน์ อยู่กันในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๗. ปุญฺญิทฺธิยา สพฺพยสคฺคปตฺตา ชนา จ ตสฺมึ สุขิตา สมิทฺธา ปหูตโภคา วิวิธา วสนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ชนทั้งหลายถึงความเลิศแห่งยศทุกอย่าง ด้วย บุญฤทธิ์ มั่งคั่งมีโภคะต่างๆ อย่างเป็นอันมาก อยู่ ฉันเป็นสุขในเมืองนั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๘. นเภ จ อพฺภา สุวิสุทฺธวณฺณา นิสา จ จนฺโท สุวิราชิโตว รตฺติญฺจ วาโต มุทุสีตโล จ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. เมฆหมอกในท้องฟ้า ก็มีสีหมดจด ดวงจันทร์ ก็ส่องแสงสว่างไปตลอดทิศ และยามราตรี ลมก็โชย

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 80

อ่อนๆ เย็นๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๔๙. จนฺทุคฺคเม สพฺพชนา ปหฏฺา สกงฺคเณ จิตฺรกถา วทนฺตา ปิเยหิ สทฺธึ อภิโมทยนฺติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. พอดวงจันทร์โผล่ขึ้นมา ชนทั้งปวง ก็ร่าเริง สนทนากันแต่เรื่องที่ดีงาม ณ ลานบ้านของตน บันเทิง ยิ่งนักกับคนรักทั้งหลาย ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัย สมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๐. จนฺทสฺส รํสีหิ สภํ วิโรจิ มหี จ สํสุทฺธมนุญฺวณฺณา ทิสา จ สพฺพา ปริสุทฺธรูปา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. รัศมีแห่งดวงจันทร์ สว่างตลอดท้องฟ้า พื้น แผ่นพสุธา ก็มีสีสรรหมดจดน่าชื่นใจ และทิศทั้งหลาย ก็บริสุทธิ์ไปหมด ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๑. ทูเร จ ทิสฺวา วรจนฺทรํสี ปุปฺผึสุ ปุปฺผานิ มหีตลสฺมึ สมนฺตโต คนฺธคุณตฺถิกานํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 81

เพราะต้องรัศมีแห่งดวงจันทร์อันประเสริฐแต่ไกล ดอกไม้ทั้งหลาย บนผืนแผ่นดินโดยรอบ จึงแย้มบาน สำหรับคนทั้งหลายที่ต้องการคุณคือความหอม ข้าแต่ พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๒. จนทสฺส รํสีหิ วิลิมฺปิตาว มหี สมนฺตา กุสุเมนลงฺกตา วิโรจิ สพฺพงฺคสุมาลินีว สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. พื้นแผ่นดินถูกฉาบไว้ ด้วยรัศมีแห่งดวงจันทร์ ประดับดอกไม้โดยรอบก็สง่างาม ดั่งสตรีประดับมาลัย งามทั่วสรรพางค์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๓. กุจนฺติ หตฺถีปิ มเทน มตฺตา วิจิตฺตปิญฺฉา จ ทิชา สมนฺตา กโรนฺติ นาทํ ปวเน สุรมฺเม สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. แม้ช้างทั้งหลาย เมามัน ก็ส่งเสียงโกญจนาท และเหล่านกที่มีขนหางงาม ก็ร้องลั่นรอบป่าใหญ่ ที่ น่ารื่นรมย์ดี ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำ หรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 82

๕๔. ปถญฺจ สพฺพํ ปฏิปชฺชนกฺขมํ อิทฺธํ จ รฏฺํ สธนํ สโภคํ สพฺพตฺถุตํ สพฺพสุขปฺปทานํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. อนึ่งหนทางทุกสายก็ควรแก่การเดิน ทั้งรัฐอาณาจักรก็มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคะ มี่ทุกสิ่ง ให้ความสุขทุก อย่าง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๕. วนญฺจ สพฺพํ สุวิจิตฺตรูปํ สุมาปิตํ นนฺทนกานนํว ยตีน ปีตึ สตตํ ชเนติ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. วนะทุกวนะ ล้วนแต่งดงาม อันธรรมดาสร้าง สรรไว้ ประดุจสวนนันทนวัน ให้เกิดปิติแก่นักพรต ทั้งหลายเนืองๆ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๖. อลงฺกตํ เทวปุรํว รมฺมํ กปิลวตฺถุํ อิติ นามเธยฺยํ กุลนครํ อิธ สสฺสิริกํ สมโย มหาวีร องฺคีรสาน. พระนครของพระสกุล มีนามว่า กรุงกบิลพัศดุ์ ประดับประดาน่ารื่นรมย์ ดุจเทพนคร เป็นพระนคร

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 83

มีสิริสง่าในโลกนี้ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๗. มนุญฺอฏฺฏาลวิจิตฺตรูปํ สุผุลฺลปงฺเกรุหสณฺฑมณฺฑิตํ วิจิตฺตปริขาหิ ปุรํ สุรมฺมํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. พระนครงดงามด้วยหอรบน่าชื่นใจ ประดับด้วย บัวบานสะพรั่ง น่ารินรมย์อย่างดี ด้วยค่ายคูอันวิจิตร ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี- รสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๘. วิจิตฺตปาการญฺจ โตรณญฺจ สุภงฺคณํ เทวนิวาสภูตํ มนุญฺญวิถิ สุรโลกสนฺนิภํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ปราการอันวิจิตร เสาระเนียด และพระลานอัน งาม เป็นที่ประทับขององค์สมมติเทพ [พระมหากษัตริย์] ถนนที่น่าชื่นใจ ดุจดั่งเทวโลก ข้าแต่ พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๕๙. อลงฺกตา สากิยราชปุตตา วิราชมานา วรภูสเนหิ สุรินฺทโลเก อิว เทวปุตฺตา สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 84

เหล่าศากยราชบุตรแต่งพระองค์ งามรุ่งเรือง ด้วยเครื่องประดับอันประเสริฐ ประดุจเหล่าเทพบุตร ในภพอัมรินทร์ ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควร สำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๖๐. สุทฺโธทโน มุนิวรํ อภิทสฺสนาย อมจฺจปุตฺเต ทสธา อเปสยิ พเลน สทฺธึ มหตา มุนินฺท สมโย มหาวีร องฺคิรสานํ. ข้าแต่พระจอมมุนี พระเจ้าสุทโธทนะมหาราช มี พระราชประสงค์จะทรงพบพระจอมมุนี จึงทรงส่งบุตร อมาตย์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ ถึง ๑๐ ครั้ง ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี- รสแล้ว พระเจ้าข้า.

๖๑. เนวาคตํ ปสฺสติ เนว วาจํ โสกาภิภูตํ นรวีรเสฏฺํ โตเสตุมิจฺฉามิ นราธิปตฺตํ สมโย มหาวีรํ วงฺคีรนานํ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ไม่ทรงเห็นพระองค์ เสด็จมา ไม่ทรงได้ยินพระวาจา ข้าพระองค์ประสงค์ จะปลอบพระองค์ผู้แกล้วกล้าผู้ประเสริฐสุดในนรชน ผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน ซึ่งถูกความเศร้าโศกครองงำแล้ว ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคี- รสแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 85

๖๒. ตํทสฺสเนนพฺภุตปีติราสิ อุทิกฺขมานํ ทฺวิปทานมินฺทํ โตเสหิ ตํ มุนินฺท คุณเสฏฺํ สมโย มหาวีร องฺคีรสานํ. ข้าแต่พระจอมมุนี ผู้มีกองปีติน่าอัศจรรย์ เพราะ การเห็นพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปลอบ พระผู้ เป็นเจ้าแห่งหมู่มนุษย์ ผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ซึ่งตั้ง พระเนตรรอคอยพระองค์นั้นด้วยเถิด ข้าแต่พระมหา วีระ เป็นสมัยสมควรสำหรับพระอังคีรสแล้ว พระเจ้าข้า.

๖๓. อาสาย กสฺสเต เขตฺตํ พีชํ อาสาย วปฺปติ อาสาย วาณิชา ยนฺติ สมุทฺทํ ธนหารกา ยาย อาสาย ติฏฺามิ สา เม อาสา สมิชฺฌตุ. ชาวนาไถนาก็ด้วยความหวัง หว่านพืชก็ด้วย ความหวัง พ่อค้านำทรัพย์ไปทางทะเลก็ด้วยความหวัง ข้าพระองค์ยืนหยัดอยู่ด้วยความหวังใด ขอความหวัง นั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.

๖๔. นาติสีตํ นาติอุณฺหํ นาติทุพฺภิกฺขฉาตกํ สทฺทลา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนี. ข้าแต่พระมหามุนี ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก อาหารหาไม่ยากและไม่อดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี ด้วยหญ้าแพรก นี้เป็นกาลอันสมควรแล้ว พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 86

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า ดูก่อนอุทายี เธอสรรเสริญ การเดินทาง ทำไมหนอ. ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระชนกของพระองค์ มีพระราชประสงค์จะพบ พระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติเถิด พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ดีละ อุทายี เราตถาคตจักทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงบอกกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักบำเพ็ญคมิยวัตร [ธรรมเนียมของภิกษุผู้จะเดินทาง]. พระเถระทูลรับพระพุทธดำรัสว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วก็บอกกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์.

พระศาสดาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุขีณาสพรวมทั้งหมดสองหมื่นรูป คือ กุลบุตรชาวอังคะและมคธะหมื่นรูป กุลบุตรชาวกรุงกบิลพัสดุ์หมื่นรูป เสด็จ ออกจากกรุงราชคฤห์ เดินทางวันละโยชน์ๆ สองเดือนก็เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงแล้ว ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย ก็ช่วยกันเลือก สถานที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหมายพระทัยจักพบพระญาติผู้ ประเสริฐสุดของตน จึงกำหนดแน่ชัดว่า อารามของนิโครธศากยะ น่ารื่นรมย์ ให้จัดทำวิธีปฏิบัติทุกวิธี จึงพากันถือของหอมและดอกไม้ออกไปรับเสด็จ แต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง บูชาด้วยของหอมดอกไม้และจุรณเป็นต้น ต้น นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังนิโครธารามนั่นแล.

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระขีณาสพสองหมื่นรูปแวดล้อม แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดีที่เขาจัดไว้. ฝ่ายพวกเจ้าศากยะ เป็น ชาติมีมานะ กระด้างเพราะมานะ ต่างคิดกันว่า สิทธัตถกุมารหนุ่มกว่าเรา เป็นกนิษฐภาดา เป็นบุตร เป็นภาคิไนย เป็นนัดดา จึงกล่าวกะเหล่าราชกุมาร ที่หนุ่มๆ ว่า พวกเจ้าจงไหว้ เราจักนั่งอยู่ข้างหลังๆ พวกเจ้า. เมื่อเจ้าศากยะ

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 87

เหล่านั้นนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้ว ทรงพระดำริว่า พระญาติเหล่านี้ไม่ยอมไหว้เรา เพราะตนเป็นคนแก่ เปล่า เพราะพระญาติเหล่านั้น ไม่รู้ว่า ธรรมดาของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไร หรือว่าธรรมดาของพระพุทธเจ้าเป็น เช่นนี้ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ ถ้ากระไร เราเมื่อจะแสดง กำลังของพระพุทธเจ้าและกำลังของฤทธิ์ ก็ควรทำปาฏิหาริย์ จำเราจะเนรมิตที่ จงกรมแล้วด้วยรัตนะล้วน กว้างขนาดหมื่นจักรวาลในอากาศ เมื่อจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ตรวจดูอัธยาศัยของมหาชนแล้ว จึงจะแสดงธรรม. ด้วยเหตุนั้น เพื่อแสดงความปริวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

เพราะพระญาติเหล่านั้น พร้อมทั้งเทวดาและ มนุษย์ ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคนนี้เป็นเช่นไร กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร กำลังของพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่โลกเป็นเช่นไร.

เพราะพระญาติเหล่านั้น พร้อมทั้งเทวดาและ มนุษย์ไม่รู้ดอกว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดคนเป็นเช่นนี้ กำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้ กำลังของพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเป็นเช่นนี้.

เอาเถิด จำเราจักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้าอัน ยอดเยี่ยม จักเนรมิตที่จงกรมประดับด้วยรัตนะ ใน นภากาศ.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 88

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ชานนฺติ ความว่า เพราะว่า พระญาติเหล่านั้น ไม่ทรงรู้. อักษร มีอรรถปฏิเสธ. หิ อักษร เป็น นิบาตลงในอรรถว่าเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่เทวดาและมนุษย์มีพระญาติ เป็นต้นของเราเหล่านั้น เมื่อเราไม่ทำให้แจ่มแจ้งถึงกำลังของพระพุทธเจ้า และ กำลังของฤทธิ์ ก็ย่อมไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ กำลังของฤทธิ์เป็นเช่นนี้ ฉะนั้น เราจะพึงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า และกำลังของฤทธิ์ของเรา ดังนี้. ท่านประสงค์เอาอุปปัตติเทพว่า เทวดา ในคำว่า สเทวมนุสฺสา นี้. เป็นไป กับเทวดาทั้งหลาย เหตุนั้น จึงว่า สเทวา คนเหล่านั้นคือใคร คือมนุษย์. มนุษย์ทั้งหลายพร้อมกับเทวดา ชื่อว่า สเทวมานุสา. อีกนัยหนึ่ง พระเจ้า สุทโธทนะ สมมติเทพ ท่านประสงค์เอาว่า เทวดา. เป็นไปกับเทวดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า สเทวา. มนุษย์ที่เป็นพระญาติ ชื่อว่า มานุสา. มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดา คือพร้อมด้วยพระเจ้าสุทโธทนะ ชื่อว่า สเทวมานุสา. อธิบายว่า หรือว่า มนุษย์ที่เป็นญาติของเราเหล่านี้ พร้อมด้วยพระราชา ย่อมไม่รู้กำลังของเรา. แม้เทวดาที่เหลือก็สงเคราะห์เข้าไว้ ด้วย. เทวดาทั้งหมด ท่านเรียกว่า เทวดา เพราะอรรถว่า เล่น. ชื่อว่า เล่น เป็นอรรถของธาตุมีกีฬธาตุเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง เทวดาด้วย มนุษย์ ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์. เป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์ ชื่อว่า สเทว- มานุสา. เหล่านั้นคือใคร. พึงเห็นการเติมคำที่เหลือว่า โลกา โลกทั้งหลาย. บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้ รู้ตามซึ่งสัจธรรมทั้ง ๔. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺยํ อภิญฺาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ ปหาตพฺพํ ปหีนํ เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 89

สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเราก็รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญเราก็ เจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราก็ละแล้ว เพราะฉะนั้น เรา จึงเป็นพุทธะ นะพราหมณ์.

ก็ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์ สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกัตตุการก (ปฐมาวิภัตติ) ชื่อว่า พุทธะ เพราะเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ผู้บรรลุคุณวิเศษ ทราบกันอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ หนอ. ในที่นี้ พึงเห็นว่า พุทธศัพท์สำเร็จความในอรรถว่า เป็นกรรมการก. หรือว่า ความรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า พุทธะ อธิบายว่า ผู้ทรงมีความรู้. คำนั้นทั้งหมดพึงทราบตามแนวศัพทศาสตร์. บทว่า กีทิสโก ความว่า เป็นเช่นไร น่าเห็นอย่างไร เสมือนอะไร มีผิวอย่างไร มีทรวดทรงอย่างไร ยาวหรือสั้น.

บทว่า นรุตฺตโม ได้แก่ ความสูงสุด ความล้ำเลิศ ความประเสริฐสุด แห่งนรชน หรือในนรชนทั้งหลาย เหตุนั้น จึงชื่อว่า นรุตตมะ.

ความสำเร็จ ชื่อว่า อิทธิ ในคำว่า อิทฺธิพลํ นี้. ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า สำเร็จผล เพราะอรรถว่าได้. อีกนัยหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายสำเร็จ ได้ด้วยคุณชาตินั้น คือเป็นผู้สำเร็จ จำเริญ ถึงความสูงยิ่ง เหตุนั้น คุณชาติ นั้น จึงชื่อว่า อิทธิ คุณชาติเครื่องสำเร็จ.

ก็อิทธินั้นมี ๑๐ อย่าง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า

บทว่า อิทฺธิโย ได้แก่ อิทธิ ๑๐๑ อย่าง. อะไรบ้าง คือ อธิษฐานาอิทธิ ๑ วิกุพพนาอิทธิ ๑ มโนมยาอิทธิ ๑ ญาณวิปผาราอิทธิ ๑ สมาธิวิปผาราอิทธิ ๑ อริยาอิทธิ ๑ กัมมวิปากชาอิทธิ ๑ ปุญญวโตอิทธิ ๑ วิชชามยาอิทธิ ๑ ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ เพราะ ประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้นๆ เป็นปัจจัย ๑


๑. ขุ. ป. ๓๑/ข้อ ๖๘๐

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 90

อิทธิเหล่านั้น ต่างกันดังนี้. โดยปกติคนเดียวย่อมนึกเป็นมากคน นึกเป็นร้อยคนหรือพันคนแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า เราเป็นมากคน ฤทธิ์ที่ แยกตัวแสดงอย่างนี้ ชื่อว่า อธิษฐานาอิทธิ เพราะสำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐาน. อธิษฐานาอิทธินั้น มีความดังนี้ ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ถ้าปรารถนาเป็นร้อยคน ก็ทำบริกรรมด้วยบริ- กรรมจิตเป็นกามาวจรว่า เราเป็นร้อยคน เราเป็นร้อยคน แล้วเข้าฌาณอันเป็น บาทแห่งอภิญญาอีก ออกจากฌานนั้นแล้วนึกอธิษฐานอีก ก็เป็นร้อยคน พร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเอง. แม้ในกรณีพันคนเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ใน อธิษฐานาอิทธินั้น จิตที่ประกอบด้วยปาทกฌาน มีนิมิตเป็นอารมณ์ บริกรรม จิตมีร้อยคนเป็นอารมณ์บ้าง มีพันคนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์บ้าง บริกรรมจิตเหล่านั้นแล เป็นไปโดยอำนาจแห่งสี มิได้เป็นไปโดยอำนาจ แห่งบัญญัติ แม้อธิษฐานจิต ก็มีร้อยคนเป็นอารมณ์อย่างเดียว. แต่อธิษฐาน จิตนั้น ก็เหมือนอัปปนาจิต เกิดขึ้นในลำดับโคตรภูจิตเท่านั้น ประกอบด้วย จตุตถฌานฝ่ายรูปาวจร. แต่ผู้นั้น ละเพศปกติเสีย แสดงเพศกุมารบ้าง แสดง เพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพแม้ต่างๆ บ้าง ฤทธิ์ ที่มาโดยอาการดังกล่าวมาอย่างนี้ ชื่อว่า วิกุพพนาอิทธิ เพราะเป็นไป โดย ละเพศปกติ ทำให้แปลกๆ ออกไป.

ฤทธิ์ที่มาโดยนัยนี้ว่า ภิกษุในพระศาสนานี้เนรมิตกายอื่นนอกจากกาย นี้ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เป็นต้น ชื่อว่า มโนมยาอิทธิ [มโนมยิทธิ] เพราะเป็นไปโดยสำเร็จแห่ง สรีระที่สำเร็จมาแต่ใจ อันอื่น ในภายในสรีระนั่นเอง.


๑. ดู. ขุ.ป. ๓๑/ข้อ ๗๙๔

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 91

คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัตญาณ อันพึงได้ด้วย อัตภาพนั้น ก่อนหรือหลังญาณเกิด หรือในขณะนั้นเอง ชื่อว่า ญาณวิปผารา อิทธิ. ท่านพระพากุละ และท่านพระสังกิจจะ ก็มีญาณวิปผาราอิทธิ. เรื่อง พระเถระทั้งสองนั้น พึงกล่าวไว้ในข้อนี้.

คุณวิเศษที่บังเกิดด้วยอานุภาพสมถะก่อนหรือหลังสมาธิ หรือในขณะ นั้นเองชื่อว่า สมาธิวิปผาราอิทธิ. ท่านพระสารีบุตร ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ. ท่านพระสัญชีวะ ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ. อุตตราอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ สามาวดีอุบาสิกา ก็มีสมาธิวิปผาราอิทธิ เรื่องทั้งหลายของท่านเหล่านั้นดังกล่าว มานี้ ก็พึงกล่าวในข้อนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มิได้กล่าวไว้พิศดาร เพื่อบรรเทาโทษ คือความยืดยาวของคัมภีร์.

อริยาอิทธิเป็นอย่างไร ภิกษุในพระศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เรานั่งอยู่ มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลไซร้ ย่อมอยู่ มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ในอารมณ์นั้น ถ้าหวังว่าเราพึงอยู่ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลไซร้ ย่อมอยู่ มีความว่าปฏิกูลในอารมณ์นั้น ฯลฯ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ใน อารมณ์นั้น. แม้อิทธินี้ก็ชื่อว่า อริยาอิทธิ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งพระอริยะ ทั้งหลายผู้ถึงความชำนาญทางใจ.

กัมมวิปากชาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์มีการไปทางอากาศได้เป็นต้น ของเหล่านกทั้งหมด ของเทวดาทั้งหมด ของมนุษย์ต้นกัปและของวินิปาติกสัตว์ บางเหล่าชื่อว่า กัมมวิปากชาอิทธิ.

ปุญญวโตอิทธิเป็นอย่างไร. พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จทางอากาศไป กับกองทัพ ๔ เหล่า. ภูเขาทองขนาด ๘๐ ศอก บังเกิดแก่ชฏิลกคฤหบดี ฤทธิ์ นี้ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. โฆสกคฤหบดี แม้เมื่อถูกเขาพยายามฆ่าในที่ ๗ แห่ง

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 92

ก็ไม่เป็นไร ชื่อว่า ปุญญวโตอิทธิ. ความปรากฏของแพะทั้งหลาย ที่ทำด้วย รัตนะ ๗ในประเทศประมาณ ๘ กรีสแก่เมณฑกเศรษฐี ชื่อว่าปุญญวโตอิทธิ.

วิชชามยาอิทธิเป็นอย่างไร ฤทธิ์ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พวก วิทยาธรร่ายวิทยาเหาะได้ แสดงช้างในอากาศบนท้องฟ้า โอกาสที่เห็นได้ใน ระหว่างช้าง ฯลฯ แสดงกระบวนทัพต่างๆ บ้าง ชื่อว่า วิชชามยาอิทธิ.

คุณวิเศษที่ทำกิจกรรมนั้นแล้วบังเกิด เป็นอิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบเป็นปัจจัย ดังนี้ อิทธินี้ จึงชื่อว่า อิทธิ เพราะ อรรถว่า สำเร็จ ด้วยการประกอบโดยชอบในกิจกรรมนั้นๆ เป็นปัจจัย. อธิบายว่า กำลังแห่งฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้ชื่อว่า อิทธิพละ กำลังแห่งฤทธิ์ พระญาติ เหล่านี้ ไม่รู้จักกำลังแห่งฤทธิ์ของเรา.

กำลังแห่งปัญญาคือพระอรหัตตมรรค อันให้คุณวิเศษที่เป็นโลกิยะและ โลกุตระทั้งหมด ท่านประสงค์ว่า กำลังแห่งปัญญา. พระญาติเหล่านี้ไม่รู้จัก กำลังแห่งปัญญาแม้นั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่ากำลังแห่งปัญญานี้ เป็นชื่อของญาณที่ไม่สาธารณะ ๖ ประการ. พุทธานุภาพหรือทศพลญาณ ชื่อว่ากำลังแห่งพระพุทธเจ้าในคำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้านี้.

ญาณ ๑๐ คือ

๑. ฐานาฐานญาณ ญาณที่กำหนดรู้ฐานะเหตุที่ควรเป็นได้ และ อฐานะ เหตุที่ไม่ควรเป็นได้.

๒. อตีตานาคตปัจจุปปันนกัมมวิปากชานนญาณ ปรีชากำหนด รู้ผลแห่งกรรมที่เป็นอดีตและปัจจุบัน.

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง

๔. อเนกธาตุนานาธาตุโลกชานนญาณ ปรีชากำหนดรู้โลกคือ รู้ธาตุเป็นอเนกและธาตุต่างๆ.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 93

๕. นานาธิมุตติกญาณ ปรีชากำหนดรู้อธิมุตติคืออัธยาศัยของสัตว์ ทั้งหลายอันเป็นต่างๆ กัน.

๖. อาสยานุสยญาณ [อินทริยปโรปริยัตตญาณ] ปรีชากำหนด รู้ ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.

๗. ฌานวิโมกขสมาธิสมาปัตติสังกิเลสโวทานวุฏฐานยถาภูตญาณ ปรีชากำหนดรู้ตามเป็นจริงในความเศร้าหมองความบริสุทธิ์และ ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ.

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาฌ ปรีชากำหนดรู้ระลึกชาติหนหลังได้.

๙. จุตูปปาตญาณ ปรีชากำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.

๑๐. อาสวักขยญาณ ปรีชากำหนดรู้ทำอาสวะให้สิ้นไป.

คำว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้า เป็นชื่อของญาณ ๑๐ เหล่านี้. บทว่า เอทสํ แปลว่า เช่นนี้. หรือปาฐะ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.

ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตสงในอรรถว่าร้องเชิญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้พระองค์ด้วยบทว่า อหํ. ทรงอธิบายว่าอย่างไร ทรงอธิบายว่า ก็เพราะ เหตุที่ญาติทั้งหลายของเราไม่รู้กำลังแห่งพระพุทธเจ้าหรือพุทธคุณ อาศัยความ ที่ตนเป็นคนแก่เปล่า ไม่ไหว้เราผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลกทั้งปวง ด้วย อำนาจมานะอย่างเดียว ฉะนั้น ธงคือมานะของพระญาติเหล่านั้นมีอยู่ เราจะ รานมานะแล้วจึงพึงแสดงธรรมเพื่อพระญาติจะได้ไหว้เรา. บทว่าทสฺสยิสฺสามิ ได้แก่ พึงแสดง. ปาฐะว่า ทสฺเสสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือน กัน. บทว่า พุทฺธพลํ ได้แก่ พุทธานุภาพ หรือญาณวิเศษของพระพุทธเจ้า. บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า. สถานที่จงกรมท่านเรียกว่า จงฺกมํ ที่จงกรม. บทว่า มาปยิสฺสามิ ได้แก่ พึงเนรมิต. ปาฐะว่า จงฺกมนํ

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 94

มาเปสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า นเภ ได้แก่ ใน อากาศ. บทว่า สพฺพรตนมณฺฑิตํ ได้แก่ ตกแต่งประดับด้วยรัตนะ เพราะ อรรถว่าให้เกิดความยินดีทั้งหมด อย่างละ ๑๐ๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินทองและแก้วลาย ชื่อว่าประดับด้วย รัตนะทั้งปวง. ซึ่งที่จงกรมนั้นอันประดับด้วยรัตนะทั้งปวง อาจารย์บางพวก กล่าวว่า นเภ รตนมณฺฑิตํ ประดับด้วยรัตนะในนภากาศก็มี.

ครั้งนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายมี ภุมมเทวดาเป็นต้น ที่อยู่ในหมื่นจักรวาล ก็มีใจบันเทิง พากันถวายสาธุการ. พึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศความข้อนั้น ก็ได้ตั้ง คาถาเป็นต้นว่า

เหล่าเทวดาภาคพื้นดิน ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาว- ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส- วัตดี และเหล่าเทวดาฝ่ายพรหม ก็พากันร่าเริงเปล่ง เสียงดังถูกก้อง.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ ที่ตั้งอยู่ภาคพื้นดิน เช่น ตั้งอยู่ที่หิน ภูเขา ป่าและต้นไม้เป็นต้น. บทว่า มหาราชิกา ได้แก่ ผู้เป็น ฝ่ายมหาราช. อธิบายว่า เทวดาที่อยู่ในอากาศได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาที่อยู่ ภาคพื้นดิน ก็เปล่งเสียงดัง ต่อนั้น เทวดาเมฆหมอก จากนั้นเทวดาเมฆร้อน เทวดาเมฆเย็น เทวดาเมฆฝน เทวดาเมฆลม ต่อจากนั้น เทวดาชั้นจาตุ- มหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส- วัตดี ต่อจากนั้นหมู่พรหม พรหมชั้นพรหมปุโรหิต ชั้นมหาพรหม ชั้น

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 95

ปริตตาภา ชั้นอัปปมาณาภา ชั้นอาภัสสรา ชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปผลา ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี ต่อจากนั้น เทวดาชั้นอกนิษฐา ได้ยินเสียงก็เปล่งเสียงดัง เทวดามนุษย์และนาค เป็นต้นทั้งหมด ในสถานที่ๆ โสตายตนะรับฟังได้ เว้นอสัญญีสัตว์และอรูปวจรสัตว์ มีใจตกอยู่ใต้อำนาจปีติ ก็พากันเปล่งเสียงดังก้องสูงลิบ. บทว่า อานนฺ- ทิตา ได้แก่ มีใจบันเทิงแล้ว อธิบายว่า เกิดปีติโสมนัสเอง. บทว่า วิปุลํ ได้แก่ หนาแน่น.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ใน ลำดับที่ทรงพระพุทธดำริแล้วนั่นเอง ทรงอธิษฐานว่า ขอแสงสว่างจงมีทั้ง หมื่นจักรวาล. พร้อมกับอธิษฐานจิตนั้น แสงสว่างก็ปรากฏ ตั้งแต่แผ่นดินไป จนจดอกนิษฐภพ. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

แผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า โลกันตริกนรกอันหนาก็ปิดไว้ไม่ได้ ความมืดทึบก็ถูกขจัดใน ครั้งนั้น เพราะพบปาฏิหาริย์ อันน่ามหัศจรรย์.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสิตา แปลว่า สว่างแจ้งแล้ว. ใน คำว่า ปฐวีนี้ ปฐวีนี้มี ๔ อย่าง คือ กักขฬปฐวี สสัมภารปฐวี นิมิตตปฐวี สมมติปฐวี. ใน ปฐวี ๔ อย่างนั้น

ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ ปฐวีธาตุภายในเป็นอย่างไร. ของหยาบ ของแข้น ภายใน จำเพาะตน อันใด ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า กักขฬปฐวี.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 96

ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า อนึ่งภิกษุใดขุดเองก็ดี ใช้ให้ขุด ก็ดีซึ่งแผ่นดินดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี ปฐวีธาตุ ๒๐ ส่วน มีเกศา ผมเป็น ต้น และส่วนภายนอกมีเหล็ก โลหะเป็นต้นอันใด ปฐวีแม้นั้น เป็นปฐวีพร้อม ด้วยส่วนประกอบมีวรรณะ สีเป็นต้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า สสัมภารปฐวี.

ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมจำได้ซึ่งปฐวี กสิณดังนี้ ชื่อว่า นิมิตตปฐวี ท่านเรียกว่า อารัมมณปฐวี บ้าง.

ผู้ได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ บังเกิดในเทวโลกย่อมได้ชื่อว่าปฐวี- เทพ โดยการบรรลุปฐวีกสิณฌาน สมจริง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า อาโปเทพและปฐวีเทพ ดังนี้ นี้ชื่อว่า สมมติปฐวี. พึงทราบว่าชื่อว่า ปัญญัติ- ปฐวี. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาสสัมภารปฐวี.

บทว่า สเทวกา แปลว่า พร้อมทั้งเทวโลก. ปาฐะว่า สเทวตา ก็มี ถ้ามีก็ดีกว่า. ความก็ว่า มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกสว่างจ้าแล้ว. บทว่า ปุถู แปลว่า มาก. คำว่า โลกนฺตริกา นี้เป็นชื่อของสัตว์นรกจำพวกอสุรกาย ก็ โลกันตริกนรกเหล่านั้น เป็นโลกันตริกนรก นรกหนึ่ง ระหว่างจักรวาลทั้ง สาม. โลกันตริกนรก นรกหนึ่งๆ ก็เหมือนที่ว่างตรงกลางของล้อเกวียน ๓ ล้อ ซึ่งตั้งจดกันและกัน ว่าโดยขนาด ก็แปดพันโยชน์. บทว่า อุสํวุตา ได้แก่ ไม่ตั้งอยู่เบื้องต่ำ. บทว่า ตโม จ ได้แก่ ความมืด. บทว่า ติพฺโพ ได้แก่ หนาทึบ. เป็นความมืดเป็นนิตย์ เพราะไม่มีแสงสว่างของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์. บทว่า วิหโต ได้แก่ ถูกกำจัดแล้ว. บทว่า ตทา ความว่า กาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแผ่ แสงสว่างเพื่อทรงทำปาฏิหาริย์ กาลนั้นความมืดทึบอันตั้งอยู่ในโลกันตริกนรก ทั้งหลายก็ถูกกำจัดให้หายไป.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 97

บทว่า อจฺเฉรกํ ได้แก่ ควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่าควรแก่การ ปรบด้วยนิ้วมือโดยความประหลาดใจ. บทว่า ปาฏิหีรํ ได้แก่ ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำปฏิปักษ์ไป. หรือ ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำไปเฉพาะซึ่งดวงจิตที่เข้า ถึงทิฏฐิและมานะของสัตว์ทั้งหลาย. หรือว่า ชื่อว่าปาฏิหีระ เพราะนำมาเฉพาะ ซึ่งความเลื่อมใสของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส. ปาฐะว่า ปาฏิเหระ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน คำนี้เป็นชื่อของคุณวิเศษแห่งวิธีการจัดแสงสว่างใน ข้อนี้. พึงนำคำนี้ว่า เทวดา มนุษย์และแม้สัตว์ที่บังเกิดในโลกันตริกนรกทั้งหลาย แลเห็นปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว ก็เข้าถึงปีติและโสมนัสอย่างยิ่ง ดังนี้แล้ว ก็พึงเห็นความในคำนี้ว่า เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันมหัศจรรย์. นอกจาก นี้จะเอาคำปลายมาไว้ต้นก็ไม่ถูก หรือจะเอาคำต้นมาไว้ปลาย ก็ไม่ถูก.

บัดนี้ เพื่อแสดงว่า มิใช่มีแสงสว่างในมนุษยโลกอย่างเดียวเท่านั้น ในโลกกล่าวคือสังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก แม้ทั้งสาม ก็มีแสงสว่าง ทั้งหมดเหมือนกัน ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า

แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ก็เกิดในโลกนี้โลกอื่น และโลกทั้งสองพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และ รากษสขยายไปทั้งเบื้องต่ำ เบื้องบนและเบื้องขวาง.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวา ได้แก่ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ รวมเทพทั้งหมดท่านสงเคราะห์ไว้ในบทนี้. เทวดาด้วยคนธรรพ์ ด้วย มนุษย์ด้วย รากษสด้วย ชื่อว่าเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และรากษส. เป็นไปกับด้วยเทพคนธรรพ์มนุษย์และรากษส ชื่อว่าพร้อมด้วยเทพ คนธรรพ์ มนุษย์และรากษส. นั้นคืออะไร. คือโลก ในโลกแห่งเทพ คนธรรพ์

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 98

มนุษย์และรากษสนั้น. บทว่า อาภา แปลว่า แสงสว่าง. อุฬาร ศัพท์นี้ใน คำว่า อุฬารา นี้ ปรากฏในอรรถมีอร่อย ประเสริฐ และไพบูลย์เป็นต้น. จริงอย่างนั้น อุฬาร ศัพท์นี้ปรากฏในอรรถว่า อร่อย ในบาลีเป็นต้นว่า อุฬารานิ ขาทนียโภชนียานิ ขาทนฺติ ภุญฺชนฺติ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเคี้ยว ย่อมฉัน ของเคี้ยวของฉันอันอร่อย.

ปรากฏในอรรถว่า ประเสริฐ ในบาลีเป็นต้นว่า อุฬาราย โข ปน ภวํ วจฺฉายโน ปสํสาย สมณํ โคตมํ ปสํสติ. ก็ท่านวัจฉายนพราหมณ์ สรรเสริญพระสมณโคดม ด้วยการสรรเสริญอันประเสริฐแล.

ปรากฏในอรรถว่า ไพบูลย์ ในบาลีเป็นต้นว่า อติกฺกมฺม เทวานํ เทวานุภาวํ อปฺปมาโณ อุฬาโร โอภาโส แสงสว่างไพบูลย์ไม่มีประมาณเกินเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. อุฬาร ศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าปรากฏ ในอรรถว่า ประเสริฐ ในที่นี้.

บทว่า วิปุลา ได้แก่ ไม่มีประมาณ. บทว่า อชายถ ได้แก่ อุบัติ แล้ว เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปแล้ว. บทว่า อิมสฺมึ โลเก ปรสฺมิญฺจ ความว่า ในมนุษยโลกนี้ และในโลกอื่น คือเทวโลก. บทว่า อุภยสฺมึ ได้แก่ ใน โลกทั้งสองนั้น. พึงเห็นเหมือนในโลกภายในและโลกภายนอกเป็นต้น. บทว่า อโธ จ ได้แก่ ในนรกทั้งหลายมีอเวจีเป็นต้น. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ แม้ในกลาง หาวนับแต่ภวัคคพรหม. บทว่า ติริยญฺจ ได้แก่ ในหมื่นจักรวาลโดยเบื้องขวาง. บทว่า วิตฺถตํ ได้แก่ แผ่ซ่านไป. อธิบายว่า แสงสว่างกำจัดความมืด ครอบ คลุมโลกและประเทศดังกล่าวแล้วเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ติริยญฺจ วิตฺถตํ ได้แก่ แผ่ไปโดยเบื้องขวางคือใหญ่ อธิบายว่า แสงสว่างแผ่คลุม ตลอดประเทศไม่มีประมาณ.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 99

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่แสงสว่างไปในหมื่นจักรวาล ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ทรงออกจากฌานนั้นแล้วทรงเหาะ ขึ้นสู่อากาศ ด้วยอธิษฐานจิต ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ท่ามกลางเทวบริษัทและมนุษยบริษัทอันใหญ่ เหมือนทรงโปรยธุลีพระบาทลงเหนือเศียร ของพระประยูรญาติเหล่านั้น. ก็ยมกปาฏิหาริย์นั้น พึงทราบจากบาลีอย่างนี้

ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นอย่าง- ไร. พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในโลกนี้ ไม่ทั่ว ไปแก่พระสาวกทั้งหลาย คือลำไฟแลบออกจากพระกาย เบื้องบน ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องล่าง, ลำไฟ แลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อน้ำไหลออกจาก พระกายเบื้องบน.

ลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องหน้า ท่อน้ำไหล ออกจากพระกายเบื้องหลัง, ลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องหลัง ท่อน้ำไหลออกจากพระกายเบื้องหน้า. ลำไฟแลบออกจากพระเนตรเบื้องขวา ท่อน้ำ ไหลออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก พระเนตรเบื้องซ้าย ท่อนำไหลออกจากพระเนตร เบื้องขวา.

ลำไฟแลบออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา ท่อ น้ำไหลออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ ออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออกจาก ช่องพระกรรณเบื้องขวา.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 100

ลำไฟแลบออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ท่อ น้ำไหลจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย. ท่อน้ำไหลออก จากช่องพระนาสิกเบื้องขวา ลำไฟแลบออกจากช่อง พระนาสิกเบื้องซ้าย.

ลำไฟแลบออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา ท่อ น้ำไหลออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบ ออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจาก จะงอยพระอังสาเบื้องขวา.

ลำไฟแลบออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา ท่อน้ำไหล ออกจากพระหัตเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา. ลำไฟแลบออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา ท่อน้ำ ไหลออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก พระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระปรัศว์ เบื้องขวา.

ลำไฟแลบออกจากพระบาทเบื้องขวา ท่อน้ำ ไหลออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ลำไฟแลบออกจาก พระบาทเบื้องซ้าย ท่อน้ำไหลออกจากพระบาทเบื้อง ขวา.

ลำไฟแลบออกจากทุกพระองคุลี ท่อน้ำไหลออก จากระหว่างพระองคุลี, ลำไฟแลบออกจากระหว่าง พระองคุลี ท่อน้ำไหลออกจากทุกพระองคุลี.

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 101

ลำไฟแลบออกจากพระโลมาแต่ละเส้น ท่อน้ำ ไหลออกจากพระโลมาแต่ละเส้น, ลำไฟแลบออกจาก ขุมพระโลมาแต่ละขุม ท่อน้ำก็ไหลออกจากขุมพระ โลมาแต่ละขุม มีวรรณะ ๖ คือ เขียว เหลือง แดง ขาว แดงเข้ม เลื่อมพราย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนิน พระพุทธเนรมิต ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธเนรมิต ทรง ดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง บรรทมบ้าง. พระผู้มี พระภาคเจ้าบรรทม พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง.

พระพุทธเนรมิต ทรงดำเนิน พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง. พระพุทธเนรมิตประทับยืน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำ- เนินบ้าง ประทับนั่งบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิต ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินบ้างประทับ ยืนบ้าง บรรทมบ้าง พระพุทธเนรมิตบรรทม พระผู้ มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำเนินบ้าง ประทับยืนบ้าง ประทับ นั่งบ้าง. นี้พึงทราบว่าญาณในยมกปาฏิหาริย์ของ พระตถาคต.

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 102

แต่พึงทราบว่า ที่ท่านกล่าวว่าลำไฟแลบออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อ น้ำไหลออกจากพระกายเบื้องบน ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า ลำไฟแลบออกจากพระ กายเบื้องบน ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็โดยเตโชกสิณสมาบัติ ท่อน้ำไหล ออกจากพระกายเบื้องล่าง ก็โดยอาโปกสิณสมาบัติ เพื่อแสดงอีกว่า ลำไฟ ย่อมแลบออกไปจากที่ๆ ท่อน้ำไหลออกไป ท่อน้ำก็ไหลออกไปจากที่ๆ ลำไฟ แลบออกไป. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนี้ลำไฟก็ไม่ปนกับท่อ น้ำ ท่อน้ำก็ไม่ปนกับลำไฟเหมือนกัน. ส่วนบรรดารัศมีทั้งหลาย รัศมีที่สองๆ ย่อมแล่นไปในขณะเดียวกัน เหมือนเป็นคู่กับรัศมีต้นๆ. ก็ธรรมดาว่าจิตสอง ดวงจะเป็นไปในขณะเดียวกันย่อมไม่มี. แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รัศมี เหล่านี้ ย่อมแลบออกไปเหมือนในขณะเดียวกัน เพราะทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยอาการ ๕ เหตุการพักแห่งภวังคจิตเป็นไปรวดเร็ว. แต่การนึกการบริกรรม และการอธิษฐานรัศมีนั้น เป็นคนละส่วนกันทีเดียว. จริงอยู่ เมื่อต้องการรัศมี เขียว พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเข้านีลกสิณสมาบัติ. เมื่อต้องการรัศมีสีเหลือง เป็นต้น ก็ย่อมทรงเข้าปีตกสิณสมาบัติเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำยมกปาฏิหาริย์อยู่อย่างนี้ ก็ได้เป็น เหมือนกาลที่เทวดาในหมื่นจักรวาล แม้ทั้งสิ้น ทำการประดับองค์ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระศาสดา ผู้สูงสุดในสัตว์ ผู้ยอดเยี่ยม ผู้เป็น นายกพิเศษ ได้เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว เป็นผู้มีอานุภาพ มีลักษณะบุญนับร้อย ก็ทรงแสดง ปาฏิหาริย์มหัศจรรย์.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 103

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุตฺตโม ได้แก่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ เพราะเป็นผู้สูงสุด ล้ำเลิศ ประเสริฐสุด ในสัตว์ทั้งหมด ด้วยพระคุณทั้งหลาย มีศีลเป็นต้นของพระองค์ หรือว่าเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสัตตุตตมะ ความจริง คำว่า สัตตะ เป็นชื่อของญาณ. ชื่อว่า สัตตุตตมะ เพราะทรง เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุด ด้วยพระญาณ [สัตตะ] กล่าวคือทศพลญาณและ จตุเวสารัชชญาณ อันเป็นอสาธารณญาณนั้น. หรือทรงเป็นสัตว์สูงสุด โดย ทรงทำยิ่งยวดด้วยพระญาณที่ทรงมีอยู่ ชื่อว่า สัตตุตตมะ. ถ้าเป็นดั่งนั้น ก็ควร กล่าวโดยปาฐะลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้นว่า อุตฺตมสตฺโต แต่ความต่างอันนี้ ไม่พึงเห็น โดยบาลีเป็นอันมากไม่นิยมเหมือนศัพท์ว่า นรุตตมะ ปุริสุตตมะ และ นรวระ เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง ญาณ [สัตตะ] อันสูงสุด มีแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นชื่อว่า สัตตุตตมะ มีญาณอันสูงสุด. แม้ในที่นี้ ก็ลง อุตตมะ ศัพท์ไว้ข้างต้น โดยปาฐะลงวิเสสนะไว้ข้าง ต้นว่า อุตฺตมสตฺโต เหมือนในคำนี้ว่า จิตฺตคู ปทฺธคู เหตุนั้น ศัพท์นี้จึงไม่มีโทษ. หรือพึงเห็นโดยวิเสสนะทั้งสองศัพท์ เหมือนปาฐะมีว่า อาหิตคฺคิ เป็นต้น. บทว่า วินายโก ได้แก่ชื่อว่า วินายกะ เพราะทรง แนะนำ ทรงฝึกสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบายเครื่องแนะนำเป็นอันมาก. บทว่า สตฺถา ได้แก่ ชื่อว่าศาสดา เพราะทรงพร่ำสอนสัตว์ทั้งหลายตามความเหมาะสม ด้วย ประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้า. บทว่า อหู แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า เทวมนุสฺสปูชิโต ความว่า ชื่อว่า เทพ เพราะระเริงเล่นด้วย กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะใจสูง. เทวดาด้วย มนุษย์ ด้วย ชื่อว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ชื่อว่า เทวมนุสสปูชิตะ อันเทวดาและมนุษย์บูชาด้วยการบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 104

และการบูชาด้วยปัจจัย [๔] อธิบายว่า ยำเกรงแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงถือเอาแต่เทวดาและมนุษย์เท่านั้นเล่า สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เช่นช้างชื่ออารวาฬะ กาฬาปลาละ ธนปาละ ปาลิเลยยกะ เป็นต้นก็มี ที่เป็น วินิปาติกะเช่นยักษ์ชื่อสาตาคิระ อาฬวกะ เหมวตะ สูจิโลมะ ขรโลมะเป็นต้น ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น มิใช่หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นก็จริงดอก แต่ คำนี้พึงเห็นว่า ท่านกล่าวโดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ และโดยกำหนดเฉพาะ ภัพพบุคคล. บทว่า มหานุภาโว ได้แก่ ผู้ประกอบแล้วด้วยพระพุทธานุภาพ ยิ่งใหญ่. บทว่า สตปุญฺลกฺขโณ ความว่า สัตว์ทั้งหมดในอนันตจักรวาล พึงทำบุญกรรมอย่างหนึ่งๆ ตั้งร้อยครั้ง พระโพธิสัตว์ลำพังพระองค์เอง ก็ทำ กรรมที่ชนทั้งหลายมีประมาณเท่านั้นทำแล้วเป็นร้อยเท่าจึงบังเกิด เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สตปุญฺลกฺขโณ ผู้มีลักษณะบุญนับร้อย. แต่อาจารย์บาง พวกกล่าวว่า ทรงมีลักษณะอย่างหนึ่งๆ ที่บังเกิดเพราะบุญกรรมเป็นร้อยๆ คำนั้นท่านคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งก็พึงเป็น พระพุทธเจ้าได้น่ะสิ. บทว่า ทสฺเสสิ ความว่า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ทำ ความประหลาดใจยิ่ง แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.

ครั้งนั้น พระศาสดาครั้นทรงทำปาฏิหาริย์ในอากาศแล้ว ทรงตรวจดู อาจาระทางจิตของมหาชน มีพระพุทธประสงค์จะทรงจงกรมพลาง ตรัส ธรรมกถาพลาง ที่เกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น จึงทรงเนรมิต รัตนจง- กรมที่สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด กว้างเท่าหมื่นจักรวาลในอากาศ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 105

พระศาสดาพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ สูงสุดใน นรชน ผู้นำโลก อันเทวดาผู้ประเสริฐทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงพิจารณาถึงประโยชน์แล้ว ในครั้งนั้น จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อันสร้างด้วยรัตนะทั้งหมดสำเร็จลงด้วยดี.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ พระศาสดาพระองค์นั้น. บทว่า ยาจิโต ความว่า ถูกทูลอ้อนวอนขอให้ทรงแสดงธรรมในสัปดาห์ที่แปด เป็น ครั้งแรกทีเดียว. บทว่า เทววเรน ได้แก่ อันท้าวสหัมบดีพรหม. ในคำว่า จกฺขุมา นี้. ชื่อว่าเป็นผู้มีพระจักษุ เพราะทรงเห็น อธิบายว่า ทรงเห็น แจ่มแจ้งซึ่งที่เรียบและไม่เรียบ.

ก็จักษุนั้นมี ๒ อย่างคือ ญาณจักษุและมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้งสอง นั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่างคือ พุทธจักษุ ธันมจักษุ สมันตจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ.

บรรดาจักษุทั้ง ๕ นั้น ญาณที่หยั่งรู้อาสยะและอนุสยะ และญาณที่ หยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ ซึ่งมาในบาลีว่า ทรงตรวจดูโลกด้วย พระพุทธจักษุ ชื่อว่า พุทธจักษุ.

มรรค ๓ ผล ๓ เบื้องต่ำ ที่มาในบาลีว่า ธรรมจักษุที่ปราศจากกิเลส ดุจธุลี ปราศจากมลทินเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า ธัมมจักษุ. พระสัพพัญญุตญาณที่มา ในบาลีว่า ข้าแต่พระผู้มีปัญญาดี ผู้มีจักษุโดยรอบ โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทที่ สำเร็จด้วยธรรม ก็อุปมาฉันนั้นเถิด ชื่อว่า สมันตจักษุ.

ญาณที่ประกอบพร้อมด้วยอภิญญาจิตที่เกิดขึ้น ด้วยการเจริญอาโลกกสิณสมาบัติ ที่มาในบาลีว่า ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทิพพจักษุ. ญาณที่มาแล้วว่า ปัญญาจักษุ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นที่มาในบาลีนี้ว่า จักษุ เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ปัญญาจักษุ.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 106

มังสจักษุเป็นที่อาศัยของประสาท ที่มาในบาลีนี้ว่าอาศัยจักษุและรูปดังนี้ ชื่อว่า มังสจักษุ. ก็มังสจักษุนั้นมี ๒ คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. บรรดา จักษุทั้ง ๒ นั้น ชิ้นเนื้อนี้ใด อันชั้นตาทั้งหลายล้อมไว้ในเบ้าตา ในชิ้น เนื้อใด มีส่วนประกอบ ๑๓ ส่วนโดยสังเขป คือ ธาตุ ๔ สี กลิ่น รส โอชะ สัมภวะ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาท แต่โดยพิศดาร มีส่วน ประกอบ คือ สมุฏฐาน ๔ ที่ชื่อว่า สัมภวะ สมุฏฐาน ๓๖ และกัมมสมุฏ- ฐาน ๔ คือ ชีวิต ภาวะ จักษุประสาท กายประสาทอันนี้ ชื่อว่า สสัมภารจักษุ. จักษุใดตั้งอยู่ในวงกลม " เห็น " [เล็นซ์] ซึ่งถูกวงกลมคำอันจำกัดด้วย วงกลมขาวล้อมไว้ เป็นเพียงประสาทสามารถเห็นรูปได้ จักษุนี้ ชื่อว่าปสาทจักษุ.

ก็จักษุเหล่านั้นทั้งหมด มีอย่างเดียว โดยความไม่เที่ยง โดยมีปัจจัย ปรุงแต่ง. มี ๒ อย่าง โดยเป็นไปกับอาสวะ และไม่เป็นไปกับอาสวะ, โดย โลกิยะและโลกุตระ. จักษุมี ๓ อย่าง โดย ภูมิ โดย อุปาทินนติกะ, มี ๔ อย่างโดย เอกันตารมณ์ ปริตตารมณ์ อัปปมาณารมณ์และอนิยตารมณ์. มี ๕ อย่าง คือ รูปารมณ์ นิพพานารมณ์ อรุปารมณ์ สัพพารมณ์และอนารัมมณารมณ์. มี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจพุทธจักษุเป็นต้น จักษุดังกล่าวมาเหล่านี้ มีอยู่ แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงเรียก ว่า จักขุมา ผู้มีพระจักษุ.

บทว่า อตฺถํ สเมกฺขิตฺวา ความว่า ทรงเนรมิตที่จงกรม อธิบายว่า ทรงพิจารณาใคร่ครวญถึงประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อัน เป็นนิมิตแห่งการทรงแสดงธรรม. บทว่า มาปยิ แปลว่า ทรงเนรมิต. บทว่า โลกนายโก ได้แก่ ทรงชื่อว่าผู้นำโลก เพราะทรงแนะนำสัตว์โลกมุ่งหน้าตรง

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 107

ต่อสวรรค์และนิพพาน. บทว่า สุนิฏฺิตํ แปลว่า สำเร็จด้วยดี อธิบายว่าจบ สิ้นแล้ว. บทว่า สพฺพรตนนิมฺมิตํ ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะ ๑๐ อย่าง. บัดนี้ เพื่อแสดงความถึงพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน ปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธึ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่า อิทธิปาฏิหารย์, อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียว ก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคน ก็เป็นคนเดียวได้บ้าง. บทว่า อาเทสนา ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์. อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลาย และของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้นๆ. ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่า นี้ มีดังกล่าวมาฉะนี้. บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร]. ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น. คำว่า ภควา นี้

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 108

เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

ภควาติ วจนํ เสฏฺํ ภควาติ วจนมุตฺตมํ คุรคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์นั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.

บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้. อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้. วสี ๕ คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิษฐานวสี วุฏฐานวสี และปัจจเวกขณวสี ชื่อว่า วสี.

บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใดๆ ตามความ ปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็ว จึงชื่อว่า อาวัชชนวสี. ทรงเข้าฌาน ใดๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มี เลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็ว จึงชื่อว่า สมาปัชชนวสี. ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่า อธิษฐานวสี. ความที่ทรงสามารถ ออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่า วุฏฐานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อม เป็นปัจเจกขณชวนจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน ลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี ๕ เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วย ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 109

บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิธีเนรมิตรัตนจงกรมนั่น ท่านจึงกล่าวคาถาเป็นต้น ว่า

จึงทรงแสดงยอดสิเนรุบรรพต ในหมื่นโลกธาตุ เป็นประหนึ่งเสาตั้งเรียงรายกันเป็นรัตนจงกรม ที่จง- กรมสำเร็จด้วยรัตนะ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ ในหมื่น จักรวาล. บทว่า สิเนรุปพฺพตุตฺตเม ได้แก่ ทรงทำภูเขาอันประเสริฐสุด ที่เรียกกันว่ามหาเมรุ. บทว่า ถมฺเภว ความว่า ทรงทำสิเนรุบรรพตใน หมื่นจักรวาล ให้เป็นประหนึ่งเสาตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบ ทรงทำให้เป็นดัง เสาทองแล้วทรงเนรมิตที่จงกรมเบื้องบนเสาเหล่านั้นแสดงแล้ว. บทว่า รตนามเย ก็คือ รตนมเย แปลว่า สำเร็จด้วยรัตนะ.

บทว่า ทสสหสฺสี อติกฺกมฺม ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเนรมิตรัตนจงกรม ก็ทรงเนรมิต ทำปลายข้างหนึ่งของรัตนจงกรมนั้น ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกท้ายสุดทั้งหมด ทำปลายอีกข้างหนึ่ง ตั้งล้ำขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระชินพุทธเจ้า ทรงเนรมิตรัตนจงกรมล้ำหมื่น โลกธาตุ ตัวจงกรมเป็นรัตนะ พื้นที่สองข้างเป็นทอง หมด.

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 110

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่า ชินะ เพราะทรง ชนะข้าศึกคือกิเลส. บทว่า สพฺพโสณฺณมยา ปสฺเส ความว่า ที่สองข้าง ของที่จงกรมที่ทรงเนรมิตนั้น มีพื้นที่อันเป็นขอบคันเป็นทองน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. อธิบายว่า ตรงกลางเป็นแก้วมณี.

บทว่า ตุลาสงฺฆาฏา ได้แก่ จันทันคู่. จันทันคู่นั้นพึงทราบว่า ก็เป็นรัตนะต่างๆ. บทว่า อนุวคฺคา ได้แก่ สมควร. บทว่า โสวณฺณ- ผลกตฺถตา แปลว่า ปูด้วยแผ่นกระดานที่เป็นทอง. อธิบายว่า หลังคาไม้ เลียบที่เป็นทอง เบื้องบนจันทันขนาน. บทว่า เวทิกา สพฺพโสวณฺณา ความว่า ไพรที [ชุกชี] ก็เป็นทองทั้งหมด ส่วนไพรที่ล้อมที่จงกรม ก็มี ไพรที่ทองอย่างเดียว ไม่ปนกับรัตนะอื่นๆ. บทว่า ทุภโต ปสฺเสสุ นิมฺมิตา แปลว่า เนรมิตที่ทั้งสองข้าง. ท อักษรทำบทสนธิต่อบท.

บทว่า มณิมุตฺตาวาลุกากิณฺณา แปลว่า เรี่ยรายด้วยทรายที่เป็น แก้วมณีและแก้วมุกดา. อีกนัยหนึ่ง แก้วมณีด้วย แก้วมุกดาด้วย ทรายด้วย ชื่อว่า แก้วมณีแก้วมุกดาและทราย. เรี่ยรายคือลาดด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและ ทรายเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าเรี่ยรายด้วยแก้วมณีแก้วมุกดาและทราย. บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ เนรมิต คือทำด้วยอาการนี้. บทว่า รตนามโย ได้แก่ สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด. อธิบายว่าที่จงกรม. บทว่า โอภาเสติ ทิสา สพฺพา ความว่า ส่องสว่างกระจ่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ. บทว่า สตรํสีว ได้แก่ เหมือนดวงอาทิตย์พันแสงฉะนั้น. บทว่าอุคฺคโต แปลว่า อุทัยแล้ว อธิบายว่า ก็ดวงอาทิตย์ [พันแสง] อุทัยขึ้นแล้วย่อมส่องแสงสว่างตลอดทั่วทั้ง ๑๐ ทิศฉันใด ที่จงกรมที่เป็นรัตนะทั้งหมดแม้นี้ ก็ส่องสว่างฉันนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 111

บัดนี้ เมื่อที่จงกรมสำเร็จแล้ว เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มี- พระภาคเจ้า ณ ที่จงกรมนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาว่า

พระชินสัมพุทธเจ้าจอมปราชญ์ ผู้ทรงพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เมื่อทรงรุ่งโรจน์ ณ ที่ จงกรมนั้น ก็เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรม.

เทวดาทั้งหมดมาประชุมกัน พากันโปรยดอก มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะ อันเป็นของ ทิพย์ลงเหนือที่จงกรม.

หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ก็บันเทิง พากันชม พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต่างยินดีร่าเริงบันเทิงใจ พากันมาชุมนุมนมัสการ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยธิติปัญญา. บทว่า ทฺวตฺตึสวรลกฺขโณ ความว่า ผู้ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีฝ่าพระบาทตั้งลงด้วยดี. บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดใน เทวโลก ชื่อว่าของทิพย์. บทว่า ปาริฉัตตกะ ความว่า ต้นปาริฉัตตกะที่น่าชม อย่างยิ่ง ขนาดร้อยโยชน์โดยรอบ บังเกิดเพราะผลบุญแห่งการถวายต้นทองหลาง ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์. เมื่อปาริฉัตตกะต้นใดออกดอกบานแล้ว ทั่วทั้งเทพ- นครจะอบอวลด้วยกลิ่นหอมเป็นอย่างเดียวกัน. วิมานทองใหม่ทั้งหลาย ที่ กลาดเกลื่อนด้วยละอองดอกของปาริฉัตตกะต้นนั้น จะปรากฏเป็นสีแดงเรื่อๆ. และดอกของต้นปาริฉัตตกะนี้ ท่านเรียกว่า ปาริฉัตตกะ. บทว่า จงฺกมเน โอกิรนฺติ ความว่า ย่อมโปรยลง ณ ที่รัตนจงกรมนั้น บูชาพระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 112

ภาคเจ้า ซึ่งกำลังเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ด้วยดอกไม้ดังกล่าวนั้น. บทว่า สพฺเพ เทวา ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาที่เป็นกามาวจรเป็นต้น. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสนฺติ ตํ เทวสงฺฆา หมู่เทพทั้งหลายก็พากัน ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. อธิบายว่า หมู่เทพพากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม แม้ในสุราลัยทั้งหลายของ ตนเอง. บทว่า ทสสหสฺสี เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า หมู่เทพในหมื่นโลกธาตุ ชมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า ปโมทิตา แปลว่า บันเทิงแล้ว. บทว่า นิปตนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน. บทว่า ตุฏฺหฏฺา ได้แก่ ยินดีร่าเริง.ด้วยอำนาจปีติ พึงเห็นการเชื่อม ความ บทว่า ปโมทิตา ว่า บันเทิงกับเทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นดาว- ดึงส์เป็นต้น ที่พึงกล่าว ณ บัดนี้. การเชื่อมความนอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือ การกล่าวซ้ำ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า เทวดาทั้งหลายบันเทิงแล้ว ชมพระผู้- มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยินดีร่าเริงบันเทิงใจแล้ว ก็พากันประชุม ณ ที่ นั้นๆ.

บัดนี้ เพื่อแสดงถึงเหล่าเทพที่ชมที่ประชุมกันโดยสรุป ท่านพระสังคี- ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีจิตโสมนัสมีใจดีพากันชมพระผู้นำโลก.

เหล่านาค สุบรรณและเหล่ากินนรพร้อมทั้งเทพ คนธรรพ์มนุษย์และรากษส พากันชมพระผู้มีพระภาค- เจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์โลกพระองค์นั้น เหมือนชมดวงจันทร์ซึ่งโคจร ณ ท้องนภากาศฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 113

เหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ ชั้นสุภกิณหะ ชั้น เวหัปผลา และชั้นอกนิฏฐะ ทรงครองผ้าขาวสะอาด พากันยืนประคองอัญชลี.

พากันโปรย ดอกมณฑารพ ๕ สี ประสมกับ จุรณจันทน์ โบกผ้าทั้งหลาย ณ ภาคพื้นอัมพรในครั้ง นั้น อุทานว่า โอ! พระชินเจ้า ผู้เกื้อกูลและอนุเคราะห์ โลก.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทคฺคจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตเบิกบานด้วย อำนาจปีติโสมนัส. บทว่า สุมนา ได้แก่ ผู้มีใจดี เพราะเป็นผู้มีจิตเบิกบาน. บทว่า โลกหิตานุกมฺปกํ ได้แก่ ผู้เกื้อกูลโลก และผู้อนุเคราะห์โลก หรือ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก ชื่อว่าโลกหิตานุกัมปกะ. บทว่า นเภว อจฺจุคฺคตจนฺทมณฺฑลํ ความว่า พากันชมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์ ด้วยพุทธสิริ ที่ทำความชื่นมื่นแก่ดวงตา เหมือนชมดวงจันทร์ในฤดูสารทที่ พ้นจากอุปัทวะทั้งปวง เต็มดวง ซึ่งอุทัยใหม่ๆ ในอากาศนี้.

บทว่า อาภสฺสรา ท่านกล่าวโดยกำหนดภูมิที่สูงสุด. เทพชั้น ปริตตาภา อัปปมาณาภาแล ะอาภัสสระ ที่บังเกิดด้วยทุติยฌาน อันต่างโดย กำลังน้อย ปานกลางและประณีต พึงทราบว่าท่านถือเอาหมด. บทว่า สุภกิณฺหา ท่านก็กล่าวไว้โดยกำหนดภูมิที่สูงสุดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เทพชั้น ปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา และชั้นสุภกิณหะ ที่บังเกิดด้วยตติยฌาน อัน ต่างโดยกำลังน้อยเป็นต้น ก็พึงทราบว่าท่านถือเอาหมดเหมือนกัน. บทว่า เวหปฺผลา ได้แก่ ชื่อว่าเวหัปผลา เพราะมีผลไพบูลย์. เทพชั้นเวหัปผลา

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 114

เหล่านั้น อยู่ชั้นเดียวกับเทพที่เป็นอสัญญสัตว์ทั้งหลายเพราะเกิดด้วยจตุตถฌาน. แต่เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้นซึ่งบังเกิดด้วยปฐมฌานท่านแสดงไว้ใน ภูมิเบื้องต่ำ เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่แสดงไว้ในที่นี้. อสัญญสัตว์ และอรูปีสัตว์ ท่านมิได้ยกขึ้นแสดงในที่นี้ เพราะไม่มีจักษุและโสตะ. บทว่า อกนิฏฺา จ เทวตา ท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ก็โดยกำหนดภูมิสูงสุดเหมือนกัน. เพราะ ฉะนั้นเทพชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คืออวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสีและอกนิฏฐะ พึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วย. บทว่า สุสุทฺธสุกฺกวตฺถวสนา ความว่า ผ้าทั้งหลายอันสะอาดด้วยดี คือหมดจดดีอันขาว คือผ่องแผ้ว ผ้าอันขาว สะอาดดี อันเทพเหล่าใดนุ่งและห่มแล้ว เทพเหล่านั้น ชื่อว่าผู้นุ่งห่มผ้าขาว อันสะอาดดี อธิบายว่าผู้ครองผ้าขาวบริสุทธิ์ ปาฐะว่า สุสุทฺธสุกฺกวสนา ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า ยืนประคองอัญชลี คือทำอัญชลีเสมือน ดอกบัวตูมไว้เหนือเศียร.

บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ โปรย. บทว่า ปุปฺผํ ปน ได้แก่ ก็ดอกไม้ ปาฐะ ว่า ปุปฺผานิ วา ดังนี้ก็มี พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาสะ แต่ใจความของคำนั้นก็ อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ปญฺจวณฺณิกํ แปลว่า มีวรรณะ ๕. วรรณะ ๕ คือ สีเขียว เหลือง แดง ขาว และแดงเข้ม. บทว่า จนฺทนจุณฺณมิสฺสิตํ แปลว่า ประสมด้วยจุรณจันทน์. บทว่า ภเมนฺติ เจลานิ แปลว่า โบกผ้าทั้งหลาย. บทว่า อโห ชิโน โลกหิตานุกมฺปฺโต ได้แก่ เปล่งคำสดุดีเป็นต้นอย่างนี้ว่า โอ! พระชินเจ้าผู้เกื้อกูลโลก โอ! พระผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์โลก โอ! พระผู้มี กรุณา. เชื่อมความว่าโปรยดอกไม้ โบกผ้าทั้งหลาย.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงคำสดุดีที่เทพเหล่านั้นประกอบแล้ว พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 115

พระองค์เป็นศาสดา เป็นที่ยำเกรง เป็นธง เป็น หลัก เป็นที่พำนัก เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปของสัตว์มี ชีวิตทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุดในสัตว์สองเท้า.

เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุผู้มีฤทธิ์ ผู้ยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ห้อมล้อมนมัสการ.

เทพบุตรและเทพธิดา ผู้เลื่อมใส ยินดีร่าเริง พากันบูชาพระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.

หมู่เทพเลื่อมใสยินดีร่าเริงชมพระองค์พากันบูชา พระนราสภ ด้วยดอกไม้ ๕ สี.

โอ! น่าปรบมือในโลก น่าประหลาด น่าขนชูชัน อัศจรรย์ ขนลุก ขนชันเช่นนี้ เราไม่เคยพบ.

เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตนๆ เห็นความ อัศจรรย์ในนภากาศ ก็พากันหัวเราะด้วยเสียงดัง.

อากาศเทวดา ภุมมเทวดาและเทวดาผู้ประจำ ยอดหญ้า และทางเปลี่ยว ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ ประคองอัญชลีนมัสการ.

พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญ มีฤทธิ์ บันเทิงใจแล้ว ก็พากันนมัสการบูชาพระนราสภ.

เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ เครื่องสังคีต ดีดสีทั้งหลายก็บรรเลง เครื่องดนตรีหุ้มหนังก็ประโคม ในอัมพรภาคพโยมหน.

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 116

เพราะเห็นความอัศจรรย์ในนภากาศ สังข์ บัณเฑาะว์และกลองน้อยๆ เป็นอันมากก็พากันบรรเลง ในท้องฟ้า.

ในวันนี้ ความที่ขนชูชัน น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น แล้วหนอ เราจักได้ความสำเร็จ ประโยชน์แน่แท้ เรา ได้ขณะกันแล้ว.

เพราะได้ยินว่า พุทฺโธ เทพเหล่านั้นก็เกิดปีติใน ทันใด พากันยืนประคองอัญชลี กล่าวว่า พุทฺโธ พุทฺโธ.

หมู่เทพต่างๆ ในท้องฟ้า พากันประคองอัญชลี เปล่งเสียง หึ หึ เปล่งเสียงสาธุ โห่ร้องเอิกอึงลิงโลด ใจ.

เทพทั้งหลาย พากันขับกล่อมประสานเสียง บรรเลง ปรบมือ และฟ้อนรำ โปรยดอกมณฑารพ ๕ สี ประสมกับจุรณจันทน์.

ข้าแต่พระมหาวีระ ด้วยประการไรเล่า ลักษณะ จักร ที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จึงประดับด้วย ธง วชิระ ประฏาก เครื่องแต่งพระองค์ ขอช้าง.

แก้อรรถ

ในคาถานั้น ที่ชื่อว่าสตฺถาพระศาสดา เพราะทรงสอนประโยชน์ เกื้อกูลในโลกนี้และโลกหน้า. บทว่า เกตุ ได้แก่ ชื่อว่าเกตุ เพราะทรงเป็น เหมือนธง เพราะอรรถว่า ธงพึงเป็นของที่พึงยำเกรง. บทว่า ธโช ได้แก่

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 117

เป็นธงองค์อินทร์ พระองค์ทรงเป็นเหมือนธง เพราะอรรถว่ายกขึ้น และเพราะ อรรถว่าน่าชม เหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็น ธชะ ธง. อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่าเข้า เห็นธงของผู้หนึ่งผู้ใด ก็รู้ว่า นี้ธงของผู้มีชื่อนี้ เหตุนั้นผู้นี้ชื่อว่าผู้มีธง คือ ธชี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธโช ยูโป จ อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็น หลัก ที่เขายกขึ้น เพื่อบูชายัญทั้งหลายทั้งปวง ที่มีทานเป็นต้นมีอาสวักขยญาน เป็นที่สุด ดังที่ตรัสไว้ในกูฏทันตสูตร. บทว่า ปรายโน ได้แก่ เป็นที่พำนัก. บทว่า ปติฏฺา ได้แก่ แม้พระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่ง เหมือนแผ่นมหาปฐพี เป็น ที่พึ่งพาอาศัย เพราะเป็นที่รองรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงฉะนั้น.

บทว่า ทีโป จ ได้แก่ เป็นประทีป. อธิบายว่าประทีปที่เขายกขึ้น สำหรับสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในความมืดมีองค์ ๔ ย่อมส่องให้เห็นรูป ฉันใด พระองค์ ก็ทรงเป็นประทีปส่องให้เห็นปรมัตถธรรม สำหรับเหล่าสัตว์ที่อยู่ในความมืดคือ อวิชชาฉันนั้น. อีกนัยหนึ่ง แม้พระองค์ก็ทรงเป็นเหมือนเกาะ ของสัตว์ ทั้งหลายผู้จมลงในสาครคือสังสารวัฏฏ์อันเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนเกาะกลาง สมุทร เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรืออัปปางในมหาสมุทรฉะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทีปะ เป็นเกาะ.

บทว่า ทฺวิปทุตฺตโม ได้แก่ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ชื่อว่า ทวิป- ทุตตมะ. ในคำนี้ ไม่คัดค้านฉัฏฐีสมาส เพราะไม่มีลักษณะแห่งนิทธารณะ จึง สำเร็จรูปเป็นสมาสแห่งฉัฏฐีวิภัตติที่มีนิทธารณะเป็นลักษณะ. ถ้าจะพึงมีคำถาม ว่า ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสอง เท้า มีสี่เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา ที่มีสัญญาก็ ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงกล่าวว่าสูงสุดแห่ง สัตว์สองเท้าเล่า พึงตอบว่า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 118

ธรรมดาผู้ประเสริฐสุดโนโลกนี้เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดในประเทศของสัตว์ไม่มีเท้า และสัตว์สี่เท้า ท่านผู้นี้ย่อมเกิดในเหล่าสัตว์สองเท้าเท่านั้น ถามว่า ในเหล่า สัตว์สองเท้าประเภทไร. ตอบว่าในเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. เมื่อเกิดใน เหล่ามนุษย์ย่อมบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถทำสามพันโลกธาตุ มากพัน โลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้ เมื่อเกิดในเหล่าเทวดาย่อมบังเกิดเป็นท้าวมหาพรหม ซึ่งมีอำนาจในหมื่นโลกธาตุได้. ท้าวมหาพรหมนั้น ย่อมพร้อมที่จะ เป็นกัปปิยการกหรืออารามิกของพระพุทธเจ้านั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึง เรียกว่าสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า โดยเหตุที่ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าท้าวมหาพรหม แม้นั้น.

บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา ได้แก่ โลกธาตุที่นับได้หมื่นหนึ่ง. บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ประกอบด้วยฤทธิ์อย่างใหญ่. อธิบายว่ามีอานุภาพมาก. บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ ห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรอบ. บทว่า ปสนฺนา ได้แก่ เกิดศรัทธา. บทว่า นราสภํ ได้แก่ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด ในนรชน. ในบทว่า อโห อจฺฉริยํ นี้ ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนอย่างคนตาบอดขึ้นเขา หรือชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบ มือ. อธิบายว่า ควรเพื่อปรบมือว่า โอ! นี้น่าประหลาดจริง. บทว่า อพฺภุตํ ได้แก่ ไม่เคยเป็น ไม่เป็นแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อ อัพภุตะ. แม้สองคำนี้ก็เป็นชื่อ ของความประหลาดใจ. บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ ทำความที่โลมชาติมีปลาย ขึ้น [ชูชัน]. บทว่า น เมทิสํ ภูตปุพฺพํ ความว่า เรื่องที่ไม่เคยเป็น ไม่ เป็นเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น. พึงนำคำว่า ทิฏฺํ เห็น มาประกอบไว้ด้วย. บทว่า อจฺเฉรกํ แปลว่า อัศจรรย์.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 119

บทว่า สกสกมฺหิ ภวเน ได้แก่ ในภพของตนๆ. บทว่า นิสีทิตฺวา ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้. ก็คำว่า เทวตา นี้พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวทั่วไปทั้งแก่ เทพบุตร ทั้งแก่เทพธิดา. บทว่า หสนฺติ ตา ความว่า เทวดาเหล่านั้น หัวเราะลั่น ไม่ทำความแย้มยิ้ม หัวร่อสนั่นไหว เพราะหัวใจตกอยู่ใต้อำนาจ ปีติ. บทว่า นเภ ได้แก่ ในอากาศ.

บทว่า อากาสฏฺา ได้แก่ เทวดาที่อยู่ ณ วิมานเป็นต้นในอากาศ. แม้ในเทวดาที่อยู่ภาคพื้นดินก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติณปนฺถนิวาสิโน ได้แก่ ที่อยู่ประจำยอดหญ้าและทางเปลี่ยว. บทว่า ปุญฺวนฺโต ได้แก่ ผู้มี บุญมาก. บทว่า มหิทฺธิกา ได้แก่ ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า สงฺคีติโย ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เครื่องสังคีตของเทพนาฏกะก็บรรเลง อธิบายว่า ประกอบ ขึ้นเพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า อมฺพเร แปลว่า ในอากาศ. บทว่า อนิลญฺชเส แปลว่า ทางอากาศ. ท่านกล่าวว่า อนิลญฺชเส ก็เพราะอากาศ เป็นทางอเนกประสงค์. เป็นไวพจน์ของคำต้น. บทว่า จมฺมนทฺธานิ แปลว่า ที่หุ้มด้วยหนัง. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน อธิบายว่ากลองทิพย์. บทว่า วาเทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมประโคม.

บทว่า สงฺขา ได้แก่ สังข์เป่า. บทว่า ปณวา ได้แก่ เครื่องดนตรี พิเศษตรงกลางคอด. กลองขนาดเล็กๆ ท่านเรียกว่า ฑณฺฑิมา. บทว่า วชฺชนฺติ แปลว่า ประโคม. บทว่า อพฺภุโต วต โน แปลว่า น่าอัศจรรย์ จริงหนอ. บทว่า อุปฺปชฺชิ แปลว่า เกิดแล้ว. บทว่า โลมหํสโน ได้แก่ ทำขนชูชัน. บทว่า ธุวํ อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระศาสดาพระองค์นี้อัศจรรย์ อุบัติในโลก ฉะนั้น พวกเราจักได้ความสำเร็จประโยชน์โดยแท้แน่นอน. บทว่า ลภาม แปลว่า จักได้. บทว่า ขโณ ความว่า ขณะที่ ๙ เว้นจาก

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 120

อขณะ ๘. บทว่า โน แปลว่า อันเราทั้งหลาย. บทว่า ปฏิปาทิโต แปลว่า ได้แล้ว.

บทว่า พุทฺโธติ เตสํ สุตฺวาน ความว่า ปีติ ๕ อย่างเกิดแก่เทพ เหล่านั้น เพราะได้ยินคำนี้ว่า พุทฺโธ. บทว่า ตาวเท แปลว่า ในทันที. บทว่า หิงฺการา ได้แก่ เสียงที่ทำว่า หึหึ. ยักษ์เป็นต้นย่อมทำเสียงว่า หึ หึ ในเวลา ร่าเริง. บทว่า สาธุการา ได้แก่ เสียงทำว่า สาธุ ก็เป็นไป. บทว่า อุกุฏฺิ ได้แก่ เสียงโห่และเสียงกึกก้อง. เทวดาเป็นต้น ท่านประสงค์ว่าปชา. อาจารย์ บางพวกกล่าวว่า ธงประฏากต่างๆ ก็เป็นไปในท้องฟ้า. บทว่า คายนฺติ ได้แก่ ขับร้องเพลงที่ประกอบพระพุทธคุณ.

บทว่า เสเฬนฺติ ได้แก่ ทำเสียงประสานด้วยปาก. บทว่า วาทยนฺติ ความว่า พิณมีพิณชื่อว่าวิปัญจิกาและมกรมุขเป็นต้นขนาดใหญ่ และดนตรีทั้ง หลายก็บรรเลงประกอบขึ้น เพื่อบูชาพระตถาคต. บทว่า ภุชานิ โปเถนฺติ แปลว่า ปรบมือ. พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส. บทว่า นจฺจนฺติ จ ได้แก่ ใช้ให้ผู้อื่นฟ้อนด้วย ฟ้อนเองด้วย.

ในคำว่า ยถา ตุยฺหํ มหาวีร ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ นี้ ยถา แปลว่า โดยประการไรเล่า. ชื่อว่า มหาวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียร อย่างใหญ่. บทว่า ปาเทสุ จกฺกลกฺขณํ ความว่า ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง ของพระองค์ มีลักษณะจักร [ล้อ] มีซี่กำมีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง งดงาม. ก็ จักกศัพท์นี้ ปรากฏใช้ในอรรถมีสมบัติ, ส่วนของรถ, อิริยาบถ, ทาน, รัตนจักร, ธรรมจักร, ขุรจักร, และลักษณะเป็นต้น. ที่ใช้ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เมื่อเทวดา

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 121

และมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถได้ในบาลีเป็นต้น ว่า จกฺกํ ว วทโต ปทํ เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียน ไป. ที่ใช้ในอรรถว่า อิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙. ที่ใช้ในอรรถว่า ทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ททํ ภุญฺช จ มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตย สพฺพปาณีนํ ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอย อย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่า รัตนจักร ได้ใน บาลีนี้ว่า ทิพฺพํ จกฺกรตนํ ปาตภูตํ จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้ ในอรรถว่า ธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ ธรรมจักร อันเราให้เป็นไปแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่า ขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับ ประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครองงำแล้ว. ที่ใช้ใน อรรถว่า ลักษณะ. ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะ ทั้งหลายเกิดแล้ว ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า จักรคือลักษณะ. บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิตํ ความว่า ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย] วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์] และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะ ที่เหลือไว้ด้วย. พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เหมือนกัน เพราะ ฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริส- ลักษณะ ๓๒ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เปล่งพระพุทธรัศมีมี พรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริ- ฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัว ที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 122

เหมือนเสาระเนียดทองใหม่ สวยงามด้วยรัตนะต่างชนิด เหมือนท้องฟ้างาม ระยับด้วยดวงดาว.

บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาค- เจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระ รูป ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับ พระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรมจักร.

แก้อรรถ

รูปศัพท์นี้ว่า รูเป ในคาถานั้น ปรากฏใช้ในอรรถมี ขันธ์ ภพ นิมิต ปัจจัย สรีระ วรรณะและทรวดทรงเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว ไว้ว่า รูป ศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า รูปขันธ์ ได้ในบาลีนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนนํ รูปขันธ์อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน. ที่ใช้ในอรรถว่า รูปภพ ได้ในบาลีนี้ว่า รูปูปปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ ย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ. ที่ใช้ในอรรถว่า กสิณนิมิต ได้ ในบาลีนี้ว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺี พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สำคัญอรูป ภายใน ย่อมเห็นกสิณนิมิตภายนอก. ที่ใช้ในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในบาลีนี้ว่า สรูปา ภิกฺขเว อุปฺปชฺชนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา โน อรูปา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมมีปัจจัยหรือไม่มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น. ที่ใช้ ในอรรถว่า สรีระ ได้ในบาลีนี้ว่า อากาโส ปริวาริโต รูปนฺเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ อากาศที่ห้อมล้อม ก็นับได้ว่าสรีระ. ที่ใช้ในอรรถว่า วรรณะ ได้ใน บาลีนี้ว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปฺปชฺชติ จกฺขุวิญฺาณํ อาศัย

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 123

จักษุและวรรณะ จักขุวิญญาณจึงเกิด. ที่ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลี นี้ว่า รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน ถือทรวดทรงเป็นประมาณ เลื่อมใสใน ทรวดทรง. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ทรวดทรง. บทว่า สีเล ได้แก่ ในศีล ๔ อย่าง. บทว่า สมาธิมฺหิ ได้แก่ ในสมาธิ ๓ อย่าง. บทว่า ปญฺาย ได้แก่ ในปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อสาทิโส แปลว่า ไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครเปรียบ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุตติ. บทว่า อสมสโม ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีใครเสมอ พระองค์ก็ทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ไม่มีใครเสมอเหล่านั้น โดยพระคุณ ทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เหตุนั้นพระองค์จึงชื่อว่า ผู้เสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มี ใครเสมอ ท่านแสดงสมบัติคือพระรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกถา เพียงเท่านี้.

บัดนี้ เพื่อแสดงกำลังพระกายเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

กำลังพระยาช้าง ๑๐ เชือก เป็นกำลังปกติใน พระกายของพระองค์ พระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยกำลัง พระวรฤทธิ์ ในการประกาศพระธรรมจักร.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสนาคพลํ ได้แก่ กำลังพระยาช้าง ฉัททันต์ ๑. เชือก. จริงอยู่กำลังของพระตถาคตมี ๒ คือ กำลังพระกาย ๑ กำลังพระญาณ ๑. บรรดากำลังทั้งสองนั้น กำลังพระกาย พึงทราบตามแนว ตระกูลช้าง. คืออะไร พึงทราบช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้.

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 124

กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยํ ปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ คนฺธมงฺคลเหมสญฺจ อุโปสถฉทฺทนฺติเม ทส.

ช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ คังเคยยะ ปัณฑระ ตัมพะ ปิงคละ คันธะ มังคละ เหมะ อุโปสถะ ฉัททันตะ.

กาฬวกะได้แก่ ตระกูลช้างปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เป็นกำลัง ของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก. กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก พึงนำกำลังของช้างตระกูลต่างๆ โดยอุบายดังกล่าวมานี้จนถึงกำลังของช้างตระกูลฉัททันตะ กำลังของช้างตระกูล ฉัททันตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว. กำลังของพระตถาคตนี้นี่แลเรียกกันว่า กำลังนารายณ์ กำลังวชิระ. กำลังของพระตถาคตนี้ นั้น เท่ากับกำลังช้างโกฏิพันเชือกโดยนับช้างตามปกติ เท่ากับกำลังของบุรุษ สิบโกฏิพันคน. กำลังพระวรกายปกติของพระตถาคตมีดังนี้ก่อน. ส่วนกำลัง พระญาณ หาประมาณมิได้ กำลังพระญาณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ พระทศพลญาณ พระจตุเวสารัชญาณ พระอกัมปนญาณในบริษัท ๘ พระจตุโยนิปริ- เฉทกญาณ พระปัญจคติปริเฉทกญาณ พระพุทธญาณ ๑๔. แต่ในที่นี้ ประสงค์ เอากำลังพระวรกาย. บทว่า กาเย ตุยฺหํ ปากติกํ พลํ ความว่า กำลัง ตามปกติในพระวรกายของพระองค์นั้น เพราะฉะนั้น บทว่า ทสนาคพลํ จึงมีความว่า เท่ากับกำลังของพระยาช้างตระกูลฉัททันต์ ๑๐ เชือก.

บัดนี้ เมื่อแสดงกำลังพระญาณ ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ไม่มีผู้เสมอ ด้วยกำลังพระวรฤทธิ์ในการประกาศพระธรรมจักร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิพเลน อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้เปรียบ. บทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน ความว่า ไม่มีผู้เสมอแม้ในพระเทศนาญาณ.

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 125

บัดนี้ เพื่อแสดงการประกอบในการนอบน้อมพระตถาคตว่า พระศาสดาพระองค์ใดประกอบพร้อมด้วยพระคุณมีดังกล่าวมานี้เป็นต้น พระศาสดา พระองค์นั้น ทรงเป็นนายกเอกของโลกทั้งปวง ขอท่านทั้งหลาย จงนมัสการ พระศาสดาพระองค์นั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ท่านทั้งหลาย จงนมัสการพระศาสดา ผู้ประกอบ ด้วยพระคุณทุกอย่าง ประกอบด้วยองคคุณทั้งปวง เป็น พระมหามุนี มีพระกรุณา เป็นนาถะของโลก.

แก้อรรถ

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาตลงในอรรถชี้แจงอย่างที่กล่าว มาแล้ว. ศัพท์นี้ว่า สพฺโพ ในคำว่า สพฺพคุณฺเปตํ นี้ เป็นศัพท์กล่าวถึง ไม่เหลือเลย. คุณ ศัพท์นี้ว่า คุโณ ปรากฏใช้ในอรรถเป็นอันมาก.

จริงอย่างนั้น คุณ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ชั้น ได้ในบาลีนี้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตานํ วตฺถานํ ทิคุณํ สงฺฆาฏึ ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าทั้งหลายที่ใหม่. ที่ใช้ในอรรถว่า กลุ่ม ได้ในบาลีนี้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลก็ล่วงไป ราตรีก็ล่วงไป กลุ่มแห่งวัยก็ละลำดับไป.

ที่ใช้ในอรรถว่า อานิสงส์ ได้ในบาลีนี้ว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังทักษิณา มีอานิสงส์เป็นร้อย. ที่ใช้ในอรรถว่า พวง ได้ในบาลีนี้ว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู พึงทำพวงมาลัยเป็นอันมาก. ที่ใช้ ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีนี้ว่า อฏฺ คุณ สมุเปตํ อภิญฺาพลมาหรึ นำมาซึ่งกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบพร้อมด้วยสมบัติ ๘. แม้ในที่นี้ก็พึง

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 126

เห็นว่าใช้ในอรรถว่า สมบัติ เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าเข้าถึงประกอบพร้อม แล้ว ด้วยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งปวงคือด้วยสมบัติทุกอย่าง. บทว่า สพฺพงฺคสมุปาคตํ ได้แก่ เข้ามาถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยพระพุทธ- คุณหรือด้วยองคคุณทั้งปวง. บทว่า มหามุนี ได้แก่ ชื่อว่า มุนีใหญ่เพราะ ยิ่งกว่ามุนีทั้งหลาย มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นอื่นๆ เหตุนั้นจึงเรียกว่า มหา มุนี. บทว่า การุณิกํ ได้แก่ ชื่อว่าผู้มีกรุณา เพราะประกอบด้วยกรุณาคุณ. บทว่า โลกนาถํ ได้แก่ เป็นนาถะเอกของโลกทั้งปวง. อธิบายว่า อันโลกทั้ง ปวงมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้กำจัด เป็นผู้ระงับความเดือดร้อนคือ ทุกข์ของพวกเรา ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อแสดงความที่พระทศพล ทรงเป็นผู้ควรแก่การเคารพ นบนอบทุกอย่าง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระองค์ควรการกราบไหว้ การชมการสรรเสริญ การนบนอบบูชา.

ข้าแต่พระมหาวีระ ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใดเป็น ผู้ ควรแก่การไหว้ในโลก ชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้ พระองค์เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชน เสมอเหมือนพระองค์ไม่มีเลย.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทนํ ได้แก่ ให้ผู้อื่นทำการกราบ ตน. บทว่า โถมนํ ได้แก่ ชมลับหลัง. บทว่า วนฺทนํ ได้แก่ นอบน้อม. บทว่า ปสํสนํ ได้แก่ สรรเสริญต่อหน้า. บทว่า นมสฺสนํ ได้แก่ ทำอัญชลี

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 127

หรือนอบน้อมด้วยใจ. บทว่า ปูชนํ ได้แก่ และการบูชาด้วยมาลัยของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้น. บทว่า สพฺพํ ความว่า พระองค์ทรงสมควรเหมาะ สมสักการะวิเศษดังกล่าวแล้วนั้นทุกอย่าง. บทว่า เย เกจิ โลเก วนฺทเนยฺยา ความว่าชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ควรกราบ ควรไหว้ ควรซึ่งการไหว้ในโลก. บทว่า เย ได้แก่ อนึ่งชนเหล่าใด ควรซึ่งการไหว้ในโลก. ก็บทนี้เป็นไวพจน์ ของบทต้นนั้นแล. บทว่า สพฺพเสฏฺโ ความว่า ข้าแต่พระมหาวีระ พระองค์เป็นผู้ประเสริฐสุด สูงสุดกว่าชนเหล่านั้นทั้งหมด ชนไรที่เสมอเหมือน พระองค์ ไม่มีในโลก.

ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ทรง เนรมิตรัตนจงกรมเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นอยู่ ท่านพระสารีบุตรพร้อม ด้วยภิกษุบริวาร ๕๐๐ รูป อยู่ ณ เขาคิมฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเถระ ตรวจดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เห็นพระองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมใน อากาศ กรุงกบิลพัศดุ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว คำเป็นต้นว่า

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน สมาธิและฌาน อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ก็เห็นพระผู้เป็นนายก ของโลก.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าสารีบุตร เพราะ เป็นบุตรของพราหมณีชื่อว่า สารี. บทว่า มหาปญฺโ ได้แก่ ชื่อว่ามีปัญญา มาก เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ อย่างใหญ่. ในคำว่า สมาธิชฺฌาน-

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 128

โกวิโท นี้. บทว่า สมาธิ ได้แก่ ชื่อว่าสมาธิ เพราะบรรจงตั้ง คือวางจิต ไว้สม่ำเสมอในอารมณ์. สมาธินั้น มี ๓ คือ ชนิดมีวิตกมีวิจาร ชนิดไม่มี วิตกมีเพียงวิจาร ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. บทว่า ฌานํ ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แม้ฌานอื่นมีเมตตาฌานเป็นต้นก็เป็นอันท่าน สงเคราะห์ด้วยฌานที่กล่าวมาแล้วนี้ มีปฐมฌานเป็นต้น.

แม้ฌานก็มี ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน. บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้นวิปัสสนาญาณ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไป เพ่งลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น ส่วนฌานมีปฐมฌานเป็นต้น เรียกว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ หรือเผาธรรมที่เป็นข้าศึก. ผู้ฉลาดในสมาธิด้วย ใน ฌานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน. บทว่า คิชฺฌกูเฏ ความว่า ยืนอยู่ที่ภูเขามีชื่ออย่างนี้นี่แล. บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ เห็นแล้ว.

บทว่า สุผุลฺลํ สาลราชํว เชื่อมความกับบทว่า อาโลก อย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตรตรวจดูพระทศพลผู้เป็นดังต้นพระยาสาลพฤกษ์ ซึ่งมีศีลเป็น ราก มีสมาธิเป็นลำต้น มีปัญญาเป็นกิ่ง มีอภิญญาเป็นดอก มีวิมุตติเป็นผล เหมือนต้นพระยาสาละ มีลำต้นกลมกลึง มีกิ่งประดับด้วยตาตูมผลใบอ่อนและ หน่อที่อวบขึ้นดก มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น. บทว่า จนฺทํว คคเน ยถา ความว่า ตรวจดูพระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงจันทร์ ผู้ทำการกำจัดความมืดคือ กิเลสทั้งปวง ผู้ทำความแย้มแก่ดงโกมุทคือเวไนยชน ดุจดวงจันทร์เต็มดวง ในฤดูสารทอันห้อมล้อมด้วยหมู่ดาว หลุดพ้นจากอุปสรรค คือ หมอก หิมะ ควัน ละออง และราหู. บทว่า ยถา เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มชฺฌนฺหิเกว สูริยํ ความว่า รุ่งโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ ที่ส่องแสงเป็นช่อชั้น ด้วยสิริเวลา เที่ยงวัน. บทว่า นราสภํ ได้แก่ ผู้สูงสุดในนรชน.

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 129

บทว่า ชลนฺตํ แปลว่า รุ่งเรืองอยู่ อธิบายว่า พระวรสรีระประดับ พร้อมด้วยพระมหาปุริสลักษณะและพระอสีติอนุพยัญชนะ มีพระพักตร์ดังทอง งาม มีสิริดังพระจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระพุทธสิริอย่างยิ่ง. บทว่า ทีปรุกฺขํว ได้แก่ ประดุจต้นประทีปที่เขายกประทีปไว้. บทว่า ตรุณ- สุรยํว อุคฺคตํ ได้แก่ ประดุจดวงอาทิตย์อุทัยใหม่ๆ อธิบายว่า รุ่งเรืองอยู่ โดยภาวะเรียบร้อย. ก็ท่านเรียกดวงอาทิตย์อ่อนๆ เพราะเหตุอุทัยขึ้น. ไม่มี ลดแสงหรือเพิ่มแสงเหมือนดวงจันทร์ [เพราะดวงอาทิตย์ไม่มีขึ้นแรม]. บทว่า พฺยามปฺปภานุรญฺชิตํ ได้แก่ อันพระรัศมีวาหนึ่งเปล่งแสงจับแล้ว. บทว่า ธีรํ ปสฺสติ โลกนายกํ ความว่า เห็นพระผู้นำ ซึ่งเป็นปราชญ์เอกของโลกทั้งปวง.

ลำดับนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดี ยืนอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ซึ่งมียอด จรดหมู่ธารน้ำเย็นสนิทมียอดอบอวลด้วยดอกของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด มียอดวิจิตรงามอย่างยิ่ง แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทวดาและพรหม ซึ่งมาแต่หมื่นจักรวาลแวดล้อมแล้ว ซึ่งเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมเป็นรัตนะ ล้วน ด้วยพระพุทธสิริอันยอดเยี่ยม ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้จึง คิดว่า เอาเถิด จำเราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอพระพุทธวงศ์เทศนา อันแสดงพระพุทธคุณ จึงประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งอยู่กับตน. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

ท่านพระธรรมเสนาบดี จึงประชุมภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งทำกิจเสร็จแล้ว ผู้คงที่ สิ้นอาสวะแล้ว ปราศจาก มลทิน ทันที.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 130

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนฺนํ ภิกขุสตานํ ได้แก่ ภิกษุ ๕๐๐ รูป. ฉัฏฐีวิภัตติ พึงเห็นว่าท่านใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า กตกิจฺ- จานํ ความว่า ผู้จบโสฬสกิจแล้ว คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ ๔. บทว่า ขีณาสวานํ ได้แก่ ผู้สิ้น อาสวะ ๔. บทว่า วิมลานํ ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทิน หรือชื่อว่า มีมลทินไป ปราศแล้ว อธิบายว่า มีจิตสันดานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีอาสวะสิ้น แล้ว. บทว่า ขเณน ได้แก่ ในทันใดนั่นเอง. บทว่า สนฺนิปาตยิ แปลว่า ให้ประชุมกันแล้ว.

บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุในการประชุมและในการไปของภิกษุเหล่านั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ชื่อ โลกปสาทนะทำโลกให้เลื่อมใส แม้พวกเราก็ไปในที่ นั้น เราจักถวายบังคมพระชินพุทธเจ้า.

มาเถิด เราทั้งหมดจะพากันไป เราจักทูลถาม พระพุทธชินเจ้า พบพระผู้นำโลกแล้ว ก็จักบรรเทา ความสงสัยเสียได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกปฺปสาทนํ นาม ความว่า ท่าน เรียกปาฏิหาริย์ว่า โลกปสาทนะ เพราะทำความเลื่อมใสแก่สัตว์โลก. ปาฐะว่า อุลฺโลกปฺปสาทนํ ดังนี้ก็มี. ความว่า ชื่อ ปาฏิหาริย์ว่า พระพุทธเจ้าเปิดโลก.

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 131

ปาฏิหาริย์นั้นท่านกล่าวว่า อธิษฐานการทำสัตว์แม้ทั้งหมด เบื้องบนตั้งแต่ อกนิษฐภพ เบื้องต่ำถึงอเวจี ทำให้เป็นแสงสว่างอันเดียวกันในระหว่าง นี้ให้เห็นซึ่งกันและกันในระหว่างนี้. บทว่า นิทสฺสยิ แปลว่า แสดง แล้ว. บทว่า อมฺเหปิ แปลว่า แม้เราทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ความว่า ไป ในที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. บทว่า วนฺทิสฺสาม ความว่า พวกเราจัก ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. แต่ในคำว่า อมฺเหปิ นี้พึงเห็นการเชื่อมความแห่งศัพท์ ๒ ศัพท์นี้ว่า มยํ ศัพท์ต้น เชื่อมความกับ กิริยาเดินไป มยํ ศัพท์หลัง เชื่อมความกับกิริยาถวายบังคม. ความจริง ความ นอกจากนี้ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ.

บทว่า เอถ แปลว่า มาเถิด. ในคำว่า กงฺขํ วิโนทยิสฺสาม นี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ความสงสัยแม้ไรๆ ของพระขีณาสพทั้งหลายไม่มี เหตุไร พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริงทีเดียว ความ สงสัยขาดไปด้วยปฐมมรรคเท่านั้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ทัสสเนนปหาตัพพธรรม (ธรรมที่พึงละด้วยโสดาปัตติมรรค) คืออะไรบ้าง คือจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคต ด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวงและ โลภะ โทสะ โมหะ มานะที่พาไปอบาย และกิเลส ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกับจิตเหล่านั้น. แต่ความสงสัยนั้นไม่ใช่ ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา. ก็อะไรเล่าชื่อว่า การไม่รู้บัญญัติ. แต่พระเถระประสงค์จะทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพุทธวงศ์ ด้วยว่าพุทธวงศ์นั้นเป็นวิสัยของพระพุทธ- เจ้าทั้งหลายเท่านั้น มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะพุทธวงศ์มิใช่ วิสัย. บทว่า วิโนทยิสฺสาม แปลว่า จักบรรเทา.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 132

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ฟังคำของพระเถระแล้วต่างก็ถือเอาบาตรจีวร ของตนๆ มีกิเลสอันทำลายแล้วมีเครื่องผูกขาดแล้ว เหมือนช้างใหญ่ สวม เกราะดีแล้ว มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ก็พากันรีบมาประชุม. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ภิกษุเหล่านั้น รับคำว่าสาธุแล้ว เป็นผู้มีปัญญา รักษาตัว สำรวมอินทรีย์ ต่างถือเอาบาตรจีวร พากัน รีบเข้าไปหาพระเถระ.

แก้อรรถ

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมี วอนขอ, รับ, ปลอบใจ, และดีเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถ วอนขอ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ โปรดข้าพระองค์ด้วยเถิด. ใช้ในอรรถ รับ ได้ในประโยคเป็นต้นว่าสาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภิกษุรูปนั้นยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า. ใช้ในอรรถ ปลอบใจ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สาริปุตฺต ดีละ ดีละ สารีบุตร. ใช้ในอรรถ ดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

สาธุ ธมฺมรุจิ ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.

พระราชาผู้ชอบธรรม ดี, นรชนผู้มีปัญญา ดี, ผู้ไม่ ประทุษร้ายมิตร ดี, การไม่ทำบาป เป็นสุข.

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 133

แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาที่ใช้ในอรรถ รับ เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ภิกษุเหล่านั้นรับคำของพระเถระว่า สาธุ แปลว่า ดีละ. บทว่า นิปกา ได้แก่ บัณฑิต ผู้มีปัญญา. บทว่า สํวุตินฺทฺริยา ได้แก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย อธิบายว่าผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร. บทว่า ตรมานา แปลว่า รีบ บทว่า อุปาคมุํ ได้แก่ เข้าไปหาพระเถระ.

บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงประวัติของท่านพระธรรมเสนาบดี จึงกล่าวคาถาว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ เป็นต้น. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า ทนฺเตหิ ได้แก่ ผู้ฝึกทางกาย ทางจิตแล้ว. บทว่า อุตฺตเม ทเม ได้แก่ ในเพราะพระอรหัต. พึงเห็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถนิมิตสัตตมี. บทว่า เตหิ ภิกฺขูหิ ได้แก่ อันภิกษุ ๕๐๐ รูป. บอกว่า มหาคณี ความว่า ชื่อว่ามหาคณี เพราะท่านมีคณะใหญ่ ทั้งโดยศีลเป็นต้น และโดยนับจำนวน. หรือชื่อว่า มหาคณะ เพราะเป็นคณะใหญ่โดยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ด้วย สามารถแห่งบทต่างๆ ชื่อว่า มหาคณีเพราะคณะใหญ่ของท่านมีอยู่ เหตุนั้นท่าน จึงชื่อว่ามีคณะใหญ่. บทว่า สฬนฺโต เทโวว คคเน ความว่า งดงามด้วย อิทธิวิลาส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พื้นนภากาศ ราวกะเทพดา.

บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีเข้าเฝ้าว่า เต อิตฺถมฺภูตา อุปสงฺกมึสุ ภิกษุมีชื่อ อย่างนี้เหล่านั้นเข้าเฝ้าแล้ว ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงเริ่มคำว่า อุกฺกาสิตญฺจ ขิปิตํ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกาสิตญฺจ ความว่า ไม่ทำเสียงจาม บทว่า ขิปิตญฺจ ความว่า ไม่ทำเสียงไอ. บทว่า อชฺฌุเปกฺขิย แปลว่า เฉย อธิบายว่าไม่ทำทั้งสองอย่าง [คือ สงบเงียบ]. บทว่า สุพฺพตา ได้แก่ ผู้มีธุดงคคุณผุดผ่องดี. บทว่า สปฺปติสฺสา ได้แก่ มีความยำเกรง อธิบายว่า ถ่อมตน.

บทว่า สยมฺภุํ ความว่า มีพุทธภาวะอันทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้ง หลาย บรรลุแล้วด้วยพระองค์เอง เว้นการอ้างถึงผู้อื่น. บทว่า อจฺจุคฺคตํ

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 134

ได้แก่ ขึ้นมาใหม่ๆ. บทว่า จนฺทํว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์. พึงเชื่อมบท อย่างนี้ว่า แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ ณ พื้นนภากาศ เหมือน ดวงจันทร์ในท้องฟ้าฉะนั้น. แม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.

บทว่า วิชฺชุํว ได้แก่ เหมือนสายฟ้าทึบ อธิบายว่า เหมือนสายฟ้าแลบ เช่นที่มีแสงชั่วขณะแต่ตั้งอยู่นานฉะนั้น. บทว่า คคเน ยถา แปลว่า เหมือน ในอากาศแม้ในที่นี้ ยถา ศัพท์ ก็เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. นอกจากในที่เช่นนี้ ยถา ศัพท์ ในที่เช่นนี้ก็พึงเห็นว่าเป็นเพียงนิบาต.

บทว่า รหทมิว วิปฺปสนฺนํ ความว่า น้ำไม่ขุ่นแต่ใส เหมือนห้วง น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างมากฉะนั้น. บทว่า สุผุลฺลํ ปทุมํ ยถา พึงเห็นความว่า เหมือนห้วงน้ำที่มีดงปทุมดอกแย้มบาน. ปาฐะว่า สุผุลฺลํ กมลํ ยถา ดังนี้ก็มี ความว่า เหมือนดงบัวที่ดอกบานสะพรั่ง เพราะดอกบัวนั้น น่าปรารถนา.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีท่านพระธรรมเสนาบดีเป็นหัวหน้า ทำอัญชลี ไว้เหนือเศียร หมอบลงแทบฝ่าพระยุคลบาทที่มีจักรประดับ. ด้วยเหตุนั้นท่าน พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อญฺชลี ปคฺคเหตฺวาน ตุฏฺฐหฏฺา ปโมทิตา ประคองอัญชลียินดีร่าเริงบันเทิงใจ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า นั้น บทว่า นิปตนฺติ แปลว่า หมอบลง อธิบายว่าถวายบังคม. บทว่า จกฺกลกฺขเณ ความว่า พระบาทที่มีลักษณะจักร ชื่อว่า จักรลักษณะ. ที่พระบาท อันมีจักรลักษณะนั้น ท่านกล่าวคำว่า ปาเท โดยอำนาจแห่งชาติ. อธิบายว่า หมอบลงแทบฝ่าพระบาทของพระศาสดาที่มีจักรประดับ.

บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายเมื่อแสดงนามของพระเถระเหล่า นั้น บางท่านจึงกล่าวคาถาว่า สาริปุตฺโต มหาปญฺโ โกรณฺฑสมสาทิโส เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกรณฺฑสมสาทโส แปลว่า ผู้มี

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 135

ผิวพรรณเสมือนดอกหงอนไก่. ถ้าจะพึงมีคำถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ควร กล่าวว่า โกรณฺฑสโม หรือ โกรณฺฑสทิโส. ทำไม ท่านจึงกล่าวว่า สมสาทิโส ๒ ครั้ง. ตอบว่า นี้ไม่ผิดดอก, ท่านเช่นนั้น ชื่อว่า เสมอเหมือน กับดอกหงอนไก่ โดยเป็นเช่นเดียวกับดอกหงอนไก่ เพราะเท่ากับดอกหงอนไก่. อธิบายว่า ไม่ใช่กล่าวโดยกล่าวเกินไป. ก่อนอื่นในคำว่า สมาชิชฺฌานกุลโล นี้ กุสล ศัพท์นี้ใช้ในอรรถทั้งหลายมีในอรรถว่า ไม่มีโรค ไม่มีโทษ ฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก เป็นต้น. จริงอยู่ กุสล ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรค ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กจฺจิ นุ โภโต อนามยํ ท่านพราหมณ์ ไม่มีโรค ไม่มีการเจ็บไข้บ้างหรือหนอ. ใช้ในอรรถว่าไม่มีโทษ ได้ในประโยค เป็นต้นว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช กายสมาจาโร อนวชฺโช ท่านพระคุณเจ้าข้า กายสมาจารเป็นกุศลคืออะไร. ถวายพระพรมหาบพิตรกายสมาจารเป็นกุศล คือไม่มีโทษ. ใช้ในอรรถว่าฉลาด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ ท่านฉลาด ในส่วนประกอบน้อยใหญ่ทั้งหลายของรถ. ใช้ในอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก ได้ใน ประโยคเป็นต้นว่า กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา เพราะทำการ สร้างสมกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่าฉลาด. บทว่า วนฺทเต แปลว่า ถวายบังคมแล้ว.

บทว่า คชฺชิตา ได้แก่ ชือว่า คัชชิตา เพราะคำราม. บทว่า กาลเมโฆว ได้แก่ คำรามเหมือนอากาศที่ทรงน้ำสีเขียวความ [เมฆ] อธิบาย ว่าในวิสัยแห่งฤทธิ์. บทว่า นีลุปฺปลสมสาทิโส แปลว่า มีสีเหมือนดอก บัวขาบ. พึงทราบความในที่นี้ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านโกลิตะ ที่ได้นามตามโคตรอย่างนี้ว่า โมคคัลลานะ.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 136

บทว่า มหากสฺสโปปิ จ ได้แก่ เทียบกับท่านพระอุรุเวลกัสสป ท่านพระนทีกัสสป ท่านพระคยากัสสป ท่านพระกุมารกัสสป ซึ่งเป็น พระเถระเล็กพระเถระน้อย พระกัสสปรูปนี้เป็นมหา เพราะฉะนั้น ท่าน จึงถูกเรียกว่า มหากัสสป. ศัพท์ว่า ปิ จ มีอรรถว่าชมเชยและรวบรวม. บทว่า อุตฺตตฺตกนกสนฺนิโภ แปลว่า มีผิวพรรณคล้ายทองที่ร้อนละลาย. ในคำว่า ธุตคุเณ นี้ ธรรมชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส, ธรรมกำจัด กิเลส ชื่อว่า ธุตคุณ. ก็ธุตธรรมคืออะไร คือธรรม ๕ ประการ บริวาร ของธุตังคเจตนาเหล่านี้คือ อัปปิจฉตา ความมักน้อย, สันตุฏฐิตา ความสันโดษ, สัลเลขตา ความขัดเกลา, ปวิเวกตา ความสงัด, อิทมัฏฐิกตา ความมีสิ่งนี้เป็นประโยชน์ ชื่อว่า ธุตธรรม เพราะบาลีเป็นต้นว่า อปฺปิจฺฉํ นิสฺสาย อาศัยความมักน้อยนั่นแล. อีกนัยหนึ่ง ญาณชื่อว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลสทั้งหลาย. ในธุตคุณนั้น. บาลีว่า อคฺคนิกฺขิตโต ได้แก่ ที่ ท่านสถาปนาว่า เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด อธิบายว่า อันพระ ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัสสป เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้สรรเสริญธุดงค์. ก็ อัคค ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีอรรถว่าเป็นต้น ปลาย ส่วน ประเสริฐสุดเป็นต้น. จริงอย่างนั้น อัคค ศัพท์ ใช้ในอรรถว่าเป็นต้น ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อชฺชตคฺเค สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคณฺานํ นิคณฺีนํ ดูก่อนสหายนาย ประตู ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราปิดประตูสำหรับนิครนถ์และนิครนถีทั้งหลาย. ใช้ในอรรถว่า ปลาย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เตเนว องฺคุลคฺเคน ตํ องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย ภิกษุเอาปลายนิ้วนั้นนั่นแหละ ถูกต้องปลายนิ้วนั้น และว่า อุจฺฉคฺคํ เวฬคฺคํ ปลายอ้อย ปลายไผ่. ใช้ในอรรถว่า ส่วน ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน ภาเชตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อแบ่งตามส่วนแห่งวิหาร หรือ

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 137

ตามส่วนแห่งบริเวณ. ใช้ในอรรถว่าประเสริฐสุด ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วาฯ เปฯ ตถาคโต เตสํ อคคมกฺขายติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้า ก็ดี ฯลฯ พระตถาคต กล่าวกันว่าประเสริฐสุดแห่งสัตว์เหล่านั้น. อัคค ศัพท์ นี้นั้น ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า ประเสริฐสุด. ยังใช้ในอรรถว่า ยอด ก็มี พระเถระดำรงอยู่ในตำแหน่งของท่านว่า เป็นผู้ประเสริฐและเป็นยอดด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ได้แต่งตั้งว่าเป็นผู้เลิศ ผู้ประเสริฐสุด เป็นยอด. บทว่า โถมิโต ได้แก่ อันเทวดาและมนุษย์เป็นต้น สรรเสริญแล้ว. บทว่า สตฺถุ วณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง ชมเชยแล้ว. อธิบายว่าอันพระศาสดาทรงยกย่องสรรเสริญโดยนัยที่มาในพระสูตรเป็นอันมาก เป็นต้นอย่างนี้ว่า กสฺสโป ภิกฺขเว จนฺทูปโม กุลานิ อุปสงฺกมติ อปกสฺเสว กายํ อปกสฺส จิตฺตํ นิจฺจนวโก กุเลสุ อปคพฺโภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปไม่กำเริบกายไม่กำเริบจิต เป็นนวกะ ภิกษุใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในตระกูลทั้งหลาย เข้าไปสู่ตระกูล. แม้ท่าน พระมหากัสสปนั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ทิพฺพจกฺขุํ ความว่า ทิพยจักษุมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุ เหล่านั้น ชื่อว่ามีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธะเป็นเลิศประเสริฐสุดแห่งภิกษุ ทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุเหล่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเรา ผู้มีทิพยจักษุ ท่านพระอนุรุทธเถระ เป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะสักกะ พระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น พระกนิษฐภาดาของพระเจ้ามหานามสักกะ เป็นผู้มีบุญมากเป็นสุขุมาลชาติอย่าง ยิ่ง ท่านเป็นคนที่ ๗ ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. ลำดับการบรรพชาของท่าน มาแล้วในสังฆเภทกขันธกะ. บทว่า อวิทูเรว ได้แก่ในสำนักของผู้มี- พระภาคเจ้านั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 138

บทว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา ได้แก่ ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ. บทว่า สเตกิจฺฉาย ได้แก่ ในอาบัติที่ทำคืนได้ก็มี ที่ทำคืนไม่ได้ก็มี. บรรดา อาบัติเหล่านั้นอาบัติที่ทำคืนได้นั้น มี ๖ อย่าง อาบัติที่ทำคืนไม่ได้นั้น ก็คือ อาบัติปาราชิก. ปาฐะว่า อาปตฺติอนาปตฺติยา สเตกิจฺฉาย โกวิโท ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า วินเย ได้แก่ ในวินัยปิฎก. บทว่า อคฺคนิกฺขิตฺโต ความว่า ท่านพระอุบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง สถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นเลิศกว่า ภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย. บทว่า อุบาลี ได้แก่ ท่านพระอุบาลีเถระ. บทว่า สตฺถุวณฺณิโต ได้แก่ อันพระศาสดาทรงยกย่อง สรรเสริญ. เล่ากันว่า พระเถระเรียนวินัยปิฎกในสำนักพระตถาคตเท่านั้น กล่าวเรื่องทั้ง ๓ คือ ภารุ- กัจฉกวัตถุ. อัชชุกวัตถุ กุมารกัสสปวัตถุ เทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ. เพราะฉะนั้น พระเถระ ท่านจึงกล่าวว่าอันพระศาสดาทรงยกย่อง โดยนัยเป็น ต้นอย่างนี้ว่า เป็นเลิศของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย.

บทว่า สุขุมนปุณตฺถปฏิวิทฺโธ ได้แก่ ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถอันสุขุม ละเอียดแล้ว อธิบายว่า ผู้รู้ตลอดซึ่งอรรถะอันละเอียดเห็นได้ยากแล้ว. บทว่า กถิกานํ ปวโร ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุด กว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก. ท่านสถาปนาไว้ในเอตทัคคบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณมันตานีบุตร เป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กถิกานํ ปวโร เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก. บทว่า คณี ได้แก่ เป็นผู้มีหมู่. เล่ากันว่ากุลบุตรที่บวชในสำนักพระเถระ มีถึง ๕๐๐ รูป ภิกษุเหล่านั้น ทุกรูป เป็นชาวแคว้นที่เกิด อันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทุกรูป เป็นพระขีณาสพ ทุกรูปเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คณี

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 139

ผู้มีหมู่. บทว่า อิสี ได้แก่ ชื่อว่า อิสี เพราะเสาะแสวงหากุศลธรรม. บทว่า มนฺตานิยา ปุตฺโต ได้แก่ เป็นบุตรของพราหมณีชื่อมันตานี. คำว่า ปุณณะ เป็นชื่อของท่าน. บทว่า วิสฺสุโต ได้แก่ มีชื่อเสียงทางคุณมีความเป็นผู้มัก น้อยเป็นต้นของตนเอง.

ฝ่ายท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เมื่อพระศาสดาทรงบรรลุพระอภิ- สัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จมาตามลำดับ ทรง อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่, ท่านกลับมายังกรุงกบิลพัศดุ์ บวชมาณพชื่อ ปุณณะ หลานชายของตน ถวายบังคมทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ตนเอง ก็ไปยังสระฉัททันตะเพื่ออยู่ประจำ. ส่วนท่านปุณณะมาพร้อมกับพระเถระเพื่อ เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักทำกิจของผู้บวชให้เสร็จก่อนแล้วจึงจักไป เฝ้าพระทศพล ถูกท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระปล่อยไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่น เอง ท่านทำโยนิโสมนสิการ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต เข้าเฝ้าพระผู้มี- พระภาคเจ้า. ก็บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระเถระสองรูปเหล่านี้ คือท่านพระอนุรุทธเถระ ท่านพระอุบาลีเถระ ท่านแสดงเหมือนเข้าไปยังกรุงกบิลพัศดุ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบวชในวันประชุมพระประยูรญาติ ฉะนั้นคำนั้นไม่ สมกับบาลีในขันธกะ และอรรถกถา. พึงสอบสวนแล้วถือเอาเถิด.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบอาจาระทางจิตของภิกษุ ๕๐๐ รูป มี พระสารีบุตรเถระเป็นต้นแล้ว ทรงเริ่มตรัสคุณทั้งหลายของพระองค์. ด้วย เหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

พระมหามุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมาทรงทราบจิต ของภิกษุเหล่านั้น จะทรงตัดความสงสัย จึงตรัสคุณ ของพระองค์.

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 140

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปมฺมกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในข้อ อุปมา. กงฺขจฺเฉโท ได้แก่ ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวง.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระคุณทั้งหลายของพระองค์ ที่พระองค์ตรัสแล้ว จึงตรัสว่า

เบื้องต้นและเบื้องปลาย ของอสงไขยเหล่าใดอัน ใครๆ รู้ไม่ได้ อสงไขยเหล่านั้น มี ๔ คือ สัตตนิกาย ๑ หมู่สัตว์ ๑ โอกาสจักรวาลอันไม่สิ้นสุด ๑ และพระพุทธญาณที่นับไม่ได้ ๑ อสงไขยเหล่านั้น ใครๆ ไม่ อาจจะรู้ได้.

แก้อรรถ

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า จตฺตาโร กำหนดจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้ความที่พึงตรัส ณ บัดนี้ด้วยบทว่า เอเต. บทว่า อสงฺเขยฺยา ได้แก่ ชื่อ ว่าอสงไขย เพราะใครๆ ไม่อาจนับได้. อธิบายว่าเกินที่จะนับ. บทว่า โกฏิ ได้แก่ ขอบเขตเบื้องต้นหรือเบื้องปลาย. บทว่า เยสํ ได้แก่ ของอสงไขย ๔ เหล่าใด. บทว่า น นายติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอสงไขย ๔ ดังกล่าวแล้วนั้น จึงตรัสคำว่าสตฺตกาโยเป็นต้น. บทว่า สตฺตกาโย แปลว่า หมู่สัตว์. หมู่สัตว์ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีปริมาณ นับไม่ได้. อากาศก็อย่างนั้น ที่สุดแม้ของอากาศไม่มี จักรวาลก็เหมือนกัน ไม่มีที่สุดเหมือนกัน พุทธญาณ คือพระสัพพัญญุตญาณ ก็นับไม่ได้. บทว่า น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ ความว่า เพราะเหตุที่อสงไขยเหล่านั้น ไม่มีที่สุด ฉะนั้น ใครๆ จึงไม่อาจจะ รู้ได้.

บัดนี้ พระศาสดาเมื่อทรงขยายพระธรรมเทศนาว่า ในการทำฤทธิ์ ต่างๆ ของพระองค์ นั่นจะอัศจรรย์อะไรสำหรับเทวดาและมนุษย์เป็นต้น ซึ่ง

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 141

เกิดความประหลาดอัศจรรย์ ความประหลาดอัศจรรย์ที่วิเศษยิ่งกว่านั้น ยังมีอยู่ ขอท่านทั้งหลายจงพึงความอัศจรรย์นั้นของเรา จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

การทำฤทธิ์ต่างๆ ของเรา จะอัศจรรย์อะไรใน โลก ความอัศจรรย์ทั้งหลายอย่างอื่น ที่น่าประหลาด น่าขนลุกชัน ยังมีเป็นอันมาก.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เป็นคำค้าน. ตรัสคำว่า เอตํ ทรง หมายถึงการทำฤทธิ์ต่างๆ นี้. บทว่า ยํ ความว่า ศัพท์ว่า ยํ นี้ ใช้ในอรรถทุติยา วิภัตติได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยํ ตํ อปุจฺฉิมฺห อกิตฺตยีโน อญฺํ ตํ ปุจฺฉาม ตทิงฺฆ พฺรูหิ ข้าพระองค์ทูลถามปัญหานั้นใด ก็ตรัสตอบแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะทูลถามปัญหาอื่นนั้น ขอโปรดตอบปัญหานั้นด้วย, ใช้ในอรรถว่า เหตุได้ในประโยคนี้ อฏฺานเมตํ ภิกฺขเว อนวกาโส ยํ เอกิสฺสา โลกธาตุ- ยา เทฺว อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุใด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธแห่งโลกธาตุเดียว มี ๒ พระองค์ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาส, ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้ในประโยคนี้ว่า ยํ วิปสฺสี ภควา กปฺเป อุทปาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติในกัปใด, ใช้ในอรรถปฐมาวิภิตติ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยํ โข เม ภนฺเต เทวานํ ตาวตึสานํ สมฺมุขา สุตํ สมฺมุขา ปฏิคฺคหิตํ, อาโรเจมิ ตํ ภควโต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องใด ข้าพระองค์ได้ยินมาต่อหน้ารับมาต่อหน้าทวย- เทพชั้นดาวดึงส์ ข้าพระองค์จะทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ. ทรงแสดงว่าความอัศจรรย์ทั้งหลายอย่างอื่น ของเรา ที่แปลกประหลาดพิเศษยังมีเป็นอันมาก.

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 142

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความอัศจรรย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

ครั้งใด เราชื่อว่าท้าวสันดุสิตอยู่ในหมู่เทพชั้น ดุสิต ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็พากันประคองอัญชลี อ้อนวอนเรา.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใดพระผู้มีพระภาค- เจ้าทรงชี้พระองค์เองด้วยบทว่า อหํ. บทว่า ตุสิเต กาเย ได้แก่ หมู่เทพที่ ชื่อว่าดุสิต. ก็ในกาลใดเราบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน บริจาคมหาบริจาค ๕ ถึงที่ สุดแห่งญาตัตถจริยา โลกัตถจริยาและพุทธจริยา ให้สัตตสตกมหาทาน ทำ แผ่นดินให้ไหว ๗ ครั้ง จุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรแล้วก็บังเกิดในภพ ดุสิต ในวาระจิตที่สอง แม้ในกาลนั้นเราก็ได้เป็นเทวราชชื่อท้าวสันดุสิต. บทว่า ทสสหสฺสี สมาคมฺม ความว่า เทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันแล้ว. บทว่า ยาจนฺติ ปญฺชลี มมํ ความว่า เทวดาหมื่นโลกธาตุ เข้าไปหาเรา อ้อนวอนเราว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์เมื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มิใช่ ปรารถนาสมบัติท้าวสักกะ มิใช่ปรารถนาสมบัติมาร มิใช่ปรารถนาสมบัติพรหม มิใช่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิบำเพ็ญ แต่พระองค์ปรารถนาความเป็นพระพุทธ- เจ้าบำเพ็ญเพื่อช่วยขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า [เทวดาในหมื่นโลกธาตุทูลวอนว่า]

ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับ พระองค์ ขอพระองค์โปรดอุบัติในครรภ์พระมารดา ขอพระองค์ เมื่อจะทรงช่วยมนุษย์โลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 143

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโล เต แปลว่า เป็นกาลสมควร สำหรับพระองค์. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปชฺชํ ได้แก่ ถือปฏิสนธิ. ปาฐะว่า โอกฺกมฺม ก็มี. บทว่า สเทวกํ ความว่า โลกพร้อม ทั้งเทวโลก ในบทว่า ตารยนฺโต นี้ แม้ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ก็ชื่อว่า ช่วยให้ ข้าม. แม้ทรงบำเพ็ญบารมีเสร็จ ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. แม้ทรงจุติจากอัตภาพ เป็นพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิในภพดุสิตดำรงอยู่ในภพดุสิตนั้น ตลอด ๕๗ โกฏิปีกับ ๖๐ แสนปี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ทรงถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอน ทรง ตรวจมหาวิโลกนะ ๕ แล้ว ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางเจ้ามหามายาเทวีก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ถ้วนทศมาสก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม แม้ทรง อยู่ครองฆราวาสวิสัย ๒๙ พรรษา ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในวันประสูติพระราหุลภัททะ ทรงมีนายฉันนะเป็นสหาย ขึ้นทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ก็ดี เสด็จเลย ๓ ราชอาณาจักรทรงผนวช ณ ริมฝั่งแน่น้ำอโนมา ก็ดี ก็ชื่อว่า ทรงช่วยให้ข้าม. ทรงบำเพ็ญความเพียร ๖ ปีก็ดี ในวันวิสาขบูรณมีเพ็ญเดือน วิสาขะ เสด็จขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถาน [โคนโพธิพฤกษ์] ทรงกำจัดกองกำลัง ของมาร ปฐมยาม ทรงระลึกได้ถึงขันธ์ในบุรพชาติ มัชฌิมยามทรงชำระ ทิพยจักษุ ปัจฉิมยามทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์ ทั้งอนุโลมและ ปฏิโลมทรงบรรลุโสดาปัตติมรรค ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในขณะโสดาปัตติ- ผลก็ดี ในขณะสกทาคามิมรรคก็ดี ในขณะสกทาคามิผลก็ดี ในขณะอนาคามิ- มรรคก็ดี ในขณะอนาคามิผลก็ดี ในขณะอรหัตตมรรคก็ดี ในขณะอรหัตตผล ก็ดี ก็ชื่อว่าช่วยให้ข้าม. ในกาลใด ได้ประทานน้ำอมฤตแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ พร้อมด้วยเทวดาหมื่นแปดพันโกฏิ๑ นับตั้งแต่กาลนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า ทรงช่วยให้ข้ามแล้ว ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า


๑. ที่อื่นเป็น ๑๘ โกฏิ.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 144

เมื่อทรงยังโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร ขอโปรดจงบรรลุอมตบท.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูลพระชนมายุของพระชนนี บรรดา มหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น กาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์] สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า กาล. เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย. เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะ ฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร. แม้อายุกาล [ของสัตว์] ต่ำกว่าร้อยปี ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้นกาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร. อายุกาลอย่าง ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.

ต่อนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่ ประมาณหมื่นโยชน์.

เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ.

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 145

ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระกูล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลกสมมติ จำเราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็น พระชนกของเรา.

แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธ- มารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก ๗ วัน หลังครบทศมาสแล้ว.

ครั้นทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ดังนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ ทั้งหลาย จึงกล่าวเป็นต้นว่า

พระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว เสด็จ ลงในพระครรภ์ ในกาลใด ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุ ไหว แผ่นปฐพีก็ไหว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิ ได้แก่ ก้าวลงเข้าไป. บทว่า กุจฺฉยํ แปลว่า ในพระครรภ์ของพระพุทธมารดา. บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ กมฺปิตฺถ ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงมีสติสัมปชัญญะเมื่อลงสู่พระครรภ์ของ พระพุทธมารดา ทรงถือปฏิสนธิโดยนักษัตรฤกษ์เดือนอาสาฬหะหลัง ในดิถี เพ็ญอาสาฬหะ ด้วยมหาวิปากจิตที่เป็นเช่นเดียวกับกุศลจิตอสังขาริก ที่สหรคต

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 146

ด้วยโสมนัสสัมปยุตด้วยญาณอันมีเมตตาเป็นบุรพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง. ครั้งนั้น ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็สะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว. ธรรมชาติใด ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาพที่คงที่และเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าธรณี คือแผ่นปฐพี.

ในบทว่า สมฺปชาโน นิกฺขมิ นี้ มีอธิบายว่า ก็ในกาลใด เรา มีสติสัมปชัญญะยืนเหยียดมือทั้งสองออกจากพระครรภ์ของพระชนนี เหมือน พระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได อันของไม่ สะอาดไรๆ ที่เป็นสัมภวะในพระครรภ์ไม่แปดเปื้อนเลย. บทว่า สาธุการํ ปวตฺเตนฺติ ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย ยังสาธุการให้เป็นไป อธิบายว่า ถวาย สาธุการ. บทว่า ปกมฺปิตฺถ แปลว่า ไหวแล้ว อธิบายว่า หมื่นโลกธาตุ ไหวทั้งขณะเสด็จลงสู่พระครรภ์ ทั้งขณะประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเห็นใครๆ ที่เสมอเหมือนพระองค์ ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์เป็นต้นจึงตรัสคาถานี้ว่า โอกฺกนฺติ เม สโม นตฺถิ เป็นต้นก็เพื่อทรงแสดงความอัศจรรย์ของพระองค์ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกนฺติ แปลว่า ในการเสด็จลง สู่พระครรภ์ ปฐมาวิภัตติลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่าในการถือปฏิสนธิ. บทว่า เม แปลว่า ด้วยเรา. บทว่า สโม ได้แก่ ไม่มีใครเสมือน. ในบทว่า ชาติโต นี้ ความว่า ชนย่อมเกิดจากมารดานี้ เหตุนั้น มารดาท่านจึงเรียกว่า ชาตี อธิบายว่า จากมารดาผู้ให้กำเนิดนั้น. บทว่า อภินิกฺขเม ได้แก่ เสด็จ ออก คือไหลออกจากพระครรภ์ของพระชนนี.

ในบทว่า สมฺโพธิยํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ความตรัสรู้อันดีอัน ท่านสรรเสริญแล้ว ชื่อสัมโพธิ. ก็ โพธิ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีต้นไม้ มรรค นิพพาน สัพพัญญุตญาณเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 147

จริงอยู่ต้นไม้ท่านเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิรุกฺขมูเล ปมาภิสมฺพุทฺโธ ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก ณ โคนต้นโพธิ์ และว่า อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยา และโพธิพฤกษ์

มรรคเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ.

นิพพานเรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปตฺวาน โพธิ อมตํ อสงฺขตํ บรรลุพระนิพพานอันเป็นอมตะ เป็นอสังขตะ. พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่า โพธิ ได้ในอาคตสถานว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส พระผู้มี ปัญญาประเสริฐกว้างดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์พระอรหัตตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาจารย์พวกอื่นๆ กล่าวว่า สัพพัญญุตัญญาณ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระ สัพพัญญุตญาณนั้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยพระสัมโพธิ- ญาณ สรรเสริญพระองค์เอง. ตอบว่า เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง จริงอยู่ ความตรัสรู้พร้อมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้คุณทุกอย่างย่อมให้ พระพุทธคุณแม้ทั้งหมด ไม่เหลือเลย แต่ไม่ให้คุณแก่คนอื่นๆ. ก็บรรดา คนทั้งหลายอื่นพระอรหัตตมรรค ย่อมให้อรหัตตผลเท่านั้น แก่บางคน ให้ วิชชา ๓ แก่บางคน ให้อภิญญา ๖ แก่บางคน ให้ปฏิสัมภิทา ๔ แก่บางคน ให้สาวกบารมีญาณแก่บางคน ให้ปัจเจกโพธิญาณเท่านั้นแก่พระปัจเจกพุทธะ ทั้งหลาย แต่ให้คุณสมบัติทุกอย่างแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระ ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญพระองค์เองว่า เป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพธิ- ญาณ เพราะพระสัมโพธิญาณให้คุณทุกอย่าง. อนึ่ง ทรงทำพื้นแผ่นปฐพีให้ ไหวแล้วก็ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 148

ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในพระสัมโพฐิญาณ. ในบทว่า ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตเน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็ธรรมจักรมี ๒ คือ ปฏิเวธญาณ ๑ เทศนาญาณ ๑ ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักรอันพระปัญญาอบรมแล้วนำมาซึ่งอริยผล แด่พระองค์ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรอันพระกรุณาอบรมแล้ว นำมา ซึ่งอริยผลแก่สาวกทั้งหลายชื่อว่า เทศนาญาณ. ปฏิเวธญาณ เป็นโลกุตรกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. เทศนาญาณ เป็นโลกิยะ เป็นอัพยากฤต. แม้ญาณทั้งสองนั้น ก็ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ แต่ในที่นี้ประสงค์ เอาเทศนาญาณ.

บัดนี้เทวดาทั้งหลายพึงเรื่องราวมีแผ่นดินไหวเป็นต้น ในเพราะการ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็พากันกล่าวคาถานี้ว่า อโห อจฺฉริยํ โลเก เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานํ คุณมหนฺตตา ความว่า โอ! พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณมาก. โอ! พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีอานุภาพมาก.

บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ฉปฺปการํ ปกมฺปถ ความว่า มหา ปฐพีในหมื่นจักรวาล หวั่นไหวด้วย ๖ อาการ คือ ยืดขึ้นข้างหน้าโน้มลงข้างหลัง ยืดขึ้นข้างหลังโน้มลงข้างหน้า ยึดขึ้นข้างซ้ายโน้มลงข้างขวา ยืดขึ้นข้างขวา โน้มลงข้างซ้าย ยืดขึ้นตรงกลางโน้มลงข้างท้าย ยืดขึ้นข้างท้ายโน้มลงตรง กลาง มหาปฐพีนี้หนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ มีน้ำรองแผ่นดินอยู่รอบๆ เหมือนเรือที่ถูกขนาบด้วยการหักของคลื่นแห่งน้ำที่ไหวเพราะแรงลม แม้ไม่มี ใจก็เหมือนมีใจ ก็อาการไหวมี ๖ ประการ ดังกล่าวมานี้ เหมือนฟ้อนรำด้วย ปีติ. บทว่า โอภาโส จ มหา อาสิ ความว่า ได้มีแสงสว่างล้ำเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า อจฺเฉรํ โลมหํสนํ ความว่า ได้มีความ อัศจรรย์และขนลุกชัน.

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 149

บัดนี้ เมื่อความอัศจรรย์ทั้งหลาย มีแผ่นดินไหวและปรากฏแสงสว่าง เป็นต้น เป็นไปอยู่ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาว่า ภควา ตมฺหิ สมเย เป็นต้น ก็เพื่อแสดงความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า โลกเชฏฺโ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ แห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก. พึงเห็นว่า ทุติยาภัตติใช้ในอรรถ ฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ทสฺสยนฺโต ได้แก่ เมื่อทรงแสดงปาฏิหาริย์.

บทว่า จงฺกมนฺโต ว ความว่า เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้น ที่ตั้งครอบหมื่นโลกธาตุตรัส. บทว่า โลกนายโก ความว่า ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสธรรมกถาอันไพเราะ ที่ทรงชักมาด้วยไตรลักษณ์ประกอบด้วยสัจจะ ๔ มีนัยวิจิตรต่างๆ ด้วยพระสุรเสียงดั่งเสียงพรหม น่าฟัง น่ารัก ประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประหนึ่งราชสีห์แผดสีหนาท เหนือพ้นแท่นหินอ่อนสีแดง ประหนึ่งเมฆในฤดูฝน คำรามอยู่ และประหนึ่งข้ามอากาศคงคา.

ในคำว่า อนฺตรา น นิวตฺเตติ จตุหตฺเถ จงฺกเม ยถา นี้ มี ความว่า ที่จงกรมที่พระศาสดาทรงเนรมิตนั้น ปลายข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปาก จักรวาลด้านทิศตะวันออก ข้างหนึ่งอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตก พระศาสดา เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมนั้นที่ตั้งอยู่ดังกล่าวนี้ เสด็จถึงปลาย ทั้งสองข้างจึงจะเสด็จกลับ ระหว่างยังเสด็จไม่ถึงปลายสองข้าง จะไม่เสด็จกลับ พระศาสดา เมื่อเสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมประมาณ ๔ ศอก ถึงปลายสองข้าง เร็ว จึงเสด็จกลับอย่างใด จะไม่เสด็จกลับในระหว่างอย่างนั้น. ทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงย่นที่จงกรม ซึ่งยาวถึงประมาณหมื่นโยชน์ให้สั้น หรือทรงเนรมิตอัตภาพให้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ก็มิได้ทรงกระทำอย่างนั้น พุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด. หมื่นโลกธาตุได้

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 150

เป็นลานอันเดียวกัน นับตั้งแต่อกนิษฐภพจนถึงอเวจีนรก และโดยเบื้องขวาง หมื่นจักวาลก็ได้เป็นลานอันเดียวกัน. เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์ แม้มนุษย์ ทั้งหลายก็เห็นเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจงกรมโดยปกติได้โดยประการใด ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ จงกรม โดยประการนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจงกรม ก็ทรงแสดง ธรรม และทรงเข้าสมาบัติในระหว่างๆ.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทพใน หมื่นโลกธาตุห้อมล้อมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ด้วยพุทธสิริวิลาส อันหาที่เปรียบ มิได้ ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีอะไรเปรียบ เหมือนภูเขาทองอันประเสริฐ เคลื่อนที่ได้ มีพระพุทธสรีระอันประเสริฐ งดงามด้วยพระวรลักษณ์ ๓๒ อัน กำลังกุศลที่ทรงสร้างสมมาตลอดสมัยที่ประมาณมิได้ รุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญ- ชนะ ๘๐ มีพระสิริแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๘ ศอก เหมือนดวงจันทร์ เต็มดวงในฤดูสารท และเหมือนดอกปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ ออกดอกบาน สะพรั่งทั่วต้น. ครั้นเห็นแล้วก็ดำริว่า หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นนี้ประชุมกันแล้ว ก็ในที่ประชุมนี้ ควรมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่. ก็พุทธวงศ์เทศนา จะมี อุปการะมาก นำมาซึ่งความเลื่อมใส ถ้ากระไร เราพึงทูลถามพุทธวงศ์ จำเดิม แต่อภินีหารการบำเพ็ญบารมีของพระทศพล แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า เข้าเผ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมอดอกบัว ตูมเกิดอยู่ในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกล ไว้เหนือเศียรแล้ว ทูลถามผู้มีพระภาคเจ้ามีว่า กีทิโส เต มหาวีร เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคี- ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 151

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากฉลาดในสมาธิ และญาณ ผู้บรรลุบารมีด้วยปัญญา ทูลถามพระผู้นำ โลกว่า

ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหาร ของพระองค์เป็นเช่นไร. ข้าแต่พระผู้แกล้วกล้า พระองค์ทรงปรารถนา พระโพธิอันสูงสุดเมื่อกาลไร พระเจ้าข้า.

ถามว่า อนุสนธินี้ ชื่ออะไร ตอบว่า ชื่อว่าปุจฉานุสนธิ จริงอยู่ อนุสนธิ มี ๓ คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ. ใน อนุสนธิทั้ง ๓ นั้น พึงทราบ ปุจฉานฺสนธิ โดยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาของผู้ถามอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งก็ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งใน เป็นอย่างไร ฝั่งนอกเป็นอย่างไร.

อัชฌาสยานุสนธิ พึงทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของผู้อื่นแล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกแห่งใจอย่าง นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนัตตาดังนี้ กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตนอย่างไร. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ ปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัย จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ อยู่ในอวิชชา พึงสำคัญสัตถุศาสน์ว่าพึงแส่ไปด้วยใจที่มี ตัณหาเป็นอธิปไตย ว่า ท่านผู้เจริญ เขาว่ารูปเป็นอนัตตาอย่างนี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักกระทบตน อย่างไร ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.๑


๑. ท. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๑๒๙.

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 152

อนึ่ง เทศนาในชั้นต้น ตั้งขึ้นโดยธรรมใด เทศนาชั้นสูงมาใน พระสูตรเหล่าใด โดยธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น หรือโดยคัดค้าน ยถานุสนธิ ก็พึงทราบโดยอำนาจพระสูตรเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าเป็น ปุจฉานุสนธิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺาย ปารมิปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ. บทว่า ปุจฺฉติ แปลว่า ได้ถามแล้ว. ในคำว่า ปุจฺฉติ นั้น ชื่อว่าปุจฉา มี ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ทิฏฐสัง- สันทนาปุจฉา วิมติจเฉทนาปุจฉา อนุมติปุจฉา กเถคุกัมยตาปุจฉา. ถ้าจะถาม ว่า ในปุจฉาเหล่านั้น ปุจฉาของพระเถระนี้ ชื่อว่าปุจฉาอะไร. ตอบว่า เพราะ เหตุที่พุทธวงศ์นี้มิใช่วิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สร้างสมบุญสมภาร มาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป และของพระอัครสาวกทั้งสอง ผู้สร้างสมบุญ- สมภารมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป หรือของพระมหาสาวกที่เหลือ ผู้สร้างสม บุญสมภารมาแสนกัป เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น เพราะ ฉะนั้น ปุจฉาของพระเถระพึงทราบว่า เป็นอทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ศัพท์ว่า กีทิโส เป็นอาการถาม อธิบายว่ามีประการไร. บทว่า เต แปลว่า ของพระองค์. บทว่า อภินีหาโร ความว่า การผูกใจเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า นอนอธิษฐานความเพียรว่าเราไม่ได้คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าจัก ไม่ลุกขึ้นดังนี้ ชื่อว่าอภินีหาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นยอดนรชน อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร.

บทว่า กมฺหิ กาเลแปลว่าในกาลไร. บทว่าปตฺถิตา แปลว่าปรารถนา แล้วหวังแล้ว. พระเถระทูลถามว่า ทรงทำการตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธ เจ้าไว้เมื่อไร โดยนัยเป็นต้นว่า พึงตรัสรู้เป็นพระผู้ตรัสรู้ พึงพ้นเป็นพระผู้พ้น.

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 153

บทว่า โพธิ ได้แก่ สัมมาสัมโพธิ คำนี้เป็นชื่อของพระอรหัตตมรรคญาณ และ พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อุตฺตมา ได้แก่ ท่านกล่าวว่าสูงสุด เพราะ ประเสริฐกว่าสาวกโพธิและปัจเจกโพธิ. อักษรทำบทสนธิระหว่างศัพท์ ทั้งสอง

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทูลถามถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึง กล่าวว่า

ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ เป็นเช่นไร ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร

ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้นำโลก บารมี ๑๐ เป็น เช่นไร อุปบารมี เป็นเช่นไร ปรมัตถบารมี เป็น เช่นไร.

แก้อรรถ

บรรดาบารมีเหล่านั้น จะกล่าวทานบารมีก่อน การบริจาคสิ่งของ ภายนอก ชื่อว่า บารมี. การบริจาคอวัยวะชื่อว่า อุปบารมี. การบริจาคชีวิต ชื่อว่า ปรมัตถบารมี. แม้ในบารมีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บารมี ๑๐

อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ รวมเป็นบารมี ๓๐ ทัศ ด้วยประการฉะนี้. ในบารมี ๓๐ ทัศนั้น อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญทานบารมีก็นับไม่ ถ้วน ในสสบัณฑิตชาดก ทานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละ ชีวิตเป็นปรหิตประโยชน์อย่างนี้ว่า

ภิกฺขาย อุปคตํ ทิสฺวา สกตฺตานํ ปริจฺจชึ ทาเนน เม สโม นตฺถิ เอสา เม ทานปารมี.

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 154

เราเห็นภิกษุเข้าไปหาอาหาร ก็เสียสละตัวเอง ผู้เสมอเราด้วยทานไม่มี นี่เป็น ทานบารมี ของเรา. ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญศีลบารมีก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน ในสังขปาลชาดก ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ทำการเสียสละตัวอย่างนี้ว่า

สูเลหิ วินิวิชฺฌนฺเต โกฏฺฏยนฺเตปิ สตฺติภิ โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ เอสา เม สีลปารมี.

ถึงบุตรนายบ้าน แทงด้วยหลาว ตอกด้วยหอก เราก็ไม่โกรธ นี่เป็น ศีลบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียวเหมือนกัน. อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงสละราชสมบัติใหญ่บำเพ็ญเนกขัมมบารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน ในจุลสุตโสมชาดก เนกขัมมบารมีของพระ โพธิสัตว์นั้น ผู้สละราชสมบัติ เพราะไม่มีความประสงค์แล้ว ออกทรงผนวช อย่างนี้ว่า

มหารชฺชํ หตฺถคตํ เขฬปิณฺฑํว ฉฑฺฑยึ จชโต น โหติ ลคฺคนํ เอสา เม เนกฺขมฺมปารมี.

เราสละราชสมบัติใหญ่ ที่อยู่ในเงื้อมมือเหมือน ก้อนเขฬะ เราผู้สละโดยไม่ติดข้องเลย นี่เป็นเนกขัมมบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ ที่ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ในครั้งเป็น มโหสธบัณฑิตเป็นต้นก็นับไม่ถ้วนเหมือนกัน. ครั้งเป็นสัตตุภัตตกบัณฑิต ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงงูที่อยู่ในถุงหนังว่า

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 155

ปญฺาย วิจินนฺโตหํ พฺราหฺมณํ โมจยี ทุกฺขา ปญฺาย เม สโม นฺตฺถิ เอสา เม ปญฺาปารมี.

เราเมื่อพิจารณาเฟ้นด้วยปัญญา ก็เปลื้องทุกข์ ของพราหมณ์ได้ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาไม่มี นี่เป็น ปัญญาบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว. อัตภาพของพระโพธิสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ก็นับไม่ถ้วนเหมือน กัน. ในมหาชนกชาดก วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ข้ามมหาสมุทร อย่างนี้ว่า

อตีรทสฺสี ชลมชฺเฌ หตา สพฺเพว มานุสา จิตฺตสฺส อญฺถา นตฺถิ เอสา เม วิริยปารมี.

ท่ามกลางทะเลลึกล้ำ มนุษย์ทั้งหมดถูกภัยกำจัด แล้ว จิตก็ไม่เปลี่ยนไป นี่เป็น วิริยบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว

ในขันติวาทีชาดกก็เหมือนกัน ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้อด กลั้นทุกข์ใหญ่ ประหนึ่งไม่มีจิตใจ อย่างนี้ว่า

อเจตนํว โกฏฺเฏนฺเต ติณฺเหน ผรสฺนา มมํ กาสิราเช น กุปฺปามิ เอสา เม ขนฺติปารมี.

พระเจ้ากาสี จะทรงใช้ขวานคมกริบ ฟาดฟัน เราผู้ประหนึ่งไม่มีจิตใจ เราก็ไม่โกรธ นี่เป็นขันติบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 156

ในมหาสุตโสมชาดกก็เหมือนกัน. สัจจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ สละชีวิตรักษาสัจ อย่างนี้ว่า

สจฺจวาจํนุรกฺขนฺโต จชิตฺวา มม ชีวิตํ โมเจสึ เอกสตํ ขตฺติเย เอสา เม สจฺจปารมี.

เราเมื่อตามรักษาสัจวาจา ก็ยอมสละชีวิตของ เราเปลื้องทุกข์กษัตริย์ได้ ๑๐๑ พระองค์ นี่เป็นสัจจบารมี ของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในมูคปักขชาดกก็เหมือนกัน อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ ยอมสละชีวิตอธิษฐานวัตร อย่างนี้ว่า

มาตา ปิตา น เม เทสฺสา อตฺตา เม น จ เทสฺสิโย สพฺพญฺญุตํ ปิยํ มยฺหํ ตสฺมา วตํ อธิฏฺหึ.

มารดาบิดาไม่เป็นที่เกลียดชังของเรา ตัวก็ไม่ เป็นที่เกลียดชังของเรา พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รัก ของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร. ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

ในสุวรรณสามชาดก ก็เหมือนกัน เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ไม่อาลัยแม้แต่ชีวิต ประพฤติเมตตา อย่างนี้ว่า

น มํ โกจิ อุตฺตสติ นปิ ภายามิ กสฺสจิ เมตฺตาพเลนุปตฺถทฺโธ รมามิ ปวเน ตทา.

ใครๆ ทำเราให้หวาดสะดุ้งไม่ได้ แม้เราก็ไม่ กลัวต่อใครๆ เราอันกำลังเมตตาอุดหนุนแล้วจึงยินดี อยู่ในป่าใหญ่ ในครั้งนั้น.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมี.

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 157

ในโลมหังสชาดกก็เหมือนกัน อุเบกขาปารมีของพระโพธิสัตว์ เมื่อเด็กชาวบ้านทั้งหลาย ก่อให้เกิดควานสุขและความทุกข์ด้วยการถ่มน้ำลายรด เป็นต้นและด้วยการตีด้วยพวงมาลัยและของหอมเป็นอาทิ ก็ไม่ละเมิดอุเบกขา อย่างนี้ว่า

สุสาเน เสยฺยํ กปฺเปมิ ฉวฏฺิกํ อุปนิธายหํ คามณฺฑลา อุปคนฺตฺวา รูปํ ทสฺเสนฺตินปฺปกํ.

เราจะวางซากกระดูกไว้แล้วนอนในป่าช้า พวก เด็กชาวบ้าน เข้าไปลานบ้าน แสดงรูปหลอกมิใช่ น้อย.

ชื่อว่าปรมัตถบารมี. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้ ส่วนความพิศดาร พึงถือเอา จากคัมภีร์จริยาปิฎก.

บัดนี้ ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงคำพยากรณ์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระเถระทูลถามแล้ว จึงกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันท่านพระธรรมเสนาบดี สารีบุตรทูลถามแล้ว ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดั่งนก การเวกทรงยังดวงใจให้ดับร้อน ปลอบประโลมโลก ทั้งเทวโลก ทรงพยากรณ์แล้ว.

ทรงประกาศพระธรรมเทศนา คือ จริตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว อันพระพุทธเจ้าทรงนำ สืบๆ กันมา คือพุทธวงศ์อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ โลก ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ด้วยความรู้อันติดตาม ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในปางก่อน คือปุพเพนิวาสานุส- สติญาณ.

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 158

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ปุฏฺโ วิยากาสิ ความว่า ทรง เป็นผู้อันพระธรรมเสนาบดีนั้นทูลถามแล้วทรงพยากรณ์แก่ท่าน คือตรัสพุทธ- วงศ์ทั้งหมดตั้งต้นแต่อภินีหารของพระองค์ มีการตรัสรู้เป็นที่สุด. บทว่า กรวีกมธุรคิโร ความว่า เสียงของผู้ใดไพเราะเหมือนเสียงของนกการเวก ผู้นั้น ชื่อว่า มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก อธิบายว่า มีเสียงเสนาะ เพราะพริ้งเหมือนนกการเวก. ในข้อนี้ขอกล่าวดังนี้ นกการะเวกทั้งหลาย มีเสียงไพเราะ. เล่ากันว่านกการเวกทั้งหลาย เอาจะงอยปากจิกผลมะม่วง สุก อันมีรสหวาน ดื่มน้ำผลมะม่วงที่ไหลออกมาก็เริ่มใช้ปีกให้จังหวะร้อง เพลงระเริงเล่น เหมือนสัตว์สี่เท้ามัวเมาในเสียงเพลง. ฝูงสัตว์สี่เท้าแม้ ง่วนอยู่ด้วยการกินอาหาร ก็ทิ้งหญ้าคาปากเสียแล้วพากันฟังเสียงกังวาลนั้น. สัตว์ร้ายทั้งหลายกำลังไล่ติดตามเนื้อทรายเล็กๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้น หยุดยืน. เหมือนตุ๊กตา แม้ฝูงเนื้อที่ถูกไล่ติดตาม ก็เลิกกลัวตาย หยุดยืน แม้ฝูงนกที่ ล่องลอยอยู่ในอากาศ ก็เหยียดปีก ร่อนชลออยู่ แม้ฝูงปลาในน้ำ ก็ไม่กระดิกแผ่นหู หยุดฟังเสียงนั้น นกการเวกมีเสียงไพเราะอย่างนี้. บทว่า นิพฺพาปยนฺโต หทยํ ความว่า ยังใจของชนทุกคนผู้เร่าร้อนด้วยไฟกิเลส ให้เกิด ความเยือกเย็นด้วยธรรมกถาดังอมฤตธารา. บทว่า หาสยนฺโต ได้แก่ ให้ ยินดี. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกพร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า อตีตพุทฺธานํ แปลว่า ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว. ก่อนหน้าอภินีหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ในกัปหนึ่งบังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าตัณหังกร พระพุทธเจ้าเมธังกร พระพุทธเจ้าสรณังกร พระพุทธเจ้าทีปังกร. ต่อมาภายหลังพระพุทธเจ้า ๔

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 159

พระองค์นั้น ก็มีพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์ มีพระโกณฑัญญะเป็นต้น ดังนั้น พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระพุทธเข้าพระนามว่าทีปังกร เป็นต้น ทุกพระองค์ ท่านประสงค์เอาว่า อดีตพระพุทธเจ้า ในที่นี้. ของอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า ชินานํ เป็นไวพจน์ของบทว่า อตีตพุทฺธานํ นั้นนั่นแล. บทว่า เทสิตํ ได้แก่ คำตรัส คือธรรมกถาที่ประกอบ ด้วยสัจจะ ๔ ของพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์. บทว่า นีกีลิตํ ได้แก่ จริต ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ข้อที่กำหนดด้วยกัป ชาติ โคตร อายุ โพธิ สาวกสันนิบาต อุปัฏฐาก มาตา บิดา บุตร ภรรยา เป็นต้น ชื่อว่า นิกีลิตะ. บทว่า พุทฺธปรมฺปราคตํ ความว่า เทศนา หรือ จริต ที่ตั้งต้นแต่พระทศพล พระนามว่าทีปังกร สืบลำดับมาจนถึงพระกัสสปพุทธเจ้า. บทว่า ปุพฺเพ นิวาสานุคตาย พุทฺธิยา ความว่า ความรู้ที่ไปตามเข้าถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ปาง ก่อน กล่าวคือ ขันธสันดานที่อาศัยอยู่ปางก่อน อันจำแนกอย่างนี้ว่า ชาติหนึ่ง บ้างสองชาติบ้างเป็นต้น. ด้วยความรู้ที่ไปตามขันธ์ที่อาศัยอยู่ปางก่อน คือด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. บทว่า ปกาสยิ ได้แก่ ทรงพยากรณ์. บทว่า โลกหิตํ ได้แก่ พุทธวงศ์ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก. บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้ ในการฟัง ด้วยพระหฤทัยอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณา จึงตรัสว่า ปีติปาโมชฺ- ชนนํ ได้แก่ อันทำปีติและปราโมช คือปราโมชอันเป็นส่วนเบื้องต้นของปีติ อธิบายว่า ยังปีติ ๕ อย่างให้เกิด. บทว่า โสกสลฺลวิโนทนํ ได้แก่ บรรเทา กำจัดลูกศรทั้งหลาย ที่เรียกว่า โสกะ. บทว่า สพฺพสมฺปตฺติปฏิลาภํ ความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมได้สมบัติแม้ทุกอย่างมีเทวสมบัติและมนุษย์สมบัติ เป็นต้น ด้วยพุทธวงศ์นั้น เหตุนั้น พุทธวงศ์นั้น ชื่อว่าเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุก

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 160

อย่าง อธิบายว่า พุทธวังสเทสนา เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างนั้น. บทว่า จิตฺตีกตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในจิต อธิบายว่าทำพุทธานุสสติไว้เบื้องหน้า. บทว่า สุณาถ ได้แก่จงตั้งใจ จงตื่น. บทว่า เม แปลว่า ของข้าพเจ้า.

บทว่า นทนิมฺมทนํ ได้แก่ ทำการบรรเทาความเมาทุกอย่างมีเมาใน ชาติเป็นต้น. บทว่า โสกนุทํ ความว่า ความเร่าร้อนแห่งจิตของผู้ถูกความ พินาศแห่งญาติเป็นต้นกระทบแล้ว ชื่อว่า โสกะ โดยอรรถ ก็เป็นโทมนัส นั่นเองก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกมีการเผาภายในเป็นลักษณะ มี ความแห้งผากแห่งใจเป็นรส มีความเศร้าสร้อยเป็นเครื่องปรากฏ. พุทธวงศ์ ย่อมบรรเทาความโศกนั้น เหตุนั้นพุทธวงศ์จึงชื่อว่าบรรเทาความโศก. ซึ่ง พุทธวงศ์อันบรรเทาความโศกนั้น. บทว่า สํสารปริโมจนํ ได้แก่ ทำการ ปลดเปลื้องจากเครื่องผูกมัดสังสาร. ปาฐะว่า สํสารสมติกฺกมํ ดังนี้ก็มี ความ ของปาฐะนั้นว่า ทำการก้าวล่วงสงสาร.

ทุกข ศัพท์ในคำว่า สพฺพทุกฺขกฺขยํ นี้ ใช้ในอรรถทั้งหลายมีทุกข- เวทนา ทุกขวัตถุ ทุกขารมณ์ ทุกขปัจจัย ทุกขฐาน เป็นต้น. จริงอยู่ ทุกข- ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺขสฺส จ ปหานา เพราะละทุกขเวทนา. ใช้ในอรรถว่า ทุกขวัตถุ [ที่ตั้งแห่งทุกข์] ได้ ในประโยคเป็นต้นว่า ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา แม้ชาติก็เป็นที่ตั้ง ทุกข์ แม้ชราก็เป็นที่ตั้งทุกข์. ใช้ในอรรถว่าทุกขารมณ์ ได้ในประโยคเป็นต้น ว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ ทุกฺขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาวกฺกนฺตํ ดู ก่อนมหาลิ เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ตกไปตามทุกข์ ก้าวลงใน ทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจัย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสมบาป เป็นทุกข์. ใช้ในอรรถว่า ทุกขฐาน

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 161

ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรา อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว ทุกฺขา นิรยา (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้ โดยอเนกปริยายเพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์มิใช่ทำได้โดยง่าย. แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถ ทุกขวัตถุ ก็มี ในอรรถว่า ทุกขปัจจัย ก็มี. เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า อันกระทำความสิ้นทุกข์ทั้งปวง มีชาติเป็นต้น. จะวินิจฉัยในคำว่า มคฺคํ นี้ ดังนี้. พุทธวงศ์เทศนา เรียกว่า มรรค เพราะผู้ต้องการกุศลแสวงหากันหรือฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. ซึ่งพุทธวงศ์เทศนาอันเป็นทางแห่งพระนิพพานนั้น. บทว่า สกฺกจฺจํ แปลว่า เคารพ ทำความยำเกรง อธิบายว่า เป็นผู้ตั้งใจฟังพุทธวงศ์เทศนานั้น. บทว่า ปฏิปชฺชถ ได้แก่ จงตั้งใจยิ่ง อธิบายว่า จงฟัง อีกอย่างหนึ่ง พระเถระยังอุตสาหะตั้งความปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าให้เกิดแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายพึงพุทธวงศ์เทศนานี้ ที่ให้เกิดปีติและ ปราโมช บรรเทาความโศกศัลย์ อันเป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่างแล้ว บัดนี้จงปฏิบัติทางแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง นำมา ซึ่งคุณวิเศษมีการย่ำยีความมัวเมาเป็นต้น คำที่เหลือในข้อนี้ง่ายทั้งนั้นแล

จบกถาพรรณนารัตนจังกมนกัณฑ์

แห่งมธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์

ด้วยประการฉะนี้

จบกถาพรรณนาความอัพภันตรนิทาน โดยอาการทั้งปวง


๑. ม. อุปริ. ๑๔/ข้อ ๔๗๕.

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 162

พรรณนา

เรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ

บัดนี้ ถึงโอกาสพรรณนาพุทธวงศ์ ที่ดำเนินไปโดยนัยเป็นต้นว่า

ในที่สุดสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อว่าอมรวดี งามน่าดู น่ารื่นรมย์.

ก็การพรรณนาพุทธวงศ์นี้นั้น เพราะเหตุที่จำต้องกล่าววิจารถึงเหตุ ตั้งสูตรแล้วจึงจะปรากฏชัด ฉะนั้น จึงควรทราบการวิจารเหตุตั้งสูตรก่อน. เหตุตั้งสูตรมี ๔ คือ เนื่องด้วยอัธยาศัยของพระองค์ ๑ เนื่องด้วยอัธยาศัยของ ผู้อื่น ๑ เนื่องด้วยมีการทูลถาม ๑ เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น ๑.

ในเหตุตั้งสูตรทั้ง ๔ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้เชื้อเชิญ ตรัสพระสูตรเหล่าใด โดยอัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว คือ อากังเขยยสูตร วัตถุสูตร อย่างนี้เป็นต้น เหตุตั้งพระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัย ของพระองค์.

อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัย ขันติ ใจ และความเป็นผู้จะตรัสรู้ของชนเหล่าอื่น อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย ที่ช่วยบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรพึงแนะนำราหุลยิ่งขึ้นไปใน ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้ อื่นคือ ราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปวัตตนสูตรอย่างนี้เป็นอาทิ เหตุตั้งพระสูตร เหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น.

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 163

เทวดาและมนุษย์นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามปัญหา. ก็พระสูตรเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเทวดาและมนุษย์ทูลถามแล้วตรัส อย่างนี้ มีเทวดาสังยุตและโพชฌงคสังยุตเป็นต้น. เหตุตั้งสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยมีการทูลถาม.

อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาศัย เหตุที่เกิดขึ้น มีธัมมทายาทสูตรและปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น เหตุตั้งสูตรเหล่า นั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น. บรรดาเหตุดังพระสูตรทั้ง ๔ อย่างนี้ เหตุตั้งพุทธวงศ์นี้เป็นเหตุที่เนื่องด้วยมีการทูลถาม. จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้พระผู้มี พระภาคเจ้ายกตั้งไว้ ก็โดยการถามของใคร. ของท่านพระสารีบุตรเถระ. สม จริงดังที่ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในนิทานนั้นว่า

ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน สมาธิและญาณ ผู้บรรลุสาวกบารมีด้วยปัญญา ทูลถาม พระผู้นำโลกว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดแห่งนรชน อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร

ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พุทธวงศ์เทศนานี้ พึงทราบว่า เนื่อง ด้วยมีการทูลถาม.

ในคำว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส นี้ ในคาถานั้น กัป ศัพท์นี้ ใช้ใน อรรถทั้งหลายมีความเชื่อมั่น โวหาร กาล บัญญัติ ตัดแต่ง กำหนด เลศ โดยรอบ อายุกัปและมหากัปเป็นต้น.

จริงอย่างนั้น กัป ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น ได้ในประโยคทั้งหลาย เป็นต้นว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถา ตํ อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ข้อนี้พึงเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดมเหมือนอย่างพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 164

ใช้ในอรรถว่า โวหาร ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจทิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร ๕ อย่าง.

ใช้ในอรรถว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ วิหรามิ เขาว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเหตุใด.

ใช้ในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป ท่านกัปปะและว่า นิโคฺรธกปฺโป อิติ ตสฺส นามํ, ตยา กถํ ภควา พฺราหฺมณสฺส ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อของเขาว่า นิโครธกัปปะ พระองค์ก็ทรงตั้งให้แก่พราหมณ์.

ใช้ในอรรถว่า ตัดแต่ง ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อลงฺกโต กปฺปิตเกสมสฺสุ แต่งตัวแล้ว ตัดแต่งผมและหนวดแล้ว.

ใช้ในอรรถว่า กำหนด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโป กำหนดว่ากาลเดิมสองนิ้ว ย่อมควร.

ใช้ในอรรถว่า เลศ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุํ มีเลศที่จะนอน.

ใช้ในอรรถว่า โดยรอบ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตฺวา ส่องสว่างรอบพระเชตวันทั้งสิ้น.

ใช้ในอรรถว่า อายุกัป ได้ในบาลีนี้ว่า ติฏฺตุ ภนฺเต ภควา กปฺปํ, ติฏฺตุ ภนฺเต สุคโต กปฺปํ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงดำรงอยู่ตลอดอายุกัป ขอพระสุคตโปรดทรงดำรงอยู่ตลอด อายุกัปเถิด พระเจ้าข้า..

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 165

ใช้ในอรรถว่า มหากัป ได้ในบาลีนี้ว่า กีว ทีโฆ นุ โข ภนฺเต กปฺโป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหากัปยาวเพียงไรหนอ. โดย อาทิศัพท์ กัป ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เทียบเคียง ได้ในบาลีนี้ว่า สตฺถุ กปฺเปน วต กิร โภ มยํ สาวเกน สทฺธึ มนฺตยมานา น ชานิมฺห. ท่านผู้เจริญ เขาว่า เมื่อเทียบเคียงกับพระศาสดา พวกเราปรึกษากับสาวกก็ไม่รู้.

ใช้ในอรรถว่า ควรแก่วินัย ได้ในบาลีนี้ว่า กปฺโป นฏฺโ โหติ กปฺป กโตกาโส ชิณฺโณ โหติ ความสมควรแก่วินัย ก็เสียไป โอกาสที่จะ ทำให้สมควรแก่วินัย ก็เก่าไป. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า มหากัป. เพราะฉะนั้น. บทว่า กปฺเปจ สตสหสฺเส จึงมีความว่า แห่งแสนมหากัป.

ในคำว่า จตุโร จ อสงฺขิเย พึงเห็นว่าต้องเติมคำที่เหลือว่า จตุนฺนํ อสงฺเขยฺยานํ มตฺถเก ความว่า ในที่สุดแห่งสี่อสงไขย กำไรแสนกัป. บทว่า อมรํ นาม นครํ ได้แก่ ได้เป็นนครอันได้นามว่า อมร และอมรวดี แต่ในคำนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาเป็นประการอื่นไป, จะต้องการอะไรกับ อาจารย์พวกนั้น. ก็คำนี้เป็นเพียงนามของนครนั้น. บทว่า ทสฺสเนยฺยํ ได้แก่ ชื่อว่างามน่าดู เพราะประดับด้วยที่อยู่คือปราสาททิมแถวล้อมด้วยประการมีทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่ง มีประตูมีสนามงาม จัดแบ่งเป็นส่วนสัดอย่างดี. บทว่า มโนรมํ ได้แก่ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะทำใจของเทวดาและมนุษย์เป็นต้นให้ รื่นรมย์ เพราะเป็นนครมีภูมิภาคที่เรียบสะอาดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เพราะเป็น นครที่พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ เพราะเป็นนครที่มีอาหารหาได้ง่าย เพราะ เป็นนครที่ประกอบด้วยเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง และเพราะเป็นนครที่มั่งคั่ง.

ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า พระนครไม่ว่างเว้นจากเสียง ๑๐ อย่าง คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงตะโพน

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 166

เสียงพิณ เสียงขับ เสียงดนตรีไม้ เสียงเชิญบริโภคอาหารที่ครบ ๑๐. นัก ฟ้อนรำงานฉลอง งานมหรสพหาที่เปรียบมิได้ ก็เล่นกันได้ทุกเวลา. บทว่า อนฺนปานสมายุตํ ได้แก่ ประกอบด้วยข้าวคืออาหาร ๔ อย่างและน้ำดีชื่อว่า อันนปานสมายุต. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงว่านครนั้นหาอาหารได้สะดวก. อธิบาย ว่า พรั่งพร้อมแล้วด้วยข้าวและน้ำเป็นอันมาก.

บัดนี้ เพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น โดยวัตถุจึงตรัสว่า

อมรวดีนคร กึกก้องด้วยเสียงช้าง ม้า กลอง สังข์ รถ เสียงเชิญบริโภคอาหารด้วยข้าวและน้ำ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถิสทฺทํ ได้แก่ ด้วยเสียงโกญจนาทของ ช้างทั้งหลาย. คำนี้พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่ เหลือก็นัยนี้. บทว่า เภริสงฺขรถานิ จ ความว่า ด้วยเสียงกลอง เสียงสังข์ และเสียงรถ. ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อธิบายว่า อึกทึกกึกก้องด้วยเสียงที่ เป็นไปอย่างนี้ว่า กินกันจ้ะ ดื่มกันจ้ะ เป็นต้น ประกอบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ ผู้ทักท้วงกล่าวในข้อนี้ว่า เสียงเหล่านั้น ท่านแสดงไว้แต่เอกเทศเท่านั้น ไม่ ได้แสดงไว้ทั้งหมด หรือ. ตอบว่า ไม่ใช่แสดงไว้แต่เอกเทศ แสดงไว้หมด ทั้ง ๑๐ เสียงเลย. อย่างไรเล่า. ท่านแสดงไว้ ๑๐ เสียง คือ เสียงตะโพน ท่านสงเคราะห์ด้วยเสียงกลอง เสียงพิณเสียงขับกล่อมและเสียงดนตรีไม้ สงเคราะห์ด้วยเสียงสังข์.

ครั้นทรงพรรณนาสมบัติของนครโดยปริยายหนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อ แสดงสมบัตินั้นอีก จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 167

นครพรั่งพร้อมด้วยส่วนประกอบทุกอย่างมีการ งานทุกอย่างจัดไว้อย่างดี สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ กลาดเกลื่อนด้วยหมู่ชนต่างๆ เจริญมั่งคั่ง เป็น ที่อยู่ของผู้ทำบุญ เหมือนเทพนคร.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพงฺคสมฺปนฺนํ ความว่า พรั่งพร้อม ด้วยส่วนประกอบนครทุกอย่างมีปราการ ซุ้มประตู หอรบเป็นต้น หรือว่ามี อุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ทรัพย์ ข้าวเปลือก หญ้าไม้และน้ำบริบูรณ์. บทว่า สพฺพกมฺมมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง อธิบายว่ามีการงาน ทุกอย่างพรักพร้อม. บทว่า สตฺตรตนสมฺปนฺนํ ได้แก่ มีรัตนะ ๗ มีแก้ว มุกดาเป็นต้นบริบูรณ์ หรือว่าสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหัตถิรัตนะ จากภูมิภาค อันเป็นที่ประทับอยู่ขององค์จักรพรรดิ. บทว่า นานาชนสมากุลํ ได้แก่ กลาดเกลื่อนด้วยชนทั้งหลายที่มีถิ่นและภาษาต่างๆ กัน. บทว่า สมิทฺธํ ได้แก่ สำเร็จแล้ว เจริญแล้ว ด้วยเครื่องอุปโภคและเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างของมนุษย์. บทว่า เทวนครํ ว ท่านอธิบายว่า อมรวดีนคร มั่งคั่งเจริญเหมือนนคร ของเทพ เหมือนอาลกมันทาเทพธานี. บทว่า อาวาสํ ปุญฺกมฺมินํ ความว่า ชนทั้งหลายผู้มีบุญกรรม ย่อมอยู่ในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น จึงชื่อว่าเป็นที่อยู่. พึงทราบว่าเมื่อควรจะกล่าวว่า อาวาโส แต่ก็ทำให้ต่าง ลิงค์กล่าวว่า อาวาสํ. ซึ่งว่าบุญ เพราะเป็นเครื่องปรากฏอธิบายว่า ปรากฏ โดยตระกูล รูป มหาโภคะและความเป็นใหญ่. หรือว่า ชื่อว่าบุญ เพราะชำระ. อธิบายว่า บุญกรรมของชนเหล่าใดมีอยู่ เพราะลอยละอองมลทินของกุศลทั้ง ปวง ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามีบุญกรรม. นครนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีบุญกรรม เหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 168

พราหมณ์ชื่อ สุเมธ อาศัยอยู่ใน นครอมรวดี นั้น เขาเป็นอุภโตสุชาต เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดาเป็นผู้ถือเอาครรภ์บริสุทธิ์ มาตลอด ๗ ชั่วสกุล ไม่มีผู้คัดค้านและรังเกียจด้วยเรื่องชาติ สะสวยน่าชมน่า เลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เขาศึกษาจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณ- ฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ ทั้งอักขระประเภท ครบ ๕ ทั้งอิติหาสศาสตร์ ชำนาญ บทกวี ชำนาญไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์ แต่มารดาบิดาได้ตายเสียครั้งเขายังเป็นเด็กรุ่น. สหายผู้จัดการกองทรัพย์ของเขา นำบัญชีทรัพย์สินมาแล้วเปิดห้องหลายห้อง ที่เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ มีทองเงิน แก้วมณี แก้วมุกดา เป็นต้น บอกถึงทรัพย์ว่า ข้าแต่นายหนุ่ม นี่ทรัพย์สินส่วน ของมารดา นี่ทรัพย์สินส่วนของบิดา นี่ทรัพย์สินส่วนของปู่ทวด จนตลอด ๗ ชั่วสกุล แล้วมอบให้ว่า ท่านจงดำเนินการทรัพย์นี้เถิด. เขารับคำว่า ดีละ ท่าน แล้วทำบุญทั้งหลายอยู่ครองเรือน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในนครอมรวดี มีพราหมณ์ชื่อว่าสุเมธ สะสม ทรัพย์ไว้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก.

เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ จบคัมภีร์ไตรเพท ในลักษณศาสตร์และอิติหาสศาสตร์ ก็บรรลุถึงฝั่งใน พราหมณ์ธรรมของตน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคเร อมรวติยา ได้แก่ ในนครที่ เรียกกันว่าอมรวดี. ในบทว่า สุเมโธ นาม นี้ ปัญญาท่านเรียกว่า เมธา. เมธานั้นของพราหมณ์นั้นดี อันปราชญ์สรรเสริญแล้ว เหตุนั้น พราหมณ์นั้นเขา จึงรู้กันว่า สุเมธ ผู้มีปัญญาดี. บทว่า พฺราหฺมโณ ความว่า ชื่อว่าพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 169

เพราะศึกษาซึ่งมนต์ของพรหม อธิบายว่า ท่องมนต์. ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ กล่าวว่าเหล่ากอของพรหม ชื่อว่า พราหมณ์. แต่ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า พระอริยะทั้งหลาย ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้. บทว่า อเนกโกฏสนฺนิจโย ความว่า การสะสมแห่งทรัพย์หลายโกฏิ ชื่อว่าโกฏิสันนิจยะ. การสะสมทรัพย์มากโกฏิของผู้ใดมีอยู่ ผู้นี้นั้น ชื่ออเนกโกฏิสันนิจยะ อธิบายว่าผู้สะสมทรัพย์มากหลายโกฏิ. บทว่า ปทูตธนธญฺวา แปลว่า ผู้มี ทรัพย์และข้าวเปลือกมาก. คำต้นพึงทราบว่าตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าวเปลือก ที่อยู่ภาคพื้นดินและอยู่ในห้อง คำนี้ พึงทราบว่า ตรัสโดยเป็นทรัพย์และข้าว เปลือกที่กินที่ใช้อยู่ประจำ.

บทว่า อชฺฌายโก ความว่า ผู้ใดไม่เพ่งฌาน เหตุนั้นผู้นั้น ชื่อว่า อัชฌายกะผู้ไม่เพ่งฌาน อธิบายว่า ผู้เว้นจากการทำการเพ่งฌาน สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน วาเสฏฐะ บัดนี้พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง บัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ไม่เพ่ง ดังนั้นแลอักษรที่ ๓ ว่า อชฺฌายโก อชฺฌายกา ผู้ไม่เพ่ง ผู้ไม่เพ่งจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น คำครหาพราหมณ์พวกที่เว้นจาก การเพ่งฌานจึงเกิดขึ้นครั้งมนุษย์ต้นกัปด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ชนใดเพ่งมนต์ เหตุนั้น ชนนั้นจึงชื่อว่าผู้เพ่งมนต์ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ทำการสรรเสริญ กล่าวด้วยความนี้ว่าร่ายมนต์, ผู้ใดทรงจำมนต์ เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่าผู้ทรงจำมนต์ บทว่า ติณฺณํ เวทานํ ได้แก่คัมภีร์เวท ๓ [ไตรเพท] คืออิรุเวท ยชุเวท และสามเวท. ก็ เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ โสมนัส และ คันถะ.

จริงอย่างนั้น เวท ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ญาณ ได้ในประโยคเป็นต้น ว่า ยํ พฺราหฺมณํ เวทคุํ อภิชญฺา อกิญฺจนํ กามภเว อสตฺตํ เราเห็นผู้ใด เป็นพราหมณ์ บรรลุ ญาณ มีความรู้ยิ่ง ไม่กังวลไม่ขัดข้องในกามภพ.

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 170

ใช้ในอรรถว่า โสมนัส ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย เวทชาตา วิจรนฺติ โลเก ชนเหล่าใดเกิดโสมนัส เที่ยวไปในโลก.

ใช้ในอรรถว่า คันถะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ติณฺณํ เวทานํ ปารคู สนิฆณฺฑุเกฏุภานํ ผู้จบคัมภีร์ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภ- ศาสตร์. แม้ในที่นี้ก็ใช้ในอรรถว่า คันถะ คัมภีร์. บทว่า ปารคู ได้แก่ ชื่อว่าปารคูเพราะถึงฝั่งแห่งคัมภีร์ไตรเพท ด้วยเพียงทำให้คล่องปาก. บทว่า ลกฺข- เณ ได้แก่ ในลักษณศาสตร์ มีลักษณะสตรีลักษณะบุรุษและมหาปุริสลักษณะ. บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในคัมภีร์พิเศษ กล่าวคือโบราณคดี อันประกอบ ด้วยคำเช่นนี้ว่าเล่ากันว่าดังนี้ เล่ากันว่าดังนี้. บทว่า สธมฺเม ได้แก่ ในธรรม ของตนหรือในอาจารย์ของตัวพราหมณ์ทั้งหลาย. บทว่า ปารมึ คโต แปลว่า ถึงฝั่ง อธิบายว่า ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต เป็นบัณฑิตผู้เพลินอยู่ด้วยกองคุณ ๑๐ ประการนั้น ก็อยู่ในที่ลับ ณ ปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิดำริว่า ขึ้นชื่อว่า การถือปฏิสนธิในภพหมู่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้ว เกิดเล่า ก็เหมือนกันคือเป็นทุกข์ ก็เรามีชาติ ชรา พยาธิ มรณะเป็นธรรมดา เราเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ควรแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีชาติ [ชรา] พยาธิ มรณะ เป็นที่จำเริญสุข อันจะพ้นจากการท่องเที่ยวไปในภพ จะพึงมีได้ก็ ด้วยมรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งจะให้ถึงพระนิพพานแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ในครั้งนั้น เรานั่งคิดอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ขึ้น ชื่อว่าการเกิดใหม่และการแตกดับแห่งสรีระเป็นทุกข์.

ครั้งนั้น เรามีชาติชราพยาธิเป็นธรรมดา จำเรา จักแสวงหาพระนิพพาน ซึ่งไม่แก่ไม่ตาย แต่เกษม.

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 171

ถ้ากระไร เราผู้ไม่เยื่อใย ไม่ต้องการ จะพึงละ กายอันเน่านี้ ซึ่งเต็มด้วยซากศพต่างๆ ไปเสีย.

มรรคใดมีอยู่ จักมี มรรคนั้นไม่เป็นเหตุหามิได้ จำเราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นจากภพ.

แก้อรรถ

ก็ในคาถานั้น จำเราจักกล่าวเชื่อมความแห่งคาถา และความของบท ที่ยากต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคโต แปลว่า ไปแล้วในที่ลับนั่ง ในที่ลับ. บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตัดบทเป็น เอวํ จินฺเตสึ อหํ แปลว่า เราคิดแล้วอย่างนี้ ทรงแสดงอาการคือคิดด้วย บทว่า เอวํ นี้. บทว่า ตทา ได้แก่ ครั้งเป็นสุเมธบัณฑิตเป็นคนเดียวกันกับพระองค์ ด้วยบทว่า เอวํ จินฺเตสหํ นี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็คือเรานี่แล จึงตรัสโดยอุตตมบุรุษว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตทา. บทว่า ชาติธมฺโม แปลว่า มีชาติเป็นสภาพ. แม้ในบทที่เหลือก็นัย นี้. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ พระนิพพาน.

ศัพท์ว่า ยนฺนูน เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปริวิตก ความว่า ก็ผิว่า เรา. บทว่า ปูติกายํ แปลว่า กายอันเน่า. บทว่า นานากุณปปูริตํ ได้แก่ เต็มไปด้วยซากศพเป็นอันมาก มีปัสสาวะ อุจจาระ หนอง เลือด เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น. บทว่า อนเปกฺโข ได้แก่ ไม่อาลัย. บทว่า อตฺถิ ได้แก่ อันเขาย่อมได้แน่แท้. บทว่า เหหิติ แปลว่า จักมี คำนี้เป็นคำแสดงความ ปริวิตก. บทว่า น โส สกฺกา น เหตุเย ความว่า ไม่อาจจะมีได้ด้วย มรรคนั้นหามีได้ ก็มรรคนั้นเป็นเหตุนั่นเอง. บทว่า ภวโต ปริมุตฺติยา ได้แก่ เพื่อหลุดพ้นจากเครื่องผูกคือภพ.

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 172

บัดนี้ เพื่อทรงทำความที่พระองค์ทรงปริวิตกให้สำเร็จผล จึงตรัสว่า ยถาปิ เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ธรรมดาสุขอัน เป็นข้าศึกของทุกข์มีอยู่ ฉัน ใด เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดอันเป็นข้าศึกของความเกิดนั้นก็พึงมีฉันนั้น อนึ่ง เมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นอันระงับความร้อนนั้น ก็มีอยู่ฉันใด นิพพานอันเครื่องระงับไฟคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็พึงมี ฉันนั้น อนึ่งแม้ ธรรมอันไม่มีโทษเป็นความดี ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นความชั่วลามก ก็ มีอยู่ฉันใด เมื่อความเกิดอันเป็นฝ่ายชั่วมีอยู่ แม้นิพพานที่นับได้ว่าความไม่เกิด เพราะห้ามความเกิดได้ ก็พึงมีฉันนั้นเหมือนกันแล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้ธรรมดาสุขก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ ภพมีอยู่ แม่ภาวะที่มิใช่ภพ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.

เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นตรงกันข้ามก็มีอยู่ ฉันใด เมื่อไฟ ๓ กองมีอยู่ นิพพานเครื่องดับไฟ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.

เมื่อความชั่วมีอยู่ แม้ความดีก็ย่อมมีฉันใด เมื่อ ชาติมีอยู่ แม้ที่มิใช่ชาติ บุคคลก็พึงปรารถนา ฉันนั้น.

แก้อรรถ

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า ยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถข้ออุปมา. บทว่า สุขํ ได้แก่ สุขทางกายและทางใจ. ที่ชื่อว่าสุข เพราะขุดทุกข์ด้วยดี. บทว่า ภเว แปลว่า เมื่อความเกิด. บทว่า วิภโว แปลว่า ความไม่เกิด. เมื่อความ เกิดมีอยู่ แม้ธรรมคือความไม่เกิด บุคคลก็พึงปรารถนา. บทว่า ติวิธคฺคิ

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 173

วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อไฟ ๓ กอง มีราคะเป็นต้นมีอยู่. บทว่า นิพฺพานํ ความว่า ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องดับเครื่องระงับไฟมีราคะ เป็นต้นทั้ง ๓ กองนั้น บุคคลควรปรารถนา. บทว่า ปาปเก ได้แก่ เมื่ออกุศลเลวทราม. บทว่า กลฺยาณมฺปิ ได้แก่ แม้กุศล. บทว่า เอวเมว ได้แก่ เอวเมวํ อย่าง นี้ก็ฉันนั้น. บทว่า ชาติ วิชฺชนฺเต ความว่า เมื่อความเกิดมีอยู่. ท่าน กล่าวให้ต่างลิงค์และลบวิภัตติ. บทว่า อชาติปิ ความว่า แม้นิพพานคือ ความไม่เกิด เป็นเครื่องห้ามกันความเกิด บุคคลก็พึงปรารถนา.

ครั้งนั้น เราก็คิดถึงแม้ประการอื่นว่า บุรุษผู้จมลงในกองอุจจาระ แล เห็นหนองน้ำที่มีน้ำใสประดับด้วยบัวหลวง บัวสาย และบัวขาว ก็ควรแสวงหา หนองน้ำ ด้วยความคำนึงว่า ควรจะไปที่หนองน้ำนั้น โดยทางไหนหนอ. การไม่แสวงหาหนองน้ำนั้น ไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำนั้น เป็นความผิดของ บุรุษผู้นั้นผู้เดียว ฉันใด เมื่อหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรมซึ่งเป็นเครื่องชำระ มลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาหนองน้ำใหญ่คืออมตธรรมนั้น นั่นไม่ใช่ ความผิดของหนองน้ำใหญ่ คืออมตธรรม เป็นความผิดของบุรุษผู้เดียว ก็ฉัน นั้นเหมือนกัน. อนึ่งบุรุษถูกพวกโจรล้อมไว้ เมื่อทางหนีแม้มีอยู่ ถ้าบุรุษนั้น ไม่หนีไปเสีย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทางนั้น เป็นความผิดของบุรุษผู้นั้นผู้ เดียว ฉันใด บุรุษที่ถูกพวกโจรคือกิเลสล้อมจับไว้ เมื่อทางใหญ่อันรุ่งเรือง อันจะไปยังมหานครคือพระนิพพาน แม้มีอยู่ ก็ไม่แสวงหาทางนั้น ก็ไม่ใช่ ความผิดของทาง เป็นความผิดของบุรุษแต่ผู้เดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บุรุษ ถูกความเจ็บป่วยบีบคั้น เมื่อหมอที่จะเยียวยาความเจ็บป่วยมีอยู่ ถ้าไม่แสวงหา หมอนั้น ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บป่วย นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของ หมอ เป็นความผิดของบุรุษนั้นแต่ผู้เดียว ฉันใด ก็ผู้ใดถูกความเจ็บป่วยคือ

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 174

กิเลสบีบคั้นหนัก ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในทางระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ก็เป็น ความผิดของผู้นั้นผู้เดียว ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้ขจัดความเจ็บป่วยคือกิเลส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บุรุษตกบ่ออุจจาระ เห็นหนองน้ำมีน้ำเต็ม ก็ไม่ ไปหาหนองน้ำนั้น นั่นไม่ใช่ความผิดของหนองน้ำ ฉันใด.

เมื่อหนองน้ำคืออมตะ เป็นเครื่องชำระมลทินคือ กิเลสมีอยู่ บุคคลไปไม่หาหนองน้ำนั้น ก็ไม่ใช่ความ ผิดของหนองน้ำคืออมตะ ก็ฉันนั้น.

บุรุษถูกข้าศึกรุมล้อมไว้ เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษ ผู้นั้นก็ไม่หนีไป นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง ฉันใด.

บุคคลถูกกิเลสรุมล้อมไว้ เมื่อทางอันรุ่งเรืองมี อยู่ ก็ไม่ไปหาทางนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของทาง อันรุ่งเรือง ก็ฉันนั้น.

บุรุษถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนแล้ว เมื่อหมอที่ จะเยียวยามีอยู่ ก็ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บ ป่วยนั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหมอ แม้ฉันใด.

บุคคลถูกความเจ็บป่วยคือกิเลส บีบคั้นเป็นทุกข์ ก็ไม่ไปหาอาจารย์นั้น นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 175  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 175

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คูถคโต ได้แก่ ตกลงสู่บ่ออุจจาระ หรือ ตกบ่อถูกอุจจาระเปื้อน. บทว่า กิเลสมลโธวํ ได้แก่ เป็นที่ชำระมลทิน คือกิเลส. คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อมตนฺตเฬ แปลว่า ของหนองน้ำกล่าวคืออมตะ. คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ พึงเห็นว่า ลงใน อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ท่านกล่าวใส่นิคคหิตไว้. บทว่า อรีหิ ได้แก่ อันปัจจามิตร ทั้งหลาย. บทว่า ปริรุทฺโธ ได้แก่ ล้อมโดยรอบ. บทว่า คมนมฺปเถ คือ คมนปเถ คือ เมื่อทางไป. คำนี้ท่านกล่าวลงนิคคหิตอาคม เพื่อไม่ให้ เสียฉันทลักษณ์. บทว่า น ปลายติ ได้แก่ ผิว่าไม่พึงหนีไป. บทว่า โส ปุรโส ได้แก่ บุรุษที่ถูกพวกโจรรุมล้อมไว้นั้น. บทว่า อญฺชสฺส แปลว่า ของทาง. จริงอยู่ทางมีชื่อเป็นอันมาก คือ

มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชลํ วฏุมายนํ นาวา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.

แปลว่า ทาง ทั้งหมด แต่ในที่นี้ ทางนั้น ท่านกล่าวโดยใช้ชื่อว่า อัญชสะ. บทว่า สิเว ได้แก่ ชื่อว่า สิวะเพราะไม่มีอุปัทวะทั้งปวง. บทว่า สิวมญฺชเส ความว่า ของทางที่ปลอดภัย. บทว่า ติกิจฺฉเก ได้แก่ หมอ. บทว่า น ติกิจฺ ฉาเปติ ได้แก่ ไม่ยอมให้เยียวยา. บทว่า น โทโส โส ติกิจฺฉเก ได้แก่ ไม่ใช่ความผิดของหมอ. อธิบายว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยฝ่ายเดียว. บทว่า ทุกฺขิโต ได้แก่ มีทุกข์ทางกายทางใจที่เกิดเอง. บทว่า อาจริยํ ได้แก่ อาจารย์ผู้บอกทางหลุดพ้น. บทว่า วินายเก แปลว่า ของอาจารย์.

ก็เราครั้นคิดดังกล่าวมานี้แล้ว จึงคิดยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ชอบ แต่งตัวสวยๆ ทิ้งซากศพที่คล้องคอเสีย ก็พึงเป็นสุขไป แม้ฉันใด แม้เราก็

 
  ข้อความที่ 176  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 176

ทิ้งกายอันเน่านี้เสีย ไม่อาลัย พึงเข้าไปยังมหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง บุรุษสตรีถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงที่พื้นดินอันเปื้อนอุจจาระปัสสาวะแล้ว ก็หาเอา ใส่ชายพกหรือเอาชายผ้าห่ออุจจาระปัสสาวะนั้นพาไปไม่ ที่แท้ ก็พากันเกลียด ไม่อยากแม้แต่จะดู ไม่อาลัยทิ้งไปเลย ฉันใด แม้เราก็ไม่อาลัยกายอันเน่านี้ ควรที่จะละทิ้งเข้าไปยังอมตนครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง ธรรมดานายเรือ ทั้งหลาย ก็ละทิ้งเรือที่นำน้ำอันคร่ำคร่าไม่เยื่อใยไปเลย ฉันใด แม้เราก็ละทิ้ง กาย ที่ของโสโครกไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ แผลนี้ ไม่เยื่อใยจักเข้าไปยัง มหานครคือนิพพาน ก็ฉันนั้น. อนึ่ง บุรุษบางคน พกพารัตนะมากอย่างมี แก้วมุกดาแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์เป็นต้น เดินทางไปกับหมู่โจร จำต้องละ ทิ้งโจรเหล่านั้น เพราะกลัวสูญเสียรัตนะ เลือกถือเอาแต่ทางที่เกษมปลอดภัย ฉันใด กายอันเน่าแม้นี้ก็เสมือนโจรปล้นรัตนะ ถ้าเราจักทำความอยากในกาย นี้ รัตนะคืออริยมรรคและกุศลธรรมของเราก็จักสูญเสียไป เพราะฉะนั้นจึง ควรที่เราจำต้องละทิ้งกรัชกายที่เสมือนมหาโจรนี้ แล้วเข้าไปยังมหานครคือ นิพพาน ก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บุรุษเกลียดซากศพที่ผูกคออยู่ ปลดออกไปเสีย ก็มีสุข มีเสรี มีอิสระ ฉันใด.

เราทิ้งกายอันเน่านี้ ที่สะสมซากศพต่างๆ ไว้ไป เสีย ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

บุรุษสตรีทิ้งอุจจาระไว้ในที่ถ่ายอุจจาระ ไปเสีย ไม่อาลัย ไม่ต้องการ ฉันใด.

เราทอดทิ้งกายนี้ ที่เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ เหมือนทิ้งส้วมไป ก็ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 177  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 177

เจ้าของเรือ ทิ้งเรือลำเก่าชำรุด รั่วน้ำไป ไม่เยื่อใย ไม่ต้องการ ฉันใด.

เราก็ทอดทิ้งกายนี้ ที่มี ๙ ช่อง เป็นที่ไหลออก ของสิ่งโสโครกอยู่เป็นนิตย์ไป เหมือนเจ้าของเรือสละ ทิ้งเรือลำเก่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

บุรุษพกพาของมีค่าไปกับพวกโจร แลเห็นภัย จากการเสียหายของๆ มีค่า จึงละทิ้งโจรไป ฉันใด.

กายนี้ก็เปรียบเสมอด้วยมหาโจร เพราะกลัวการ เสียหายแห่งกุศล เราจึงจำต้องละกายนี้ไป ก็ฉันนั้น เหมือนกัน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ กุณปํ ปุริโส ความว่า บุรุษ วัยรุ่น ผู้รักสวยรักงาม อึดอัดระอา เกลียด ด้วยซากงู ซากสุนัข หรือซาก มนุษย์ ที่ถูกผูกคอไว้ จึงปลดซากศพนั้นออกไปเสีย แม้ฉันใด. บทว่า สุขี ได้แก่ ประสบสุข. บทว่า เสรี ได้แก่ อยู่ตามอำเภอใจ. บทว่า นานากุณปสญฺจยํ ได้แก่ เป็นกองซากศพต่างๆ มากหลาย. ปาฐะว่า นานากุณปปูริตํ ดังนี้ ก็มี.

บทว่า อุจฺจารฏฺานมฺหิ ความว่า คนทั้งหลายย่อมอุจจาระ คือถ่าย อุจจาระในประเทศนั้น เหตุนั้นประเทศนั้น จึงชื่อว่า เป็นที่ถ่ายอุจจาระ. ประเทศที่ถ่ายอุจจาระนั้นด้วย เป็นฐานด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าฐานเป็นประเทศ ถ่ายอุจจาระ อีกอย่างหนึ่ง ประเทศอันเขาถ่ายอุจจาระ เหตุนั้นจึงชื่อว่าประเทศ ที่ถ่ายอุจจาระ คำนี้เป็นชื่อของอุจจาระ. ที่ของอุจจาระนั้น ชื่อว่าที่ของอุจจาระ

 
  ข้อความที่ 178  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 178

ในฐานแห่งอุจจาระ อธิบายว่า ในฐานที่เปื้อนด้วยของสกปรก. บทว่า วจฺจํ กตฺวา ยถา กุฏึ ความว่า เหมือนบุรุษสตรี ละทิ้งกุฏิที่ถ่ายอุจจาระ คือส้วม ฉะนั้น.

บทว่า ชชฺชรํ ได้แก่ เก่า. บทว่า ปุลคฺคํ ได้แก่ ชำรุด อธิบายว่า กระจัดกระจาย. บทว่า อุทคาหินึ ได้แก่ ถือเอาน้ำ. บทว่า สามี ได้แก่ เจ้าของเรือ. บทว่า นวจฺฉิทฺทํ ได้แก่ ชื่อว่ามี ๙ ช่อง เพราะประกอบด้วย ปากแผล ๙ แผล มีตา หู เป็นต้น ทั้งช่องเล็กช่องน้อย. บทว่า ธุวสฺสวํ ได้แก่ เป็นที่ไหลออกเป็นประจำ. อธิบายว่า มีสิ่งไม่สะอาดไหลออกเป็นนิตย์.

บทว่า ภณฺฑมาทิย ได้แก่ ถือเอาทรัพย์สินมีรัตนะเป็นต้นอย่างใด อย่างหนึ่ง. บทว่า ภณฺฑจฺเฉทภยํ ทิสฺวา ความว่า เห็นภัยแก่การชิง ทรัพย์สิน. บทว่า เอวเมว ความว่า เหมือนบุรุษพกพาทรัพย์สินเดินไปฉะนั้น. บทว่า อยํ กาโย ความว่า สภาพนี้ เป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งที่เขาเกลียดแล้วที่ น่าเกลียดอย่างยิ่ง เหตุนั้น จึงชื่อว่ากาย. คำว่า อายะ ได้แก่ ที่เกิด. อาการ ทั้งหลายย่อมมาแต่สภาพนั้น เหตุนั้น สภาพนั้น จึงชื่อว่า อายะ เป็นแดน มา. อาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันเขาเกลียดแล้ว. สภาพเป็นแดนมาแห่ง อาการทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันเขาเกลียดแล้ว ด้วยประการฉะนั้น เหตุนั้น สภาพนั้น จึงชื่อว่า กาย. บทว่า มหาโจรสโม วิย ความว่า กายชื่อว่า มหาโจรสมะ เพราะเป็นโจรมีปาณาติบาตและอทินนาทานเป็นต้นคอยปล้น กุศลทุกอย่าง โดยอำนาจความยินดีเป็นต้นในปิยรูปทั้งหลาย มีรูปารมณ์เป็นต้น ด้วยจักษุเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น จึงควรทราบการเชื่อมความว่า บุรุษผู้ถือ ทรัพย์สินที่เป็นรัตนะ ไปกับหมู่โจรนั้นจำต้องละโจรเหล่านั้นไปเสีย ฉันใด

 
  ข้อความที่ 179  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 179

แม้เราก็จำต้องละกายอันเสมอด้วยมหาโจรนี้ไปเพื่อแสวงหาทางที่ทำความสวัสดี ให้แก่ตน ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า กุสลจฺเฉทนาภยา ความว่า เพราะ กลัวแต่การปล้นกุศลธรรม.

ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิตครั้นครุ่นคิดถึงเหตุแห่งเนกขัมมะการออกบวช ด้วยอุปมานานาประการอย่างนี้แล้ว จึงคิดอีกว่า บิดาและปู่เป็นต้นของเรารวบ รวมกองทรัพย์ใหญ่นี้ไว้ เมื่อไปปรโลกก็พาเอาแม้แต่กหาปณะเดียวไปไม่ได้. ส่วนเราควรจะถือเอาเพื่อทำเหตุไปปรโลก ดังนี้แล้วก็ไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระบาทมีหัวใจถูกชาติชราเป็นต้นรบกวน จำจักออก จากเรือนบวชไม่มีเรือน ข้าพระบาทมีทรัพย์อยู่หลายแสนโกฏิ ขอพระองค์ ผู้สมมติเทพโปรดทรงดำเนินการกะทรัพย์นั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เราไม่ต้องการทรัพย์ของท่านดอก ท่านนั้นเองจงทำตามปรารถนาเถิด.

สุเมธบัณฑิตนั้นทูลรับว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วให้ตีกลองร้องป่าวไปใน พระนคร ให้ทานแก่มหาชน ละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว ก็ออกจากอมรนคร ซึ่งเสมือนเทพนครอันประเสริฐไปแต่ลำพังผู้เดียว อาศัยธัมมิกบรรพต ในป่า หิมวันตประเทศที่มีฝูงเนื้อนานาชนิด ทำอาศรม สร้างบรรณศาลาลงในที่นั้น สร้างที่จงกรมที่เว้นโทษ ๕ ประการ ละทิ้งผ้าอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ แล้ว นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ เพื่อรวบรวมกำลัง แห่งอภิญญาที่ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ บวชแล้ว.

เขาบวชอย่างนี้แล้ว ก็ละบรรณศาลาที่เกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าอาศัยโคนไม้ ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ละธัญชาติหลากชนิดทุก อย่าง บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตั้งความเพียร โดยการนั่งยืน และเดิน ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 180  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 180

เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิเป็น ทาน แก่คนที่มี่ที่พึ่งและไม่มีที่พึ่ง แล้วก็เข้าไปยัง หิมวันตประเทศ.

ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อว่าธัมมิกะ เราก็ทำอาศรม สร้างบรรณศาลา.

ณ ที่นั้น เราก็สร้างที่จงกรม อันเว้นโทษ ๕ ประการ รวบรวมกำลังแห่งอภิญญา อันประกอบด้วย คุณ ๘ ประการ.

เราสละผ้า อันมีโทษ ๙ ประการไว้ ณ ที่นั้น นุ่งผ้าเปลือกไม้ อันมีคุณ ๑๒ ประการ.

เราสละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประ- การ เข้าอาศัยโคนไม้ อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ

เราสละธัญชาติ ที่หว่านที่ปลูก โดยมิได้เหลือ เลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อันพรั่ง พร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.

เราตั้งความเพียรในที่นั้น ด้วยการนั่งยืนและเดิน ก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาภายใน ๗ วัน เท่านั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวาหํ ตัดบทว่า เอวํ อหํ ความว่า เราคิดโดยประการที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง. บทว่า นาถานาถามํ ความว่า เราให้แก่คนที่มีที่พึ่งและคนที่ไม่มีที่พึ่ง คือทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน พร้อม

 
  ข้อความที่ 181  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 181

ทั้งซุ้มประตูและเรือน ด้วยกล่าวว่า ผู้ต้องการก็จงรับเอา. บทว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ได้แก่ ในที่ไม่ไกล คือใกล้ขุนเขาหิมวันต์. บทว่า ธมฺมิโก นาม ปพฺพโต ได้แก่ ภูเขามีชื่ออย่างนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ภูเขาลูกนี้จึงมีชื่อว่า ธัมมิกะ. ตอบว่า ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายโดยมาก บวชเป็นฤาษี เข้าอาศัย ภูเขาลูกนั้นทำอภิญญาให้เกิดแล้วทำสมณธรรม เพราะฉะนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้ ปรากฏชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะเป็นที่อาศัยแห่งบุคคลผู้มีสมณธรรม. ด้วยคำว่า อสฺสโม สุกโต มยฺหํ เป็นต้น ตรัสไว้เหมือนว่าสุเมธบัณฑิต สร้างอาศรม บรรณศาลาที่จงกรมด้วยฝีมือตนเอง แต่แท้จริง หาได้สร้างด้วยฝีมือตนเองไม่ ท้าวสักกเทวราชทรงส่งวิสสุกรรมเทพบุตรไปสร้าง มิใช่หรือ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงผลสำเร็จนั้น ซึ่งเกิดด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ในครั้งนั้น จึงตรัสเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ณ ภูเขานั้น

เราทำอาศรม สร้างบรรณศาลา สร้างที่จงกรม อันเว้นโทษ ๕ ประการ ไว้ ณ ที่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณสาลา ได้แก่ ศาลามุงบังด้วย ใบไม้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ อาศรมบทนั้น. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ได้แก่ เว้นห่างไกลจากโทษแห่งที่จงกรม ๕ ประการ. ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรม ๕ ประการ อะไรบ้าง อันเว้นจากโทษ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นที่แข็ง ขรุขระ ๑ อยู่ในต้นไม้ ๑ มีที่รกกำบัง ๑ แคบเกินไป ๑ กว้างเกินไป ๑ ด้วยการกำหนดอย่างสูง ท่านกล่าวว่า ที่จงกรมยาว ๖๐ ศอก กว้างศอกครึ่ง.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ ได้แก่เว้นห่างไกลจากโทษ คือนิวรณ์ ๕ ประการ พึงเห็นว่า เชื่อมความกับบทหลังนี้ว่า อภิญฺาพลมาหริ ดังนี้. บทว่า อฏฺคุณสมุเปตํ ความว่า ชักนำกำลังแห่งอภิญญา

 
  ข้อความที่ 182  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 182

อันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ คือ เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ หมดจด สะอาด ไม่มีมลทิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน มั่นคง ไม่หวั่นไหว.

แต่อาจารย์บางพวก กล่าวเชื่อมความกับอาศรมว่า เราสร้างอาศรม อันประกอบด้วยสมณสุข ๘ ประการ คือ ประกอบพรักพร้อมด้วยสมณสุข ๘ ประการเหล่านี้ คือ ชื่อว่าสมณสุข ๘ ประการเหล่านี้คือ ไม่หวงทรัพย์และ ข้าวเปลือก แสวงแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่ก้อนข้าวเย็นแล้ว ไม่มี กิเลสเครื่องเบียดเบียนรัฐในเมื่อพวกราชบุรุษเอาแต่เบียดเบียนรัฐ ถือเอาทรัพย์ และข้าวเปลือกเป็นต้น ปราศจากฉันทราคะในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีภัย เพราะการปล้นของโจร ไม่คลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา ไม่ถูกกระทบกระทั่งใน ๔ ทิศ คำนั้นไม่สมกับบาลี.

บทว่า สาฏกํ แปลว่า ผ้า. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. ด้วย บทว่า นวโทสมุปาคตํ ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเมื่ออยู่ในที่นั้น ก็เสียสละผ้าที่มีค่ามากที่ตนนุ่งห่มเสีย ก็เมื่อจะละผ้า ได้เห็นโทษ ๙ ประการ ในผ้านั้นจึงละเสีย. ความจริงประกาศโทษ ๙ ประการในผ้า แก่ผู้บวชเป็น ดาบสทั้งหลาย. โทษ ๙ ประการคืออะไร ทรงแสดงว่า เราละผ้าที่ประกอบ ด้วยโทษ ๙ ประการเหล่านี้คือ ผ้าเป็นของมีค่า ชีวิตนักบวชอยู่ได้ด้วยผู้อื่น ผ้าหมองไปทีละน้อยด้วยการใช้ ผ้าที่หมองแล้วจำต้องซักต้องย้อม ผ้าเก่า ไปด้วยการใช้ ผ้าที่เก่าแล้วจำต้องทำการชุน ทำการปะ ผ้าเกิดได้ยากในการ แสวงหาใหม่ ไม่เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส เป็นของสาธารณะทั่วไปแก่พวก โจร ต้องคุ้มครองโดยที่พวกโจรลักไปไม่ได้ เป็นฐานการแต่งตัวของผู้นุ่งห่ม ผู้ที่พาเที่ยวไปกลายเป็นคนมักมาก แล้วจึงนุ่งผ้าเปลือกไม้. บทว่า วากจีรํ ความว่า เราถือเอาผ้าที่สำเร็จด้วยเปลือกไม้ ซึ่งกรองด้วยหญ้ามุงกระต่ายเป็นเส้นๆ

 
  ข้อความที่ 183  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 183

ทำแล้ว เพื่อใช้นุ่งห่ม. บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคตํ ได้แก่ ประกอบด้วย อานิสงส์ ๑๒ ประการ. ในบทนี้ คุณ ศัพท์มีอรรถว่า อานิสงส์ เหมือนใน ประโยคเป็นต้นว่า สตคุณา ทกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา พึงหวังได้ทักษิ- ณามีอานิสงส์ร้อยหนึ่ง. อักษรทำการต่อบท ถึงพร้อมด้วยคุณ ๑๒ ประการ เหล่านี้ คือ ผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการคือ มีค่าน้อย ๑ ไม่เนื่อง ด้วยผู้อื่น ๑ อาจทำได้ด้วยมือตนเอง ๑ แม้เมื่อเก่าเพราะการใช้ก็ไม่ต้องเย็บ ๑ ไม่มีโจรภัย ๑ ผู้แสวงหาก็ทำได้ง่าย ๑ เหมาะแก่การบวชเป็นดาบส ๑ ไม่ เป็นฐานการแต่งตัวของผู้ใช้ ๑ มีความมักน้อยในปัจจัยคือจีวร ๑ ใช้สะดวก ๑ เปลือกไม้ที่เกิดก็หาได้ง่าย ๑ แม้เมื่อผ้าเปลือกไม้สูญหายก็ไม่เสียดาย ๑.

ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต อยู่ ณ บรรณศาลาอาศรมนั้น ตอนใกล้รุ่ง ก็ลุกขึ้นพิจารณาถึงเหตุออกบวชของตน คิดอย่างนี้ว่า เราละบ้านเรือนซึ่งมี อาการประหนึ่งที่อยู่อันประเสริฐของเทพยดา อันงดงามด้วยสมบัติอันโอฬาร น่ารื่นรมย์ของคฤหัสถ์ชนด้วยการสัมผัสกำไลมือกำไลเท้าทองใหม่เป็นต้นระคน ด้วยเสียงและการหัวเราะการพูดที่ไพเราะเหมือนละก้อนเขฬะ เข้าไปยังป่าตโปวัน บำเพ็ญตบะเครื่องลอยบาปของชนทั้งปวง เพราะเป็นผู้เพลินด้วยวิเวก แต่การอยู่ที่บรรณศาลา ณ อาศรมนี้ของเรา ก็เป็นเหมือนการครองเรือนครั้ง ที่สอง เอาเถิด เราจะอยู่เสียที่โคนไม้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เราละบรรณศาลา อันเกลื่อนด้วยโทษ ๘ ประการ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺโทสสมากิณฺณํ ความว่า เกลื่อน คือประกอบพร้อมด้วยโทษ ๘ ประการ. โทษ ๘ ประการอะไรบ้าง. พระมหา

 
  ข้อความที่ 184  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 184

สัตว์เห็นโทษ ๘ เหล่านี้คือ การที่สร้างให้สำเร็จจำต้องใช้เครื่องสัมภาระมาก ๑ จำต้องบำรุงอยู่เป็นนิตย์ด้วยหญ้าใบไม้และดินเหนียวเป็นต้น ๑ จำต้องออกไป โดยเข้าใจว่า ไม่มีเอกัคคตาจิตสำหรับผู้จำต้องออกไปในเวลาไม่สมควร ด้วย คิดว่า ขึ้นชื่อว่าเสนาสนะ จักทรุดโทรมไป ๑ ต้องทนุถนอมกาย เพราะกระทบเย็นร้อน ๑ ต้องปกปิดคำครหาที่ว่า ผู้เข้าไปบ้านเรือนอาจทำชั่วอย่างใดอย่าง หนึ่งได้ ๑ ต้องหวงแหนว่านี้ของเรา ๑ ต้องนึกอยู่เสมอว่า นี้บ้านเรือน มีอยู่ อย่างผู้มีเพื่อน ๑ ต้องเป็นของทั่วไปเป็นอันมาก เพราะต้องทั่วไปแก่สัตว์ทั้ง หลายมีเล็น เลือด จิ้งจกเป็นต้น ๑ ดังนี้แล้วจึงละบรรณศาลาเสีย.

บทว่า คุเณหิ ทสหุปาคตํ ความว่า เราปฏิเสธที่กำบัง เข้าไปยัง โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ คุณ ๑๐ ประการอะไรบ้าง. ตรัสว่า เราเห็นคุณ ๑๐ เหล่านี้ คือ มีความริเริ่มขวนขวายน้อย ๑ ได้ความไม่มีโทษ โดยง่ายว่าเพียงเข้าไปโคนไม้นั้นเท่านั้น ๑ ทำอนิจจสัญญาให้ตั้งขั้นด้วยการเห็น ความแปรปรวนของต้นไม้และใบไม้ ๑ ไม่ตระหนี่เสนาสนะ ๑ เมื่อจะทำ ชั่ว ณ โคนไม้นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น จึงไม่มีที่ลับทำชั่ว ๑ ไม่ทำความ หวงแหน ๑ อยู่กับเทวดาทั้งหลาย ๑ ปฏิเสธที่กำบัง ๑ ใช้สอยสะดวก ๑ ไม่ ห่วงใยเพราะเสนาสนะคือโคนไม้ หาได้ง่าย ในทุกสถานที่ไป ๑ แล้วจึงเข้า ไปยังโคนไม้ และตรัสว่า

โคนไม้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสรรเสริญแล้ว และตรัสว่า เป็นนิสสัย ที่อาศัย ที่อยู่ของผู้สงัด เสมอ ด้วยโคนไม้ จะมีแต่ไหน.

แท้จริง ผู้อยู่โคนไม้อันสงัด อันกำจัดความ ตระหนี่ที่อยู่ อันเทวดารักษาแล้ว ชื่อว่าผู้มีวัตรดี.

 
  ข้อความที่ 185  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 185

ผู้เห็นต้นไม้และใบไม้ ที่มีสีแดง เขียว เหลือง อันหล่นแล้ว ย่อมบรรเทานิจจสัญญาเข้าใจว่าเที่ยงเสีย ได้.

เพราะฉะนั้นแล ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ไม่ควรดูหมิ่นโคนไม้อันสงัด ที่เป็นทรัพย์มรดกของ พระพุทธเจ้า เป็นที่อยู่ของผู้ยินดียิ่งในภาวนา.

ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต เป็นผู้เห็นโทษของบรรณศาลา ได้อานิสงส์ ในเสนาสนะคือโคนไม้อยู่ จึงคิดยิ่งขึ้นไปว่า การที่เราเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อ แสวงหาอาหาร เป็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร เรามิใช่เพราะสิ้นไร้อย่างไรจึง ออกบวชด้วยความต้องการเพื่ออาหาร แต่ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลไม่มี ประมาณ ถ้ากระไรเราจะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่เมื่อจะทรงแสดงความที่วิเศษของประโยชน์นี้จึงตรัสคาถาเป็นต้นว่า

เราสละธัญชาติที่หว่านแล้ว ที่ปลูกแล้วโดยไม่ เหลือเลย บริโภคแต่ผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติอัน พรั่งพร้อมด้วยคุณเป็นอันมาก.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาปิตํ ได้แก่ ที่หว่านเสร็จแล้ว. บทว่า โรปิตํ ได้แก่ ที่ปลูกเสร็จแล้ว ข้าวกล้าจะสำเร็จผล มี ๒ วิธี คือ ด้วยการหว่าน และการปลูก. เราก็ละเสียทั้ง ๒ วิธี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ เพราะตัวเรามักน้อย. บทว่า ปวตฺตผลํ ได้แก่ ผลไม้ที่หล่นเอง. บทว่า อาทิยึ ได้แก่ บริโภค.

 
  ข้อความที่ 186  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 186

บุคคลผู้สันโดษด้วยผลไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เลี้ยงชีพไม่เนื่องด้วยผู้อื่น ละความละโมบในอาหารเสีย ย่อมเป็นมุนีใน ๔ ทิศ.

มุนีย่อมละความอยากในรส การเลี้ยงชีพของ ท่านจึงบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นแล จึงไม่ควรดูหมิ่นการ บริโภคผลที่ไม้มีอยู่ตามธรรมชาติ.

สุเมธบัณฑิต เมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้ ไม่นานนักก็บรรลุสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ภายใน ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อ นี้ จึงตรัสว่า ตตฺถปฺปธานํ ปทหึ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในอาศรมนั้น. บทว่า ปธานํ ได้แก่ความเพียร. จริงอยู่ความ เพียรท่านเรียกว่า ปธานะ เพราะเป็นคุณควรตั้งไว้ หรือเพราะทำภาวะคือการ ตั้งไว้. บทว่า ปทหึ ได้แก่ เริ่มความเพียร บทว่า นิสชฺชฏฺานจงฺกเม แปลว่า ด้วยการนั่ง การยืน และการเดิน.

แต่สุเมธบัณฑิต ปฏิเสธการนอน ยังคืนและวันให้ล่วงไปด้วยการนั่ง ยืนและเดินเท่านั้น จึงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาได้ภายใน ๗ วันเท่านั้น. ก็แล เมื่อสุเมธดาบสครั้นบรรลุกำลังแห่งอภิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขใน สมาบัติ. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่าทีปังกรผู้ทรงทำการสงเคราะห์ชนทั้ง ปวงผู้ทรงทำภัยแก่พลแห่งมาร ทรงทำประทีปคือพระญาณเสด็จอุบัติในโลก.

เมื่อว่าโดยสังเขปเท่านั้น การกล่าวลำดับเรื่องพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีดังนี้ ได้ยินว่า พระมหาสัตว์พระนามว่าทีปังกรพระองค์นี้ ทรงบำเพ็ญ พระบารมี ๓๐ ทัศ ทรงดำรงอยู่ ในอัตภาพเสมือนอัตภาพของพระเวสสันดร

 
  ข้อความที่ 187  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 187

ทรงให้มหาทาน เป็นเหตุให้แผ่นดินไหวเป็นต้น เมื่อสุดสิ้นพระชนมายุ ก็บัง- เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ ณ ที่นั้น จนตลอดพระชนมายุ เมื่อเทวดา ในหมื่นจักวาลประชุมกันทูลว่า

กาโลยํ (๑) เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุกุจฺฉิยํ สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.

ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับ พระองค์ โปรดเสด็จอุบัติในครรภ์พระมารดาเถิด พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆ- สงสาร ก็โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด.

ดังนี้แล้ว แต่นั้น ทรงสดับคำของเทวดาทั้งหลายแล้วทรงพิจารณามหาวิโลกนะ ๕ ทรงจุติจากดุสิตสวรรค์นั้นแล้วทรงถือปฏิสนธิ โดยดาวนักษัตรในเดือน อาสาฬหะหลัง เพ็ญเดือนอาสาฬหะ ในพระครรภ์ของ พระนางสุเมธาเทวี ในสกุลของพระราชาพระนามว่า สุเทวะ ผู้เป็นเทพแห่งนรชน ดังท้าววาสุเทพ ผู้พิชิตด้วยความเจริญแห่งพระยศของพระองค์ ณ กรุงรัมมวดี มีราชบริพาร หมู่ใหญ่คอยบริหาร ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยของไม่สะอาดไรๆ ในพระครรภ์ ของพระมหาเทวี เหมือนก้อนแก้วมณี อยู่ตลอดทศมาส ก็ประสูติจากพระ ครรภ์ของพระนาง เหมือนดวงจันทร์ในฤดูสารทโคจรไปในหลืบเมฆ.

บุพนิมิต ๓๒

ก็บุพนิมิต ๓๒ ประการ ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ของพระทีปังกรราชกุมาร พระองค์นั้น ทั้งขณะปฏิสนธิ ทั้งขณะประสูติ ปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการ เป็น ไปในฐานะ เหล่านี้คือ เมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เสด็จสู่


๑. ในที่บางแห่งเป็นกาโล โข

 
  ข้อความที่ 188  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 188

พระครรภ์ของพระมารดา ๑ ประสูติ ๑ ตรัสรู้ ๑ ประกาศพระธรรมจักร ๑ เพราะฉะนั้น เราจึงแสดงบุพนิมิต ๓๒ ในการประสูติของพระทีปังกรราชกุมาร เพราะเป็นของปรากฏแล้ว ดังนี้ว่า

เมื่อพระทีปังกรราชกุมาร ผู้ทำความงาม ผู้ทำ ความเจริญ ผู้ทำความสงบ ประสูติแล้ว ในครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหวโดยรอบ.

ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาล ก็พากันประชุม ในจักรวาลหนึ่ง.

พอพระมหาสัตว์ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ประสูติ เทวดาทั้งหลายก็รับก่อน ภายหลัง พวกมนุษย์จึงรับ พระองค์.

ขณะนั้น กลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลาย ช่อง พิณและพิณทั้งหลาย อันใครๆ มิได้ประโคม เครื่อง อาภรณ์ทั้งหลายที่ใครๆ มิได้แตะต้อง ก็ส่งเสียงร้อง อย่างไพเราะไปรอบๆ.

เครื่องพันธนาการทั้งหลายทุกแห่ง ก็ขาดหลุด ไป โรคภัยทั้งปวงก็หายไปเอง คนตาบอดแต่กำเนิด ก็มองเห็นรูปทั้งหลาย คนหูหนวกก็ได้ยินเสียงรอบตัว.

คนใบ้แต่กำเนิด ก็ได้สติระลึกได้ คนขาพิการ ก็ใช้เท้าเดินได้ เรือก็เดินไปต่างประเทศแล้วกลับท่า เรือสุปัฏฏนะได้อย่างรวดเร็ว.

 
  ข้อความที่ 189  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 189

รัตนะทุกอย่าง ทั้งที่อยู่ในอากาศ ทั้งที่อยู่ภาค พื้นดิน ก็เรืองแสงได้เองไปรอบๆ ไฟในนรกอันร้าย กาจก็ดับ แม้น้ำในแม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล.

แสงสว่างอันโอฬารไพบูลย์ ก็ได้มีในโลกันตริกนรก แม้มีทุกข์ไม่ว่างเว้น ครั้งนั้น มหาสมุทรนี้ก็มี เกลียวคลื่นละลอกสงบ ทั้งน้ำก็มีรสจืดอร่อยด้วย.

ลมที่พัดแรงหรือร้ายกาจ ก็ไม่พัด ต้นไม้ทั้งหลาย ก็ออกดอกบานสะพรั่ง ดวงจันทร์พร้อมทั้งดวงดาว ก็จรัสแสงยิ่ง แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็ไม่ร้อนแรง.

ฝูงนก ก็ร่าเริงลงจากฟากฟ้าและต้นไม้ มาอยู่ พื้นดินเบื้องล่าง เมฆฝนที่อยู่ใน ๔ มหาทวีป ก็หลั่ง น้ำฝนรสอร่อยไปโดยรอบ.

เทวดาทั้งหลายอยู่ในภพทิพย์ของตน มีจิตเลื่อม ใส ก็พากันฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม โห่ร้อง สรวลเส กันอึงมี.

เขาว่า ในขณะนั้น ประตูเล็กบานประตูใหญ่ก็ เปิดได้เอง เขาว่า ความอดอยากหิวระหาย มิได้บีบคั้น มหาชน ไม่ว่าโลกไรๆ.

ส่วนหมู่สัตว์ที่เป็นเวรกันเป็นนิตย์ ก็ได้เมตตาจิต เป็นอย่างยิ่ง ฝูงกาก็เที่ยวไปกับฝูงนกเค้าแมว ฝูง หมาป่าก็ยิ้มแย้มกับฝูงหมู.

งูมีพิษ ทั้งงูไม่มีพิษ ก็เล่นหัวกับพังพอนทั้งหลาย ฝูงหนูบ้าน มีใจคุ้นกันสนิทก็จับกลุ่มกันใกล้กับหัวของ แมว.

 
  ข้อความที่ 190  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 190

ความระหายน้ำ ในโลกของปีศาจ ที่ไม่ได้น้ำมา เป็นพุทธันดร ก็หายไป คนค่อมก็มีกายงามสมส่วน คนใบ้ก็พูดได้ไพเราะ.

ส่วนหมู่สัตว์ ที่มีจิตเลื่อมใส ก็กล่าวปิยวาจาแก่ กันและกัน ฝูงม้าที่มีใจร่าเริงก็ลำพองร้อง แม้ฝูงช้าง ใหญ่เมามันก็ส่งเสียงโกญจนาท.

รอบๆ หมื่นโลกธาตุ ก็เกลื่อนกลาดด้วยจุรณ- จันทน์หอมกรุ่น อบอวลหวลหอมด้วยกลิ่นดอกไม้ หญ้าฝรั่นและธูป มีมาลัยเป็นธงใหญ่งามต่างๆ.

ก็ในบุพนิมิต ๓๒ นั้น

๑. ความไหวแห่งหมื่นโลกธาตุ เป็น บุพนิมิต แห่งการได้พระสัพ- พัญญุตญาณ ของพระองค์

๒. การประชุมเทวดาทั้งหลายในจักรวาลเดียว เป็น บุพนิมิต แห่ง การประชุมพร้อมเพรียงกันรับธรรม ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักร

๓. การรับของเทวดาทั้งหลายก่อน เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ รูปาวจรฌาน ๔

๔. การรับของมนุษย์ทั้งหลายภายหลัง เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ อรูปวจรฌาน ๔

๕. การประโคมของกลองหุ้มหนังและกลองทั้งหลายได้เอง เป็นบุพ- นิมิต แห่งการยังมหาชนให้ได้ยินเสียงกลองธรรมขนาดใหญ่

๖. การบรรเลงเสียงเพลงได้เองของพิณและอาภรณ์เครื่องประดับเป็น บุพนิมิต แห่งการได้อนุบุพวิหารสมาบัติ.

 
  ข้อความที่ 191  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 191

๗. การที่เครื่องพันธนาการขาดหลุดได้เอง เป็น บุพนิมิต แห่ง การตัดอัสมิมานะ

๘. การปราศจากโรคทุกอย่างของมหาชนเป็น บุพนิมิต แห่งการได้ ผลแห่งสัจจะ ๔

๙. การเห็นรูปของคนตาบอดแต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ ทิพยจักษุ

๑๐. การได้ยินเสียงของคนหูหนวก เป็น บุพนิมิต แห่งการได้ทิพ- โสตธาตุ

๑๑. การเกิดอนุสสติของคนใบ้แต่กำเนิด เป็น บุพนิมิต แห่งการ ได้สติปัฏฐาน ๔

๑๒. การเดินไปได้ด้วยเทาของคนขาพิการ เป็น บุพนิมิต แห่งการ ได้อิทธิบาท ๔

๑๓. การกลับมาสู่ท่าเรือสุปัฏฏนะได้เองของเรือที่ไปต่างประเทศ เป็น บุพนิมิต แห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔

๑๔. การรุ่งโรจน์ได้เองของรัตนะทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ ได้แสงสว่างในธรรม

๑๕. การดับของไฟในนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการดับไฟ ๑๑ กอง

๑๖. การไม่ไหลแห่งน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการ ได้จตุเวสารัชญาณ

๑๗. แสงสว่างในโลกันตริกนรก เป็น บุพนิมิต แห่งการกำจัด ความมืดคืออวิชชา แล้วเห็นแสงสว่างด้วยญาณ

๑๘. ความที่มหาสมุทรมีน้ำอร่อย เป็น บุพนิมิต แห่งความที่ธรรม วินัยมีรสเดียว คือรสพระนิพพาน

 
  ข้อความที่ 192  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 192

๑๙. ความไม่พัดแห่งลม เป็น บุพนิมิต แห่งการทำลายทิฏฐิ ๖๒

๒๐. ความที่ต้นไม้ทั้งหลายออกดอกบาน เป็น บุพนิมิต แห่งความ ที่ธรรมวินัยออกดอกบาน โดยดอกคือวิมุตติ

๒๑. ความจรัสแสงยิ่งของดวงจันทร์ เป็น บุพนิมิต แห่งความที่ พระองค์เป็นที่รักใคร่ของคนเป็นอันมาก

๒๒. ความที่ดวงอาทิตย์สุกใสแต่ไม่ร้อนแรง เป็น บุพนิมิต แห่ง ความเกิดขึ้นแห่งความสุขกายสุขใจ

๒๓. การโผบินจากท้องฟ้าเป็นต้นสู่แผ่นดินของฝูงนก เป็น บุพนิมิต แห่งการฟังพระโอวาทแล้วถึงสรณะด้วยชีวิตของมหาชน

๒๔. การตกลงมาแห่งเมฆฝน ที่เป็นไปในทวีปทั้ง ๔ ห่าใหญ่ เป็น บุพนิมิต แห่งฝนคือธรรมขนาดใหญ่

๒๕. การอยู่ในภพของตนๆ ระเริงเล่นด้วยการฟ้อนรำเป็นต้นของ เทวดาทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่งการทรงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงเปล่งพระอุทาน

๒๖. การเปิดได้เองของประตูเล็กและบานประตูใหญ่ เป็น บุพนิมิต แห่งการเปิดประตูคือมรรคมีองค์ ๘

๒๗. ความไม่มีความหิวบีบคั้น เป็น บุพนิมิต แห่งการได้อมตะ ด้วยกายคตาสติ

๒๘. ความไม่มีความระหายบีบคั้น เป็น บุพนิมิต แห่งความมีความ สุขโดยสุขในวิมุตติ

๒๙. ความได้เมตตาจิตของผู้มีเวรทั้งหลาย เป็น บุพนิมิต แห่ง การได้พรหมวิหาร ๔

 
  ข้อความที่ 193  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 193

๓๐. ความที่หมื่นโลกธาตุ มีธงคันหนึ่งเป็นมาลัย เป็น บุพนิมิต แห่งความที่พระศาสนามีธงอริยะเป็นมาลัย

๓๑ - ๓๒. ส่วนคุณวิเศษที่เหลือ พึงทราบว่าเป็น บุพนิมิต แห่งการ ได้พุทธคุณที่เหลือ.

ครั้งนั้น พระทีปังกรราชกุมาร ถูกบำเรอด้วยสมบัติใหญ่ ทรงจำเริญ วัยโดยลำดับ เสวยสิริราชย์บนปราสาท ๓ หลัง ที่เหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ ดั่งเสวย สิริในเทวโลก สมัยเสด็จไปทรงกีฬาในพระราชอุทยาน ทรงเห็นเทวทูต ๓ คือ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย ตามลำดับ ทรงเกิดความสลดพระหฤทัย เสด็จ กลับเข้าสู่กรุงรัมมวดี ครั้นเสด็จเข้าพระนครแล้ว ครั้งที่ ๔ รับสั่งเรียกนาย หัตถาจารย์ ตรัสกะเขาว่า พ่อเอย เราจักออกไปชมพระราชอุทยาน ท่านจง เตรียมยานคือช้างไว้ให้พร้อม เขาทูลรับว่า พระเจ้าข้าแล้ว ก็จัดเตรียมช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก ครั้งนั้น เทพบุตรชื่อวิสสุกรรม ก็ช่วยประดับพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงผ้าห่มผ้านุ่งย้อมสีต่างๆ สวมกำไลมุกดาหารต้นแขน ทรงกำไลพระกรทอง มงกุฏและกุณฑลประดับด้วยรัตนะ ๙ อันงาม พระเมาลีประดับด้วยมาลัยดอกไม้ หอมอย่างยิ่ง ขณะนั้นพระทีปังกรราชกุมาร อันช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกแวดล้อมแล้ว เหมือนเทพกุมาร เสด็จขึ้นทรงคอข้างต้น อันหมู่พลหมู่ใหญ่ห้อมล้อมแล้ว เสด็จ เข้าพระราชอุทยานที่ให้เกิดความรื่นรมย์ ลงจากคอช้างแล้ว เสด็จตรวจพระราช อุทยานนั้น ประทับนั่งเหนือพื้นศิลา เป็นที่เย็นพระหฤทัยพระองค์เอง งาม น่าชมอย่างยิ่ง ทรงเกิดจิตคิดจะทรงผนวช ทันใดนั้นเอง ท้าวมหาพรหมผู้ เป็นพระขีณาสพในชั้นสุทธาวาส ถือสมณบริขาร ๘ มาปรากฏในคลองจักษุ ของพระมหาบุรุษ.

 
  ข้อความที่ 194  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 194

พระมหาบุรุษทรงเห็นมหาพรหมขีณาสพนั้นตรัสถามว่า นี้อะไร ทรง สดับว่า สมณบริขาร ก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับ ประทานไว้ในมือพนักงาน ผู้รักษาเรือนคลังเครื่องประดับ ทรงถือพระขรรค์มงคลทรงตัดพระเกศาพร้อม ด้วยพระมงกุฏ ทรงเหวี่ยงไปในอากาศกลางหาว ขณะนั้น ท้าวสักกะเทวราช ทรงเอาผอบทองรับพระเกสาและพระมงกุฏนั้นไว้ ทรงทำเป็นมงกุฏเจดีย์สำเร็จ ด้วยแก้วมณีสีดอกอินทนิล ขนาด ๓ โยชน์ เหนือยอดขุนเขาสิเนรุ ครั้งนั้น พระมหาบุรุษทรงครองผ้ากาสาวะ ธงชัยแห่งพระอรหัต ที่เทวดาถวาย ทรง เหวี่ยงคู่ผ้า [คือผ้านุ่งผ้าห่ม] ไปในอากาศ พรหมก็ทรงรับผ้านั้น ทรงทำเป็น เจดีย์ที่สำเร็จด้วยรัตนะทั้งหมด ขนาด ๑๒ โยชน์ ในพรหมโลก. ก็บุรุษ ๑ โกฏิ บวชตามเสด็จพระทีปังกรราชกุมาร ซึ่งกำลังทรงผนวช พระโพธิสัตว์ ซึ่งบริษัทนั้นห้อมล้อมแล้วได้ทรงบำเพ็ญปธานจริยา ประพฤติความเพียร ๑๐ เดือน ต่อมา เพ็ญกลางเดือนวิสาขะ เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ยังนครแห่งหนึ่ง.

เล่ากันว่า มนุษย์ทั้งหลายในนครนั้น หุงข้าวมธุปายาสไม่มีน้ำ เพื่อ ทำสังเวยเทวดาในวันนั้น แต่มนุษย์ทั้งหลายได้ถวายแด่พระมหาสัตว์พระองค์ นั้นพร้อมทั้งบริษัท ที่เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ข้าวมธุปยาสไม่มีน้ำ ก็เพียง พอแก่ภิกษุทั้งหมดนับโกฏิ แต่ในบาตรของพระมหาบุรุษ เทวดาทั้งหลายใส่ ทิพโอชะลงไป พระมหาบุรุษ ครั้นเสวยมธุปายาสนั้นแล้ว ก็ทรงพักกลางวัน ณ ป่าสาละ ในพระราชอุทยานนั้นเอง เวลาเย็นทรงออกจากที่เร้นแล้ว ก็ทรง สละคณะ ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ อาชีวก ชื่อ สุนันทะ ถวายแล้ว เสด็จไป ยังโคนต้นไม้สำหรับตรัสรู้ ชื่อ ปีปผลิ คือไม้เลียบ ทรงปูลาดหญ้าประทับนั่ง ขัดสมาธิเอาต้นไม้ตรัสรู้ขนาด ๙๐ ศอกไว้เบื้องพระปฤษฎางค์ ทรงอธิษฐานความ เพียรมีองค์ ๔ ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ ต่อนั้น ก็ทรงกำจัดพลของมาร

 
  ข้อความที่ 195  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 195

ณ ราตรีปฐมยาม ทรงระลึกบุพเพนิวาสญาณ มัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ ปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาปัจจยาการทั้งอนุโลมทั้งปฏิโลม ทรงเข้าจตุตถฌานมี อานาปานสติเป็นอารมณ์ ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ทรงหยั่งลงในขันธ์ ๕ ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วน โดยอุทยัพพยญาณ ทรงเจริญวิปัสสนา จนถึง โคตรภูญาณ เวลาอรุณอุทัย ก็ทรงแทงตลอดพุทธคุณทั้งสิ้นด้วยอริยมรรค ทรงบรรลือพุทธสีหนาท ทรงยับยั้งอยู่ใกล้ต้นโพธิ์พฤกษ์ตลอด ๗ สัปดาห์ ทรง ประกาศพระธรรมจักร ณ สุนันทาราม ด้วยทรงปฏิญญารับอาราธนาแสดง ธรรมของพรหม ทรงยังเทวดาและมนุษย์ร้อยโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม ทรงหลั่ง ฝนคือธรรม เหมือนมหาเมฆทั้ง ๔ ทวีป เสด็จจาริกทั่วชนบท ปลดเปลื้อง มหาชนให้พ้นจากเครื่องพันธนาการ.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น สุเมธบัณฑิต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในสมาบัติ ไม่ เห็นนิมิตเหล่านั้น ไม่เห็นนิมิตแห่งการไหวของแผ่นดิน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อเราประสบความสำเร็จ เป็นผู้ชำนาญใน ศาสนาอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าทีปังกร ก็เสด็จอุบัติ.

เรามัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌานเสีย จึงไม่ ได้เห็นนิมิต ๔ ในการเสด็จอุบัติ การประสูติ การตรัสรู้ การแสดงธรรม.

แก้อรรถ

ทรงแสดงคำที่พึงตรัส ณ บัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ในคาถานั้น. บทว่า เม แปลว่า เมื่อเรา. บทว่า สิทฺธิปฺปตฺตสฺส ได้แก่ ถึงความสำเร็จอภิญญา

 
  ข้อความที่ 196  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 196

๕. บทว่า วสีภูตสฺส ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญแล้ว อธิบายว่า ถึงความเป็นผู้ เชี่ยวชาญ. บทว่า สาสเน ได้แก่ ในศาสนาของดาบสผู้อาศัยความสงัด. ฉัฏฐี วิภัตติพึงเห็นว่าใช้ในลักษณะอนาทระ. บทว่า ชิโน ได้แก่ ชื่อว่าชินะเพราะ ชนะข้าศึกคือกิเลส.

บทว่า อุปฺปชฺชนฺเต ได้แก่ ในการถือปฏิสนธิ. บทว่า ชายนฺเต ได้แก่ ในการประสูติจากพระครรภ์พระมารดา. บทว่า พุชฺฌนฺเต ได้แก่ ใน การตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. บทว่า ธมฺมเทสเน ได้แก่ ในการ ประกาศพระธรรมจักร. บทว่า จตุโร นิมิตฺเต ได้แก่ นิมิต ๔. อธิบายว่า นิมิตมีหมื่นโลกธาตุไหวเป็นต้น ในฐานะ ๔ คือ ถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศพระธรรมจักร ผู้ทักท้วงในข้อนี้กล่าวว่า นิมิตเหล่านั้นมีมาก เหตุไรจึงตรัสว่านิมิต ๔ ไม่สมควรมิใช่หรือ. ตอบว่า ไม่สมควร หากว่า นิมิตเหล่านั้นมีมาก แต่ตรัสว่า นิมิต ๔ เพราะเป็นไปในฐานะ ๔. บทว่า นาทฺทสํ ได้แก่ นาทฺทสึ แปลว่าไม่ได้เห็นแล้ว. บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ ในการไม่เห็นนิมิต ๔ นั้น จึงตรัสว่า มัวเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน ดังนี้. คำว่า ฌานรติ นี้ เป็นชื่อของสุขในสมาบัติ อธิบายว่า ไม่ได้เห็นนิมิต เหล่านั้น เพราะเพียบพร้อมอยู่ด้วยความยินดีในฌาน.

ก็สมัยนั้น พระทีปังกรทศพล อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อม แล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ ก็ลุนครชื่อ รัมมะ ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ประทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร ชาวรัมมนครฟังข่าวว่า ได้ยินว่า พระ ทีปังกรทศพลทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศพระธรรมจักร อันประเสริฐแล้ว เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึง รัมมนคร แล้วประทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร ก็ถือเอาเภสัชมีเนยเป็นต้น ฉันอาหารเช้าแล้ว ก็

 
  ข้อความที่ 197  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 197

ห่มผ้าอันสะอาด ถือดอกไม้ธูปและของหอม เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นเฝ้า แล้ว ก็ถวายบังคม บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฟัง ธรรมกถาอันไพเราะยิ่ง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น ลุก จากที่นั่งแล้ว ทำประทักษิณพระทศพลแล้วกลับไป.

วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองเหล่านั้น ก็จัด อสทิสมหาทาน สร้างมณฑป มุงบังด้วยดอกบัวขาบ อันไร้มลทินและน่ารัก ประพรมด้วยของหอม ๘ ชนิด โรยดอกไม้หอมครบ ๕ ทั้งข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำ เต็มด้วยน้ำเย็นอร่อยไว้ ๔ มุม มณฑปปิดด้วยในตอง ผูกเพดานผ้า งามน่าชมอย่างยิ่ง เสมือนดอก ชะบา ไว้บนมณฑป ประดับด้วยดาวทอง ดาวแก้วมณีและดาวเงิน ห้อย พวงของหอมพวงดอกไม้พวงใบไม้และพวงรัตนะ สะเดาะวันเคราะห์ร้ายด้วย ธูปทั้งหลาย และทำรัมมนครที่น่ารื่นรมย์นั้นให้สะอาดสะอ้านทั่วทั้งนคร ตั้งต้น กล้วยพร้อมทั้งผลและหม้อเต็มน้ำประดับด้วยดอกไม้ และยกธงประฏากทั้งหลาย หลากๆ สี ล้อมด้วยกำแพงผ้าม่านทั้งสองข้างถนนใหญ่ ตกแต่งทางเสด็จมา ของพระทีปังกรทศพล ใส่ดินฝุ่นตรงที่น้ำเซาะ ถมตรงที่เป็นตม ทำที่ขรุ- ขระให้เรียบ โรยด้วยทรายที่เสมือนมุกดา โรยด้วยดอกไม้ครบ ๕ ทั้งข้าวตอก จัดหนทาง ที่มีต้นกล้วยต้นหมากพร้อมทั้งผลไว้.

สมัยนั้น สุเมธดาบสโลดขึ้นจากอาศรมของตนเหาะไปทางอากาศส่วน เบื้องบนของมนุษย์ชาวรัมมนครเหล่านั้น เห็นพวกเขากำลังแผ้วถางทางและ ตกแต่งกัน ก็คิดว่า เหตุอะไรหนอ ลงจากอากาศทั้งที่คนเห็นกันหมด ยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ถามคนเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านแผ้วถางทางนี้ เพื่อประโยชน์อะไรดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 198  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 198

มนุษย์ทั้งหลาย แถบถิ่นปัจจันตประเทศนิมนต์ พระตถาคตแล้ว มีใจเบิกบาน ช่วยกันแผ้วถางหนทาง เสด็จมาของพระองค์.

สมัยนั้น เราออกจากอาศรมของตน สลัดผ้า เปลือกไม้เหาะไปในบัดนั้น.

เห็นคนที่เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง ใจแล้ว ก็ลงจากท้องฟ้า ถามมนุษย์ทั้งหลายไปทันที.

มหาชนผู้เกิดความโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิง ใจแล้ว พวกท่านแผ้วถางหนทางเพื่อใคร.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจนฺตเทสวิสเย ได้แก่ ชนบทที่เข้าใจ กันว่า ปัจจันตประเทศอยู่ข้างหนึ่งของมัชฌิมประเทศนั่นเอง. บทว่า ตสฺส อาคมนํ มคฺคํ ความว่า หนทางที่พระองค์พึงเสด็จมา. บทว่า อหํ เตน สมเยน ได้แก่ ในสมัยนั้น เรา. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติพึงเห็นว่าลงในอรรถ สัตตมีวิภัตติ. บทว่า สกสฺสมา ได้แก่ ออกจากอาศรมบทของตน. บทว่า ธุนนฺโต แปลว่า สลัดทิ้ง. พึงทราบว่า สองบทนี้ว่า เตน สมเยน และ ตทา เชื่อมความกับกิริยา ออกไป ของบทต้น และกิริยาไปของบทหลัง เพราะ มีความอย่างเดียวกัน. นอกจากนี้ ก็ไม่พ้นโทษคือการกล่าวซ้ำ. บทว่า ตทา แปลว่า ในสมัยนั้น.

บทว่า เวทชาตํ ได้แก่ เกิดโสมนัสเอง. ๓ บทนี้ว่า ตุฏฺฐหฏฺํ ปโมทิตํ เป็นไวพจน์ของกันและกัน แสดงความของกันและกัน. อีกอย่าง

 
  ข้อความที่ 199  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 199

หนึ่ง ยินดีด้วยสุข ร่าเริงด้วยปีติ บันเทิงใจด้วยปราโมช. บทว่า โอโรหิตฺวาน แปลว่า ลงแล้ว. บทว่า มนุสฺเส ปุจฺฉิ แปลว่า ถามผู้คนทั้งหลาย. หรือว่า บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ตาวเท แปลว่า ครั้งนั้น อธิบายว่าขณะนั้น นั่นเอง. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่ถาม จึงตรัสคำว่า ยินดีร่าเริง บันเทิงใจ เป็นต้น ในคำนั้น พึงนำศัพท์ว่า โสเธติ มาประกอบความอย่าง นี้ว่า มหาชนนี้ยินดีร่าเริงแล้ว มีใจบันเทิงแล้ว ย่อมแผ้วถางทาง เพราะเหตุ ไรจึงแผ้วถางทาง หรือว่า แผ้วถางทาง เพื่อประโยชน์แก่ใคร ความนอกจาก นี้ ไม่ถูก. บทว่า โสธียติ ได้แก่ ทำความสะอาด. คำเหล่านี้ว่า มคฺโค อญฺชสํ วฏุมายนํ เป็นไวพจน์ของทางทั้งนั้น.

มนุษย์เหล่านั้นถูก สุเมธดาบส นั้นถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ท่าน สุเมธเจ้าข้า ท่านไม่รู้อะไร พระพุทธเจ้า พระนามว่า ทีปังกร ทรงบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริก ไปในชนบทมาถึงนครของพวกเรา ประทับอยู่ ณ พระสุทัสสนมหาวิหาร พวกเรานิมนต์พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงช่วยกันแผ้วถางทางเสด็จมาของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตสดับคำนั้นแล้ว ก็คิดว่า แม้คำโฆษณาว่า พุทฺโธ นี้ก็หาได้ยาก จะป่วยกล่าวไปไยถึงความ เกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ถ้าอย่างนั้น แม้เราจะร่วมกับคนพวกนี้ช่วยกันแผ้ว ถางทางก็ควรแท้. ท่านจึงกล่าวกะมนุษย์พวกนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่าน แผ้วถางทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ก็จงให้โอกาสแห่งหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เรา ก็จักร่วมกับพวกท่าน ช่วยแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์เหล่านั้น ก็รับปากว่า ดีสิ เมื่อรู้อยู่ว่า ท่านสุเมธบัณฑิตผู้นี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก จึงกำหนดโอกาสแห่งหนึ่ง ซึ่งแผ้วถางยังไม่ดี ถูกน้ำเซาะพังขรุขระอย่างเหลือ

 
  ข้อความที่ 200  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 200

เกิน มอบให้ด้วยกล่าวว่า ขอท่านจงแผ้วถางโอกาสตรงนี้ และตกแต่งด้วย. สุเมธบัณฑิตเกิดปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ จึงคิดว่า เราสามารถที่จะทำ โอกาสแห่งนี้ให้น่าชมอย่างยิ่งได้ด้วยฤทธิ์ แต่เมื่อทำอย่างนั้นแล้วก็ยังไม่จุใจเรา แต่วันนี้ เราจะช่วยขวนขวายด้วยกายจึงควร แล้วจึงนำดินฝุ่นมาถมประเทศแห่ง นั้นให้เต็ม.

แต่เมื่อสุเมธบัณฑิตนั้น แผ้วถางประเทศแห่งนั้นยังไม่เสร็จ ทำค้าง ไว้ มนุษย์ชาวรัมมนครก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาอาหารว่า อาหาร เสร็จแล้วพระเจ้าข้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นกราบทูลเวลาอาหารอย่างนั้นแล้ว พระทศพลทรงนุ่งอันตรวาสกสองชั้นสีเสมือนดอกชะบา ปิดมณฑลทั้งสาม ทรง คาดประคดเอว อันมีสิริดังสายฟ้าแลบเหนืออันตรวาสกนั้น เหมือนล้อมกอง ดอกชะบาด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดงเสมือนดอก ทองกวาวที่ชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งรดน้ำครั่งลงเหนือยอดเขาทอง ประหนึ่ง ล้อมเจดีย์ทองด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ ประหนึ่งสวมของมีค่าทำด้วยทองด้วยผ้า กัมพลแดง และประหนึ่งปิดดวงจันทร์ในฤดูสารทด้วยพลาหกแดง เสด็จออก จากประตูพระคันธกุฎี ประหนึ่งราชสีห์ออกจากถ้ำทอง ประทับยืนที่หน้าพระ คันธกุฎี. ขณะนั้น ภิกษุทั้งหมด ถือบาตรจีวรของตนๆ แวดล้อมพระผู้มี พระภาคเจ้า ภิกษุที่ยืนแวดล้อมเหล่านั้น ก็ได้เป็นอย่างนั้น.

ก็ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้มักน้อย สันโดษผู้บอกกล่าว ผู้อดทนต่อคำว่ากล่าว เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ถูกแนะ นำแล้ว ผู้ติบาป.

ภิกษุแม้ทุกรูป ถึงพร้อมด้วยศีล ฉลาดในสมาธิ และฌาน ถึงพร้อมด้วยปัญญาและวิมุตติ ผู้ประกอบ ด้วยจรณะ ๑๕.

 
  ข้อความที่ 201  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 201

เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ถึงความชำนาญ มีฤทธิ์ มียศ มีอินทรีย์สงบ ถึงความฝึกแล้ว เป็นผู้หมดจด แล้ว สิ้นภพใหม่แล้ว.

ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เอง ปราศ- จากราคะ อันเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโทสะ อัน เหล่าภิกษุผู้ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโมหะ อันเหล่าภิกษุผู้ ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ช่างงามรุ่งโรจน์อย่างเหลือเกิน. ครั้งนั้น พระศาสดา อันเหล่าภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้ได้อภิญญา ๖ จำนวนสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว เสด็จพุทธดำเนินสู่ทางนั้นที่เขาประดับตกแต่ง แล้ว ด้วยพุทธลีลาหาที่เปรียบมิได้ ซึ่งกำลังพระกุศลที่ทรงสะสมได้ตลอดสมัย ที่นับไม่ได้บันดาลให้เกิดแล้ว ประหนึ่งท้าวสหัสนัยน์ ผู้มีพระเนตรพันดวงอัน หมู่เทพแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งท้าวหาริตมหาพรหมอันหมู่พรหมแวดล้อมแล้ว และประหนึ่งดวงจันทร์ในฤดูสารท อันหมู่ดวงดาวแวดล้อมแล้ว.

เขาว่าด้วยพระรัศมีมีสีดังทอง พระจอมปราชญ์ ผู้มีวรรณะดั่งทอง ทรงทำต้นไม้ในหนทางให้มีสีดั่ง ทอง ทรงทำดอกไม้ให้มีสีดั่งทอง เสด็จพระพุทธดำ- เนินไปสู่ทาง

แม้สุเมธดาบส จ้องตาตรวจดูพระอัตภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทีปังกร ผู้เสด็จมาตามทางที่เขาประดับตกแต่งแล้วนั้น ซึ่งประดับด้วยมหาปุริส ลักษณะ ๓๒ ประการ ฉาบด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ล้อด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง มีสิริเหมือนแก้วมณีสีดอกอินทนิล กำลังเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ประดุจ สายฟ้าแลบมีประการต่างๆ ในอากาศ มีพระรูปพระโฉมงดงาม แล้วคิดว่า

 
  ข้อความที่ 202  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 202

วันนี้ เราสละชีวิตเพื่อพระทศพลก็ควร ตกลงใจว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า ทรงเหยียบที่ตมเลย ขอทรงเหยียบหลังเราเสด็จไปพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน รูป เหมือนทรงเหยียบสะพานที่มีแผ่นกระดานเป็นแก้วผลึกเถิด ข้อนั้นก็จัก เป็นประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วก็เปลื้องผม ปูลาดท่อนหนังชฎาและผ้าเปลือกไม้ลงที่ตม ซึ่งมีสีดำ แล้วทอดตัวนอนบนหลัง ตมในทีนั้นนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

มนุษย์เหล่านั้นถูกเราถามแล้วก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ผู้ยอดเยี่ยม ผู้ชนะ ผู้นำ โลกทรงอุบัติแล้วในโลก.

พวกเราแผ้วถางหนทาง ที่ชื่อว่ามรรค อัญชสะ วฏุมะ อายนะ ก็เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

เพราะได้ยินคำว่า พุทโธ ก็เกิดปีติขึ้นทันที เรา เมื่อกล่าวว่า พุทโธ พุทโธ ก็ซาบซึ้งโสมนัส.

เรายินดีปีติใจแล้ว ยืนคิดในที่นั้นว่า จำเราจัก ปลูกพืชทั้งหลายในพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้ ขอ ขณะอย่าล่วงไปเปล่าเลย.

เราจึงกล่าวว่า ผิว่าพวกท่านแผ้วถางหนทาง เพื่อพระพุทธเจ้าไซร้ ขอพวกท่านจงให้โอกาสแห่ง หนึ่งแก่เราด้วย ถึงตัวเราก็จักแผ้วถางหนทาง.

มนุษย์เหล่านั้น ได้ให้โอกาสแก่เรา เพื่อแผ้ว ถางหนทางในครั้งนั้น เราคิดว่า พุทโธ พุทโธ ไปพลาง แผ้วถางหนทางไปพลางในครั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 203  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 203

เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ พระชินมหา มุนีทีปังกร พร้อมด้วยภิกษุสี่แสนรูป ซึ่งเป็นผู้มี อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ผู้สิ้นอาสวะ ผู้ไร้มลทินก็เสด็จ พุทธดำเนินไปยังหนทาง.

การรับเสร็จก็ดำเนินไป เภรีทั้งหลายก็ประโคม มนุษย์และเทวดาทั้งหลายบันเทิงใจแล้ว ก็พากันแซ่ ซ้องสาธุการ.

พวกเทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม่พวกมนุษย์ เห็นพวกเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ก็ประคองอัญชลี ตามเสด็จพระตถาคต.

พวกเทวดาก็บรรเลงด้วยดนตรีทิพย์ พวกมนุษย์ ก็บรรเลงด้วยดนตรีมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง พวกก็บรรเลงตามเสด็จพระตถาคต

ในอากาศ พวกเทวดา เหล่าเดินหน ก็โปรยดอก มณฑารพ ดอกปทุม ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นของทิพย์ ไปทั่วทิศานุทิศ.

ในอากาศ พวกเทวดาเหล่าเดินหน ก็โปรยจุรณ จันทน์ และของหอมอย่างดี อันเป็นของทิพย์ไปสิ้น ทั่วทิศานุทิศ.

พวกมนุษย์ ที่ไปตามภาคพื้นดิน ก็ชูดอกจำปา ดอกช้างน้าว ดอกกระทุ่ม ดอกกระถินพิมาน ดอก บุนนาค ดอกเกด ทั่วทิศานุทิศ.

 
  ข้อความที่ 204  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 204

เราเปลื้องผม ปูลาดผ้าเปลือกไม้และท่อนหนัง ลงบนตมในที่นั้น นอนคว่ำหน้า.

ด้วยประสงค์ว่า ขอพระพุทธเจ้ากับศิษย์ทั้งหลาย จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่าทรงเหยียบที่ตมเลย ข้อนี้ จักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยากํสุ แปลว่า พยากรณ์แล้ว. ปาฐะว่า ทีปงฺกโร นาม ชิโน ตสฺส โสธียตี ปโถ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสมนสฺสํ ปเวทยึ ความว่า เสวยโสมนัส. บทว่า ตตฺถ ตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในประเทศที่ลงจากอากาศนั่นเอง. บทว่า สํวิคฺคมานโส ได้แก่ มีใจประหลาด เพราะปีติ. บทว่า อิธ ได้แก่ ในบุญเขตคือพระพุทธเจ้าทีปังกรพระองค์นี้. บทว่า พีชานิ ได้แก่ พืชคือกุศล. บทว่า โรปิสฺสํ ได้แก่ จักปลูก. บทว่า ขโณ ได้แก่ ชุมนุมขณะที่ ๙ เว้นจากอขณะ ๘ ขณะนั้นหาได้ยากเราก็ได้แล้ว. บทว่า เว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะนั้น อย่าได้เป็น ไปล่วง คืออย่าล่วงเลยไป. บทว่า ททาถ แปลว่า จงให้. บทว่า เต ได้แก่ พวกมนุษย์ที่เราถาม. บทว่า โสเธมหํ ตทา ตัดบทเป็น โสเธม อหํ ตทา. บทว่า อนิฏฺิเต ได้แก่ ยังไม่เสร็จ ทำค้างไว้.

ในบทว่า ขีณาสเวหิ นี้ อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะ ๔ เหล่านี้ของภิกษุเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ละแล้ว ถอนแล้ว ระงับแล้ว ไม่ควรเกิด อันไฟคือญาณเผาแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่อ ว่าขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ด้วยภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีมลทิน ก็ เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 205  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 205

ในบทว่า เทวา มนุสฺเส ปสฺสนฺติ นี้ ไม่มีคำที่จะกล่าวในข้อที่ เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์. ด้วยว่า โดยการเห็นอย่างปกติ แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมเห็นมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างที่มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่ในที่นี่เห็นอยู่. บทว่า เทวตา ได้แก่ เทพทั้งหลาย. บทว่า อุโภปิ ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง พวก. บทว่า ปญฺชลิกา ได้แก่ ประคองอัญชลี อธิบายว่า เอามือทั้งสองตั้ง ไว้เหนือศีรษะ. บทว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ ได้แก่ ไปข้างหลังของพระตถาคต. พึงทราบลักษณะว่า เมื่ออนุโยค [นิคคหิต] มีอยู่ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงใน อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ. บทว่า วชฺช- ยนฺตา แปลว่า บรรเลงอยู่.

บทว่า มนฺทารวํ ได้แก่ ดอกมณฑารพ. บทว่า ทิโสทิสํ แปลว่า โดยทุกทิศ. บทว่า โอกิรนฺติ แปลว่า โปรย. บทว่า อากาสนภคตา แปลว่า ไปในท้องฟ้าคืออากาศ อีกนัยหนึ่งไปสู่อากาศ คือไปสวรรค์นั่นเอง. จริงอยู่สวรรค์ท่านเรียกว่าท้องฟ้า. บทว่า มรู แปลว่า เทวดาทั้งหลาย. บทว่า สรลํ ได้แก่ ดอกสน. บทว่า นีปํ ได้แก่ ดอกกะทุ่ม. บทว่า นาคปุนฺนาค- เกตกํ ได้แก่ ดอกกะถิน ดอกบุนนาค ดอกเกต. บทว่า ภูมิตลคตา ได้แก่ ไปที่แผ่นดิน.

บทว่า เกเส มุญฺจิตฺวาหํ ความว่า เปลื้อง คือ สยายผมจากกลุ่ม และชฎาเกลียวที่มุ่นไว้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโอกาสที่ให้แก่เรา. บทว่า จมฺมกํ ได้แก่ท่อนหนัง. บทว่า กลเล ได้แก่ ในโคลนตม. บทว่า อวกุชฺ - โช แปลว่า คว่ำหน้า. นิปชฺชหํ ตัดบทเป็น นิปชฺชึ อหํ. ศัพท์ว่า มา ในบทว่า มา นํ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาตลง ในอรรถปทบูรณะทำบทให้เต็มความว่า ขอพระพุทธเจ้า อย่าทรงเหยียบที่ตม เลย. บทว่า หิตาย เม ภวิสฺสติ ความว่า การไม่ทรงเหยียบที่ตมนั้น

 
  ข้อความที่ 206  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 206

จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ตลอดกาลนาน. ปาฐะว่า สุขาย เม ภวิสฺ- สติ ดังนี้ก็มี.

แต่นั้น สุเมธบัณฑิตนอนบนหลังตมแล้วก็คิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึง ปรารถนาไซร้ เราก็พึงเป็นสังฆนวกะ เผากิเลสทั้งหมดแล้วเข้าไปยังรัมมนคร แต่เราไม่มีกิจที่จะเผากิเลสแล้วบรรลุพระนิพพาน ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ถ้า กระไร เราพึงเป็นเหมือนพระทีปังกรทศพล บรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ ขึ้น สู่ธรรมนาวา ยังมหาชนให้ข้ามสังสารสาครแล้วจึงปรินิพพานในภายหลัง นี้เป็น การสมควรแก่เรา. แต่นั้น จึงประชุมธรรม ๘ ประการ ลงนอนทำอภินีหาร เพื่อเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

เรานอนเหนือแผ่นดินแล้ว ใจก็ปริวิตกอย่างนี้ ว่า วันนี้เราปรารถนา ก็จะพึงเผากิเลสทั้งหลายของ เราได้.

แต่ประโยชน์อะไรของเราด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ด้วยการทำให้แจ้งธรรมในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เรา จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้า ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยบุรุษผู้เห็นกำลังจะ ข้ามสังสารสาครแต่เพียงคนเดียว เขาจักบรรลุสัพพัญ- ญุตญาณแล้ว ยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามสังสาร สาคร.

ด้วยอธิการบารมีนี้ ที่เราบำเพ็ญในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษสูงสุด เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วจะยัง หมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามสังสารสาคร.

 
  ข้อความที่ 207  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 207

เราตัดกระแสแห่งสังสาร กำจัดภพ ๓ ได้แล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้าม สังสารสาคร.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิยํ นิปนฺนสฺส แปลว่า นอนเหนือ แผ่นดิน หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า เจตโส ความว่า ใจก็ได้มี ปริวิตก. ปาฐะว่า เอวํ เม อาสิ เจตนา ดังนี้ก็มี. บทว่า อิจฺฉมาโน ได้แก่ หวังอยู่. บทว่า กิเลเส ความว่า ธรรมชาติเหล่าใด ย่อมเศร้าหมอง ย่อมทำให้เดือดร้อน เหตุนั้น ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่ากิเลส คือกิเลส ๑๐ กอง มีราคะเป็นต้น. บทว่า ฌาปเย ได้แก่ พึงให้ไหม้ อธิบายว่า เราพึงยังกิเลส ทั้งหลายของเราให้ไหม้.

คำว่า กึ. เป็นคำปฏิเสธ. บทว่า อญฺาตกเวเสน ได้แก่ ด้วยเพศ ที่ไม่ปรากฏ ที่ไม่มีใครรู้จัก ที่ปกปิด อธิบายว่า ก็เราพึงทำอาสวะให้สิ้น เหมือนภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ หรือพึงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ทำมหาปฐพีให้ไหวในสมัยถือปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้ และประกาศพระธรรมจักรเป็น ผู้ตรัสรู้เองเป็นพระพุทธเจ้า ยังสัตว์ให้ตรัสรู้พึงเป็นผู้ข้ามเอง ยังสัตว์ให้ข้าม สังสารสาคร พึงเป็นผู้หลุดพ้นเอง ยังสัตว์ให้หลุดพ้น. บทว่า สเทวเก ได้ แก่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า ถามทสฺสินา ได้แก่ เห็นเรี่ยวแรงกำลังของตน. บทว่า สนฺตาเรสฺสํ ได้แก่ จักให้ข้าม. บทว่า สเทวกํ ได้แก่ ยังหมู่สัตว์พร้อมทั้ง เทวดา หรือยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า อธิกาเรน ได้แก่ ด้วยการกระทำที่วิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ด้วยการเสียสละชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้า แล้วนอน เหนือหลังตม ชื่อว่า อธิการ.

 
  ข้อความที่ 208  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 208

บทว่า สํสารโสตํ ความว่า การท่องเที่ยวไปทางโน้นทางนี้ในกำเนิด คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส ๙ ด้วยอำนาจกรรมและกิเลส ชื่อว่า สังสาร เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ขนฺธานํ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ อพฺโพจฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ.

เรียงลำดับแห่งขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นไปไม่ ขาดสาย ท่านเรียกว่าสังสาร.

สังสารนั้นด้วย กระแสด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังสารโสตะ ซึ่งสังสาร และกระแสนั้น. อีกนัยหนึ่ง กระแสแห่งสังสาระ ชื่อว่าสังสารโสตะ ความว่า ตัดกระแสคือตัณหาอันเป็นเหตุแห่งสังสาร. บทว่า ตโย ภเว ได้แก่กามภพ รูปภพและอรูปภพ. กรรมและกิเลสอันให้เกิดภพ ๓ ท่านประสงค์ว่า ภพ ๓. บทว่า ธมฺมนาวํ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. จริงอยู่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น ท่านเรียกว่า ธรรมนาวา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้ามโอฆะ ๔. บทว่า สมารุยฺห แปลว่า ขึ้น. บทว่า สนฺตาเรสฺสํ แปลว่า จักให้ข้าม.

แต่อภินีหารย่อมสำเร็จแก่ท่านผู้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะความประชุมพร้อมแห่งธรรม ๘ ประการ คือ ๑. ความเป็นมนุษย์ ๒. ความ สมบูรณ์ด้วยเพศ ๓. เหตุ ๔. การพบพระศาสดา ๕. การบรรพชา ๖. ความสมบูรณ์ด้วยคุณ ๗. ความมีอธิการ ๘. ความมีฉันทะ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสตฺตํ ความว่า ความปรารถนา ย่อมสำเร็จ แก่ผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์เท่านั้น แล้วปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมไม่สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในชาตินาคเป็นต้น. ถ้าถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะชาตินาคเป็นต้น เป็นอเหตุกสัตว์.

 
  ข้อความที่ 209  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 209

บทว่า ลิงฺคสมฺปตฺติ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้แม้ อยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์ ก็ต้องตั้งอยู่ในเพศชายเท่านั้น ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง หรือบัณเฑาะก์คนไม่มีเพศและคนสองเพศ. ถ้าถามว่าเพราะเหตุไร ก็ตอบได้ว่า เพราะลักษณะไม่บริบูรณ์ จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสตรี ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็น โอกาสพึงทราบความพิศดารเอาเองเถิด. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาย่อมไม่ สำเร็จ แม้แก่ผู้มีชาติเป็นมนุษย์แต่ตั้งอยู่ในเพศสตรี.

บทว่า เหตุ ความว่า ความปรารถนาย่อมสำเร็จแม้แก่บุรุษ ที่ถึง พร้อมด้วยเหตุ เพื่อบรรลุพระอรหัตในอัตภาพนั้นได้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่บุรุษ นอกจากนี้.

บทว่า สตฺถารทสฺสนํ ความว่า ถ้าบุรุษปรารถนาในสำนักของ พระพุทธเจ้าซึ่งยังทรงพระชนมชีพอยู่เท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาในพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานแล้ว หรือ ที่สำนัก พระเจดีย์หรือที่โคนโพธิพฤกษ์ หรือที่พระพุทธปฏิมา หรือในสำนักของ พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะเหตุไร เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก ไม่สามารถที่จะรู้ถึงภัพพสัตว์และ อภัพพสัตว์แล้วกำหนดด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดกรรมและวิบากแล้วพยากรณ์ ได้. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาจึงสำเร็จได้ในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.

บทว่า ปพฺพชฺชา ความว่า ความปรารถนา ย่อมสำเร็จแม้แก่ผู้ ปรารถนาในสำนักของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า หรือต้องบวชในดาบสทั้งหลาย จำพวกที่เป็นกัมมกิริยวาทีหรือในภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะ

 
  ข้อความที่ 210  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 210

ว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นบรรพชิตเท่านั้นจึงบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ที่เป็นคฤหัสถ์ บรรลุไม่ได้. เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นบรรพชิตเท่านั้น แม้ใน กาลตั้งปณิธานความปรารถนามาแต่ต้น.

บทว่า คุณสมฺปตฺติ ความว่า ปรารถนาย่อมสำเร็จ แม้แก่บรรพชิต ผู้ได้สมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕ เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จแก่ผู้เว้นจากคุณสมบัตินี้. เพราะเหตุไร เพราะคนไร้คุณสมบัติไม่มีโพธิญาณนั้น.

บทว่า อธิกาโร ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมด้วยคุณ ก็ยังเสียสละ ชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ซึ่ง พรั่งพร้อมแล้วด้วยอธิการนี้เท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.

บทว่า ฉนฺทตา ความว่า ผู้ใดแม้ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินีหาร ก็มี ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ แสวงหาอย่างใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พุทธการกธรรมทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้นเท่านั้น ไม่สำเร็จแก่คน นอกจากนี้ ข้ออุปมาแห่งความเป็นผู้มีฉันทะเป็นใหญ่ ในข้อนั้น มีดังนี้. ก็ถ้า บุคคลพึงคิดอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถข้ามห้องจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งมีน้ำเป็นอัน เดียวกันด้วยกำลังแขนของตนไปถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธ- เจ้าได้. ส่วนผู้ใด ไม่สำคัญกิจนี้เป็นของทำได้ยากสำหรับตน ประกอบด้วย ฉันทะอุตสาหะอย่างใหญ่อย่างนี้ว่า เราจักข้ามห้องจักรวาลนี้ไปถึงฝั่ง ความ ปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ไม่สำเร็จแก่คนนอกจากนี้.

ก็สุเมธบัณฑิต รวบรวมธรรม ๘ ประการนี้ไว้แล้ว ทำอภินีหารเพื่อ เป็นพระพุทธเจ้า จึงนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ประทับยืน ประชิดใกล้ศีรษะของสุเมธบัณฑิต เห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังตม ทรง ส่งอนาคตังสญาณว่า ดาบสผู้นี้ ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านอนลงแล้ว

 
  ข้อความที่ 211  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 211

ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงพิจารณาทบทวนดู ก็ทรงทราบ ว่า ล่วงไปสี่อสงไขยกำไรแสนกัป นับแต่กัปนี้ไป เขาจักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะ ประทับยืนพยากรณ์ท่ามกลางบริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นดาบสผู้มีตบะสูงซึ่งนอนเหนือหลังตมผู้นี้ไหมหนอ. ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลว่าเห็นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดาบสผู้นี้ทำอภินีหารเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า จึงนอนลงแล้ว ความปรารถนาของดาบสผู้นี้จักสำเร็จ ในที่สุดสี่ อสงไขยกำไรแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในโลก ในอัตภาพนั้นของดาบสนั้น นครชื่อว่า กบิลพัศดุ์ จักเป็น ที่ประทับอยู่ จักมีพระชนนีพระนามว่า มหามายาเทวี พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อว่า อุปติสสะ และ โกลิตะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ พระอัครสาวิกาทั้งสองชื่อว่า เขมา และ อุบลวรรณา ดาบสผู้มีญาณกล้าจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความ เพียรอย่างใหญ่ รับข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายที่โคนต้นนิโครธ เสวยที่ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิใบ ด้วย เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้รู้โลก ทรง รับทักษิณา ประทับยืนใกล้ๆ ศีรษะ ได้มีพุทธดำรัส กะเราดังนี้ว่า

ท่านทั้งหลายจงดูชฏิลดาบสผู้นี้ ซึ่งมีตบะสูงจัก เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ในกัปซึ่งนับไม่ได้ ตั้งแต่ กัปนี้ไป.

 
  ข้อความที่ 212  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 212

พระตถาคตเสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุ์ ที่น่ารื่น รมย์ ทรงตั้งความเพียร ทรงทำทุกกรกิริยา.

พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิ- โครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จสู่ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จเข้าสู่โคนโพธิพฤกษ์ ตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้แล้ว.

ต่อนั้น พระผู้ยอดเยี่ยม มีพระมหายศ ทรงทำ ประทักษิณโพธิมัณฑสถาน จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิใบ.

พระชนนีพุทธมารดาของดาบสผู้นี้ จักมีพระนาม ว่า มายา พระพุทธบิดาจักมีพระนามว่า สุทโธทนะ ดาบสผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.

พระโกลิตะและพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่นแล้ว จักเป็นพระอัครสาวก พุทธอุปฐาก ชื่อว่าอานนท์ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.

พระเขมาและพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ มีจิตสงบ ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นอัครสาวิกา ต้นไม้เป็น ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

จิตตะและหัตถาฬวกะ จักเป็นยอดอุปัฏฐาก อุตตราและนันทมารดา จักเป็นยอดอุปัฎฐายิกา.

 
  ข้อความที่ 213  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 213

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกวิทู ได้แก่ ชื่อว่า โลกวิทู เพราะทรง รู้จักโลกโดยประการทั้งปวง. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงรู้ทั่ว ทรงแทงตลอดโลก แม้โดยประการทั้งปวง คือโดยสภาวะความจริง โดยสมุทัย ความเกิด โดยนิโรธความดับ โดยนิโรธุบายอุบายให้ถึงนิโรธ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

เพราะฉะนั้นแล ท่านสุเมธผู้รู้จักโลก ถึงที่สุดโลก อยู่จบพรหมจรรย์ รู้ที่สุดโลก สงบแล้ว ย่อมไม่หวัง โลกนี้และโลกอื่น.

อนึ่ง โลกมี ๓ คือ สังขารโลก สัตวโลกและ โอกาสโลก บรรดา โลกทั้ง ๓ นั้น ธรรมทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น ที่อาศัยกันเกิดขึ้น ชื่อว่า สังขารโลก. สัตว์ทั้งหลาย มีสัญญา ไม่มีสัญญา แลมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ ใช่ ชื่อว่า สัตวโลก. สถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า โอกาสโลก ก็โลกทั้ง ๓ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วตามสภาพความเป็นจริง เพราะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงเรียกว่า โลกวิทู. บทว่า อาหุตีนํ ปฏิคฺคโห ได้แก่ ชื่อว่าผู้รับทักษิณาทาน เพราะเป็นผู้ควรรับทานทั้งหลาย เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล. บทว่า อุสฺสีสเก มํ ตฺวาน ได้แก่ ประทับยืน ใกล้ศีรษะเรา. ความว่า ได้ตรัสคำนี้คือคำที่ควรกล่าว ณ บัดนี้. บทว่า ชฏิลํ ความว่า ชฎาของนักบวชนั้นมีอยู่ เหตุนั้น นักบวชนั้นชื่อว่าชฎิล ผู้มีชฎา, ชฎิล นั้น. บทว่า อุคฺคตาปนํ ได้แก่ ผู้มีตบะสูง. บทว่า อหุ ได้แก่ ในวัน อธิบาย ว่า ครั้งนั้น. หรือว่าปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า กปิลวฺหยา ได้แก่

 
  ข้อความที่ 214  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 214

เรียกว่า ชื่อว่า กบิลพัศดุ์. บทว่า รมฺมา ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปธานํ ได้แก่ ความเพียร. บทว่า เอหิติ แปลว่า จักถึง จักไป. คำที่เหลือในคาถา ทั้งหลายง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต เกิดความโสมนัสว่า ได้ยินว่า ความ ปรารถนาของเราจักสำเร็จผล. มหาชนฟังพระดำรัสของพระทีปังกรทศพลแล้ว ก็พากันร่าเริงยินดีว่า ท่านสุเมธดาบสได้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า. สุเมธ บัณฑิตนั้นก็คิดอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็ได้ทำความปรารถนาว่าบุรุษกำลังจะข้าม แม่น้ำ เมื่อไม่อาจข้ามโดยท่าตรงหน้าได้ก็ย่อมข้ามโดยท่าหลัง ฉันใด พวก เราเมื่อไม่ได้มรรคผลในศาสนาของพระทีปังกรทศพล ในอนาคตกาล ก็พึง สามารถทำให้แจ้งมรรคผล ต่อหน้าท่าน ในสมัยที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็ ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้พระทีปังกรทศพลก็ทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ผู้เป็น พระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำ ทรงทำประทักษิณและเสด็จหลีกไป แม้พระขีณาสพสี่แสนรูปนั้น ก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้และของหอม ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ผู้ทรงทำประทีปคือความรู้โลก ทั้งปวง อันพระขีณาสพสี่แสนรูปแวดล้อมแล้ว อันชาวรัมมนครบูชาอยู่ อัน เทวดาทั้งหลายถวายบังคมอยู่ เสด็จพุทธดำเนิน ประหนึ่งยอดภูเขาทองอันประเสริฐที่อาบแสงสนธยา เมื่อปาฏิหาริย์ทั้งหลายเป็นอันมากดำเนินไปอยู่ ก็เสด็จ ไปตามหนทางที่ชาวรัมมนครประดับประดาตกแต่งนั้น เสด็จเข้าไปยังรัมมนคร อันน่าอภิรมย์ อบอวลด้วยกลิ่นดอกไม้หอมนานาชนิด กลิ่นจุณที่น่าชื่นชม ธงประฏากที่ยกขึ้นไสว มีหมู่ภมรที่ติดใจในกลิ่น บินว่อนเป็นกลุ่มๆ มืดครึ้ม ด้วยควันธูป สง่างามดังเทพนคร พระทินกรทศพลก็ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์

 
  ข้อความที่ 215  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 215

ที่สมควรอย่างใหญ่ที่เขาบรรจงจัดไว้ เหมือนดวงจันทร์งดงามยามฤดูสารท เหนือยอดยุคนธร เหมือนดังดวงทินกรกำจัดกลุ่มความมืด ทำความแย้มแก่ดง ปทุม. แม้ภิกษุสงฆ์ก็นั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับ. ส่วนอุบาสกชาว รัมมนคร ผู้พรั่งพร้อมแล้วด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น ก็ช่วยกันถวายทานที่ประดับพร้อมด้วยของเคี้ยวเป็นต้นชนิดต่างๆ สมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นและรส ไม่มีทาน อื่นเสมอเหมือน เป็นต้นเหตุแห่งสุข แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์สดับคำพยากรณ์ของพระทศพลก็สำคัญความ เป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือ ก็บันเทิงใจ เมื่อชาวรัมมนครกลับกัน หมดแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นอนคิดว่าจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลาย จึงนั่งขัดสมาธิ เหนือยอดกองดอกไม้ เมื่อพระมหาสัตว์นั่งอยู่อย่างนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่น จักรวาล ก็ให้สาธุการ กล่าวว่า ท่านสุเมธดาบสเจ้าข้า ในเวลาที่ท่านนั่งขัด สมาธิ หมายจักเลือกเฟ้นบารมีของพระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆ ธรรมดาบุพนิมิต เหล่าใดปรากฏ บุพนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้วในวันนี้ทั้งหมด ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย พวกเรารู้ข้อนี้ว่า บุพนิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ ใด ผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจงประคองความเพียรของตนไว้ให้มั่น แล้วได้ชมพระโพธิสัตว์ด้วยสดุดีนานาประการ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย สดับคำของพระทีปัง- กรทศพล ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้เสมอเหมือนนี้ แล้ว ก็พากันดีใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพืชพระพุทธเจ้า

เสียงโห่ร้องอึงมี่ เสียงปรบมือ เสียงหัวเราะ หมื่นโลกธาตุเทวดาก็ทำอัญชลีนมัสการกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 216  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 216

ผิว่าพวกเราจะพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อพระพักตร์ของพระโลกนาถพระองค์นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดท่าน้ำเฉพาะ หน้าแล้ว ก็ถือเอาท่าน้ำท่าหลังข้ามแม่น้ำฉันใด.

พวกเราทั้งหมด ผิว่าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ เสีย ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อพระพักตร์ของพระ ชินเจ้าพระองค์นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระทีปังกรทศทูล ผู้รู้จักโลก ทรงเป็นปฏิคาหก ผู้รับของบูชา ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ก็ทรง ยกพระบาทเบื้องขวา.

พุทธชิโนรสทั้งหมด ที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็พากันทำ ประทักษิณเรา เทวดา มนุษย์และอสูรทั้งหลายก็กราบ ไหว้แล้วหลีกไป.

เมื่อพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์ เสด็จลับตา เราไปแล้ว ครั้งนั้น เราก็ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ.

เราประสบสุขโดยสุข เบิกบานโดยปราโมช อัน ปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว นั่งขัดสมาธิในเวลานั้น.

ครั้นนั่งขัดสมาธิแล้ว เวลานั้น เราคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงฝั่งในอภิญญา ๕.

ในหมื่นโลกธาตุ ไม่มีฤาษีที่จะเสมอเรา ไม่มีผู้ เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย เราได้ความสุขเช่นนี้.

 
  ข้อความที่ 217  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 217

ขณะที่เรานั่งขัดสมาธิ ทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ ก็เปล่งเสียงโห่ร้องว่า ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ขณะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ บุพนิมิต เหล่าใดปรากฏก่อน บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันใน วันนี้.

ความหนาวก็หายไป และความร้อนก็สงบไป บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

หมื่นโลกธาตุ ก็ปราศเสียง ปราศจากความวุ่น วาย บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน.

ลมขนาดใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล บุพนิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกันในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ดอกไม้บนบก ดอกไม้ในน้ำ ก็บานหมดใน ขณะนั้น ดอกไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็บานแล้วใน วันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ผิว่า ไม้เถาก็ดี ไม้ต้นก็ดี ก็มีผลในขณะนั้น ต้นไม้แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็ออกผลในวันนี้ ท่านจัก เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

รัตนะทั้งหลาย ที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้น ดิน ก็ส่องแสงโชติช่วงในขณะนั้น รัตนะแม้เหล่านั้น ก็โชติช่วงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

 
  ข้อความที่ 218  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 218

ดนตรีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็น ของทิพย์ ก็บรรเลงในขณะนั้น ดนตรีทั้งสองแม้นั้น ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ฝนดอกไม้อันไพจิตร ก็หล่นลงมาจากท้องฟ้า ในขณะนั้น ฝนดอกไม่แม้เหล่านั้น ก็หลั่งลงมาในวัน นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

มหาสมุทรก็คะนอง หมื่นโลกธาตุก็ไหว แม้ทั้ง สองนั้น ก็ส่งเสียงลั่นในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธ- เจ้าแน่นอน.

ไฟหลายหมื่นในนรก ก็ดับในขณะนั้น ไฟแม้ เหล่านั้นก็ดับแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน.

ดวงอาทิตย์ทั้งใสไร้มลทิน ดวงดาวทั้งหลายก็ เห็นได้หมด ดวงดาวแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวัน นี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

เมื่อฝนไม่ตก น้ำก็พุขึ้นมาจากแผ่นดิน ในขณะ นั้น น้ำแม้นั้น ก็พุขึ้นแล้วจากแผ่นดินในวันนี้ ท่าน จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

หมู่ดาวและดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็แจ่มกระจ่าง ตลอดมณฑลท้องฟ้า ดวงจันทร์ก็ประกอบด้วยดาวฤกษ์ วิสาขะ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

 
  ข้อความที่ 219  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 219

สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในโพรง ที่อยู่ในร่องน้ำก็ออก จากที่อยู่ของตน สัตว์แม้เหล่านั้นก็ออกจากที่อยู่แล้ว ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ความไม่ยินดีทั้งหลายไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ ทั้งหลายย่อมเป็นผู้สันโดษ ในขณะนั้นสัตว์แม้เหล่านั้น ก็เป็นผู้สันโดษแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน.

ในขณะนั้น โรคทั้งหลายก็สงบไป ความหิวก็ หายไป บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ในขณะนั้น ราคะก็เบาบาง โทสะ โมหะก็เสื่อม หาย กิเลสแม้เหล่านั้นก็เลือนหายไปหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ในขณะนั้นภัยก็ไม่มี ความไม่มีภัยนั้นก็เห็นแม้ ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วยเหตุนั้น ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน.

กิเลสดุจธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน ความไม่ฟุ้งแห่ง กิเลสดุจธุลีนั้นก็เห็นกันแม้ในวันนี้ พวกเรารู้กัน ด้วย เหตุนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็จางหายไป กลิ่นทิพย์ก็ โชยมา กลิ่นหอมแม้นั้น ก็โชยมาในวันนี้ ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน.

 
  ข้อความที่ 220  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 220

เทวดาทั้งหมดเว้นอรูปพรหมก็ปรากฏ เทวดาแม้ เหล่านั้น ก็เห็นกันหมดในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ขึ้นชื่อว่านรกมีประมาณเท่าใด ก็เห็นกันได้หมด ในขณะนั้น นรกแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

กำแพงบานประตู และภูเขาหิน ไม่เป็นที่กีด ขวางในขณะนั้น กำแพงบานประตูและภูเขาหินแม้ เหล่านั้น ก็กลายเป็นอากาศไปในวันนี้ ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน.

การจุติและปฏิสนธิ ย่อมไม่มีในขณะนั้น บุพนิมิตแม้เหล่านั้น ก็เห็นกันได้ในวันนี้ ท่านจักเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน.

ขอท่านโปรดจงประคับประคอง ความเพียรไว้ ให้มั่น อย่าถอยกลับ โปรดก้าวไปข้างหน้าต่อไปเถิด แม้พวกเราก็รู้เหตุข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ นอน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ สุตฺวาน วจนํ ความว่า ฟังคำ พยากรณ์พระโพธิสัตว์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรนี้. บทว่า อสมสฺส ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีผู้เสมอ เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 221  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 221

น เม อาจริโย อตฺถิ สทิโส เม น วิชฺชติ สเทวกสฺมึ โลกสฺมึ นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล.

เราไม่มีอาจารย์ ผู้เสมือนเราไม่มี ผู้เทียบเรา ไม่มีในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า มเหสิโน ความว่า ชื่อว่ามเหสี เพราะเสาะแสวงหาคุณคือศีล สมาธิปัญญาใหญ่. ผู้แสวงหาคุณใหญ่พระองค์นั้น. บทว่า นรมรู ได้แก่มนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ก็ศัพท์นี้ชี้แจงความอย่างสูง สัตว์แม้ทั้งหมด แม้แต่นาค สุบรรณและยักษ์เป็นต้นในหมื่นโลกธาตุก็พากันดีใจ. บทว่า พุทฺธพีชํ กิร อยํ ความว่า พากันดีใจว่า ได้ยินว่า หน่อเนื้อพุทธางกูรนี้เกิดขึ้นแล้ว.

บทว่า อุกฺกฏฺิสทฺทา ความว่า เสียงโห่ร้องเป็นไปอยู่. บทว่า อปฺโผเฏนฺติ ได้แก่ ยกแขนขึ้นปรบมือ. บทว่า ทสสทสฺสี แปลว่า หมื่นโลก ธาตุ. บทว่า สเทวกา ความว่า หมื่นโลกธาตุกับเทวดาทั้งหลายที่ชื่อว่า สเทวกะ ย่อมนมัสการ. บทว่า ยทิมสฺส ตัดบทว่า ยทิ อิมสฺส หรือปาฐะ ก็อย่างนี้ เหมือนกัน. บทว่า วิรชฺฌิสฺสาม ได้แก่ ผิว่าเราไม่บรรลุ. บทว่า อนาค- ตมฺหิ อทฺธาเน แปลว่า ในอนาคตกาล. บทว่า เหสฺสาม แปลว่า จักเป็น. บทว่า สมฺมุขา แปลว่า ต่อหน้า. บทว่า อิมํ คือ อิมสฺส ทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า ของท่านผู้นี้.

บทว่า นทึ ตรนฺตา ได้แก่ ผู้ข้ามแม่น้ำ ปาฐะว่า นทิตรนฺตา ดังนี้ก็มี. บทว่า ปฏิติตฺถํ ได้แก่ ท่าเรือเฉพาะหน้า. บทว่า วิรชฺฌิย แปลว่า พลาดแล้ว. บทว่า ยทิ มุญฺจาม ความว่า ผิว่า พวกเราจักพ้นพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นี้โดยไม่ได้ทำกิจไป. บทว่า มม กมฺมํ ปกิตฺเตตฺวา ได้แก่ ทรงพยากรณ์ประโยชน์ที่เราเจริญแล้ว. บทว่า ทกฺขิณํ ปาทมุทฺธริ แปลว่า ยกพระบาทเบื้องขวา. ปาฐะว่า กตปทกฺขิโณ ดังนี้ก็มี.

 
  ข้อความที่ 222  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 222

บทว่า ชินปุตฺตา ได้แก่ สาวกของพระศาสดาทีปังกร. บทว่า เทวา มนุสฺสา อสุรา จ อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุํ ความว่า ท่านเหล่านี้แม้ทั้ง หมดมีเทวดาเป็นต้น ทำประทักษิณเรา ๓ ครั้ง บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ตั้ง อัญชลีไว้เป็นอย่างดี ไหว้แล้วก็กลับ แลดูบ่อยๆ แล้วชมด้วยสดุดีนานาประการ ที่มีอรรถพยัญชนะอันไพเราะแล้วหลีกไป. ปาฐะว่า นรา นาคา จ คนฺธพฺพา อภิวาเทตฺวาน ปกฺกมุํ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ทสฺสนํ เม อติกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค เจ้าล่วงทัศนวิสัยของเราไปแล้ว. ปาฐะว่า ชหิเต ทสฺสนูปจาเร ดังนี้ก็มี. บทว่า สสงฺเฆ ได้แก่ พร้อมกับพระสงฆ์ ชื่อว่า สสังฆะ พร้อมกับพระสงฆ์นั้น. บทว่า สยนา วุฏฺหิตฺวา ได้แก่ ลุกขึ้นจากตม อันเป็นที่ๆ ตนนอนลงแล้ว. บทว่า ปลฺลงฺกํ อาภุชึ ความว่า ทำบัลลังก์คือขัดสมาธิ นั่งเหนือกองดอกไม้. ปาฐะว่า หฏฺโ หฏฺเน จิตฺเตน อาสนา วุฏฺหึ ตทา ดังนี้ก็มี. ปาฉะนั้น มีอรรถง่าย.

บทว่า ปีติยา จ อภิสฺสนฺโน ได้แก่ อันปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว. บทว่า วสีภูโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ. บทว่า ณาเน ได้แก่ รูปาวจร ฌานและอรูปาวจรฌาน. บทว่า สหสฺสิยมฺหิ แปลว่า หมื่น. บทว่า โลกมฺหิ ได้แก่ ในโลกธาตุ. บทว่า เม สมา ได้แก่ เสมือนเรา. พระองค์ตรัสโดยไม่ แปลกว่า ผู้ที่เสมอไม่มี บัดนี้เมื่อจะทรงกำหนดความนั้นนั่นแลจึงตรัสว่า ไม่มีผู้ เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทธิธมฺเมสุ ความ ว่า ในอิทธิธรรม ๕. บทว่า ลภึ แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า อีทิสํ สุขํ ได้แก่ โสมนัสเช่นนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า ครั้งนั้น สุเมธดาบส ฟังพยากรณ์ ของพระทศพลแล้ว สำคัญความเป็นพระพุทธเจ้าประหนึ่งอยู่ในกำมือแล้วก็มี

 
  ข้อความที่ 223  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 223

หัวใจเบิกบาน มหาพรหมในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย ในหมื่นโลกธาตุ เคยเห็น อดีตพระพุทธเจ้ามา เพื่อประกาศความเที่ยงแท้ไม่แปรผันแห่งพระดำรัสของ พระตถาคต เพราะเห็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในการพยากรณ์นิยตพระโพธิสัตว์ เมื่อทรงแสดงคำที่เทวดาทั้งหลายแสดงความยินดีกะเรา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ จึงตรัสว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺหํ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกาภุชเน มยฺหํ ได้แก่ ในการ นั่งขัดสมาธิของเรา. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ทสสหสฺสาธิวาสิโน ได้แก่ มหาพรหมทั้งหลายที่อยู่ในหมื่นโลกธาตุ. บทว่า ยา ปุพฺเพ ได้แก่ ยานิ ปุพฺเพ คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวลบวิภัตติ. บทว่า ปลฺลงฺกวรมาภุเช ได้แก่ ในการนั่งขัดสมาธิอย่างดี. บทว่า นิมิตฺตานิ ปทิสฺสนฺติ ความว่า นิมิตทั้งหลาย ปรากฏแล้ว เมื่อควรจะกล่าวคำเป็นอดีตกาล ก็กล่าว คำเป็นปัจจุบันกาล ถึงคำที่กล่าวเป็นปัจจุบันกาลแต่ก็ควรถือความเป็นอดีตกาล. บทว่า ตานิ อชฺช ปทิสฺสเร ความว่า นิมิตเหล่าใด เกิดขึ้นแล้วในการ ที่นิยตพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิแม้ในกาลก่อน นิมิตเหล่านั้น ก็เห็นกัน อยู่ในวันนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนทีเดียว. แต่มิใช่ นิมิตเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า นิมิตเหล่านั้นก็เห็นกันอยู่ในวันนี้ พึง ทราบว่า ท่านกล่าวก็เพราะเสมือนนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้น.

บทว่า สีตํ แปลว่า ความเย็น. บทว่า พฺยปคตํ แปลว่า ไปแล้ว ไปปราศแล้ว. บทว่า ตานิ ความว่า ความเย็นก็คลายไปความร้อนก็ผ่อนไป บทว่า นิสฺสทฺทา ได้แก่ ไม่มีเสียง ไม่อึกทึก. บทว่า นิรากุลา แปลว่า ไม่วุ่นวาย. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น สนฺทนฺติ ได้แก่ ไม่นำไป ไม่ไหลไป. บทว่า สวนฺติโย แปลว่า แม่น้ำทั้งหลาย. บทว่า ตานิ ได้แก่ ไม่พัดไม่ไหล. บทว่า ถลชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดที่ต้นไม้ตาม พื้นดินและบนภูเขา. บทว่า ทกชา ได้แก่ ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ. บทว่า ปุปฺผนฺติ

 
  ข้อความที่ 224  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 224

ได้แก่ บานแล้วแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน. คำเป็นปัจจุบันลงในอรรถ อดีตกาล พึงทราบ โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า เตปชฺช ปุปฺผิตานิ ความว่า ดอกไม้แม้เหล่านั้น บานแล้วในวันนี้.

บทว่า ผลภารา ได้แก่ ทรงผล. บทว่า เตปชฺช ตัดบทว่า เตปิ อชฺช ท่านกล่าวว่า เตปิ โดยลิงควิปลาส เพราะท่านกล่าวว่า ลตา วา รุกฺขา วา. บทว่า ผลิตา แปลว่า เกิดผลแล้ว. บทว่า อากาสฏฺา จ ภุมฺมฏฺา ได้แก่ ไปในอากาศ และที่ไปบนแผ่นดิน. บทว่า รตนานิ ได้ แก่ รัตนะทั้งหลาย มีแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า โชตสฺติ แปลว่า ส่องแสงสว่าง. บทว่า มานุสฺสกา ได้แก่ เป็นของมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่ามานุสสกะของมนุษย์. บทว่า ทิพฺพา ได้แก่ เป็นของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าทิพพะของเทวดา. บทว่า ตุริยา ได้แก่ ดนตรี ๕ คือ อาตตะ วิตตะ อาตตะวิตตะ สุสิระและ ฆนะ. บรรดาดนตรีเหล่านั้น ในดนตรีมีกลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง ดนตรีที่หุ้ม หนังหน้าเดียวชื่อว่าอาตตะ ดนตรีที่หุ้มหนังสองหน้าชื่อว่าวิตตะ ดนตรีมีพิณ ใหญ่เป็นต้นที่หุ้มหนังหมด ชื่อว่าอาตตะวิตตะ ดนตรีมีปี่เป็นต้น ชื่อว่าสุสิระ. ดนตรีมีสัมมตาลเป็นต้น ชื่อว่าฆนะ. บทว่า วชฺชนฺติ ได้แก่ บรรเลงแล้ว โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง คำที่เป็นปัจจุบันกาล พึงทราบว่าใช้ในอรรถ อดีตกาล แม้ในคำเช่นนี้ต่อๆ ไป ก็นัยนี้. บทว่า อภิรวนฺติ ความว่า ร้องดัง บันลือลั่นเหมือนดนตรีทีผู้ฉลาดบรรเลงแล้ว ประโคมแล้ว ขับร้องแล้ว.

บทว่า วิจิตฺตปุปฺผา ได้แก่ ดอกไม้ทั้งหลาย มีกลิ่นและสีต่างๆ อัน งดงาม. บทว่า อภิวสฺสนฺติ แปลว่า ตกลงแล้ว อธิบายว่าหล่นแล้ว. บทว่า เตปิ ความว่า ดอกไม้อันงดงามแม้เหล่านั้น ตกลงอยู่ก็เห็นกันในวันนี้ อธิบาย ว่าอันหมู่เทวดาและพรหมโปรยลงมาอยู่. บทว่า อภิรวนฺติ ได้แก่ บันลือลั่น. บทว่า นิรเย ได้แก่ ในนรกทั้งหลาย. บทว่า ทสสหสฺเส ได้แก่ หลายหมื่น. บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สงบ อธิบายว่าถึงความสงบ. บทว่า ตารกา ได้แก่

 
  ข้อความที่ 225  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 225

ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า เตปิ อชฺช ปทิสฺสนฺติ ความว่า ดวงดาวแม้ เหล่านั้น ก็เห็นกันกลางวันวันนี้ เพราะดวงอาทิตย์สุกใสไร้มลทิน.

บทว่า อโนวฏฺเน ได้แก่ คำว่า อโนวฏฺเ นี้เป็นตติยาวิภัตติลงใน อรรถสัตตมีวิภัตติ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อโนวฏฺเ ได้แก่ ไม่มีอะไรแม้ปิด กั้น. คำว่า น เป็นเพียงนิบาตเหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สุตฺวา น ทูตวจนํ ฟังคำของทูตดังนี้. บทว่า ตมฺปชฺชุพฺภิชฺชเต ความว่า น้ำแม้นั้นก็พุขึ้นใน วันนี้ อธิบายว่าแทรกพุ่งขึ้น. บทว่า มหิยา ได้แก่ แผ่นดิน เป็นปัญจมีวิภัตติ. บทว่า ตาราคณา ได้แก่ หมู่ดาวทั้งหมด มีดาวเคราะห์และดาวนักษัตร เป็นต้น. บทว่า นกฺขตฺตา ได้แก่ ดาวฤกษ์ทั้งหลาย. บทว่า คคนมณฺฑเล ความว่า ส่องสว่างทั่วมณฑลท้องฟ้า. บทว่า พิลาสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน ปล่องมีงู พังพอน จรเข้และเหี้ย เป็นต้น. บทว่า ทรีสยา ได้แก่ สัตว์ที่อยู่ใน แอ่งน้ำ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า นิกฺขมนฺติ ได้แก่ ออกไป แล้ว. บทว่า สกาสยา แปลว่า จากที่อยู่ของตนๆ ปาฐะว่า ตทาสยา ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้นมีความว่า ในครั้งนั้นคือในกาลนั้น จากที่อยู่คือปล่อง. บทว่า ฉุทฺธา ได้แก่ อันเขาซัดไปแล้ว ขึ้นไปแล้ว คือออกไป.

บทว่า อรตี ได้แก่ ความกระสัน. บทว่า สนฺตุฏฺา ได้แก่สันโดษด้วยสันโดษอย่างยิ่ง. บทว่า วินสฺสติ ได้แก่ ไปปราศ. บทว่า ราโค ได้แก่กามราคะ. บทว่า ตทา ตนุ โหติ ได้แก่ มีประมาณน้อย ทรงแสดง ปริยุฏฐานกิเลสด้วยบทนี้. บทว่า วิคตา ได้แก่ สูญหาย. บทว่า ตทา ได้แก่ ครั้งก่อน อธิบายว่า ครั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ. บทว่า น ภวติ แปลว่า ไม่มี. บทว่า อชฺชเปตํ ความว่า แม้ครั้งท่านนั่งขัดสมาธิในวันนี้ ภัยนั้นก็ไม่มี. บทว่า เตน ลิงฺเคน ชานาม ความว่า พวกเราทุกคนย่อม รู้ด้วยเหตุที่ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 226  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 226

บทว่า อนุทฺธํสติ ได้แก่ ไม่ฟุ้งขึ้น. บทว่า อนิฏฺคนฺโธ ได้แก่ กลิ่นเหม็น. บทว่า ปกฺกมติ แปลว่า หลีกไปแล้ว ปราศไปแล้ว. บทว่า ปวายติ แปลว่า พัดไปแล้ว. บทว่า โสปชฺช ได้แก่ กลิ่นทิพย์แม้นั้น ในวันนี้. บทว่า ปทิสฺสนฺติ ได้แก่ เห็นกันแล้ว. บทว่า เตปชฺช ได้แก่ เทวดา ทั้งหมดแม้นั้นในวันนี้. ศัพท์ว่า ยาวตาเป็นนิบาตลงในอรรถว่ากำหนด ความว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า กุฑฺฑา แปลว่า กำแพง. บทว่า น โหนฺตาวรณา ได้แก่ ทำการขวางกั้นไม่ได้. บทว่า ตทา ได้แก่ ครั้งก่อน. บทว่า อากาสภูตา ได้แก่ กำแพงบานประตูและภูเขาเหล่านั้น ไม่อาจทำการขวางกั้น ทำไว้ข้างนอกได้ อธิบายว่าอากาศกลางหาว. บทว่า จุติ ได้แก่ มรณะ. บทว่า อุปฺปตฺติ ได้แก่ ถือปฏิสนธิ. บทว่า ขเณ ได้แก่ ในขณะพระโพธิสัตว์ทั้ง หลายนั่งขัดสมาธิในกาลก่อน. บทว่า น วิชฺชติ แปลว่า ไม่มีแล้ว. บทว่า ตานิปชฺช ความว่า การจุติปฏิสนธิ ในวันนี้แม้เหล่านั้น. บทว่า มา นิวตฺติ ได้แก่ จงอย่าถอยหลัง. บทว่า อภิกฺกม ได้แก่ จงก้าวไปข้างหน้า คำที่เหลือ ในเรื่องนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

ต่อจากนั้น สุเมธบัณฑิต สดับคำของพระทีปังกรทศพล และของ เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็เกิดอุตสาหะ อย่างยิ่งยวด คิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวาจาไม่โมฆะเปล่าประโยชน์ พระวาจาของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายไม่เปลี่ยนเป็นอื่น. เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่เหวี่ยงไปในอากาศก็ตก แน่นอน สัตว์ที่เกิดมาแล้วก็ตาย เมื่ออรุณขึ้นดวงอาทิตย์ก็ขึ้นสู่ท้องฟ้า ราชสีห์ ออกจากที่อยู่ ก็บันลือสีหนาท สตรีมีครรภ์หนักก็ปลงภาระแน่นอน เป็น อย่างนี้โดยแท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็แน่นอนไม่ โมฆะเปล่าประโยชน์ ฉันนั้นเหมือนกัน เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 227  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 227

เราสดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และคำของ เทวดาในหมื่นโลกธาตุ ทั้งสองแล้ว ก็ยินดีร่าเริงเบิก บานใจ ในครั้งนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า

พระชินพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่เป็นสอง มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้ง หลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ก้อนดินถูกเหวี่ยงไปในอากาศ ย่อมตกที่พื้นดิน แน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ความตายของสัตว์ทั้งหมด เที่ยงแท้ แน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยง แท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

เมื่อสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่ นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

ราชสีห์ออกจากที่นอน ก็บันลือสีหนาทแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็น พระพุทธเจ้าแน่นอน.

 
  ข้อความที่ 228  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 228

สัตว์มีครรภ์หนัก ก็ปลงภาระแน่นอน ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็เที่ยงแท้แน่นอน ฉันนั้น คำเท็จของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส วจนํ สุตฺวา ทสสหสฺสีน จูภยํ ความว่า สดับพระดำรัสของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า และของ เทวดาในหมื่นจักวาล. บทว่า อุภยํ ได้แก่ อุถเยสํ คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ หรือ คำทั้งสอง. บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ได้แก่ เราคิดอย่างนี้.

บทว่า อเทฺวชฺฌวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เป็นสองอย่าง อธิบาย ว่า มีพระดำรัสเป็นอย่างเดียว. ปาฐะว่า อจฺฉิทฺทวจนา ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่าไม่มีโทษ. บทว่า อโมฆวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เท็จ. บทว่า วิตถํ ความว่า คำเท็จไม่มี. บทว่า ธุวํ พุทฺโธ ภวามหํ พึงทราบว่าท่าน ทำเป็นคำปัจจุบันกาล โดยเป็นเรื่องแน่นอนและเป็นเรื่องมีโดยแท้ว่า เราจัก เป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว.

บทว่า สูริยุคฺคมนํ ได้แก่ การอุทัยของดวงอาทิตย์หรือปาฐะก็อย่างนี้ เหมือนกัน. บทว่า ธุวสสฺสตํ ได้แก่ มีความเป็นโดยส่วนเดียว และเที่ยง แท้. บทว่า นิกฺขนฺตสยนสฺส ได้แก่ ผู้ออกไปจากที่นอน. บทว่า อาปนฺนสฺตฺตานํ ได้แก่ สัตว์ผู้มีครรภ์หนัก อธิบายว่าผู้มีครรภ์. บทว่า ภารโมโรปนํ ได้แก่ ภารโอโรปนํ อธิบายว่า การปลงลงซึ่งครรภ์. อักษรทำการสนธิบท คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายทั้งนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 229  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 229

สุเมธบัณฑิต ทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เรานั้นจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่แท้ เพื่อใคร่ครวญถึงพุทธการกธรรมทั้งหลาย จึงเลือกเฟ้นธรรมธาตุทั้งสิ้น โดยลำดับว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย อยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง ในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้งหลาย ก็เห็นทานบารมีอันดับแรก ที่พระโพธิสัตว์ทั้ง หลายเก่าๆ ในกาลก่อนช่องเสพเป็นประจำกันมา จึงสอนพระองค์เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับตั้งแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีก่อน เหมือนอย่าง ว่า หม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลง ย่อมหลั่งน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่นำน้ำกลับเข้าไป ฉันใด ท่านก็ไม่พึงเสียดายทรัพย์หรือยศ บุตรภรรยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย เมื่อให้ทุกอย่างที่ยาจกต้องการๆ กันไม่เหลือไว้เลยในที่ทั้งปวง ก็จักนั่งเป็น พระพุทธเจ้าที่โคนโพธิพฤกษ์ ดังนี้แล้วอธิษฐานทานบารมีไว้มั่นเป็นอันดับ แรก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เอาเถิด เราจักเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม ทางโน้น ทางนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้งสิบทิศ ตราบเท่าที่ ธรรมธาตุยังเป็นไป.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นทานบารมีเป็น อันดับแรก เป็นทางใหญ่ ที่พระผู้แสวงคุณใหญ่ หลายพระองค์ก่อนๆ ประพฤติตามกันมาแล้ว.

ท่านจงสมาทาน ทานบารมีนี้ไว้มั่นเป็นอันดับ แรกก่อน จงบำเพ็ญทานบารมี ผิว่าท่านต้องการจะ บรรลุพระโพธิญาณ.

หม้อที่เต็มด้วยน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งวางคว่ำปาก ลงก็สำรอกน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่รักษาน้ำไว้ในหม้อ นั้น แม้ฉันใด.

 
  ข้อความที่ 230  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 230

ท่านเห็นยาจก ทั้งชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูง แล้ว จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉัน นั้นเหมือนกัน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ. บทว่า พุทฺธกเร ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า ธรรม ๑๐ ประการมี ทานปารมิตา เป็นต้น ชื่อว่าธรรมทำความเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า วิจินามิ ได้แก่ จักเลือกเฟ้น อธิบายว่า จักทดสอบ จักสอบสวน. บทว่า อิโต จิโต ได้แก่ ช้างโน้น ข้างนี้. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน ความว่า จะเลือกเฟ้นในที่นั้นๆ. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ ในเทวโลก. บทว่า อโธ ได้แก่ ในมนุษยโลก. บทว่า ทสทิสา ได้แก่ ในสิบทิศ อธิบายว่า พุทธการกธรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในทิศ ใหญ่ทิศน้อย. คำว่า ยาวตา ในคำว่า ยาวตา ธมฺมธาตุยา นี้ เป็นคำกล่าว กำหนด. บทว่า ธมฺมธาตุยา ได้แก่ แห่งสภาวธรรม พึงเห็นว่าเติมคำที่เหลือ ว่า ปวตฺตนี แปลว่า ความเป็นไปแห่งสภาวธรรม ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายไว้ว่า จักเลือกเฟ้นเพียงเท่าที่สภาวธรรม คือธรรมส่วนกามาวจร รูปาวจรเป็นไป.

บทว่า วิจินนฺโต ได้แก่ ทดสอบ สอบสวน. บทว่า ปุพฺพเกหิ ได้แก่ อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ. บทว่า อนุจิณฺณํ ได้แก่ สะสม ซ่องเสพ. บทว่า สมาทิย ได้แก่ จงทำการสมาทาน อธิบายว่า จง สมาทานอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราควรบำเพ็ญทานบารมีนี้ก่อน. บทว่า ทานปารมิตํ คจฺฉ ได้แก่ ถึงทานบารมี. อธิบายว่าทำให้เต็ม. บทว่า ยทิ โพธึ

 
  ข้อความที่ 231  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 231

ปตฺตุมิจฺฉสิ ความว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าไปโคนโพธิ์แล้วบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ. บทว่า ยสฺส กสฺสจิ ความว่า เต็มด้วยน้ำหรือน้ำนม อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อประกอบ สัมปุณฺณ ศัพท์ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์ ประสงค์ฉัฏฐีวิภัตติ หรือฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ความว่า ด้วยน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อโธกโต ได้แก่ อันเขาคว่ำปากลง. บทว่า น ตตฺถ ปริรกฺขติ ได้แก่ รักษาไว้ไม่ได้ในการไหลของน้ำนั้น อธิบายว่าหลั่ง น้ำออกไม่เหลือเลย. บทว่า หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิเม ได้แก่ ชั้นต่ำชั้นกลางและ ชั้นประณีต อักษรทำบทสนธิ. บทว่า กุมฺโภ วิย อโธกโต ได้แก่ เหมือนหม้อที่วางคว่ำปาก. สุเมธบัณฑิตสอนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อน สุเมธ ท่านพบคนยาจกที่เข้าไปหา จงบำเพ็ญทานบารมีด้วยการบริจาคทรัพย์ ทั้งหมดของตนไม่ให้เหลือ อุปบารมีด้วยการบริจาคอวัยวะ และปรมัตถปารมี ด้วยการบริจาคชีวิต.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า ไม่ควรมีแต่พุทธ- การกธรรมเพียงเท่านี้ ก็เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสอง จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดู ก่อนสุเมธบัณฑิตตั้งแต่นี้ไป ท่านควรบำเพ็ญศีลบารมี ขึ้นชื่อว่าเนื้อจามรีไม่อาลัย แม้แต่ชีวิต ย่อมรักษาขนหางของตนอย่างเดียว ฉันใด ตั้งแต่นี้ไป ท่านไม่ อาลัยแม้แต่ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว ฉันนั้น แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า จึง อธิษฐานศีลบารมีอันดับสองไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้ เท่านั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วย อบรมบ่มโพธิญาณ.

 
  ข้อความที่ 232  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 232

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นศีลบารมีอันดับ สอง ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พากันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุพระโพธิญาณ.

เนื้อจามรี รักษาขนหางที่ติดอยู่ในที่บางแห่ง ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย ฉันใด

ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในฐานะ ๔ จง บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น เหมือนกัน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ได้แก่ น หิ เอเตเยว มิใช่ พุทธธรรมเหล่านั้นเท่านั้น. บทว่า โพธิปาจนา ได้แก่ บ่มมรรค หรือ อบรมบ่มพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุติยํ สีลปารมึ ความว่า ธรรมดาศีล เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทุกอย่าง ผู้ตั้งอยู่ในศีล ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ทั้งหลาย ทั้งย่อมได้คุณส่วนโลกิยะและโลกุตระทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เราจึง เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสองว่า ควรบำเพ็ญศีลบารมี.

บทว่า อาเสวิตนิเสวิตํ ได้แก่ เจริญแล้วและทำให้มากแล้ว. บทว่า จมรี ได้แก่ เนื้อจามรี. บทว่า กสฺมิญฺจิ ได้แก่ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง คือ ในต้นไม้เถาวัลย์และเรียวหนามเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ปฏิลคฺคิตํ แปลว่า ติดอยู่. บทว่า ตตฺถ ความว่า ขนหางติดอยู่ในที่ใด มันก็ยืนยอมตาย

 
  ข้อความที่ 233  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 233

ในที่นั้น. บทว่า น วิโกเปติ ได้แก่ ไม่ตัด. บทว่า วาลธึ ได้แก่ ไม่ตัด ขนหางไป อธิบายว่า ยอมตายในที่นั้นนั่นแหละ.

บทว่า จตูสุ ภูมีสุ สีลานิ ความว่า ศีลทั้งหลายแจกเป็น ๔ ฐานะ คือปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจย- สันนิสสิตศีล. แต่เมื่อว่าโดยภูมิ ศีล ๔ แม้นั้นนั่นแล นับเนื่องในภูมิ ๒ นั่นแล. บทว่า ปริปูรย ได้แก่ จงให้บริบูรณ์ โดยไม่มีขาดเป็นท่อน เป็นช่อง ด่างพร้อยเป็นต้น. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า จมรี วิย ได้แก่ เหมือนเนื้อจามรี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็มีความง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าพุทธการกธรรม มิใช่มีเพียงเท่านี้ ก็เห็นเนกขัมมบารมีเป็นอันดับสาม จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี บุรุษที่อยู่ใน เรือนจำมานาน ย่อมไม่รักเรือนจำนั้น ที่แท้ก็เอือมระอา ไม่อยากอยู่ แม้ ฉันใด แม้ตัวท่านก็จงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ จงเอือมระอาอยากพ้น ไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะอย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ เป็นดังนั้น ท่านก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้. แล้วอธิษฐานเนกขัมมบารมีอันดับ สามไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม โพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี อันดับสาม ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.

 
  ข้อความที่ 234  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 234

ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้ มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ จะบรรลุพระโพธิญาณ.

บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่ เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว ฉันใด.

ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า จิรวุฏฺโ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราคํ ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้ ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช. บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่ เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 235  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 235

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมี ท่านไม่พึงเว้น คนชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูงไรๆ เข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน แล้วถามปัญหา ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายมีตระกูลต่ำเป็นต้นไรๆ เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้เร็วฉันใด แม้ท่านก็จงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่านถามปัญหา ก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น เหมือนกัน แล้วอธิษฐานปัญญาบารมีอันดับสี่ไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม พระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมี อันดับสี่ ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานปัญญาบารมี อันดับสี่นี้ไว้ให้มั่น จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ พระโพธิญาณ.

เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ ตระกูลชั้นกลางและตระกูลชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้ง หลายเลย ดังนั้นจึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป ได้ ฉันใด.

ท่านสอบถามชนผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งปัญญาบารมี แล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 236  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 236

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขนฺโต ได้แก่ ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต. บทว่า หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิเม ความว่า ตระกูลทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง และชั้นกลาง ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น วิวชฺเชนฺโต ได้แก่ ไม่บริหาร อธิบายว่า ภิกษุละลำดับเรือนเที่ยวบิณฑบาต ชื่อว่าเว้นไม่ทำอย่างนั้น. บทว่า ปริปุจฺ- ฉนฺโต ความว่า เข้าไปหาบัณฑิต ผู้มีชื่อเสียงในที่นั้นๆ สอบถามโดยนัย เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี โทษดังนี้. บทว่า พุธํ ชนํ ได้แก่ ชนผู้เป็นบัณฑิต. ปาฐะว่า พุเธ ชเน ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺาย ปารมึ ได้แก่ ฝั่งแห่งปัญญาบารมี. ปาฐะว่า ปญฺาปารมิตํ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี คำที่เหลือในข้อแม้นี้ ก็มีความง่ายเหมือน กันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรมทั้งหลาย มิใช่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นวิริยบารมีอันดับห้า พึงสอนตน เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่วิริยบารมี ราชสีห์ พระยามฤค มีความเพียรมั่นคงในอิริยาบถทั้งหมดแม้ฉันใด แม้ตัว ท่านก็ต้องมีความเพียรมั่นคง มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถทั้งปวง ในภพ ทั้งปวงอยู่ฉันนั้น จึงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ อธิษฐานวิริยบารมีอันดับห้าไว้ อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม โพธิญาณ.

 
  ข้อความที่ 237  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 237

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นวิริยบารมีอันดับ ห้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพกันเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทาน วิริยบารมีอันดับห้านี้ไว้ให้มั่น ก่อน จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ พระโพธิญาณ.

ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยใน อิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจทุกเมื่อ ฉันใด.

ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลีนวิริโย แปลว่า มีความเพียรไม่ย่อ หย่อน. บทว่า สพฺพภเว ได้แก่ ในภพที่เกิดแล้วเกิดอีก. อธิบายว่า ในภพ ทั้งปวง, ปาฐะว่า อารทฺธวิริโย หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มี คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม ทั้งหลาย มิใช่พึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นขันติบารมีอันดับหกจึงสอนตนเอง อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญขันติบารมี ต้อง อดทนทั้งในการยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายย่อมทิ้ง ของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ทำความรัก หรือความขัดเคือง ด้วยเหตุนั้น ย่อมอดทนอดกลั้นได้ทั้งนั้น ฉันใด แม้ตัวท่าน

 
  ข้อความที่ 238  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 238

ก็ต้องอดทนในการยกย่องและดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันจึง จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็อธิษฐานขันติบารมีอันดับหกไว้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม พระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นขันติบารมีอันดับ หก ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานขันติบารมี อันดับหกนี้ไว้ให้มั่น ก่อน ท่านจงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จัก บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่ทำความยินดี ยินร้าย ฉันใด.

แม้ตัวท่าน ก็ต้องอดทนการยกย่องและการดู หมิ่นของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่ง ขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในขันติบารมีนั้น. บทว่า อเทฺวชฺฌมานโส ได้แก่ มีใจส่วนเดียว. บทว่า สุจิมฺปิ ได้แก่ ของสะอาด

 
  ข้อความที่ 239  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 239

มีจันทน์หญ้าฝรั่นของหอมดอกไม้เป็นต้นบ้าง. บทว่า อสุจิมฺปิ ได้แก่ ของ ไม่สะอาดมีซากงู สุนัข คนและมูตร น้ำลาย น้ำมูกเป็นต้นบ้าง บทว่า สหติ ได้แก่ อดกลั้น. บทว่า นิกฺเขปํ ได้แก่ นิกฺขิตฺตํ อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า ปฏิฆํ ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า ตยา คือ เพราะพฤติการณ์นั้น หรือ เพราะเหตุที่ทิ้งของนั้น. ปาฐะว่า ปฏิฆํ ทยํ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า ไม่ทำความยินดียินร้าย เพราะการทั้งของนั้น. บทว่า สมฺมานาวมานกฺขโม ความว่า แม้ตัวท่านก็จงทนการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง. พุทธบริษัท ทั้งหลาย สวดกันว่า ตเถว ตฺวมฺปิ สมฺภเว สมฺมานนวิมานกฺขโม ดังนี้ก็มี ปาฐะว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี ความว่า ถึงโดย บำเพ็ญขันตินั้นให้เป็นบารมี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล. ต่อแต่ นี้ไป จักไม่กล่าวความมีประมาณเท่านี้ กล่าวแต่ที่แปลกกัน แสดงปาฐะอื่น ไป.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม ทั้งหลายมิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นสัจจบารมีอันดับเจ็ด จึงสอนตนเอง อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้แต่สัจจบารมี เมื่อสายฟ้าแม้ตกลงตรงกระหม่อม ท่านก็อย่าพูดเท็จทั้งรู้ โดยอคติมีฉันทาคติ เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นอาทิ ธรรมดาดาวประกายพรึก ถึงละทาง โคจรของตนในฤดูทุกฤดู ก็ไม่โคจรไปทางอื่น โคจรอยู่ในทางของตนเท่านั้น แม้ฉันใด ถึงตัวท่านละสัจจะก็ไม่พูดเท็จฉันนั้นเหมือนกัน ก็จักเป็นพระพุทธ- เจ้าได้ แล้วอธิษฐานสัจจบารมีอันดับเจ็ดไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา ไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรม บ่มพระโพธิญาณ.

 
  ข้อความที่ 240  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 240

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจจบารมีอันดับ เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่อง เสพกันเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานสัจจบารมีอันดับเจ็ดนี้ไว้มั่นก่อน ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ พระสัมโพธิญาณ.

ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของ โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อน ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย แม้ฉันใด.

ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้ง หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งสัจจบารมีแล้วก็จัก บรรลุพระสัมโพธิญาณ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสัจจบารมี. บทว่า อเทฺวชฺฌวจโน แปลว่า มีวาจาไม่เท็จ. บทว่า โอสธี นาม แปลว่า ดาวประกายพรึก. ในการถือเอายา ชนทั้งหลายแลเห็นดาวประกายพรึกขึ้นจึงถือเอายา เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าดาวประกายพรึก. บทว่า ตุลาภูตา ได้แก่ เป็น เครื่องวัด. บทว่า สเทวเก แปลว่า ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สมเย ได้แก่ ในฤดูฝน. บทว่า อุตุวสฺเส ได้แก่ ในฤดูหนาวฤดูร้อน. ปาฐะว่า สมเย อุตุวฏฺเฏ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความว่า บทว่า สมเย ได้แก่ ฤดูร้อน. บทว่า อุตุวฏฺเฏ ได้แก่ฤดูหนาวและฤดูฝน. ได้แก่ ฤดูหนาวและฤดูฝน. บทว่า น โอกฺกมติ วีถิโต ดาวประกายพรึก ย่อมไม่โคจรออกจากวีถี คือ ไม่

 
  ข้อความที่ 241  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 241

โคจรไปนอกวิถีโคจรของตนในฤดูนั้นๆ คือ โคจรไปทิศปัจฉิม ๖ เดือน โคจรไปทิศบูรพา ๖ เดือน. อีกนัยหนึ่ง ยา มีขิง ดีปลี พริกเป็นต้น ชื่อว่า โอสธี. บทว่า น โวกฺกมติ ความว่า ยาขนานใดๆ สามารถให้ผล ยา ขนานนั้นๆ ให้ผลแล้ว ไม่ให้ผลของตัวเองก็ไม่สูญหายไป. บทว่า วีถิโต ได้แก่ จากทางไป. อธิบายว่า ยาแก้ดีก็รักษาดี แก้ลมก็รักษาลม แก้เสมหะ ก็รักษาเสมหะ. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรมทั้งหลาย มีเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ ก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด จึง สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่ อธิษฐานบารมี ตั้งอธิษฐานใดไว้ ก็เป็นผู้ไม่คลอนแคลนในอธิษฐานนั้น ชื่อว่าภูเขา เมื่อลมพัดมากระทบทุกทิศก็ไม่หวั่นไม่ไหว นิ่งอยู่ในที่ของตน เท่านั้น ฉันใด ถึงตัวท่านเมื่อไม่คลอนแคลนในอธิษฐานของตน ก็จักเป็น พระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อธิษฐาน อธิษฐานบารมีอันดับแปดไว้มั่น และด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้นก็ หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วย อบรมบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมี อันดับแปด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่องเสพกันเป็นประจำ.

 
  ข้อความที่ 242  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 242

ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้ มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น แล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.

ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่ ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด.

ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐานบารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสโล ได้แก่ ที่สำเร็จด้วยหิน. บทว่า อจโล ได้แก่ ไม่คลอนแคลน. บทว่า สุปฺปติฏฺิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี เพราะไม่คลอนแคลนนั่นแล. ปาฐะว่า ยถาปิ ปพฺพโต อจโล นิขาโต สุปฺปติฏฺิโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ภุสวาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมมีกำลัง. บทว่า สกฏฺาเนว ได้แก่ ในฐานของตนนั่นแหละ อธิบายว่า ในฐานตามที่ตั้งอยู่ นั่นแล คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าอันพุทธการกธรรมทั้งหลาย จะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็หาไม่ เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า แล้ว ก็สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้อง บำเพ็ญเมตตาบารมี ท่านพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในผู้มีประโยชน์ เกื้อกูล ทั้งในผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล เปรียบเหมือนน้ำย่อมเอิบอาบ ทำความเย็นเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งบาปชน ทั้งกัลยาณชน แม้ฉันใด ถึงตัวท่าน มีจิตเป็นอย่างเดียวกันด้วยเมตตาจิต ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จัก

 
  ข้อความที่ 243  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 243

เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน อธิษฐานเมตตาบารมีอันดับเก้าไว้นั่นแล ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วย อบรมบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นเมตตาบารมีอัน ดับเก้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยังใหญ่ทั้งหลาย พระองค์ ก่อนๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานเมตตาบารมี อันดับเก้านี้ไว้มั่น ก่อน จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้อง การบรรลุพระโพธิญาณ.

ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้งใน คนดีและคนชั่ว ย่อมพัดพาซึ่งมลทินคือ ธุลีไป แม้ ฉันใด.

ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ ในคนที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และชนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลฉันนั้น เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุ พระสัมโพธิญาณได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสโม โหหิ ได้แก่ จงเป็นผู้ไม่มีผู้ เสมือนด้วยเมตตาภาวนา. ในคำนั้น ปาฐะว่า ตฺวํ สมสโม โหหิ ดังนี้ก็มี.

 
  ข้อความที่ 244  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 244

ปาฐะนั้น มีความง่ายแล. บทว่า สมํ ได้แก่ ชั่งได้. บทว่า ผรติ ได้แก่ ถูก ต้อง. บทว่า ปวาเหติ ได้แก่ ชำระ. บทว่า รโช ได้แก่ ธุลีที่จรมา. บทว่า มลํ ได้แก่ มลทินมีมลทินคือเหงื่อเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นที่สรีระ ปาฐะว่า รชมลํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า หิตาหิเต ได้แก่ ผู้มีประโยชน์ และผู้ไม่มีประโยชน์ อธิบายว่ามิตรและอมิตร. บทว่า เมตฺตาย ภาวย ได้ แก่จงเจริญเพิ่มพูนเมตตา คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม ทั้งหลายจะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้นหามิได้ เห็นอุเบกขาบารมีอับดับสิบ จึงสอนตน เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึง วางตัวเป็นกลาง ทั้งในสุข ทั้งในทุกข์ ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมเป็นกลางในผู้ใส่ ของสะอาดบ้างแม้ฉันใด ถึงตัวท่าน เมื่อวางตัวเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ก็อธิษฐานอุเบกขาบารมีอันดับสิบไว้มั่นด้วย เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบ รมบ่มพระโพธิญาณ.

ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นอุเบกขาบารมี ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ ซ่อง เสพกันมาเป็นประจำ.

ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้ มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.

 
  ข้อความที่ 245  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 245

ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งของที่เขาทิ้ง ลง ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่างเว้นความ ยินดียินร้าย แม้ฉันใด.

ท่านจงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อฉันนั้น เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จัก บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลาภูโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง คันตาชั่งที่เขาชั่งเท่ากัน ก็ตั้งอยู่เท่ากันไม่หกลง ไม่กระดกขึ้น ฉันใด แม้ ตัวท่านก็ต้องเป็นเสมือนตาชั่งในสุขและทุกข์ทั้งหลาย จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า โกปานุนยวชฺชิตา ได้แก่ เว้นความ ยินดียินร้าย. ปาฐะว่า ทยาโกปวิวชฺชิตา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือน กัน คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในขันติบารมีนั่นแล.

แต่นั้น สุเมธบัณฑิต ครั้นเลือกเฟ้นบารมีธรรม ๑๐ นี้แล้ว ต่อจาก นั้น ก็คิดว่า ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้าอันช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงบำเพ็ญในโลกนี้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ไม่มียิ่งไปกว่า แต่ว่าบารมีเหล่านี้ ไม่มีอยู่แม้ในอากาศเบื้องบน ไม่มีอยู่แม้ในทิศทั้งหลาย มีทิศบูรพาเป็นต้น แต่ว่าตั้งอยู่ในระหว่างเนื้อหัวใจของเราเท่านั้น เห็นว่า บารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหัวใจตนอย่างนี้แล้ว ก็อธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมดไว้มั่น เมื่อพิจารณาบ่อยๆ ก็พิจารณาทั้งอนุโลม ทั้งปฏิโลม จับปลายเอามา ชนต้น จับต้นเอามาชนปลาย จับกลางเอามาชนทั้งสองข้าง จับปลายทั้งสองข้าง เอามาชนกลาง บริจาคสิ่งของภายนอกชื่อ บารมี บริจาคอวัยวะ ชื่อ อุปบารมี

 
  ข้อความที่ 246  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 246

บริจาคชีวิต ชื่อปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ- บารมี ๑๐ รวมบารมี ๓๐ ทัศ พิจารณาเหมือนหมุนกลับน้ำมันในยนตร์ เมื่อ สุเมธบัณฑิตนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีอันกว้าง หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ส่งเสียงร้องก้องกัมปนาทสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ประหนึ่งกำอ้อที่ถูกช้างเหยียบ และประหนึ่งเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่บีบคั้น ปั่นหมุนประหนึ่งล้อแป้นทำภาชนะดินและล้อยนตร์บีบคั้นน้ำมันฉะนั้น ด้วย เหตุนั้น จึงตรัสว่า

ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ ในโลกมี เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้นไม่มี ท่านจง ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.

เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านี้ โดยลักษณะ แห่งกิจคือสภาวะ หมื่นแผ่นพสุธาก็หวาดไหวเพราะ เดชแห่งธรรม.

ปฐพีไหวส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อยบีบ อ้อย แผ่นดินก็ไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์บีบน้ำมันงา ฉะนั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺตกาเยว ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า บารมี ๑๐ ที่ยกแสดงไม่ขาดไม่เกิน. บทว่า ตตฺทฺธํ ความว่า ที่สูงไปกว่า บารมี ๑๐ นั้นไม่มี. บทว่า อญฺตฺร แปลว่าอื่น ลักษณะศัพท์พึงถือตาม คัมภีร์ศัพท์ศาสตร์ ความว่า พุทธการกธรรมอื่นจากบารมี ๑๐ นั้น ไม่มี. บทว่า ตตฺถ ได้แก่บารมี ๑๐ เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺห แปลว่า จงตั้งอยู่ ความว่า จงทำให้บริบูรณ์ตั้งอยู่.

 
  ข้อความที่ 247  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 247

บทว่า อิเม ธมฺเม ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า สมฺมสโต ได้แก่ ทรงสอบสวน พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถอนาทระ. บทว่า สภาวสรสาลฺกขเณ ความว่า ทรงพิจารณาโดยลักษณะที่มีกิจคือหน้าที่กล่าวคือสภาวะความ จริง. บทว่า ธมฺมเตเชน ได้แก่ ด้วยเดชคืออำนาจแห่งการรู้จักเลือกเฟ้น บารมี. รัตนะเรียกว่า วสุ ในบทว่า วสุธา. ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งรัตนะนั้น หรือรัตนะทรงอยู่ในธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วสุธา ทรง ไว้ซึ่งรัตนะหรือเป็นที่ทรงรัตนะ. ธรรมชาตินั้นคืออะไร คือเมทนีแผ่นดิน. บทว่า ปกมฺปถ แปลว่าไหวแล้ว อธิบายว่าก็เมื่อสุเมธบัณฑิตกำลังเลือกเฟ้น บารมีทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งญาณของสุเมธบัณฑิตนั้น หมื่นแผ่นปฐพีก็กัมป- นาท.

บทว่า จลติ ได้แก่ ไหว มี ๖ ประการ. บทว่า รวติ ได้แก่ บันลือ ส่งเสียงร้อง. บทว่า อุจฺฉุยนฺตํว ปิฬิตํ แปลว่า เหมือนยนตร์หีบอ้อย บีบอ้อย. ปาฐะว่า คุฬยนฺตํว ปีฬิตํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เตลยนฺเต แปลว่าในยนตร์ที่คั้นน้ำมัน. บทว่า ยถา จกฺกํ ได้แก่ เหมือนยนตร์ที่มีล้อใหญ่ของผู้ใช้ยานมีล้อ [ล้อรถ-เกวียน]. บทว่า เอวํ ความว่า ยนตร์ที่ใช้ลูกกลมคั้นน้ำมัน ย่อมหมุน ย่อมสั่น ฉันใด เมทนีคือแผ่น ดินนี้ก็สั่น ฉันนั้น. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่อย่างนี้ มนุษย์ชาวรัมมนครที่เข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า ไม่อาจยืนอยู่ได้ ก็ล้มสลบเหมือนต้นสาละใหญ่ ถูกยุคันธวาตะ พัดกระหน่ำ ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น ก็หมุนกระทบกันและกันแหลกเป็นจุรณ ไป. มหาชนหวาดกลัว ก็เข้าไปหาพระศาสดา ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่รู้เหตุนี้ว่า นี้เป็นอาการหมุนตัวของนาค หรือของ

 
  ข้อความที่ 248  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 248

ภูต ยักษ์ เทวดาพวกหนึ่งหรือพระเจ้าข้า อนึ่งเล่ามหาชนนี้ทั้งหมดถูกภัยรบกวน จักเป็นความชั่วของโลกนี้ หรือเป็นความดีพระเจ้าข้า ขอโปรดตรัสบอกเหตุนี้ ด้วยเถิด.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงสดับคำของชนเหล่านั้น แล้วตรัสว่า พวก ท่านอย่ากลัวกันเลย อย่าคิดอะไรเลย ไม่มีภัยที่เกิดจากเหตุการณ์นี้แก่พวก ท่านดอก. ผู้ใดเราพยากรณ์ว่า วันนี้ สุเมธบัณฑิตจักเป็นพระพุทธเจ้านาม ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล ผู้นั้นกำลังพิจารณาบารมีทั้งหลายในบัดนี้ ด้วย เดชแห่งธรรมของท่านผู้กำลังพิจารณานั้น ทั่วหมื่นโลกธาตุจึงไหวและส่งเสียง ร้องพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ตัวสั่นงันงกอยู่ ในที่นั้น พากันนอนสลบอยู่เหนือพื้นดิน.

หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน กระทบกัน และกัน แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.

มหาชนทั้งหลาย หวาดสะดุ้งกลัวหมุนวนมีใจ ถูกบีบ พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ เหตุดีเหตุชั่วจักมีแก่ โลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลกหรือ ขอพระองค์โปรดทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.

ครั้งนั้นพระมหามุนีทีปังกร ทรงยังมหาชนเหล่า นั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า พวกท่านจงวางใจ อย่ากลัว ในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.

 
  ข้อความที่ 249  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 249

วันนี้ เราพยากรณ์ผู้ใดว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อนๆ ที่พระชินเจ้าทรงเสพ แล้ว.

เมื่อท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมคือพุทธภูมิไม่ เหลือเลย ด้วยเหตุนั้น หมื่นแผ่นปฐพีนี้ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลกจึงไหว.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า อาสิ แปลว่า ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ยา ตทา ปริสา อาสิ ดังนี้ก็มี ปาฐะ นั้นมีความว่า บริษัทใดตั้งอยู่ในที่นั้น. บทว่า ปเวธมานา แปลว่า ไหว อยู่. บทว่า สา ได้แก่ บริษัทนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เข้าเฝ้านั้น. บทว่า เสติ แปลว่า นอนแล้ว.

บทว่า ฆฏา แปลว่า แห่งหม้อทั้งหลาย คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงใน อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า หลายพันแห่งหม้อทั้งหลาย. บทว่า สญฺจุณฺณมถิตา แปลว่า เป็นจุรณด้วย แหลกด้วย ความว่า แหลกเป็นจุรณ. บทว่า อญฺญมญฺํ ปฆฏฺฏิตา แปลว่า กระทบซึ่งกันและกัน. บทว่า อุพฺพิคฺคา ได้แก่ มีใจหวาด. บทว่า ตสิตา ได้แก่ เกิดสะดุ้ง. บทว่า ภีตา ได้แก่ กลัว ภัย. บทว่า ภนฺตา ได้แก่ มีใจแปรปรวน อธิบายว่า มีใจหมุนไปผิดแล้ว คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ มา ประชุมกัน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุปทฺทุโต ได้แก่ ถูกย่ำยี. บทว่า ตํ วิโนเทหิ ได้แก่ จง บรรเทา อธิบายว่า จงกำจัดภัยที่คุกคามนั้น. บทว่า จกฺขุม ได้แก่ ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 250  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 250

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ด้วยจักษุ ๕. บทว่า เตสํ ตทา ได้แก่ ครั้งนั้น ยัง ชนเหล่านั้น คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า สญฺาเปสิ ได้แก่ ให้รู้ให้ตื่น. บทว่า วิสฺสตฺถา ได้แก่ มีจิตสนิทสนม. บทว่า มา ภาถ แปลว่า อย่ากลัว. บทว่า ยมหํ ตัดบทเป็น ยํ อหํ หมายถึงสุเมธบัณฑิต. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า ปุพฺพกํ ได้แก่ ของเก่า. บทว่า ชินเสวตํ ความว่า อันพระชินเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์. บทว่า พุทฺธภูมึ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุที่พิจารณา นั้น. บทว่า กมฺปิตา ได้แก่ ไหวแล้ว. บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก.

ต่อนั้น มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้วก็ร่าเริงยินดี พากัน ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ไหว้แล้ว ทำประทักษิณแล้ว กลับเข้าไปยังรัมมนคร ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาบารมี ๑๐ กระทำ อธิษฐานวิริยะให้มั่น แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็สงบ เย็นในทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้ เราอีก.

ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณ ทำใจไว้มั่น น้อม นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าแล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน นิพฺพายิ ความว่า ใจของมหาชน ผู้มีใจหวาด เพราะแผ่นดินไหว ก็สงบเย็น อธิบายว่า ถึงความสงบ เพราะฟัง

 
  ข้อความที่ 251  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 251

เหตุที่แผ่นดินไหวนั้น. ปาฐะว่า ชโน นิพฺพายิ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น ง่าย เหมือนกัน. บทว่า สมาทิยิตฺวา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ อธิบายว่า สมาทาน. บทว่า พุทฺธคุณํ ได้แก่ บารมีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เอ็นดูสรรพสัตว์กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ เทวดาสิ้นทั้งหมื่นจักรวาล ก็ประชุมกันบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น อันเป็นทิพย์ ก็เปล่งสดุดีมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ ท่านปรารถนาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ แทบบาทมูลของพระทีปังกรทศพล ขอ ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่านโดยไม่มีอันตรายเถิด ภัยหรือความหวาดกลัวใน ความปรารถนานั้นอย่าได้มีแก่ท่านเลย โรคแม้จำนวนเล็กน้อย ก็จงอย่าเกิดใน สรีระของท่าน ท่านจงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิ- ญาณโดยเร็ว ต้นไม้ดอกต้นไม้ผลย่อมออกดอก ออกผลตามฤดูกาล ฉันใด แม้ตัวท่านก็อย่าล่วงเลยฤดูสมัยนั้นเสีย จงสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลันเทอญ. ครั้นเปล่งสดุดีอย่างนี้แล้ว ก็พากันกราบไหว้แล้วกลับไปยังเทวสถานของตนๆ ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันเทวดาทั้งหลายสดุดีแล้ว ดำริว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสี่อสงไขย กำไรแสนกัป แล้วอธิษฐานความ เพียรไว้มั่นคง โลดขึ้นสู่อากาศ ไปยังหิมวันตประเทศที่มีคณะฤษี. ด้วยเหตุ นั้น จึงตรัสว่า

เทวดาถือดอกไม้ทิพย์ มนุษย์ถือดอกไม้มนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งสองโปรยดอกไม้ทั้งหลาย แก่เรา ผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.

 
  ข้อความที่ 252  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 252

ก็เทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น พากันแซ่ซ้อง สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ท่านจงได้ ความปรารถนานั้น สมปรารถนาเถิด.

ขอเสนียดจัญไร จงปราศไป ความโศก โรค จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน จงสัมผัสพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยเร็วเถิด.

ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบานเมื่อถึงฤดูกาล ฉัน ใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบานด้วยพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ท่านก็จงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ- สถาน ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ ที่โพธิมัณฑสถานของพระชินเจ้าฉันนั้นเถิด.

พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจง ประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.

ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญเต็มดวง รุ่งโรจน์ ฉันใด ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ ฉันนั้นเถิด.

 
  ข้อความที่ 253  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 253

ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้น เหมือนกันเถิด.

แม่น้ำทุกสาย ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอจงชุมนุมยังสำนักของท่าน ฉันนั้นเถิด.

ครั้งนั้น เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น สดุดีสรรเสริญแล้ว ก็สมาทานบารมีธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะยังธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปในป่าใหญ่.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ ความว่า เทวดาทั้งหลายถือดอกไม้ ทิพย์มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ ดอกไม้กัลปพฤกษ์ ดอกบัว เป็นต้น มนุษย์ทั้งหลายก็ถือดอกไม้มนุษย์. บทว่า สโมกิรนฺติ ความว่า โปรยปราย ลงบนตัวเรา. บทว่า วุฏฺหนฺตสฺส ได้แก่ กำลังลุกขึ้น. บทว่า เวทยนฺติ ได้แก่ ให้ทรงรู้แล้ว ให้ทรงเข้าใจแล้ว. บทว่า โสตฺถี แปลว่า ความสวัสดี บัดนี้ เพื่อแสดงอาการที่ให้ทรงรู้ จึงกล่าวว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ เป็นต้น อธิบายว่า ข้าแต่ท่านสุเมธบัณฑิต ท่านปรารถนาตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ ท่านจงได้ตำแหน่งนั้น สมปรารถนาเถิด.

บทว่า สพฺพีติโย ความว่า ชื่อ อีติ เพราะเป็นที่มาของอันตราย, อันตรายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพีติยะ ได้แก่ อุปัทวะ. บทว่า วิวชฺชนฺตุ ได้แก่ อย่ามีเลย. บทว่า โสโก โรโค วินสฺสตุ ความว่า โศก กล่าวคือความเศร้า และโรคกล่าวคือความเสียดแทง จงพินาศไป. บทว่า เต ได้แก่ ตว แก่ท่าน. บทว่า มา ภวนฺตฺวนฺตรายา ได้แก่

 
  ข้อความที่ 254  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 254

อันตรายทั้งหลายจงอย่ามี. บทว่า ผุส ได้แก่ จงถึง จงบรรลุ. บทว่า โพธึ ได้แก่ พระอรหัตตมรรคญาณ ถึงพระสัพพัญญุตญาณก็ควร. บทว่า อุตฺตมํ ได้แก่ ประเสริฐสุด พระอรหัตตมรรคญาณ ท่านกล่าวสูงสุด เพราะให้พระพุทธ.- คุณทั้งปวง.

บทว่า สมเย ความว่า เมื่อถึงสมัยออกดอกบานของต้นไม้นั้นๆ. บทว่า ปุปฺผิโน ได้แก่ ต้นไม้ดอก. บทว่า พุทฺธญาเณหิ ได้แก่ ด้วยพุทธ- ญาณ ๑๘. บทว่า ปุปฺผสุ ได้แก่ จงออกดอก. บทว่า ปูรยุํ ได้แก่ บำเพ็ญแล้ว. บทว่า พุชฺฌเร ได้แก่ ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ชินโพธิยํ ได้แก่ ในความตรัสรู้ของพระชินเจ้าคือของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า ที่โคนต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ปุณฺณมาเย ได้แก่ ในราตรีเพ็ญ. บทว่า ปุณฺณมโน ได้แก่ มีมโนรถเต็มแล้ว.

บทว่า ราหุมุตฺโต ได้แก่ พันจากราหู คือโสพภานุ. บทว่า ตาเปน ได้แก่ ด้วยแสงร้อนแรง แสงสว่าง. บทว่า โลกา มุจฺจิตฺวา ความว่า เป็น ผู้อันโลกธรรมฉาบทาไม่ได้แล้ว. บทว่า วิโรจ ได้แก่ จงรุ่งเรือง. บทว่า สิริยา ได้แก่ ด้วยพุทธสิริ. บทว่า โอสรนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปสู่มหาสมุทร. บทว่า โอสรนฺตุ ได้แก่ จงเข้าไป. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า สู่สำนักของท่าน. บทว่า เตหิ ได้แก่ อันเทวดาทั้งหลาย. บทว่า ถุตปฺปสฺตฺโถ ได้แก่ ชมแล้วและสรรเสริญแล้ว หรืออันพระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นต้นที่เทวดามนุษย์ชมแล้ว ทรงสรรเสริญแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันพระพุทธเจ้าที่เทวดามนุษย์ชมแล้วทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า ทส ธมฺเม ได้แก่ บารมีธรรม ๑๐. บทว่า ปวนํ แปลว่า ป่าใหญ่ อธิบายว่า เข้าไปป่าใหญ่ใกล้ ธัมมิกบรรพต. คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาเรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ

แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อ มธุรัตถวิลาสินี