คุณของการฉันอาหารน้อย [กีฏาคิริสูตร]

 
webdh
วันที่  19 เม.ย. 2550
หมายเลข  3477
อ่าน  1,353

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

๑๐. กีฏาคิริสูตร

คุณของการฉันอาหารน้อย

[๒๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในกาสีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และเมื่อเราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงมาฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียเถิด ก็เมื่อเธอทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสีย จักรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 19 เม.ย. 2550

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
supakorn
วันที่ 19 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 เม.ย. 2550

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 44

ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณา โดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ ด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-

ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้ง ไม่ควรให้อิ่มเกินไป เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จักประมาณในอาหาร มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่ ๔-๕ คำ ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำแทน เป็นการเพียงพอ เพื่อจะอยู่อย่างผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น. เวทนาของภิกษุนั้น ผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา ผู้ได้โภชนะแล้ว รู้จักประมาณ ย่อมเป็นเวทนาที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไปเลี้ยงอายุ.

มีความเป็นผู้ไม่ติดก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า :-

บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหารเพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไป เหมือนบริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร เหมือนใช้น้ำมันหยอดเพลารถ ฉะนั้น.

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 40

๕. สุกชาดก โทษของการไม่รู้ประมาณ

[๓๖๔] ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณในการ บริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุ และได้เลี้ยง มารดาบิดาอยู่เพียงนั้น.

[๓๖๕] อนึ่ง ในกาลใด ลูกนกแขกเต้านั้น กลืนกินโภชนะมากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้ ชื่อว่า ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค จึงได้ จมลงในมหาสมุทรนั้นเทียว

[๓๖๖] เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ความไม่หลงติดอยู่ในโภชนะ เป็นความดี ด้วยว่าบุคคลไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมาณแล ย่อมไม่จมลงในอบาย ๔

จบ สุกชาดกที่ ๕

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 21 เม.ย. 2550

คนที่ทานอาหารน้อย ทำให้ร่างกายแข็งแรง อายุยืน เวลาอ่านธรรมหรือฟังธรรม ก็ไม่ง่วงนอน และเป็นการขัดเกลาในเรื่องของการติดในรสด้วย ทำให้เราไม่ต้องแสวงหาอาหารมากนัก มีเวลาอ่านธรรมและฟังธรรมมากขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 มิ.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ