ความเป็นผู้อ่อนน้อม ที่เหมาะสมและถูกต้อง ควรเป็นอย่างไร

 
oom
วันที่  19 เม.ย. 2550
หมายเลข  3492
อ่าน  6,635

การที่เรามีเจ้านายที่วัยวุฒิน้อยกว่าเรา แล้วเราให้ความเคารพตามฐานะของผู้บังคับบัญชา เพราะมีคุณวุฒิสูงกว่า ถูกต้องหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 20 เม.ย. 2550

ตามหลักพระธรรมคำสอน พระพุทธองค์ทรงแสดงวุฒิ คือ ความเจริญ ๓ อย่าง คือชาติวุฒิ ๑ วัยวุฒิ ๑ คุณวุฒิ ๑ ผู้ที่มีชาติวรรณะที่สูงกว่า เราเคารพในการเกิดที่สูงด้วยกุศลกรรม แม้เขาจะมีอายุน้อยกว่า ผู้ที่เกิดก่อนเป็นที่เคารพของผู้ที่เกิดภายหลังเพราะเขามาสู่โลกนี้ก่อน มีความรู้ มีประสบการณ์ที่มากกว่า ควรเคารพในวัยที่สูงกว่า ส่วนผู้มีคุณธรรม เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา ที่สูงกว่า มีบรรพชิต เป็นต้น ควรเคารพในคุณ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 เม.ย. 2550

ความอ่อนน้อมถ่อมตน มิได้เลือกเพศและวัย แต่ในเมื่อเป็นสิ่งที่ดี เป็นการขัดเกลากิเลส โดยเฉพาะ มานะ ความถือตัว จึงควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้อ่อนน้อม ดุจดังเช่นพระสารีบุตร เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา แต่ท่านก็มีความรู้สึกกับตัวท่านเหมือนโคเขาขาด ไม่มีพิษมีภัยกับใคร และเปรียบเหมือนเด็กจัณฑาลที่เข้าสภา ย่อมมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น สิ่งที่ดีและเป็นกุศล จึงไม่เลือกเพศ วัย เพียงแต่ว่าสิ่งนั้นเป็นกุศล จึงควรเจริญครับ แม้ความอ่อนน้อม ถ่อมตน ซึ่งเป็นบุญกิริยาวัตถุ ข้อหนึ่งในสิบประการ

เรื่อง ความอ่อนน้อม ถ่อมตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 178

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา มงคลสูตร
ความเป็นผู้อ่อนน้อม คือความเป็นผู้มีความประพฤติถ่อมตน ชื่อว่านิวาตะ ความประพฤติถ่อมตน. บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ประพฤติถ่อมตนใด ถูกนำมานะออกแล้ว ถูกนำความกระด้างออกแล้ว เป็นผู้เสมอด้วยผ้าเช็ดเท้า เป็นผู้เสมอด้วยโคเขาขาด และเป็นผู้เสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวานไพเราะและเสนาะโสต นี้ชื่อว่า นิวาตะ. นิวาตะนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้คุณมียศเป็นต้น ก็ท่านได้กล่าวไว้ว่า บุคคลที่มีความประพฤติถ่อมตนเช่นนั้นเป็นผู้ไม่กระด้างแล้ว ย่อมได้ยศ ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 463

"ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์."
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 21 เม.ย. 2550

อ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรอ่อนน้อม ด้วยสภาพจิตที่เป็นกุศลจริงๆ ไม่ใช่ว่าอ่อนน้อมกับคนทั่วไปสะเปะสะปะไปหมด เพราะคิดว่านั่นเป็นการเจริญกุศล เรื่องของธรรมเป็นเรื่องของความเข้าใจ ไม่ใช่กระทำตาม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 เม.ย. 2550

ขออนุญาตพาดพิงบุคคลที่ ๓ ที่มูลนิธิฯ มีคุณลุงคนหนึ่ง ทุกคนจะเรียกว่า ลุงซัน ลุงซัน อายุเกือบ ๘๐ ปี ได้มั้ง ลุงซันศึกษาธัมมะกับท่าน อ.สุจินต์ รุ่นแรกๆ เป็นคนที่อ่อนน้อมมาก ผมจำได้ เมื่อหลายปีก่อน คุณลุงไหว้ก่อนเสมอ ทั้งๆ ที่ผมอายุน้อยกว่ามากๆ จนถึงบัดนี้หลายปีผ่านมา คุณลุงก็ยังไหว้ผมก่อนในบางครั้ง เพราะบางครั้งผมก็ไหว้ก่อน ทำให้ผมรู้สึกประทับใจในตัวคุณลุงซันมาก ในเรื่องความไม่ถือตัว และความเป็นผู้มีความอ่อนน้อม แม้ผมจะอายุน้อยกว่ามากๆ ก็ตาม และเป็นตัวอย่างที่ดีว่า เราควรขัดเกลามานะ (เพราะตัวเองก็มีมานะมาก) แม้ไม่สามารถดับเป็นสมุจเฉท แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ รวมทั้งอีกท่าน คือ คุณลุงสุกล กัลยาณมิตร เป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมมากจริงๆ ผมขอกราบคุณลุงซันและคุณลุงสุกล มา ณ ที่นี้ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้หลานๆ ได้คิด และได้ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีดีครับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

ข้อความบางตอนจาก ทุพพัณณิยสูตร

[๙๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธเป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วทรงห่มผ้าเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงคุกพระชานุมณฑลเบื้องขวาลง ณ พื้นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ แล้วประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใดๆ ยักษ์ตนนั้นยิ่งมีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิมแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 22 เม.ย. 2550

กรุณาอ่านดูอีกครั้ง ว่าท้าวสักกะท่านมีนอบน้อมต่อยักษ์ตนนั้นจริงๆ หรือท่านทำไปเพื่อจุดประสงค์อื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

. ทุพพัณณิยสูตร ... ว่าด้วยความโกรธทําให้ผิวพรรณทราม

ความประพฤติอ่อนน้อมเป็นความดี แต่ผู้นั้นจะต้องมีความเข้าใจ จิตจึงจะผ่องใสเป็นกุศล ศาสนาพุทธเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ว่าบอกให้กระทำตามๆ กันไปด้วยความไม่รู้ นั่นไม่ใช่ปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 เม.ย. 2550

อนุโมทนา คุณแวะเข้ามา ที่มีกุศลจิต ในการเข้าเว็ปนะครับและการสนทนาธรรม ขอให้มั่นคงในกุศลทุกประการครับ ทั้งกุศลญาณสัมปยุทธิ์ (ประกอบด้วยปัญญา) และกุศลญาณวิปยุทธิ์ (ไม่ประกอบด้วยปัญญา) ไม่ประมาทแม้กุศลมีประมาณน้อยครับ ควรเจริญทุกประการ ขอแนะนำให้ฟังเรื่อง บารมีในชีวิตประจำวัน ฟังดีมากครับ ฟังบ่อยๆ ช่วยทำให้กุศลประการต่างๆ เกิดได้บ่อยทั้ง ขันติ เมตตา เป็นต้น รวมทั้งกุศล สุจริต ๓ ก็เป็นอาหารของสติปัฏฐานด้วยครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 125 ข้อความบางตอนจาก มงคลสูตร

การเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑
ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑
ฟังธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล

.ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 23 เม.ย. 2550

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาในกัลยาณธรรมของท่านเช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 23 เม.ย. 2550

ความอ่อนน้อมเป็นสิ่งที่ดี ยิ่งอ่อนน้อมเท่าไหร่ ตัวตนหรือมานะ ความสำคัญตนก็ยิ่งลดลงไปด้วย ถ้าคนที่ศึกษาธรรมเข้าไปถึงใจ ก็ยิ่งมีความอ่อนน้อมมากเท่านั้น ขอยกตัวอย่างท้าวสักกะจอมเทพจากพระไตรปิกฏค่ะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

๑. ปฐมเทวสูตร ว่าด้วยวัตรบท ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Naa
วันที่ 5 มิ.ย. 2550

เท่าที่สังเกต ผู้มีปัญญามีลักษณะพิเศษคือ ใบหน้าแจ่มใส เป็นมิตร ไม่พูดมาก ถ้าพูดก็พูดสาระ แต่ต้องดูนานๆ (ระยะทางพิสูจน์ม้ากาลเวลาพิสูจน์คน)

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
orawan.c
วันที่ 8 มิ.ย. 2550

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 11 มิ.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ