ผู้หญิงสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้หรือไม่

 
oom
วันที่  20 เม.ย. 2550
หมายเลข  3504
อ่าน  10,887

ปัจจุบันเห็นมีแต่พระภิกษุ แต่ไม่เห็นภิกษุณี ผู้หญิงไม่สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ใช่หรือไม่ เพราะเห็นมีแต่แม่ชีเท่านั้น


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 เม.ย. 2550

ผู้หญิงยุคปัจจุบันไม่สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ เพราะรักษาครุธรรมได้ยากมาก ภิกษุณีก็เลยหมดไปก่อน เช่น ภิกษุณีบวชมาร้อยปี ก็ต้องทำความเคารพภิกษุที่บวชวันแรก และจะว่ากล่าวสอนภิกษุไม่ได้ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คนรักหนัง
วันที่ 21 เม.ย. 2550

ผู้ที่ไม่เข้าใจอาจคิดว่า ทำไมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ให้ความสำคัญกับเพศหญิงเท่าเทียมกับเพศชาย เพราะสมัยนี้ผู้ชายทำอาชีพอะไร ผู้หญิงก็ทำได้ ประธานาธิบดี นักบินอวกาศ สายลับ จารชน ... ฯลฯ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ โดยเฉพาะเรื่องการบวช ความเป็นอยู่ของผู้หญิงในเพศบรรพชิต เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ฯลฯ จะอยู่เพียงรูปเดียวโดยปราศจากภิกษุก็ไม่ได้ ครั้นจะอยู่เพียงลำพังสองต่อสอง กับภิกษุก็ไม่ได้อีก แล้วจะยังไงกันละครับทีนี้ เพราะชายและหญิง เป็นปฏิปักษ์ต่อกันในเรื่องการประพฤติพรหมจรรย์ พิจารณาดูด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็คงจะทราบแล้วว่า ถ้าพระผู้มีพระภาค ไม่บัญญัติครุธรรม ๘ ประการให้ภิกษุณี ทำไมศาสนาพุทธจึงอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี คลิกดูรายละเอียดเรื่อง ครุธรรม ๘ ประการ ตามความคิดเห็นที่ 1 ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 เม.ย. 2550

ภิกษุณีจะหมดหรือไม่หมดอย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ความเข้าใจพระธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ชายหรือหญิง เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมแล้วก็สามารถตรัสรู้ธรรมได้ครับ ดังนั้น สิ่งที่เราควรสนใจ คือความเข้าใจสภาพธรรมะที่มีในขณะนี้ ย่อมจะเกิดประโยชน์มากกว่าที่จะกล่าวว่า ปัจจุบันมีภิกษุณีไหม ทำไมไม่มี ประเทศอื่นเขามีกัน แต่ขณะที่คิดอย่างนั้น ก็ล่วงเลย การรู้ลักษณะของสภาพธรรมะที่มีในขณะนี้ไปแล้วครับ ดังนั้น เรื่องใดเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส พวกเธอควรรู้ แต่เรื่องใดไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส และที่สำคัญนำมาซึ่ง อกุศลหรือการทะเลาะ เรื่องนั้นไม่ควรเลยครับ ขอยกข้อความในพระไตรปิฎก ลองอ่านดูนะ

เรื่องการคิดที่มีประโยชน์

เชิญคลิกอ่านได้ที่

ความคิดที่เป็นประโยชน์ [จินตสูตร]

ปัญญา (ทางพระพุทธศาสนา) ไม่ได้เลือกเพศ และที่สำคัญการบรรลุก็ไม่ได้เลือกเพศ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การบรรลุก็ไม่ได้เลือกเพศว่าเป็นคฤหัสถ์หรือบรรชิต เมื่อเหตุสมควรแก่ผลแล้ว คือเมื่อปัจจัยพร้อม การบรรลุย่อมเกิดขึ้นไม่ว่าอยู่ในเพศใด (ชาย หญิง และคฤหัสถ์หรือบรรพชิต) เรื่อง ไม่ควรประมาทปัญญา ผู้หญิง

เชิญคลิกอ่านได้ที่

ปัญญากับความเป็นสตรี [โสมาสูตร]

เรื่องผู้หญิงที่เป็นเพศคฤหัสถ์ก็บรรลุก่อนเพศภิกษุได้ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม

เชิญคลิกอ่านได้ที่

อุบาสิกาเจริญสมณธรรม

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pinphaphatson
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chaiyakit
วันที่ 1 ก.ค. 2553

ผมคิดว่า ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ถ้าเข้าใจธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลืมเรื่องที่จะ บวช ไปเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 3 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คนอยากตอบ
วันที่ 3 เม.ย. 2555

ก็ลองคิดง่ายๆ ครับ การเป็นผู้หญิง บางครั้งจะมีอันตรายบ้างในบางโอกาส เช่น การถูกข่มขืน (พระอรหันต์รูปหนึ่งก็ถูกข่มขืนในสมัยพุทธกาล) หรืออะไรอื่นๆ ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้หญิงจะถูกทำร้ายได้ง่ายกว่าผู้ชาย (ผมไม่ได้หมายถึงว่าผู้หญิงอ่อนแอกว่า หรืออะไรอย่างนั้นนะ และทุกคนน่าจะเข้าใจในจุดนี้ เพราะถ้าเป็นโจร มันย่อมเลือกทำร้ายผู้หญิงมากกว่าผู็ชายอยู่แล้ว) อย่างในกรณี ห้ามภิกษุณีอยู่โดยไม่มีภิกษุ นี่ก็เหมือนกันครับ ผู้หญิงอยู่โดยไม่มีผู้ชาย โจรย่อมเหมือนมีโอกาสทำร้ายมากขึ้น กรณีกราบไหว้ภิกษุที่มีอาวุโสมากกว่า ก็เหมือนป้องกันไม่ให้ภิกษุณีเป็นอำนาจเหนือกว่าภิกษุ ซึ่งก็จะเท่ากับว่าสามารถสั่งการอะไรก็ได้ ก็อาจทำใ้ห้ได้รับอันตรายจะพวกโจรภัยได้ง่าย (อันนี้อธิบายไม่ค่อยถูก หวังคนอ่านจะคิดตามได้นะคับ) อีกอย่างเรื่องนี้คิดซะว่าเป็นอจินไตย เพราะพุทธวิสัย ใครก็ไม่อาจรู้ได้ และก็เพศหญิง น่าจะเข้าใจนะคับ มีประจำเดือน และต้องสงวนตัว (เพราะสมัยนั้น มีภิกษุที่ไหนกันที่ถูกข่มขืน?) จึงต้องมีกฏบังคับมากหน่อย จึงอย่าคิดมากคับ

อีกอย่างๆ ถ้าคุณมีความศรัทธา และตั้งมั่นให้การบรรลุธรรม คุณย่อมไม่ห่วงกับแค่เรื่องกราบไหว้ภิกษุ หรือแค่เรื่องต้องให้ภิกษุมาตักเตือนหรอกคับ เพราะถ้าคุณไม่ผิด ใครล่ะจะมาตักเตือนคุณได้ เปนพระอริยบุคคลแล้ว ใครจะมาคิดกับเรื่องแค่นี้ ขัดขว้างการประพฤติธรรมเปล่าๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 มิ.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ