พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒๖. วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35171
อ่าน  780

[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 687

๒๖. วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕

วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕ 26/687

นิทานไกล (ทูเรนิทาน) 690

พรรณนาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕ 690

พระพุทธการกธรรม ๘ ประการ 690

นิทานไม่ไกล (อวิทูเรนิทาน) 692

โกลาหล ๓ 692

มหาวิโลกนะ ๕ ประการ 693

พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งอาสภิวาจา 698

พราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่าน ทํานายพระลักษณะ 701

พระนางกีสาโคตมีขัตติยานีทรงเปล่งอุทาน 708

เจดีย์สถานชื่อว่ากัณฐกนิวัตตนะ 713

พระมหาบุรุษทรงบรรพชา 715

พระมหาบุรุษทรงกําจัดมาร 721

นิทานใกล้สถานที่ชื่อว่าอนิมิสเจดีย์ 725

สถานที่ชื่อว่ารัตนจงกรมเจดีย์ 726

นายพาณิช ๒ คนชื่อว่า ตปุสสะและภัลลิกะถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ 727


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 73]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 687

๒๖. วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕

[๒๖] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า โคตมะ เจริญวัยในศากยสกุล ตั้งความเพียรแล้ว บรรลุพระโพธิญาณอันอุดม.

อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๘ โกฏิ.

เมื่อทรงแสดงธรรมต่อจากนั้น ในสมาคมแห่ง มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็กล่าวไม่ได้ถึง จำนวนผู้บรรลุ.

บัดนี้ ในที่นี้นี่แล เราสั่งสอนราหุลโอรสของ เรา อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็กล่าวไม่ได้ถึงจำนวนผู้บรรลุ.

สันนิบาตการประชุมสาวก ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ของเรา เป็นการประชุมภิกษุ ๑,๒๕๐ มีครั้งเดียว.

เราไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ ท่ามกลางสงฆ์ก็ให้ทุก อย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุก อย่างที่ต้องการ.

อันความกรุณาสัตว์ทั้งหลาย เราประกาศสัจจะ ๔ แก่ผู้จำนงหวังมรรคผล ผู้ประสงค์ละความพอใจ ในภพ.

ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่น สองหมื่น อภิสมัยของสัตว์ไม่นับจำนวนด้วยหนึ่งคนหรือสองคน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 688

ศาสนาของเรา ผู้ศากยมุนีในโลกนี้ บริสุทธิ์ดี แล้ว แผ่ไปกว้างขวาง คนเป็นอันมากรู้กัน มั่นคง เจริญออกดอกบานแล้ว.

ภิกษุทั้งหมดหลายร้อย ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจาก ราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น ย่อมแวดล้อมเราทุกเมื่อ.

บัดนี้ เดี๋ยวนี้ ภิกษุเหล่าใด ละภพมนุษย์ ภิกษุ เหล่านั้น เป็นเสกขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัต วิญญูชน ก็ติเตียน.

นรชนผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ ผู้ยินดีในธรรม ทุกเมื่อ เมื่อชมเชยอริยมรรค รุ่งเรืองอยู่ ก็จักตรัสรู้.

เรามีนครชื่อกบิลพัสดุ์ พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระชนนีเรียกว่า พระนางมายาเทวี.

เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่าสุจันทะ โกกนุทะ และโกญจะ มีสนม กำนัลที่แต่งกายงามสี่หมื่นนาง อัครมเหสีพระนามว่า พระยโสธรา โอรสพระนามว่าพระราหุล.

เราเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ม้า ทำความเพียร ประพฤติทุกกรกิริยา ๖ ปี.

เรา ชินโคตมะสัมพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน ณ กรุงพาราณสี เป็น สรณะของสัตว์ทั้งปวง.

เรามีภิกษุคู่พระอัครสาวก ชื่อว่าโกลิตะ และ อุปติสสะ มีพุทธอุปัฏฐากประจำสำนักชื่อว่าอานันทะ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 689

เรามีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อเขมาและอุบลวรรณา มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ มีอัคร อุปัฏฐายิกาชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา เราบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.

เรามีรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๖ ศอก อายุเรา ณ บัดนี้ น้อย ร้อยปี เราดำรงชนม์อยู่เพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็น อันมากให้ข้ามโอฆะ เราตั้งคบเพลิงคือธรรม ปลุกชน ที่เกิดมาภายหลังให้ตื่น.

ไม่นานนัก แม้เราพร้อมด้วยสงฆ์สาวกก็จัก ปรินิพพานในที่นี้นี่แล เพราะสิ้นอาหาร เหมือนดวงไฟ ดับ เพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.

เดชที่ไม่มีใครเทียบได้เหล่านั้น ทั้งยศพละและ ฤทธิ์เหล่านี้ เราผู้มีเรือนกายทรงคุณ วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีฉัพพรรณรังสีส่องสว่าง ทั้งสิบทิศ ดั้งดวงอาทิตย์. ทั้งนั้นก็จักอันตรธานไป สิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

จบวงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 690

พรรณาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ ๒๕

เรื่องนิทานกาลไกล

เพราะเหตุที่ถึงลำดับการพรรณนาวงศ์ ของพระพุทธเจ้าของเราแล้ว ฉะนั้น บัดนี้จะพรรณาวงศ์ พระพุทธเจ้าของเรานั้น ดังต่อไปนี้.

ในนิทานกาลไกลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทรงทำอธิการในสำนักของ พระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้น มาถึงสี่อสงไขย กำไรแสนกัป แต่ส่วนกาลภายหลังของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะไม่มีพระพุทธ- เจ้าพระองค์อื่น เว้นแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้. ดังนั้น พระโพธิสัตว์ ได้พยากรณ์ในสำนักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ ก็ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม มีทานบารมีเป็นต้น ที่พระโพธิสัตว์ ผู้รวบรวมธรรม ๘ ประการ เหล่านี้ว่า อภินีหาร ย่อมสำเร็จได้ เพราะรวบรวมธรรม ๘ ประการ คือ

๑. มนุสัตตะ เป็นมนุษย์

๒. ลิงคสัมปัตติ เป็นเพศบุรุษ

๓. เหตุ มีอุปนิสสยสมบัติบรรลุมรรคผลได้

๔. สัตถารทัสสนะ พบพระพุทธเจ้าขณะที่ยัง ทรงพระชนม์อยู่

๕. ปัพพัชชา บวชเป็นดาบสหรือภิกษุอยู่

๖. คุณสมบัติ ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕

๗. อธิการ อาจสละชีวิตแก่พระพุทธเจ้าได้

๘. ฉันทตา มีฉันทะ อุตสาหะ บำเพ็ญพุทธ- การกธรรม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 691

แล้วทำอภินีหารแทบเบื้องบาทพระทีปังกรพุทธเจ้า แล้วทำอุตสาหะว่า จำเรา จะเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม อย่างโน้นอย่างนี้แสดงไว้ว่า ครั้งนั้น เราเมื่อ เลือกเฟ้นก็ได้เห็นทานบารมีเป็นอันดับแรก ดังนี้ ตราบจนมาถึงอัตภาพเป็น พระเวสสันดรและเมื่อมาถึงก็มาประสบอานิสงส์แห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ทำ อภินีหารไว้แล้ว ที่ทรงสรรเสริญไว้ว่า

พระนิยตโพธิสัตว์ ถึงพร้อมด้วยองค์ครบถ้วน อย่างนี้ แม้ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนานนับร้อย โกฏิกัปป์ ก็ไม่เกิดในอเวจีและในโลกันตริกนรก ไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสิกเปรต กาฬ- กัญชิกาสูร แม้เข้าถึงทุคติ ก็ไม่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เมื่อเกิดในหมู่มนุษย์ ก็ไม่เป็นคนตาบอดแต่กำเนิด โสตก็ไม่วิกลบกพร่อง ไม่เป็นคนประเภทใบ้ ไม่เป็น สตรี ไม่เป็นคนสองเพศและไม่เป็นบัณเฑาะก์.

พระนิยตโพธิสัตว์ ไม่เป็นผู้นับเนื่องดังกล่าว พ้นจากอนันตริยกรรม มีโคจรบริสุทธิ์ในภพทั้งปวง ไม่เสพมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นว่ากรรมเป็นอันทำมีผล แม้อยู่ในสวรรค์ทั้งหลาย ก็ไม่เข้าถึงอสัญญีภพ ทั้ง ไม่มีเหตุที่ไปเกิดในเทพชั้นสุทธาวาส เป็นผู้น้อมไป ในเนกขัมมะ เป็นสัตบุรุษ ไม่เกาะเกี่ยวในภพใหญ่ น้อย บำเพ็ญแต่โลกัตถจริยาทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี ทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 692

เมื่อมาประสบอานิสงส์อย่างนี้ ก็ตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ทำบุญยิ่ง ใหญ่ ที่ทำให้มหาปฐพีไหวเป็นต้นอย่างนี้ว่า แผ่นปฐพีนี้ไม่มีใจ ไม่รู้สึกสุขทุกข์ แผ่นปฐพี แม้นั้น ก็ไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา. สุดท้ายแห่งอายุ ก็จุติจากอัตภาพนั้น บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต.

เรื่องนิทานกาลใกล้

เมื่อพระโพธิสัตว์กำลังอยู่ในภพดุสิต ธรรมคำว่าพุทธโกลาหลก็เกิด ขึ้น. จริงอยู่ เกิดโกลาหลขึ้นในโลก ๓ อย่าง คือ กัปปโกลาหล พุทธโกลาหล และจักกวัตติโกลาหล บรรดาโกลาหลทั้ง ๓ นั้น เหล่าเทวดาชั้นกามาวจร ชื่อว่า โลกพยูหะ ทราบว่า ล่วงไปแสนปีกัปจักตั้งขึ้น ดังนี้ ปล่อยผมสยาย ร้องไห้เอาหัตถ์ฟายน้ำตา นุ่งห่มผ้าแดง ทรงเพศแปลกๆ อย่างยิ่ง เที่ยวไป ในถิ่นมนุษย์ บอกกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนปีนับ แต่วันนี้ไปกัปจักตั้งขึ้น โลกนี้จักพินาศไป แม้มหาสมุทรก็จักเหือดแห้ง มหา ปฐพีแผ่นนี้และขุนเขาสิเนรุ จักมอดไหม้พินาศไป ความพินาศจักมีจนถึง พรหมโลก ดูก่อนท่านผู้นี้นิรทุกข์ พวกท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จงบำรุงมารดาบิดา จงเป็นผู้ยำเกรงในท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ดังนี้ นี้ชื่อว่า กัปปโกลาหล.

เทวดาฝ่ายโลกบาลทราบว่า ล่วงไปพันปี จักเกิดพระสัพพัญญู- สัมพุทธเจ้าขึ้นในโลก จึงเที่ยวไปโฆษณาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่นี้ ล่วงไปพันปี จักเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก ดังนี้ นี้ชื่อว่า พุทธโกลาหล.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 693

พวกเทวดาทราบว่า ล่วงไปร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิราชจักเกิดขึ้น จึงเที่ยวโฆษณาไปว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ นับแต่นี้ล่วงไปร้อยปี จักเกิด จักรพรรดิราชขึ้นดังนี้ นี้ชื่อว่า จักกวัตติโกลาหล.

บรรดาโกลาหล ๓ นั้น เทวดาทั่วหมื่นจักรวาลฟังเสียงข่าวพุทธ- โกลาหล ก็ประชุมพร้อมกัน รู้ว่าสัตว์ชื่อโน้นจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็เข้าไปหา อ้อนวอน แต่เมื่ออ้อนวอน ก็จะอ้อนวอนเมื่อบุพนิมิตของสัตว์ผู้นั้นเกิดขึ้น. แต่ในครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ในแต่ละจักรวาล ก็ประชุมกันใน จักรวาลเดียว พร้อมกับมหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันตุสิตะ ท้าวสุนิมมิตะ ท้าววสวัตตีและท้าวมหาพรหม พากันไปยังสำนักพระโพธิสัตว์ผู้ มีนิมิตแห่งการจุติเกิดแล้วในภพดุสิต ช่วยกันอ้อนวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บารมี ๑๐ ท่านก็บำเพ็ญแล้ว แต่เมื่อบำเพ็ญ ท่านมิใช่บำเพ็ญปรารถนาสมบัติ ท้าวสักกะ สมบัติพรหมเป็นต้น แต่ท่านบำเพ็ญปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ เพื่อช่วยโลก. เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า.

ข้าแต่ท่านมหาวีระ บัดนี้เป็นเวลาสมควรสำหรับ ท่านแล้ว ท่านจงเกิดในพระครรภ์พระชนนี เมื่อจะ ยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ ท่านจงตรัสรู้อมตบท เถิด. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อันทวยเทพทูลอ้อนวอนอย่างนั้น มิได้ประทานปฏิญญา [คำรับรอง] แก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงพิจารณามหาวิโลกนะ ๕ คือ ขั้นตอน ได้แก่ กาละ ทวีป ประเทศ ตระกูล กำหนดพระชนมายุพระชนนี บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น พระมหาบุรุษทรงพิจารณาเวลาเป็นอันดับแรกว่า เป็นกาลสมควรหรือยัง. ในข้อว่ากาลนั้น กาลที่อายุคนเจริญขึ้นเกินแสนปี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 694

ไม่ใช่กาลสมควร. เพราะเหตุไร เพราะว่า ในกาลนั้น [กาลที่มนุษย์มีอายุ แสนปี] ชาติชรามรณะจักไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และพระธรรมเทศนาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีพ้นจากไตรลักษณ์ [อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา] เลย เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่ สำคัญพระพุทธดำรัสที่ควรฟัง ที่ควรเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย กำลังตรัส เรื่องอะไรกันนั่น. แต่นั้น อภิสมัยการตรัสรู้ ก็จะไม่มี เมื่ออภิสมัยไม่มี คำสั่ง- สอนก็ไม่เป็นนิยยานิกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นการสมควร แม้กาลที่อายุคนต่ำกว่าร้อยปี ก็ยังไม่ใช่กาลอันสมควร. เพราะเหตุไร เพราะ ว่าในกาลนั้น [กาลที่มนุษย์มีอายุต่ำกว่าร้อยปี] สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ที่มีกิเลสหนาแน่น จะไม่คงอยู่ในฐานะควรโอวาท จะขาดหายไปเร็วเหมือนรอยไม้ที่ขีดในน้ำ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่กาลอันสมควร แต่กาลแห่งอายุต่ำกว่าแสนปีลงมา สูงเกินร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่ากาลอันสมควร กาลนั้นเป็นเวลาร้อยปี. ดังนั้น พระมหาสัตว์จึงทรงเห็นกาลว่าเป็นกาลที่ควร บังเกิด.

ต่อแต่นั้น เมื่อทรงพิจารณาถึงทวีป ก็ทรงพิจารณามหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทวีปบริวาร ก็ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เกิดในทวีป ทั้ง ๓ เกิดในชมพูทวีปเท่านั้น.

ต่อแต่นั้น เมื่อทรงสำรวจดูโอกาสว่า ธรรมดาชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่ ขนาดถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเกิดที่ไหนกันหนอ ก็ทรงเห็น มัชฌิมประเทศ จึงตกลงพระหฤทัยว่า มีนครกบิลพัสดุ์อยู่ จำเราจะพึงเกิด ณ นครนั้น.

แต่นั้น เมื่อทรงพิจารณาดูตระกูล ก็ทรงเห็นตระกูลว่าธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เกิดในตระกูลแพศย์หรือตระกูลศูทร แต่บังเกิดใน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 695

ตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ที่โลกสมบัติ บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์โลก สมมติ จำเราจักเกิดในตระกูลนั้น พระเจ้าสุทโทธนะ จักทรงเป็นพระชนก ของเรา.

แต่นั้น เมื่อทรงพิจารณาดูพระชนนี ก็ทรงเห็นว่าธรรมดาพระพุทธ- มารดา มิใช่เป็นสตรีโลเล นักเลงสุรา แต่บำเพ็ญบารมีมาแสนกัป มีศีล ไม่ขาดวิ่นมาแต่เกิด ก็พระเทวีพระนามว่า พระนางมหามายาพระองค์นี้ เป็น เช่นนี้ พระนางจักเป็นชนนีของเรา. พระชนมายุของพระนางเท่าไรเล่า. ๑๐ เดือนกับ ๗ วัน.

พระมหาสัตว์ครั้นพิจารณามหาวิโลกนะ ๕ อย่างนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรง รับปฏิญญาของเทวดาทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เป็นกาลสมควรเป็น พระพุทธเจ้าสำหรับเราแล้วละ จึงส่งเทวดาเหล่านั้นด้วยพระดำรัสว่า พวกท่าน ไปกันเถิด อันเทวดาชั้นดุสิตแวดล้อมแล้ว ก็เสด็จเข้าไปยังสวนนันทนวันใน ชั้นดุสิต. ด้วยว่าในเทวโลกทุกชั้นมีสวนนันทนวันทั้งนั้น. ในสวนนันทนวัน ในชั้นดุสิตนั้น เทวดาทั้งหลาย เมื่อจะยังพระมหาสัตว์นั้นให้รำลึกถึงโอกาส แห่งกุศลกรรมที่ทำแต่ปางก่อนว่า ท่านจุติจากนี้แล้วจงไปสู่สุคติ จึงเที่ยวไป พระมหาสัตว์นั้นอันเทวดาเหล่านั้น ให้ระลึกถึงกุศลแวดล้อมแล้ว ก็เที่ยวไป ในนันทนวันนั้น ก็จุติไปถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมหามายาเทวี โดยดาวนักขัตอุตตราสาธ. ในขณะที่พระมหาบุรุษทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ ของพระชนนี ทั่วหมื่นโลกธาตุก็ไหวพร้อมกันในคราวเดียวกัน. บุพนิมิต ๓๒ ประการ ก็ปรากฏ.

เทวบุตร ๔ องค์ถือพระขรรค์ ทำหน้าที่อารักขาเพื่อป้องกันอุปัทวเหตุ แก่พระโพธิสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิ และพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 696

ฉะนี้. ราคจิตในบุรุษทั้งหลาย มิได้เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ พระชนนีนั้นประสบลาภอย่างเลิศ ยศอย่างเลิศ มีสุข พระวรกายมิลำบาก พระชนนี แลเห็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งอยู่ในพระครรภ์ของพระนางเอง เหมือนด้ายขาวร้อย แก้วมณีอันใสฉะนั้น เพราะเหตุที่พระครรภ์ที่พระโพธิสัตว์อยู่ ก็เป็นเสมือน ห้องพระเจดีย์ สัตว์อื่นไม่อาจอยู่หรือใช้สอยได้ ฉะนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์เกิดได้ ๗ วัน จึงต้องทำกาละ [ทิวงคต] บังเกิด ในสวรรค์ชั้นดุสิต. ก็สตรีอื่นๆ ถึง ๑๐ เดือนก็มี เกินก็มี นั่งคลอดบ้าง นอนคลอดบ้าง ฉันใด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่. แต่ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ ๑๐ เดือน แล้วทรงยืนประสูติ. นี้เป็นธรรมดาของพระมารดาของพระโพธิสัตว์.

แม้พระนางมหามายาเทวี ทรงบริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ ๑๐ เดือนแล้ว มีพระครรภ์บริบูรณ์ มีพระประสงค์จะเสด็จไปเรือนพระญาติ จึงกราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม เกล้า หม่อมฉันใคร่จะไปเทวทหนครเพคะ. พระราชาทรงอนุญาตแล้ว โปรดให้ทำ ทางตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์จนถึงเทวทหนครให้เรียบ ให้ประดับด้วยต้นกล้วย หม้อ เต็มน้ำ หมาก ธงผ้าเป็นต้น ให้ประทับนั่งในวอท้องใหม่ ทรงส่งไปด้วย สิริสง่าและด้วยบริพารกลุ่มใหญ่. ระหว่างพระนครทั้งสอง มีมงคลสาลวันชื่อ ลุมพินี ที่ควรใช้สอยของชาวนครทั้งสอง. มงคลสาลวันนั้น สมัยนั้นออก ดอกบานสะพรั่งไปหมด ตั้งแต่โคนจนถึงยอด เพราะทรงเห็นวนะ งาม เสมือนสวนนันทนวัน อันเป็นที่สำเริงสำราญแห่งเทพ ซึ่งหมู่แมลงผึ้งอันผึ้ง อื่นๆ เลี้ยงดู ผู้เพลินในรสหวานที่ทำความยินดีอย่างยิ่ง อันน่ารื่นรมย์ ยินดี ด้วยความเมา มีรวงรังอันเสพแล้ว ร่ำร้องกระหึ่มอยู่ตามระหว่างกิ่ง และ ระหว่างดอกทั้งหลาย พระเทวีก็เกิดจิตคิดจะลงเล่นสวนสาลวัน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 697

วิภูสิตา พาลชนาติจาลินี วิภูสิตงฺคี วนิเตว มาลินี สทา ชนานํ นยนาลิมาลินี วิลุมฺปินีวาติวิโรจิ ลุมฺพินี.

สวนลุมพินี อันธรรมชาติประดับแล้ว เป็นที่ หวั่นไหวของคนปัญญาอ่อน หมู่ภมร แต่งตัวแล้ว ย่อมชอบชมเชย มีหมู่แมลงผึ้งประหนึ่งดวงตาของชน ทั้งหลาย คอยรุม จึงรุ่งเรืองทุกเมื่อ.

เหล่าอำมาตย์กราบทูลพระราชาแล้ว พาพระราชเทวีเข้าไปยังลุมพินีวัน นั้น. พระนางเสด็จไปยังโคนต้นมงคลสาละ มีพระประสงค์จะทรงจับกิ่งใดของ มงคลสาละนั้น ซึ่งมีลำต้นตรงเรียบและกลม ประดับด้วยดอกผลและใบอ่อน กิ่งมงคลสาละนั้น ไม่มีแรง รวนเรเหมือนใจชน ก็น้อมลงมาเองถึงฝ่าพระกร ของพระนาง ลำดับนั้น พระนางกทรงจับกิ่งสาละนั้น ด้วยพระกรที่ทำความ ยินดีอย่างยิ่ง ข้างขวา ซึ่งงามด้วยกำไลพระกรทองใหม่ มีพระองคุลีกลมกลึงดัง กลีบบัว อันรุ่งเรืองด้วยพระนขานูนมีสีแดง. พระนางประทับยืนจับกิ่งสาละนั้น เป็นพระราชเทวีงดงามเหมือนจันทรเลขาอ่อนๆ ที่ลอดหลืบเมฆสีเขียวคราม เหมือนแสงเปลวไฟ ซึ่งตั้งอยู่ได้ไม่นาน และเหมือนเทวีที่เกิดในสวนนันทนวัน ในทันทีนั้นเอง ลมกัมมัชวาตของพระนางก็ไหว ขณะนั้น ชนเป็นอันมาก ก็กั้นผ้าม่านเป็นกำแพงแล้วหลีกไป. พระนางเมื่อประทับยืนจับกิ่งสาละอยู่นั่น เอง พระโพธิสัตว์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระนางนั้น.

ในทันใดนั้นเอง ท้าวมหาพรหมผู้มีจิตบริสุทธิ์ ๔ พระองค์ ก็ถือ ข่ายทองมารองรับพระโพธิสัตว์ด้วยข่ายทองนั้น วางไว้เบื้องพระพักตร์พระชนนี

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 698

ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี ขอจงทรงดีพระหฤทัยเถิด พระโอรสของพระองค์มี ศักดิ์มาก สมภพแล้ว. ก็สัตว์อื่นๆ เมื่อออกจากครรภ์มารดา ก็เปรอะเปื้อน ด้วยของปฏิกูลไม่สะอาดออกไป ฉันใด พระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่. แต่ พระโพธิสัตว์เหยียดพระหัตถ์ทั้งสอง พระบาททั้งสอง ยืน ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยของไม่สะอาดไรๆ จากสมภพในพระครรภ์ของพระชนนี หมดจด สดใส รุ่งเรืองเหมือนมณีรัตนะอันเขาวางไว้บนผ้ากาสี ออกจากพระครรภ์พระชนนี. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพื่อสักการะแด่พระโพธิสัตว์ และพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ท่อธารน้ำสองท่อ ก็ออกมาจากอากาศ โสรจสรงที่พระสรีระของพระโพธิสัตว์ และพระชนนีของพระโพธิสัตว์.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็เอาผ้าขนสัตว์ที่มีสัมผัสอัน สบาย ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคลรับจากพระหัตถ์ของท้าวมหาพรหม ซึ่งยืนรับ พระโพธิสัตว์นั้นไว้ด้วยข่ายทอง. พวกมนุษย์ก็เอาเบาะผ้าเนื้อดี รับจากพระหัตถ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น พระโพธิสัตว์พ้นจากมือของมนุษย์ ก็ยืนที่ แผ่นดินมองดูทิศบูรพา หลายพันจักรวาลก็มีลานเป็นอันเดียวกัน. เทวดาและ มนุษย์ ในที่นั้น เมื่อบูชาด้วยของหอมดอกไม้มาลัยเป็นต้น ก็พากันทูลว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ผู้ที่เสมือนกับพระองค์ในที่นี้ไม่มี ผู้ที่จะยิ่งกว่า จะมีแต่ ไหน. พระโพธิสัตว์ทรงเหลียวแลดูทิศทั้ง ๑๐ ทิศ ไม่เห็นผู้ที่เสมือนกับพระองค์ จึงบ่ายพระพักตร์มุ่งสู่ทิศอุดร ทรงดำเนินไป ๗ ย่างก้าว. และเมื่อดำเนินไป ก็ดำเนินไปบนแผ่นดินนั่นแหละ มิใช่ดำเนินไปทางอากาศ ไม่มีผ้า [ปกปิด] ดำเนินไป มิใช่มีผ้าดำเนินไป เป็นทารกอ่อนดำเนินไป มิใช่ทารกอายุ ๑๖ ขวบ ดำเนินไป แต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนดำเนินไปทางอากาศ เหมือนประดับ ตกแต่งพระองค์ และเหมือนมีอายุ ๑๖ ขวบ. แต่นั้น ย่างก้าวที่ ๗ ก็ทรงหยุด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 699

เมื่อทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส ดังนี้เป็นต้น ทรงเปล่ง สีหนาท.

ความจริง พระโพธิสัตว์ พอออกจากครรภ์มารดาก็เปล่งวาจาได้ใน ๓ อัตภาพ คือ อัตภาพเป็นมโหสถ อัตภาพเป็นเวสสันดร อัตภาพนี้ เล่า กันว่า ในอัตภาพเป็นมโหสถ พอออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราช ก็เสด็จมาวางแก่นจันทน์ไว้ในพระหัตถ์แล้วเสด็จไป. พระมโหสถนั้น เอา แก่นจันทน์นั้นไว้ที่หลังแล้วก็คลอดออกมา ขณะนั้น มารดาถามมโหสถนั้นว่า ลูกเอ๋ย เจ้าถืออะไรมาด้วยนะ. มโหสถตอบว่า โอสถจ้ะแม่ ดังนั้น เพราะ เหตุที่ถือโอสถมาด้วย มารดาบิดาจึงขนานนามว่า โอสถกุมาร.

ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พอออกจากครรภ์พระมารดา ก็ เหยียดพระหัตถ์ขวาบอกว่า แม่จ๋าในเรือนมีทรัพย์ไรๆ อยู่หรือ ลูกจักให้ ทานนะ ขณะนั้น พระมารดาเอาหัตถ์พระโอรสไว้ที่ฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์ แล้ว วางถุงทรัพย์นับพันไว้ตรัสว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเกิดมาในตระกูลมีทรัพย์แล้วนะ.

แต่ในอัตภาพนี้ ทรงเปล่งสีหนาท ดังนั้น พระโพธิสัตว์ พอออก จากครรภ์พระมารดา ก็ทรงเปล่งวาจาใน ๓ อัตภาพ ด้วยประการฉะนี้. แม้ ในพระสมภพบุพนิมิต ๓๒ ก็ปรากฏแก่พระองค์ แต่ว่าในสมัยใดพระโพธิ- สัตว์ของเราสมภพ ณ ลุมพินีวัน ในสมัยนั้นเหมือนกัน พระเทวีมารดา พระราหุล อานันทะ ฉันนะ กาฬุทายีอมาตย์ พระยาม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิพฤกษ์ และหม้อขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ก็เกิด. บรรดาขุมทรัพย์ ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง ขนาดหนึ่งคาวุต ขุมหนึ่งขนาดครึ่งโยชน์ ขุม หนึ่งขนาดสามคาวุต ขุมหนึ่งขนาดหนึ่งโยชน์ เหล่านี้ชื่อว่า สหชาตทั้ง ๗.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 700

ชาวนครทั้งสอง พาพระมหาบุรุษไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ วันนั้นนั่นแล หมู่เทพในชั้นดาวดึงส์ร่าเริงยินดีว่า โอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชในกรุง กบิลพัสดุ์จักประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์เป็นพระพุทธเจ้าจึงพากันยกแผ่นผ้า เป็นต้นขึ้นโบกสะพัดเล่นกรีฑา. สมัยนั้น ดาบสชื่อกาฬเทวละ ผู้ได้สมาบัติ ๘ ผู้ประจำตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนะ ฉันอาหารแล้วก็ไปยังภพดาวดึงส์ เพื่อ พักกลางวัน นั่งพักกลางวันในที่นั้นแล้ว เห็นเทวดาเหล่านั้นดีใจระเริงเล่นจึง ถามว่า เหตุไร พวกท่านจึงพากันดีใจเบิกบานใจระเริงเล่น โปรดบอกเหตุนั้น แก่เราเถิด แต่นั้น เทวดาทั้งหลายก็บอกว่า ท่านผู้นิรทุกข์ โอรสพระเจ้า สุทโธทนะเกิดแล้ว โอรสพระองค์นั้น จักประทับนั่งที่โพธิมัณฑสถานเป็น พระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมจักร ด้วยเหตุนี้ เราจึงยินดีต่อพระองค์ว่า พวก เราจะได้เห็นพุทธลีลาอันไม่มีที่สุด.

ดาบสได้ฟังคำของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ก็ลงจากเทวโลกอันสว่างไสว ด้วยรัตนะ น่าดูอย่างยิ่ง เข้าไปยังพระราชนิเวศของนฤบดี นั่งเหนือวรอาสน์ ที่จัดไว้ ทูลพระราชาผู้ทำปฏิสันถารว่า ขอถวายพระพร ได้ข่าวว่าพระโอรส ของมหาบพิตรสมภพแล้ว อาตมาภาพอยากเห็นพระราชโอรสนั้น พระราชา โปรดให้นำพระโอรสที่ประดับตกแต่งพระองค์มาแล้ว นำไปใกล้ชิด เพื่อให้ ไหว้เทวลดาบส. พระบาทของพระมหาบุรุษ กลับไปประดิษฐานเหนือชฎา ของดาบส เหมือนสายฟ้าแลบกำลังอยู่เหนือยอดเมฆสีเขียวคราม แท้จริง บุคคลอื่นชื่อว่าอันพระโพธิสัตว์พึงไหว้โดยอัตภาพนั้น ไม่มี ดังนั้น ดาบสจึง ลุกจากอาสนะประคองอัญชลีต่อพระโพธิสัตว์ พระราชาทรงเห็นความอัศจรรย์ นั้นจึงทรงไหว้พระโอรสของพระองค์ ดาบสเห็นลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์ ระลึกว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า หรือไม่เป็นพระพุทธเจ้าหนอ พิจารณา ทบทวน รู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย จึง ทำอาการแย้มว่า ผู้นี้เป็นอัจฉริยบุรุษ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 701

ต่อนั้น จึงพิจารณาทบทวนว่า เราจะได้เห็นท่านผู้นี้เป็นพระพุทธ- เจ้าหรือไม่ได้เห็นหนอ เห็นว่าเราไม่ได้เห็นเราจักทำกาละเสียในระหว่างนี่แล ไปบังเกิดในอรูปภพ ที่พระพุทธเจ้าร้อยพระองค์ พันพระองค์ ไม่อาจเสด็จ ไปโปรดให้ตรัสรู้ได้ แล้วร้องไห้ว่า เราจักไม่ได้เห็นอัจฉริยบุรุษเช่นนี้เป็น พระพุทธเจ้า เราจักเสื่อมใหญ่ มนุษย์ทั้งหลายเห็นก็ถามว่า พระผู้เป็นเจ้า ของเรา เมื่อกี้หัวเราะกลับมาร้องไห้อีก อันตรายไรๆ จักมีแก่พระลูกเจ้าของ เราหรือ. ดาบสตอบว่า อันตรายไม่มีแก่พระลูกเจ้านั้นดอก พระลูกเจ้าจักเป็น พระพุทธเจ้า ไม่ต้องสงสัย มนุษย์ทั้งหลายจึงถามอีกว่า เมื่อเป็นดังนี้ เหตุไร ท่านจึงร้องไห้เล่า ดาบสตอบว่า เราเศร้าใจถึงตัวเราว่า จักไม่ได้เห็นอัจฉริย- บุรุษเช่นนี้เป็นพระพุทธเจ้า เราจักเสื่อมใหญ่ดังนี้ จึงร้องไห้.

ต่อแต่นั้น พระประยูรญาติให้สรงสนานพระเศียรพระโพธิสัตว์ใน วันที่ ๕ ปรึกษากันว่า จักเฉลิมพระนาม จึงฉาบทาพระราชนิเวศน์ด้วยของหอม ๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวตอกครบ ๕ ให้หุงข้าวมธุปายาสไม่ผสม นิมนต์ พราหมณ์ ๑๐๘ ผู้จบไตรเพท ให้นั่งในราชนิเวศน์ ให้บริโภคข้าวมธุปายาส กระทำสักการะแล้วให้ตรวจทำนายพระลักษณะว่าจักเป็นอย่างไร บรรดา พราหมณ์ ๑๐๘ นั้น พราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่าน มีรามพราหมณ์เป็นต้น เป็น ผู้ตรวจทำนายพระลักษณะ บรรดาพราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่านนั้น ๗ ท่านยกสอง นิ้ว พยากรณ์เป็นสองส่วนว่า ประกอบด้วยพระลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครอง ฆราวาสวิสัยจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อผนวชจะเป็นพระพุทธเจ้า บรรดา พราหมณ์บัณฑิต ๘ ท่านนั้น พราหมณ์โดยโคตรชื่อโกณฑัญญะ หนุ่มกว่าเขา หมด เห็นพระวรลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์ ยกนิ้วเดียวเท่านั้น พยากรณ์ เป็นส่วนเดียวว่า ท่านผู้นี้ ไม่มีเหตุอยู่ครองฆราวาสวิสัย จักเป็นพระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 702

ผู้มีหลังคาอันเปิดแล้วโดยส่วนเดียว. ครั้งนั้น พระประยูรญาติเมื่อถือพระนาม ของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเฉลิมพระนามว่าสิทธัตถะ เพราะทรงทำความสำเร็จ ประโยชน์แก่โลกทั้งปวง.

ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้น กลับถึงบ้านเรือนของตนแล้ว ก็เรียก ลูกๆ มาพูดสั่งอย่างนี้ว่า พ่อแก่แม่เฒ่าแล้วจะได้อยู่ชมพระโอรสของพระเจ้า สุทโธทนะ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ หรือไม่ได้ชมก็ได้ แต่เมื่อพระโอรส พระองค์นั้นทรงผนวชบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ลูกๆ ก็จงบวชในพระศาสนาของพระองค์นะ. ต่อนั้น ท่านพราหมณ์บัณฑิต ๗ ท่าน อยู่จนตลอด ชีวิตแล้วก็ไปตามกรรม โกณฑัญญมาณพ ไม่มีโรค แต่ในครั้งนั้น พระราชา ทรงสดับคำของพราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า ลูกของเราเห็นอะไร จึงจักผนวช. พราหมณ์เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่เทวะ เห็นบุพนิมิต ๔ พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ก็อะไรกันเล่า. ทูลตอบว่า คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย นักบวช. พระราชาตรัสสั่งว่า นับตั้งแต่นี้ไปพวกเจ้าอย่าให้ คนแก่ คนเจ็บ นักบวชมา ใกล้ลูกเรานะ แล้วทรงตั้งกองรักษาการณ์ ทุกระยะคาวุตหนึ่งๆ ทั้ง ๔ ทิศ เพื่อป้องกันคนแก่เป็นต้นมาปรากฏในสายตาพระกุมาร. วันนั้น พระประยูรญาติแปดหมื่นตระกูล ประชุมกันในมงคลสถาน พระญาติแต่ละพระองค์ก็ทูล ปฏิญญาถวายโอรสแต่ละองค์ว่า พระกุมารนี้จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือจะเป็น พระราชาก็ตาม พวกเราก็จะถวายโอรสแต่ละองค์ ถ้าพระกุมารจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ก็จักมีขัตติยสมณะคอยแวดล้อมจาริกไป ถ้าจักเป็นพระเจ้า จักรพรรดิไซร้ ก็จักมีขัตติยกุมารคอยแวดล้อมตามเสด็จไป. พระราชาพระราชทาน พระพี่เลี้ยงนางนม ๖๔ นาง ผู้ปราศจากโทษทุกอย่าง ถึงพร้อม ด้วยรูปสมบัติอย่างยิ่ง แด่พระมหาบุรุษ พระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยด้วยบริวาร ไม่มีที่สุด ด้วยสิริสมุทัยอย่างใหญ่.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 703

ต่อมา วันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปมงคล วันนั้นพระราชาเสด็จ ออกจากพระนครโดยสิริสง่ายิ่งใหญ่ด้วยราชบริพารกลุ่มใหญ่ ทรงพาพระโอรส เสด็จไปด้วย ณ ที่กสิกรรม มีต้นหว้าต้นหนึ่ง มีเงาทึบร่มเย็นน่ารื่นรมย์อย่าง ยิ่ง. ทรงปูที่บรรทมสำหรับพระกุมารภายใต้ต้นหว้านั้น ผูกเพดานผ้าแดง ประดับดาวทอง กั้นม่านตั้งกองรักษาการณ์ พระราชาประดับเครื่องอลังการ ทุกอย่าง อันหมู่อำมาตย์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปเพื่อจรดพระนังคัล ในที่ กสิกรรมนั้น พระราชาทรงถือพระนังคัลทอง อันเป็นมงคลอย่างยิ่ง พวก อำมาตย์เป็นต้น ถือหางไถเงินเป็นต้น วันนั้น ประกอบพระราชพิธีจรด พระนังคัลพันหนึ่ง พระพี่เลี้ยงนางนมนั่งล้อมพระโพธิสัตว์ คิดว่าจักดูสมบัติ ของพระราชา แล้วพากันออกไปนอกม่าน.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ ไม่เห็นใครๆ ก็ พลันลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ยังปฐมฌานให้ เกิด พวกพี่เลี้ยงนางนม เตร่ไปในระหว่างอาหาร ชักช้าอยู่เล็กน้อย เงาของ ต้นไม้ต้นอื่นๆ คล้อยกลับไป แต่เงาของต้นหว้าต้นนั้น ยังเป็นปริมณฑลตั้งอยู่ ในที่นั้นนั่นเอง ฝ่ายพระพี่เลี้ยงนางนมของพระโพธิสัตว์นั้น คิดว่าพระลูกเจ้า อยู่แต่ลำพังจึงรีบยกม่านขึ้นหา ก็เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่บนที่ บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้น ไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา พระราชารีบ เสด็จมา ทรงเห็นปาฏิหาริย์นั้น ทรงไหว้พระโอรสตรัสว่า ลูกพ่อเอย นี่พ่อไหว้ ลูกเป็นหนที่สองนะ.

ครั้งนั้น พระมหาบุรุษ ทรงมีพระชันษา ๑๖ พรรษา ตามลำดับ พระราชาโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะ และ สุภะ ๙ ชั้นหลัง หนึ่ง ๗ ชั้นหลังหนึ่ง ๕ ชั้นหลังหนึ่ง อันเหมาะแก่ ๓ ฤดู แก่พระโพธิสัตว์ ปราสาทแม้ทั้ง ๓ หลัง ส่วนสูงมีขนาดเท่ากัน แต่ชั้นต่างกัน.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 704

พระราชาทรงพระดำริว่า ลูกของเราเจริญวัยแล้ว จำเราจะให้ยกฉัตร แก่ลูก จักเห็นสิริราชสมบัติ ท้าวเธอก็ทรงส่งสาสน์แก่เจ้าศากยะทั้งหลายว่า ลูกเราเจริญวัยแล้ว เราจักสถาปนาลูกเราไว้ในสิริราชสมบัติ เจ้าศากยะทุก พระองค์จงส่งทาริกาที่เจริญวัยแล้วในเรือนของตนไปสู่เรือนนี้. เจ้าศากยะ เหล่านั้น ฟังสาส์นของพระราชา ก็พากันกล่าวว่า พระกุมาร งามแต่รูปอย่าง เดียว ยังไม่รู้ศิลปะไรๆ เลย จักไม่อาจทำการเลี้ยงภริยาได้ พวกเราจักไม่ให้ ธิดาของเรา. พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปหาพระโอรส ทรง บอกเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ควรจะแสดงศิลปะอะไร พระราชา ตรัสว่าลูกเอ๋ย ควรจะใช้วิชากำลังบุรุษพันคนยกธนูขึ้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น โปรดให้นำธนูมา พระราชาโปรดให้นำธนูมาพระราชทาน. บุรุษ พันหนึ่ง ยกธนูนั้นขึ้น บุรุษพันหนึ่งยกลง. พระมหาบุรุษให้นำนั้นมาแล้ว ประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงคล้องหัวสายธนูที่นิ้วแม่พระบาท โน้มขึ้นธนูด้วยนิ้ว แม่พระบาทนั่นแหละ ทรงถือคันธนูด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วขึ้นสายธนูด้วยพระหัตถ์ขวา. ทั่วพระนคร ก็ถึงอาการดังกึกก้องขึ้น และเมื่อถูกถามว่านั่น เสียงอะไร ก็ตอบกันว่า เมฆฝนคำรามดั่งนั้น. คนอื่นๆ จึงบอกว่า พวกท่าน ไม่รู้ ไม่ใช่เมฆฝนคำรามดอก เมื่อพระกุมารอังคีรส ทรงใช้วิชากำลังบุรุษ พันคนยกธนูขึ้น ทรงดีดสายธนู นั่นเสียงดีดสายธนูดอกนะ เจ้าศากยะทั้งหลาย ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็พากันมีจิตคึกคักมีใจยินดี.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า ควรทำอะไรต่อไป.

พระราชาตรัสว่า ควรเอาลูกธนูยิงแผ่นเหล็กหนา ๘ นิ้ว. ทรงยิงทะลุ แผ่นเหล็กนั้นแล้วตรัสว่า ควรทำอะไรอย่างอื่น.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 705

พระราชาตรัสว่า ควรยิงทะลุกระดานไม้ประดู่หนา ๔ นิ้ว ทรงยิง ทะลุแผ่นกระดานไม้ประดู่นั้นแล้วตรัสว่า ควรทำอะไรอย่างอื่น.

พระราชาตรัสว่า ควรยิงทะลุแผ่นกระดานไม้มะเดื่อหนาคืบหนึ่ง. ทรง ยิงทะลุแผ่นกระดานไม้มะเดื่อแล้วตรัสว่า ควรทำอะไรอย่างอื่น.

เจ้าศากยะทั้งหลายตรัสว่า ยิงเกวียนบรรทุกทราย.

พระมหาสัตว์ทรงยิงทะลุเกวียนบรรทุกทรายบ้าง เกวียนบรรทุกฟาง บ้าง เกวียนบรรทุกไม้เลียบบ้าง ทรงยิงลูกธนูไปในน้ำได้ประมาณอุสภะหนึ่ง บนบกได้ประมาณแปดอุสภะ.

ครั้งนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ควรยิงขนทราย ที่หมายไว้ที่ผลมะอึก.

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงผูกผลมะอึก ไกล ประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วให้ผูกขนทรายที่หมายไว้ที่ผลมะอึก ไกลประมาณ โยชน์หนึ่ง ทรงยิงลูกธนูไปในทิศที่ปิดด้วยแผ่นเมฆ ในความมืดแห่งราตรี. ลูกธนูนั้นไปผ่าขนทราย ไกลประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วเข้าไปสู่แผ่นดิน. มิใช่ เพียงเท่านั้นอย่างเดียว วันนั้น พระมหาบุรุษทรงแสดงศิลปะที่ใช้กันอยู่ในโลก ทุกอย่าง.

ครั้งนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายประดับธิดาของตนส่งไป สตรีสี่หมื่นนาง ได้เป็นนางสนมนาฏ ส่วนพระเทวีมารดาพระราหุล ได้เป็นอัครมเหสี. พระมหาบุรุษอันสตรีรุ่นจำเริญแห่งมนุษย์แวดล้อม เหมือนเทวกุมาร อันสตรีรุ่น จำเริญแห่งเทวดาแวดล้อมฉะนั้น อันดนตรีที่ไร้บุรุษบำเรออยู่ เสวยมหาสมบัติ ประทับอยู่ ณ ปราสาท ๓ หลังนั้น เปลี่ยนไปตามฤดู.

ต่อมาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภาคพื้นที่พระอุทยาน ทรงเรียกสารถีมาแล้วตรัสสั่งว่า จงเทียมรถไว้ เราจะชมสวน สารถี

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 706

นั้นรับพระดำรัสแล้ว ก็ประดับรถอันเป็นพาหนะที่สมควรยิ่งใหญ่ มีทูบและ สายรัดงามมั่นคง มีกงและดุมมั่นคง มีงอนและหน้าประดับด้วยทองเงินและ แก้วมณี ข้างกงประดับด้วยดวงดาวทองและเงิน มีสิริสง่าด้วยพวงดอกไม้มี กลิ่นหอมชนิดต่างๆ ที่กำรวมกันไว้ เป็นที่น่าดูเสมือนรถพระอาทิตย์ เทียม มงคลสินธพ ๔ ตัว ที่เป็นม้าอาชาไนย ฝีเท้าดังพระยาครุฑในอากาศ มีสี เสมือนดวงจันทร์และดอกกุมุท แล้วทูลให้พระโพธิสัตว์ทรงทราบ พระโพธิ- สัตว์ เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่งคันนั้น ซึ่งเสมือนเทพพิมาน เสด็จบ่ายพระพักตร์ ไปสู่พระอุทยาน.

ลำดับนั้น เทวดาทั้งหลายดำริกันว่า ใกล้เวลาตรัสรู้ของพระสิทธัตถะ กุมารแล้ว จำเราจักแสดงบุพนิมิตแด่พระองค์ จึงแสดงเป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง มีสรีระคร่ำคร่าเพราะชรา ฟันหัก ผมหงอก ตัวค้อมลง สั่นเทา. พระโพธิสัตว์ และสารถีต่างก็เห็นคนแก่นั้น. แต่นั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสถามโดยนัยที่มาใน มหาปทานสูตรว่า ดูก่อนสารถี บุรุษนั่นชื่ออะไร แม้แต่ผมของเขาก็ไม่เหมือน ของคนอื่นๆ เป็นต้น ครั้นฟังคำของสารถีนั้นแล้ว ก็ทรงสังเวชพระหฤทัยว่า ท่านเอ๋ย น่าตำหนิชาติจริงหนอ ที่คนเกิดมาแล้ว ต้องปรากฏชราความแก่ ดังนี้ เสด็จกลับจากที่นั้นแล้วก็เสด็จขึ้นปราสาท.

พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ลูกของเราจึงกลับ. สารถีทูลว่า เพราะทรงเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า. แต่นั้น พระราชาทรงหวั่นพระหฤทัย ทรง วางกองรักษาการณ์ไว้ในที่กึ่งโยชน์. วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็นคนเจ็บ ซึ่งเทวดาเหล่านั้นนั่นแหละเนรมิต ทรงถามเหมือนนัยก่อน สังเวชพระหฤทัย เสด็จกลับขึ้นปราสาท. พระราชาตรัสถามแล้ว ทรงจัดนัก ฟ้อนทั้งหลาย ทรงพระดำริว่า จำเราจักทำใจลูกเราให้แยกออกไปจากการบวช จึงทรงเพิ่มอารักขา ทรงตั้งกองรักษาการณ์ในที่ประมาณสามคาวุตโดยรอบ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 707

แม้รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็นคน ตายที่เทวดาเนรมิตอย่างนั้นเหมือนกัน ทรงถามเหมือนนัยก่อน สังเวชพระหฤทัยแล้วเสด็จกลับขึ้นปราสาทเลย พระราชาตรัสถามถึงเหตุที่เสด็จกลับ ทรง เพิ่มอารักขาอีก ทรงดังกองรักษาการณ์ไว้ในที่โยชน์หนึ่ง.

แม้รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปพระอุทยาน ทรงเห็น นักบวชนุ่งดี ห่มดี ที่เทวดาเนรมิตอย่างนั้นเหมือนกัน ตรัสถามสารถีว่า สหายสารถี ผู้นั้นชื่ออะไร. สารถีไม่รู้จักนักบวชหรือคุณของนักบวช เพราะ พระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เขาก็ตอบโดยอานุภาพของเทวดา ว่า ผู้นี้ชื่อนักบวช พระเจ้าข้า. แล้วพรรณาคุณของการบวชแก่พระโพธิสัตว์ นั้น.

แต่นั้น พระโพธิสัตว์เกิดความชอบใจการบวช จึงเสด็จไปพระอุทยาน. พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอายุยืน เมื่อล่วงไปทุกร้อยปี จึงเห็นบุพนิมิตแต่ละอย่าง บรรดาบุพนิมิต ๔ มีคนแก่เป็นต้น. ส่วนพระโพธิสัตว์ของเรา เพราะอุบัติ ในยุคที่มนุษย์มีอายุน้อย ล่วงไปทุก ๔ เดือน จึงเสด็จไปพระอุทยาน ทรง เห็นบุพนิมิตแต่ละอย่างโดยลำดับ. แต่พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าว ว่า ได้เสด็จไปเห็นนิมิต ๔ วันเดียวกันเท่านั้น. พระโพธิสัตว์ทรงเล่น ณ พระอุทยานนั้น ตลอดทั้งวัน ทรงชื่นชมรสพระอุทยาน แล้วทรงสรงสนาน ณ สระมงคลโบกขรณี เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงคต ประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่น มงคลศิลา มีพระประสงค์จะทรงแต่งพระองค์.

ลำดับนั้น วิสสกรรมเทพบุตร อันท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงทราบ พระหฤทัยของพระโพธิสัตว์ ทรงใช้แล้ว ก็มาเป็นเสมือนช่างกัลบกสำหรับ พระโพธิสัตว์นั้น ก็ประดับด้วยเครื่องอลังการที่เป็นทิพย์ เมื่อนักดนตรี

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 708

สัพพตาลทั้งหลายแสดงปฏิภาณของตนๆ แก่พระโพธิสัตว์นั้น ซึ่งประดับด้วย อลังการทุกอย่างแล้ว และเมื่อพราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญด้วยถ้อยคำเป็นต้นว่า ชย นรินฺท ข้าแต่พระจอมนระ ขอจงทรงชนะ และเมื่อผู้ถือมงคลมีสุตมัง- คลิกะเป็นต้น สรรเสริญด้วยคำมงคลและเสียงสดุดีมีประการต่างๆ พระโพธิสัตว์ ก็เสด็จขึ้นรถ ที่ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง.

สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงสดับข่าวว่า พระมารดาพระราหุลประสูติโอรส ก็ทรงส่งข่าวไปว่า พวกเจ้าจงแจ้งความยินดีแก่ลูกของเรา. พระโพธิสัตว์ฟังข่าวนั้นแล้วตรัสว่า ห่วงเกิดแล้ว เครื่องผูกเกิดแล้ว. พระราชา ตรัสถามว่า ลูกของเราพูดอะไร. ทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็น ต้นไป หลานเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมาร.

แม้พระโพธิสัตว์ ก็ขึ้นทรงรถนั้นเสด็จเข้าสู่พระนคร ด้วยราชบริพาร หมู่ใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์อันน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก สมัยนั้น นางกษัตริย์ พระนาม ว่า กีสาโคตมี เพราะไม่ทรามด้วยพระรูปสิริ และพระคุณสมบัติ เสด็จไป ตามพื้นปราสาทชั้นบน ทรงเห็นพระรูปสิริของพระโพธิสัตว์กำลังเสด็จเข้าสู่ พระนคร ทรงเกิดปีติโสมนัสขึ้นเอง ทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสายํ อีทิโส ปติ.

บุรุษเช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาผู้ใด มารดาผู้นั้น ก็เย็นใจแน่ เป็นบุตรของบิดาผู้ใด บิดาผู้นั้น ก็เย็นใจ แน่ เป็นสามีของนารีผู้ใด นารีผู้นั้น ก็เย็นใจแน่.

พระโพธิสัตว์ทรงสดับอุทานนั้นแล้ว ทรงดำริว่า สตรีผู้นี้ให้เราได้ ยินถ้อยคำที่น่าฟังอย่างดี ด้วยว่าเราก็กำลังเที่ยวแสวงหานิพพาน วันนี้นี่แหละ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 709

ควรที่เราจะละทิ้งฆราวาสวิสัยแล้วออกบวชแสวงหานิพพาน ทรงเปลื้องแก้ว มุกดาหารออกจากพระศอ ทรงส่งแก้วมุกดาหารที่ทำความยินดีอย่างยิ่ง มีค่า นับแสน แด่เจ้าหญิงกีสาโคตมี ด้วยหมายพระหฤทัยว่า แก้วมุกดาหารนี้ จง เป็นสักการะส่วนบูชาอาจารย์สำหรับเจ้าหญิงพระองค์นี้. เจ้าหญิงกีสาโคตมีนั้น เกิดโสมนัสว่า สิทธัตถะกุมารมีจิตปฏิพัทธ์ในเรา ทรงส่งบรรณาการมาประทาน

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นปราสาทที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุให้ เกิดสิริยิ่งใหญ่ บรรทมเหนือพระที่บรรทม ในทันใดนั่นเอง เหล่าสตรีรุ่นๆ ทั้งหลาย ผู้มีดวงหน้างามเสมือนดวงจันทร์เต็มดวง มีริมฝีปากแดงเสมือนผล ตำลึงสุก มีฟันขาวสะอาดเรียบมีระเบียบไม่มีร่อง มีดวงตาเขียวคราม มีมวยผม มีคิ้วโก่งเขียวจัดดังดอกอัญชัน มีเต้านมเอิ่บอิ่มเต็มเสมอเป็นระเบียบ มีตะโพก ส่วนหน้าส่วนหลังผายคล่องแคล่ว ดังมณีเมขลาประดับด้วยทองและเงิน ทำ ความรื่นรมย์ มีลำขาทั้งคู่เฉกเช่นงวงกุญชร ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้องและ บรรเลง มีรูปโฉมไฉไลเช่นเทพธิดา ถือดนตรีที่มีเสียงไพเราะ พากันมาห้อม ล้อมพระมหาบุรุษนั้น ให้ทรงรื่นเริง ประกอบการฟ้อน การขับร้อง และ บรรเลง. แต่พระโพธิสัตว์ไม่ทรงยินดียิ่งในการฟ้อนการขับร้องเป็นต้น เพราะ ทรงมีจิตหน่ายในกิเลสทั้งหลาย บรรทมหลับไปครู่หนึ่ง.

สตรีเหล่านั้น เห็นพระโพธิสัตว์นั้น คิดว่า พวกเราประกอบการ ฟ้อนเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นก็บรรทมหลับไปแล้ว บัดนี้ พวกเราจะลำบากเพื่อประโยชน์อะไรเล่า แล้วก็นอนทับดนตรีที่ต่างถือกัน อยู่หลับไป ประทีปน้ำมันหอมก็ยังติดโพลงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทม ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่เหนือหลังพระที่บรรทม ทรงเห็นสตรีเหล่านั้น นอนทับ เครื่องดนตรี มีน้ำลายไหล มีแก้มและเนื้อตัวสกปรก บางพวกกัดฟัน บาง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 710

พวกกรน บางพวกละเมอ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ปรากฏ ที่น่ากลัวที่คับแคบ บางพวกมีผมปล่อยยุ่ง นอนทรงรูปเหมาะแก่ป่าช้า พระ มหาสัตว์ทรงเห็นอาการแปลกๆ ของสตรีเหล่านั้น ก็ยิ่งทรงมีจิตหน่ายในกาม ทั้งหลายสุดประมาณ พื้นปราสาทที่ประดับตกแต่งแม้งดงามเสมือนภพท้าว สหัสสนัยน์ ก็ปรากฏแก่พระมหาสัตว์นั้น ปฏิกูลอย่างยิ่ง เหมือนป่าช้าผีดิบ ที่เต็มด้วยซากศพสรีระของคนตายที่เขาทอดทิ้งไว้ แม้ภพทั้งสามก็ปรากฏเสมือน ภพที่ไฟไหม้ ทรงพร่ำบ่นว่า วุ่นวายจริงหนอ ขัดข้องจริงหนอ พระหฤทัย ก็น้อมไปเพื่อบรรพชาอย่างยิ่ง พระองค์ทรงดำริว่าวันนี้นี่แหละ เราควรออก มหาภิเนษกรมณ์ทรงลุกจากที่พระบรรทม เสด็จไปใกล้ประตู ตรัสถามว่าใคร อยู่ที่นั่น นายฉันนะ นอนศีรษะใกล้ธรณีประตู ทูลว่า ข้าพระบาทฉันนะ พระลูกเจ้า ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า วันนี้เราประสงค์จะออกมหาภิเนษกรมณ์ เจ้าอย่าบอกใคร จงเตรียมสินธพเร็วฝีเท้าจัดไว้ตัวหนึ่งนะ นาย ฉันนะนั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ถือเครื่องประกอบม้าไปยังโรงม้า พบม้าฝีเท้า ดีชื่อกัณฐกะ ย่ำยีข้าศึกได้ ยืน ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ภายใต้เพดาน แผ่นดอกมะลิ เมื่อประทีบน้ำมันหอม ยังลุกโพลงอยู่คิดว่า วันนี้เราควรเตรียม ม้ามงคลตัวนี้ เพื่อพระลูกเจ้าออกอภิเนษกรมณ์ แล้วก็เตรียมม้ากัณฐกะไว้ ม้ากัณฐกะนั้นเมื่อถูกจัดเตรียมไว้ก็รู้ว่า การจัดเตรียมนี้ หนักนัก ไม่เหมือน การจัดเตรียมในเวลาเสด็จไปเล่นสวน วันอื่นๆ พระลูกเจ้าจักออกมหาภิเนษ- กรมณ์ในวันนี้ ไม่ต้องสงสัยเลย. แต่นั้น ม้ากัณฐกะก็มีใจยินดีร้องดังลั่น เสียง ร้องนั้น กังวาลไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ แต่เทวดาปิดกั้นไว้ไม่ให้ใครๆ ได้ยิน.

พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักดูลูกเสียก่อน จึงลุกจากที่ประทับยืนอยู่ เสด็จไปยังที่ประทับอยู่ของพระมารดาพระราหุล ทรงเปิดประตูห้อง ขณะนั้น

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 711

ประทีปน้ำมันหอมในห้อง ยังติดโพลงอยู่. พระมารดาพระราหุล บรรทมวาง พระหัตถ์ไว้เหนือกระหม่อมพระโอรสบนที่บรรทม อันเกลื่อนกล่นด้วยดอกมะลิ เป็นต้นเป็นอัมพณะ พระโพธิสัตว์วางพระบาทที่ธรณีประตู ประทับยืนทรง มองดู ทรงดำริว่า ถ้าเราจักยกพระหัตถ์ของพระเทวีออกไปแล้วจับลูกเรา พระเทวีก็จักตื่นเมื่อเป็นดั่งนั้น อภิเนษกรมณ์ของเราก็จักเป็นอันตราย เราจัก เป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงค่อยมาดูลูกเรา เสด็จลงจากพื้นปราสาทแล้วเสด็จเข้า ไปใกล้มาตรัสอย่างนี้ว่า พ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าต้องให้เราข้ามไปราตรีหนึ่ง เรา อาศัยเจ้าแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า ยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ แต่นั้นก็ทรง โดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ. ม้ากัณฐะ โดยส่วนยาวนับตั้งแต่คอ ก็ยาว ๑๘ ศอก ประกอบด้วยส่วนสูงพอเหมาะกับส่วนยาวนั้น ถึงพร้อมด้วยรูป ฝีเท้าและกำลัง อันเลิศ ขาวปลอด สีสรรน่าดูเสมือนสังข์ขัด แต่นั้น พระโพธิสัตว์ ประทับอยู่ บนหลังม้าทรง โปรดให้นายฉันนะจับหางม้า ถึงประตูใหญ่แห่งพระนครตอน ครึ่งคืน.

ครั้งนั้น แต่ก่อน พระราชาโปรดให้จัดบุรุษไว้คอยเปิดประตูๆ ละ พันคน บรรดาบานประตู ๒ ประตู เพื่อห้ามพระโพธิสัตว์เสด็จไป ทรงวาง บุรุษไว้เป็นอันมาก กองรักษาการณ์ ณ บานประตูนั้น ได้ยินว่า พระโพธิ- สัตว์ทรงกำลังเท่ากับบุรุษจำนวนแสนโกฏิ เท่ากับช้างจำนวนพันโกฏิ เพราะ ฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้น จึงทรงดำริว่า ผิว่า ประตูไม่ยอมเปิด วันนี้เราจะ นั่งหลังกัณฐกะ ให้นายฉันนะจับหาง เอาสองชาบีบกัณฐกะ โดดขึ้นผ่าน กำแพง ๑๘ ศอก ไปพร้อมกับฉันนะเลย นายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราก็จะเอาพระลูกเจ้าขึ้นบนคอ เหวี่ยงกัณฐกะด้วยมือขวา หนีบไว้ที่รักแร้จะ โดดขึ้นผ่านกำแพงไปได้ ม้ากัณฐกะก็คิดว่า เมื่อประตูไม่เปิด เราก็จักประดิษ- ฐานพระลูกเจ้าตามที่ประทับนั่งอยู่ โดดขึ้นไปพร้อมกับนายฉันนะ ที่จับหางไว้

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 712

โดดไว้ข้ามหน้ากำแพงไป ทั้งสามคนคิดเหมือนกันอย่างนี้ เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ที่ประตูก็ช่วยกันเปิดประตูใหญ่.

ขณะนั้น มารผู้มีบาปคิดว่า จักให้พระมหาสัตว์กลับไป จึงมายืนอยู่ กลางอากาศกล่าวว่า

มา นิกฺขม มหาวีร อิโต เต สตฺตเม ทิเน ทิพฺพํ ตุ จกฺกรตนํ อทฺธา ปาตุ ภวิสฺสติ.

ท่านมหาวีระ อย่าออกอภิเนษกรมณ์เลย นับแต่ นี้ไป ๗ วัน จักรรัตนะทิพย์จะปรากฏ แก่ท่านแน่นอน.

ท่านจักครองราชย์แห่งทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร กลับ เสียเถิด ท่านผู้นิรทุกข์. พระมหาบุรุษตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร. มารตอบว่า เราเป็นผู้มีอำนาจ [มาร] พระมหาบุรุษตรัสว่า

ชานามหํ มหาราช มยฺหํ จกฺกสฺส สมฺภวํ อนตฺถิโกหํ รชฺเชน คจฺฉ ตฺวํ มาร มา อิธ.

ดูก่อนมหาราช เรารู้ว่าจักกรัตนะ จะปรากฏแก่ เรา แต่เราไม่ต้องการจักกวัตติราชย์ ไปเสียเถิดมาร อย่ามาในที่นี้เลย.

สกลํ ทสสหสฺสมฺปิ โลกธาตุมหํ ปน อุนฺนาเทตฺวา ภวิสฺสามิ พุทฺโธ โลเก วินายโก.

แต่เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ผู้นำพิเศษในโลก บันลือลั่นไปทั่วหมื่นโลกธาตุ.

มารนั้น ก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง.

เวลาที่พระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระมหาสัตว์ทรงทิ้งจักรวรรดิราชย์ ที่ตกอยู่ในพระหัตถ์ ไม่ทรงเยื่อใยเหมือนก้อนเขฬะ เสด็จออกจากพระราชย์-

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 713

นิเวศน์อันเป็นสิรินิวาสแห่งจักรพรรดิ เมื่อดาวนักษัตรอุตตราสาฬหะเพ็ญเดือน อาสาฬหะ เสด็จออกจากพระนคร ได้มีพระประสงค์จะทรงแลดูพระนคร ใน ลำดับแห่งความตรึกนั่นเอง ภูมิประเทศนั้น ก็แปรเปลี่ยนไปเหมือนจักรแป้น หมุนทำภาชนะดิน แก่พระองค์ พระมหาสัตว์ทรงยืนอยู่อย่างเดิม ทอดพระเนตร กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงกระตุ้นม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าไปตามทางที่พึงไป แสดง เจดียสถาน ชื่อ กัณฐกนิวัตตนะ ที่ม้ากัณฐกะหันหน้ากลับ ณ ภูมิประเทศนั้น เสด็จไปด้วยสักการะยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุให้เกิดสิริอันโอฬาร.

ครั้งนั้น เมื่อพระมหาสัตว์กำลังเสด็จไป เทวดาทั้งหลายชูคบเพลิง จำนวนหกล้านดวงข้างหน้าพระมหาสัตว์นั้น ข้างหลังก็หกล้านดวงเหมือน กัน ข้างขวาก็หกล้านดวง ช้างซ้ายก็เหมือนกัน เทวดาพวกอื่นๆ อีก ก็สักการะด้วยพวงมาลัยดอกไม้หอม จุรณจันทน์ พัดจามรและธงผ้า ห้อม ล้อมไป สังคีตทิพย์และดนตรีเป็นอันมาก ก็บรรเลงได้เอง.

พระโพธิสัตว์ เสด็จไปด้วยเหตุที่ให้เกิดสิริอย่างนี้ เสด็จหนทาง ๓๐ โยชน์ผ่าน ๓ ราชอาณาจักร ราตรีเดียวเท่านั้น ก็ถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงยืน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ ตรัสถามนายฉันนะว่า แม่น้ำนี้ชื่อไร ทูลตอบว่า แม่น้ำอโนมา ทรงใช้ส้นพระบาท กระแทกม้าให้ สัญญาณแก่ม้า ม้าก็โดดไปยืนอยู่ริมฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำซึ่งกว้าง ๘ อุสภะ พระ โพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนที่หาดทรายเสมือนกองแก้วมุกดา เรียก นายฉันนะมาตรัสสั่งว่า สหายฉันนะ เจ้าจงนำอาภรณ์ของเรากับกัณฐกะกลับไป เราจักบวช.

นายฉันนะทูลว่า แม้ข้าพระบาทก็จักบวช พระลูกเจ้า. พระโพธิสัตว์ ตรัสว่า เจ้ายังบวชไม่ได้ เจ้าต้องกลับไป ทรงห้าม ๓ ครั้งแล้ว ทรงมอบ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 714

อาภรณ์และม้ากัณฐกะแล้วทรงดำริว่า ผมของเราอย่างนี้ ไม่เหมาะแก่สมณะ จำจักตัดผมเหล่านั้นด้วยพระขรรค์ ทรงจับพระขรรค์อันคมกริบด้วยพระหัตถ์ ขวา รวบพระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลีด้วยพระหัตถ์ซ้ายแล้วตัด เหลือพระเกศา สององคุลีเวียนขวา ตัดพระเศียร พระเกสาเหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น จน ตลอดพระชนมชีพ ส่วนพระมัสสุ ก็เหมาะแก่ประมาณพระเกสานั้น แต่พระองค์ไม่มีกิจที่จะต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีกเลยนี้ พระโพธิสัตว์ทรงรวบ พระจุฬาพร้อมด้วยพระเมาลี อธิษฐานว่า ถ้าเราจักเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ผมนี้ จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าไม่เป็นไซร้ ก็จงหล่นลงเหนือพื้นดิน แล้วเหวี่ยงไปใน อากาศ กำพระจุฬามณีนั้น ไประยะประมาณโยชน์หนึ่งแล้วก็ตั้งอยู่ในอากาศ. ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงตรวจดูด้วยจักษุทิพย์ ทรงเอาผอบรัตนะ ขนาดโยชน์หนึ่งรับกำพระจุฬามณีนั้น แล้วทรงสถาปนาเป็นพระจุฬามณีเจดีย์ สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขนาด ๓ โยชน์ไว้ในภพดาวดึงส์ ดังที่ท่านกล่าว ไว้ว่า

เฉตฺวาน โมลึ วรคนฺธวาสิตํ เวหายสํ อุกฺขิปิ อคฺคปุคฺคโล สหสฺสเน โต สิรสา ปฏิคฺคหิ สุวณฺณจงฺโกฏวเรน วาสโว.

พระผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วย ของหอมอย่างดี ทรงเหวี่ยงขึ้นสู่อากาศ ท้าววาสวะ สหัสสนัยน์ ทรงเอาผอบทองอย่างดีรับไว้ด้วยเศียร เกล้า.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริอีกว่า ผ้ากาสีเหล่านั้นมีค่ามาก ไม่เหมาะแก่ สมณะของเรา ลำดับนั้น ฆฏิการมหาพรหม สหายเก่าครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 715

ของพระโพธิสัตว์นั้น ดำริโดยมิตรภาพที่ไม่ถึงความพินาศตลอดพุทธันดรหนึ่ง ว่า วันนี้สหายเราออกอภิเนษกรมณ์ จำเราจักถือสมณบริขารไปเพื่อสหายนั้น จึงนำบริขาร ๘ เหล่านั้นไปถวาย คือ

ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สูจิ จ พนฺธนํ ปริสฺสาวนญฺจ อฏฺเเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน.

บริขาร ๘ เหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคด และผ้ากรองน้ำ เป็นของภิกษุผู้ประกอบ ความเพียร.

พระมหาบุรุษทรงครองผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ถือเพศบรรพชาสูง สุด ทรงเหวี่ยงคู่ผ้า [นุ่งห่ม] ไปในอากาศ. ท้าวมหาพรหมรับคู่ผ้านั้นแล้ว สร้างเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะขนาด ๑๒ โยชน์ในพรหมโลก บรรจุคู่ผ้านั้นไว้ข้าง ใน. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะนายฉันนะว่า ฉันนะเจ้าจงบอกแก่พระชนก พระชนนีตามคำของเราว่า เราสบายดี แล้วทรงส่งไป. แต่นั้น นายฉันนะก็ ถวายบังคมพระมหาบุรุษ ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ส่วนม้ากัณฐกะยืนฟังคำ ของพระโพธิสัตว์ ผู้ปรึกษากับนายฉันนะ รู้ว่า บัดนี้เราจะไม่เห็นนายของเรา อีก พอละสายตาของพระมหาบุรุษนั้น ไม่อาจทนวิปโยคทุกข์ได้ ก็หัวใจแตก ตายไปบังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์ ซึ่งเป็นภพที่ข้าศึกของ เทวดาครอบงำได้แสนยาก การอุบัติของกัณฐกะเทพบุตรนั้น พึงถือเอาตาม อรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อวิมลัตถวิลาสินี. ความโศกได้มีแก่นายฉันนะเป็นครั้ง ที่ ๑ เพราะความตายของม้ากัณฐกะ นายฉันนะ ถูกความโศกครั้งที่ ๒ เบียด เบียน ก็ร้องไห้คร่ำครวญ เดินทางไปด้วยความทุกข์.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงผนวชแล้ว ในประเทศนั้นนั่นแล มีสวน มะม่วงชื่อ อนุปิยะ อยู่ จึงทรงยับยั้งอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน นั้น ๗ วัน ด้วย

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 716

ความสุขในบรรพชาภายหลังจากนั้น ก็ทรงสำรวมด้วยผ้ากาสาวะอันดี เหมือน ดวงรัชนีกรเต็มดวง สำรวมอยู่ในหมู่เมฆที่อาบด้วยแสงสนธยา แม้ลำพัง พระองค์ก็รุ่งเรืองเหมือนชนเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว ทรงทำบรรพชานั้น เหมือนน้ำอมฤตต้องของเหล่ามฤคและปักษีที่อยู่ป่า ทรงเที่ยวไป พระองค์ เดียวเหมือนราชสีห์ ทรงเป็นนรสีหะ เหมือนควาญผู้ รู้จักลีลาของช้างตกมัน ยังแผ่นดินให้เบาด้วยฝ่าเท้า เสด็จเดินทาง ๓๐ โยชน์ วันเดียวเท่านั้น ทรง ข้ามแม่น้ำคงคา ซึ่งคลั่งด้วยฤดูและคลื่น แต่ไม่ขัดข้อง เสด็จเข้าสู่นครราช- คฤห์ เรือนหลวงอันแพรวพราวด้วยประกายแสงแห่งรัตนะ ครั้นเสด็จเข้าไป แล้ว ก็เที่ยวแสวงหาภิกษาตามลำดับตรอก. ทั่วทั้งนครนั้นก็สะเทือนเพราะการ เห็นพระรูปของพระโพธิสัตว์ เหมือนนครนั้นสะเทือน เมื่อช้างธนบาลเข้าไป เหมือนเทวนครสะเทือน เมื่อจอมอสูรเข้าไป. เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จเที่ยวแสวง หาภิกษา พวกมนุษย์ชาวพระนคร เกิดความอัศจรรย์สำหรับผู้เกิดปีติโสมนัส เพราะเห็นพระรูปของพระมหาสัตว์ ก็ได้มีใจนึกถึงการเห็นพระรูปของพระ โพธิสัตว์.

บรรดามนุษย์เหล่านั้น มนุษย์ผู้หนึ่งกล่าวกะมนุษย์ผู้หนึ่งอย่างนี้ว่า ท่านเอย เหตุอะไรหนอ จันทร์เพ็ญ ที่มีช่อรัศมีที่ถูกภัยคือราหูกำบังแล้ว ยังมาสู่ มนุษยโลกได้. มนุษย์อื่นนอกจากนั้น ก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า พูดอะไรกันสหาย ท่านเคยเห็นจันทร์เพ็ญมาสู่มนุษยโลกกันเมื่อไร นั่นกามเทพมีดอกไม้เป็นธง มิใช่หรือ ท่านถือเพศอื่นเห็นความเจริญของลีลาอย่างยิ่งของมหาราชของเรา และชาวเมือง จึงเสด็จมาเล่นด้วย. คนอื่นนอกจากนั้นก็ยิ้มพูดอย่างนี้ว่า ท่าน เอย ท่านเป็นบ้ากันแล้วหรือ นั่น พระอินทรผู้มีสรีระร้อนเรืองด้วยความ โหมของเพลิงยัญอันเรืองแรง ผู้เป็นท้าวสหัสนัยน์ เป็นเจ้าแห่งเทวดา

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 717

มาในที่นี้ด้วยความสำคัญว่า อมรปุระ คนอื่นนอกจากนั้น หัวร่อนิดหน่อย แล้วกล่าวว่า ท่านเอย พูดอะไรกัน ท่านผิดทั้งคำต้นคำหลัง ท่านผู้นั้นมี พันคาที่ไหน มีวชิราวุธที่ไหน มีช้างเอราวัณที่ไหน ที่แท้ ท่านผู้นั้นเป็น พรหม ท่านรู้ว่าคนที่เป็นพราหมณ์ประมาทกันจึงมาเพื่อประกอบไว้ในพระเวทแล เวทางค์เป็นต้นต่างหากเล่า. คนอื่นที่เป็นบัณฑิตก็ปรามคนเหล่านั้นทั้งหมดพูด อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มิใช่พระจันทร์เพ็ญ มิใช่กามเทพ มิใช่ท้าวสหัสนัยน์ มิใช่ พรหมทั้งนั้น แต่ท่านผู้นี้ เป็นอัจฉริยมนุษย์ จะเป็นศาสดาผู้นำโลกทั้งปวง.

เมื่อชาวนครเจรจากันอยู่อย่างนี้ พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระเจ้าพิมพิสารว่า ข้าแต่สมมติเทพ เทพ คนธรรพ์ หรือนาคราช ยักษ์ หรือ ใครหนอเที่ยวแสวงหาภิกษาในนครของเรา. พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงยืน ณ ประสาทชั้นบน ทรงเห็นพระมหาบุรุษเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี ทรงสั่ง พวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงไปทดสอบท่านผู้นั้น ถ้าเป็นอมนุษย์ ก็จักออก จากนครหายไป ถ้าเป็นเทวดา ก็จักไปทางอากาศ ถ้าเป็นนาคราช ก็จักมุดดิน ถ้าเป็นมนุษย์ ก็จักบริโภคภิกษาตามที่ได้มา.

ฝ่ายพระมหาบุรุษ มีอินทรีย์สงบ มีพระหฤทัยสงบเป็นประหนึ่งดึงดูด สายตามหาชน เพราะความงามแห่งพระรูป ทรงแลชั่วแอก รวบรวมอาหาร ระคนกัน พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เสด็จออกจากนครทางประตูที่เสด็จเข้า มา บ่ายพระพักตร์ไปทางตะวันออกแห่งร่มเงาภูเขาปัณฑวะ ประทับนั่งพิจารณา อาหาร ไม่มีอาการผิดปกติเสวย. แต่นั้น พวกราชบุรุษก็ไปกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระราชา.

ลำดับนั้น พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ พระนามว่าพิมพิสาร ผู้อัน เหล่าพาลชนนึกถึงได้ยาก ผู้มีเขาพระเมรุและเขามันทาระเป็นสาระ ผู้ทรงเป็น แก่นสารแห่งสัตว์ ทรงมีความตื่นเต้นเพราะการเห็น ที่เกิดเพราะได้สดับคุณของ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 718

พระโพธิสัตว์เหล่านั้น ทรงรีบเสด็จออกจากพระนคร บ่ายพระพักตร์ตรงภูเขา ปัณฑวะ เสด็จไปแล้ว ลงจากพระราชยาน เสด็จไปยังสำนักพระโพธิสัตว์ อันพระโพธิสัตว์ทรงอนุญาตแล้วประทับนั่งเหนือพื้นศิลา อันเย็นด้วยความรัก ของชนผู้เป็นพวกพ้องทรงเลื่อมใสในพระอิริยาบถของพระโพธิสัตว์ ทรงได้รับ ปฏิสันถารแล้ว ทรงถามถึงนามและโคตร ทรงมอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างแด่ พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ข้าแต่พระมหาราช หม่อมฉันไม่ประสงค์ ด้วยวัตถุกาม หรือกิเลสกาม หม่อมฉันปรารถนาแต่พระปรมาภิสัมโพธิญาณ จึงออกบวช. พระราชาแม้ทรงอ้อนวอนหลายประการ ก็ไม่ได้น้ำพระหฤทัย ของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสว่า จักทรงเป็นพระพุทธเจ้าแน่ จึงทูลว่าก็พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นของหม่อมฉันก่อน แล้วเสด็จ เข้าสู่พระนคร.

อถ ราชคหํ วรราชคหํ นรราชวเร นครํ ตุ คเต คิริราชวโร มุนิราชวโร มิคราชคโต สุคโตปิ คโต.

เมื่อพระนรราชผู้ประเสริฐ เสด็จสู่กรุงราชคฤห์ ซึ่งมีเรือนหลวงอย่างประเสริฐ พระจอมคีรีผู้ประเสริฐ พระจอมมุนีผู้ประเสริฐ เสด็จไปเป็นเช่นพระยามฤค [ราชสีห์] เสด็จไปแล้ว ชื่อว่าเสด็จไปดีแล้ว.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสด็จจาริกไปตามลำดับ เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว ทรง ดำริว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางแห่งพระโพธิญาณ ไม่ทรงใส่พระหฤทัยถึงสมาปัตติ- ภาวนานั้นมีพระประสงค์จะทรงตั้งความเพียร จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาทรงดำริว่า

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 719

ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริงหนอ ทรงเข้าอยู่ ณ ตำบลนั้น ทรงตั้งความเพียรยิ่งใหญ่. ชน ๕ คนเหล่านี้คือบุตรของพราหมณ์ผู้ทำนายพระมหาปุริสลักษณะ ๔ คน และพราหมณ์ชื่อโกณฑัญญะ บวชคอยอยู่ก่อน เที่ยวภิกษาจารไปในคามนิคม ราชธานีทั้งหลาย บำรุงพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น. ลำดับนั้น เมื่อพากันบำรุงพระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งความเพียรยิ่งใหญ่อยู่ถึง ๖ ปี ด้วยวัตรปฏิบัติมีกวาดบริเวณเป็นต้น ด้วยหวังอยู่ว่า พระโพธิสัตว์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้ จักทรงเป็นพระพุทธ- เจ้าบัดนี้ อยู่ประจำสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ทรงยับยั้งอยู่ ด้วยงาและข้าวสารเมล็ดเดียว ด้วยทรงหมายจักทำทุกกรกิริยาอันถึงที่สุด ได้ ทรงตัดอาหารโดยประการทั้งปวง. แม้เทวดาทั้งหลาย ก็นำทิพโอชะใส่ลงตาม ขุมขนทั้งหลาย.

ครั้งนั้น พระวรกายที่มีสีทองของพระองค์ผู้มีพระกายถึงความซูบผอม อย่างยิ่ง เพราะไม่มีอาหารนั้นก็มีสีดำ. พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ก็ถูกปกปิด. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ทรงถึงที่สุดแห่งทุกกรกิริยา ทรงดำริว่า นี้ไม่ใช่ทาง แห่งพระโพธิญาณ มีพระประสงค์จะเสวยอาหารหยาบ จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ คามนิคมทั้งหลาย เสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ก็กลับเป็นปกติ พระวรกายมีสีเหมือนสีทอง. ขณะนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นพระองค์ ก็คิดว่า ท่านผู้นี้ แม้ทำทุกกรกิริยามา ๖ ปี ก็ไม่อาจแทงตลอด พระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้ยังเที่ยวบิณฑบาตไปในคามนิคมราชธานีทั้ง หลาย บริโภคอาหารหยาบ จักอาจได้อย่างไร ท่านผู้นี้มักมากคลายความเพียร ประโยชน์อะไรของเราด้วยท่านผู้นี้ แล้วก็ละพระมหาบุรุษ พากันไปยัง ป่าอิสิปตนะ กรุงพาราณสี.

สมัยนั้น วันวิสาขบูรณมี พระมหาบุรุษเสวยข้าวมธุปายาส ซึ่งเทวดา ใส่ทิพโอชะ อันหญิงวัยรุ่นชื่อสุชาดา ผู้บังเกิดในครอบครัวของเสนานีกุฎุมพี

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 720

ตำบลอุรุเวลา เสนานิคมถวายแล้ว ทรงถือถาดทองวางลงสู่กระแสแม่น้ำ เนรัญชรา ปลุกพระยากาฬนาคราชผู้หลับให้ตื่นแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน ซึ่งประดับด้วยดอกไม้หอม มีแสงสีเขียว น่า รื่นรมย์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเวลาเย็น เสด็จมุ่งตรงไปยังต้นโพธิพฤกษ์ตาม ทางที่เทวดาทั้งหลายประดับแล้ว. เทวดานาคยักษ์สิทธาเป็นต้น พากัน บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้. สมัยนั้น คนหาหญ้า ชื่อโสตถิยะ ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้อาการของพระมหาบุรุษ จึงถวายหญ้า ๘ กำ พระโพธิสัตว์ทรงรับหญ้าแล้วเสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ซึ่ง เป็นวิชัยพฤกษ์อันรุ่งโรจน์กว่าหมู่ต้นไม้ทั้งหลาย คล้ายอัญชันคิรีสีเขียวคราม ประหนึ่งช่วยบรรเทาแสงทินกร มีร่มเงาเย็น เย็นด้วยพระกรุณา ดังพระหฤทัย ของพระองค์ เว้นจากการชุมนุมของวิหคนานาชนิด ประดับด้วยกิ่งอันทึบ ต้องลมอ่อนๆ โชยมาประหนึ่งฟ้อนรำ และประดุจยินดีด้วยปีติ ทรงทำประทักษิณพญาอัสสัตถพฤกษ์ ๓ ครั้ง ประทับยืนทางทิศอีสาน ทรงจับยอดหญ้า เขย่า. ทันใดนั่นเอง ก็มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก หญ้าเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนจิตรกร วาดไว้. พระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้า ๑๔ ศอก ทรง อธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ทรงทำลำต้นโพธิพฤกษ์ ๕๐ ศอกไว้ เบื้องหลัง ดังลำต้นเงินที่เขาวางไว้เหนือตั่งทอง กั้นด้วยกิ่งโพธิพฤกษ์เหมือน ฉัตรมณีไว้เบื้องบน ประทับนั่ง. ก็ยอดอ่อนโพธิพฤกษ์ล่วงลงมาที่จีวรสีทองของ พระองค์ ก็รุ่งโรจน์เหมือนวางแก้วประพาฬไว้ที่แผ่นทอง.

เมื่อพระโพธิสัตว์ ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์นั้น วสวัตดีมารเทพบุตร คิดว่าสิทธัตถกุมารประสงค์จะล่วงวิสัยของเรา บัดนี้เราจักไม่ให้สิทธัตถะกุมาร นั้นล่วงวิสัย จึงบอกความนั้นแก่กองกำลังของมาร แล้วพากองกำลังมารออก ไป. ได้ยินว่า ทัพมารนั้น ข้างหน้าของมาร ก็ขนาด ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 721

ข้างซ้ายก็อย่างนั้น แต่ข้างหลัง ตั้งอยู่สุดจักรวาล เบื้องบนสูง ๙ โยชน์. ได้ยินเสียงคำราม ดังเสียงแผ่นดินคำราม ตั้งแต่เก้าพันโยชน์.

สมัยนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงยืนเป่าสังข์ ชื่อวิชยุตตระ เขาว่า สังข์นั้น ยาวสองพันศอก. คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดัง ผลมะตูม ยาวสามคาวุตบรรเลง ยืนขับร้องเพลงประกอบด้วยมงคล ท้าว- สุยามเทวราช ทรงถือทิพยจามร อันมีสิริดังดวงจันทร์ยามฤดูสารท ยาวสาม คาวุต ยืนถวายงานพัดลมอ่อนๆ. ส่วนท้าวสหัมบดีพรหม ยืนกั้นฉัตรดัง จันทร์ดวงที่สอง กว้างสามโยชน์ ไว้เบื้องบนพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้แต่ มหากาฬนาคราช อันนาคฝ่ายฟ้อนรำแปดหมื่นแวดล้อม ร่ายคาถาสดุดีนับร้อย ยืนนมัสการพระมหาสัตว์ เทวดาในหมื่นจักรวาล บูชาด้วยพวงดอกไม้หอม และจุรณธูปเป็นต้น พากันยืนถวายสาธุการ.

ลำดับนั้น เทวบุตรมารขึ้นช้างที่กันข้าศึกได้ เป็นช้างที่ประดับด้วย รัตนะ ชื่อคิริเมขละ งามน่าดูอย่างยิ่ง เสมือนยอดหิมะคิรี ขนาดร้อยห้าสิบ โยชน์ เนรมิตแขนพันแขน ให้จับอาวุธต่างๆ ด้วยการจับอาวุธที่ยังไม่ได้จับ. แม้บริษัทของมารมีกำลังถือดาบ ธนู ศร หอก ยกธนู สาก ผาล เหล็กแหลม หอก หลาว หิน ค้อน กำไลมือ ฉมวก กงจักร เครื่องสวมคอ ของมีคม มี หน้าเหมือนกวาง ราชสีห์ แรด กวาง หมู เสือ ลิง งู แมว นกฮูก และมี หน้าเหมือนควาย ฟาน ม้า ช้างพลายเป็นต้น มีกายต่างๆ น่ากลัว น่าประหลาด น่าเกลียด มีกายเสมือนมนุษย์ยักษ์ปีศาจ ท่วมทับพระมหาสัตว์โพธิสัตว์ ผู้ ประทับนั่ง ณ โคนโพธิพฤกษ์ เดินห้อมล้อม ยืนมองดูการสำแดงของมาร.

แต่นั้น เมื่อกองกำลังของมาร เข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน บรรดาเทพ เหล่านั้น มีท้าวสักกะเป็นต้น เทพแม้แต่องค์หนึ่ง ก็ไม่อาจจะยืนอยู่ได้. เทพ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 722

ทั้งหลายก็พากันหนีไปต่อหน้าๆ นั่นแหละ ก็ท้าวสักกะเทวราช ทำวิชยุตตรสังข์ไว้ที่ปฤษฎางค์ ประทับยืน ณ ขอบปากจักรวาล. ท้าวมหาพรหม วาง เศวตฉัตรไว้ที่ปลายจักรวาลแล้วก็เสด็จไปพรหมโลก. กาฬนาคราชก็ทิ้งนาค- นาฏกะไว้ทั้งหมด ดำดินไปยังภพมัญเชริกนาคพิภพลึก ๕๐๐ โยชน์ นอนเอา มือปิดหน้า ไม่มีแม้แต่เทวดาสักองค์เดียว ที่จะสามารถอยู่ในที่นั้นได้. ส่วน พระมหาบุรุษ ประทับนั่งอยู่แต่ลำพัง เหมือนมหาพรหมในวิมานว่างเปล่า. นิมิต ร้าย ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นอันมากปรากฏก่อนทีเดียวว่า บัดนี้ มารจักมา ดังนี้.

เมื่อเวลาการยุทธของพระยามาร และของพระผู้เผ่าพันธุ์แห่งไตรโลก ดำเนินไปอยู่ อุกกาบาตอัน ร้ายกาจก็ตกลงโดยรอบ ทิศทั้งหลายก็มืดคลุ้มด้วยควัน.

แผ่นดินแม้นี้ไม่มีใจ ก็เหมือนมีใจ ถึงความ พลัดพราก เหมือนหญิงสาวพลัดพรากสามี แผ่นดิน ที่ทรงสระต่างๆ พร้อมทั้งสาครก็หวั่นไหว เหมือน เถาวัลย์ต้องลมพัดแรง.

มหาสมุทรก็มีน้ำปั่นป่วน แม้น้ำทั้งหลายก็ไหล ทวนกระแส ลำต้นไม้ต่างๆ ก็คดงอแตกติดดินแห่ง ภูผาทั้งหลาย.

ลมร้ายก็พัดไปรอบๆ มีเสียงอึกทึกครึกโครม ความมืดที่ปราศจากดวงอาทิตย์ ก็เลวร้าย ตัวกะพันธ์ ก็ท่องไปกลางหาว.

เขาว่า ลางร้ายอันพิลึก ดังกล่าวไม่น่าเจริญใจ ไม่น่าปรารถนา ทั้งที่อยู่ในอากาศและที่อยู่ภาคพื้นดิน เป็นอันมาก ก็มีโดยรอบในขณะที่มารมา.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 723

ส่วนหมู่เทพทั้งหลาย เห็นมารประสงค์จะประหารพระมหาสัตว์ ผู้เป็นเทพแห่งเทพนั้น ก็เอ็นดู พร้อมด้วยหมู่เทพก็พากันทำเสียงว่า หา หา.

แม้ภายหลัง ก็เห็นมารนั้น พร้อมทั้งกองกำลัง เป็นอันมาก ที่ฝึกมาดีแล้ว พากันหนีไปในทิศใหญ่ ทิศน้อย อาวุธในมือก็ตกไป.

พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้แกล้วกล้า ปราศจาก ภัย ประทับนั่งอยู่ท่ามกลางกองกำลังของมาร เหมือน พระยาครุฑอยู่ท่ามกลางฝูงวิหค เหมือนราชสีห์ผู้ยิ่งยง อยู่ท่ามกลางฝูงมฤคฉะนั้น.

ครั้งนั้น มารคิดว่า จักยังพระสิทธัตถะให้กลัวแล้วหนีไป แต่ไม่อาจ ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยฤทธิ์มาร ๙ ประการ คือ ลม ฝน ก้อนหิน เครื่อง ประหาร ถ่านไฟ ไฟนรก ทราย โคลน ความมืด มีใจขึ้งโกรธ บังคับ หมู่มารว่า พนาย พวกเจ้าหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จง จับ จงฆ่า จงตัด จงมัด จงอย่าปล่อย จงให้หนีไป ส่วนตัวเองนั่งเหนือ คอคชสารชื่อคิรีเมขละ ใช้กรข้างหนึ่งกวัดแกว่งศร เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ จงลุกขึ้นจากบัลลังก์. ทั้งหมู่มารก็ได้ทำความบีบคั้น ร้ายแรงยิ่งแก่พระมหาสัตว์.

ครั้งนั้น พระมหาบุรุษตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนมาร ท่านบำเพ็ญ บารมีเพื่อบัลลังก์มาแต่ครั้งไร แล้ว ทรงน้อมพระหัตถ์ขวาสู่แผ่นปฐพี. ขณะนั้น นั่นเอง ลมและน้ำที่รองแผ่นปฐพี ซึ่งหนาหนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันโยชน์ ก็ไหว ก่อนต่อจากนั้น มหาปฐพีนี้ ซึ่งหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหว ๖ ครั้ง. สายฟ้า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 724

แลบและอสนีบาตหลายพันเบื้องบนอากาศ ก็ผ่าลงมา. ลำดับนั้น ช้างคิรีเมขละ ก็คุกเข่า. มารที่นั่งบนคอคิรีเมขละ ก็ตกลงมาที่แผ่นดิน. แม้พรรคพวกของ มารก็กระจัดกระจายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย เหมือนกำแกลบที่กระจายไปฉะนั้น.

ลำดับนั้น แม้พระมหาบุรุษ ทรงกำจัดกองกำลังของมารพร้อมทั้งตัว มารนั้น ด้วยอานุภาพพระบารมีทั้งหลายของพระองค์ มีขันติ เมตตา วิริยะ และปัญญาเป็นต้น ปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยมาแต่ก่อน มัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ ปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งญาณลงในปัจจยาการที่พระพุทธ- เจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงยังจตุตถฌานมีอานาปานะเป็นอารมณ์ให้เกิด แล้ว ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาทแล้ว ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลส ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ซึ่งทรงบรรลุมาตามลำดับมรรค ทรงแทงตลอด พระพุทธคุณทั้งปวง ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า

อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคหํ น กาหิสิ สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ วิสงฺขารคตํ จิตตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.

เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เมื่อ ไม่พบ ก็ต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือน คือตัณหา เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนแก่เรา อีกไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมด

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 725

แล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึง วิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่ สิ้นตัณหาแล้ว.

เรื่องนิทานใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับนั่งเปล่งพระพุทธอุทานแล้ว ก็ทรงมี พระดำริว่า เราท่องเที่ยวมา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพราะเหตุแห่งบัลลังก์ นี้ บัลลังก์นี้เป็นวิชัยบัลลังก์ มงคลบัลลังก์ของเรา เรานั่งเหนือบัลลังก์นี้ ความ ดำริยังไม่บริบูรณ์ตราบใด เราก็จักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ตราบนั้น ทรงเข้า สมาบัตินับได้หลายแสนโกฏิ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น ๗ วัน ที่ท่านหมาย ถึงกล่าวไว้ว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข โดย บัลลังก์เดียว ๗ วัน.

ครั้งนั้น เทวดาบางพวกเกิดปริวิตกว่า แม้วันนี้พระสิทธัตถะ ก็ยังมี กิจที่จะต้องทำแน่แท้ ด้วยยังไม่ทรงละความอาลัยในพระบัลลังก์ ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ก็เหาะขึ้นสู่เวหาสทรงแสดง ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อระงับความวิตกของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงระงับความ วิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิหาริย์นี้อย่างนี้แล้ว ประทับยืน ณ ส่วนทิศ อุดรอิงทิศปาจีนนิดหน่อย จากบัลลังก์ ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ. ณ บัลลังก์นี้แล้วหนอ ทรงสำรวจดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์ อันเป็นสถานที่ทรงบรรลุผาแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่ อสงไขย. กับแสนกัป ด้วยดวงพระนครที่ไม่กระพริบ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 726

ลำดับนั้น ทรงเนรมิตที่จงกรม ระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมกลับไปมาจากข้างหน้าข้างหลัง ทรงยับยั้งอยู่ ๗ วัน. สถานที่นั้นชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.

แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายเนรมิตรัตนฆระ เรือนแก้ว ทางทิศ พายัพแต่โพธิพฤกษ์. ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฏก ยับยั้งอยู่ ๗ วัน. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์อย่างนี้ แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากโคนโพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ ครั้นแล้ว ก็ประทับนั่งเลือกเฟ้นธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาลนิโครธ นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงยับยั้ง ณ ต้นอชปาลนิโครธนั้น ๗ วันแล้ว ก็เสด็จ ไปยังโคนต้นมุจลินท์ ณ ที่นั้น พระยานาคชื่อ มุจลินท์ เอาขนด ๗ ชั้นวง ไว้รอบ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น เมื่อเกิดฝนตกพรำ ๗ วัน พระศาสดา เสวยวิมุตติสุข เหมือนประทับอยู่ในพระคันธกุฎีที่ไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ ณ โคนต้นมุจลินท์นั้น ๗ วัน จึงเสด็จเข้าไปยังโคนต้นราชายตนะ ประทับนั่ง เสวยวิมุตติสุข ณ ที่นั้น ๗ วัน. ครบ ๗ สัปดาห์บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้. ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีการบ้วนพระโอฐ ไม่มีการปฏิบัติ สรีรกิจ ไม่มีการเสวยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลอย่างเดียว. ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงชำระพระโอฐด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา และด้วย น้ำในสระอโนดาต ที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงน้อมถวายในวันที่ ๔๙ วันสุด ท้ายแห่ง ๗ สัปดาห์ ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ นั้นนั่นแล.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 727

สมัยนั้น พาณิชสองคน ชื่อตปุสสะ และ ภัลลิกะ อันเทวดาผู้เป็น ญาติสาโลหิต ให้ขมักเขม้นในอันถวายอาหารแด่พระศาสดา ถือข้าวสัตตุผง และสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระศาสดายืนกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความกรุณาโปรดทรงรับอาหารนี้ด้วย เพราะเหตุที่บาตรที่เทวดาถวาย ครั้งทรงรับข้าวมธุปายาส อันตรธานไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่รับอาหารด้วยมือเปล่า เราจะพึงรับอาหารนี้ได้ อย่างไรหนอ.

ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จาก ๔ ทิศ รู้อัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็น้อมบาตร ๔ บาตรสำเร็จด้วยแก้วมณีและแก้วมรกตถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามบาตรเหล่านั้น. ท้าวจาตุมหาราชจึงน้อมบาตร ๔ บาตร สำเร็จด้วยศิลา สีเหมือนถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความ กรุณาเทวดาทั้ง ๔ องค์นั้น จึงทรงรับไว้ยุบรวมเป็นบาตรเดียวทรงรับอาหาร ไว้ในบาตรสำเร็จด้วยศิลามีค่ามากนั้น เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนา. พาณิชสอง พี่น้องนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เป็น ทเววาจิกอุบาสก.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปต้นอชปาลนิโครธอีกประทับนั่ง ณ โคน ต้นนิโครธ. พอประทับนั่ง ณ ที่นั้นเท่านั้นทรงพิจารณาว่า ธรรมที่ทรงบรรลุ นั้น ลุ่มลึก ก็เกิดพระปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ถึงอาการ คือ ความมีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น โดยนัยว่า ธรรม นี้เราบรรลุแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า โลกย่อยยับกันละท่าน เอย โลกย่อยยับกันละท่านเอย ก็พา ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าว นิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีและมหาพรหม ในหมื่นจักรวาล มายังสำนัก พระศาสดา ทูลอ้อนวอนให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 728

พระศาสดาประทานปฏิญาณรับแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นแล้ว ทรง พระดำริว่า ควรแสดงธรรมโปรดใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า อาฬารดาบสและ อุททกดาบสทำกาละเสียแล้ว ทรงปรารภภิกษุปัญจวัคคีย์ใส่ไว้ในพระหฤทัยว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีอุปการะมากแก่เราดังนี้ ทรงนึกว่า เดี๋ยวนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์ เหล่านั้น อยู่กันที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า ที่อิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี ทรงพระดำริว่า เราจักไปที่นั้นประกาศธรรมจักร แล้วเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ประทับอยู่ใกล้โพธิมัณฑสถานนั่นแหละ ๒ - ๓ วัน ในวันอาสาฬหบูรณมีทรง พระดำริจักเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงถือบาตรจีวรเดินทางได้ ๑๘ โยชน์ ใน ระหว่างทาง ทรงพบอาชีวกชื่ออุปกะเดินสวนทางมา ทรงบอกอาชีวกนั้นว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า วันนั้นนั่นเอง เวลาเย็นเสด็จถึงอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี.

ฝ่ายภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นพระตถาคตเสด็จมาแต่ไกล จึงทำการนัด หมายกันว่า ผู้มีอายุ ท่านพระสมณโคดมนี้ เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากด้วย ปัจจัย มีกายบริบูรณ์มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีผิวพรรณเพียงดังสีทองเสด็จมา เราจัก ไม่ทำการอภิวาทเป็นต้นแก่ท่านละ เพียงแต่ปูอาสนะไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบวาระจิตของภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทรงย่อเมตตาจิต ที่สามารถแผ่ ไปโดยไม่เจาะจงในสรรพสัตว์ มาเป็นแผ่เมตตาจิต โดยเจาะจง. ภิกษุ ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าสัมผัสแล้ว เมื่อพระตถาคตเสด็จเข้าไปหา ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในข้อนัดหมายของตนได้ พากันทำกิจ ทุกอย่างมีการกราบไหว้เป็นต้น. ความพิศดาร พึงทราบตามนัย ที่ท่านกล่าว ไว้ ในมหาวรรค แห่งวินัยเป็นต้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นให้เข้าใจ ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าของพระองค์แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดี

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 729

ที่จัดไว้แล้วเมื่อกาลประกอบด้วยนักษัตรเดือนอุตตราสาธอยู่ อันพรหม ๑๘ โกฏิ แวดล้อมแล้ว ทรงเรียกพระเถระปัญจวัคคีย์มาแล้วทรงแสดงพระธรรมจักกัป- ปวัตนสูตร บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ท่านอัญญาโกณฑัญญะส่งญาณไป ตามกระแสเทศนา จบพระสูตร ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บัดนี้เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อโคตมะ ผู้ยังสกุล ศากยะให้เจริญ ตั้งความเพียรแล้ว บรรลุพระสัมโพธิ- ญาณอันอุดม.

อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ก็ประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่พรหม ๑๘ โกฏิ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อหํ ทรงแสดงถึงพระองค์เอง. บทว่า เอตรหิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า สกฺยวฑฺฒโน แปลว่า ผู้ยังสกุลศากยะให้ เจริญ. ปาฐะว่า สกฺยปุงฺคโว ก็มี. ความเพียรท่านเรียกว่า ปธานะ. บทว่า ปทหิตฺวาน ได้แก่ พากเพียร พยายาม. อธิบายว่า ทำทุกกรกิริยา. บทว่า อฏฺารสนฺนํ โกฏีนํ ความว่า อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๘ โกฏิมีพระอัญญาโกณฑัญญะเถระเป็นประธานด้วยการตรัสพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิสมัยอันล่วงมาแล้ว เมื่อจะตรัส อภิสมัยที่ยังไม่มาถึง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

นอกจากนั้น เมื่อเราแสดงธรรม ในสมาคมแห่ง มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ ๒ จักมีแก่สัตว์นับ จำนวนไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 730

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรเทวสมาคเม ความว่า สมัยอื่นนอก จากนั้น ในมหามงคลสมาคม ท่ามกลางเทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาล เวลา จบมงคลสูตร อภิสมัยได้มีแก่มนุษย์และเทวดา เกินที่จะนับได้. บทว่า ทุติยาภิสมโย อหุ ได้แก่ เหสฺสติ. เมื่อจะพึงกล่าวคำอนาคตกาล [ว่า เหสฺสติ] แต่ ก็กล่าวคำเป็นอดีตกาลว่า อหุ เพราะตกกระแสแล้ว. หรือจะว่ากล่าวเป็นกาล วิปลาสก็ได้. ในคำนอกจากนี้และคำเช่นนี้ ก็นัยนี้. ต่อมาอีก ในการทรง แสดงราหุโลวาทสูตร ก็ทรงยังสัตว์เกินที่จะนับให้ดื่มน้ำอมฤตคืออภิสมัย. นี้ เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บัดนี้เราสั่งสอนราหุลลูกของเราในที่นี้นี่แล อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ได้.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีสาวกสันนิบาตประชุมพระสาวก ครั้งเดียวเท่านั้น คือ การประชุมพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูป เหล่านี้คือ ชฏิลสามพี่น้องมีพระอุรุเวลกัสสปเป็นต้น ๑,๐๐๐ รูป พระอัครสาวกทั้งสอง ๒๕๐ รูป. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

เรามีสันนิบาตประชุมพระสาวกผู้แสวงหาคุณ ยิ่งใหญ่เพียงครั้งเดียว คือการประชุมภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป.

แก้อรรถ

บรรดาเหล่านั้น บทว่า เอโกสิ ตัดบทเป็น เอโกว อาสิ มีครั้ง เดียวเท่านั้น. บทว่า อฑฺฒเตรสสตานํ แปลว่า สาวกของเรา ๑,๒๕๐ รูป. บทว่า ภิกฺขูนาสิ ตัดบทเป็น ภิกฺขูนํ อาสิ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในจาตุรงคสันนิบาต.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 731

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระประวัติของพระองค์ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

เราผู้ไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ อยู่ในท่ามกลางภิกษุ สงฆ์ ให้ทุกอย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่ชนปรารถนาฉะนั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิโรจมาโน ได้แก่ รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระพุทธสิริอันไม่มีที่สุด. บทว่า วิมโล ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทินคือกิเลสมีราคะ เป็นต้น. บทว่า มณีว สพฺพกามโท ความว่า เราให้สุขวิเศษทั้งเป็นโลกิยะ และโลกุตระทุกอย่างที่สาวกมุ่งมาดปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่ ชนปรารถนา.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความปรารถนาที่สาวกปรารถนา จึงตรัสคำ เป็นต้นว่า

ด้วยความเอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย เราจึงประกาศ สัจจะ ๔ แก่ผู้จำนงหวังผล ผู้ต้องการละความพอใจ ในภพ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลํ ได้แก่ ผล ๔ อย่างมีโสดาปัตติผล เป็นต้น. บทว่า ภวจฺฉนฺทชเหสินํ ได้แก่ ผู้ละภวตัณหา ผู้ต้องการละ ภวตัณหา. บทว่า อนุกมฺปาย ได้แก่ ด้วยความเอ็นดู.

บัดนี้ ครั้นทรงทำการประกาศสัจจะ ๔ แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอภิสมัย จึงตรัสว่า ทสวีสสหสฺสานํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีส-

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 732

สหสฺสานํ ได้แก่ หนึ่งหมื่นและสองหมื่น. อธิบายว่า โดยนัยเป็นต้นว่า หนึ่งหมื่นสองหมื่น. คาถาที่ ๙ และที่ ๑๐ ความง่ายแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๑ และที่ ๑๒ ต่อไป. แม้สองศัพท์ว่า อิทาเนตรหิ ความก็อันเดียวกัน ท่านกล่าวเหมือนบุรุษบุคคล โดยเป็นเวไนยสัตว์. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทานิ ได้แก่ ในกาลเมื่อเราอุบัติแล้ว. บทว่า เอตรหิ ได้แก่ ในกาลเมื่อเราแสดงธรรมอยู่. บทว่า อปตฺตมานสา ได้แก่ ผู้ยังไม่บรรลุ พระอรหัตตผล. บทว่า อริยญฺชสํ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘. บทว่า โถมยนฺตา แปลว่า สรรเสริญ. บทว่า พุชฺฌิสฺสนฺติ ความว่า จักแทงตลอดสัจธรรม ๔ ในอนาคตกาล. บทว่า สํสารสริตํ ได้แก่ สาครคือสังสารวัฏฏ์.

บัดนี้ เมื่อทรงแสดงถึงพระนครที่ทรงสมภพเป็นต้นของพระองค์ จึง ตรัสคำเป็นต้นว่า

เรามีนครชื่อกบิลพัสดุ์ มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระชนนีพระนามว่าพระนางมายา เทวี.

เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทอย่าง เยี่ยม ๓ หลัง ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ.

มีพระสนมกำนัลสี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระนามว่า ยโสธรา มีโอรสพระนามว่า ราหุล.

เราเห็นนิมิต ๔ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ม้า บำเพ็ญเพียรทำทุกกรกิริยา ๖ ปี.

เราประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะกรุงพาราณ- สี เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะเป็น สรณะของสัตว์ทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 733

คู่ภิกษุอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุป- ติสสะ มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำสำนัก ชื่อว่าพระอานันทะ มีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ พระอุบลวรรณา.

มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.

เราบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิ- พฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ มีรัศมีกายวาหนึ่ง ประจำ กาย สูง ๖ ศอก.

เรามีอายุน้อย ๑๐๐ ปี ในบัดนี้ เมื่อดำรงชีวิตอยู่ ประมาณเท่านั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

เราตั้งคบเพลิง คือธรรมไว้ปลุกชนที่เกิดมาภาย หลังให้ตื่น ไม่นานนัก เราพร้อมทั้งสงฆ์สาวกก็จัก ปรินิพพานในที่นี้นี่แหละ เพราะสิ้นอาหาร เหมือน ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ทุกอย่างว่า เรามีปราสาท ๓ หลัง ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ มี ๙ ชั้น ๗ ชั้น และ ๕ ชั้น มีสนมนาฏกะ สี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระนามว่า ยโสธรา เรานั้นเห็นนิมิต ๔ ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า แต่นั้น ก็ตั้งความเพียร ๖ ปี ในวันวิสาขบูรณมีก็ บริโภคข้าวมธุปายาสที่ธิดาของ เสนานิกุฎุมพี ณ อุรุเวลาเสนานิคม ชื่อสุชาดา ผู้เกิดความเลื่อมใสถวายแล้ว พักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่ ค้นหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ถวายแล้ว เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ กำจัดกองกำลังของมาร ณ ที่นั้น บรรลุพระสัมโพธิญาณ.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 734

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ สาวกสงฺฆโต ก็คือ สทฺธึ สาวกสงฺเฆน ความว่า พร้อมทั้งสงฆ์สาวก. บทว่า ปรินิพฺพิสฺสํ ก็คือ ปรินิพพายิสฺสามิ แปลว่า จักปรินิพพาน. บทว่า อคฺคีวาหาร สงฺขยา ก็คือ อคฺคิ วิย อินฺธนกฺขเยน ดุจไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น ความว่า แม้เราไม่มีอุปาทาน ก็จักปรินิพพานเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับฉะนั้น

บทว่า ตานิ จ อตุลเตชานิ ความว่า คู่พระอัครสาวกเป็นต้น ที่มีเดชไม่มีผู้เสมอเหมือนเหล่านั้น. บทว่า อิมานิ จ ทสพลานิ ความว่า ทศพลที่มีในพระสรีระเหล่านั้น. บทว่า คุณธารโณ เทโห ความว่า และ พระวรกายที่ทรงคุณมีพระอสาธารณญาณ ๖ เป็นต้นนี้. บทว่า ตมนฺตรหิสฺ- สนฺติ ความว่า คุณลักษณะดังกล่าวมานี้ จักอันตรธาน สูญหายไปสิ้น ศัพท์ ว่า นนุ ในคำว่า นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า อนุมัติคล้อยตาม. บทว่า ริตฺตา ได้แก่ ชื่อว่าเปล่า เพราะเว้นจากสาระคือ เที่ยง สาระคือยั่งยืน ก็ทั้งหมดนั่นแล อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าทุกข์ เพราะอันความเกิดเป็นต้นบีบคั้นแล้ว ชื่อว่า อนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงยกไตรลักษณ์ ลงในสังขารทั้งหลายแล้วเจริญวิปัสสนา จงบรรลุพระนิพพานที่ไม่ตาย ปัจจัย ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่จุติ นี้เป็นอนุศาสนี เป็นคำสั่งสอนของเรา สำหรับท่าน ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด. ได้ยินว่า ในเวลาจบเทศนา จิตของเทวดาแสนโกฏิก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นส่วนเทวดาที่ตั้งอยู่ในมรรคผลนอกนั้น เกินที่จะนับจำนวนได้.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 735

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมในอากาศ ตรัสพุทธ- วงศ์แม้ทั้งสิ้น กำหนดด้วยกัป นามและชาติเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ยังหมู่พระประยูรญาติให้ถวายบังคมแล้วลงจากอากาศ ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่จัดไว้แล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งแล้ว สมาคมพระประยูรญาติก็ถึงความสูงสุด ด้วยประการฉะนี้ พระประยูรญาติทุกพระองค์ก็ประทับนั่งมีจิตมีอารมณ์เดียว. แต่นั้น มหาเมฆก็หลั่งฝนโบกขรพรรษลงมา ขณะนั้นเอง น้ำก็ส่งเสียงร้องไหล ไปภายใต้ ผู้ต้องการจะเปียกก็เปียก ผู้ไม่ต้องการเปียก แม้แต่หยาดน้ำ ก็ไม่ตกลง ที่ตัว พระประยูรญาติทั้งหมดเห็นความอัศจรรย์นั้นก็อัศจรรย์ประหลาดใจ พา กันกล่าวว่า โอ น่าอัศจรรย์ โอ น่าประหลาดใจหนอ. พระศาสดาทรงสดับคำ นั้นแล้วตรัสว่า มิใช่ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมพระประยูรญาติในปัจจุบัน นี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาลก็ตกลงมาเหมือนกัน. เพราะเหตุแห่งอัตถุปปัตตินี้ จึง ตรัสเวสสันดรชาดก. พระธรรมเทศนานั้น เกิดประโยชน์แล้ว. ต่อนั้น พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะเข้าพระวิหาร.

จบพรรณนาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้า

แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อมธุรัตถวิสาสินีด้วยประการฉะนี้