พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เรื่องเบ็ดเตล็ดของพุทธวงศ์

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 741

เรื่องเบ็ดเตล็ดของพุทธวงศ์

คาถา ๑๘ คาถา มีว่า อปริเมยฺยิโต กปฺเป จตุโร อาสุํ วินายกา เป็นอาทิ พึงทราบว่าเป็นนิคมคาถา ที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายวางไว้. ใน คาถาที่เหลือ ทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.

เวมัตตกถา

พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่ชี้แจงไว้ในพุทธวงศ์ทั้งสิ้นนี้ พึงทราบ ว่า มีเวมัตตะ คือความแตกต่างกัน ๘ อย่างคือ อายุเวมัตตะ ปมาณเวมัตตะ กุลเวมัตตะ ปธานเวมัตตะ รัศมีเวมัตตะ ยานเวมัตตะ โพธิเวมัตตะ บัลลังกเวมัตตะ

อายุเวมัตตะ

บรรดาเวมัตตะเหล่านั้น ชื่อว่า อายุเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่ง พระชนมายุ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มี พระชนมายุสั้น.

จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้า ๙ พระองค์เหล่านี้คือ พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี พระสิทธัตถะ พระติสสะ มีพระชนมายุแสนปี.

พระพุทธเจ้า ๘ พระองค์เหล่านี้ คือพระมังคละ พระสุมนะ พระโสภิตะ พระนารทะ พระสุเมธะ พระสุชาตะ พระปิยทัสสี พระปุสสะ มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี.

พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์คือ พระเรวตะ พระเวสสภู มีพระชนมายุ หกหมื่นปี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 742

พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี มีพระชนมายุแปดหมื่นปี. พระพุทธ- เจ้า ๔ พระองค์เหล่านี้คือพระสิขี พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ มีพระชนมายุเจ็ดหมื่นปี, สี่หมื่นปี, สามหมื่นปี, สองหมื่นปี ตาม ลำดับ.

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา มีพระชนมายุร้อยปี.

ประมาณอายุ ไม่มีประมาณ โดยยุคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยกรรมที่ทำให้อายุยืน นี้ชื่อว่าอายุเวมัตตะ ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์

ปมาณเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า ปมาณเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งประมาณ ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระองค์ต่ำ. จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าคือ พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี พระวิปัสสี มีพระสรีระสูง ๘๐ ศอก

พระพุทธเจ้าคือพระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะ พระสุเมธะ มีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก.

พระสุมนพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๙๐ ศอก.

พระพุทธเจ้าคือ พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ พระปุสสะ มีพระสรีระสูง ๕๘ ศอก

พระสุชาตพุทธเจ้า มีพระสรีระสูง ๕๐ ศอก.

พระพุทธเจ้าคือพระสิทธัตถะ พระติสสะและพระเวสสภู มีพระวรกาย สูง ๖๐ ศอก.

พระสิขีพุทธเจ้ามีพระสรีระสูง ๗๐ ศอก. พระพุทธเจ้าคือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระกัสสปะ พระวรกายสูง ๔๐ ศอก ๓๐ ศอก ๒๐ ศอก ตามลำดับ. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา สูง ๑๘ ศอก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 743

นี้ชื่อว่า ปมาณเวมัตตะ ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์.

กุลเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า กุลเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งตระกูล ได้แก่ พระพุทธ- เจ้าบางพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ บางพระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์ จริง อย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และ พระกัสสปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์.

พระพุทธเจ้า ๒๒ พระองค์ที่เหลือมีพระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นต้นมีพระโคดมพุทธเจ้าเป็นที่สุด เกิดในตระกูลกษัตริย์ทั้งนั้น.

นี้ชื่อว่า กุลเวมัตตะ ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์.

ปธานเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งการตั้งความเพียร ได้แก่ พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระสุมนะ พระอโนมทัสสี. พระสุชาตะ พระสิทธัตถะและพระกกุสันธะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน.

พระพุทธเจ้าคือพระมังคละ พระสุเมธะ พระติสสะและพระสิขี ทรง บำเพ็ญเพียร ๘ เดือน.

พระเรวตพุทธเจ้า ๗ เดือน.

พระโสภิตพุทธเจ้า ๔ เดือน.

พระพุทธเจ้าคือ พระปทุมะ พระอัตถทัสสีและพระวิปัสสี ครึ่งเดือน.

พระพุทธเจ้าคือ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและ พระกัสสปะ ๗ วัน.

พระพุทธเจ้าคือ พระปิยทัสสี พระปุสสะ พระเวสสภู และพระโกนาคมนะ ๖ เดือน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 744

พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญเพียร ๖ ปี.

นี้ชื่อว่า ปธานเวมัตตะ.

รัศมีเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระรัศมี ได้ยินว่า พระมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปในหมื่นโลกธาตุ.

พระปทุมุตตรพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๒ โยชน์.

พระวิปัสสีพุทธเจ้า แผ่ไป ๗ โยชน์.

พระสิขีพุทธเจ้า แผ่ไป ๓ โยชน์.

พระกกุสันธพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๐ โยชน์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ประมาณหนึ่งวาโดยรอบ. พระพุทธเจ้านอกนั้น ไม่แน่นอน.

นี้ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ.

ยานเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า ยานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระยาน ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง บางพระองค์ด้วยยานคือ ม้า บางพระองค์ด้วยยานคือรถ ดำเนินด้วยพระบาท ปราสาทและวอเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระสุมนะ พระสุเมธะ พระปุสสะ พระสิขิ และพระโกนาคมนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง

พระโกณฑัญญะ พระเรวตะ พระปทุมะ พระปิยทัสสี พระวิปัสสี และพระกกุสันธะ ด้วยยานคือรถ.

พระมังคละ พระสุชาตะ พระอัตถทัสสี พระติสสะ และพระโคตมะ ด้วยยานคือม้า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 745

พระอโนมทัสสี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู ด้วยยานคือวอ.

พระนารทะเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท.

พระโสภิตะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะ ออก อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท.

นี้ชื่อว่า ยานเวมัตตะ.

โพธิรุกขเวมัตตะ

ที่ชื่อว่า โพธิรุกขเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร มีโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นกปิตนะ มะขวิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าโกณฑัญญะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อต้นสาลกัลยาณี ขานาง

พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนาคะ กากะทิง.

พระอโนมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ กุ่ม.

พระปทุมะและพระนารทะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นมหาโสณะ อ้อย ช้างใหญ่.

พระปทุมุตตระ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละหรือสาละ.

พระสุเมธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนีปะ กะทุ่ม.

พระสุชาตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นเวฬุ ไผ่.

พระปิยทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกกุธะ กุ่ม. พระอัตถทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นจัมปกะ จำปา.

พระธัมมทัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นรัตตกุรวกะ (๑) ซ้องแมวแดง.

พระสิทธัตถะ. โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกณิการะ กรรณิการ์.

พระติสสะ. โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอสนะ ประดู่.


๑. บาลีในธัมมทัสสีพุทธวงศ์ข้อ ๑๖ เป็นต้นพิมพชาละ มะพลับ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 746

พระปุสสะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอาลมกะ มะขามป้อม.

พระวิปัสสี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปาฏลี แคฝอย.

พระสิขี โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปุณฑรีกะ กุ่มบก.

พระเวสสภู โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ.

พระกกุสันธะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสรีสะ ซึก.

พระโกนาคมนะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพระ มะเดื่อ.

พระกัสสปะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนิโครธ ไทร.

พระโคตมะ โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ โพธิใบ.

นี้ชื่อว่า โพธิเวมัตตะ.

ที่ชื่อว่า บัลลังกเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งบัลลังก์ ได้แก่ พระ พุทธเจ้า คือ พระทีปังกร พระเรวตะ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี และพระวิปัสสี มีบัลลังก์ ๕๓ ศอก. พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระนารทะ และพระสุเมธะ มีบัลลังก์ ๕๗ ศอก. พระสุมนะ มีบัลลังก์ ๖๐ ศอก.

พระโสภิตะ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระปทุมุตตระ และพระปุสสะ มีบัลลังค์ ๓๘ ศอก.

พระสุชาตะ มีบัลลังก์ ๓๒ ศอก.

พระสิทธัตถะ พระติสสะ และพระเวสสภู มีบัลลังก์ ๔๐ ศอก.

พระสิขี มีบัลลังก์ ๓๒ ศอก.

พระกกุสันธะ มีบัลลังก์ ๒๖ ศอก.

พระโกนาคมนะ มีบัลลังก์ ๒๐ ศอก.

พระกัสสปะ มีบัลลังก์ ๑๕ ศอก.

พระโคตมะ มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก.

นี้ชื่อว่า บัลลังกเวมัตตะ

เหล่านี้ชื่อว่า เวมัตตะ ๘.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 747

เรื่องสถานที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงละ

ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละสถานที่ ๔ แห่ง. จริงอยู่ โพธิ- บัลลังก์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ เป็นสถานที่แห่งเดียวกันนั่นเอง, ไม่ทรงละการประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน, ไม่ทรงละสถานที่ เหยียบพระบาทครั้งแรก ใกล้ประตูสังกัสสนคร ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก, ไม่ทรงละสถานที่วางเท้าเคียง ๔ เท้าแห่งพระคันธกุฎีในพระวิหารเชตวัน. พระวิหารเล็กก็มี ใหญ่ก็มี ทั้งพระวิหารก็ไม่ละ ทั้งพระนครก็ไม่ละ.

เรื่องการกำหนดสหชาตและกำหนดนักษัตร์

ยังมีอีกข้อหนึ่ง ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย แสดงกำหนดสหชาต และกำหนดนักษัตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเท่านั้น. สิ่งที่เกิดร่วมกัน กับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรามี ๗ เหล่านี้ คือ พระมารดาพระราหุล ๑ พระอานันทเถระ ๑ พระฉันนะ ๑ พระยาม้ากัณฐกะ ๑ หม้อขุมทรัพย์ ๑ พระมหาโพธิ ๑ พระกาฬุทายี ๑ นี้ชื่อว่ากำหนดสหชาต.

โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนอุตตราสาธ พระมหาบุรุษ ลงสู่ พระครรภ์พระชนนี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนวิสาขะ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ พระองค์ทรง ประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนอัสสยุชะ เสด็จลงจากเทวโลก นี้ชื่อว่า กำหนดนักษัตร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 748

เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า

บัดนี้ เราจะประกาศธรรมดาทั่วไปของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มี ๓๐ ถ้วน คือ

๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัว ลงสู่พระครรภ์ ของพระชนนี

๒. พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระชนนีหันพระพักตร์ หันพระพักตร์ออกไปภายนอก

๓. พระชนนีของพระโพธิสัตว์ยืนประสูติ

๔. พระโพธิสัตว์ออกจากพระครรภ์พระชนนีในป่าเท่านั้น

๕. พระโพธิสัตว์วางพระบาทลงบนแผ่นทอง หันพระพักตร์ไปทาง ทิศเหนือ ย่างพระบาท ๗ ก้าว เสด็จไปตรวจดู ๔ ทิศแล้วเปล่งสีหนาท

๖. พระมหาสัตว์ พอพระโอรสสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วออก มหาภิเนษกรมณ์

๗. พระมหาสัตว์ ทรงถือผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ทรงผนวช ทรง บำเพ็ญเพียรกำหนดอย่างต่ำที่สุด ๗ วัน

๘. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ

๙. ประทับนั่งเหนือสันถัตหญ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

๑๐.ทรงบริกรรมอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน

๑๑. ทรงกำจัดกองกำลังของมาร

๑๒. ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงได้คุณมีอสาธารณะญาณ ตั้งแต่ วิชชา ๓ เป็นต้นไปเป็นอาทิ

๑๓. ทรงยับยั้งใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์

๑๔. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 749

๑๕. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน

๑๖. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวก ประกอบด้วยองค์ ๔

๑๗. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน

๑๘. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี

๑๙. ทรงแสดงพระอภิธรรม ภพดาวดึงส์

๒๐. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร

๒๑. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน

๒๒. ทรงตรวจดูเวไนยชน ๒ วาระ

๒๓. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท

๒๔. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก

๒๕. ตรัสพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ

๒๖. ทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุอาคันตุกะ

๒๗. พวกภิกษุจำพรรษาแล้วถูกนิมนต์ ไม่ทูลบอกลาก่อน ไปไม่ได้

๒๘. ทรงทำกิจก่อนและหลังเสวย ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้าย ทุกๆ วัน

๒๙. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน

๓๐. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน

ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มี ๓๐ ถ้วนดังกล่าวมาฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 750

เรื่องอนันตรายิกธรรม

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีอนันตรายิกธรรม (คือ ไม่มีอันตรายเป็น ธรรมดา) ๔ คือ

๑. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่ปัจจัย๔ ที่มีเฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

๒. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระชนมายุของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่บุคคลพึงใช้ความพยายามปลงพระชนม์ชีพพระตถาคต ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาส [คือเป็นไปไม่ได้]

๓. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และแก่พระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

๔. ใครๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระพุทธรังสีได้ เหล่านี้ ชื่อว่า อนันตรายิกธรรม ๔.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 751

นิคมนกถา

คำส่งท้ายเรื่อง

การพรรณนาพุทธวงศ์ อันงดงามด้วยนัยอันวิจิตร ซึ่งผู้รู้บทพรรณนาให้ง่าย ถึงความสำเร็จด้วยกถา เพียงเท่านี้.

ข้าพเจ้ายึดทางแห่งอรรถกถาเก่า อันประกาศความแห่งบาลี เป็นหลักอย่างเดียว แต่งอรรถกถา พุทธวงศ์

เพราะละเว้นความที่เยิ่นเย่อ ประกาศแต่ความอันไพเราะทุกประการ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มธุรัตถวิลาสินี.

เมื่อสาธุชน ผู้มีวาจาไพเราะ ชื่อ กัณหทาส สร้างวิหาร ที่มีกำแพงและซุ่มประตูอันงามโดยอาการต่างๆ ถึงพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ น่าดู น่ารื่นรมย์ เป็นที่คับแคบแห่งทุรชนที่ถูกกำจัด เป็นที่สงัดสบาย น่าเจริญใจ ณ ท่าเรือกาวีระ เป็นพื้นแผ่นดินที่เต็มด้วยชุมทางน้ำแห่งแม่น้ำกาวีระ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นด้วยหญิงชายต่างๆ.

ข้าพเจ้าอยู่ ณ พื้นปราสาทด้านทิศตะวันออกในวิหารนั้น ที่เย็นอย่างยิ่ง แต่งอรรถกถาพรรณนาพุทธวงศ์.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 752

อรรถกถาพรรณนาพุทธวงศ์นี้ เว้นอันตราย ข้าพเจ้าแต่งสำเร็จดีแล้ว ฉันใด ขอความตรึกของชนทั้งหลาย ที่ชอบด้วยธรรม จงถึงความสำเร็จ โดยเว้นอันตราย ฉันนั้น.

ข้าพเจ้าผู้แต่งอรรถกถาพุทธวงศ์นี้ ปรารถนาบุญอันใด ด้วยเทวานุภาพแห่งบุญนั้น ขอโลกจงประสบประโยชน์อย่างดี ที่สงบยั่งยืนทุกเมื่อ.

ขอโรคทั้งปวงในมนุษย์ทั้งหลาย จงพินาศไป แม้ฝนก็จงตกต้องตามฤดูกาล แม้สัตว์นรกก็จงมีสุข อย่างดีเป็นนิตย์ เหล่าปีศาจทั้งหลาย ก็จงปราศจากความหิวกระหาย.

ขอเทวดาทั้งหลาย กับหมู่อัปสรเป็นต้น จงเสวยสุขในเทวโลกนานๆ. ขอธรรมของพระจอมมุนี จงดำรงอยู่ในโลก ยั่งยืนนาน. ขอท่านผู้มีหน้าที่คุ้มครองโลก จงปกครองแผ่นดินให้เป็นสุขเถิด.

พระเถระโดยนามที่ท่านครูทั้งหลายขนานให้ ปรากฏว่า พุทธทัตตะ แต่งคัมภีร์อรรถกถา ชื่อมธุรัตถวิลาสินี.

ตั้งคัมภีร์นี้ที่นำประโยชน์สืบๆ กันมา โดยความที่สังขารตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องตกไปสู่อำนาจมฤตยู หนอ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้า 753

คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี กล่าวโดยภาณวารมี ๒๖ ภาณวาร โดยคันถะ มี ๖,๕๐๐ คันถะ โดยอักษร มี ๒๐๓,๐๐๐ อักษร.

มธุรัตถวิลาสินีนี้ เข้าถึงความสำเร็จ ปราศจากอันตราย ฉันใด ขอความดำริของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัยธรรม จงสำเร็จฉันนั้น เทอญ.

จบอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อว่ามธุรัตถวิลาสินี

ด้วยประการฉะนี้.