คนที่ดื้อรั้นจะมีวิธีแก้อย่างไร
ความดื้อรั้นของคน บางครั้งก็ทำให้เป็นคนไม่น่ารัก เราจะมีวิธีเตือนเขาอย่างไร หรือถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่คนนั้นต้องแก้ไขเอง
ความดื้อรั้น เป็นอกุศลธรรม เป็นธรรมที่มีโทษ จะละได้ด้วยปัญญา ผู้ที่มีความดื้อรั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมของพระอริยะ ย่อมเห็นโทษของความดื้อรั้น ย่อมประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อการละอกุศลธรรมเหล่านั้น ถ้าหากว่าเรามีเพื่อนที่มีความดื้นรั้นมาก ถ้ามีโอกาสดีๆ ก็ควรขอโอกาสในการเตือนด้วยคำพูดที่นุ่มนวล ประกอบด้วยเมตตาจิต หวังประโยชน์ต่อเขาจริงๆ
ความหัวดื้อเป็นนิสัยที่เราสะสมมานาน จะแก้ได้ด้วยการฟังธรรมเข้าใจแล้วก็จะเห็นประโยชน์ของกุศล คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนน้อม ถ่อมตน ฯลฯ ขอยกตัวอย่างจากพระไตรปิฏกค่ะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ... โทษของคนหัวดื้อ [มิคาโลปชาดก]
ความดื้อรั้น ก็คือความเป็นผู้ว่ายาก ซึ่งเป็นความที่ไม่เชื่อถือถ้อยคำของบุคคลที่เตือน การเป็นผู้ว่ายาก จะทำให้เป็นผู้อยู่ห่างไกลคุณธรรมต่างๆ เพราะไม่เชื่อถือคำที่เป็นประโยชน์ที่เตือน เมื่อไม่เชื่อก็ไม่ช่วยขัดเกลากิเลส ก็จะเป็นผู้หนาด้วยกิเลสมากขึ้น ดังนั้น เราไม่สามารถจะเห็นกิเลสของตนเองได้หมด เมื่อคนอื่นเห็นก็ย่อมเตือนด้วยการรับโอวาท และประพฤติปฏิบัติตาม เหมือนคนชี้ขุมทรัพย์ให้ ถึงแม้คนชี้ขุมทรัพย์จะด่าว่าอย่างไรก็เพื่อให้คนนั้นได้ทรัพย์ ฉันใด แม้การเตือนจะเป็นถ้อยคำรุนแรงไม่น่าพอใจ หรืออย่างไรก็ตามก็เพื่อความเจริญของคนนั้นครับ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย คือไม่ดื้อรั้น
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ... ผู้ว่าง่าย [เมตตสูตร]
การฟังธรรมจนเข้าใจ ย่อมเป็นคนว่าง่ายมากขึ้น ควรดื้อรั้นในสิ่งที่เป็นอกุศล ไม่ควรดื้อรั้นในสิ่งที่เป็นกุศล
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย