๑. สังกัปปราคชาดก ว่าด้วยลูกศรคือกิเลส
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 1
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ติกนิบาตชาดก
๑. สังกัปปวรรค
๑. สังกัปปราคชาดก
ว่าด้วยลูกศรคือกิเลส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 1
๑. สังกัปปราคชาดก
ว่าด้วยลูกศรคือกิเลส
[๓๕๒] อาตมภาพอันลูกศรที่อาบด้วยราคะดําริอันลับด้วยกามวิตก อันนายช่างศรไม่ได้ตกแต่งขัดเกลาและเหลาเสี้ยมแทงเข้าแล้ว.
[๓๕๓] อาตมาภาพมิได้ถูกลูกศรที่เขายกคันขึ้นยิงมาหรือที่ติดพู่หางนกยูงเสียบแทงเลย แต่อาตมาภาพถูกลูกศร คือ กิเลสเครื่องเผาอวัยวะทั้งปวงให้เร่าร้อน เสียบแทงที่หทัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 2
[๓๕๔] แต่อาตมภาพไม่เห็นรอยแผล ไม่เห็นโลหิตไหลออกจากรอยแผลนั้น จิตที่ไม่มีอุบายอันแยบคาย ถูกลูกศรตรึงไว้แล้วอย่างมั่นคง อาตมภาพนําความทุกข์มาให้แก่ตนเอง.
จบ สังกัปปราคชาดกที่ ๑
อรรถกถาชาดก ติกนิบาต
อรรถกถาสังกัปปวรรคที่ ๑
อรรถกถาสังกัปปปราคชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า สงฺกปฺปราคโธเตน ดังนี้.
ได้ยินว่า มีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง บวชถวายชีวิตในศาสนาของพระศาสดา วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปในเมืองสาวัตถีได้เห็นหญิงคนหนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม เกิดความกําหนัดรักใคร่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ อาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ได้เห็นอาการดังนั้น จึงถามถึงเหตุที่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ครั้นทราบว่าเธอมีความประสงค์จะสึก จึงพากันกล่าวว่า นี่แน่ะคุณ ธรรมดาว่าพระบรมศาสดาทรงสังหารกิเลสมีราคะเป็นต้น ทรงทรมานแล้วประกาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 3
อริยสัจ ประทานโสดาปัตติมรรคเป็นต้น มาเถิดคุณ พวกเราจะพาไปเฝ้าพระศาสดาแล้วได้พาไป และเมื่อพระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีแก่ใจมาทําไมหรือ จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่าเธอกระสันจะสึกจริงหรือภิกษุ? เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า เพราะเหตุไร? ภิกษุนั้นจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. ลําดับนั้น พระบรมศาสดา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาว่าสตรีทั้งหลายนี้ ได้เคยทําความเศร้าหมองให้เกิดแม้แก่สัตว์ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลายผู้ที่ข่มกิเลสได้ด้วยกําลังฌาน เหตุไฉนจักไม่ทําบุคคลผู้ไร้คุณสมบัติเช่นเธอให้เศร้าหมองเล่า ท่านผู้บริสุทธิ์ยังเศร้าหมองได้ทั้งท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยอุดมยศก็ยังถึงความเสื่อมยศได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ไม่บริสุทธิ์เล่า ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ไฉนจักไม่พัดขยะใบไม้เก่าให้กระจัดกระจายเล่า กิเลสนี้ยังก่อกวนสัตว์ผู้นั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ กําลังจะตรัสรู้ได้ ไฉนจักไม่ก่อกวนคนเช่นเธอเล่า ครั้นตรัสดังนี้แล้วภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลมีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ครั้นเจริญวัยแล้วไปเล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา เมื่อเรียนสําเร็จแล้ว ก็กลับมายังเมืองพาราณสีอยู่ครองเรือนมีบุตรภรรยา ครั้นบิดามารดาล่วงลับไป ก็ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 4
กระทํากิจเกี่ยวกับการตายของบิดามารดา เมื่อกระทําการตรวจตราในข้อที่ลี้ลับ จึงรําพึงว่า ทรัพย์ที่บิดามารดารวบรวมไว้ยังปรากฎอยู่แต่บิดามารดาไม่ปรากฏ จึงมีความสลดใจ เหงื่อไหลออกจากร่างกายเขาอยู่ครองเรือนเป็นเวลานาน ได้ให้ทานมากมายละกามทั้งหลาย ละหมู่ญาติผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา เข้าป่าหิมพานต์สร้างบรรณศาลาอยู่ในที่อันน่ารื่นรมย์ เที่ยวแสวงหารากไม้และผลไม้ในป่าเลี้ยงชีพ ไม่นานเท่าไรก็ทําอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น เล่นฌานอยู่มาช้านานจึงคิดได้ว่า เราไปยังถิ่นมนุษย์จักได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว เมื่อเป็นเช่นนั้น ร่างกายของเรา จักแข็งแรง และจักได้เป็นการพักผ่อนของเราไปด้วย ทั้งชนเหล่าใดจักให้ภิกษาหรือจักกระทําการอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้มีศีลเช่นกับเรา ชนเหล่านั้นจักได้ไปเกิดบนสวรรค์. ครั้นคิดแล้วจึงออกจากป่าหิมพานต์ เที่ยวจาริกไปโดยลําดับจนถึงเมืองพาราณสี ในเวลาใกล้ค่ํา จึงเที่ยวเลือกหาที่พักอาศัย แลเห็นพระราชอุทยานจึงคิดว่า ที่นี้สมควรแก่การหลีกเร้น เราจักพักอยู่ในที่นี้ครั้นคิดแล้วจึงเข้าไปยังพระราชอุทยาน นั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่งทําเวลาราตรีให้หมดไปด้วยความสุขในฌาน วันรุ่งขึ้นเวลาเช้า ชําระสรีระกายแล้ว จัดแจงผูกชฎาห่มหนังเสือและนุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือภาชนะสําหรับภิกขาจาร สํารวมอินทรีย์สงบระงับ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ ทอดจักษุดูไปชั่วแอก มีรูปสิริของตนสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง อาจดึงเอาสายตาของชาวโลกให้แลดู เดินเข้าพระนคร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 5
เที่ยวภิกขาจารไปจนถึงประตูพระราชนิเวศน์. พระราชากําลังเสด็จดําเนินอยู่ที่ห้องพระโรง ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ทางช่องพระแกล ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของเธอ ทรงพระดําริว่า ถ้าธรรมอันสงบระงับมีอยู่ ก็คงจะมีในภายในจิตของท่านผู้นี้ จึงดํารัสสั่งอํามาตย์ผู้หนึ่งว่า เจ้าจงไปนําพระดาบสนั้นมา. อํามาตย์นั้นไปไหว้แล้วขอรับเอาภาชนะสําหรับภิกขาจารแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า. พระราชารับสั่งนิมนต์ท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่พระราชาไม่ทรงรู้จักกับอาตมา อํามาตย์จึงเรียนว่า ถ้ากระนั้น ขอนิมนต์พระคุณเจ้ายับยั้งอยู่ที่นี้จนกว่ากระผมจะกลับมา แล้วกลับไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งว่า พระดาบสรูปอื่นผู้ที่จะเข้าไปยังราชตระกูลของเรายังไม่มี เจ้าจงไปนิมนต์พระดาบสนั้นมา. ฝ่ายพระองค์เองก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไหว้ทางช่องพระแกลตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอนิมนต์มาทางพระราชนิเวศน์นี้เถิด. พระโพธิสัตว์จึงมอบภาชนะสําหรับภิกขาจารให้อํามาตย์ถือไปแล้วก็เดินขึ้นสู่ท้องพระโรง. ลําดับนั้น พระราชาทรงไหว้พระโพธิสัตว์นั้นแล้วนิมนต์ให้นั่งบนราชบัลลังก์ แล้วอังคาสเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคู ของขบเคี้ยว และภัตตาหารที่เจ้าพนักงานจัดไว้สําหรับพระองค์ พระโพธิสัตว์ฉันเสร็จแล้ว จึงตรัสถามปัญหา ทรงพอพระราชหฤทัยการพยากรณ์ปัญหาของพระโพธิสัตว์ยิ่งนัก จึงนมัสการแล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าอยู่ที่ไหน และมาจากไหน พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 6
มหาบพิตร อาตมาภาพอยู่ป่าหิมพานต์ และมาจากป่าหิมพานต์ จึงตรัสถามอีกว่า มาเพราะเหตุอะไร จึงทูลว่า มหาบพิตร ในฤดูกาลฝนควรจะได้การอยู่ประจําที่ ทรงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นขอนิมนต์พระคุณเจ้าพักอยู่ในพระราชอุทยาน พระคุณเจ้าจักไม่ลําบากด้วยปัจจัยทั้ง ๔ และโยมก็จักได้บุญอันจะนําตนให้ไปเกิดในสวรรค์ ครั้นทรงทําความตกลงแล้ว และเสวยพระกระยาหารแล้ว ได้เสด็จไปพระราชอุทยานพร้อมกับพระโพธิสัตว์ รับสั่งให้ให้สร้างบรรณศาลา สร้างที่จงกรม จัดเสนาสนะที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันเป็นต้น ให้พร้อมเสร็จ. แล้วมอบถวายบริขารสําหรับบรรพชิต แล้วตรัสว่า ขอพระคุณเจ้าจงอยู่โดยความสุขสําราญเถิด แล้วมอบนายอุทยานบาลให้ดูแล. ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ได้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นเป็นเวลา ๑๒ ปี. ต่อมาภายหลัง ประเทศชายแดนของพระราชาเกิดการกําเริบ พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไประงับเหตุการณ์นั้นจึงตรัสเรียกพระเทวีมาแล้วตรัสว่า น้องนางผู้เจริญ เจ้าควรยับยั้งอยู่ยังพระนครก่อน. พระเทวีทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ เพราะอาศัยเหตุอะไร พระองค์จึงตรัสอย่างนี้ พระราชา เพราะอาศัยพระดาบสผู้มีศีล ซิน้องนางผู้เจริญ. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพหม่อมฉันจักไม่ประมาทในพระดาบสนั้น การปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์เป็นภาระของหม่อมฉัน ขอพระองค์อย่าทรงกังวล จงเสด็จเถิด. พระราชาจึงเสด็จออกไป. ฝ่ายพระเทวีก็ตั้งใจอุปัฎฐากพระโพธิ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 7
สัตว์เหมือนอย่างเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์หลังจากพระราชาเสด็จไปแล้วก็มิได้ไปตามเวลาที่เคยมา ได้ไปยังพระราชนิเวศน์กระทําภัตตกิจตามเวลาที่ตนชอบใจ. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์ชักช้าอยู่ยังไม่มาพระราชเทวีจัดแจงขาทนียโภชนียาหารทุกอย่างเสร็จแล้ว จึงโสรจสรงพระองค์ประดับพระวรกาย แล้วให้นางพนักงานแต่งเตียงน้อยบรรทมคอยดูการมาของพระโพธิสัตว์ โดยทรงนุ่งพระภูษาเนื้อเกลี้ยงอย่างหย่อนๆ . ฝ่ายพระโพธิสัตว์กําหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขาภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่. พระเทวีได้ทรงสดับเสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน พระภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้นก็หลุดลุ่ยลงทันที พระโพธิสัตว์ได้เห็นวิสภาคารมณ์มิได้สํารวมอินทรีย์ ตลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม. ลําดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกําลังฌานก็กําเริบขึ้นเหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้ก็แผ่พังพานขึ้นฉะนั้น. พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีดด้วยมีดฉะนั้น. องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิดขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์ ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีกขาดฉะนั้น. พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทําภัตตกิจเหมือนแต่ก่อนได้ แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง. ลําดับนั้น พระเทวีจึงทรงใส่ขาทนียะ โภชนียาหารทุกอย่างลงในภิกขาภาชนะของพระโพธิสัตว์. ก็วันนั้น พระโพธิสัตว์ไม่อาจไปเหมือนในวันก่อนๆ ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 8
กระทําภัตตกิจแล้วก็เหาะออกไปทางสีหบัญชร ได้แต่รับภัตตาหารแล้วเดินลงทางบันไดใหญ่ไปยังพระราชอุทยาน แม้พระเทวีก็ทรงทราบว่าพระดาบสมีจิตปฏิพัทธ์ในพระองค์. พระโพธิสัตว์นั้นไปถึงพระราชอุทยานแล้วไม่บริโภคภัตตาหารเลย เอาวางไว้ใต้เตียง นอนรําพรรณว่า พระหัตถ์เห็นปานนี้ของพระเทวีงาม พระบาทก็งามนั้นพระองค์เห็นปานนี้ ลักษณะของพระอูรุเห็นปานนี้ ดังนี้เป็นต้น นอนบ่นเพ้ออยู่ถึง ๗ วัน ภัตตาหารบูด มีหมู่แมลงวันหัวเขียวตอมกันสะพรั่ง. ฝ่ายพระราชาทรงระงับปัจจันตชนบทได้แล้วก็เสด็จกลับมาทรงกระทําประทักษิณพระนครซึ่งชาวเมืองตกแต่งประดับประดาไว้รับเสด็จ แต่หาได้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ไม่ ได้เสด็จไปยังพระราชอุทยานด้วยหวังพระทัยว่าจักเยี่ยมพระโพธิสัตว์ ได้ทอดพระเนตรเห็นอาศรมบทรกรุงรังด้วยหยากเยื่อ ทรงสําคัญว่าพระดาบสจักหนีไปแล้ว จึงทรงเปิดประตูบรรณศาลา เสด็จเข้าไปข้างใน ทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้นนอนอยู่ จึงทรงดําริว่า ชรอยจะมีความไม่ผาสุกบางประการ จึงรับสั่งให้ทิ้งภัตตาหารบูดชําระปัดกวาดบรรณศาลาแล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ท่านไม่สบายไปหรือ? พระดาบสทูลตอบว่า มหาบพิตร อาตมาภาพถูกลูกศรเสียบแทง. พระราชาเข้าพระทัยว่า ชรอยพวกปัจจามิตรของเราไม่ได้โอกาสในตัวเรา จึงมายิงพระดาบสนี้ โดยคิดว่า จักทําฐานะอันเป็นที่รักของพระราชานั้นให้ทุรพลภาพ จึงทรงพลิกร่างกายตรวจดูรอยที่ถูกยิง ก็ไม่เห็นรอย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 9
ที่ยิง จึงตรัสถามว่า ท่านถูกเขายิงที่ไหนหรือ พระคุณเจ้า. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมาภาพมิได้ถูกคนอื่นยิง แต่อาตมาภาพยิงตัวของตัวเองแหละที่หัวใจ ครั้นทูลแล้วจึงลุกขึ้นนั่งกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
อาตมาภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูกศรนั้น อันกําซาบด้วยราคะเกิดจากความดําริอันลับด้วยวิตกคือความดําริ อันนายช่างมิได้ตกแต่งให้เรียบร้อย อันนายช่างศรมิได้ทํายังไม่พ้นหมวกหู ทั้งยังไม่ติดขนนกยูง แต่ทําความเร่าร้อนให้ทั่วสรรพางค์กาย อาตมาภาพไม่เห็นรูแผลที่เลือดไหลออก ลูกศรนั้นแทงจิตที่ไม่แยบคายได้มั่นเหมาะ ความทุกข์นี้อาตมาภาพนํามาด้วยตนเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกปฺปราคโธเตน ความว่ากําซาบด้วยราคะอันประกอบพร้อมด้วยความดําริตริตรึกในกาม. บทว่า วิตกฺกนิสิเตน ความว่า อันลับด้วยหินคือความดําริ ด้วยน้ำคือราคะนั้นนั่นแหละ. บทว่า เนวาลงฺกตภทฺเรน ความว่า อันนายช่างมิได้ทําให้เกลี้ยงเกลา. บทว่า น อุสุการกเตน จ ความว่า แม้ช่างศรทั้งหลายก็ยังมิได้ดัด. บทว่า น กณฺณายตมุตฺเตน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 10
ยังไม่ดึงสายมาให้พ้นหมวกหูขวาเป็นกําหนด. บทว่า น ปิ โมรุปเสวินา ความว่า ยังมิได้ทําการติดขนปีกนกยูง และขนปีกนกแร้งเป็นต้น. บทว่า เตนมฺหิ หทเย วิทฺโธ ความว่า ถูกลูกศรคือกิเลสนั้นเสียบแทงที่หัวใจ. ด้วยบทว่า สพฺพงฺคปริฬาหินา นี้ท่านแสดงว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูกศรคือกิเลสนั้น อันสามารถทําให้อวัยวะทั้งปวงเร่าร้อน ตั้งแต่เวลาที่อาตมาภาพถูกลูกศรนั้นแทงแล้ว อวัยวะทุกส่วนของอาตมาภาพเร่าร้อน เหมือนไฟติดไปทั่วฉะนั้น. บทว่า อาเวธฺจ น ปสฺสามิ ความว่า อาตมาภาพไม่เห็นที่ที่ลูกศรแทง. บทว่า ยโต รุหิรมสฺสเว ความว่า เลือดของอาตมาภาพไหลออกจากรูแผลใด อาตมาภาพไม่เห็นแผลนั้น. ศัพท์ว่า ยาว ในบทว่า ยาว อโยนิโส จิตฺตํ นี้เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่ามั่นคง. อธิบายว่า ลูกศรแทงจิตที่คิดโดยไม่แยบคายได้อย่างมั่นเหมาะเหลือเกิน. บทว่า สยํ เม ทุกฺขมาภตํ ความว่า อาตมาภาพนําทุกข์มาให้แก่ตนด้วยตนเองทีเดียว.
พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยคาถา ๓ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว จึงทูลให้พระราชาเสด็จออกประทับภายนอกบรรณศาลา แล้วกระทํากสิณบริกรรมทําฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นแล้ว ออกจากบรรณศาลาเหาะขึ้นไปนั่งอยู่กลางอากาศ โอวาทพระราชาเสร็จแล้วทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจักไปอยู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม แม้พระราชาจะตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ อย่าไปเลย ก็ทูลชี้แจงว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 11
มหาบพิตร เพราะอาตมาภาพอยู่ในที่นี้จึงได้รับอาการอันผิดแผกเห็นปานนี้ บัดนี้ ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ต่อไป ทั้งๆ ที่พระราชาทรงอ้อนวอนอยู่นั่นเอง ก็เหาะไปป่าหิมพานต์ดํารงอยู่จนตลอดอายุ ในเวลาสิ้นสุดอายุก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจกถา ภิกษุผู้กระสันจะสึกก็ได้ดํารงอยู่ในพระอรหัต. บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี. พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนดาบสคือเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสังกัปปราคชาดกที่ ๑