๑. ปทุมชาดก ไม่ควรพูดให้เกินความจริง
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 94
๒. ปทุมวรรค
๑. ปทุมชาดก
ไม่ควรพูดให้เกินความจริง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 94
๑. ปทุมชาดก
ไม่ควรพูดให้เกินความจริง
[๓๘๒] ผมและหนวดที่โกนแล้วตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นใหม่ได้ ฉันใด จมูกของท่านจงงอกขึ้นใหม่ ฉันนั้น ข้าพเจ้าขอดอกปทุม ขอท่านจงให้แก่ข้าพเจ้าเกิด.
[๓๘๓] พืชที่เก็บไว้ในสารทกาล เอาหว่านลงในนา ย่อมงอกขึ้น ฉันใด จมูกของท่านจงงอกขึ้นใหม่ ฉันนั้น ข้าพเจ้าขอดอกปทุม ขอท่านจงให้แก่ข้าพเจ้าเถิด.
[๓๘๔] แม้คนทั้งสองนั้นคิดว่า ท่านจักให้ดอกปทุมแก่ตน จึงได้พูดพล่ามไป คนทั้งสองนั้น จะพึงกล่าวหรือไม่กล่าวก็ตาม จมูกย่อมงอกขึ้นไม่ได้ ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าขอดอกปทุม ขอท่านจงให้แก่ข้าพเจ้าเถิด.
จบ ปทุมชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 95
อรรถกถาปทุมวรรคที่ ๒
อรรถกถาปทุมชาดกที่ ๑
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุทั้งหลายผู้กระทําการบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์ จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า ยถา เกสา จ มสฺสุ จ ดังนี้ เรื่องนี้จักมีแจ้งในกาลิงคโพธิชาดก.
ก็ต้นโพธิ์นั้น ชื่อว่าอานันทโพธิ์ เพราะเป็นต้นโพธิ์ที่พระอานันทเถระปลูกไว้. จริงอยู่ความที่พระเถระปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่ซุ้มประตูพระเชตวันวิหาร ได้แพร่สะพัดไปตลอดทั่วชมพูทวีป. ครั้งนั้นภิกษุชาวชนบทบางพวกพากันคิดว่า จักกระทําการบูชาด้วยระเบียบดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์ จึงไปยังพระเชตวันวิหารถวายบังคมพระศาสดา วันรุ่งขึ้น เข้าไปในเมืองสาวัตถี ไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย ไม่ได้ดอกไม้ จึงมาบอกแก่พระอานันทเถระว่า ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมคิดกันว่า จักกระทําบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นโพธิ์ จึงไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย ก็ไม่ได้แม้แต่ดอกเดียว. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักนํามาถวายท่าน แล้วเดินไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย ให้เขายกกำดอกอุบลเขียวเป็นจำนวนมาก แล้วส่งไปถวายภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นถือดอกอุบลเขียวเหล่านั้นไปบูชาที่ต้นโพธิ์. ภิกษุทั้งหลายรู้เรื่องราวอันนั้น จึงนั่งสนทนาถึงคุณของพระเถระใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 96
โรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชาวชนบทมีบุญน้อย ไปยังถนนที่มีดอกอุบลขายก็ไม่ได้ดอกไม้ ส่วนพระเถระไปประเดี๋ยวก็ได้มาแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ฉลาดในการกล่าว ผู้ฉลาดในถ้อยคํา ย่อมได้ดอกไม้ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนผู้ฉลาดก็ได้แล้วเหมือนกัน จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นบุตรเศรษฐี. ก็ในภายในพระนคร ในสระแห่งหนึ่งปทุมกําลังออกดอก. บุรุษจมูกแหว่งคนหนึ่งรักษาสระนั้น. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเขาป่าวร้องการแสดงมหรสพในพระนครพาราณสี บุตรของเศรษฐี ๓ คน มีความประสงค์จะประดับดอกไม้เล่นมหรสพ จึงคิดกันว่า จักพรรณนาคุณของชายจมูกแหว่งโดยไม่เป็นจริงแล้วจักได้ดอกไม้ ครั้นคิดกันแล้วในเวลาที่ชายจมูกแหว่งนั้นเด็ดดอกปทุม จึงเข้าไปใกล้สระได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. บรรดาเศรษฐีบุตรทั้ง ๓ คนนั้น คนหนึ่งเรียกชายจมูกแหว่งนั้นมาแล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ผมและหนวดที่ตัดแล้วๆ ย่อมงอกขึ้นได้ ฉันใด จมูกของท่านจงงอกขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 97
ฉันนั้น ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว ขอจงให้ดอกปทุม.
ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรนั้น จึงไม่ให้ดอกปทุม. ลําดับนั้น เศรษฐีบุตรที่ ๒ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ต่อเขาว่า :-
พืชที่เขาเก็บไว้ในสารทกาล คือฤดูใบไม้ร่วงหว่านลงในนาย่อมงอกขึ้น ฉันใด จมูกของท่านจงงอกขึ้น ฉันนั้น ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว ขอจงให้ดอกปทุม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารทิกํ ได้แก่ พืชที่สมบูรณ์ด้วยเนื้อแท้ อันบุคคลถือเอาในสารทกาล แล้วเก็บไว้.
ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรคนนั้นก็ไม่ให้ดอกปทุม. ลําดับนั้น เศรษฐีบุตรคนที่ ๓ กล่าวคาถาที่ ๓ ต่อเขาว่า :-
คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเพ้อไปด้วยคิดว่า ท่านจักให้ดอกปทุมบ้าง คนทั้งสองนั้นจะพูดหรือไม่พูดก็ตาม จมูกของท่านย่อมไม่งอกขึ้น ดูก่อนสหาย ท่านจงให้ดอกปทุมท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว จงให้ดอกปทุมแก่ข้าพเจ้าเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภปิ วิลปนฺเต เต ความว่าคนแม้ทั้งสองนั้นพูดเท็จ. บทว่า อปิ ปทุมานิ ความว่า คนทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 98
นั้นคิดว่า ชายจมูกแหว่งจักให้ดอกปทุมแก่พวกเราบ้าง จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า วชฺชุํ วา เต น วา วชฺชุํ ความว่า คนเหล่านี้จะพึงกล่าวหรือจะไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่าจมูกของท่านจงงอกขึ้น ชื่อว่าคําของคนเหล่านั้น ไม่เป็นประมาณ จมูกย่อมไม่มีการงอกขึ้นแม้โดยประการทั้งปวง ส่วนเราจะไม่กล่าวพาดพิงถึงจมูกของท่านจะขออย่างเดียว ดูก่อนสหาย ท่านอันเราขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่เรานั้น.
ชายผู้เฝ้าสระปทุมได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า คนทั้งสองนี้กระทํามุสาวาท ส่วนท่านกล่าวตามสภาพ ดอกปทุมทั้งหลายสมควรแก่ท่าน แล้วถือเอาดอกปทุมกําใหญ่มาให้แก่เศรษฐีบุตรคนที่ ๓ นั้น. แล้วกลับไปยังสระปทุมของตนตามเดิม.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีบุตรคนที่ได้ดอกปทุมในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปทุมชาดกที่ ๑