พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. มุทุปาณิชาดก ความปรารถนาสมประสงค์ในเมื่อมีของ ๔ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35712
อ่าน  482

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 99

๒. มุทุปาณิชาดก

ความปรารถนาสมประสงค์ในเมื่อมีของ ๔ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 99

๒. มุทุปาณิชาดก

ความปรารถนาสมประสงค์ในเมื่อมีของ ๔ อย่าง

[๓๘๕] ถ้าคนใช้ของท่านพึงมีฝ่ามืออ่อน ๑ ช้างของท่านฝึกดีแล้ว ๑ เวลามืด ๑ ฝนตก ๑ จะพึงมีในกาลใด ความปรารถนาของท่านก็จะสมประสงค์ในกาลนั้นเป็นแน่.

[๓๘๖] หญิงทั้งหลาย บุรุษไม่สามารถจะปกปักรักษาไว้ได้ด้วยถ้อยคําอันอ่อนหวาน ยากที่จะให้เต็มได้ เสมอด้วยแม่น้ำฉะนั้น ย่อมจะจมลงในนรก บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้วพึงหลีกเว้นเสียให้ห่างไกล.

[๓๘๗] หญิงเหล่านั้นย่อมเข้าไปคบหาบุรุษใดเพราะความรักใคร่พอใจ หรือเพราะทรัพย์ เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเอง ฉันนั้น.

จบ มุทุปาณิชาดกที่ ๒

อรรถกถามุทุปาณิชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า ปาณิ เจ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 100

มุทุโก จสฺส ดังนี้

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นผู้ที่ถูกนํามายังโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายนี้ใครๆ ไม่ควรจะรักษา เพราะตามอํานาจของกิเลส แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ทั้งที่จับมือธิดาของตนรักษาอยู่ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ ธิดายืนจับมือบิดาอยู่ ไม่ให้บิดารู้ตัวเลย หนีไปกับบุรุษด้วยอํานาจกิเลส ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเสีย อันภิกษุเหล่านั้นอ้อนวอนจึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น พอทรงเจริญวัยก็เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ก็ดํารงอยู่ในราชสมบัติทรงครองราชย์โดยธรรม. พระองค์ทรงเลี้ยงดูคนทั้งสอง คือพระราชธิดาและพระราชภาคิไนย ไว้ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ วันหนึ่ง ประทับอยู่กับพวกอํามาตย์ ดํารัสว่า เมื่อเราล่วงไป หลานของเราจักได้เป็นพระราชา ฝ่ายธิดาของเราจักได้เป็นอัครมเหสีของพระราชานั้น ในกาลต่อมา ในเวลาที่พระธิดาและพระภาคิไนยนั้นเจริญวัย ประทับอยู่กับพวกอํามาตย์อีกหนหนึ่ง ตรัสว่า เราจักนําธิดาของพระราชาอื่นมาให้หลานเรา และจักให้ธิดาของเราในราช-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 101

ตระกูลอื่น เมื่อเป็นอย่างนี้ญาติทั้งหลายของเราจักมากขึ้น. อํามาตย์เหล่านั้น ก็รับพระบัญชา. ลําดับนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้ประทานวังข้างนอกแก่พระภาคิไนย ให้พระธิดาประทับอยู่ภายในพระราชนิเวศน์. แต่คนทั้งสองนั้นได้มีจิตปฏิพัทธ์แก่กันและกันอยู่. พระกุมารคิดอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ จึงจะให้นําพระราชธิดามาไว้ภายนอกได้ ทรงคิดได้ว่า มีอุบาย จึงให้สินจ้างแก่แม่นม เมื่อแม่นมทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า มีกิจอะไร จึงตรัสว่า ข้าแต่แม่ เราทั้งหลายใคร่จะนําพระราชธิดาไว้ภายนอกวัง จะมีช่องทางอย่างไรหนอ. แม่นมทูลว่า หม่อมฉันจักพูดกับพระราชธิดาแล้วจักรู้ได้. พระกุมารตรัสว่า ดีละแม่. แม่นมนั้นไปแล้วทูลว่า มาซิแม่หม่อมฉันจักจับเหาที่ศีรษะแม่ แล้วให้พระราชธิดานั้นประทับบนตั่งน้อยตัวเตี้ย ตนเองนั่นบนตั่งน้อยตัวสูง ให้ศีรษะของพระราชธิดานั้นซบอยู่ที่ขาอ่อนทั้งสองของตน จับเหาอยู่ จึงเอาเล็บของตนจิกศีรษะของพระราชธิดา. พระราชธิดาทรงทราบว่า แม่นมนี้ย่อมไม่เอาเล็บของตนจิกเรา แต่เอาเล็บคือความคิดอ่านแห่งพระกุมารผู้เป็นโอรสของพระปิตุจฉาของเราจิก จึงตรัสถามว่า แม่ได้ไปเฝ้าพระราชกุมารหรือจะแม่. แม่นมทูลว่าจ้ะ แม่ไปมา. พระราชธิดาตรัสว่า พระราชกุมารบอกข่าวอะไรมาแก่แม่หรือ. แม่นมทูลว่า พระราชกุมารถามถึงอุบายที่พระองค์ให้เสด็จอยู่ภายนอกจ้ะแม่. พระราชธิดาคิดว่าพระราชกุมารแม้เป็นบัณฑิตมีปัญญาก็จักทรงรู้ จึงตรัสว่า แม่จ๋า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 102

แม่จงเรียนเอาคาถานี้ไปบอกพระราชกุมารเถิด แล้วจึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

ถ้าคนใช้ของท่านพึงมีฝ่ามืออ่อน ๑ ช้างของท่านฝึกดีแล้ว ๑ เวลามืด ๑ ฝนตก ๑ จะพึงมีในกาลใด ความปรารถนาของท่านก็จะสมประสงค์ในกาลนั้นเป็นแน่.

แม่นมนั้นเรียนเอาคาถานั้นแล้วไปเฝ้าพระกุมาร เมื่อพระกุมารตรัสว่า พระราชธิดาตรัสอะไรจะแม่. ทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า พระราชธิดาไม่ได้ตรัสคําอะไรๆ อื่นเลย ส่งแต่คาถานี้มา แล้วยกคาถานั้นขึ้นมา. ฝ่ายพระกุมารทรงทราบเนื้อความของคาถานั้น. จึงสั่งแม่นมนั้นไปด้วยดํารัสว่า ไปเถอะแม่.

คาถานั้นมีความว่า ถ้าคนใช้คนหนึ่งของพระองค์มีมืออ่อนเหมือนมือของหม่อมฉัน๑ ถ้าช้างเชือกหนึ่งของพระองค์ฝึกให้ทําเหตุแห่งการไม่หวั่นไหวได้อย่างดี ๑ วันนั้นมีความมืดจัดประดุจประกอบด้วยองค์สี่ ๑ และฝนตก ๑ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความปรารถนาของท่านก็จะสมประสงค์ในกาลนั้นแน่ อธิบายว่า เพราะอาศัยปัจจัย ๔ ประการนี้ ความปรารถนาแห่งใจของท่านก็จะถึงที่สุดโดยเด็ดขาดในกาลเช่นนั้น.

พระกุมารทรงทราบความนั้นโดยถ่องแท้ จึงทรงทําการตระเตรียมคนใช้คนหนึ่งมีรูปงามมืออ่อน ให้สินจ้างแก่นายหัตถาจารย์ผู้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 103

รักษามงคลหัตถี ให้ฝึกช้างกระทําอาการไม่หวั่นไหวแล้วทรงรอคอยเวลาอยู่. ครั้นในวันอุโบสถข้างแรมวันหนึ่ง เมฆฝนดําทมึนตกลงมาในระหว่างมัชฌิมยาม. พระกุมารนั้น ทรงกําหนดว่า วันนี้ เป็นวันที่พระราชธิดากําหนดไว้ จึงเสด็จขึ้นช้าง ให้คนใช้มืออ่อนนั้นนั่งบนหลังช้าง เสด็จไปประทับ ณ ที่ตรงกับเนินช่องว่างของพระราชนิเวศน์ ให้ช้างเบียดติดกับฝาใหญ่ ได้ประทับเปียกชุ่มอยู่ ณ ที่ใกล้พระแกล. ฝ่ายพระราชาเมื่อจะรักษาพระธิดา จึงมิให้บรรทมที่อื่น ให้บรรทมอยู่บนที่บรรทมน้อยใกล้กับพระองค์. ฝ่ายพระธิดารู้ว่า วันนี้พระกุมารจะเสด็จมาก็บรรทมไม่หลับเลย ทูลว่า ข้าแต่พระบิดาหม่อมฉันจะอาบน้ำ. พระราชาตรัสว่า มาเถิดแม่ แล้วจับพระหัตถ์พระธิดาพาไปใกล้พระแกล ตรัสว่า อาบเถิดแม่ แล้วยกขึ้นให้ยืนที่ชานด้านนอกพระแกล ประทับยืนจับพระหัตถ์ข้างหนึ่ง. พระธิดานั้น แม้กําลังอาบน้ำ ก็เหยียดพระหัตถ์ให้แก่พระกุมารๆ เปลื้องเครื่องอาภรณ์จากพระหัตถ์ของพระธิดานั้นแล้วประดับที่มือของคนใช้นั้น แล้วยกคนใช้นั้นขึ้นให้ยืนที่ชานเกาะพระธิดา. พระธิดานั้นจับมือของคนใช้นั้นวางที่พระหัตถ์ของพระบิดา. พระราชานั้นทรงจับมือข้างหนึ่งของคนใช้นั้น แล้วปล่อยมือข้างหนึ่งของพระธิดา พระธิดานั้นเปลื้องเครื่องอาภรณ์จากมืออีกข้างหนึ่ง เอาประดับมือที่สองของคนใช้นั้นแล้ววางที่พระหัตถ์ของพระบิดา ตนเองได้ไปกับพระกุมาร. พระราชาทรงสําคัญว่า ธิดาของพระองค์จึงให้ทารกนั้นนอน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 104

ในห้องอันเป็นสิริ ในเวลาเสร็จสิ้นการอาบน้ำ ปิดประตู ลั่นกุญแจให้การอารักขาแล้ว เสด็จไปบรรทมยังที่บรรทมของพระองค์. เมื่อราตรีสว่างแจ้งแล้ว พระราชานั้นทรงเปิดประตูเห็นทารกนั้น จึงรับสั่งถามว่า นี่อะไรกัน. ทารกนั้นกราบทูลความที่พระธิดานั้นเสด็จไปกับพระกุมาร. พระราชาทรงเดือดร้อนพระทัย ทรงพระดําริว่าเราแม้จับมือเที่ยวไป ก็ไม่อาจรักษามาตุคามได้ ชื่อว่าหญิงทั้งหลายใครๆ รักษาไม่ได้อย่างนี้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

หญิงทั้งหลายบุรุษไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ด้วยถ้อยคําอันอ่อนหวาน ยากที่จะให้เต็มได้ เปรียบเสมอด้วยแม่น้ำ ย่อมจมลงในนรก บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกลหญิงเหล่านี้ ย่อมเข้าไปคบหาบุรุษใด เพราะความรักใคร่ก็ตาม เพราะทรัพย์ก็ตาม เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลันเปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเองฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนลา มุทุสมฺภาสา ความว่าบุรุษทั้งหลายไม่อาจ คือไม่สามารถที่จะยึดเหนี่ยวไว้ได้ แม้ด้วยถ้อยคําอันไพเราะอ่อนหวาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าไม่อาจรักษาได้ เพราะบุรุษทั้งหลายไม่อาจรักษาหญิงเหล่านี้. บทว่า มุทุสมฺภาสา ความว่าชื่อว่ามีถ้อยคําอ่อนหวาน เพราะแม้เมื่อหัวใจกระด้าง ก็มีน้ำคําอ่อน-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 105

โยน. บทว่า ทุปฺปูรา ตา นทีสมา ความว่า ชื่อว่ายากที่จะให้เต็มได้ เพราะไม่รู้จักพอใจด้วยเมถุนเป็นต้น ที่เสพแล้วเนืองๆ เหมือนแม่น้ำชื่อว่ายากที่จะให้เต็มได้ เพราะน้ำที่หลั่งไหลมาๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่แจ่มแจ้งธรรม ๓ ประการ ย่อมตายไป เสียก่อน ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน? คือความเข้าเสพเมถุนธรรม ๑ ความดิ้นรน ๑ การแต่งตัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามยังไม่ทันจะอิ่มไม่ทันจะแจ่มแจ้งธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ก็ตายเสียก่อน บทว่า สีทนฺติ ความว่า ย่อมจมคือมุดลงมหานรก ๘ และอุสสุทนรก ๑๖. บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า วิทิตฺวาน แปลว่า รู้ชัดแล้วอย่างนี้. บทว่า อารกา ปริวชฺชเย นี้ ท่านแสดงว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตรู้อย่างนี้ว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ไม่อิ่มเมถุนธรรมเป็นต้น ตายแล้วย่อมจมลงในนรกเหล่านี้ เมื่อตนจมลงอย่างนี้ จักเกิดมีความสุขแก่ใครอื่น พึงเว้นหญิงแม้เหล่านี้เสียให้ห่างไกลทีเดียว. บทว่า ฉนฺทสา วา ธเนน วา ความว่า หญิงเหล่านี้ย่อมเข้าไปเสวนาคือคบหาบุรุษใด เพราะความพอใจ คือความชอบใจ ความรักใคร่ของตน หรือเพราะทรัพย์ที่ได้ด้วยการจ้าง. บทว่า ชาตเวโท แปลว่าไฟ. จริงอยู่ไฟนั้น ชื่อว่า ชาตเวโท เพราะพอเกิดเท่านั้นก็เสวยได้เป็นสภาพที่เสวยคือปรากฏ. ไฟนั้นย่อมไหม้ ฐานที่คือเหตุได้แก่ที่ของตนฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมส้องเสพ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 106

กับบุรุษใด ย่อมไหม้คือเผาทันทีซึ่งบุรุษนั้นแม้ผู้ประกอบด้วยทรัพย์ ยศ ศีล และปัญญา กระทําให้สมบัตินั้นไม่ควรเกิดขึ้นอีก โดยทําทรัพย์เป็นต้น เหล่านั้นให้พินาศไป. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ชนผู้ตกอยู่ในอํานาจของมาตุคาม ถึงมีกําลังก็เป็นผู้หมดกําลัง แม้มีเรี่ยวแรงก็เสื่อมถอย มีตาก็เป็นคนตาบอด. ชนผู้ตกอยู่ในอํานาจของมาตุคาม ถึงมีคุณความดีก็หมดคุณความดี แม้มีปัญญาก็เสื่อมถอยเป็นผู้ประมาท ติดพันอยู่ในบ่วง มาตุคามย่อมปล้นเอาการศึกษาเล่าเรียน ตบะ ศีล สัจจะ จาคะ สติ และมติความรู้ของคนผู้ประมาท เหมือนพวกโจรคอยดักทําร้ายในหนทาง. ย่อมทํายศ เกียรติ ฐิติความทรงจํา ความกล้าหาญ ความเป็นพหูสูต และความรู้ของคนผู้ประมาทให้เสื่อมไป เหมือนไฟผู้ชําระทํากองฟืนให้หมดไปฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ทรงดําริว่า แม้หลานเราก็ต้องเลี้ยงดู ธิดาเราก็ต้องเลี้ยงดู จึงพระราชทานพระธิดา ให้แก่พระภาคิไนยนั้นนั่นแหละด้วยสักการะอันใหญ่หลวง แล้วทรงตั้ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 107

พระภาคิไนยนั้นให้ดํารงอยู่ในตําแหน่งอุปราช. เมื่อพระเจ้าลุงสวรรคต แม้อุปราชนั้นก็ดํารงอยู่ในราชสมบัติ.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามุทุปาณิชาดกที่ ๒