พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. วาตัคคสินธพชาดก ว่าด้วยมิตรสันถวะเกิดแต่แรกพบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35716
อ่าน  456

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 128

๖. วาตัคคสินธพชาดก

ว่าด้วยมิตรสันถวะเกิดแต่แรกพบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 128

๖. วาตัคคสินธพชาดก

ว่าด้วยมิตรสันถวะเกิดแต่แรกพบ

[๓๙๗] คุณแม่มีโรคผอมเหลือง ไม่ชอบใจอาหารเพราะม้าตัวใดเป็นเหตุให้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ม้านั้นก็มาคบหาสมาคมแล้ว เหตุไรคุณแม่จึงให้ม้าตัวนั้นหนีไปเสียในบัดนี้เล่า.

[๓๙๘] ลูกเอย ขึ้นชื่อว่ามิตรสันถวะจะเกิดขึ้นแต่แรกพบปะทีเดียว ยศของสตรีทั้งหลายย่อมเสื่อมไป เพราะฉะนั้น แม่จึงแสร้งทําให้พระยาม้านั้นหนีไปเสีย.

[๓๙๙] สตรีคนใด ไม่ปรารถนาบุรุษผู้เกิดในตระกูลมียศศักดิ์ ที่มีคนชักพามาแล้ว สตรีคนนั้นจะต้องเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนานเหมือนนางม้าเศร้าโศกถึงพระยาม้าวาตัคคสินธพฉะนั้น.

จบ วาตัคคสินธพชาดกที่ ๖

อรรถกถาวาตัคคสินธพชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภกฎมพีคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 129

เยนาสิ กีสิยา ปณฺฑุ ดังนี้.

ได้ยินว่า หญิงคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี เห็นกฎมพีรูปงามคนหนึ่ง ได้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่. ไฟคือกิเลสเกิดขึ้นภายในของนางประดุจเผาร่างกายทั้งสิ้น. นางไม่ได้รับความยินดีเพลิดเพลินทางกายและทางใจเลย แม้อาหารนางก็ไม่ชอบใจ นอนเกาะแม่แคร่เตียงอย่างเดียว. ลําดับนั้น หญิงผู้รับใช้และหญิงสหาย ได้ถามนางว่าเพราะเหตุไรหนอ เธอจึงมีจิตซัดส่ายนอนเกาะแม่แคร่เตียง เธอไม่มีความผาสุกอะไรหรือ? นางอันพวกเพื่อนหญิงไม่ได้กล่าวครั้งเดียว สองครั้ง กล่าวบ่อยๆ จึงได้บอกเนื้อความนั้น แก่เพื่อนหญิงเหล่านั้น. ลําดับนั้น เพื่อนหญิงเหล่านั้นจึงปลอบโยนนางให้เบาใจแล้วกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธออย่าเสียใจเลย พวกเราจักนํากฎมพีมาให้ แล้วไปปรึกษากับกฎมพี. กฎมพีนั้นปฏิเสธ เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นพูดจาบ่อยเข้าจึงรับคํา. หญิงเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงมาในวันโน้นเวลาโน้น ดังนี้ ให้กฎมพีรับคําปฏิญญาแล้ว จึงไปบอกให้หญิงนั้นทราบ. หญิงนั้นเมื่อได้ฟังข่าวจึงจัดแจงห้องนอนของตนแต่งตัวแล้วนั่งบนที่นอน เมื่อกฎมพีนั้นมานั่ง ณ ส่วนหนึ่งของที่นอน จึงคิดว่า ถ้าเราไม่ทําให้หนักแน่นต่อเขาไว้ ให้โอกาสเสียแต่เดี๋ยวนี้ ความเป็นใหญ่ของเราก็จักเสื่อมไป ชื่อว่าการให้โอกาสในวันที่เขามาถึงทีเดียว มิใช่เหตุอันควร วันนี้เราทําให้เขาเก้อ ในวันอื่น จึงจักให้โอกาส. ลําดับนั้น นางจูงมือเขาผู้ปรารภ จะหยอกล้อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 130

เล่นด้วยการจับมือเป็นต้น แล้วฉุดออกมาพร้อมกับพูดว่า หลีกไปหลีกไป เราไม่ต้องการท่าน. กฎมพีนั้นจึงหยุดชะงัก ละอายใจลุกขึ้นไปบ้านของตนเลยทีเดียว. หญิงนอกนี้รู้ว่า หญิงนั้นกระทําอย่างนั้นเมื่อกฎมพีออกไปแล้ว จึงเข้าไปหาหญิงนั้นพากันพูดอย่างนี้ว่า เธอมีจิตปฏิพัทธ์กฎมพีนั้น ถึงกับห้ามอาหารนอนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกเราอ้อนวอนเธอบ่อยๆ แล้วนําเขามาให้ เพราะเหตุไร จึงไม่ให้โอกาสแก่เขา. นางจึงบอกความมุ่งหมายอันนั้นให้ทราบ. หญิงเหล่านั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจักปรากฏผลในวันหน้า แล้วพากันหลีกไปเสีย. กฎมพีก็ไม่หันกลับมามองดูอีก. หญิงนั้นเมื่อไม่ได้กฎมพีนั้นก็ซูบซีดอดอาหาร ถึงความสิ้นชีวิตไปในที่นั้นเอง. กฎมพีได้ฟังว่าหญิงนั้นตายแล้ว จึงถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมากไปยังพระวิหารเขตวัน บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง และถูกพระศาสดาตรัสถามว่า อุบาสก เพราะเหตุไรหนอท่านจึงหายหน้าไปไม่ปรากฏ? จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ละอายใจ ตลอดกาลประมาณเท่านี้ จึงไม่ได้มาสู่ที่พุทธอุปัฏฐาก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก หญิงนั้นให้เรียกท่านมาด้วยอํานาจของกิเลส ครั้นในเวลาท่านมาแล้ว ไม่ให้โอกาส ทําให้ท่านได้อาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น ก็แม้ในกาลก่อน นางมีจิตปฏิพัทธ์แม้ในบัณฑิตทั้งหลาย ให้เรียกมาแล้ว ครั้นในเวลามาถึงไม่ให้โอกาส ทําให้ลําบากถ่ายเดียวแล้วส่งไป อัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 131

กฏมพีนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลม้าสินธพ ได้ชื่อว่าวาตัคคสินธพ ได้เป็นม้ามงคลของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. คนผู้ดูแลม้า พาม้าสินธพนั้นไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น นางม้าชื่อว่าภัททลีได้เห็นม้าสินธพนั้นมีจิตปฏิพัทธ์ สั่นด้วยอํานาจกิเลส ไม่กินหญ้า ไม่ดื่มน้ำ ซูบซีด ผอมได้มีสักแต่ว่าหนังหุ้มกระดูก. ลําดับนั้น ลูกม้าเห็นแม่นั้นซูบผอมจึงถามว่า แม่ เพราะเหตุไรหนอ แม่จึงไม่กินหญ้า ไม่ดื่มน้ำ ซูบซีด นอนสั่นอยู่ในที่นั้นๆ แม่ไม่มีผาสุกอะไรหรือ? นางม้านั้นไม่บอก เมื่อถูกถามบ่อยๆ เข้า จึงได้บอกเนื้อความนั้น ลําดับนั้นลูกม้าจึงปลอบโยนแม่ม้าให้เบาใจแล้วกล่าวว่า แม่อย่าเสียใจฉันจักนําม้าสินธพนั้นมาแสดง ครั้นในเวลาที่ม้าวาตัคคสินธพมาอาบน้ำ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ มารดาของข้าพเจ้ามีจิตปฏิพัทธ์ในตัวท่าน อดอาหารซูบซีดจักตาย ขอท่านจงให้ทานชีวิตแก่มารดาของข้าพเจ้าด้วยเถิด. วาตัคคสินธพกล่าวว่า ดีละพ่อ เราจักให้พวกคนเลี้ยงม้าให้เราอาบน้ำแล้ว จะปล่อยเพื่อให้เที่ยวหาอาหารกินที่ฝังแม่น้ำคงคาสักพักหนึ่ง เจ้าจงพามารดามายังประเทศนั้นเถิด. ลูกม้านั้นไปพามารดามาแล้วปล่อยไว้ในประเทศที่นั้น แล้วได้ยืนอยู่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 132

ในที่มิดชิด ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายคนเลี้ยงม้าทั้งหลายได้ปล่อยวาตัคคสินธพไว้ในที่นั้น. วาตัคคสินธพนั้นแลเห็นนางม้าจึงเข้าไปหา. ลําดับนั้น นางม้านั้น เมื่อม้าวาตัคคสินธพเข้าไปเสียดสีกายตนอยู่ จึงคิดว่าถ้าเราไม่หนักแน่นให้โอกาสแก่เขาในขณะที่มาถึงทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนั้น ยศและความเป็นใหญ่ของเราจักเสื่อมเสียไป เราควรจะทําเป็นเหมือนไม่ปรารถนาเถิด แล้วจึงเอาเท้าดีดลูกคางม้าสินธพแล้วหนีไป. ทันใดนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาที่รากฟันทําลายล่วงไป. วาตัคคสินธพคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรกับอีม้าตัวนี้ เป็นผู้มีความละอายใจหนีไปจากที่นั้นทันที. นางม้านั้นมีความวิปฏิสาร ล้มลงในที่นั้นเองนอนเศร้าโศกอยู่. ลําดับนั้น ลูกม้าได้เข้าไปหานางม้าผู้มารดา เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

คุณแม่เป็นโรคผอมเหลือง ไม่ชอบใจอาหาร เพราะม้าตัวใดเป็นเหตุให้มีจิตปฏิพัทธ์ ม้าตัวนั้นก็มาคบหาสมาคมแล้ว เพราะเหตุไร คุณแม่จึงให้ม้าตัวนั้นหนีไปเสียในบัดนี้เล่า

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนาสิ ความว่า เพราะม้าตัวใดเป็นเหตุให้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่.

นางม้าได้ฟังคําลูก จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 133

ลูกเอย ขึ้นชื่อว่ามิตรสันถวะ จะเกิดแต่แรกทีเดียว ยศของสตรีทั้งหลายก็จะเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น แม่จึงแสร้งทําให้พระยาม้าหนีไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอาทิเกเนว แปลว่า แต่ต้นทีเดียว. คือแต่แรกทีเดียว. บทว่า สนฺถโว ได้แก่ มิตรสันถวะด้วยอํานาจการประกอบ เมถุนธรรม. บทว่า ยโส หายติ อิตฺถีนํ ความว่า ดูก่อนพ่อ เพราะว่า เมื่อสตรีทั้งหลายผู้ไม่เล่นตัว ย่อมทําความเชยชิดเสียแต่เริ่มแรก ยศย่อมเสื่อมเสียไป คือ ความเป็นใหญ่ที่จะพึงได้ย่อมเสื่อมไป. นางม้านั้นบอกสภาพของสตรีทั้งหลายแก่ลูก ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง แล้วตรัสคาถาที่๓ ว่า :-

สตรีใด ไม่ปรารถนาบุรุษผู้เกิดในตระกูลมียศศักดิ์ ที่มีคนชักพามา สตรีนั้นจะต้องเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนาน เหมือนนางม้าเศร้าโศกถึงพระยาม้าวาตัคคะ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสสฺสินํ แปลว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยยศ. บทว่า ยา น อิจฺฉติ ความว่า สตรีใดไม่ปรารถนาบุรุษเห็นปานนั้น. บทว่า จิรรตฺตาย แปลว่า ตลอดกาลนาน อธิบายว่า ตลอดกาลยาวนาน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 134

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ กฎมพีดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล. นางม้าในกาลนั้น ได้เป็นหญิงคนนั้น ในบัดนี้. ส่วนวาตัคคสินธพได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวาตัคคสินธพชาดกที่ ๖