๗. สุวรรณกักกฏกชาดก ว่าด้วยปูทอง
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 135
๗. สุวรรณกักกฏกชาดก
ว่าด้วยปูทอง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 135
๗. สุวรรณกักกฏกชาดก
ว่าด้วยปูทอง
[๔๐๐] ปูทองมีนัยตาอันยาว มีหนังเป็นกระดูก เป็นสัตว์อยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้นหนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้าอย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.
[๔๐๑] ข้าแต่ท่านผู้เป็นลูกเจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้เป็นช้างทรงกําลังถึง ๖๐ ปีเลย ท่านย่อมเป็นที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉันยิ่งกว่าแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต.
[๔๐๒] ปูเหล่าใดอยู่ในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเกิดอยู่ในน้ำ ย่อมประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจงปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.
จบ สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗
อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภหญิงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า สิงฺคี มิโค ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 136
ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีกฎมพีคนหนึ่งพาภรรยาของตนไปยังชนบท เพื่อต้องการชําระหนี้สินให้หมดไป ครั้นชําระหนี้สินหมดแล้วก็เดินทางมา ถูกพวกโจรจับในระหว่างทาง. ก็ภรรยาของกฎมพีนั้นเป็นคนมีรูปสวยงามน่าเลื่อมใสยินดี. หัวหน้าโจรปรารภจะฆ่ากฎมพีเสีย เพราะความเสน่หาในนาง แต่นางเป็นสตรีมีศีล สมบูรณ์ด้วยอาจารมารยาท เคารพสามีดุจเทวดา. นางจึงหมอบลงแทบเท้าของหัวหน้าโจรอ้อนวอนว่า ข้าแต่นายโจรผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านมีความเสน่หาดิฉัน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันเลย ถ้าท่านจักฆ่า ดิฉันจักกินยาพิษหรือกลั้นลมหายใจตาย ก็ดิฉันจักไม่ไปกับท่าน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันโดยใช่เหตุเลย แล้วขอให้ปล่อยสามีนั้นไป. ฝ่ายสามีภรรยาทั้งสองนั้นถึงเมืองสาวัตถีโดยปลอดภัย เดินทางมาทางด้านหลังวิหารพระเชตวัน เข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำแล้วหารือกันว่าจักถวายบังคมพระศาสดา จึงเข้าไปยังบริเวณพระคันธกุฎี ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามสามีภรรยาทั้งสองนั้นว่าไปไหนมา เขาทั้งสองจึงกราบทูลว่า ไปชําระหนี้สินมา พระเจ้าข้า. เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ก็ในระหว่างทาง พวกท่านมากันโดยไม่มีความป่วยไข้หรือ? กฎมพีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในระหว่างทาง พวกโจรจับข้าพระองค์ทั้งสอง ในตอนนั้น ภรรยาของข้าพระองค์คนนี้ได้อ้อนวอนนายโจรผู้จะฆ่าข้าพระองค์ ให้ปล่อยตัวมา เพราะอาศัยภรรยาผู้นี้ ข้าพระองค์ได้รอดชีวิตมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 137
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่บัดนี้เท่านั้น ที่สตรีผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่ท่าน ถึงในกาลก่อน ก็ได้ให้แม้แก่บัณฑิตทั้งหลายอันกฎมพีนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ในห้วงน้ำใหญ่นั้นได้มีปูทองตัวใหญ่อาศัยอยู่. ห้วงน้ำใหญ่นั้น ปรากฏชื่อว่า กุฬีรรหทะ แปลว่า หนองปู เพราะเป็นที่อยู่ของปูทองตัวนั้น. ปูทองนั้นใหญ่โตขนาดเท่าลานนวดข้าว จับช้างกิน เพราะกลัวปูทองนั้น ช้างทั้งหลายไม่อาจลงห้วงน้ำนั้นหาอาหารกิน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์นางช้างพัง เพราะอาศัยช้างจ่าฝูงในฝูงช้างที่อาศัยกุฬีรรหทะสระอยู่. ลําดับนั้น มารดาของพระโพธิสัตว์นั้นคิดว่าจักรักษาครรภ์จึงไปยังถิ่นภูเขาอื่นรักษาครรภ์อยู่จนคลอดบุตร. พระโพธิสัตว์นั้นรู้เดียงสาขึ้นโดยลําดับ มีบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม เป็นคล้ายกับภูเขาอันชัน. พระโพธิสัตว์นั้นอยู่ร่วมกับนางช้างพังเชือกหนึ่ง คิดว่าจักจับปู จึงพาภรรยาและมารดาของตนเข้าฝูงช้างนั้นพบกับบิดาจึงกล่าวว่า พ่อฉันจักจับปู. ลําดับนั้นบิดาได้ห้ามเขาว่า เจ้าจักไม่สามารถนะลูก. พระโพธิสัตว์พูดกะบิดาผู้กล่าวอยู่บ่อยๆ ว่า ท่านจักรู้กําลังของข้าพเจ้า. พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ประชุมช้างทั้งหมดที่เข้าไปอาศัยห้วงน้ำกุฬีระอยู่เดินไปใกล้ห้วงน้ำพร้อมกับช้างทั้งปวงแล้วถามว่า ปูนั้นจับช้างใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 138
เวลาลง ในเวลาหาอาหาร หรือในเวลาขึ้น ได้ฟังว่า ในเวลาขึ้น จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น แม้พวกท่านจงลงห้วงน้ำกุฬีระ หาอาหารกินจนเพียงพอแล้วขึ้นมาก่อน เราจักอยู่ข้างหลัง. ช้างทั้งหลายได้กระทําอย่างนั้น. ปูจึงเอาก้ามทั้งคู่หนีบสองเท้าพระโพธิสัตว์ซึ่งขึ้นภายหลังไว้แน่น เหมือนช่างทองเอาคีมใหญ่หนีบซี่เหล็กฉะนั้น. นางช้างไม่ละทิ้งพระโพธิสัตว์ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้ๆ นั่นแหละ. พระโพธิสัตว์ดึงก็ไม่สามารถทําให้ปูเขยื้อน. ส่วนปูลากพระโพธิสัตว์มาให้ตรงปากตน. พระโพธิสัตว์ถูกมรณภัยคุกคาม จึงร้องว่าติดก้ามปู. ช้างทั้งปวงกลัวมรณภัย ส่งเสียงร้องก้องโกญจนาทขี้เยี่ยวราดหนีไป. ฝ่ายนางช้างก็ไม่อาจดํารงตนอยู่ได้เริ่มจะหนีไป. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทําให้นางเข้าใจว่าตนถูกหนีบไว้ เพื่อจะไม่ให้นางหนีไป จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ปูทองมีนัยน์ตายาว มีหนังเป็นกระดูก อาศัยขอยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้นหนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้าอย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น ทว่า สิงฺคี มิโค ได้แก่ มฤคมีสีเหมือนสีทอง มีเขา อธิบายว่า ชื่อว่ามีเขา เพราะประกอบด้วยก้ามทั้งสองอันยังกิจที่จะพึงทําด้วยเขาให้สําเร็จ. ส่วนกุฬีระคือปู ท่านเรียกว่ามิคะคือมฤคในที่นี้โดยถือเอาอย่างรวบยอด. ในบทว่า อายต-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 139
จกฺขุเนตฺโต นี้ที่ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น, ที่ชื่อว่าเนตร เพราะอรรถว่านําไป, เนตรกล่าวคือจักษุของปูนั้นยาว เพราะเหตุนั้นชื่อว่ามีเนตรคือจักษุยาว อธิบายว่ามีนัยน์ตายาว. ชื่อว่ามีหนังเป็นกระดูก เพราะกระดูกเท่านั้นทํากิจคือหน้าที่ของหนังให้สําเร็จแก่ปูนั้น. บทว่า เตนาภิภูโต ความว่า ถูกมฤคนั้นนั่นแหละครอบงําคือท่วมทับ ได้แก่จับไว้เคลื่อนไหวไม่ได้. บทว่า กปณํ รุทามิ ความว่า เราเป็นผู้ถึงความเป็นผู้น่ากรุณาร้องคร่ําครวญอยู่. บทว่า มา เหว มํ ความว่า ท่านอย่าได้ทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้เป็นสามีที่รักผู้เสมอกับลมปราณของตน ผู้ถึงความพินาศเห็นปานนี้.
ลําดับนั้น ช้างพังนั้นจึงหันกลับ เมื่อจะปลอบโยนพระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่เจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้เป็นช้างทรงกําลังถึง ๖๐ ปี ท่านย่อมเป็นที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉัน ยิ่งกว่าปฐพีอันมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺิหายนํ ความว่า ก็ในเวลามีอายุ ๖๐ ปี โดยกําเนิด ช้างทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยกําลัง ดิฉันนั้นจักไม่ละทิ้งท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกําลังอย่างนี้ ผู้ถึงความพินาศ ท่านอย่ากลัว เพราะว่าท่านเป็นที่รักยิ่งของดิฉัน กว่าปฐพีนี้อันตั้งจรดมหาสมุทรในทิศทั้ง ๔ ชื่อว่ามีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นแดนสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 140
ครั้นนางช้างทําพระโพธิสัตว์นั้นให้เข้มแข็ง แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นเจ้า บัดนี้ ดิฉันเมื่อได้สนทนาปราศรัยกับปูทองสักหน่อย จักให้ปล่อยท่าน เมื่อจะอ้อนวอนปูทองจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ปูเหล่าใด อยู่ในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเป็นสัตว์น้ำผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจงปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.
เนื้อความของคําที่เป็นคาถานั้นว่า ปูเหล่าใดในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำคงคาหรือยมุนาก็ดี ท่านเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้นทั้งหมด โดยความถึงพร้อมด้วยวรรณะและโดยความเป็นใหญ่ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงขออ้อนวอนท่าน ขอท่านโปรดปล่อยสามีของดิฉันผู้กําลังร้องไห้อยู่เถิด.
เมื่อนางช้างนั้นกําลังพูดอยู่ ปูได้ถือนิมิตในเสียงหญิง เป็นผู้มีใจถูกดึงลง จึงอ้าก้ามจากเท้าช้างหาได้รู้อะไรบ้างว่า ช้างนี้เราปล่อยแล้วจักกระทําชื่อสิ่งนี้. ลําดับนั้น ช้างจึงยกเท้าเหยียบหลังนั้นกระดองพังทลายไปในทันทีนั่นเอง ช้างร้องขึ้นด้วยความยินดี. ช้างทั้งปวงจึงประชุมกันนําเอาปูไปวางบนบก กระทืบให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณไป. ก้ามทั้งสองปูนั้นแตกออกจากร่างกระเด็นตกไปยัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 141
ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำคงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคา เมื่อน้ำแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา. ครั้งนั้นก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา. ในก้ามปูสองก้ามนั้น ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำอยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทําตระโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้ามที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทําเป็นกลองชื่ออฬัมพรเภรี. ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นถูกท้าวสักกะให้พ่ายแพ้ในสงคราม จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป. ลําดับนั้น ท้าวสักกะให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์. อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระดังกระหึ่มดุจเมฆคํารามฉะนั้น
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้ทั้งสองก็ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกาผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗