พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. พยัคฆชาดก ว่าด้วยเรื่องของมิตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35722
อ่าน  443

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 167

๒. พยัคฆชาดก

ว่าด้วยเรื่องของมิตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 167

๒. พยัคฆชาดก

ว่าด้วยเรื่องของมิตร

[๔๑๕] ความเกษมจากโยคะ ย่อมเสื่อมไปเพราะการคบหากันมิตรคนใด บัณฑิตพึงรักษาลาภยศและชีวิตของตน ที่มิตรนั้นครอบงําไว้เสียก่อน ดุจบุคคลผู้รักษาตาของตนไว้ ฉะนั้น.

[๔๑๖] ความเกษมจากโยคะ ย่อมเจริญเพราะการคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้ฉลาดในกิจทั้งมวล พึงกระทํากิจทุกอย่างของกัลยาณมิตรให้เหมือนของตน.

[๔๑๗] ดูก่อนราชสีห์และเสือโคร่ง จงมาเถิด ขอเชิญท่านทั้งสองจงกลับเข้าไปยังป่าใหญ่ พวกมนุษย์อย่ามาตัดป่าของเราให้ปราศจากราชสีห์และเสือโคร่งเสียเลย ราชสีห์และเสือโคร่งอย่าได้เป็นผู้ไร้ป่า.

จบ พยัคฆชาดกที่ ๒

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 168

อรรถกถาพยัคฆชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภโกกาลิกภิกษุ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า เยน มิตฺเตน สํสคฺคา ดังนี้. เรื่องพระโกกาลิกะจักมีแจ้งในตักการิยชาดก เตรสนิบาต.

ก็พระโกกาลิกะคิดว่า จักไปพาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมา จึงออกจากกาสิกรัฐไปยังพระวิหารเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดา แล้วเข้าไปหาพระเถระทั้งสอง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้อาวุโส มนุษย์ชาวแว่นแคว้นเรียกหาท่านทั้งหลาย มาเถิดท่านเราทั้งหลายจะได้ไปด้วยกัน. พระเถระทั้งสองกล่าวว่า ไปเถอะคุณพวกเรายังจะไม่ไป. พระโกกาลิกะนั้นอันพระเถระทั้งสองปฏิเสธแล้วจึงได้ไปโดยลําพังตนเอง. ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระโกกาลิกะไม่อาจเป็นไปร่วมหรือเว้นจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลานะ แม้ร่วมก็อดกลั้นไม่ได้ แม้พลัดพรากก็อดกลั้นไม่ได้. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่าภิกษุทั้งหลาย. บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นดอกนะภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระโกกาลิกะนี้ไม่อาจอยู่ร่วมหรือเว้นจากพระสารีบุตระเละพระโมคคัลลานะได้แล้ว ทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 169

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในที่ไม่ไกลวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น มีรุกขเทวดาตนหนึ่งอยู่ในต้นไม้เจ้าป่าต้นหนึ่ง. สีหะและพยัคฆ์ก็อยู่ในไพรสณฑ์นั้น. เพราะกลัวสีหะพยัคฆ์ใครๆ จึงไม่ไถนา ไม่ตัดไม้ในไพรสณฑ์นั้น. ชื่อว่าบุคคลผู้สามารถที่เหลียวกลับมาดู ย่อมไม่มี. ก็สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นฆ่าเนื้อทั้งหลาย แม้มีประการต่างๆ เคี้ยวกิน. ทิ้งสิ่งที่เหลือจากการเคี้ยวกินไว้ในที่นั้นนั่นเองแล้วก็ไปเสีย. ไพรสณฑ์นั้นจึงมีกลิ่นซากสัตว์อันไม่สะอาด เพราะกลิ่นของเนื้อเหล่านั้น. ลําดับนั้นรุกขเทวดา นอกนี้เป็นผู้โง่เขลาไม่รู้จักเหตุและมิใช่เหตุ วันหนึ่งได้กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ไพรสณฑ์เกิดกลิ่นซากสัตว์อันไม่สะอาดแก่พวกเรา เพราะอาศัยสีหะและพยัคฆ์เหล่านี้ เราจะไล่สีหะและพยัคฆ์เหล่านี้ให้หนีไปเสีย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย เพราะอาศัยสีหะและพยัคฆ์ทั้งสองตัวนี้พวกเราจึงรักษาวิมานอยู่ได้ เมื่อสีหะและพยัคฆ์เหล่านี้หนีไปเสีย วิมานของพวกเราก็จักฉิบหาย เพราะพวกมนุษย์เมื่อไม่เห็นรอยเท้าของสีหะและพยัคฆ์ทั้งหลาย ก็จักตัดป่าทั้งหมดกระทําให้เป็นเนินลานเดียวกันแล้วไถนา ท่านอย่าชอบใจอย่างนี้เลย แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-

ความเกษมจากโยคะย่อมเสื่อมไปเพราะการคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้เป็น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 170

บัณฑิตพึงรักษาลาภ ยศ และชีวิตของตนที่มิตรนั้นครอบงําไว้เสียก่อน ดุจบุคคลผู้รักษาดวงตาของตนไว้ฉะนั้น.

ความเกษมจากโยคะย่อมเจริญ เพราะการคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงกระทําความเป็นไปในกิจทั้งปวงของกัลยาณมิตรนั้นให้เสมอเหมือนของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน มิตฺเตน สํสคฺคา ได้แก่เพราะเหตุแห่งการเกี่ยวข้อง คือเพราะการณ์แห่งการเกี่ยวข้องกับปาปมิตรใด อธิบายว่า เพราะกระทําความเกี่ยวข้อง ๕ ประการนี้ คือ ทัสสนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเห็น สวนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการฟัง กายสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยกาย สมุลลาปสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเจรจา และปริโภคสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการบริโภค. บทว่า โยคกฺเขโม ได้แก่ ความสุขทางกายและทางจิต. จริงอยู่ความสุขทางกายและทางจิตนั้น ท่านประสงค์เอาว่า โยคักเขมะความเกษมจากโยคะ ในที่นี้ เพราะเป็นความเกษมจากโยคะ คือทุกข์. บทว่า วิหียติ แปลว่า ย่อมเสื่อม. บทว่า ปุพฺเพวชฺฌาภวนฺตสฺสรกฺเข อกฺขึว ปณฺฑิโต ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงรักษาลาภยศ และชีวิตของตนที่ปาปมิตรนั้นยึดครอง คือที่ปาปมิตรนั้นจะพึงครอบครองไว้เสียก่อน โดยอาการที่ปาปมิตรนั้นครอบครองลาภ ยศ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 171

และชีวิตนั้นไม่ได้ ประดุจรักษานัยน์ตาทั้งสองของตนฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า เยน ได้แก่ เพราะเหตุ คือเพราะการณ์เกี่ยวข้องกับด้วยกัลยาณมิตรใด. บทว่า โยคกฺเขโม ปวฑฺฒติ ความว่า ความสุขทางกายและจิตย่อมเจริญ บทว่า กเรยฺยตฺตสมํ วุตฺตึ ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงกระทํากิจทั้งปวงทั้งพึงกระทําให้ยิ่งในกิจทั้งปวงของกัลยาณมิตรนั้น เหมือนกระทําการเลี้ยงชีวิตและการใช้เครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคของตน ฉะนั้น.

เมื่อพระโพธิสัตว์แม้จะกล่าวเหตุอย่างนี้ เทวดาเขลาตนนั้นไม่พิจารณาใคร่ครวญเลย วันหนึ่ง แสดงรูปอันน่ากลัว ทําให้สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นหนีไป. พวกมนุษย์ไม่เห็นรอยเท้าของสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นรู้ได้ว่า พวกสีหะและพยัคฆ์หนีไปอยู่ชัฏป่าอื่น. จึงถางชัฏป่าได้ด้านหนึ่ง. เทวดาเขลาจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าไม่กระทําตามคําของท่านจึงทําสีหะและพยัคฆ์ทั้งหลายให้หนีไป บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่าสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นหนีไปแล้วจึงพากันตัดชัฏป่า เราจะพึงทําอย่างไรหนอ อันพระโพธิสัตว์กล่าวว่า บัดนี้ สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นอยู่ในชัฏป่าโน้น ท่านจงไปนําเอาสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นมา จึงไปที่ชัฏป่านั้น ยืนประคองอัญชลีข้างหน้าสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้น แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 172

ดูก่อนสีหะและพยัคฆ์ จงมาเถิดขอเชิญท่านทั้งสองจงกลับเข้าไปยังป่าใหญ่ พวกมนุษย์อย่ามาตัดป่าของเราให้ปราศจากสีหะและพยัคฆ์เลย สีหะและพยัคฆ์อย่าได้เป็นผู้ไร้ป่า ดังนี้.

พระโพธิสัตว์เรียกสีหะและพยัคฆ์แม้ทั้งสองนั้น โดยนามว่าพยัคฆ์ จึงกล่าวว่า พฺยคฺฆา ในคาถานั้น. บทว่า นิวตฺตวฺโห แปลว่า ขอจงกลับ. บทว่า ปจฺจุเปถ มหาวนํ ความว่า ท่านทั้งหลายจงเข้าไปยังป่าใหญ่นั้น คือจงกลับเข้าไปอีก. อีกอย่างหนึ่งพระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มา โน วนํ ฉินฺทิ นิพฺยคฺฆํ ความว่า บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายอย่าได้ตัดชัฏป่าอันเป็นที่อยู่ของพวกเรา ชื่อว่าให้ปราศจากสีหะและพยัคฆ์ เพราะไม่มีพวกท่าน. บทว่า พฺยคฺฆา มาเหสุ นิพฺพนา ความว่า พระยาสีหะและพยัคฆ์ทั้งสองเช่นท่าน ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ไร้ป่า คือ อย่าเป็นผู้เว้นจากป่าอันที่อยู่เพราะหนีไปจากสถานที่อยู่ของตน.

สีหะและพยัคฆ์ทั้งสองนั้น แม้ถูกเทวดานั้นอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ก็ยังคงปฏิเสธว่า ท่านไปเถอะ พวกเรายังไม่ไป. เทวดาผู้เดียวเท่านั้นกลับมายังชัฏป่า. ฝ่ายมนุษย์ทั้งหลายก็ตัดป่าทั้งหมด โดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น กระทําให้เป็นเนื้อนาแล้วกระทํากสิกรรม.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 173

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดกว่า เทวดาผู้ไม่ฉลาดในกาลนั้น ได้เป็นพระโกกาลิกะในบัดนี้ ส่วนเทวดาผู้ฉลาดในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาพยัคฆชาดกที่ ๒