พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. กัจฉปชาดก ว่าด้วยลิงสัปดน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35723
อ่าน  436

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 174

๓. กัจฉปชาดก

ว่าด้วยลิงสัปดน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 174

๓. กัจฉปชาดก

ว่าด้วยลิงสัปดน

[๔๑๘] ใครหนอเดินมา เหมือนบุคคลผู้รวยอาหาร เหมือนพราหมณ์ผู้ได้ลาภมาเต็มมือฉะนั้น ท่านไปเที่ยวภิกขาจารที่ไหนหนอ ท่านเข้าไปหาผู้มีศรัทธาคนไรมา.

[๔๑๙] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นลิงทรามปัญญา จับต้องสิ่งที่บุคคลไม่ควรจับต้อง ขอพระคุณเจ้าโปรดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้นทุกข์ด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าพ้นจากความฉิบหายนี้แล้วจะไปอยู่ที่ภูเขา.

[๔๒๐] เต่าทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจากกัสสปโคตร ลิงทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจากโกณฑัญญโคตร ดูก่อนเต่าผู้เทือกแถวกัสสปโคตร ท่านจงปล่อยลิงผู้เทือกแถวโกณฑัญญโคตรเสียเถิด ท่านคงเคยทําเมถุนธรรมกันแล้ว.

จบ กัจฉปชาดกที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 175

อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการสงบระงับความทะเลาะแห่งอํามาตย์ทั้งสองของพระเจ้าโกศล จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ดังนี้. ก็เรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้กล่าวไว้แล้วในทุกนิบาตนั่นแล.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นกาสิกรัฐ พอเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมืองตักกศิลา แล้วละกามทั้งหลายออกบวชเป็นฤาษี สร้างอาศรมบทอยู่ที่ฝังแม่น้ำคงคาใกล้หิมวันตประเทศ ทําอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดในที่นั้นแล้วเล่นฌานสําเร็จการอยู่ในที่นั้น. ได้ยินว่า ในชาดกนี้พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีตนเป็นกลางอย่างยิ่ง ทรงบําเพ็ญอุเบกขาบารมี. เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ลิงทุศีลซุกซนตัวหนึ่งมาถึงก็เอาองคชาตสอดเข้าในช่องหูทั้งสองช้าง ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ไม่ได้ห้ามวางเฉยอยู่นั่นแหละ. อยู่มาวันหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งขึ้นมาจากน้ำนอนผิงแดดอ้าปากอยู่ที่ฝังแม่น้ำคงคา. ลิงโลเลตัวนั้นเห็นดังนั้นจึงได้สอดองคชาตเข้าในปากของเต่านั้น. ลําดับนั้น เต่าตื่นขึ้นจึงงับองคชาตของลิงนั้นไว้ เหมือนกับใส่ไว้ในสมุคฉะนั้น. เวทนามีกําลังเกิดขึ้นแก่ลิงนั้น มันไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาได้จึงคิดว่า ใครหนอ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 176

จักปลดเปลื้องเราจากทุกข์นี้ เราจักไปหาใครดี แล้วมาคิดว่า คนอื่นชื่อว่าผู้สามารถปลดเปลื้องเราจากทุกข์นี้ ยกเว้นพระดาบสเสีย ย่อมไม่มี เราควรจะไปหาพระดาบสเท่านั้น คิดแล้วจึงเอามือทั้งสองอุ้มเต่าไปหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เมื่อจะทําการเยาะเย้ยลิงทุศีลตัวนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ใครหนอเดินมา เหมือนบุคคลผู้รวยอาหาร เหมือนพราหมณ์ผู้ได้ลาภมาเต็มมือ ท่านไปเที่ยวภิกขาจารที่ไหนหนอ หรือท่านเข้าไปหาผู้มีศรัทธาคนไรมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ความว่า นั่นใคร เหมือนคนร่ํารวยภัต คือ นั่นใครหนอเหมือนเอามือทั้งสองประคองถาดเต็มด้วยภัตที่เขาคดไว้พูนถาดหนึ่งเดินมา. บทว่า ปูรหตฺโถว พฺราหฺมโณ ความว่า นั่นใครหนอ เหมือนพราหมณ์มีลาภเต็มมือ เพราะได้ร่ายเวทในเดือน ๑๒. พระโพธิสัตว์หมายเอาวานรจึงกล่าวดังนี้. บทว่า กหนฺนุ ภิกฺขํ อจริ ความว่า วานรผู้เจริญ วันนี้ท่านไปเที่ยวภิกขาจารในถิ่นไหน. ด้วยบทว่า กํ สทฺธํ อุปสงฺกมิ นี้พระโพธิสัตว์แสดงว่า ภัตของผู้มีศรัทธาที่เขาทําอุทิศบุรพเปตชนชื่อไร หรือบุคคลผู้มีศรัทธาคนไหนที่ท่านเข้าไปหา คิดว่าไทยธรรมนี้ท่านได้มาแต่ไหน.

วานรทุศีลได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 177

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นลิงทรามปัญญาจับต้องสิ่งที่ไม่ควรจับต้อง ขอพระคุณเจ้าโปรดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้นทุกข์ด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าพ้นจากความฉิบหายนี้แล้วจะไปอยู่ภูเขา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหํ กปิสฺมิ ทุมฺเมโธ ความว่าขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเป็นลิงทรามปัญญามีใจรวนเร. บทว่า อนามาสานิ อามสึ ได้แก่ จับต้องฐานะที่ไม่ควรจับต้อง. บทว่า ตฺวํ มํ โมเจยฺย ภทฺทนฺเต ความว่า ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้าผู้มีความเอ็นดูกรุณาปลดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้นจากทุกข์นี้. บทว่า มุตฺโต คจฺเฉยฺย ปพฺพตํ ความว่า ข้าพเจ้านั้นพ้นจากความฉิบหายนี้ด้วยอานุภาพของท่านจะไปอยู่ยังภูเขา จะไม่แสดงตนในคลองจักษุของท่านอีก.

พระโพธิสัตว์ เพราะความกรุณาในลิง เมื่อจะเจรจากับเต่าจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-

เต่าทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจากกัสสปโคตร ลิงทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจากโกณฑัญญโคตร ดูก่อนเต่าผู้เทือก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 178

แถวกัสสปโคตร ท่านจงปล่อยลิงผู้เทือกแถวโกณฑัญญโคตรเสียเถิด ท่านคงเคยทําเมถุนธรรมกันแล้ว.

คาถานั้นมีใจความว่า ธรรมดาเต่าทั้งหลายเป็นกัสสปโคตร ส่วนลิงทั้งหลายเป็นโกณฑัญญโคตร ก็กัสสปโคตรกับโกณฑัญญโคตรต่างมีความสัมพันธ์กันและกันโดยอาวาหะและวิวาหะ คือนําเจ้าสาวมาบ้านเจ้าบ่าว และนําเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว ลิงโลเลกับท่าน หรือท่านกับลิงทุศีลตัวนี้ คงจะได้กระทําเมถุนธรรม กล่าวคือกรรมของผู้ทุศีล อันสมควรแก่เมถุนธรรม คือที่เหมือนกับโคตรทํามาแล้วเป็นแน่ เพราะฉะนั้น ดูก่อนเต่าผู้เป็นกัสสปโคตรท่านจงปล่อยลิงผู้เป็นโกณฑัญญโคตรเสียเถิด.

เต่าได้ฟังคําของพระโพธิสัตว์มีความเลื่อมใสในเหตุผล จึงปล่อยองคชาตของลิง. ฝ่ายลิงพอหลุดพ้นเท่านั้น ได้ไหว้พระโพธิสัตว์แล้วหนีไป ทั้งไม่กลับมามองดูสถานที่นั้นอีก. ฝ่ายเต่า ไหว้พระโพธิสัตว์แล้วได้ไปยังที่อยู่ของตนทันที. แม้พระโพธิสัตว์ก็มิได้เสื่อมจากฌาน ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศอริยสัจ ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า เต่าและลิงในครั้งนั้นได้เป็นอํามาตย์ ๒ คน ในบัดนี้ ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตฉะนี้แล

จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓