พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. โลลชาดก โทษของความโลเล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ส.ค. 2564
หมายเลข  35724
อ่าน  420

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 179

๔. โลลชาดก

โทษของความโลเล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 179

๔. โลลชาดก

โทษของความโลเล

[๔๒๑] นกยางตัวนี้อย่างไรจึงมีหงอน เป็นโจรเข้ามาอยู่ที่รังกา ผู้มีเมฆเป็นบิดา ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาเสียข้างนี้เถิด กาผู้เป็นสหายของเราเป็นผู้ดุร้าย.

[๔๒๒] เราไม่ใช่นกยางมีหงอน เราเป็นกาโลเล ไม่ได้ทําตามคําของท่าน ท่านกลับมาแล้ว จงมองเราผู้ลุ่นนี้เถิด.

[๔๒๓] ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีกเพราะว่าปกติของท่านเป็นเช่นนั้น เครื่องบริโภคของมนุษย์ไม่ควรที่นกจะพึงบริโภค.

จบ โลลชาดกที่ ๔

อรรถกถาโลลชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคําเริ่มต้นว่า กายํ พลากา สิขินี ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนํามายังโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้โลเลในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ใน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 180

กาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โลเลมาแล้ว และได้ถึงความสิ้นชีวิตไปเพราะความเป็นผู้โลเล แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็ได้เป็นผู้เสื่อมจากที่สถานที่อยู่ของตน ก็เพราะอาศัยเธอ แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พ่อครัวในโรงครัวของเศรษฐีในพระนครพาราณสี ตั้งกระเช้าสําหรับเป็นรังนกไว้ เพื่อต้องการบุญ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดนกพิราบ สําเร็จการอยู่ในกระเช้าที่เป็นรังนั้น. ลําดับนั้น กาโลเลตัวหนึ่ง บินมาทางชายโรงครัว ได้เห็นปลาและเนื้อชนิดแปลกๆ มีประการต่างๆ ถูกความอยากครอบงํา คิดอยู่ว่าเราอาศัยใครหนอ จึงจะได้โอกาสกินปลาและเนื้อ เมื่อกําลังคิดก็ได้เห็นพระโพธิสัตว์ จึงตกลงใจว่า เราอาศัยนกพิราบผู้นี้ จะอาจได้โอกาส จึงในเวลาพระโพธิสัตว์นั้นไปป่าหากิน ก็ติดตามไปข้างหลังๆ. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะกานั้นว่า ดูก่อนกา เรามีสิ่งอื่นเป็นเหยื่อ ท่านก็มีอีกสิ่งหนึ่งเป็นเหยื่อ เพราะเหตุไร? ท่านจึงเที่ยวติดตามเรา. กากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าชอบใจกิริยาของท่าน แม้ข้าพเจ้าจะเป็นผู้มีเหยื่อไม่เหมือนกับท่าน ก็ปรารถนาจะอุปัฏฐากท่าน. พระโพธิสัตว์ก็ยอมรับ. กานั้นทําทีเที่ยวหากินเหยื่ออย่างเดียวกันในที่เที่ยวหากินร่วมกับพระโพธิสัตว์ ทําล้าหลังแล้วเจาะกองโคมัยแล้วเคี้ยวกินสัตว์ตัวเล็กๆ จนเต็มท้องแล้วเข้าไปหาพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 181

โพธิสัตว์แล้วพูดว่า ท่านเที่ยวหากินตลอดกาลประมาณเท่านี้ การรู้ประมาณในโภชนะ ย่อมสมควรมิใช่หรือ มาเถอะท่าน เราจะได้ไปในเวลายังไม่เย็นเกินไป. พระโพธิสัตว์ได้พากานั้นไปยังสถานที่อยู่. พ่อครัวคิดว่านกพิราบของเราพาสหายมา จึงตั้งกระเช้าแกลบไว้ในที่แห่งหนึ่งสําหรับกา. ฝ่ายกาอยู่โดยทํานองนั้นนั่นแล ๔ - ๕ วัน ครั้นวันหนึ่ง คนทั้งหลายนําปลาและเนื้อเป็นอันมากมาให้ท่านเศรษฐี. กาเห็นดังนั้น ถูกความโลภครอบงํา นอนทอดถอนใจตั้งแต่เวลาใกล้รุ่ง. ครั้นในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะกาว่า มาเถอะสหาย เราพากันหลีกไปหากินเถิด. กากล่าวว่า ท่านไปเถอะ ข้าพเจ้ามีโรคอาหารไม่ย่อย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ธรรมดาโรคอาหารไม่ย่อย ย่อมไม่มีแก่พวกกาเลย เพราะมาตรว่าไส้ประทีปที่กินเข้าไปจะอยู่ในท้องของพวกท่านเพียงครู่เดียวทุกๆ อย่าง พอสักว่ากลืนกินไปเท่านั้น ย่อมย่อยไปหมด ท่านจงกระทําตามคําของเรา ท่านอย่าได้ทําอย่างนี้ เพราะได้เห็นปลาและเนื้อ. กากล่าวว่า ข้าแต่นายท่านพูดอะไรอย่างนั้น สําหรับข้าพเจ้ามีความสงสัยว่าอาหารไม่ย่อยจริงๆ พระโพธิสัตว์ให้โอวาทกานั้นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงอย่าเป็นผู้ประมาท แล้วหลีกไป. ฝ่ายพ่อครัวจัดแจงปลาและเนื้อชนิดต่างๆ เสร็จแล้ว เมื่อจะชําระล้างเหงื่อออกจากร่างกาย จึงได้ไปยืนอยู่ที่ประตูครัว. กาคิดว่าเวลานี้เป็นเวลาควรจะเคี้ยวกินเนื้อ จึงบินไปจับอยู่เหนือจานสําหรับปรุงรส. พ่อครัวได้ยินเสียงกริ๊ก จึงเหลียวมาดู แลเห็นกา จึงเข้าไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 182

จับมันมาถอนขนหมดทั้งตัว เหลือเป็นหงอนไว้บนหัว แล้วบดขิงกับพริกเป็นต้นเคล้ากับเปรียง ทาทั่วตัวกานั้น พลางกล่าวว่า เจ้าจะทําปลาและเนื้อของท่านเศรษฐีของพวกเราให้เป็นเดน แล้วโยนทิ้งลงในกระเช้าที่ทําเป็นรัง. เวทนาแสนสาหัสเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์กลับมาจากที่หากิน เห็นกานั้นทอดถอนใจอยู่ เมื่อจะทําการล้อเล่นจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

นกยางตัวนี้ ไฉนจึงมีหงอน เป็นโจรลอบเข้ามาอยู่ในรังกา ผู้มีเมฆเป็นบิดา. ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาเสียข้างนี้เถิด กาผู้สหายของเราเป็นผู้ดุร้าย.

ด้วยบทว่า กายํ พลากา สิขินี ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะถามกานั้น จึงร้องเรียกว่า นกยางนี้ อย่างไรจึงชื่อว่ามีหงอน เพราะกานั้นมีสีร่างกายขาวอันทาด้วยเปรียงหนาๆ และเพราะหงอนตั้งอยู่บนหัวของกานั้น. ด้วยบทว่า โจรี นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ชื่อว่าเป็นโจร เพราะเข้าไปยังเรือนของตระกูลโดยที่ตระกูลยังไม่อนุญาตหรือเพราะเข้าไปยังรังกาโดยความไม่พอใจของกา. บทว่า ลงฺฆีปิตามหา ความว่า เมฆชื่อว่าลังฆี เพราะโลดแล่นไปในอากาศ ก็ธรรมดานกยางทั้งหลาย ย่อมตั้งครรภ์เพราะเสียงเมฆ เพราะเหตุนั้น เสียงเมฆจึงเป็นบิดาของพวกนกยาง. คือเมฆเป็นบิดาของพวกนกยาง. ด้วย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 183

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลงฺฆีปิตามหา มีเมฆเป็นบิดา. บทว่า โอรํ พลาเก อาคจฺฉ ความว่า ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาข้างนี้เถิด. ด้วยบทว่า จณฺโฑ เม วายโส สขา นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่ากาผู้สหายของเรา เป็นเจ้าของกระเช้า ดุร้าย หยาบช้า กานั้นมาเห็นท่านเข้า จะเอาจงอยปากประหนึ่งปลายหอก จิกทําให้ถึงแก่ความตาย เพราะฉะนั้น ท่านจงลงจากกระเช้ามาทางนี้ คือรีบหนีไปข้างนี้ ตราบเท่าที่กานั้นยังไม่มา.

กาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าพเจ้าไม่ใช่นกยางที่มีหงอน ข้าพเจ้าเป็นกาเหลาะแหละ ไม่เชื่อฟังคําของท่าน ท่านกลับมาแล้วจงดูเราเป็นผู้มีขนลุ่นนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาคโต ความว่า บัดนี้ท่านมาจากที่หากินแล้ว จงมองดูเราผู้มีขนลุ่นนี้เถิด. พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีกเพราะว่าปกติของท่านเป็นเช่นนั้น แท้จริงเครื่องบริโภคของมนุษย์ ไม่ควรที่นกจะบริโภค.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนปาปชฺชสี สมฺม ความว่าดูก่อนกาผู้สหาย ท่านจะได้รับทุกข์เห็นปานนี้อีก ความที่จะพ้นจาก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 184

ทุกข์เช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะเหตุไร? เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนั้น คือ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าลามก คือ เพราะปกติคือความประพฤติของท่านเป็นเช่นนั้น จึงสมควรแก่การได้รับแต่ความทุกข์เท่านั้น. บทว่า น หิ มานุสิกา ความว่า ธรรมดามนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้มีบุญมาก สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายไม่มีบุญเห็นปานนั้น เพราะฉะนั้น เครื่องบริโภคของมนุษย์ อันนกผู้เป็นสัตว์ดิรัจฉานจึงไม่ควรบริโภค.

ก็แหละพระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ตั้งแต่นี้ไป เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ ครั้นกล่าวแล้วก็ได้บินไปในที่อื่น. ส่วนกานอนถอนใจตายอยู่ในที่นั้นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุนั้นดํารงอยู่ในอนาคามิผล. กาโลเลในคราวนั้น ได้เป็นภิกษุโลเลในบัดนี้ ส่วนนกพิราบ คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาโลลชาดกที่ ๔