๑๐. วิสัยหชาดก ความอยากจนไม่เป็นเหตุให้ทําชั่ว
[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 647
๑๐. วิสัยหชาดก
ความอยากจนไม่เป็นเหตุให้ทําชั่ว
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 647
๑๐. วิสัยหชาดก
ความอยากจนไม่เป็นเหตุให้ทําชั่ว
[๖๕๘] ดูก่อนพ่อวิสัยหะ แต่ก่อนท่านได้ให้ทาน ก็เมื่อท่านให้อยู่อย่างนั้น ความเสื่อมได้มีแก่ท่านแล้ว ต่อแต่นี้ไป ถ้าท่านจักไม่ให้ทาน เมื่อท่านประหยัดไว้ โภคะทั้งหลายก็คงดํารงอยู่ตามเดิม.
[๖๕๙] ข้าแต่ท้าวสหัสสเนตร พระอริยะทั้งหลายท่านกล่าวถึงบาปกรรมว่า อันอารยชนถึงจะเป็นคนยากจนเข็ญใจก็ไม่ควรทําข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทวยเทพ ข้าพระ-บาทจะพึงเลิกศรัทธา เพราะการบริโภคทรัพย์อันใดเป็นเหตุ ทรัพย์อันนั้นอย่าได้มีเลย.
[๖๖๐] รถคันหนึ่งแล่นไปทางใด รถคันอื่นแล่นไปทางนั้น ข้าแต่ท้าววาสวะ วัตรที่ข้าพระบาทบําเพ็ญมาแล้วแต่ครั้งก่อน ขอจงเป็นไปเหมือนอย่างนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 648
[๖๖๑] ถ้ายังมียังเป็นอยู่ ข้าพระบาทก็จะให้เมื่อไม่มีไม่เป็นจะให้ได้อย่างไร แม้ถึงจะเป็นอย่างนี้แล้วก็ตาม ก็จะต้องให้ เพราะข้าพระบาทจะลืมทานเสียไม่ได้.
จบ วิสัยหชาดกที่ ๑๐
อรรถกถาวิสัยหชาดกที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประดับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่าอทาสิ ทานานิ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในขทิรังคารชาดก ในหนหลังส่วนในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสเรียกท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมาแล้วตรัสว่า คฤหบดี โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ห้ามท้าวสักกเทวราชผู้ประทับยืนในอากาศห้ามอยู่ว่า ท่านอย่าให้ทาน ก็ยังได้ให้ทานอยู่เหมือนเดิม อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ทูลอาราธนาแล้วจึงทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีนามว่า วิสัยหะ มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ได้เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๕ มีอัธยาศัยในทางทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 649
ยินดียิ่งในทาน. พระโพธิสัตว์นั้นให้สร้างโรงทานในที่ ๖ แห่ง คือที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ท่ามกลางพระนครและที่ประตูนิเวศน์ของตน แล้วยังการให้ทานให้เป็นไปอยู่. บริจาคทรัพย์วันละหกแสนทุกวัน. พระโพธิสัตว์และยาจกทั้งหลาย ย่อมมีภัตตาหารเป็นเช่นเดียวกัน. เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นให้ทานกระทําชมพูทวีปทั้งสิ้นให้มีงอนไถอันยกขึ้นแล้วคือไม่ต้องทําไร่ไถนา ภพของท้าวสักกะก็กัมปนาทหวั่นไหวด้วยอานุภาพของการให้ทาน บัณฑุกัมพลศิลาอาศน์ของท้าวเทวราชแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงดําริว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนจากที่ จึงทรงพิจารณาใคร่ครวญอยู่. ทรงเห็นท่านมหาเศรษฐี จึงทรงพระดําริว่า วิสัยหเศรษฐีนี้แผ่ไปกว้างขวางยิ่งนัก ให้ทานกระทําชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ไม่ต้องทําไร่ไถนา ชะรอยจักให้เราเคลื่อนจากที่แล้วเป็นท้าวสุกกะเสียเองด้วยทานแม้นี้ เราจักทําทรัพย์ของเขาให้ฉิบหายเสียกระทําเศรษฐีนั่นให้เป็นคนขัดสนจนให้ทานไม่ได้ จึงบันดาลทรัพย์ทั้งปวง แม้แต่ข้าวเปลือก น้ำมันน้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น จนชั้นที่สุดแม้ทาสและกรรมกรให้อันตรธานหายไป. พวกคนผู้จัดทานมาบอกท่านเศรษฐีว่า ข้าแต่นายโรงทานขาดหายไป พวกข้าพเจ้าไม่เห็นอะไรๆ ในที่ที่เก็บไว้. ท่านเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงนําทรัพย์สําหรับจับจ่ายไปจากที่นี้ อย่าตัดขาดทานเสียเลย แล้วเรียกภรรยามาพูดว่า นางผู้เจริญ เธอจงให้ทานดําเนินไป. ภรรยานั้นค้นหาจนทั่วเรือนไม่พบแม้แต่กึ่งมาสก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 650
จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันไม่เห็นอะไรๆ อื่น ยกเว้นผ้าที่เราทั้งหลายนุ่งห่มอยู่ ว่างเปล่าไปทั่วทั้งเรือน. ท่านเศรษฐีให้เปิดประตูห้องเก็บรัตนะ ๗ ก็ไม่เห็นอะไรๆ แม้ทาสและกรรมกรอื่นๆ ก็ไม่ปรากฏยกเว้นเศรษฐีกับภรรยา. มหาสัตว์เรียกภรรยามาอีกแล้วกล่าวว่านางผู้เจริญ เราไม่อาจตัดขาดการให้ทาน เธอจงค้นหาให้ทั่วนิเวศน์พิจารณาดูของบางอย่าง. ขณะนั้น คนหาบหญ้าคนหนึ่ง ทิ้งเคียวคาน และเชือกมัดหญ้าไว้ระหว่างประตูแล้วหนีไป. ภรรยาของเศรษฐีเห็นดังนั้น จึงได้นํามาให้โดยพูดว่า ข้าแต่นายเว้นสิ่งนี้ ดิฉันไม่เห็นของอย่างอื่น. พระมหาสัตว์กล่าวว่า นางผู้เจริญ ธรรมดาหญ้าเราไม่เคยเกี่ยวตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แต่วันนี้ เราจักเกี่ยวหญ้านํามาขายแล้วให้ทานตามสมควร เพราะกลัวการให้ทานจะขาด จึงถือเอาเคียว คาน และเชือกออกจากพระนครไปยังที่มีหญ้าแล้วเกี่ยวหญ้าคิดว่า หญ้าฟ่อนหนึ่งจักเป็นของพวกเรา และจักให้ทานด้วยหญ้าฟ่อนหนึ่ง จึงมัดหญ้าเป็น ๒ ฟ่อน คล้องที่คานถือเอาไปขายที่ประตูเมือง ได้มาสกมาแล้วได้ให้ส่วนหนึ่งแก่พวกยาจก แต่พวกยาจกมีมากด้วยกัน เมื่อพวกเขาร้องขอว่า ให้ข้าพเจ้าบ้าง จึงได้ให้ส่วนแม้นอกนี้ไปอีก วันนั้น จึงไม่มีอาหารพร้อมทั้งภรรยา ให้เวลาล่วงผ่านไป. โดยทํานองนี้ ล่วงไป ๖ วัน. ครั้นวันที่ ๗ เมื่อเศรษฐีนั้นกําลังนําหญ้ามา เป็นผู้อดอาหารมา ๗ วัน ทั้งเป็นสุขุมาลชาติ พอเมื่อแสดงอาทิตย์กระทบหน้าผาก นัยน์ตาทั้งสองข้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 651
ก็พร่าพราย. เศรษฐีนั้นไม่อาจดํารงสติไว้ได้ จึงล้มทับหญ้าลงไป.ท้าวสักกะเสด็จเที่ยวตรวจดูกิริยาอาการของเศรษฐีนั้นอยู่. ทันใดนั้นท้าวเธอเสด็จมาประทับยืนในอากาศ ตรัสกล่าว่าคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนวิสัยหะ แต่ก่อนท่านได้ให้ท่านเมื่อท่านให้อยู่อย่างนั้น ความเสื่อมได้มีแต่ท่านแล้ว ต่อแต่นั้นไป ถ้าท่านจักไม่ให้ท่านไซร้ เมื่อท่านประหยัดไว้ โภคะทั้งหลายก็คงดํารงอยู่ตามเดิม.
อธิบายคําที่เป็นคาถานั้นว่า ท่านวิสัยหะผู้เจริญ เมื่อก่อนแต่กาลนี้ เมื่อทรัพย์ในเรือนของท่านยังมีอยู่ ท่านได้ให้ทานทําสกลชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ยกงอนไถขึ้นแล้ว และเมื่อท่านนั้นให้ทานอยู่อย่างนี้ ธรรมคือความเสื่อมได้แก่สภาวะคือความเสื่อมโภคะจึงได้มีขึ้น คือทรัพย์ทั้งมวลหมดสิ้นไป แม้ถ้าเบื้องหน้าแต่นี้ ท่านจะไม่ให้ทานไซร้ คือจะไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ เมื่อท่านประหยัดไว้ คือไม่ให้อยู่ โภคทั้งหลายจะพึงดํารงอยู่เหมือนอย่างเดิม ท่านจงปฏิญญาว่า ตั้งแต่นี้ไปจักไม่ให้ทาน เราจักให้โภคะทั้งหลายแก่ท่าน.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดํารัสของท้าวสักกะนั้นแล้วจึงถามว่า ท่านเป็นใคร. ท้าวสักกะตรัสว่าเราเป็นท้าวสักกะ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่าธรรมดาท้าวสักกะ พระองค์เองให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 652
บําเพ็ญวัตรบท ๗ ประการ จึงถึงความเป็นท้าวสักกะ แต่พระองค์ทรงห้ามการให้ทานอันเป็นเหตุแห่งความเป็นใหญ่ของพระองค์ ทรงทําวัตรจรรยาอันมิใช่ของอารยชน แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-
ข้าแต่ท้าวสหัสสเนตร พระอริยะทั้งหลายกล่าวถึงบาปกรรมว่า อันอารยชนถึงจะเป็นคนอยากจนเข็ญใจก็ไม่ควรทํา ข้า-แต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ข้าพระบาทจะพึงเลิกละศรัทธา เพราะการบริโภคทรัพย์อันใดเป็นเหตุ ทรัพย์อันนั้นอย่าได้มีเลย.
รถคันหนึ่งแล่นไปทางใด รถคันอื่นก็แล่นไปทั้งนั้น ข้าแต่ท้าววาสวะ วัตรที่ข้าพระบาทบําเพ็ญมาแล้วแต่ครั้งก่อน ขอจงเป็นไปเหมือนอย่างนั้นเถิด.
ถ้ายังมียังเป็นอยู่ ข้าพระบาทก็จะให้เมื่อไม่มีไม่เป็น จะให้ได้อย่างไร แม้ถึงจะมีสภาพเป็นอย่างนี้แล้วก็ตาม ก็จะต้องให้ เพราะข้าพระบาทจะลืมการให้ทานเสียมิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนริยํ ได้แก่ บาปกรรมอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 653
ลามก. บทว่า อริเยน ได้แก่ อริยชนผู้มีอาจาระอันบริสุทธิ์. บทว่าสุทุคฺคเตนาปิ ได้แก่ ถึงจะขัดสนแร้นแค้น. บทว่า อกิจจมาหุความว่า พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าวไว้. อธิบายว่าก็พระองค์ตรัสบอกทางอันไม่ประเสริฐกะข้าพระบาท. ศัพท์ว่า โวเป็นเพียงนิบาต. ด้วยบทว่า ยํ โภคเหตุํ นี้ ท่านแสดงความว่าเราละคิดละทิ้งศรัทธาในการให้ทาน เพราะการบริโภคทรัพย์ใดเป็นเหตุ ทรัพย์นั้นนั่นแหละอย่าได้มี คือ เราไม่ต้องการทรัพย์นั้น.บทว่า รโถ ได้แก่ รถอย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านอธิบายว่า รถคันหนึ่งแล่นไปโดยทางใด แม้รถคันอื่นก็แล่นไปโดยทางนั้น ด้วยเข้าใจว่านี้เป็นทางเดินของรถ. บทว่า โปราณํ นิหตํ วตฺตํ ความว่าวัตรที่เราเคยบําเพ็ญมาในครั้งก่อนนั่นแหละ เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่จงดําเนินไปเถิด คืออย่าหยุดอยู่เลย. บทว่า เอวํ ภูตาปี ความว่าเราแม้จะเป็นคนหาบหญ้าอย่างนี้ ก็จักให้ทานตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่.เพราะเหตุไร? เพราะเราจะไม่ละลืมการให้ทาน. ท่านแสดงความว่าเพราะผู้ไม่ให้ ย่อมชื่อว่าละลืม คือไม่ระลึกถึง ไม่กําหนดถึงการให้ทาน ส่วนเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ปรารถนาจะลืมการให้ทานเพราะฉะนั้น เราจักให้ทานเหมือนอย่างเดิม.
ท้าวสักกะเมื่อไม่อาจทรงห้ามวิสัยหะเศรษฐีนั้น จึงตรัสถามว่าท่านให้ทานเพื่อประโยชน์อะไร? วิสัยหะเศรษฐีทูลว่า ข้าพระบาทมิได้ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ หรือความเป็นพระพรหม แต่ปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 654
พระสัพพัญุตญาณ จึงให้ทาน. ท้าวสักกะได้ทรงสดับคําของวิสัยหะนั้นแล้วดีพระทัยจึงเอาพระหัตถ์ลูบหลัง. เมื่อพระโพธิสัตว์พอถูกท้าวสักกะทรงลูบหลังในขณะนั้นนั่นเองสรีระทั้งสิ้นก็เต็มบริบูรณ์และด้วยอานุภาพของท้าวสักกะ กําหนดเขตแห่งทรัพย์สมบัติทั้งหมดของพระโพธิสัตว์นั้นก็กลับเป็นไปตามปกติอย่างเดิม. ท้าวสักกะตรัสว่าท่านมหาเศรษฐี จําเดิมแต่นี้ไป ท่านจงสละทรัพย์ ๑๒ แสนให้ทานทุกวันเถิด แล้วประทานทรัพย์หาประมาณมิได้ไว้ในเรือนของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงส่งพระโพธิสัตว์แล้ว เสด็จไปเทวสถานของพระองค์.
พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ภรรยาของเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นมารดาพระราหุล ส่วนวิสัยหเศรษฐี ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวิสัยหชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โกกาลิกชาดก
๒. รถลัฏฐิชาดก
๓. โคธชาดก
๔. ราโชวาทชาดก
๕. ชัมพุกราดก
๖. พรหาฉัตตชาดก
๗. ปีฐชาดก
๘. ถุสชาดก
๙. พเวรุชาดก
๑๐. วิสัยหชาดก
จบ โกกิลวรรคที่ ๔