๑. มูลปริยายสูตร
[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 1
๑. มูลปริยายสูตร
ปุถุชนผู้สําคัญหมายธาตุ ๔ ว่าเป็นของเรา หน้า 2
ปุถุชนผู้สําคัญหมายสัตว์, เทวดา, มารว่าเป็นของเรา หน้า 3
ปุถุชนผู้สําคัญหมายพรหมว่าเป็นของเรา หน้า 3
ปุถุชนผู้สําคัญหมายอายตนะภายนอก ๕ ว่าเป็นของเรา หน้า 6
ปุถุชนผู้สําคัญหมายธรรมารมณ์ว่าเป็นของเรา หน้า 7
ปุถุชนผู้สําคัญหมายสักกายทิฏฐิว่าเป็นของเรา หน้า 7
ปุถุชนผู้สําคัญหมายนิพพานว่าเป็นของเรา หน้า 8
กําหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยอํานาจปุถุชน หน้า 8
กําหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยอํานาจเสขบุคคล หน้า 9
กําหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ หน้า 10
กําหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ หน้า 11
กําหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ หน้า 12
กําหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ หน้า 13
กําหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยอํานาจพระศาสดา หน้า 14
ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา หน้า 34
เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง หน้า หน้า 43
ความหมายของมูลปริยายสูตรและธรรมะ หน้า 46
อยู่กับพระอริยะแต่ไม่รู้จักพระอริยะ หน้า 57
วินัย ๒ อย่าง, สังวร ๕ หน้า 58
ความหมายของภูต ๗ อย่าง หน้า 75
ความสําคัญด้วยอํานาจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ หน้า 76
อธิบายอาภัสสรพรหม และสุภกิณหพรหม หน้า 83
อธิบายเวหัปผลพรหม และอภิภูพรหม หน้า 84
แก้บท ทิฏฺฐํสุตํมุตํวิฺญาตํ หน้า 86
แก้บท นิพฺพานํนิพฺพานโต หน้า 91
อธิบายคําว่า ตถาคต ๘ นัย หน้า 105
ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น หน้า 105
ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น หน้า 107
ตถาคตผู้เสด็จมาสู่สักษณะอันแท้จริง หน้า 111
ตถาคตผู้ตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง หน้า 113
ตถาคตผู้มีปกติเห็นอารมณ์ที่แท้จริง หน้า 115
ตถาคตผู้มีปกติตรัสวาทะที่แท้จริง หน้า 116
ตถาคตผู้มีปกติทําจริง หน้า 117
ตถาคตผู้ถึงด้วยความจริงแท้ หน้า 120
อธิบาย อรหํสมฺมาสมฺพุทฺโธ หน้า 121
แก้บท นนฺทิทุกขสฺส มูลํ หน้า 123
แก้บท ขยาวิราคา ปฏินิสฺสคฺคา หน้า 126
ความหมายของคําว่า "โพธิ" หน้า 127
เหตุผลที่พระไม่ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า หน้า 130
ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้บรรลุอรหัตตผล หน้า 132
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 1
๑. มูลปริยายสูตร
(๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุที่เป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังเหตุนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
(๒) พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งทลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 2
สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของสัตบุรุษ.
ย่อมหมายรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสําคัญหมายธาตุดิน ย่อมสําคัญหมายในธาตุดิน ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.? เราตถาคตกล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ํา โดยความเป็นธาตุน้ํา ครั้นหมายรู้ธาตุน้ําโดยความเป็นธาตุน้ําแล้ว ย่อมสําคัญหมายธาตุน้ํา ย่อมสําคัญหมายในธาตุน้ํา ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นธาตุนั้น ย่อมสําคัญหมายธาตุน้ําว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุน้ํา. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุไฟ โดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นหมายรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟแล้ว ย่อมสําคัญหมายธาตุไฟ ย่อมสําคัญหมายในธาตุไฟ ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมสําคัญหมายธาตุไฟว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุลม โดยความเป็นธาตุลม ครั้นหมายรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว ย่อมสําคัญหมายธาตุลม ย่อมสําคัญหมายในธาตุลม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสําคัญหมายธาตุลมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุลม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 3
ย่อมหมายรู้สัตว์ โดยความเป็นสัตว์ ครั้นหมายรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมสําคัญหมายสัตว์ ย่อมสําคัญหมายในสัตว์ ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นสัตว์ ย่อมสําคัญหมายสัตว์ว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เทวดา โดยความเป็นเทวดา ครั้นหมายรู้เทวดาโดยความเป็นเทวดาแล้ว ย่อมสําคัญหมายเทวดา ย่อมสําคัญหมายในเทวดา ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นเทวดา ย่อมสําคัญหมายเทวดาว่าของเราย่อมยินดียิ่งซึ่งเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ปชาบดีมาร โดยความเป็นปชาบดีมาร ครั้นหมายรู้ปชาบดีมารโดยความเป็นปชาบดีมารแล้ว ย่อมสําคัญหมายปชาบดีมาร ย่อมสําคัญหมายในปชาบดีมาร ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นปชาบดีมาร ย่อมสําคัญปชาบดีมารว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งปชาบดีมาร ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้พรหม โดยความเป็นพรหม ครั้นหมายรู้พรหมโดยความเป็นพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายพรหม ย่อมสําคัญหมายในพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นพรหม ย่อมสําคัญหมายพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อาภัสสรพรหม โดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นหมายรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 4
อาภัสสรพรหม ย่อมสําคัญหมายในอาภัสสรพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นอาภัสสรพรหม ย่อมสําคัญหมายอาภัสสรพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอาภัสสรพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นหมายรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายสุภกิณหพรหม ย่อมสําคัญหมายในสุภกิณหพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นสุภกิณหพรหม ย่อมสําคัญหมายสุภกิณหพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งสุภกิณหพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เวหัปผลพรหม โดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นหมายรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายเวหัปผลพรหม ย่อมสําคัญหมายในเวหัปผลพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นเวหัปผลพรหม ย่อมสําคัญหมายเวหัปผลพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อสัญญีสัตว์ โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นหมายรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์แล้ว ย่อมสําคัญหมายอสัญญีสัตว์ ย่อมสําคัญหมายในอสัญญีสัตว์ ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ย่อมสําคัญหมายอสัญญีสัตว์ว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอสัญญีสัตว์. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 5
จายตนพรหม ครั้นหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายอากาสานัญจายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอากาสานัญจายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ครั้นหมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสําคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งวิญญาณัญจายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ครั้นหมายรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายในอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายอากิญจัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 6
ความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสําคัญหมายเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสําคัญหมายเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้รูปที่ตนเห็น โดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ครั้นหมายรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว ย่อมสําคัญหมายรูปที่ตนเห็น ย่อมสําคัญหมายในรูปที่ตนเห็น ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ย่อมสําคัญหมายรูปที่ตนเห็นว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งรูปที่ตนเห็น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เสียงที่ตนฟัง โดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นหมายรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว ย่อมสําคัญหมายเสียงที่ตนฟัง ย่อมสําคัญหมายในเสียงตนฟัง ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ย่อมสําคัญหมายเสียงที่ตนฟังว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเสียงที่ตนฟัง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นหมายรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสําคัญหมายอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสําคัญหมายในอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสําคัญหมายอารมณ์ที่ตนทราบว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอารมณ์ที่ตนทราบ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 7
ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นหมายรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสําคัญหมายธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสําคัญหมายในธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสําคัญหมายธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็นอันเดียวกัน ครั้นหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว ย่อมสําคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสําคัญหมายในความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสําคัญหมายโดยความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสําคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกันว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน โดยความเป็นของต่างกันครั้นหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อมสําคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสําคัญหมายในความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสําคัญหมายโดยความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสําคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิต่างกันว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 8
ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวง โดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง ครั้นหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวงโดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวงแล้ว ย่อมสําคัญหมายสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสําคัญหมายในสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสําคัญหมายสักกายทิฏฐิทั้งปวงว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งสักกายทิฏฐิทั้งปวง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมสําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมสําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมสําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมสําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กําหนดรู้.
กําหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยอํานาจปุถุชน
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสําคัญหมายธาตุดิน อย่าสําคัญหมายในธาตุดิน อย่าสําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาควรกําหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ํา__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดีมาร__ พรหม__อาภัสสรพรหม __ สุภกิณหพรหม __ เวหัปผลพรหม __
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 9
อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__ เสียงที่ตนฟัง อารมณ์ที่ตนทราบ __ ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน __ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว อย่าสําคัญหมายพระนิพพาน อย่าสําคัญหมายในพระนิพพาน อย่าสําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน อย่าสําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา อย่ายินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาควรกําหนดรู้.
กําหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยอํานาจเสขบุคคล
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอกําหนดรู้แล้ว.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ํา__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 10
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอกําหนดรู้แล้ว.
กําหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ํา__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 11
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเธอปราศจากราคะเหตุราคะสิ้นไป.
กําหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหัตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดีซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเธอปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ํา__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 12
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฎฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเธอปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
กําหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเธอปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ํา__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 13
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง__.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะเธอปราศจากโมหะเหตุโมหะสิ้นไป.
กําหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้น พระตถาคตกําหนดรู้แล้ว.
ย่อมทรงหมายรู้ธาตุน้ํา__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 14
ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง__.
ย่อมทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรงกําหนดรู้แล้ว.
กําหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยอํานาจพระศาสดา
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุในธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สําคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ ความเพลิดเพลินเป็นมูลรากของทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ก็มีชรามรณะ ด้วยประการอย่างนี้ (จึงไม่สําคัญธาตุดิน__). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พระตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สํารอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้โดยประการทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 15
ย่อมทรงหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__ สุภกิณหพรหม__ เวหัปผลพรหม__อสัญญีสัตว์__ อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายะทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายะทิฏฐิต่างกัน__สักกายะทิฏฐิทั้งปวง__.
ทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสําคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สําคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ และว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์เกิดแล้วจึงมีชรามรณะ ด้วยประการอย่างนี้ (จึงไม่สําคัญธาตุดิน__). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พระตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สํารอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
กําหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยอํานาจพระศาสดา
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล
มูลปริยายสูตรที่ ๑ จบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 16
อรรถกถามูลปริยายสูตร
เอวมฺเม สุตํ ฯเปฯ สพฺพธมฺมปริยายํ
บทนมัสการพระรัตนตรัย
ข้าพเจ้าขอวันทาพระสุคตเจ้า ผู้มีความมืด คือ โมหะอันกําจัดแล้วด้วยแสงสว่าง คือปัญญา หลุดพ้นแล้วจากคติ (ทั้งปวง) มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา เป็นครูแห่งสัตว์โลกทั้งมนุษย์และเทวดา.
แม้องค์พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงซึ่งพระธรรมอันปราศจากมลทินใด จึงทรงทําให้เกิดและทําให้แจ้งซึ่งความเป็นพระพุทธ ข้าพเจ้าขอวันทาพระธรรมอันเลิศนั้น.
ข้าพเจ้าขอวันทาพระอริยสงฆ์ คือ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคลทั้ง ๘ ผู้เป็นพระบุตร เกิดแต่พระอุระแห่งพระสุคตเจ้า ผู้ย่ํายีมารและเสนามารเสียได้.
บุญอันสําเร็จด้วยการวันทาพระรัตนตรัยของข้าพเจ้า ผู้มีใจเลื่อมใสดังนี้อันใด ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพาเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดเสียได้ด้วยดีแล้ว อรรถกถาอันใดที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ องค์ สังคายนา (ร้อยกรอง) ไว้แต่เบื้องแรก และที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายสังคายนา (ร้อยกรอง) เพิ่มเติมในภายหลังก็ดี เพื่อประกาศ (อธิบาย) เนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ในคัมภีร์นี้ อันกําหนดหมายด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 17
พระสูตรขนาดกลาง (ไม่ยาวไม่สั้น) ที่พระพุทธองค์และพระสาวกกล่าวสังวรรณนาไว้ ย่ํายีเสียได้ซึ่งลัทธิอื่น ครั้นแล้วพระมหินทมหาเถระผู้เชี่ยวชาญได้นํามาสู่เกาะสีหล ฐาปนา (จารึก) ไว้ในภาษาสีหลเพื่อประโยชน์แก่ชาวเกาะ ข้าพเจ้าจักนําภาษาสีหลออกแล้วยกขึ้นสู่ภาษาอันเป็นที่รื่นรมย์ใจ สมควรที่จะเป็นแบบแผนได้ ปราศจากโทษ (คือภาษามคธ) อีกทอดหนึ่ง ประกาศ (อธิบาย) เนื้อความมิให้ขัดมติของพระเถระคณะมหาวิหารผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ มีการวินิจฉัยละเอียดดี โดยเว้นความที่ซ้ําๆ กันเสียบ้าง เพื่อความพอใจแห่งสาธุชน และเพื่อความตั้งอยู่นานแห่งพระธรรม.
ส่วนข้อธรรม คือ สีลกถา ธุตธรรม (เรื่องธุดงค์) กรรมฐานทุกอย่าง ฌานสมาบัติอย่างพิสดาร พร้อมทั้งจริยาวิธาน (แจงจริตของบุคคล) อภิญญาทั้งปวง การวินิจฉัย ปัญญาทั้งสิ้น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ การแสดง ปัจจยาการ (คือ ปฏิจจสมุปบาท) มีนัยบริสุทธิ์ละเอียดดี พอเป็นแบบที่เชื่อได้ และวิปัสสนาภาวนา ทั้งปวง (นี้) ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคอย่างหมดจดดี เหตุใด เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์ข้อธรรมทั้งปวงนั้นยิ่งขึ้นไปละ.
วิสุทธิมรรคนั้น ข้าพเจ้ารจนาทําด้วยคิดว่า วิสุทธิมรรคจักตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง ๔ แล้วประกาศเนื้อความตามที่ท่านภาษิตไว้ในนิกายทั้ง ๔ นั้นได้ ดังนี้ เหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาแม้วิสุทธิมรรคนั้นพร้อมทั้งอรรถกถานี้ ทราบเนื้อความแห่งมัชฌิมสังคีติ (คือ มัชฌิมนิกายทั้ง ๓ ปัณณาสก์) เถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 18
ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและสมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต ๖ อภิญญาทั้งปวง คําวินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ ปัจจยาการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ในคําว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวมปัณณาสก์ ๓ หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ ๑๕ วรรค เพราะแบ่งแต่ละปัณณาสก์ออกเป็น ๕ ว่าโดยสูตร มี ๑๕๒ สูตร ว่าโดยบทมี ๘๐,๕๒๓ บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่านกล่าวกําหนดบทไว้ ๘๐,๕๒๓ บทอย่างนี้.
แต่ว่าโดยอักษรมี ๗๔๐,๐๕๓ อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี ๘๐ ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี ๒๓ บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี ๓ อนุสนธิคือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดยพิสดารในเรื่องนี้มี ๓,๙๐๐ อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์เหล่านั้นไว้ ๓,๙๐๐ อนุสนธิ.
ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรคทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูลปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.
อธิบายนิทานพจน์
(๑) คํานิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 19
กาลปฐมมหาสังคีติ เป็นเบื้องต้นของมูลปริยายสูตรแม้นั้น. ก็ปฐมมหาสังคีตินี้ ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี. เพราะฉะนั้น ปฐมมหาสังคีตินั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวให้พิสดารแล้วในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.
อธิบาย เอวมฺเม สุตํ
ก็คําว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้นนี้ เป็นคําเริ่มต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.ในคําว่า อุกฺกฏฺายํ วิหรติ นี้ บัณฑิตพึงทราบการแยกบท โดยนัยนี้ก่อนว่า บทว่า วิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. แต่โดยใจความ เอวํ ศัพท์ มีใจความแยกออกได้หลายอย่างเป็นต้นว่าอุปมา อุปเทส สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ นิทัสสนะอวธารณะ.
จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์ นี้ มาในอรรถว่า อุปมา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลเป็นอันมาก อันสัตว์ที่เกิดแล้ว พึงกระทําฉันนั้นดังนี้.
มาในอรรถว่า อุปเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อันท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.
มาในอรรถว่า สัมปหังสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคํานี้ไว้อย่างนี้, พระสุคตเจ้าตรัสคํานี้ไว้อย่างนี้.
มาในอรรถว่า ครหณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คนถ่อยนี้กล่าวสรรเสริญคุณพระสมณะศีรษะโล้นนั้น อย่างนี้ๆ ในทุกๆ ที่ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 20
มาใน วจนสัมปฏิคคหะ ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุเหล่านั้นแลทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้.
มาในอรรถว่า อาการ ในประโยคเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าทราบชัดพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการอย่างนี้.
มาในอรรถว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนมาณพท่านจงมา จงเข้าไปหาท่านอานนท์ ผู้สมณะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วจงถามความไม่เจ็บไข้ ความมีโรคน้อย ความคล่องตัว กําลัง และการอยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้สมณะ ตามคําของเรา และจงกล่าวอย่างนี้ว่า สุภมาณพ โตเทยยบุตร ย่อมถามถึงความไม่เจ็บไข้ ฯลฯ การอยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ดังนี้. นัยว่า เป็นการดีที่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปหาสุภมาณพ โตเทยยบุตรถึงที่อยู่ ดังนี้.
มาในอรรถว่า อวธารณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกาลามะทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล? เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มีโทษหรือไม่มีโทษ? มีโทษ พระเจ้าข้า.บัณฑิตติเตียนหรือสรรเสริญ? ติเตียน พระเจ้าข้า. ธรรมทั้งหลายที่ตนสมาทานให้บริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์และเป็นทุกข์หรือไม่ หรือว่าเป็นอย่างไรในข้อนี้? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายที่ตนสมาทานให้บริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ และเป็นทุกข์ ย่อมมีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในข้อนี้อย่างนี้.
เอวํ ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า (ใช้) ในอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 21
อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ ใน ๓ อย่างนั้น พระอานนท์แสดงความนี้ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถว่า ใครๆ สามารถจะทราบพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัยต่างๆ เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมีปาฏิหาริย์หลากหลาย ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แลโดยปฏิเวธ มาสู่โสตประสาทของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของตนๆ โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกําลังข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วด้วยอาการอย่างหนึ่ง. พระอานนทเถระเมื่อจะออกตัวด้วยอรรถว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ทําให้แจ้ง จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่จะต้องกล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ คือว่า แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงกําลัง คือความทรงจําของตนที่สมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราที่ทรงพหูสูต คืออานนท์ บรรดาอุปัฏฐาก ที่มีคติ มีสติ มีธิติ คืออานนท์ และที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญอย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในภาษาและในอักษร เบื้องต้นและเบื้องปลาย ยังสัตว์ทั้งหลายเกิดความอยากฟังด้วยอรรถว่า อวธารณะ ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาเท่านี้ และสูตรนั้นแล ไม่ยิ่งไม่หย่อน โดยอรรถหรือพยัญชนะ พึงเห็นว่าอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็นอย่างอื่น ดังนี้.
เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นั้นมีความหมายว่า มยา (อันเรา) ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 22
ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีความหมายว่า มยฺหํ (แก่เรา) ในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด.
มีความหมายว่า มม (ของเรา) ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ขอให้พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด ดังนี้.
แต่ในที่นี้ เม ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๒ อย่างว่า อันข้าพเจ้าได้ฟังมา และว่า สุตะ ของเรา ดังนี้.
สุตะ ศัพท์ ในคําว่า สุตํ นี้ มีอุปสรรค และไม่มีอุปสรรคมีเนื้อความหลายอย่างเป็นต้นว่า คมน (การไป) วิสฺสุต (ปรากฏ) กิลินฺน (เปียก) อุปจิต (สั่งสม) อนุโยค (ประกอบเนืองๆ) โสตวิฺเยฺย (รู้ทางหู) โสตทวารานุสารวิญญาณ (รู้ตามกระแสทางหู).
จริงอย่างนั้น สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ไป ในประโยคเป็นต้นว่า ไปแล้วโดยเสนา.
มีความหมายว่า มีธรรมอันตนสดับตรับฟังแล้วอย่างแจ่มแจ้ง ในประโยคเป็นต้นว่า. ผู้สดับธรรมแล้วเห็น (ธรรม) อยู่.
มีความหมายว่า เปียกชุ่ม ของบุคคลผู้เปียกชุ่ม ในประโยคเป็นต้นว่า เปียกชุ่มของบุคคลผู้เปียกชุ่ม.
มีความหมายว่า สะสม ในประโยคเป็นต้นว่า บุญมิใช่น้อย อันท่านทั้งหลายสะสมแล้ว.
มีความหมายว่า ประกอบเนืองๆ ในฌานเนืองๆ ในประโยค
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 23
เป็นต้นว่า. นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน.
มีความหมายว่า เสียงที่จะพึงทราบทางโสตประสาท ในประโยคเป็นต้นว่า เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว.
มีความหมายว่า ทรงความรู้คล้อยตามโสตทวาร ในประโยคเป็นต้นว่า ทรงไว้ซึ่งสุตะ และสะสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุตะศัพท์นั้นมุ่งเอาความหมายว่า ทรงจํา หรือ ความทรงจํา ตามแนวแห่งโสตทวารจริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือ ทรงจํา ตามแนวแห่งโสตทวาร อย่างนี้มีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้าคือ ความทรงจําตามแนวแห่งโสตทวารของข้าพเจ้าอย่างนี้.
ในบททั้ง ๓ เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ คําว่า เอวํ เป็นการแสดงกิจแห่งวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น. คําว่า เม เป็นการแสดงบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว, คําว่า สุตํ เป็นการแสดงการถือเอาที่ไม่ผิด ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง เพราะห้ามการไม่ฟัง. อนึ่งคําว่า เอวํ เป็นการประกาศความเป็นไปในอารมณ์ แห่งวิงญาณวิถีที่เป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารนั้น โดยประการต่างๆ คําว่า เม เป็นการประกาศตน. คําว่า สุตํ เป็นการประกาศธรรมะ. จริงอยู่ ในคําว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ทํากิจอื่นแห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไปแล้วในอารมณ์โดยประการต่างๆ แต่ข้าพเจ้าทํากิจนี้, ธรรมนี้ข้าพเจ้าฟังแล้ว.
อนึ่ง คําว่า เอวํ เป็นการประกาศคําที่จะพึงแถลงไข. คําว่า เม เป็นการประกาศบุคคล. คําว่า สุตํ เป็นการประกาศกิจแห่งบุคคล. มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 24
คําอธิบายไว้ดังนี้ว่า พระสูตรที่ข้าพเจ้าจักแสดง ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. อนึ่ง คําว่า เอวํ เป็นการไขอาการต่างๆ ของจิตสันดานที่มีการถือเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ โดยการเป็นไปโดยประการต่างๆ กัน.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ เป็นการบัญญัติอาการ, ศัพท์ว่า เม เป็นการแสดงกัตตา (ผู้ทํา). ศัพท์ว่า สุตํ เป็นการแสดงวิสัย. ด้วยการอธิบายเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันทําการสันนิษฐานได้ว่า ด้วยจิตสันดานที่เป็นไปโดยประการต่างๆ กัน พระเถระผู้ประกอบด้วยจิตสันดานนั้นจึงเป็นกัตตา และรับอารมณ์ได้.
อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ เป็นการแสดงกิจแห่งบุคคล. ศัพท์ว่า สุตํ เป็นการแสดงกิจแห่งวิญญาณ. ศัพท์ว่า เม เป็นการแสดงถึงบุคคลที่ประกอบด้วยกิจทั้ง ๒. ก็ในคําว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ มีความย่อว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาโดยโวหารแห่งสวนกิจที่ได้ด้วยอํานาจแห่งวิญญาณโดยบุคคลที่พร้อมเพรียงด้วยสวนกิจและวิญญาณกิจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดยอรรถว่า แจ่มแจ้ง และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดยปรมัตถ์ก็ในข้อนี้ยังมีข้อพิเศษอยู่อีก คือ ข้อที่พระเถระพึงได้การแถลงไขว่า เอวํ หรือ เม มีอยู่โดยปรมัตถ์. บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ.อธิบายว่า ในบทว่า สุตํ นี้ อารมณ์ที่ได้ทางโสตนี้ มีอยู่โดยปรมัตถ์แล. อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม จัดเป็น อุปาทาบัญญัติ เพราะพระเถระกล่าวหมายเอาธรรมที่มากระทบโสต และขันธ์ที่นับเนื่องในสันดานของตนนั้น. บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะพระเถระกล่าวพาดพิงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 25
อนึ่ง ในข้อนี้ พระเถระแสดงความไม่โง่เขลา ด้วยคําว่า เอวํ อธิบายว่า ผู้โง่เขลาย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่างๆ ได้.ด้วยคําว่า สุตํ พระเถระแสดงความไม่หลงลืมพระพุทธพจน์ที่ได้ฟังมาแล้ว อธิบายว่า สุตะ ที่ผู้ใดหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมนึกไม่ออกว่าเราได้ฟังมาแล้วโดยกาลอื่น. ความสําเร็จแห่งปัญญาของพระเถระนั้น ย่อมมีได้ เพราะความไม่โง่เขลา ส่วนความสําเร็จแห่งสติ ย่อมมีได้เพราะความไม่หลงลืม. บรรดา ๒ อย่างนั้น ความสามารถในการทรงจําพยัญชนะ มีได้ด้วยสติ มีปัญญาเป็นตัวนํา ความสามารถในการเข้าใจอรรถ มีได้ด้วยปัญญามีสติเป็นตัวนํา ความสําเร็จเป็นขุนคลังแห่งธรรม โดยสามารถในการเก็บรักษาคลัง ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยอรรถและพยัญชนะมีได้เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคําว่า เอวํ ท่านพระเถระแสดงการทําไว้ในใจโดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้ทําไว้ในใจโดยไม่แยบคาย จะไม่มีการแทงตลอดประการต่างๆ. ด้วยคําว่า สุตํ ท่านแสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะไม่เป็นอันฟัง. จริงอย่างนั้น บุคคลที่มีจิตฟุ้งซ่านแม้ถูกบอกด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังไม่ถนัด ขอท่านพูดอีกที. ก็ในข้อนี้ เพราะการฟังโดยการทําไว้ในใจโดยแยบคายบุคคลย่อมยังการตั้งตนไว้โดยชอบ และความเป็นผู้มีบุญทําไว้ในปางก่อนให้สําเร็จได้ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้ทําบุญไว้ในปางก่อน ไม่มีการทําไว้ในใจโดยแยบคายนั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่านบุคคลจึงยังการฟังพระสัทธรรม และการเข้าไปคบสัตบุรุษให้สําเร็จ.จริงอยู่ บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจที่จะฟัง (ธรรมได้) และการฟัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 26
(ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่เข้าไปพบสัตบุรุษ.
อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านกล่าวไว้ว่า บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงอาการต่างๆ ของจิตสันดานที่มีการรับเอาอรรถและพยัญชนะ โดยเป็นไปโดยประการต่างๆ กัน. และอาการที่ดีอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทําบุญไว้ในปางก่อน. ฉะนั้น ท่านแสดงความถึงพร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้ายของตน ด้วยอาการอันเจริญนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ท่านแสดงความถึงพร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้นของตน ด้วยบทว่าสุตํ. จริงอยู่ การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่ผู้อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร หรือผู้เว้นจากการคบหากับสัตบุรุษ. ความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลสย่อมสําเร็จแก่บุคคลนั้น เพราะความสําเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้าย ความบริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ ย่อมมีเพราะความสําเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้นด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ความสําเร็จแห่งความฉลาดในอธิคม (ปฏิเวธ) ย่อมมีแก่บุคคลนั้น เพราะความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส ความสําเร็จแห่งความฉลาดในอาคม (ปริยัติ) ย่อมมีเพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ (ความเพียร) พระเถระเมื่อจะเรียงนิทานพจน์ไว้ในฐานะที่เหมาะสม คําของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอาคมและอธิคม ผู้มีอาสวกิเลสบริสุทธิ์ด้วยปโยคสมบัติย่อมควร เป็นพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจแสงเงินแสงทองขึ้นนําพระอาทิตย์ที่กําลังอุทัยอยู่ และดุจการทําไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นตัวนํา (การทํา) กุศลกรรม จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคํานี้ว่า เอวํ ท่านพระเถระแสดงสภาวะคือความถึงพร้อมแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคํา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 27
ที่แสดงถึงปฏิเวธมีประการต่างๆ ด้วยคําว่า สุตํ นี้ ท่านแสดงสภาวะคือความถึงพร้อมแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคําที่แสดงถึงความแทงตลอดประเภทแห่งธรรมที่จะต้องฟัง อนึ่ง พระเถระเมื่อจะกล่าวคําที่แสดงการทําไว้ในใจโดยแยบคายนี้ ว่า เอวํ ดังนี้ จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ อันข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิแล้ว เมื่อจะกล่าวคําที่แสดงการตามประกอบการฟังนี้ว่า สุตํ ดังนี้จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าฟังมาแล้ว ทรงจําไว้แล้วท่องบ่นแล้ว ดังนี้.
พระเถระเมื่อจะแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะด้วยคําทั้ง ๒ นั้น จึงยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในการฟัง. จริงอยู่บุคคลเมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อ ย่อมห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น ควรทําความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้วฟังธรรมโดยเคารพเถิด.
ก็ด้วยคําทั้งหมดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ (เป็นอันว่า) พระอานนท์เมื่อไม่วางธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วไว้ห่างตน ชื่อว่าล่วงเลยภูมิแห่งอสัตบุรุษ ปฏิญญาความเป็นสาวก ชื่อว่า ก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัตบุรุษ. อนึ่ง ด้วยคําทั้งหมดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น เป็นอันว่าพระเถระย่อมยังจิตให้ออกจากอสัทธรรม ให้ดํารงอยู่ในสัทธรรม.พระเถระเมื่อแสดงว่า พระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นเทียวนั้น ข้าพเจ้าฟังมาตลอดแล้วทีเดียว ชื่อว่าย่อมออกตัว อ้างพระศาสดา แนบแน่นอยู่ในพระดํารัสของพระชินเจ้า ประดิษฐานเนติธรรมไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 28
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคําว่า เอวมฺเม สุตํ พระเถระ ยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงให้หมดไป ให้เกิดความถึงพร้อมแห่งศรัทธา (โดย) ไม่อ้างว่า สูตรนั้นท่านให้เกิดเอง (และ) เปิดเผยการฟังมาก่อนว่า สูตรนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้องอาจด้วยเวสารัชชธรรม ๔ ทรงไว้ซึ่งพลญาณ ๑๐ ทรงดํารงอยู่ในฐานะผู้อาจหาญ บันลือสีหนาทได้ สูงสุดกว่าสัตว์ทุกจําพวก เป็นใหญ่โดยพระธรรม เป็นพระธรรมราชา เป็นพระธรรมาธิบดี เป็นประทีปโดยธรรม เป็นที่พึ่งโดยธรรม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประเสริฐโดยพระสัทธรรม ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่ควรทําความสงสัย หรือความเคลือบแคลงในอรรถ ในธรรม ในบทหรือในพยัญชนะ ในสูตรนี้แล. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคํานี้ไว้ว่า
พระสาวกของพระโคดมกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ยังอศรัทธาให้พินาศ ยังศรัทธาในศาสนาให้เจริญ ดังนี้.
อธิบาย สมย ศัพท์
บทว่า เอกํ เป็นบทแสดงไขถึงจํานวนนับ. บทว่า สมยํ เป็นบทแสดงเวลาที่กําหนดไว้แล้ว สองบทว่า เอกํ สมยํ เป็นบทแสดงเวลาที่ไม่กําหนดแน่นอน. สมย ศัพท์ ในบทว่า เอกํ สมยํ นั้นย่อมปรากฏในอรรถว่า
สมวายะ (พร้อมเพรียง) ขณะ กาล สมูหะ (การประชุม) เหตุ ทิฏฐิ ปฏิลาภะ (การได้) ปหานะ (การละ) และปฏิเวธะ (การแทงตลอด).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 29
จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้น มีความพร้อมเพรียงเป็นอรรถในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน ในวันพรุ่งนี้ พวกเราอาศัยกาลสมัย (ที่เหมาะ) พึงเข้าไปหา ดังนี้. มีขณะเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ขณะ และสมัยหนึ่ง ย่อมมีเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ดังนี้. มีกาละเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า เวลาร้อน เวลาเร่าร้อน ดังนี้. มีการประชุมเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่. มีเหตุเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุแลท่านไม่ได้แทงตลอด, พระผู้มีพระภาคเจ้าแลประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักรู้จักเราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ ไม่ทําการศึกษาในพระศาสนาของพระศาสดาใช้บริบูรณ์ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล อันท่านยังไม่ได้แทงตลอดดังนี้. มีทิฏฐิเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อ อุคคาหมานะ เป็นบุตรของ สมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในสวนดอกมะลิ ที่มีศาลาหลังเดียวเป็นที่สอนลัทธิ หนาแน่นด้วยต้นมะพลับ.มีการได้เฉพาะเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า
นักปราชญ์ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้รับประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ.
มีการละเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ได้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ เพราะละมานะได้โดยชอบ. มีการแทงตลอดเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่าทุกข์ มีอรรถว่า เบียดเบียน ถูกปรุงแต่ง ทําให้เร่าร้อนแปรปรวน และมีอรรถว่า ควรกําหนดรู้.
แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีกาละเป็นอรรถ เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 30
พระเถระจึงแสดงว่า ในสมัยหนึ่ง บรรดาสมัยที่แยกกาลออกเป็นปี ฤดู เดือน ครึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น ยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย และครู่หนึ่งเป็นต้น.
ในข้อนั้น สูตรใดๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปี ฤดู เดือน ปักข์ ภาคกลางคืน หรือภาคกลางวันใดๆ ในบรรดาสมัยมีปีเป็นต้นเหล่านั้น สูตรนั้นทั้งหมด พระเถระรู้ดี คือกําหนดไว้ด้วยดีด้วยปัญญา แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะเหตุที่เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักข์โน้น ภาคกลางคืนโน้น ภาคกลางวันโน้น ใครๆ ไม่อาจจะทรงจําได้ง่ายไม่สามารถจะแสดงเองหรือให้คนอื่นแสดงได้ และจะต้องพูดกันมาก ฉะนั้น พระเถระจึงรวบรวมเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้วกล่าวว่า เอกํ สมยํ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง สมัยเหล่านี้ใด ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแยกประเภทกาลเวลาออกมากมาย ที่ปรากฏชัดเหลือเกินในหมู่เทวดา และมนุษย์เป็นต้นอย่างนี้คือ สมัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยเกิดความสังเวช สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรงกระทําทุกกรกิริยา สมัยชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สมัยเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง กล่าวคือสมัยเทศนา ในบรรดาสมัยเหล่านั้น.
อนึ่ง ท่านพระเถระหมายเอาสมัยแห่งกิจที่ประกอบด้วยกรุณา ในบรรดาสมัยแห่งกิจที่ประกอบด้วยญาณ และกรุณา สมัยแห่งการปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น ในบรรดาสมัยแห่งการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 31
คนอื่น สมัยแห่งธรรมีกถา ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้ง ๒ ของผู้ประชุมกัน สมัยแห่งเทศนา ในบรรดาสมัยแห่งการเทศนา และการปฏิบัติ สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เอกํ สมยํ ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในที่นี้ ท่านไม่ทําเหมือนอย่างในอภิธรรมท่านทําการแสดงไขด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามารจรํ และว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ในสุตตบทอื่นจากคัมภีร์นี้ และในวินัยท่านทําการแสดงไขด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา แต่ทําการแสดงไขด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอกํ สมยํ ตอบว่า เพราะในที่นั้นมีความหมายเป็นอย่างนั้น แต่ในที่นี้มีความหมายเป็นอย่างนี้ (มีความหมายคนละอย่าง). จริงอยู่ ในบรรดาอภิธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ในอภิธรรม และในสุตตบทอื่นนอกจากนี้ สมยศัพท์มีความหมายในอธิกรณะ (สัตตมีวิภัตติ) และมีความหมายภาวลักษณะโดยภาวะ. เพราะว่า สมยะ เป็นอธิกรณะ มีกาละเป็นอรรถ และมีสมูหะเป็นอรรถ และท่านกําหนดว่าเป็นภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย มีผัสสะเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในที่นั้นๆ เวลานั้น โดยภาวะแห่งสมยะกล่าวคือ ขณะ การรวบรวมและเหตุ เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความนั้นกระจ่าง ท่านจึงแสดงไขเป็นสัตตมีวิภัตติในบทนั้น. จริงอยู่สมัยแห่งการบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้ท่านพระสารีบุตรเป็นต้น ก็รู้ได้ยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยสมัยนั้น อันเป็นเหตุ และเป็นกรณะ และเมื่อทรงเพ่งถึงเหตุการบัญญัติสิกขาบท
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 32
ทรงประทับอยู่ในที่นั้นๆ. เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความนั้นกระจ่าง ท่านจึงทําการแสดงไขเป็นตติยาวิภัตติในบทนั้น.
แต่ในที่นี้ และในที่อื่น ที่มีใจความอย่างนี้ สมยศัพท์ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ จริงอยู่ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้หรือสูตรอื่น ในสมัยนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ กรุณาโดยส่วนเดียวทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อให้ใจความนั้นกระจ่าง ท่านจึงทําการแสดงไขเป็นทุติยาวิภัตติในบทนี้.เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคํานี้ไว้ว่า
เพ่งถึงใจความนั้นๆ แล้ว ท่านกล่าว สมย ศัพท์ไว้ในที่อื่นด้วย สัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ แต่ในที่นี้ท่านกล่าว สมย ศัพท์นั้นไว้ด้วยทุติยาวิภัตติ.
ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้ว่า สมย ศัพท์นั้นมีประเภทที่แยกพูดได้ดังนี้ว่า ตสฺมึ สมเย, เตน สมเยน หรือว่า ตํ สมยํ แต่ว่าโดยใจความ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ในที่ทั้งปวงดังนี้. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าวว่า เอกํ สมยํ พึงทราบใจความว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.
อธิบาย ภควา
คําว่า ภควา เป็นคํากล่าวด้วยความเคารพ. เพราะว่าคนทั้งหลายเรียกครูในโลกว่า ภควา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ชื่อว่า เป็นครู ของสัตว์ทุกจําพวก เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วยพระคุณทุกอย่าง เพราะฉะนั้นพึงทราบครูว่า ภควา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 33
ถึงแม้ว่าท่านโบราณจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า คําว่า ภควา เป็นคําประเสริฐ, คําว่า ภควา เป็นคําสูงสุด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกท่านผู้ประกอบด้วยความเคารพนับถือว่า ภควา ดังนี้
อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท่านกล่าวว่า ภควา เพราะมีพระภาคยะ (บารมีธรรม). เพราะหักออกเสียซึ่งกองกิเลส เพราะประกอบด้วยบุญศิริ (เพราะจําแนกกรรม) เพราะเสวยพรหมวิหารธรรม และเพราะคายเสียซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้ง ๓.
พึงทราบเนื้อความของบทว่า ภควา นี้ ด้วยอํานาจคาถานี้ โดยพิสดาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า ภควา นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธานุสสตินิเทศ ในวิสุทธิมรรค.
ก็ในอธิการนี้ ด้วยคําอธิบายเพียงเท่านี้ พระเถระเมื่อแสดงธรรมตามที่ตนได้ฟังมา ด้วยคําว่า เอวมฺเม สุตํ ชื่อว่า ย่อมทําสรีระ คือพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์ เพราะเหตุนั้น พระเถระย่อมยังชนที่เกิดความเบื่อหน่าย เพราะไม่เห็นพระศาสดาให้โล่งใจว่า ปาพจน์ ที่ขาดศาสดาย่อมไม่มี นี้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย. พระเถระเมื่อแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอยู่ ในสมัยนั้น ด้วยคําว่า เอกํ สมยํ ภควา ยังการดับแห่งรูปกายให้แล่นไป. เพราะเหตุนั้นพระเถระย่อมยังชนที่เมาในชีวิตให้สลดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระองค์นั้น ทรงแสดงอริยธรรม มีชื่อย่างนี้ ทรงไว้ซึ่งกําลัง ๑๐
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 34
มีพระวรกายเสมอก้อนเพชร เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประโยชน์อะไรอื่นที่พวกเธอพึงยังความหวังในชีวิตใช้เกิดขึ้นและยังความอุตสาหะของชนนั้นให้เกิดขึ้นในพระสัทธรรม.
อนึ่ง พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอวํ ย่อมแสดงไขถึงสมบัติคือเทศนา.เมื่อกล่าวว่า เม สุตํ ย่อมแสดงไขถึงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าว เอกํ สมยํ ย่อมแสดงไขถึงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ภควา ย่อมแสดงไขถึงเทสกสมบัติ.
ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา
คําว่า อุกฺกา ในคําว่า อุกฺกฏฺายํ วิหรติ นี้ หมายเอาดวงประทีป และเมืองนั้นเขาเรียกว่า อุกกัฏฐา เพราะชาวเมืองพากันชูคบเพลิง สร้างแม้ในเวลากลางคืนด้วยหวังว่า วันมงคล ขณะดี ฤกษ์ดีอย่าเลยไปเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะเมืองนั้นพวกชาวเมืองจุดประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง. ใกล้เมืองชื่ออุกกัฏฐานั้น. บทว่า "อุกฺกฏฺฐายํ" เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็นคําแสดงการถึงการพร้อมเพรียงแห่งการอยู่ ในบรรดาการอยู่ด้วยการผัดเปลี่ยนอิริยาบถ การอยู่อย่างเทพ, การอยู่อย่างพรหม และการอยู่อย่างพระอริยะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต่างกัน. แต่ในที่นี้ เป็นการแสดงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถ (ทั้ง ๔) คือยืน เดิน นั่ง และนอน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เสด็จดําเนินก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า ประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 35
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจากอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ดังนี้.
ที่มาของป่าสุภควัน
ในบทว่า สุภควเน นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. ป่าชื่อว่าสุภคะ เพราะถึงความงาม อธิบายว่า เพราะสง่างาม และเพราะมีสิ่งที่พึงประสงค์สวยงาม. ก็เพราะความสวยงามของป่านั้น ผู้คนทั้งหลายจึงพากันถือเอาข้าวและน้ําเป็นต้น ไปดื่มกินเที่ยวเล่นสนุกสนานอยู่ในป่านั้นนั่นแลตลอดทั้งวัน และปรารถนาสิ่งที่เขาปรารถนาดีๆ ในที่นั้นว่าขอเราทั้งหลายจงได้ลูกชายลูกหญิงเถิด และสิ่งที่พึงปรารถนานั้นเขาก็ได้สมปรารถนาทีเดียว ป่านั้นชื่อว่า สุภคะ เพราะสง่างาม และเพราะมีสิ่งที่พึงประสงค์สวยงาม ดังพรรณนามานี้. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สุภคะ แม้เพราะคนส่วนมากติดใจ ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายชอบใจ คือทําให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ด้วยคุณสมบัติของตัวมันเองอธิบายว่า ให้เกิดความน่ารักในตัวเอง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะเรียกหา อธิบายว่าเหมือนเรียกร้องปวงสัตว์ด้วยเสียงร้องของนก มีนกโกกิลาเป็นต้น ที่เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ และด้วยกิ่งก้านค่าคบใบแก่ใบอ่อนของต้นไม้ที่สั่นไหว เพราะต้องลมอ่อนว่า มาเถิด มากินมาใช้กันเถิด. ป่านั้นด้วย ถึงความงามด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า สุภควัน. ในป่าสุภควันนั้น. ธรรมดาป่า มี ๒ ชนิด คือ ป่าปลูก และป่าเกิดเอง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 36
ในป่า ๒ ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
แม้ต้นรัง ในคํานี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวันใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วยต้นละหุ่ง และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์.
ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลเมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม้ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า.
อธิบาย ราช ศัพท์
ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้นั้นนั่นเทียวให้สําเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็ ... แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่างมั่นคง แม้ในที่อื่น. ในคําว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส ๒ อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลานํ ราชา (ราชาแห่งต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 37
ทั้งหลาย) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง และเป็น (วิเสสนบุพพบทกัมมธารยสมาสว่า) สาโล จ โส เชฏกฏเน ราชา จ) ต้นสาละนั้นด้วย เป็นราชา เพราะหมายความว่าใหญ่ที่สุดด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง. บทว่า มูลํ แปลว่า ใกล้. เพราะว่ามูลศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ใกล้โคน ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึงถอนโคน โดยที่สุดแม้มาตรว่า ลําต้นแฝก. มูลศัพท์ ใช้ในเหตุที่ไม่ทั่วไป ในประโยคเป็นต้นว่า ความโลภ เป็นรากเหง้าของอกุศล อนึ่งมูลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ใกล้ ในประโยคเป็นต้นว่า ในเวลาเที่ยงวันเงาทับตัวด้วยเหตุที่เงา (ของต้นไม้) จะทับตัวในเวลาเที่ยงวัน และใบไม้หล่นในเวลาสงัดลม เงาก็จะทับต้นไม้ ใบไม้ก็จะหล่นใกล้ต้นไม้. แต้ในที่นี้มูลศัพท์ท่านประสงค์เอาอรรถว่า สมีปะ (ใกล้) เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในคําว่า สาลราชมูเล นี้ อย่างนี้ว่า ในที่ใกล้แห่งต้นรังใหญ่.
ในข้อนั้น พึงมีคําถามว่า ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองอุกกัฏฐาก่อนไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่าสุภควัน ถ้าว่าประทับอยู่ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่าสุภควันนั้นไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ในเมืองอุกกัฏฐา. เพราะว่า พระองค์ไม่อาจจะประทับอยู่คราวเดียวกันในที่ ๒ แห่งได้ ตอบว่า ก็แลข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้.เราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้.เพราะฉะนั้น ฝูงโค เมื่อเที่ยวไปใกล้แม่น้ําคงคาและยมุนาเป็นต้นย่อมถูกเรียกว่าเที่ยวไปใกล้แม่น้ําคงคา ใกล้แม่น้ํายมุนาฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา (และ) ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ ท่านก็เรียกว่า ประทับอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 38
ใกล้ต้นรังใหญ่ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ดังนี้. ก็คําว่าอุกฺกฏาเป็นคํามีความหมายบ่งถึงโคจรคาม. ถึงคําว่า สุภควนํ เป็นคํามีความหมายบ่งถึงสถานที่อยู่ที่เหมาะแก่บรรพชิต ใน ๒ คํานั้น ท่านพระอานนท์แสดงการทรงทําความอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการระบุถึงเมืองอุกกัฏฐา แสดงการทรงทําความอนุเคราะห์ต่อบรรพชิต ด้วยการระบุถึงป่าสุภควัน.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงการเว้นอัตตกิลมาถานุโยค โดยทรงรับปัจจัยด้วยคําต้น (อุกฺกฏา) แสดงการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค โดยทรงละวัตถุกามด้วยคําหลัง (สุภควนํ) ท่านแสดงพระวิริยะในการทรงแสดงพระธรรมด้วยคําต้น. แสดงพระอัธยาศัยที่น้อมไปในวิเวกด้วยคําหลัง. แสดงการเข้าถึงพระกรุณาคุณด้วยคําต้น. การเข้าถึงพระปัญญาคุณด้วยคําหลัง. แสดงความที่พระองค์มีพระอัธยาศัยที่น้อมไปในการยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้สําเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยคําต้น. แสดงความเป็นผู้ไม่หวังผลตอบแทนในการทําประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ผู้อื่นด้วยคําหลัง. แสดงการประทับอยู่อย่างสุขสําราญ เสียสละความสุขที่ชอบธรรมเป็นเครื่องหมายด้วยคําต้น. แสดงการประทับอยู่อย่างสุขสําราญ มีการหมั่นประกอบในอุตตริมนุสสธรรมเป็นเครื่องหมายด้วยคําหลัง. แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลายด้วยด้วยคําต้น.แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลายด้วยคําหลัง. แสดงความที่พระองค์อุบัติในโลกแล้วเป็นผู้เจริญพร้อม (ทุกด้าน) ในโลกด้วยคําต้น. แสดงความเป็นผู้ไม่ติดอยู่กับโลกด้วยคําหลัง. ท่านพระอานนท์แสดงการยังประโยชน์ที่เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 39
ขึ้นนั้นให้สําเร็จด้วยคําต้น เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเอกคือใคร คือพระตถาคตเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ, แสดงการประทับอยู่อันสมควรแก่สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นด้วยคําหลัง.
พึงทราบการประกอบความในคําว่า ยทตฺถํ ภควา อุปฺปนฺโนตทนุรูปวิหารํ นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นที่เป็นโลกีย์และโลกุตตระ คือครั้งแรกประสูติที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ ๒ ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงแสดงที่ประทับสําหรับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นในป่าทั้งหมด.
บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงสถานที่และเวลา. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสมัยใด พระอานนทเถระแสดงสถานที่และเวลานั้นว่า ในสมัยนั้น และประทับอยู่ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ใด ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่งย่อมทรงแสดงในสถานที่และเวลาที่ควรแสดง.จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมในสถานที่หรือเวลาที่ไม่เหมาะ ก็ในข้อนี้มีคําเป็นต้นว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังเป็นเวลาที่ไม่สมควรนะ ดังนี้ เป็นเครื่องสาธก. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ปทปูรณมัตตะ (สักว่าเป็นเครื่องทําบทให้เต็ม) บ้าง ในอรรถว่า อวธารณะ (ห้ามความอื่น) บ้าง ในอรรถว่า อาทิกาละ (กาลอันเป็นเบื้องต้น) บ้าง. ภควา เป็นบทแสดงถึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นครูของโลก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 40
บทว่า ภิกฺขุ เป็นบทกล่าวถึงบุคคลที่ควรจะได้ฟังพระเทศนา.อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบความหมายของคําโดยนัยเป็นต้นว่า ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ คือ ชื่อว่า ภิกขุเพราะอรรถว่า เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่อภิกษา.
บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า เรียก คือได้พูดด้วย (แต่) ในที่นี้มีความหมายอย่างนี้ว่า เตือนให้รู้สึก (ส่วน) ในที่อื่น ย่อมลงในอรรถว่า ญาปนะ (ให้ทราบ) บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอเตือนเธอทั้งหลายดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอประกาศให้เธอทั้งหลายทราบ ดังนี้.ลงในอรรถว่า เรียก บ้าง สมจริงดังพระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุเธอจงมา จงไปเรียกพระสารีบุตรมาตามคําของเราตถาคต.
บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการเรียกมา จริงอยู่ คํานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะสําเร็จมาแต่การประกอบคุณ คือความเป็นผู้มีปกติขอ (ของภิกษุเหล่านั้น) ก็นักศัพท์ศาสตร์ทั้งหลายสําคัญอยู่ว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอเป็นปกติบ้าง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาเป็นต้นบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้มีปกติกระทําคําอนุโมทนาว่า "สาธุ" ในการขอบ้าง.
ก็ด้วยคําที่สําเร็จจากการประกอบด้วยคุณ เช่นความเป็นผู้มีปกติขอเป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น นั้น ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศจริยาวัตร (ของภิกษุเหล่านั้น) ที่คนชั้นสูงและคนชั้นต่ําคุ้นเคยกันแล้ว (เป็นการ) บําราบความเป็นผู้เห่อเหิมและความหดหู่ใจ (ของพวกเธอ)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 41
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้ามาหาพระองค์ด้วยพระดํารัสที่มีการทอดพระเนตรดูด้วยพระหฤทัยที่เยือกเย็นด้วยกระแสแห่งพระกรุณาเป็นเบื้องหน้า ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประสงค์จะฟังด้วยพระดํารัสที่แสดงความที่พระองค์ประสงค์จะตรัสสอนนั้นนั่นแล. และทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดํารัสที่ทรงประสงค์จะเตือน (ภิกษุทั้งหลาย) ให้รู้สึกนั้นนั่นแล เพราะคุณสมบัติแห่งหลักคําสอนเกี่ยวเนื่องอยู่กับการตั้งใจฟังด้วยดี. ถ้าหากจะมีคําถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร เมื่อเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมา. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ และอยู่พร้อมเพรียงกันตลอดเวลา.อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั่วไปแก่บริษัททุกเหล่า และภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้เกิดขึ้นก่อนบริษัทอื่น ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะมุ่งความเป็นบรรพชิตเป็นเบื้องหน้า ประพฤติคล้อยตามอย่างพระศาสดา และรับเอาคําสั่งสอนทั้งสิ้น ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะเมื่อนั่งอยู่ในที่นั้น ชื่อว่าอยู่ในสํานักของพระศาสดา ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันอยู่ทุกเมื่อ เพราะเที่ยวไปใกล้สํานักพระศาสดา.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะแห่งพระธรรมเทศนา เพราะให้เกิดการปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ําสอนและเพราะเป็นบุคคลพิเศษ อนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเฉพาะ เจาะจง ภิกษุบางพวกเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ด้วยอาการอย่างนี้. ในข้อนั้น พึงมีคําถามสอดเข้ามาว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 42
แสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมเลยทีเดียว? ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกําลังนั่งคิดเรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่บ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น (ก่อนแล้ว) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกําหนดได้ว่า พระธรรมเทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิดเหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย เหตุนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.
คําว่า ภทนฺเต นั่น เป็นคําแสดงความเคารพ หรือเป็นการถวายคําตอบแด่พระศาสดา อีกอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ภิกษุเหล่านั้นเมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่าตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานคําเรียกเฉพาะว่า ภิกฺขโว ภิกษุทั้งหลายถวายคําตอบว่า ภทนฺเต.
บทว่า เต ภิกฺขู หมายเอาพวกภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมา.
บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น) ทูลรับพระพุทธฎีกา อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง คือน้อมรับ ได้แก่ทูลรับ.
บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 43
สูตรทั้งสิ้นนั้น คือที่จะพึงตรัสในบัดนี้.
ก็นิทานพจน์ใด ที่ประดับประดาด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่องราว บริษัท และประเทศ เหมือนท่าน้ำอันมีภูมิภาคขาวสะอาดเดียรดาษด้วยเมล็ดทรายคล้ายสุธาดลอันเกลื่อนกล่นไปด้วยแก้วมุกดา มีบันไดอันพิลาสรจนาด้วยแผ่นศิลาที่ขัดไว้จนไร้ราคี เพื่อง่ายต่อการลงสู่สระโบกขรณีที่สล้างไปด้วยดอกบัวเขียว มีน้ำใสสะอาดรสจืดสนิท เหมือนบันไดอันมีชั้นละเอียดอ่อนสําเร็จด้วยงาช้าง งามรุ่งเรืองเกิดแต่รัศมีของพวงแก้วมณีที่ร้อยด้วยลวดทองคํา เพื่อสะดวกต่อการก้าวขึ้นสู่พระมหาปราสาท มีฝาจัดได้สมส่วน แลกั้นด้วยไพทีอันวิจิตรที่มีองค์ (ดูเหมือน) จะเคลื่อนไหวได้ เหมือนมีประสงค์จะให้สูงเสียดทางเดินของดวงดาว เหมือนมหาทวารที่มีบานกว้างใหญ่อันติดตั้งไว้ดีแล้ว เพริศแพร้วเรืองรองด้วยทองเงินมณี มุกดา และแก้วประพาฬเป็นอาทิ เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปสู่คฤหาสน์อันโสภิตไปด้วยอิสสริยสมบัติอันโอฬาร เป็นสถานขวักไขว่ไปด้วยผู้คนที่พูดจาหัวเราะด้วยเสียงอันไพเราะประสานกับเสียงกระทบของกําไลทองที่คล้องไว้เป็นระเบียบ อันพระอานนทเถระเจ้ากล่าวไว้แล้ว การพรรณนาความแห่งนิทานพจน์นั้น เป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง
บัดนี้ ถึงลําดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ดังนี้. ก็การพรรณนาพระสูตรนี้ เพราะเมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดงแล้ว จึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงยก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 44
พระสูตรขึ้นแสดงก่อน อธิบายว่า เหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดงมี ๔ ประการ คือ
๑. อัตตัชฌาสยะ เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์
๒. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น
๓. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอํานาจการถาม
๔. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น
ในบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนอื่นมิได้ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระองค์แต่ลําพังอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่งสัมมัปปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และมรรค พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดงเป็นไปตามอัธยาศัยของพระองค์.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูอัธยาศัยความพอใจ ความชอบใจ อภินิหาร และภาวะที่จะตรัสรู้ได้ของชนเหล่าอื่นอย่างนี้ว่า ธรรมะบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราตถาคตพึงแนะนําราหุลในอาสวักขยธรรมให้สูงขึ้น ดังนี้ (เป็นต้น) แล้วจึงตรัสด้วยอํานาจอัธยาศัยของผู้อื่น (นั้น) ตัวอย่างเช่น จุลลราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ธาตุวิภังคสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใด ที่เหล่าสัตว์ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้คือ บริษัท ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 45
วรรณะ ๔ นาค ครุฑ คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น และท้าวมหาพรหมพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า นิวรณ์ นิวรณ์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้หนอแล ในโลกนี้ อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐสุดของคนเมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนา มีโพชฌงคสังยุต เป็นต้น ก็หรือพระสูตรแม้อื่นเหล่าใด มีเทวดาสังยุต มารสังยุต พรหมสังยุต สักกปัญหสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สามัญญผลสูตร อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร ขรโลมสูตรเป็นต้น พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปด้วยอํานาจการถาม.
อนึ่ง พระสูตรเหล่านั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรัสเทศนา ตัวอย่างเช่น ธัมมทายาทสูตร จุลลสีหนาทสูตร จันทูปมสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตร อัคคิกขันธูปมสูตร เผณปิณฑูปมสูตร ปาริฉัตตกูปมสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น. ในบรรดาเหตุที่ยกขึ้นแสดง ๙ ประการ ดังพรรณนามานี้ มูลปริยายสูตรนี้ มีเหตุที่เกิดขึ้นแสดงเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น. ด้วยว่า มูลปริยายสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดง ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้น ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไร? ในเพราะมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปริยัติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 46
มานะเกิดเพราะปริยัติ
ดังได้สดับมา พราหมณ์ ๕๐๐ คน เรียนจบไตรเพท ภายหลังได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช จึงออกบวชอยู่ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลย ก็เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมดเพราะอาศัยการศึกษาเล่าเรียน จึงเกิดมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พลันทีเดียว เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสเรื่องอะไรๆ นอกเหนือจากลิงค์ ๓ บท ๔ และวิภัตติ ๗ ก็เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่เป็นเงื่อนงํา (ไม่เข้าใจ) สําหรับพวกเราย่อมไม่มี ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น ไม่มีความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า จําเดิมแต่นั้น ก็ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ไม่ไปฟังธรรมเป็นประจําบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวารจิตนั้นของภิกษุเหล่านั้น ทรงดําริว่า ภิกษุเหล่านี้ ยังถอนตะปูคือมานะไม่ได้ ก็ไม่ควรเพื่อทําให้แจ้งมรรค หรือผล ทรงกระทํามานะที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยการเล่าเรียนสุตะของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุเกิดเรื่อง จึงเริ่มการแสดงธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาดในการแสดงมูลปริยายสูตรแห่งธรรมทั้งปวง เพื่อจะหลักเสียซึ่งมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ดังนี้.
ความหมายของมูลปริยายสูตรและธรรมะ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ แปลว่า พระสูตรว่าด้วยเหตุที่เป็นมูลฐานแห่งธรรมทั้งปวง. บทว่า สพฺเพสํ แปลว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 47
ไม่มีส่วนเหลือ จริงอยู่ ศัพท์ว่า สัพพะ นี้ บ่งถึงความไม่มีส่วนเหลือ.ศัพท์ว่า สัพพ นั้น ย่อมแสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันไม่ให้เหลือ เหมือนอย่างในประโยคเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง เวทนาทั้งปวงไม่เที่ยง ในบรรดาธรรมที่เกี่ยวเนื่องในกายของตนทั้งหมด ดังนี้.
ส่วนศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติ สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติ และเญยยะ.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า ธัมมะ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สัจจะ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมอันบัณฑิตเห็นแล้ว คือรู้แล้ว ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สมาธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้.
ปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใดมีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ
สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้นย่อมก้าวล่วง (ไม่ตกอยู่) ในอํานาจศัตรู ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า ปกติ ในประโยคเป็นต้นว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ในประโยคเป็นต้นว่า กุศลธรรม ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 48
ปรากฏในอรรถว่า สุญญตา ในประโยคเป็นต้นว่า ก็ในสมัยนั้นแล พระธรรมทั้งหลาย ย่อมมี ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปุญญะ (บุญ) ในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมที่ประพฤติดีแล้ว (สะสมไว้ดีแล้ว) ย่อมนําสุขมาให้ ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาปัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นอนิยต ๒ ประการ ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า เญยยะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมทั้งปวง ย่อมมาสู่คลอง ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการทั้งปวง ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ธัมมะศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า สภาวะ ในคําว่า ธรรมนั้น มีอรรถพจน์ดังนี้ว่า สภาวะเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน เหตุนั้น สภาวะเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมะ.
มูล ศัพท์ ท่านกล่าวไว้พิสดารด้วยทีเดียว. แต่ในที่นี้มูลศัพท์นี้พึงทราบว่า ลงในอรรถว่า เหตุที่ไม่ทั่วไป.
ปริยาย ศัพท์ ย่อมลงในอรรถว่า เทศนา ดังในประโยคเป็นต้นว่า ท่านจงจําพระสูตรนั้นว่า มธุปิณฑปริยายสูตร ดังนี้.
ปริยายศัพท์ ลงในอรรถว่า การณะ (เหตุ) ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาที เพื่อตรัสโดยชอบ พึงตรัสกะเราโดยเหตุใด ดูก่อนพราหมณ์ เหตุนั้นแล มีอยู่ ดังนี้.
ลงในอรรถว่า วาระ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนอานนท์ วันนี้เป็นวาระของใครหนอแล เพื่อจะกล่าวสอนนางภิกษุณีทั้งหลาย ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 49
แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงในอรรถว่า การณะบ้าง เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคํานี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้งปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้.
อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ ๔ ไม่พึงเข้าใจว่า ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนํา แต่สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ที่นับเนื่องในสักกายทิฏฐิ พึงเข้าใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่ามานี้แล.
หลักการใช้ โว ศัพท์
โว ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทําบทให้เต็ม).อธิบายว่า
โว ศัพท์ ใช้ในปฐมาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกันอยู่หรือ ดังนี้.
ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่ในสํานักของเราตถาคต ดังนี้.
ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 50
เราตถาคต จักแสดงวนปัตถปริยายสูตรแก่พวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร เละโมคคัลลานะ นี้เป็นสุภาษิตของเธอทั้งปวง ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า สักว่าทําบทให้เต็ม ดังในประโยคเป็นต้นว่า ก็พระอริยะเหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์ ดังนี้. แต่ในที่นี้ โว ศัพท์นี้พึงทราบว่าใช้ในจตุตถีวิภัตติ.
บทว่า ภิกฺขเว เป็นการตรัสเรียกภิกษุที่อยู่เฉพาะพระพักตร์ซ้ำอีกด้วยการให้รับฟัง. บทว่า เทเสสฺสามิ เป็นการเตือนให้รู้ว่าจะแสดงธรรม. อธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย, เราจักแสดงเทศนาอันเป็นตัวเหตุโดยนัยที่ ๒ แก่พวกเธอ ดังนี้. สองบทว่า ตํ สุณาถ ความว่า เธอทั้งหลายจงฟังใจความนั้น คือเหตุนั้น ได้แก่เทศนานั้นที่เราจะกล่าวอยู่. ก็ ๒ บทนี้ว่าสาธุกํ สาธุ ในคํานี้ว่า สาธุกํ มนสิกโรถ ดังนี้ มีใจความอันเดียวกัน.
หลักการใช้ สาธุ ศัพท์
อนึ่ง สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อายาจนะ (อ้อนวอน) สัมปฏิจฉนะ (รับ) สัมปหังสนะ (ร่าเริง) สุนทระ (ดี) และทัฬหีกรรม (ทําให้มั่น). อธิบายว่า :-
สาธุ ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า อ้อนวอน ดังในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงพระธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยสังเขป ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า รับ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นแล ชื่นชม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 51
ยินดีสุภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้.ใช้ในอรรถว่า ร่าเริง ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดีละๆ สารีบุตร ดังนี้.ใช้ในอรรถว่า ดี ดังในประโยคเป็นต้นว่า
พระราชาผู้รักธรรม เป็นคนดี, คนที่มีปัญญา (ใช้ปัญญาในทางดี) เป็นคนดี, คนที่ไม่ทําลายมิตร เป็นคนดี การไม่ทําบาป เป็นความดี ดังนี้.
สาธุกศัพท์ ก็เหมือนกัน ใช้ในอรรถว่า กระทําให้มั่น ท่านกล่าวไว้ว่า ใช้ในอรรถว่า บังคับบ้าง ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟังให้ดี ดังนี้.
ถึงในพระสูตรนี้ ก็พึงเข้าใจความหมายอย่างเดียวกันนี้ ใช้ทั้งในการทําให้มั่น ทั้งในการบังคับนี้แหละ แม้จะใช้ในอรรถว่า ดี ก็ควร.
จริงอยู่ ด้วยสาธุกศัพท์ที่มีความหมายว่า ทําให้มั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแม้คํานี้ว่า เธอทั้งหลายเมื่อจะเรียนให้ดี จงฟังธรรมนี้ให้มั่น, ที่มีความหมายว่า บังคับ ทรงแสดงคําแม้นี้ว่า เธอทั้งหลายจงฟังตามอาณัติของเรา ที่มีความหมายว่า ดี ทรงแสดงคําแม้นี้ว่า เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนี้ให้ดี ให้งาม.
บทว่า มนสิกโรถ ความว่า สนใจ คือใส่ใจ อธิบายว่า มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน พิจารณา คือกระทําไว้ในใจ ดังนี้.
บัดนี้ คําว่า ตํ สุณาถ นี้ ในอธิการนี้ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่งโสตินทรีย์, คําว่า สาธุกํ มนสิกโรถ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่งมนินทรีย์ ด้วยการประกอบทําให้มั่นไว้ในใจ.
อนึ่ง ใน ๒ คํานี้ คําแรก เป็นการห้ามถือเอาผิดโดยพยัญชนะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 52
คําหลัง เป็นการห้ามถือเอาผิดโดยอรรถ. ดังในประโยคเป็นต้นว่า ท่านประกอบการฟังธรรมด้วยคําแรก ประกอบการทรงจํา และการใคร่ครวญธรรมะที่ได้สดับแล้วด้วยคําหลัง. อนึ่ง ท่านแสดงว่า พระธรรมนี้ ถึงพร้อมด้วยพยัญชนะด้วยข้อแรก เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งควรฟัง และท่านแสดงว่า พระธรรมนี้ ถึงพร้อมด้วยอรรถด้วยคําหลัง เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเอาบทว่า สาธุกะ ประกอบเข้าไว้ด้วยกันทั้ง ๒ บท บัณฑิตพึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระธรรมนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง และเป็นเทศนาที่ลึกซึ้ง ฉะนั้น เธอทั้งหลายจงฟังให้ดี. เพราะเหตุที่พระธรรมนี้ มีความหมายอันลึกซึ้ง และมีปฏิเวธอันลึกซึ้ง ฉะนั้น เธอทั้งหลายจงใส่ใจไว้ให้ดี ดังนี้.
บทว่า ภาสิสฺสามิ แปลว่า เราตถาคตจักแสดง คือจักแสดงเทศนาที่ประกาศไว้ในคํานี้ว่า เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้นโดยไม่ย่นย่อทีเดียว. อีกประการหนึ่งแลมีอธิบายไว้ว่า เราจักกล่าวเรื่องนั้นแม้โดยพิสดาร ดังนี้. จริงอยู่ บทเหล่านี้ระบุเนื้อความทั้งโดยย่อและพิสดาร.สมดังที่พระวังคีสเถระกล่าวไว้ว่า
ท่านจะแสดงโดยย่อก็ตาม จะกล่าวโดยพิสดารก็ตาม เสียงไม่ก้องกังวานดุจนกสาลิกา แต่ก็แสดงอย่างมีปฏิภาณ ดังนี้.
เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นแล เกิดอุตสาหะรับพระพุทธดํารัส. อธิบายว่า รับเอา คือถือเอาพระดํารัสของพระศาสดาว่า อย่างนั้นพระองค์ผู้เจริญ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 53
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ คือได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ คือที่จะต้องกล่าวต่อไปนี้ มีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า อิธ ในคําว่า อิธ ภิกฺขเว นั้น เป็นนิบาต ใช้ในการอ้างสถานที่.ในที่บางแห่งพระองค์ตรัสหมายเอา โลก. สมดังพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า พระตถาคตย่อมเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้. ในที่บางแห่งท่านกล่าวหมายเอา ศาสนา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ (ที่ ๑) ในพระศาสนานี้แลมีอยู่ สมณะที่ ๒ ในพระศาสนานี้มีอยู่ ดังนี้. ในที่บางแห่ง ท่านกล่าวหมายเอา โอกาส ดังท่านกล่าวไว้ว่า.
ดูก่อนเพื่อร่วมทุกข์ เมื่อเราเกิดเป็นเทวดาดํารงอยู่ในโอกาสนี้นั่นแล และเราได้อายุเพิ่มอีก ท่านจงทราบอย่างนี้ ดังนี้.
ในที่บางแห่ง ท่านกล่าวหมายเอาเพียงทําบทให้เต็มเท่านั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราตถาคตบริโภคเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว ดังนี้. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอา โลก ดังนี้.
บทว่า อิธ ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาอีก เพื่อทรงแสดงเทศนาตามที่ได้ทรงปฏิญาณไว้. แม้ด้วยบททั้ง ๒ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 54
ความหมายของปุถุชน
ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-ปุถุชน ชื่อว่า เญยยะ เพราะไม่มีอารม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มีอธิคม. อธิบายว่า ปุถุชนใด ชื่อว่า ไม่มีอาคมที่ขจัดความไม่รู้ เพราะไม่รู้เหตุที่เว้นจากการเรียน การสอบถาม และการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีอธิคมเพราะไม่ได้บรรลุธรรมที่จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ปุถุชนนั้นจึงชื่อว่าเญยยะ เพราะไม่มีอาคม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มีอธิคม.
ชนนี้นั้น ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้ชื่อว่า หนา (ปุถุ) เพราะหยั่งลงภายในกิเลสที่หนา.
จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีอาทิคือ ยังกิเลสเป็นต้น ที่หนามีประการต่างๆ ให้เกิด. สมดังพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ชนทั้งหลาย ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังกิเลสหนาให้เกิด, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกสักกายทิฏฐิเบียดเบียนมาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ต้องคอยมองดูศาสดาบ่อยๆ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังไม่หลุดพ้นไปจากคติทั้งปวงที่หนาแน่น,ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งเครื่องปรุงแต่งต่างๆ เป็นอันมาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกโอฆะต่างๆ เป็นอันมากพัดพาไป, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เราเดือดร้อนด้วยความเร่าร้อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 55
ต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า กําหนัด ติดใจ สยบ ลุ่มหลง ติดขัด ขัดข้อง พัวพัน ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก.ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกนิวรณ์ ๕ ร้อยรัดไว้ ปกคลุม ปิดบัง ครอบงําไว้เป็นอันมาก, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอยู่ในหมู่ชนผู้มีธรรมจริยาต่ํา ผู้หันหลังให้กับอริยธรรม จํานวนมาก คือนับไม่ถ้วน ซึ่งหันหลังให้อริยธรรม, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชนเพราะอรรถว่า ชนนี้ถึงการนับว่าแยกอยู่ต่างหาก คือ ไม่เกี่ยวข้องกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีล และสุตะเป็นต้น. ด้วย ๒ บทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ ดังกล่าวมานี้
ในบรรดาปุถุชน ๒ จําพวกที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ได้ตรัสไว้ คือ อันธปุถุชนพวกหนึ่ง กัลยาณปุถุชนพวกหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงอันธปุถุชน.
อริยะ - สัตบุรุษ
คําว่า อริยะ ในคําเป็นต้นว่า อริยานํ อทสฺสาวี ท่านกล่าวหมายเอา พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส ไม่ดําเนินไปในทางเสื่อม ดําเนินไปในทางเจริญและอันชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก พึงดําเนินตาม.
อีกอย่างหนึ่ง พระอริยะในที่นี้ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง. สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตท่านเรียกว่าอริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 56
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระตถาคตเจ้า พึงทราบว่า สัตบุรุษ ในคําว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า โสภณบุรุษ เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็นโลกุตตระ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัตบุรุษ. อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ท่านกล่าวแยกออกเป็น ๒ พวก. จริงอยู่พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกก็ดี เป็นทั้งพระอริยะและสัตบุรุษ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บุคคลใดแล เป็นนักปราชญ์ ผู้กตัญูกตเวที เป็นกัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทําการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยความเต็มใจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้เช่นนั้นว่า สัตบุรุษ ดังนี้.
จริงอยู่ ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระพุทธสาวก, ด้วยคําว่า กตฺุตาเป็นต้น ท่านกล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้า ดังนี้แล.
บัดนี้ ท่านผู้ใด มีปกติไม่เห็นพระอริยเหล่านั้น และไม่ยินดีในการเห็น ผู้นั้น พึงทราบว่า มีปกติไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ดังนี้.และการเห็นนั้นแยกออกเป็น ๒ คือ ไม่เห็นด้วยตา ๑ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑.ใน ๒ อย่างนั้น การไม่เห็นด้วยญาณ ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายถึงบุคคลจะเห็นด้วยมังสจักษุ หรือทิพยจักษุ ก็ยังไม่ชื่อว่าได้เห็น เพราะจักษุเหล่านั้นรับเอาเพียงอุปาทายรูป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 57
ไม่ใช่ยึดเอาความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ อนึ่ง แม้สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ แต่ว่า สุนัขบ้านเป็นต้นเหล่านั้นจะชื่อว่าได้เห็นพระอริยะทั้งหลายหามิได้. ในข้อนี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์
อยู่กับพระอริยะ แต่ไม่รู้จักพระอริยะ
ดังได้สดับมา อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ในจิตตลดาบรรพต บวชเมื่อแก่ อยู่มาวันหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระ รับเอาบาตรจีวรของพระเถระเดินตามหลังมา ถามพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุคคลเช่นไรชื่อว่า พระอริยะ พระเถระตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนแก่ รับเอาบาตรและจีวรของพระเถระ ทําวัตรปฏิบัติแม้เที่ยวไปกับพระอริยะ ก็ย่อมไม่รู้จักพระอริยะ โยม พระอริยะทั้งหลาย รู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. เมื่อพระเถระแม้พูดอย่างนี้ อุปัฏฐากนั้น ก็ยังหารู้ไม่.
เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุ ไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้น ชื่อว่าเห็น. สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิประโยชน์อะไรด้วยกายอันเปือยเน่านี้ อันเธอเห็นแล้ว, ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นพระธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต ดังนี้.
เพราะฉะนั้น บุคคลแม้เห็นอยู่ (ซึ่งพระอริยะ) ด้วยจักษุ แต่ไม่เห็นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วด้วยญาณและไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว พึงทราบว่า ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะธรรมที่ทําให้เป็นพระอริยะ และความเป็นพระอริยะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 58
อันบุคคลนั้นยังไม่เห็น ดังนี้.
สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันแยกออกเป็นสติปัฏฐาน เป็นต้น.
ก็ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละประเภท มี ๕ เพราะความไม่มีวินัยทั้ง ๒ นั้น อันนี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคําว่า อริยธมฺเม อวินีโตนี้.
วินัย ๒ อย่าง
จริงอยู่วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. และวินัยแต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕. จริงอยู่ แม้สังวรวินัยมี ๕ คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร และวิริยสังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิลสรณปหาน.
สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์สังวรนี้ นี้เรียกว่า สีลสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือ ถึงการสํารวมในจักขุนทรีย์ นี้เรียกว่า สติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแส (ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 59
เครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบุคคลย่อมละด้วยปัญญา.
นี้เรียกว่า ญาณสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมอดทนต่อหนาวและร้อน นี้เรียกว่า ขันติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมหยุดกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ นี้เรียกว่า วิริยสังวร.
อนึ่ง สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่องระวังกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องระวังตามหน้าที่ของตน และเรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องขจัดกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน. สังวรวินัยพึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ดังอธิบายมานี้ก่อน.
ปหานะ ๕
อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกําจัดความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ ละสักกายทิฏฐิ ด้วยการกําหนดนามรูป, ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกําหนดปัจจัย, ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็นส่วนภายหลัง แห่งการกําหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละความยึดถือว่าเราของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ (กลุ่ม, กอง) , ละสัญญาในธรรมที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกําหนดมรรคและอมรรค, ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น, ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 60
ความเสื่อม, ละความสําคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณาเห็นภัย, และความสําคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ,ละอภิรติสัญญา (ความสําคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา,ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้นด้วยญาณคือความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป,ละการไม่เพ่งด้วยอุเบกขาญาณ, ละปฏิโลมในธรรมฐิติ และในพระนิพพานด้วยอนุโลม, ละความยึดนิมิตในสังขารด้วยโคตรภู อันนี้ ชื่อว่าตทังคปหานะ.
อนึ่ง การละนีวรณธรรม เป็นต้น นั้นๆ ด้วยสมาธิแยกออกเป็นอุปจารสมาธิ เพราะห้ามความเป็นไป (แห่งนีวรณ์) ดุจการแหวกสาหร่ายบนผิวน้ำ โดยใช้หม้อแหวกฉะนั้น อันนี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ.
ส่วนการละกองกิเลสในสันดานของตน อันนับเนื่องในสมุทัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายโดยที่กองกิเลสนั้นกลับเป็นไปไม่ได้อีกอย่างเด็ดขาด แห่งพระโยคาวจรผู้ชื่อว่า มีมรรคนั้น เพราะเหตุที่เจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว อันนี้ชื่อว่าสมุจเฉทปหานะ.
อนึ่ง ข้อที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผล อันนี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหานะ. พระนิพพานที่ชื่อว่าละเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงได้เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงแล้ว อันนี้ ชื่อว่า นิสสรณปหานะ.
อนึ่ง เพราะเหตุที่การละทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ปหานะ โดยอรรถว่าสละ ชื่อว่า วินัย โดยอรรถว่ากําจัด ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย.อีกอย่างหนึ่ง เพราะการละกิเลสนั้นด้วย เพราะทําให้เกิดมีการกําจัด (กิเลส) นั้นๆ ด้วย การละทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า ปหานวินัย. แม้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 61
ปหานวินัย พึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ประการ ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยย่อมี ๒ และโดยแยกแยะมี ๑๐ ดังพรรณนามาฉะนี้เพราะเหตุที่ปุถุชนผู้มิได้สดับนั้น ไม่มีวินัยทั้ง ๒ อย่างนั้น ฉะนั้น ปุถุชนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อวินีตะ (ผู้ไม่มีวินัย) เพราะขาดสังวร และเพราะยังละปหาตัพพธรรมไม่ได้.
ในข้อว่า สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี (ไม่เห็นสัตบุรุษ) สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ) สปฺปุริสธมฺเมอวินีโต (ไม่ถูกแนะนําในธรรมของสัตบุรุษ) นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็ข้อนี้ โดยความหมายไม่แตกต่างกันเลย สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่าพระอริยะก็คือสัตบุรุษ สัตบุรุษก็คือพระอริยะ ธรรมของพระอริยะก็คือธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษก็คือธรรมของพระอริยะ วินัยของพระอริยะก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษก็คือวินัยของพระอริยะ ศัพท์ว่า อริเย หรือ สปฺปุริเส ก็ดี อริยธมฺเม หรือสปฺปุริสธมฺเม ก็ดี อริยวินเย หรือ สปฺปุริสวินเย ก็ดี (ทั้งหมด) นั้นเป็นอันเดียวกัน มีเนื้อความอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีค่าเท่ากัน กําเนิดเดียวกันทั้งนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงสัพพธัมมมูลปริยายสูตร แก่พวกเธอ แต่ไม่ทรงแสดงสูตรนั้น กลับทรงชี้แสดงถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้.ตอบว่า เพื่อจะทําให้แจ้งซึ่งเนื้อความนั้น โดยธรรมเทศนาอันเป็นบุคคลาธิษฐาน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 62
เทศนา ๔
จริงอยู่ การเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันดับแรกมี ๔ ประการ ด้วยอํานาจธรรมและบุคคลนั่นแล คือธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) และพระธรรมเทศนา ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน).
บรรดาเทศนา ๔ ประการนั้น เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้, เวทนา ๓ อะไรบ้าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้แล พึงทราบว่า ชื่อว่าธรรมเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.
เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ ๖ มีผัสสายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ มีอธิษฐานธรรม ๔ พึงทราบว่าชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.
เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษบุคคล ๓ พวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก ๓ จําพวกเหล่าไหนบ้าง? คือบอด, มีจักษุข้างเดียว และจักษุ ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลบอดเป็นไฉน? พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.
เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยในทุคติเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า กายทุจริตแลมีวิบากอันลามก อภิสัมปรายภพ ฯลฯ ย่อมบริหารตนอันสะอาด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภัยในทุคติ พึงทราบว่า ชื่อว่าธรรมเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 63
พึงทราบอรรถาธิบายว่า ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น เพื่อจะทรงแสดงปุถุชน ขยายเนื้อความแห่งเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐานให้ชัดจึงทรงแสดงชี้ถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้มิได้สดับ มิได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุที่ปุถุชนมิได้กําหนดรู้ขันธ์ และความสําคัญที่เป็นมูลรากของธรรมทั้งปวงที่ทรงประสงค์เอาในที่นี้ ก็มีความไม่กําหนดรู้เป็นมูลราก.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงความสําคัญในวัตถุทั้งหลาย มีปฐวี (แผ่นดิน) เป็นต้นอันให้เกิดธรรมที่นับเนื่องในสักกายทิฏฐิทั้งหมดของปุถุชนนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ปวึ ปวิโต ดังนี้.
ปฐวี ๔ อย่าง
ในคําว่า ปวึ ปวิโตนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ปฐวีมี ๔ อย่าง คือ ลักขณปฐวี ๑ สสัมภารปฐวี ๑ อารัมมณปฐวี ๑ และสัมมติปฐวี ๑.
ในปฐวี ๔ อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่ท่านกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน? ได้แก่สิ่งที่แข้นแข็ง (เป็นลักษณะ) เฉพาะตนอยู่ในตัวมันเอง ชื่อว่า ลักขณปฐวี.
ปฐวีธาตุที่ท่านกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุขุดเองก็ดี ให้คนอื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน ดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี.
อนึ่ง ปฐวีธาตุ คือ โกฏกาสะ (ส่วน) ๒๐ มีผม เป็นต้น และวัตถุภายนอกมีเหล็กและโลหะ เป็นตัน พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสี เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 64
รวมเรียกว่า สสัมภารปฐวี.
ส่วนปฐวีธาตุ มาในประโยคเป็นต้นว่า คนหนึ่งรู้ชัดปฐวีกสิณเรียกว่า อารัมมณปฐวี. บางท่านเรียกว่า นิมิตตปฐวี.
ปฐวีธาตุที่ว่า บุคคลได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เกิดในเทวโลกย่อมได้นามว่า ปฐวีเทวดา ด้วยอํานาจปฐวีกสิณเป็นเหตุให้มา (เกิด) นี้ พึงทราบว่า สัมมติปฐวี.
ในอธิการนี้ ย่อมได้ปฐวีแม้ทั้งหมดนั้น. ปุถุชนนี้ย่อมหมายรู้ปฐวีอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาปฐวีเหล่านั้น โดยเป็นปฐวี ย่อมหมายรู้ว่าเป็นปฐวี ย่อมรู้โดยส่วนแห่งปฐวี ครั้นถือเอาตามโวหารโลกแล้ว ย่อมหมายเอาด้วยสัญญาวิปัลลาสว่า เป็นปฐวี เมื่อปล่อยวางส่วนแห่งปฐวีไม่ได้อย่างนี้แหละ ย่อมหมายรู้เอาส่วนแห่งปฐวีนั่นโดยนัยเป็นต้นว่า สัตว์ หรือว่าของสัตว์. เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ควรกล่าวไว้ว่า เอวํ สฺชานาติ. เพราะว่าปุถุชน เป็นเหมือนคนบ้า. เขาย่อมยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง เหตุอันต่างด้วยความเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละจักเป็นตัวการในการกําหนดหมายนี้ ซึ่งพระผู้มี-พระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสว่า อปริฺาตํ ตสฺส ข้างหน้าก็เป็นอันตรัสไว้แล้ว.
บทว่า ปวึ ปวิโต สฺตฺวา ความว่า ปุถุชนนั้นกําหนดหมายแผ่นดินนั้นด้วยสัญญาที่วิปริตอย่างนี้แล้ว ต่อมาย่อมสําคัญ คือกําหนดให้ต่างออกไป ได้แก่ยึดถือโดยประการต่างๆ คือโดยประการอื่นด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่มีกําลัง ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 65
ท่านกล่าวไว้ด้วยนาม (รวม) ว่ามัญญนาในที่นี้ ตามพระบาลีว่า ก็ส่วนแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า มีสัญญาเป็นต้นเหตุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปวึ มฺติ ดังนี้.
ก็เพื่อจะทรงแสดงความสําคัญเหล่านั้นของเขาผู้สําคัญอยู่เช่นนี้โดยนัยอันพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปฐวีในภายใน ๒๐ ประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า เกสา โลมา ตรัสปฐวีในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า บรรดาปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายนอกเป็นไฉน? คือวัตถุภายนอกที่แข้นแข็งหยาบกระด้าง ไม่มีใจครอง เช่นเหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดํา แร่เงิน มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลาแก้วประพาฬ เงินตรา ทองรูปพรรณ แก้วแดง (ทับทิม) เพชรตาแมว หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด ทราย กระเบื้อง แผ่นดิน หิน ภูเขา, และตรัสนิมิตแผ่นดิน ในวัตถุอารมณ์ภายใน ท่านหมายเอาปฐวีนั้นๆ กล่าวการประกอบความนี้ไว้.
บทว่า ปวึ มฺติ ความว่า ปุถุชน ย่อมสําคัญว่า เราเป็นดิน ว่า ดินเป็นของเรา ว่า คนอื่นเป็นดิน ว่า ดินของคนอื่น ดังนี้ด้วยความสําคัญ ๓ อย่าง.
อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสําคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความสําคัญ ด้วยอํานาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
สําคัญอย่างไร?
จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดในผม เป็นต้น คือยินดีเพลิดเพลิน พร่ําเพ้อ หลงใหล ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็หรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง, ปุถุชนย่อมสําคัญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 66
ปฐวีภายในด้วยความสําคัญอันเกิดจากอํานาจแห่งตัณหาอย่างนี้.
ก็หรือว่า เกิดความทะยานอยากในผมเป็นต้นนั้น โดยนัยเป็นต้นว่าผมของเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป ขอขนของเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป ก็หรือว่า ตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้น ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์ อันนี้ เราจักมีผมดําสนิทอ่อนนุ่ม ดังนี้. ปุถุชนย่อมสําคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความสําคัญด้วยอํานาจตัณหาแม้ดังอธิบายมานี้.
อนึ่ง ปุถุชน อาศัยสมบัติ (ความถึงพร้อม) หรือวิบัติของผมเป็นต้นแห่งตน แล้วยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เราดีกว่า เราเสมอกัน หรือว่าเราเลวกว่า ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า สําคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายในด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจมานะ. อนึ่ง ย่อมยึดมั่นผมว่าเป็นชีวะ โดยนัยที่มาแล้วว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้. (แม้) ในขนเป็นต้นก็นัยนี้. ปุถุชนย่อมสําคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายในด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจทิฏฐิดังกล่าวมา.
อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนย่อมยึดมั่นซึ่งปฐวี อันต่างด้วยผมเป็นต้นโดยนัยอันเป็นข้าศึกต่อพฤติกรรมนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ปฐวีธาตุภายในอันใดแล และปฐวีธาตุภายนอกอันใด ก็ปฐวีธาตุ (ทั้ง ๒) นั้นชื่อว่าปฐวีธาตุเหมือนกัน อันนี้นั่นไม่ใช่ของเราว่า ของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ชื่อว่าย่อมสําคัญปฐวีภายในด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจทิฏฐิแม้อย่างนี้. ปุถุชนย่อมสําคัญปฐวีภายในด้วยความสําคัญ ๓ อย่าง ดังพรรณนามานี้ก่อน. พึงทราบว่า ย่อมสําคัญปฐวีภายนอกเหมือนอย่างปฐวีภายใน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 67
อย่างไร? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดขึ้นในเหล็กและโลหะเป็นต้น เพลิดเพลิน พร่ําเพ้อ หลงใหล เหล็กและโลหะเป็นต้น ย่อมหวงแหนรักษา คุ้มครอง เหล็กเป็นต้นไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เหล็กของเรา โลหะของเรา ชื่อว่า ย่อมสําคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสําคัญด้วยอํานาจตัณหา ด้วยประการฉะนี้. ก็หรือว่าปุถุชนย่อมทะยานอยากในปฐวีภายนอกนี้ว่า ขอเหล็กและโลหะเป็นต้นของเรา พึงมีอยู่ อย่างนี้ตลอดไปหรือตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นผู้มีอุกปกรณ์ มีเหล็ก และโลหะเป็นต้น ที่ถึงพร้อมแล้ว อย่างนี้.ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสําคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ปุถุชนอาศัยสมบัติหรือวิบัติ แห่งเหล็กและโลหะเป็นต้นของตนแล้ว เกิดมานะขึ้นว่า ด้วยอุปกรณ์นี้ เราจึงดีกว่าเขา เสมอเขาหรือเลวกว่าเขา ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสําคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจมานะอย่างนี้.
ก็ปุถุชนเป็นผู้มีความสําคัญในเหล็กว่าชีวะ ย่อมยึดมั่นว่านี้เป็นชีวะ.นัยในโลหะเป็นต้นก็มีนัยนี้. ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสําคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดยเป็นอัตตา คือว่า ย่อมยึดมั่นนิมิตปฐวีว่า อัตตา โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทานั่นแลว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นเนื้อความทั้ง ๒ คือ ปฐวีกสิณ และองคาพยพว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 68
เราอันใด ปฐวีกสิณก่อนนั้น ดังนี้ ชื่อว่าย่อมสําคัญปฐวีภายนอกด้วยความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
ปุถุชนย่อมสําคัญปฐวีแม้ภายนอก ด้วยความสําคัญ ๓ อย่างดังอธิบายมานี้.
ในคําว่า ปวึ มฺติ นี้ พึงทราบความสําคัญหมายทั้ง ๓ ดังพรรณนามานี้ก่อน. ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจักกล่าวแต่โดยย่อเท่านั้น. คําว่า ปวิยา นี้ ในคําว่า ปวิยา มฺติ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้นในคํานี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ปุถุชนย่อมสําคัญว่า เรามีอยู่ในปฐวี, ย่อมสําคัญว่า ความกังวลผูกพันของเรามีอยู่ในปฐวี ย่อมสําคัญว่า บุคคลอื่นมีอยู่ในปฐวี ย่อมสําคัญว่า ความกังวลผูกพันของบุคคลอื่นในปฐวีมีอยู่ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง นัยแห่งเนื้อความของสัตตมีวิภัตตินั้น ที่ใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างไร? คือปุถุชนบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตา เขาย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ว่า ก็นี้แหละเป็นอัตตาของเรา อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ โดยนัยนั้นนั่นแล ปุถุชนจึงถือเอาเวทนาธรรมเป็นต้น ต่อแต่นี้ก็กําหนดเอาปฐวีชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาปฐวีทั้งภายในและภายนอก โดยความเป็นโอกาสแห่งอัตตานั้น สําคัญอยู่ว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในปฐวีนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสําคัญในปฐวี. นี้ชื่อว่า ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนี้.
ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาในอัตตา และมานะ อันมีอัตตา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 69
เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นในรูปนั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาและมานะ.
แต่ในกาลใด ปุถุชนย่อมสําคัญโดยนัยนั้นนั่นแลว่า ก็อัตตาของคนอื่นนั้นนั่นแล มีอยู่ในปฐวี ในกาลนั้น ความสําคัญอันเกิดมาจากอํานาจแห่งทิฏฐินั่นแล ย่อมถูก. ส่วนความสําคัญแม้นอกจากนี้ ท่านก็ปรารถนา (เอาเหมือนกัน).
ก็คําว่า ปวิโต ในคําว่า ปวิโต มฺติ เป็นปัญจมีวิภัตติ.
เพราะฉะนั้น ปุถุชน เมื่อสําคัญการเกิดขึ้น หรือการจากไปจากปฐวีมีประเภทตามที่กล่าวแล้วแห่งตนหรือแห่งบุคคลอื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคาร หรือสําคัญว่า อัตตาอื่นจากปฐวี พึงทราบว่า ชื่อว่าสําคัญจากปฐวี. นี้เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดในวัตถุ ที่สําคัญกัน ด้วยความสําคัญด้วยอํานาจทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสําคัญด้วยอํานาจตัณหาและมานะ อาจารย์พวกอื่นกล่าวไว้ว่าปุถุชนเจริญปฐวีกสิณ อันเป็นปริตตารมณ์ และต่อจากนั้น ยึดเอาอัตตาอันไม่มีประมาณอื่นแล้วสําคัญอยู่ว่า อัตตาของเรา (มี) แม้ในภายนอกจากปฐวี ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสําคัญจากปฐวี ก็ความสําคัญอันหนึ่งที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ปุถุชนย่อมยึดถือมหาปฐวีอย่างเดียว.
ก็ในคํานี้ว่า ปวึ เมติ มฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ก็ความสําคัญที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ย่อมหวงแหนมหาปฐวีด้วยอํานาจตัณหาถ่ายเดียว พึงทราบว่า ได้แก่ความสําคัญด้วยอํานาจตัณหาอย่างหนึ่งเหมือนกัน. ก็ความสําคัญด้วยอํานาจตัณหานี้นั้น ควรประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 70
เข้าในปฐวีทั้งภายในและภายนอกแม้ทั้งหมด มีประเภทตามที่กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า ผมของเรา ขนของเรา เหล็กของเรา ดังนี้.
บทว่า ปวึ อภินนฺทติ ความว่า ปุถุชน ย่อมเพลิดเพลินอธิบายว่า ยินดี ติดใจปฐวี มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วยกิเลสมีตัณหา เป็นต้น.
หากมีคําถามว่า เมื่อใจความนี้สําเร็จแล้ว ด้วย ๒ บทนี้นั่นแลว่า ปวึ มฺติ เพราะเหตุไรจึงกล่าวไว้อย่างนี้. ตอบว่า คํานั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายไม่ได้เก็บมาวิจารณ์ ก็มตินี้เป็นส่วนตัวของเรา จากลีลาการแสดง หรือจากการเห็นโทษเพราะท่านถึงพร้อมด้วยสีลาแห่งการแสดงอันวิจิตรด้วยนัยต่างๆ เพราะแทงตลอดธรรมธาตุอันใด ธรรมธาตุอันนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแทงตลอดด้วยดีแล้ว เพราะฉะนั้นท่านครั้นแสดงความเกิดขึ้นแห่งกิเลส ด้วยอํานาจความสําคัญในเบื้องต้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยอํานาจความยินดี เป็นต้น จึงกล่าวคํานี้ไว้เพราะลีลาแห่งการแสดงบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนใดสําคัญปฐวี สําคัญในปฐวี สําคัญจากปฐวี สําคัญว่า ปฐวีของเรา ปุถุชนนี้ เพราะเหตุที่ตนไม่อาจจะละตัณหา หรือทิฏฐิที่อาศัยปฐวีได้ ฉะนั้น จึงยินดีปฐวีโดยส่วนเดียว.อนึ่ง ปุถุชนใด ยินดีปฐวี ปุถุชนนั้น ย่อมยินดีทุกข์ และทุกข์เป็นโทษ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคํานี้ไว้ แม้เพราะการเห็นโทษ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดํารัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า ผู้ใด ยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์ ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความสําคัญและความยินดี อันมีปฐวีเป็นที่ตั้งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงนําเหตุที่เป็นเหตุสําคัญ และยินดีของปุถุชนนั้น จึงตรัสว่า เรากล่าวว่า ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร,ความไม่รู้รอบ เป็นเหตุแห่งข้อนั้น ดังนี้.
ข้อนั้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ถ้าว่ามีคําถามสอดเข้ามาว่า ปุถุชนนั้น ย่อมสําคัญปฐวีนั้น เพราะเหตุอะไร คือว่า เพราะเหตุไร จึงสําคัญยินดีปฐวีนั้น ดังนี้ไซร้. ตอบว่า (เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) เราตถาคตกล่าวว่า ข้อนั้นอันปุถุชนนั้นมิได้กําหนดรู้แล้ว มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ข้อนั้น อันปุถุชนนั้นมิได้กําหนดรู้แล้ว จริงอยู่ปุถุชนใด ย่อมกําหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกําหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา.
ในปริญญา ๓ อย่างนั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน? คือปุถุชนย่อมรู้ปฐวีธาตุว่า ปฐวีธาตุนี้ เป็นไปในภายใน ปฐวีธาตุนี้เป็นไปในภายนอก นี้เป็นลักษณะของปฐวีธาตุนั้น เหล่านี้เป็นกิจ เป็นปัจจุปัฏฐาน และเป็นปทัฏฐานของปฐวีธาตุนั้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่าญาตปริญญา.
ตีรณปริญญาเป็นไฉน? คือปุถุชนพิจารณาปฐวีธาตุ กระทําให้เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วอย่างนี้ ด้วยอาการ ๔๐ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นต้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน? คือบุคคลพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละฉันทราคะในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตมรรค ดังกล่าวมานี้ เรียกว่าปหานปริญญา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 72
อีกอย่างหนึ่ง การกําหนดนามและรูป ชื่อว่า ญาตปริญญา. การกําหนดรู้มีการพิจารณากลาปะ เป็นเบื้องต้น และอนุโลมญาณ เป็นที่สุดชื่อว่า ตีรณปริญญา. ญาณในอริยมรรค ชื่อว่า ปหานปริญญา.
ปุถุชนใด ย่อมกําหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกําหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้. ก็ปริญญาเหล่านั้น ไม่มีแก่ปุถุชนนั้น เพราะฉะนั้น ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสําคัญ ย่อมยินดีปฐวี เพราะไม่กําหนดรู้ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ฯลฯ ย่อมสําคัญปฐวี ย่อมสําคัญในปฐวี ย่อมสําคัญจากปฐวี ย่อมสําคัญว่า ปฐวีของเรา ชื่อว่า ย่อมยินดีปฐวี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เราตถาคตกล่าวว่า (เพราะ) ข้อนั้นอันปุถุชนนั้นมิได้กําหนดรู้แล้ว.
จบ - ปฐวีวาร
แม้ในข้อนี้ว่า อาปํ อาปโต พึงทราบอาโป ๔ อย่างคือลักษณอาโป สสัมภารอาโป อารัมมณอาโป และสมมติอาโป. บรรดาอาโป ๔ อย่างนั้น อาโปที่กล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า บรรดาอาโปธาตุ ๒ อย่างเหล่านั้น อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นไฉน? ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบ เชื่อมประสาน (เป็นลักษณะ) เฉพาะตนอยู่ภายในตัวเอง คืออาโปธาตุที่มีใจครองในภายใจรูป ชื่อว่า ลักษณอาโป.อาโปกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลเรียนเอาอาโปกสิณ ย่อมถือเอา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 73
นิมิตในอาโป ดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารอาโป. คําที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกับที่ท่านกล่าวไว้ในปฐวี (แผ่นดิน) นั้นแล แต่เมื่อว่าโดยนัยแห่งการประกอบความล้วนๆ อาโปธาตุที่เป็นไปในภายใน ๑๒ อย่างที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า ดี เสมหะ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า อาโปธาตุภายใน และอาโปธาตุที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาอาโปธาตุ ๒ อย่าง อาโปธาตุที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน? คือสิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบเชื่อมประสาน อยู่ภายนอก ได้แก่ความเอิบอาบสิ่งที่ถึงความเอิบอาบ อาโปธาตุที่ไม่มีใจครองภายนอกรูป คือรสเกิดจากรากเหง้า รสเกิดจากลําต้น รสเกิดจากเปลือก รสเกิดจากใบ รสเกิดจากดอก รสเกิดจากผล นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่แผ่นดินหรือน้ำในอากาศ พึงทราบว่า อาโปธาตุภายนอก และอาโปนั้น ชื่อว่านิมิตอาโปในหมวด ๓ แห่งอัชฌัตตารมณ์.
ในบทว่า เตชํ เตชโต นี้ พึงทราบความพิสดาร โดยนัยที่กล่าวแล้ว แม้ในวาระแห่งเตโชนั่นแล. แต่ในข้อนี้ เมื่อว่าโดยนัยแห่งการขยายความ เตโชธาตุ ๔ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เตโชธาตุที่เป็นเหตุให้ร่างกายอบอุ่น ทรุดโทรม กระวนกระวาย และที่เป็นเหตุเผาอาหารให้ย่อย พึงทราบว่า เตโชธาตุภายใน และเตโชธาตุที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน? คือสิ่งที่ร้อน อบอุ่นในภายนอก คือเตโชธาตุที่ไม่มีใจครองในภายนอก ได้แก่ไฟเกิดจากไม้ ไฟเกิดจากสะเก็ดไม้ ไฟเกิดจากหญ้า ไฟเกิดจากขี้วัว ไฟเกิดจากแกลบ ไฟเกิดจากกองขยะ ไฟเกิดจากเชื้อ ความร้อนเกิดจากไฟ ความร้อนเกิดจากแสงพระอาทิตย์ ความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 74
ร้อนเกิดจากการทับถมแห่งท่อนไม้ ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งหญ้า ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งข้าวเปลือก ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งสิ่งของ ดังนี้ พึงทราบว่า เตโชธาตุภายนอก.
ก็ในนัยแห่งการอธิบายความแม้แห่งวาระนี้ว่า วายํ วายโต มีอธิบายดังต่อไปนี้ วาโยธาตุ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ํา ลมในท้อง ลมในลําไส้ ลมที่แผ่ไปซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมมีพิษดุจศาสตรา ลมมีพิษดุจคมมีด ลมมีพิษดุจก้านบัว ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า พึงทราบว่า วาโยธาตุภายในและลมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุในภายนอกเป็นไฉน? คือสิ่งที่กระพือพัดเคลื่อนไหวในภายนอก ได้แก่วาโยธาตุภายนอกของรูปไม่มีใจครอง คือลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้ ลมฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อนลมแรง ลมหัวด้วน ลมที่เกิดจากนกบิน ลมที่เกิดจากครุฑบิน ลมงวง ลมเกิดจากการพัดวี พึงทราบว่า วาโยธาตุภายนอก. คําที่เหลือ มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
หารนัยที่ชื่อว่าลักษณะ นี้ใด (ที่มีมา) ในเนตติปกรณ์อย่างนี้ว่า เมื่อกล่าวถึงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว ด้วยธรรมอย่างหนึ่งนั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงธรรมทุกอย่าง ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันด้วย ลักษณะหารนัยท่านกล่าวไว้อย่างนี้ดังนี้ เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ด้วยอํานาจแห่งหารนัยนั้น เพราะเหตุที่เมื่อถือเอามหาภูตรูปทั้ง ๔ ก็ย่อมเป็นอันถือเอาอุปาทายรูปไว้ด้วย เพราะอุปาทายรูปไม่ล่วงพ้นลักษณะรูปไปได้ มหาภูตรูป และอุปาทายรูปอันใด อันนั้นเป็นรูปขันธ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75
ฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมสําคัญปฐวี อาโป เตโช วาโย ก็ย่อมเป็นอันตรัสว่า เขาย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นอัตตาด้วย.
เมื่อตรัสว่า ปุถุชนย่อมสําคัญในปฐวี อาโป เตโช วาโย ย่อมเป็นอันตรัสว่า ย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดังนี้. เมื่อตรัสว่า ย่อมสําคัญจากปฐวี อาโป เตโช วาโย ย่อมเป็นอันตรัสว่า ย่อมพิจารณาเห็นอัตตา อันมีรูป และรูปในอัตตา เพราะสําเร็จความว่า อัตตาเป็นอื่นจากรูป ดังนี้.
พึงทราบความสําคัญด้วยอํานาจแห่งสักกายทิฏฐิ อันมีรูปเป็นที่ตั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ดังกล่าวมานี้.
ในข้อนี้พึงทราบความแตกต่างกันแม้นี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๔ ประการนั้น เป็นอุจเฉททิฏฐิ ๑ เป็นสัสสตทิฏฐิ ๓ ดังนั้น ทิฏฐิจึงมี ๒ อย่าง.พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสความสําคัญซึ่งมีสังขารเป็นที่ตั้ง โดยมีรูปเป็นประธานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกบัญญัติขึ้น เพราะอาศัยสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุที่ปุถุชนกระทําความสําคัญแม้ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ฉะนั้น เมื่อชี้แสดงสัตว์เหล่านั้นอยู่ จึงตรัสคํามีอาทิว่า ชื่อว่าย่อมสําคัญภูตทั้งหลายโดยความเป็นภูต ดังนี้.
ความหมายของ ภูต ศัพท์
ในข้อนั้น ภูตศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นต้นว่า ขันธ์ ๕, อมนุษย์, ธาตุ, มีอยู่, พระขีณาสพ, สัตว์ และต้นไม้.
จริงอยู่ ภูตศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ขันธ์ ๕ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูว่า นี้เป็นภูต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76
ใช้ในอรรคว่า อมนุษย์ ดังในประโยคนี้ว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใดมาประชุมพร้อมกัน แล้วในที่นี้ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ธาตุ ๔ ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุ ... ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า มีอยู่ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เป็นปาจิตตีย์ในเพราะภูต ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า พระขีณาสพ ดังในประโยคนี้ว่า ก็ภูตใดเป็นผู้กินกาละ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า สัตว์ ดังในประโยคนี้ว่า ภูตทั้งหลายทั้งปวงแลจักทิ้งร่างกายไว้ในโลก ดังนี้.
ใช้ในอรรถเป็นต้นว่า ต้นไม้ ในประโยคนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย (พรากภูตคาม) ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ภูตศัพท์นี้ ย่อมใช้ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แล ภูตศัพท์จะเป็นไปโดยไม่แตกต่างกันเลยก็หามิได้ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ต่ํากว่าชั้นจาตุมมหาราช ท่านประสงค์เอาว่า ภูต ในที่นี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูเต ภูตโต สฺชานาติ เป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ความสําคัญด้วยอํานาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ก็ในคําเป็นต้นว่า ภูเต มฺติ พึงประกอบความสําคัญแม้ ๓ อย่าง.
อย่างไร? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ยึดเอาภูตทั้งหลายว่า งาม มีความสุข
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77
โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วว่า เขาเห็น คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ดังนี้ ย่อมกําหนัด คือย่อมกําหนัดภูตเหล่านั้นแม้เพราะเห็น และย่อมกําหนัดแม้เพราะได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ถูกต้อง และได้ทราบ ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหา ดังพรรณนามาฉะนี้.
ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้นว่า ทําไฉนหนอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งขัตติยมหาศาลทั้งหลาย. ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.
แต่เพราะอาศัยสมบัติและวิบัติของตนและของภูตทั้งหลาย ปุถุชนย่อมถือตัวว่าดีกว่าเขา ปุถุชนย่อมสําคัญภูตชนิดใดชนิดหนึ่งในภูตทั้งหลายว่าเลวกว่าตน หรือย่อมสําคัญตนว่าเลวกว่าภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อมสําคัญภูตชนิดใดชนิดหนึ่งว่าดีกว่าตน (หรือย่อมสําคัญตนว่าดีกว่าภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง) ย่อมสําคัญตนว่าเสมอกันกับภูต หรือย่อมสําคัญภูตว่าเสมอกันกับตน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อก่อนถือว่าตนเสมอกันกับคนอื่น โดยชาติ ฯลฯ หรือโดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ครั้นต่อมากลับสําคัญตนว่าดีกว่าเขา กลับสําคัญคนอื่นว่าเลวกว่าตน มานะเห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า มานาติมานะ. ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งมานะ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ปุถุชนสําคัญอยู่ว่า ก็ภูตทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน แน่นอน มีธรรมดาไม่แปรปรวน หรือว่า สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ไม่มีอํานาจ ไม่มีกําลัง ไม่มีความเพียร ผู้น้อมไปสู่ภาวะการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78
ประสบโชคร้าย โชคดี ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ ๖ ชาตินั้นแล ชื่อว่าย่อมสําคัญด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ.
ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญ ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายอย่างไร? คือ หวังความเกิดขึ้นแห่งตน หรือการเกิดความสุขแก่ตนในภูตทั้งหลายเหล่านั้นๆ ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาดังพรรณนามานี้ก่อน. หรือเมื่อความหวังความเกิดขึ้นในภูตทั้งหลาย จึงให้ทานสมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม, ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.
ก็ปุถุชนยึดเอาภูตทั้งหลายโดยการถือเอารวมกัน ย่อมสําคัญภูตทั้งหลายบางพวกในบรรดาภูตเหล่านั้นว่าดีกว่า หรือว่าสําคัญสัตว์บางพวกว่าเสมอกัน หรือเลวกว่า ปุถุชนย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งมานะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
อนึ่ง ปุถุชนย่อมสําคัญภูตบางพวกว่าเที่ยง ยั่งยืน ย่อมสําคัญภูตบางพวกว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หรือย่อมสําคัญว่า แม้เราย่อมเป็นภูตประเภทหนึ่งในบรรดาภูตทั้งหลาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสําคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้แล.
ก็ในคํานี้ว่า ภูตโต มฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ปุถุชนเมื่อสําคัญความเกิดขึ้นแห่งตน หรือบุคคลอื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคารจากภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง พึงทราบว่า ย่อมสําคัญจากภูตดังนี้. นี้เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น. ก็เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79
ปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สําคัญหมาย ด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาและมานะด้วย
ก็ในข้อว่า ภูเต เมติ มฺติ นี้ ย่อมได้ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาอันหนึ่งแล. ก็ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหานี้นั้น พึงทราบว่าย่อมเป็นไปโดยความยึดถือว่าเป็นของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา แพะและแกะของเรา ไก่และสุกรของเรา ช้าง โค กระต่ายและแมวมองเรา ดังนี้.
คําว่า ภูเต อภินนฺทติ มีนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้นั่นแล.
ก็ในข้อว่า อปริฺาตํ ตสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
การบัญญัติภูตทั้งหลาย เพราะอาศัยสังขารเหล่าใด เพราะไม่กําหนดรู้สังขารเหล่านั้น ภูตทั้งหลายพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันปุถุชนไม่กําหนดรู้ดังนี้. ส่วนการประกอบความ (ส่องความ) พึงทําไว้ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
เทพ ๓
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงที่ตั้งแห่งความสําคัญด้วยอํานาจแห่งสังขาร และด้วยอํานาจแห่งสัตว์โดยย่ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงที่ตั้งนั้นแม้โดยพิสดาร โดยประเภทเป็นต้นว่า ภูมิพิเศษ จึงตรัสคํามีอาทิว่า เทเว เทวโต ดังนี้.
ในคํานั้นมีรูปวิเคราะห์ดังนี้ ที่ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมเล่น อธิบายว่า สนุกสนาน และรุ่งเรืองด้วยกามคุณ ๕ หรือด้วยฤทธิ์ของตน. เทพเหล่านั้นมี ๓ จําพวก คือ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80
วิสุทธิเทพ. พระราชา พระมเหสี และพระราชกุมาร ชื่อว่า สมมติเทพ.เทพที่สูงกว่านั้น เริ่มตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราช ชื่อว่า อุปปัตติเทพ.พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าท่านประสงค์เอาอุปปัตติเทพ ก็อุปปัตติเทพเหล่านั้น จะเห็นว่าไม่แตกต่างกันก็หามิได้ คือเว้นมาร พร้อมบริษัท ในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเสีย เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้นที่เหลือ ท่านประสงค์เอาว่า เทพ ในที่นี้. การพรรณนาเนื้อความทั้งหมดในข้อนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในภูตวาระนั่นแล.
ท้าวปชาบดีคือพญามาร
ก็ในบทว่า ปชาปติ นี้ มาร พึงทราบว่า ปชาบดี. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คําว่า ปชาปติ นี้ เป็นชื่อของท้าวมหาราชเป็นต้น ผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาเหล่านั้นๆ. คํานั้นท่านปฏิเสธไว้ในมหาอรรถกถาว่าไม่ถูก เพราะว่า มหาราชเป็นต้นเหล่านั้น ท่านถือเอาด้วย เทว ศัพท์นั่นเอง ส่วนพญามารนั่นแล ท่านประสงค์เอาว่า ปชาบดี ในที่นี้โดยความเป็นใหญ่กว่า ปชา กล่าวคือหมู่สัตว์.
ถามว่า พญามารนั้น ย่อมอยู่ ณ ที่ไหน? ตอบว่า ย่อมอยู่ในเทวโลกชั้นปริมมิตวสวัตตี.
จริงอยู่ พญามารวสวัตตี ครองราชย์อยู่ในเทวโลกนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พญามารประทับครองความยิ่งใหญ่ในบริษัทของตน ณ ส่วนหนึ่ง (ของเทวโลกนั้น) ดุจราชโอรสของพระราชาผู้เรืองนามประทับอยู่ ณ ปลายแดนราชอาณาจักรฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ พึงทราบว่า ท่านจัดเอาบริษัทมารเข้าไว้ด้วย มาร ศัพท์นั่นเอง. ส่วนในข้อนี้ ในนัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81
แห่งการขยายความมีอธิบายดังนี้ ปุถุชนได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ซึ่งปชาบดีผู้มีผิวพรรณงาม มีอายุยืน มีความสุขมาก ย่อมใฝ่ฝันราชสมบัติด้วยอํานาจแห่งตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งใจไว้เพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้โดยนัยเป็นต้นว่า ทําไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งปชาบดี ชื่อว่าย่อมสําคัญปชาบดีด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหา.
แต่เมื่อปุถุชนถึงความเป็นปชาบดีแล้ว ยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เราย่อมเป็นใหญ่ เป็นอธิบดีกว่าปชาทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสําคัญปชาบดีด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งมานะ.
แต่เมื่อปุถุชนสําคัญอยู่ว่า ปชาบดี เที่ยง ยั่งยืน หรือขาดสูญพินาศหรือว่า ไม่มีอํานาจ ไม่มีกําลัง ไม่มีความเพียร น้อมไปสู่ความประสบโชคดี โชคร้าย ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ ๖ ชาตินั่นแล พึงทราบว่าชื่อว่า ย่อมสําคัญปชาบดีด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ.
แต่ในคําว่า ในปชาบดี นี้ ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิชนิดหนึ่งนั่นแล ย่อมถูก. พึงทราบความเป็นไปแห่งความสําคัญนั้น อย่างนี้.บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสําคัญว่า ธรรมเหล่าใด มีอยู่ในปชาบดี ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสําคัญว่า บาปย่อมไม่มีในปชาบดี กรรมอันลามกทั้งหลาย ย่อมหาไม่ได้ในปชาบดีนั้น.
ในคําว่า ปชาปติโต นี้ ย่อมได้ความสําคัญแม้ทั้ง ๓.
อย่างไร? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสําคัญข้อที่ตนหรือคนอื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคารเกิดขึ้น หรือจากไปจากปชาบดี นี้เรียกว่าความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82
ก็เมื่อบุคคลนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สําคัญด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาและมานะ.
ก็ในบทว่า ปชาปตึ เม นี้ ย่อมได้ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาชนิดหนึ่งนั่นแล. และความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหานี้นั้น พึงทราบว่า ย่อมเป็นไปแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า ของเรา โดยนัยเป็นต้นว่าปชาบดีเป็นครูของเรา เป็นนายของเรา ดังนี้. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ความหมายของพรหม
ในบทนี้ว่า พฺรหฺมํ พฺรหฺมโต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่า เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้นๆ
อีกอย่างหนึ่งท้าวมหาพรหมก็ดี พระตถาคตก็ดี พราหมณ์ก็ดี มารดาบิดาก็ดี สิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็ดี ท่านก็เรียกว่า พรหม.
จริงอยู่ ท้าวมหาพรหม ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคเป็นต้นว่า พรหม ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐.
พระตถาคต ท่านก็เรียกว่า พรหม (ดัง). ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตนั่นแล.
พราหมณ์ ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า
พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความมืด ผู้มีพระจักษุรอบคอบ ผู้ถึงที่สุดแห่งโลก ผู้ก้าวล่วงภพทั้งปวง ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ผู้กล่าวสัจจะ ผู้อันพรหม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 83
บําเรอแล้ว ดังนี้.
มารดาบิดา ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า มารดาบิดา ท่านเรียกว่า พรหม, มารดาบิดา ท่านเรียกว่า บุพพาจารย์. สิ่งที่ประเสริฐที่สุด ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังจักรอันประเสริฐให้เป็นไป ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาพรหมที่เกิดขึ้นต้นกัลป. อนึ่ง แม้พรหมปุโรหิต และพรหมปาริสัชชะ พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย พรหมศัพท์นั้นนั่นแล แต่การพรรณนาเนื้อความในข้อนี้ พึงทราบโดยที่กล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.
อธิบายอาภัสสรพรหม
ในวาระว่าด้วยอาภัสสรพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
รัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกายของพรหมเหล่านั้นเหมือนกับขาดตกไปคล้ายเปลวไฟขาดตกไปจากคบเพลิงฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พรหมเหล่านั้นจึงชื่อว่าอาภัสสรา. ด้วยการกําหนดอาภัสสรพรหมเหล่านั้น (เป็นเกณฑ์) จึงเป็นอันท่านกําหนดเอาภูมิของทุติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย. ก็พรหมที่สถิตอยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่) ปริตตาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหม (และ) อาภัสสรพรหม.
อธิบายสุภกิณหพรหม
ในวาระว่าด้วยสุภกิณหพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า สุภกิณหา เพราะหมายความว่า แพรวพราวไปด้วยสี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 84
ที่สวยงามคือด้วยรัศมีกายอันโสภา จึงสง่างามดังทองแท่ง เปล่งแสงประกายอันเขาเก็บไว้ในหีบทองแท่งทึบ. ด้วยการกําหนดเอาสุภกิณหพรหมเหล่านั้น (เป็นเกณฑ์) เป็นอันท่านกําหนดเอาภูมิของตติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย.ก็พรหมที่สถิตอยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่) ปริตตสุภพรหม อัปปมาณสุภพรหม สุภกิณหพรหม.
อธิบายเวหัปผลพรหม
ในวาระว่าด้วยเวหัปผลพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะหมายความว่า มีผลอันไพบูลย์ท่านกล่าวว่าได้แก่พรหมชั้นจตุตถฌาน. ส่วนการอธิบายขยายความประกอบในวาระทั้ง ๓ นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภูตวาระนั่นแล.
อธิบายอภิภูพรหม
ในวาระว่าด้วยอภิภู พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ที่ชื่อวา อภิภูเพราะหมายความว่า ครอบงํา ถามว่า ครอบงําซึ่งอะไร? ตอบว่าครอบงําซึ่งอรูปขันธ์ ๔. คําว่า อภิภู นั่นเป็นชื่อของอสัญญีภพ. เหล่าเทพ (พรหม) อสัญญีสัตว์สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัปผลพรหม (แต่ว่าแยก) สถิตอยู่ในโอกาสแห่งหนึ่ง (และ) ท่านบังเกิด (ตายจากโลกมนุษย์) ด้วยอิริยาบถใด ก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นนั่นแลตราบอายุขัยคล้ายภาพจิตกรรม ในที่นี้ท่านหมายถึงเวหัปผลพรหม และอสัญญีสัตว์แม้ทั้งหมดนั้นด้วยคําว่า อภิภู. อาจารย์บางพวกยกย่องพรหมผู้เป็นใหญ่ในชั้นนั้นๆ (ว่าอภิภู) โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหม ๑,๐๐๐
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 85
ชื่อว่า อภิภู. แต่พึงทราบว่า คํากล่าวของอาจารย์บางพวกนั้นไม่ถูกเพราะพรหมผู้เป็นใหญ่นั้น ท่านระบุถือเอาด้วยศัพท์ว่า "พรหม" แล้วนั่นแล.
อนึ่ง ในวาระนี้ พึงทราบนัยแห่งการอธิบายขยายความว่า ปุถุชนได้สดับแล้วว่า พรหม อภิภู มีวรรณะ (สวยงาม) มีอายุยืน ดังนี้แล้วเกิดความยินดีพอใจในพรหมอภิภูนั้น ชื่อว่า ย่อมสําคัญพรหมอภิภูด้วยความสําคัญด้วยอํานาจตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งจิต (ปรารถนา) เพื่อให้ได้ (เกิดในพรหมอภิภู) ที่ตนยังไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ทําไฉนหนอ เราจะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมอภิภู ชื่อว่า ย่อมสําคัญพรหมอภิภูด้วยความสําคัญด้วยอํานาจตัณหา, อนึ่ง เมื่อสําคัญตนว่าเลวกว่า (พรหมอภิภู) หรือสําคัญว่าพรหมอภิภู ดีกว่าตน ชื่อว่า ย่อมสําคัญพรหมอภิภูด้วยความสําคัญด้วยอํานาจมานะ เมื่อยึดถือโดยนัยมีอาทิว่าพรหมอภิภู เที่ยง ยั่งยืน ชื่อว่า ย่อมสําคัญพรหมอภิภูด้วยความสําคัญด้วยอํานาจทิฏฐิ. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.
สุทธาวาสภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงแสดงเทวโลกโดยลําดับอย่างนี้ครั้นทรงแสดงสัญญีภพด้วยคําว่า อภิภู บัดนี้ เพราะเหตุที่กถาว่าด้วยวัฏฏกัปและเทวดา คือ พระอนาคามี และพระขีณาสพชั้นสุทธาวาสผู้ดํารงอยู่ในฝ่ายวิวัฏฏกัป หรือเพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น มีอายุตั้ง ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ กัลปย่อมมีเฉพาะในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นเท่านั้น ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้นแม้ตลอดอสงไขยกัลปในกาลนั้น ภูมินั้น ว่างเปล่าภพชั้นสุทธาวาส ย่อมมีเฉพาะ (กาลที่) พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อุบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86
เท่านั้น) ดุจที่ประทับแรมมีไว้สําหรับพระราชาฉะนั้น และด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ภูมินั้น ท่านจึงมิได้จัดเป็นวิญญาณฐิติ ทั้งมิได้จัดเป็นสัตตาวาส แต่ความสําคัญเหล่านี้มีอยู่ทุกเมื่อ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงภูมิของความสําคัญเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงละชั้นสุทธาวาสแล้วตรัสคําเป็นต้นว่า อากาสานฺจายตนํ ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาสานฺจายตนํ ได้แก่ขันธ์ ๔ ที่เป็นกุศลวิบาก และกิริยาอันเป็นไปในอากาสานัญจายตนภูมินั้น. และขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในภูมินั้นนั่นแหละ เพราะเหตุว่ากถานี้เป็นการกล่าวถึงกําหนดภพ. ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้ก็ในบรรดาวาระ ๔ วาระนั่นแล การขยายความพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในอภิภูวาระ และความสําคัญด้วยอํานาจแห่งมานะ ในข้อนี้ ย่อมใช้ได้แม้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปชาบดีวาระ.
แก้บท ทิฏฺํ สุตํ มุตํ วิฺาตํ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงที่ตั้งของความสําคัญ โดยประเภทมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิเป็นตันนั้น แม้โดยพิสดารอย่างนี้แล้ว ดังนี้ เมื่อจะประมวลแสดงประเภทแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันนับเนื่องในสักกายทิฏฐิ อันเป็นที่ตั้งแห่งความสําคัญทั้งหมด ด้วยเหตุ ๔ อย่าง มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นเป็นต้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ทิฏฺํ ทิฏฺโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺํ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง. คําว่า ทิฏฺํ นั้นเป็นชื่อของรูปายตนะ. บรรดา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 87
บทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฐํ มฺติ ความว่า ปุถุชนย่อมสําคัญด้วยความสําคัญทั้ง ๓.
อย่างไร? คือ ปุถุชนเมื่อดูรูปายตนะด้วยสุภสัญญาและสุขสัญญาชื่อว่า ย่อมยังฉันทราคะให้เกิดในรูปายตนะนั้น คือย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งรูปายตนะนั้น สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย กําหนัดยินดี หลงใหลติดใจในรูปหญิง สัตว์เหล่านั้น ตกอยู่ในอํานาจของรูปหญิง ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน ดังนี้. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสําคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาอย่างนี้ ก็หรือว่า ปุถุชนย่อมทะยานอยากในรูปนี้ว่า ขอรูปของเราพึงเป็นอย่างนี้ตลอดกาล หรือว่าปุถุชนเมื่อหวังรูปสมบัติ ย่อมให้ทาน ความพิสดารดังว่ามานี้แล. ปุถุชนย่อมสําคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาแม้อย่างนี้.
อนึ่ง ปุถุชนอาศัยรูปสมบัติและรูปวิบัติของตน และของบุคคลอื่นย่อมยังมานะให้เกิด คือ ย่อมสําคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นด้วยความสําคัญด้วยอํานาจมานะอย่างนี้ว่า เราดีกว่าผู้นี้ เราเสมอกับผู้นี้ หรือว่า เราเลวกว่าผู้นี้ ดังนี้.
อนึ่ง ปุถุชนย่อมสําคัญรูปายตนะว่า เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ย่อมสําคัญว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ย่อมสําคัญในรูปาตนะที่เป็นมงคล ว่าเป็นอมงคล ปุถุชนย่อมสําคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสําคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสําคัญทั้ง ๓ ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 88
ย่อมสําคัญในรูปายตนะที่ตนเห็นแล้วอย่างไร? คือ ปุถุชนเมื่อสําคัญโดยนัยพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ชื่อว่า ย่อมสําคัญในรูปายตนะที่ตนเห็น. แม้สําคัญอยู่ว่า ราคะเป็นต้น ย่อมเกิดมีในรูป เหมือนกับน้ำนมเกิดมีในเต้านมฉะนั้น ชื่อว่า ย่อมสําคัญในรูปายตนะที่ตนเห็น. นี้ชื่อว่าความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
อนึ่ง เมื่อปุถุชนนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สําคัญด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล. พึงทราบว่า เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาและมานะด้วย. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสําคัญในรูปายตนะที่ตนเห็น ด้วยประการฉะนี้. คําที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฐวีวาระ.
บทว่า สุตํ หมายถึงได้ยินด้วยมังสโสตบ้าง ทิพยโสตบ้าง. คําว่า สุตํ นั่น เป็นชื่อของสัททายตนะ.
บทว่า มุตํ ได้แก่ทราบ และรู้แล้วรับเอา อธิบายว่า เข้าไปกระทบรับเอา. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า รู้แจ้ง ในเพราะการประจวบกันแห่งอินทรีย์ และอารมณ์ทั้งหลาย.
คําว่า มุตํ นั่น เป็นชื่อของคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ.
บทว่า วิฺาตํ แปลว่า รู้ทางใจ. และคําว่า วิฺาตํ นั่นเป็นชื่อของอายตนะ ๗ เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง เป็นชื่อของธรรมารมณ์ (ก็ได้) แต่ในที่นี้ได้เฉพาะอารมณ์ที่นับเนื่องในกายของตน. (สักกายทิฏฐิ)
ก็ในข้อนี้ พึงทราบความพิสดารโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในทิฏฐวาระ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89
แก้บท เอกตฺตํ นานตฺตํ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งสักกายทิฏฐิทั้งหมดด้วยอารมณ์ ๔ ประการ มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทของสักกายทิฏฐินั้นนั่นแหละ ออกเป็น ๒ ประการ คือ โดยวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ ๑ ของท่านผู้มิได้เข้าสมาบัติ ๑ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า เอกตฺตํ นานตฺตํ ดังนี้.
ด้วยบทว่า เอกตฺตํ นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ.
ด้วยบทว่า นานตฺตํ นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้มิได้เข้าสมาบัติ.
ทั้ง ๒ คํานั้น มีความหมายเฉพาะคําดังต่อไปนี้ :-
ภาวะที่เป็นหนึ่งชื่อว่า เอกัตตัง ภาวะที่แยกกัน ชื่อว่า นานัตตัง.
ส่วนการขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติด้วยขันธ์ ๔ และวาระของท่านผู้มิได้เข้าสมาบัติด้วยขันธ์ ๕ แล้วพิจารณาทราบตามสมควรโดยศาสนนัย (พระบาลี) เป็นต้นว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยเป็นอัตตา และโดยนัยแห่งอรรถกถาที่ท่านกล่าวไว้ในปฐวีวาระเป็นต้น. ส่วนอาจารย์บางพวกย่อมกล่าวเอกัตตนัย ด้วยบทนี้ว่า เอกตฺตํ. กล่าวนัยที่แยกกัน ด้วยบทนี้ว่า นานตฺตํ ดังนี้.อาจารย์พวกอื่นกล่าวความยึดมั่นด้วยอํานาจทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมมีสัญญาอันเดียวกันไม่สูญสลาย ครั้นตายแล้วอัตตาย่อมมีสัญญาต่างกัน.คํานั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถูกเลย เพราะท่านมิได้ประสงค์เอาในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 90
แก้บท สพฺพํ สพฺพโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดโดยเป็น ๒ อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงประมวลแสดงสักกายทิฏฐินั้นแหละเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคําเป็นต้นว่า สพฺพํ สพฺพโต ดังนี้.
ส่วนนัยขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบดังนี้ว่า ปุถุชน เมื่อชอบใจสิ่งทั้งปวง ชื่อว่า ย่อมสําคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหา เมื่อสําคัญสิ่งที่ตนสร้างขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า สัตว์เหล่านี้เราสร้างขึ้น ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสําคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งมานะ เมื่อสําคัญโดยนัยเป็นต้นว่า สิ่งทั้งปวงมีกรรมที่ตนกระทําไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ สิ่งทั้งปวงมีการสร้างของพระอิศวรเป็นเหตุ สิ่งทั้งปวงไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งปวงมีอยู่ สิ่งทั้งปวงไม่มี ดังนี้ ชื่อว่าย่อมสําคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ.
ปุถุชนย่อมสําคัญในสิ่งทั้งปวงอย่างไร? คือว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ใหญ่ บุคคลนั้นกําหนดโลกสันนิวาสทั้งหมดโดยเป็นโอกาสแห่งอัตตานั้น ย่อมสําคัญว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในโลกสันนิวาสทั้งปวง. นี้ชื่อว่า ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.
ก็เมื่อเขายังความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล ยังมานะอันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นอยู่ในตน พึงทราบว่า แม้ความสําคัญด้วยอํานาจตัณหาและมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย). คําที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฐวีวาระนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 91
แก้บท นิพฺพานํ นิพฺพานโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดให้เป็นอันเดียวกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐินั้นให้เป็นอันเดียวโดยนัยแม้อื่นอีก จึงตรัสคําเป็นต้นว่า นิพฺพานํ นิพฺพานโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพานํ ความว่า พึงทราบบรมนิพพานในปัจจุบันอันมาแล้วโดยส่วน ๕ (มีอยู่ ๕ อย่าง) โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตาเอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบําเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ดูก่อนท่านผู้เจริญฉะนี้แล อัตตานี้ จึงบรรลุถึงนิพพานในปัจจุบัน.
ในข้อนั้น ปุถุชนเมื่อยินดีนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสําคัญด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหา. ปุถุชนเมื่อยังมานะให้เกิดขึ้นด้วยมานะว่า เราย่อมบรรลุนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสําคัญด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งมานะ. เมื่อยึดถืออัสสาทะ (ความพอใจ) อันมิใช่นิพพานเลย ว่าเป็นนิพพาน และยึดถือนิพพานว่าเป็นอัสสาทะพึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสําคัญด้วยความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิ.
ส่วนปุถุชน ครั้นยึดถืออัตตาต่างไปจากนิพพาน สําคัญอยู่ว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล ย่อมมีในนิพพานนี้ ชื่อว่า ย่อมสําคัญในนิพพาน.นี้เป็นความสําคัญด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
ก็เมื่อปุถุชนนั้นเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะอันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้งอยู่ พึงทราบว่า แม้ความสําคัญด้วยอํานาจแห่งตัณหาและมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 92
นัยแม้ในความสําคัญจากนิพพานก็นัยนี้. จริงอยู่ แม้ในข้อนั้นปุถุชนเมื่อยึดถืออัตตาว่าเป็นอื่นจากนิพพาน สําคัญอยู่ว่า นี้นิพพาน นี้อัตตา ก็อัตตาของเรานี้นั้น อื่นต่างหากจากนิพพานนี้ ชื่อว่า ย่อมสําคัญจากนิพพาน. นี้เป็นความสําคัญด้วยอํานาจทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
ก็เมื่อปุถุชนเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะอันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้ง แม้ตัณหาและมานะก็พึงทราบว่า (เกิดขึ้นด้วย) แต่เมื่อสําคัญว่า โอ นิพพานของเราสุขจริง พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสําคัญว่านิพพานว่าเป็นของเรา ดังนี้. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในข้อนี้ มีคําร้อยกรองในภายหลังดังต่อไปนี้ :-
กายของตนนี้เป็นเช่นไร เมื่อปุถุชนไม่รู้กายของตนนั้นตามความเป็นจริง ความสําคัญ (ผิด) ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นในกายของตน กายของตนนี้น่าเกลียด มีการแตกไปเป็นธรรมดา เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ไม่ใช่ผู้นํา.คนพาล เมื่อยึดถือกายนั้นโดยเป็นข้าศึก (ต่อความเป็นจริง) ชื่อว่า ย่อมยึดถือความสําคัญ (ผิด) เมื่อปุถุชนพิจารณาเห็นกายของตน โดยความเป็นของงาม และโดยเป็นความสุข ย่อมมีความสําคัญผิดด้วยอํานาจตัณหา เหมือนการสําคัญผิดในไฟของแมลงเม่าฉะนั้น เมื่อปุถุชนยึดนิจจสัญญา เห็นสมบัติของกายของตนนั้น เขาย่อมมีความสําคัญผิดด้วยอํานาจมานะ เหมือนสุนัขเห็นคูถแล้วเกิดสุภ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 93
สัญญาในคูถฉะนั้น เมื่อปุถุชนพิจารณาเห็นกายของตนนั้นว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง ย่อมมีความสําคัญผิดด้วยทิฏฐิ เหมือนคนสําคัญรูปในกระจกฉะนั้น ก็คําว่า ความสําคัญนี้เป็นคําที่ละเอียดเป็นเครื่องผูกของมาร หย่อน แต่แก้ได้ยาก เพราะเป็นเครื่องผูกที่ผูกปุถุชนไว้ ปุถุชนแม้จะพยายามดิ้นรนโดยวิธีต่างๆ มากมายก็ไม่ล่วงพ้นกายของตนไปได้ ย่อมถูกกายของตนนั้นผูกรัดไว้อย่างแน่น เหมือนสุนัขที่ถูกล่ามโซ่ไว้ที่หลักอันมั่นที่เขาตอกไว้อย่างดี คนที่เหลือมัวหมกมุ่นอยู่ในกายของตน ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ ด้วยชาติ ชราและทุกข์มีโรคเป็นต้น เหมือนปลาติดเบ็ดฉะนั้นฉะนั้น เราจึงขอกล่าวกะท่านผู้เจริญทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายพิจารณากายของตนที่สวยงามให้เห็นว่า ไม่น่าชอบใจ ไม่งาม มีอันแตกไป (เป็นธรรมดา) และไม่ใช่อัตตา เพราะกายของตนนี้นั้น มีสภาพอย่างนี้ ผู้รู้พิจารณาเห็นกายนี้อย่างนี้อยู่ ละความสําคัญผิดทั้งหมดเสียได้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๑ ข้อที่ ๒๔ ด้วยอํานาจปุถุชน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 94
เสขบุคคล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของปุถุชนซึ่งมีธรรมคือสักกายทิฏฐิทั้งหมดเป็นมูลในวัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้นดังพรรณนามาฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงความเป็นไปของพระเสขบุคคลในวัตถุธาตุเหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสคําเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขุ เสโข ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น คําว่า โย เป็นคําขึ้นต้น. คําว่า โส เป็นคําแสดงไข. ปิ อักษร มีการประมวลมาเป็นอรรถ ดุจในประโยคว่า ธรรมแม้นี้ไม่เที่ยง ดังนี้.
ก็ด้วย ปิ ศัพท์นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคล โดยความเสมอกันทางอารมณ์ หาได้ประมวลมาโดยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่ แต่โดยกําหนดอย่างต่ํา ได้แก่บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในที่นี้มุ่งเอาบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ความเสมอกันของบุคคลทั้ง ๒ นั้นไม่มี แต่อารมณ์ของบุคคลพวกแรก (ผู้มีทิฏฐิวิบัติ) เป็นอย่างไร อารมณ์ของคนพวกหลังเหล่านี้ (ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคลโดยความเสมอกันแห่งอารมณ์ หาได้ประมวลมาด้วยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่.
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระเสขบุคคลที่จะพึงกล่าว ในบัดนี้ ด้วยทําทั้งสิ้นนี้ว่า โยปิ โส. บทว่า ภิกฺขเว ภิกฺขู นี้ มีนัยดังกล่าวนั้นแล.
บทว่า เสกฺโข ความว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่ากระไร?
ตอบว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะได้เสขธรรม. สมจริงดังพระดํารัสที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 95
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ชื่อว่าเป็นเสขะ ด้วยธรรมมีประมาณเท่าใด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นเสขะ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นเสขะ ภิกษุ ชื่อว่าเป็นเสขะด้วยธรรมมีประมาณเท่านี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า ยังศึกษาอยู่ดังนี้บ้าง. สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุศึกษาอยู่อย่างนี้แล ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสขะ ถามว่า พระเสขบุคคลย่อมศึกษาอะไร? ตอบว่า ย่อมศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง ภิกษุย่อมศึกษาอย่างนี้แล เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เสขะ.
บุคคลแม้ใด เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา มีศีลสมบูรณ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายรู้จักประมาณในการบริโภคโภชนะ ตามประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่ ตามประกอบภาวนานุโยคซึ่งโพธิปักขิยธรรม ตลอดราตรีต้น และราตรีปลายอยู่ด้วยความคิดว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่งในวันนี้หรือพรุ่งนี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เสขะ เพราะกําลังศึกษา.
แต่ในเนื้อความนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิเวธนั้นเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่าเสขะ หาใช่ประสงค์เอาปุถุชนไม่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 96
อธิบายคําว่า มานัส
มานัส อันบุคคลนั้น ยังไม่บรรลุแล้ว ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าผู้มีมานัสอันยังไม่บรรลุ. ราคะก็ดี จิตก็ดี พระอรหัตก็ดี ชื่อว่ามานัส.
ความจริง ราคะ ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า มานัสนี้ใดย่อมเที่ยวไป เหมือนบ่วงที่เที่ยวไปในอากาศฉะนั้น.
จิต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า จิต มโน มานัส.
พระอรหัต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน พระเสขะมีพระอรหัตอันยังไม่ได้บรรลุ พึงทํากาละ ดังนี้.
พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า มานัสในที่นี้ ด้วยเหตุนั้นจึงมีคําอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีพระอรหัตอันไม่บรรลุแล้ว. บทว่า อนุตฺตรํ แปลว่า ประเสริฐที่สุด อธิบายว่า ไม่มีธรรมอะไรเทียบได้.พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะเพราะหมายความว่า เกษมจากโยคะ ๔ คือโยคะ ๔ ไม่ประทุษร้ายแล้ว.
บทว่า ปตฺถยมาโน มีวินิจฉัยว่า ความปรารถนามี ๒ อย่าง คือความปรารถนาด้วยอํานาจตัณหา และความปรารถนาด้วยอํานาจฉันทะ.ปรารถนาด้วยอํานาจตัณหา ย่อมได้ในประโยคว่า
ก็เมื่อบุคคลยังปรารถนาอยู่ ตัณหากระซิบหูย่อมเกิดอีกทั้งจิตก็ยังหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ที่ตัณหาและทิฏฐิกําหนดแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 97
ความเป็นผู้ประสงค์จะทํา คือความปรารถนาด้วยอํานาจฉันทะอันเป็นกุศล ย่อมได้ในประโยคว่า
กระแสแห่งตัณหาของบุคคลผู้มีจิตชั่วช้า ขาดไปแล้ว อันเขาขจัดได้แล้ว กระทําให้พินาศไปแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ พึงปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะเถิด ดังนี้.
ความปรารถนาด้วยอํานาจฉันทะนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
บทว่า เตน ปตฺถยมาโน ความว่า บุคคลผู้มีความประสงค์จะทําคือปรารถนาจะบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะนั้น พึงทราบว่าผู้น้อมไป โอนไป เอนไป (เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ).
บทว่า วิหรติ ความว่า บําบัดทุกข์ซึ่งบังเกิดในอิริยาบถอย่างอื่นด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง รักษาร่างกายมิให้ทรุดโทรม. อีกอย่างหนึ่งพึงเห็นเนื้อความในข้อนี้โดยนิเทศนัยเป็นต้นว่า บุคคลผู้น้อมจิตไปด้วยการพิจารณาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมอยู่ด้วยศรัทธา.
บทว่า ปวึ ปวิโต อภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้ชัดปฐวี โดยเป็นปฐวี คือย่อมไม่รู้ด้วยสัญญาอันตรงกันข้ามจากอาการทั้งปวงเหมือนปุถุชน อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง.
ในบทว่า ปวี มีคําที่ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลเมื่อปล่อยวางความเป็นปฐวีได้อย่างนี้ ก็ย่อมรู้ชัดความเป็นปฐวีนั้นอย่างนี้ว่า ไม่เที่ยง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 98
บ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง และมีคําที่ท่านกล่าวอธิบายไว้อีกว่าเสขบุคคล ครั้นทราบความเป็นปฐวีอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่สําคัญปฐวี. ก็เสขบุคคล จะกล่าวว่ามีความสําคัญก็ไม่ใช่ จะกล่าวว่าไม่มีความสําคัญก็ไม่ใช่. ก็ในอรรถนี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวทิ้งบทนี้ไว้.
เมื่อมีผู้กล่าวว่า ก็ในบทนี้มีอธิบายอย่างไร? ตอบว่า อันดับแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงปุถุชนว่า สําคัญปฐวี (ผิด) อยู่ เพราะความสําคัญ (ผิด) ทุกอย่าง ปุถุชนยังละไม่ได้ พระขีณาสพ ย่อมไม่สําคัญผิด เพราะท่านละความสําคัญ (ผิด) ทุกอย่างได้แล้ว ความสําคัญด้วยอํานาจทิฏฐิ พระเสขบุคคลละได้ แม้ความสําคัญอย่างอื่นๆ ก็ถึงความเบาบางลง ด้วยเหตุนั้น พระเสขะนั้น ใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า ย่อมสําคัญ (ผิด) เหมือนปุถุชน ทั้งไม่ควรกล่าวว่า ย่อมไม่สําคัญ (ผิด) เหมือนพระขีณาสพ.
บทว่า ปริฺเยฺยํ ตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสําคัญ (ผิด) นั้น อันพระเสขะพึงกําหนดรู้ได้ด้วยปริญญาทั้ง ๓ เพราะท่านหยั่งลงสู่ความแน่นอนแล้ว และเพราะมีการตรัสรู้ (ในมรรคผลที่สูงไป) เป็นเบื้องหน้า ที่ตั้งแห่งความสําคัญ (ผิด) ที่ยังไม่ควรกําหนดรู้ ไม่ใช่ท่านไม่ต้องกําหนดรู้เหมือนกับปุถุชน ทั้งไม่ใช่ท่านได้กําหนดรู้หมดแล้วเหมือนกับพระขีณาสพ. คําที่เหลือในบททั้งปวงมีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๒ ด้วยอํานาจเสขบุคคล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 99
อธิบายพระอริยบุคคล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระเสขะในวัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้น ดังพรรณนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความเป็นไปของพระขีณาสพ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรหํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ปิ ศัพท์ ในบทว่า โยปิ มีการประมวลมาเป็นอรรถ. ด้วย ปิ ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในที่นี้ย่อมได้ความเสมอกันโดยส่วนทั้ง ๒. อธิบายว่า พระเสขะ ชื่อว่า เป็นผู้เสมอด้วยพระขีณาสพ เพราะความเป็นอริยบุคคล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้ความเสมอกันโดยบุคคล. ส่วนความเป็นผู้เสมอกันโดยทางอารมณ์ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
บทว่า อรหํ ความว่า ผู้มีกิเลสอยู่ไกล อธิบายว่า ผู้มีกิเลสห่างไกลคือมีกิเลสอันท่านละได้แล้ว. สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นอรหันต์ได้อย่างไร คือ อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามก เศร้าหมอง อันเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ มีความเร่าร้อน มีผลเป็นทุกข์ เพื่อชาติ ชรา และมรณะ ต่อไปของท่านผู้ห่างไกลจากกิเลสย่อมไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นพระอรหันต์อย่างนี้แล.
บทว่า ขีณาสโว มีวินิจฉัยว่า อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะทั้ง ๔ เหล่านี้ ของพระอรหันต์สิ้นแล้ว คือท่านละได้ ถอนขึ้นได้ สงบระงับ เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 100
อันท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์นั้น ท่านจึงเรียกว่า พระขีณาสพ.
บทว่า วุสิตวา ความว่า พระอรหันต์นั้นอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้วในธรรมเครื่องอยู่ของครูบ้าง ในธรรมเครื่องอยู่คืออริยมรรคบ้าง ในธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ ๑๐ ประการบ้าง พระอรหันต์นั้น อยู่แล้วคืออยู่จบแล้ว ได้แก่มีธรรมเครื่องอยู่อันจบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้วฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้อยู่จบแล้ว.
บทว่า กตกรณีโย ความว่า พระเสขะทั้ง ๗ จนกระทั่งกัลยาณปุถุชน ชื่อว่า ย่อมทํากิจที่ควรทําด้วยมรรค ๔ กิจที่จะพึงทําทุกอย่างพระขีณาสพทําแล้ว ทําเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่จะพึงทําอันยิ่งของพระขีณาสพนั้น เพื่อการบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์ ย่อมไม่มีฉะนั้น พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าผู้มีกิจที่จะต้องทําอันทําเสร็จเรียบร้อยแล้ว. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
การสั่งสมกิจที่ต้องทําอันทําเรียบร้อยแล้ว ของภิกษุผู้มีจิตสงบ หลุดพ้นแล้วโดยชอบนั้น ย่อมไม่มี (และ) กิจที่พึงทําอีกก็ไม่มี ดังนี้.
ในบทว่า โอหิตภาโร มีวินิจฉัยว่า ภาระมี ๓ คือ ขันธภาระ กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ ภาระ ๓ เหล่านี้ พระอรหันต์นั้น ปลงลงแล้ว ยกลงแล้ว วางแล้ว ทําให้ตกไปแล้ว ด้วยเหตุนี้นั้น พระอรหันต์นั้นท่านจึงเรียกว่า ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว.
บทว่า อนุปตฺตสทตฺโถ ความว่า ผู้ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว อธิบายว่า ตามบรรลุประโยชน์อันเป็นของตน. ก อักษร แปลงเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 101
ท อักษร. ก็พระอรหัตพึงทราบว่า ประโยชน์ของตน. จริงอยู่ พระอรหัตนั้น ท่านเรียกว่า ประโยชน์ของตน คือประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า เกี่ยวเนื่องกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะอรรถว่า เป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน.
บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน มีวินิจฉัยว่า สังโยชน์ ๑๐ คือ กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา เรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพเพราะสังโยชน์เหล่านี้ ย่อมผูก คือตามผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ อีกอย่างหนึ่ง ย่อมเชื่อมภพไว้ด้วยภพ สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพเหล่านี้ของพระอรหันต์ สิ้นรอบแล้ว อันท่านละได้แล้ว อันท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระขีณาสพนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพอันสิ้นรอบแล้ว.
บทว่า สมฺมทฺา ในบทว่า สมฺมทฺา วิมุตฺโต นี้ ความว่าเพราะรู้โดยชอบ. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะรู้ คือทราบ ได้แก่พิจารณา ตรวจตรา เปิดเผย กระทําให้แจ้งซึ่งอรรถแห่งขันธ์ว่าเป็นขันธ์ อรรถแห่งอายตนะว่าเป็นอายตนะ อรรถแห่งธาตุว่าเป็นธาตุ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นการบีบคั้น อรรถแห่งสมุทัยว่าเป็นบ่อเกิดทุกข์ อรรถแห่งนิโรธว่าเป็นความสงบ อรรถแห่งมรรคว่าเป็นทัสสนะ มีประเภทอย่างนี้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ โดยชอบคือตามความเป็นจริง.
บทว่า วิมุตฺโต มีวินิจฉัยว่า วิมุติมี ๒ อย่าง คือ ความหลุดพ้นแห่งจิต ๑ พระนิพพาน ๑ พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วแม้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 102
ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะความมีจิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วแม้ในพระนิพพาน เพราะความที่ท่านมีจิตน้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์ท่านจึงเรียกว่า ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
บทว่า ปริฺาตนฺตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสําคัญ (ผิด) นั้นอันพระอรหันต์กําหนดรู้แล้วด้วยปริญญาทั้ง ๓ ฉะนั้น พระอรหันต์นั้นจึงไม่สําคัญที่ตั้งนั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระอรหันต์ย่อมไม่สําคัญความสําคัญ (ผิด) นั้น. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนวาระ ๓ เป็นต้นว่า ขยา ราคสฺส ดังนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในนิพพานวาระ วาระเหล่านั้น ก็ควรให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีเป็นต้น. ก็ปริญญาตวาระนี้ ก็ควรให้พิสดารแม้ในนิพพานวาระ. ก็บัณฑิตเมื่อจะให้ความพิสดาร พึงประกอบคําว่า ปริฺาตนฺตสฺส ด้วยทุกๆ บท แล้วพึงประกอบความอีกว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา ดังนี้ ในบทนอกจากนั้นก็นัยนี้. ก็เทศนาท่านย่อไว้ว่า คําที่กล่าวแล้วในบทเดียว ก็เป็นอันกล่าวแล้วในทุกๆ บทแท้.
ก็ในบทว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา นี้ ความว่า เพราะเหตุที่นักบวชนอกศาสนาเป็นผู้ปราศจากความกําหนัดในกาม (แต่) ไม่ใช่เพราะหมดราคะ ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากความกําหนัดในกาม เพราะความสิ้นราคะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา ดังนี้. แม้ในโทสะและโมหะก็มีนัยนี้.เหมือนอย่างว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราตถาคตกล่าวว่าปริฺาตํ ตสฺส ดังนี้ ย่อมได้ความว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่สําคัญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 103
วัตถุนั้นหรือความสําคัญนั้น เพราะท่านได้กําหนดรู้แล้วฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น พระอรหันต์นั้นบัณฑิตพึงเห็นว่า ย่อมไม่สําคัญวัตถุนั้น หรือย่อมไม่สําคัญความสําคัญ (ผิด) นั้น เพราะท่านหมดราคะแล้ว.
ก็ในบรรดาวาระเหล่านั้น วาระนี้ว่า ปริฺาตํ ตสฺส นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งมรรคภาวนา. วาระนอกนี้ พึงเห็นว่าท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งการกระทําให้แจ้งซึ่งผล.
อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่สําคัญด้วยเหตุ ๒ ประการเพราะความที่วัตถุท่านกําหนดได้แล้ว และเพราะอกุศลมูลท่านถอนขึ้นได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงแสดงการกําหนดรู้วัตถุของพระอรหันต์นั้นด้วยวาระแห่งปริญญา และแสดงการถอนขึ้นซึ่งอกุศลมูลด้วยวาระนอกนี้ ฉะนี้แล.
ในบรรดาวาระเหล่านั้น พึงทราบความแปลกกันในวาระ ๓ ข้อข้างปลายดังต่อไปนี้. พระอรหันต์นั้น ท่านเห็นโทษในความกําหนัดในวาระทั้ง ๓ นั้นแล้ว พิจารณาเห็นทุกข์อยู่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมมีราคะปราศจากไป เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ. ท่านเห็นโทษในโทสะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้มีโทสะปราศไป เพราะความสิ้นโทสะ.ท่านเห็นโทษในโมหะ พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาอยู่ หลุดพ้นแล้วด้วยสุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
หากมีคําถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลคนเดียวย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์ ๓ (คราวเดียวกัน) ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรกล่าว ๒ วาระไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 104
พึงตอบว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่.
เพราะเหตุไร?
เพราะว่ายังมิได้กําหนดแน่นอน.
ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แน่นอนว่า โยปิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรหํ ดังนี้ แต่หาตรัสไว้ว่า ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ หรือหลุดพ้นด้วยวิโมกข์นอกนี้ ดังนี้ไม่. ฉะนั้น สิ่งใดย่อมสมควรแก่พระอรหันต์ สิ่งนั้นทั้งหมดควรกล่าวแท้ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน พระอรหันต์ทุกรูป เมื่อกิเลสมีราคะเป็นต้นสิ้นไป ท่านก็เรียกว่า ผู้มีราคะไปปราศ เพราะราคะสิ้นไปเหตุที่ท่านกําหนดรู้วิปริณามทุกข์. ท่านเรียกว่าผู้ปราศจากโทสะ เพราะโทสะสิ้นไป เหตุที่ท่านกําหนดรู้ทุกข์ในทุกข์ ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะเพราะโมหะสิ้นไป เหตุที่ท่านกําหนดรู้สังขารทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่ท่านกําหนดรู้อิฏฐารมณ์ชื่อว่าปราศจากโทสะ เพราะโทสะสิ้นไป เหตุที่ท่านกําหนดรู้อนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโมหะ เพราะโมหะสิ้นไป เหตุที่ท่านกําหนดรู้มัชฌัตตารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่ท่านถอนราคานุสัยในสุขเวทนาเสียได้ ชื่อว่าปราศจากโทสะและปราศจากโมหะ ท่านถอนปฏิฆานุสัยและโมหานุสัยในทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนาเสียได้ ฉะนี้แล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความต่างกันนั้น จึงตรัสว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา ฯเปฯ ขยา โมหสฺส วีตโมหตฺตา ดังนี้.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๓ - ๔ - ๕ - ๖ ด้วยอํานาจพระขีณาสพ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 105
อธิบายคําว่า ตถาคต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระขีณาสพในวัตถุธาตุทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความเป็นไปของพระองค์เอง จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ตถาคโตปิ ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ตถาคโต มีวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ อย่างคือ (๑) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จไปแล้วอย่างนั้น, (๓) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้, (๔) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, (๕) เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแท้จริง, (๖) เรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, (๗) เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงทําจริง, (๘) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าครอบงํา.
ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนี้
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทรงถึงการขวนขวายเสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงโดยประการใด เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ๑ ทรงพระนามว่าสิขี ๑ ทรงพระนามว่า เวสสภู ๑ ทรงพระนามว่า กกุสันธะ ๑ ทรง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 106
พระนามว่า โกนาคมนะ ๑ ทรงพระนามว่า กัสสปะ ๑ เสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกฉันใด (พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้ ก็เสด็จมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกฉันนั้นเหมือนกัน).
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรงบําเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ได้ทรงบําเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศนี้ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทั้งได้ทรงบําเพ็ญมหาบริจาค ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ทรงบริจาคอวัยวะ ดวงพระเนตร พระราชทรัพย์ ราชสมบัติ โอรสและมเหสี ทรงบําเพ็ญบุพพประโยค บุพพจริยา การสอนธรรม และญาตัตถจริยา เป็นต้น มาจนถึงที่สุดด้วยพุทธจริยาฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเรา ก็เสด็จมาฉันนั้น
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ เสด็จมาบําเพ็ญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์๗ มรรคมีองค์ ๘ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วโดยประการนั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 107
พระมุนีทั้งหลายมีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เสด็จมาถึงความเป็นพระสัพพัญูในโลกนี้ โดยประการใดแม้พระศากยมุนีก็เสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ท่านจึงเรียกว่าพระตถาคต ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.
ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนานว่า กัสสปะ ประสูติได้ครู่เดียวก็เสด็จดําเนินไปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก็เสด็จดําเนินไปได้ฉันนั้น
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานั้น เสด็จดําเนินไปได้อย่างไร? (อย่างนี้คือ) ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ ผินพระพักตร์ตรงต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดําเนินไปได้ ๗ ก้าว เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อานนท์ พระโพธิสัตว์ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนบนปฐพีอยู่ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ ผินพระพักตร์ต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดําเนินไปได้ ๗ ก้าว โดยมีเทวดากั้นเศวตฉัตรติดตามไป ทรงตรวจดูรอบทิศ เปล่งอาสภิวาจาว่าเราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 108
ชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้
ก็การเสด็จไปนั้นของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้นโดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษอย่างมากมาย.
ก็ข้อที่พระองค์ประสูติได้ครู่หนึ่ง และประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพีด้วยพระบาทอันเรียบเสมอนี้นั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔.
ข้อที่พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งความที่พระองค์เป็นผู้ข้ามพ้นโลกทั้งหมด.
การย่างพระบาทดําเนินได้ ๗ ก้าว เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ.
การยกจามร ที่กล่าวไว้ในบทว่า จามรมีด้ามเป็นทองผ่านไปดังนี้ขึ้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการย่ํายีพวกเดียรถีย์ทั้งหมด.
การที่ทรงเศวตฉัตร เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันประเสริฐวิเศษ ปราศจากมลทิน คือการหลุดพ้นด้วยอํานาจความเป็นพระอรหันต์.
การที่ทรงตรวจดูไปทั่วทิศนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้ญาณอันประเสริฐ คือพระสัพพัญุตญาณ.
การที่ทรงเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักรอันประเสริฐไม่มีใครคัดค้านได้.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จไปโดยประการนั้น และการเสด็จไปของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการได้บรรลุคุณวิเศษมากมาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า:-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 109
พระโคดมนั้นพอประสูติแล้วครู่เดียวเท่านั้น ก็เหยียบพื้นพสุธาด้วยพระบาทอันเรียบเสมอแล้วเสด็จดําเนินไปได้ ๗ ก้าว เหมือนโคผู้นําฝูงเดินนําหน้าฝูงโคไปฉะนั้น และหมู่เทวดาทั้งหลายก็ได้กางกั้นเศวตฉัตรถวายพระโคดมนั้น ครั้นย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าวแล้ว ทรงตรวจดูทั่วทุกทิศอย่างสม่ําเสมอโดยรอบ ได้เปล่งพระสุรเสียงอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนพญาราชสีห์ยืนอยู่บนยอดภูเขาเปล่งสีหนาทฉะนั้น ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วโดยประการนั้น ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราแม้นี้ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ทรงละกามฉันท์ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว, ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกําหนดธรรมเสด็จไปแล้ว. ทรงทําลายอวิชชาด้วยญาณเสด็จไปแล้ว, ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์ ทรงเพิกถอนเครื่องกั้นคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ยังความมืดคือวิตกวิจารให้สงบระงับด้วยทุติยฌาน ทรงสํารอกปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงล่วงพ้นรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากาสานัญจายตน-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 110
สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติทรงล่วงพ้นวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเสด็จไปแล้ว, ทรงละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนาญาณ ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาญาณ ทรงละอัตตคสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณ ทรงละความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ ทรงละราคะด้วยวิราคานุปัสสนาญาณ ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนาญาณ ทรงละการถือมั่นด้วยปฏินิสัคคานุปัสสนาญาณ ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนาญาณ ทรงละการประมวลมาด้วยวยานุปัสสนาญาณ ทรงละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนาญาณ ทรงละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตทานุปัสสนาญาณ ทรงละความปรารถนาด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ทรงละอภินิเวสด้วยสุญญมานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดถือโดยเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาญาณ ทรงละการยึดมั่นเพราะความหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนญาณ ทรงละความยึดถือด้วยความอาลัยด้วยอาทีนวานุปัสสนาญาณ ทรงละการไม่พิจารณาด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดมั่นด้วยอํานาจสังโยชน์ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนาญาณ ทรงหักรานกิเลสในปัจจุบันด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกถอนกิเลสซึ่งยังเหลืออยู่เล็กน้อยด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดขาดกิเลสทุกอย่างด้วยอรหัตตมรรคเสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยอาการดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 111
ตถาคตผู้เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพระเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริงนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแล้ว คือถึงโดยไม่ผิดได้แก่บรรลุโดยลําดับ ซึ่งลักษณะแห่งปฐวีธาตุว่าเป็นความแข้นแข็งอย่างถูกต้องไม่ผิด ซึ่งลักษณะแห่งอาโปธาตุว่าเป็นเครื่องไหล ลักษณะแห่งเตโชธาตุว่าเป็นของร้อน ลักษณะแห่งวาโยธาตุว่าเคลื่อนไหว ลักษณะอากาสธาตุว่าถูกต้องไม่ได้ ลักษณะแห่งวิญญาณธาตุว่าเป็นเครื่องรู้ลักษณะแห่งรูปว่าการย่อยยับไป ลักษณะแห่งเวทนาว่าการเสวยอารมณ์ ลักษณะสัญญาว่าความจําได้ ลักษณะแห่งสังขารว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง ลักษณะแห่งวิญญาณว่าความรู้แจ้ง ลักษณะของวิตกว่าการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ลักษณะของวิจารว่าการเคล้าอารมณ์ ลักษณะปีติว่าการแผ่ซ่านไป ลักษณะแห่งสุขว่าความยินดี ลักษณะแห่งจิตเอกัคคตาว่าความไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะแห่งผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของสัทธินทรีย์ว่าการน้อมใจเชื่อ ลักษณะของวิริยินทรีย์ว่าการประคองจิต ลักษณะของสตินทรีย์ว่าความปรากฏชัด ลักษณะแห่งสมาธินทรีย์ว่าความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของปัญญินทรีย์ว่าการที่จิตรู้ชัด ลักษณะของสัทธาพละว่าความที่จิตไม่หวั่นไหวในเพราะสิ่งไม่ควรเชื่อ ลักษณะของวิริยพละว่าความที่จิตไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ลักษณะแห่งสติพละว่าความที่จิตไม่หวั่นไหวในเพราะความหลงลืมสติ ลักษณะแห่งสมาธิพละว่าความที่จิตไม่หวั่นไหวในเพราะอุทธัจจะ ลักษณะแห่งปัญญาพละว่าความที่จิตไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 112
หวั่นไหวในเพราะอวิชชา ลักษณะของสติสัมโพชฌงค์ว่าความปรากฏชัดลักษณะแห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ว่าการพิจารณา ลักษณะของวิริยสัมโพชฌงค์ว่าการประคองจิตไว้ ลักษณะของปีติสัมโพชฌงค์ว่าการแผ่จิตไป ลักษณะของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ว่าการสงบจิต ลักษณะของสมาธิสัมโพชฌงค์ว่าความไม่ฟุ้งซ่านของจิต ลักษณะของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ว่าการพิจารณา ลักษณะของสัมมาทิฏฐิว่าการเห็น ลักษณะของสัมมาสังกัปปะว่าการยกจิตขึ้น ลักษณะของสัมมาวาจาว่าการกําหนดจิต ลักษณะของสัมมากัมมันตะว่าความขยันหมั่นเพียร ลักษณะของสัมมาอาชีวะว่าความผ่องแผ้วของจิต ลักษณะของสัมมาวายามะว่าการประคองจิตลักษณะของสัมมาสติว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมาสมาธิว่าการที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของอวิชชาว่าความไม่รู้ ลักษณะของสังขารว่าเจตนา ลักษณะของวิญญาณว่าความรู้ชัด ลักษณะของนามว่าการน้อมจิตไป ลักษณะของรูปว่าความย่อยยับไป ลักษณะของอายตนะ ๖ ว่าบ่อเกิด ลักษณะของผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของเวทนาว่าการเสวยอารมณ์ ลักษณะของตัณหาว่าเหตุแห่งทุกข์ ลักษณะของอุปาทานว่าความยึดถือ ลักษณะของภพว่าการประมวลไว้ ลักษณะของชาติว่าการเกิด ลักษณะของชราว่าความแก่ ลักษณะของมรณะว่าจุติ ลักษณะของธาตุว่าความว่างเปล่า ลักษณะของอายตนะว่าบ่อเกิด ลักษณะของสติปัฏฐานว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมัปปธานว่าการตั้งความเพียร ลักษณะของอิทธิบาทว่าความสําเร็จ ลักษณะของอินทรีย์ว่าความเป็นใหญ่ ลักษณะของพละว่าการไม่หวั่นไหว ลักษณะของโพชฌงค์ว่าธรรมเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ ลักษณะของมรรคว่าเป็นเหตุให้ถึงความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 113
ดับทุกข์ ลักษณะของสัจจะว่าความจริง ลักษณะของสมถะว่าความไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของวิปัสสนาว่าพิจารณาเห็น ลักษณะของสมถะและวิปัสสนาว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่กันว่าไม่ละกัน ลักษณะของศีลวิสุทธิว่าการระวังรักษา ลักษณะของจิตตวิสุทธิว่าความไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของทิฏฐิวิสุทธิว่าการเห็น ลักษณะของญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปว่าสมุจเฉท ลักษณะของญาณในธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นว่าความสงบ ลักษณะของฉันทะว่ามูลเหตุ ลักษณะของมนสิการว่าความขยันหมั่นเพียร ลักษณะของผัสสะว่าที่รวม ลักษณะของเวทนาว่าที่ประชุม ลักษณะของสมาธิว่าธรรมที่เป็นประธาน ลักษณะของสติว่าความเป็นไหญ่ ลักษณะของปัญญาว่าสูงกว่าธรรมทั้งหมด ลักษณะของวิมุติว่าแก่นลักษณะของนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตะว่าที่สิ้นสุด พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง คือถึง ได้แก่บรรลุซึ่งลักษณะที่เป็นจริงอย่างนี้ อย่างแท้จริงคือไม่ผิด ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ลักษณะอันแท้จริงอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
ตถาคตผู้ตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมที่แท้จริงตามความเป็นจริงอย่างไร?
ตอบว่า ที่ชื่อว่าธรรมที่จริงแท้ ได้แก่อริยสัจ ๔. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 114
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้เป็นต้น. ความพิสดาร (นักศึกษาพึงตรวจดูเอาเอง).
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะอริยสัจทั้งหลายที่จริงแท้.
แท้จริง คต ศัพท์ ในคําว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายว่า "ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ."
อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่ชราและมรณะเกิดมีเพราะมีชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวะที่แท้จริง ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ สภาวะที่สังขารทั้งหลายเกิดมีเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่น.
อนึ่ง สภาวะที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) สังขารทั้งหลาย สภาวะที่สังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) วิญญาณ ฯลฯ สภาวะที่ชาติเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) ชราและมรณะเป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสภาวะนั้นทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมที่จริงแท้ตามความเป็นจริง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 115
ตถาคตผู้ปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้อย่างไร?
ตอบว่า อารมณ์ใดที่ชื่อว่า รูปารมณ์ (อารมณ์คือรูป) ซึ่งมาปรากฏในจักษุทวารของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีปริมาณ มีอยู่ทั้งในโลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ (และ) ในโลกธาตุไม่มีปริมาณ (กําหนดนับไม่ได้) อารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ คือทรงเห็นโดยอาการทั้งหมด.
อารมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้และทรงเห็นอยู่อย่างนี้จําแนกออกไปตามชื่อเป็นอเนก ตามวาระ ๑๓ วาระ (และ) ตามนัย ๕๒ นัย โดยนัยมีอาทิว่า รูป คือรูปายตนะนั้นเป็นไฉน? รูปใดที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่มีวรรณะ (สี) มองเห็นได้ ถูกต้องได้เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง (นี้แหละเรียกว่ารูป) ด้วยอํานาจเป็นรูปที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาเป็นต้นบ้าง ด้วยอํานาจที่จะได้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แจ้งบ้าง ย่อมเป็นของจริงแท้ทีเดียว ไม่มีแปรผัน. ในบรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่มาปรากฏในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้. สมจริงด้วยพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดที่โลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ที่หมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้สดับ ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้คิดค้น ตถาคตรู้อารมณ์ ตถาคตรู้อย่างแท้จริงซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 116
ตถาคตรู้ อารมณ์นั้นปรากฏแล้วในตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติเห็นอารมณ์ที่แท้จริง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ในบทว่า ตถาคโต นั้น นักศึกษาพึงทราบการใช้บทว่า ตถาคโต ลงในความหมายว่า ผู้มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้
ตถาคตผู้มีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ อย่างไร?
ตอบว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ (บัลลังก์ที่มารไม่สามารถทําให้พ่ายแพ้ได้, บัลลังก์ของผู้ชนะ) ภายใต้ควงไม้โพธิ์ ทรงบั่นเศียรมารทั้ง ๓ แล้วตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณก็ดี การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ในตอนกลางคืนก็ดี ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี ในระหว่างนี้ (ช่วงหลังตรัสรู้และก่อนปรินิพพาน) คือในระยะเวลาครั้งปฐมโพธิกาลบ้าง ครั้งมัชฌิมโพธิกาลบ้าง ครั้งปัจฉิมโพธิกาลบ้าง พระพุทธพจน์ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ จะเป็นสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละก็ตาม พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมดอันวิญูชนกล่าวตําหนิไม่ได้ทั้งโดยอรรถ (ความหมาย, เนื้อหาสาระ) ทั้งโดยพยัญชนะ (ตัวหนังสือ) ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ย่ํายีความเมาด้วยราคะ ย่ํายีความเมาด้วยโทสะและโมหะ ความผิดพลาดในพระพุทธพจน์นั้นแม้เพียงปลายขนทรายก็ไม่มีก็ดี ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 117
หมดนั้นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ราวกับประทับตราด้วยพระราชลัญจกรอันเดียวกัน ราวกับว่าดวงด้วยทะนานเดียวกัน และราวกับว่าชั่งด้วยตาชั่งคันเดียวกันฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า การที่พระตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในตอนกลางคืนก็ดี การที่พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในตอนกลางคืนก็ดี การที่พระตถาคตตรัสสนทนาชี้แจงในระหว่างนี้ก็ดี ทั้งหมดนั้นเป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต.
แท้จริง คต ศัพท์ ในคําว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายเท่ากับคทะ (ตรัส, พูด).
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
อนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า ได้แก่คําพูด. การตรัสของพระตถาคตนั้นจริงแท้ คือไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษรให้เป็น ต อักษรและนักศึกษาพึงทราบบทสําเร็จรูปในความหมายนี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
ตถาคต - ผู้มีปกติทําจริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเป็นผู้มีปกติทําจริงอย่างไร?
ตอบว่า ก็กายกรรมของพระผู้มีภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวจีกรรม ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 118
วจีกรรมก็คล้อยตามกายกรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสอย่างใด จึงทรงมีปกติทําอย่างนั้น และมีปกติทําอย่างใด ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น อธิบายว่า วจีกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้ทรงเป็นอย่างนี้เป็นฉันใด แม้กายกรรมก็เป็นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคตมีปกติพูดอย่างใด ก็มีปกติทําอย่างนั้น มีปกติทําอย่างใด ก็มีปกติพูดอย่างนั้น เพราะเหตุที่มีปกติพูดอย่างใด จึงมีปกติทําอย่างนั้น มีปกติทําอย่างใด จึงมีปกติพูดอย่างนั้น ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติทําจริงดังพรรณนามาฉะนี้.
ตถาคต - ผู้ครอบงํา
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมายความว่า ครอบงําอย่างไร?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมครอบงํา (มีอํานาจเหนือ) ในเบื้องบนตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา ในเบื้องล่างตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้นไป ในด้านขวางย่อมครอบงํา (มีอํานาจเหนือ) สรรพสัตว์ในโลกธาตุอันหาปริมาณมิได้ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุติบ้าง วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง การชั่งหรือการกําหนดวัด (พระคุณมีศีลเป็นต้น) ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่มี พระองค์มีพระคุณอันใครๆ ชั่งไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 119
กะประมาณไม่ได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นราชาของราชา เป็นเทวดาของเทวดา เป็นท้าวสักกะเหนือท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมเหนือพรหมทั้งหลาย.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงํา (แต่) ไม่มีใครครอบงําได้ เป็นผู้เห็นอย่างถ่องแท้ เป็นผู้แผ่อํานาจได้ในโลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์. เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่าตถาคต. ในบทว่า ตถาคต นั้น พึงทราบบทสําเร็จรูปอย่างนี้.
สิ่งที่เป็นเหมือนโอสถ ชื่อว่า อคทะ. ก็โอสถนั้นคืออะไร? คือการยักย้ายเทศนา (ตามอุปนิสัยของผู้ฟัง) และการเพิ่มพูนแห่งบุญ. ก็เพราะโอสถนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นจึงเป็นหมอที่มีอานุภาพมาก ทรงครอบงําผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดและโลกกับทั้งเทวโลก เหมือนกับปราบงู (พิษ) ด้วยทิพโอสถฉะนั้น. โอสถในการครอบงําโลกทั้งหมด ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันสําเร็จมาจากการยักย้ายเทศนา และสําเร็จมาจากบุญเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มี-พระภาคเจ้าได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษรเป็น ต อักษร ด้วยประการดังกล่าวมานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนานว่า ตถาคต เพราะหมายความว่าครอบงํา ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 120
ตถาคต - ผู้ถึงด้วยความจริงแท้
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมายความว่า ทรง (เข้า) ถึงด้วยความจริงแท้บ้าง ทรง (เข้า) ถึงความจริงแท้บ้าง. บทว่า คโต หมายความว่า หยั่งถึง พ้นแล้ว บรรลุแล้ว ดําเนินไปถึงแล้ว. ในคําเหล่านั้นพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือหยั่งถึงแล้วซึ่งโลกทั้งหมดด้วยความจริงแท้ คือตีรณปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่าตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือพ้นแล้วซึ่งเหตุเกิดของโลกด้วยความจริงแท้คือปหานปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือบรรลุแล้วซึ่งความดับของโลกด้วยความจริงแท้ คือการกระทําให้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือ ดําเนินไปถึงแล้วซึ่งความจริงแท้ คือข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้ถึงความดับโลก เพราะเหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
เพราะเหตุนั้น คําใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตหลุดพ้นไปแล้วจากโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดของโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตละเหตุเกิดของโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตทําให้แจ้งความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 121
เหตุให้ถึงความดับโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตเจริญข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเหตุให้ถึงความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งใด (มีอยู่) แก่โลกกับทั้งเทวโลก สิ่งนั้นทั้งหมดอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต ความหมายแห่งคํานั้นนักศึกษาพึงทราบแม้อย่างนี้.
และแม้ถ้อยคําดังว่ามานี้ ก็เป็นเพียงมุขกถาในการแสดงถึงภาวะที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงแท้เท่านั้น. ก็พระตถาคตเท่านั้นพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงได้โดยอาการทุกอย่าง.
อธิบาย อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ส่วนใน ๒ บทว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้:-
อันดับแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทราบว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุเหล่านี้คือ
๑. เพราะทรงไกล (จากกิเลส)
๒. เพราะทรงกําจัดข้าศึกทั้งหลาย
๓. เพราะทรงหักซี่กํา (แห่งสังสารจักร) ทั้งหลาย
๔. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น
๕. เพราะไม่มีความลับในการทําบาป
ส่วนที่ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง ความย่อในที่นี้มีเท่านี้. แต่บททั้ง ๒ (คือ อรหํ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 122
สมฺมาสมฺพุทฺโธ) นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายไว้แล้วโดยพิสดารในการพรรณนาพุทธานุสสติในวิสุทธิมรรค.
ปริญญาตวาระ
ก็ในบทว่า ปริฺาตนฺตํ ตถาคตสฺส นี้ พึงทราบอธิบายว่า วัตถุ (ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง) การสําคัญยึดถือนั้น พระตถาคตกําหนดรู้แล้ว ดังนี้ก็ได้. วัตถุนั้นชื่อว่า ตถาคตกําหนดรู้แล้ว คือมีวาระอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว มีที่สุดอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว อธิบายว่าทรงรอบรู้อย่างไม่มีอะไรเหลือ.
อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่างกันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้นๆ ก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้) เพราะว่า เหล่าพระสาวกพิจารณาธาตุ ๔ เพียงบางส่วนเท่านั้นก็บรรลุนิพพานได้ แต่สําหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สังขารแม้มีประมาณน้อย ที่ยังมิได้เห็น ยังมิได้ไตร่ตรอง ยังมิได้พิจารณา ยังมิได้ทําให้แจ้งด้วยพระญาณ ย่อมไม่มี.
ส่วนวาระว่าด้วยนิพพาน คือวาระมีอาทิว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน) เป็นมูลรากของทุกข์ นี้ใด ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว วาระนั้นควรขยายความให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น วาระนี้เป็นวาระว่าด้วยสิ่งที่ทรงกําหนดรู้ และเมื่อจะขยายความให้พิสดารออกไป วาระที่ว่า ปริฺาตนฺตํ ตถาคตสฺส ควรประกอบเข้ากับบททุกบท (ทั้ง) คําว่า นันทิ เป็นมูลรากของทุกข์ เป็นต้น ก็ควรประกอบเข้ามาอีก ส่วนเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ด้วยทรงสําคัญว่า วัตถุ (ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 123
เป็นที่ตั้งแห่งการสําคัญยึดถือ) เป็นอันกล่าวไว้ในทุกบททีเดียว.
แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ
อนึ่ง ในบทว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ เป็นต้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นนฺทิ ได้แก่ตัณหาครั้งแรก. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่เบญจขันธ์ บทว่า มูลํ ได้แก่รากเหง้า. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) ในภพครั้งแรกนั้นอย่างนี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้. บทว่า ภวา ได้แก่เพราะกรรมภพ.บทว่า ชาติ ได้แก่วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ). แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ชาติ. อีกอย่างหนึ่ง เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคํานี้ว่า อิติ วิทิตฺวา. ก็ในคํานี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทํากรรม) จึงมีอุปปัตติภพ. บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณํ แปลว่า ชราและมรณะ. มีคําอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใด จึงได้บรรลุพระสัพพัญุตญาณ เพราะทรงแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความไม่มีแห่งความสําคัญยึดถือทั้งหลาย จึงทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นแล ซึ่งมีสังเขป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 124
(การย่นย่อ) ๔ สังเขป มีสนธิ ๓ สนธิ มีอัทธา (กาล) ๓ อัทธา มีอาการ ๒๐.
อธิบายปฏิจจสมุปบาท
ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคําเพียงเท่านี้อย่างไร?
ตอบว่า ก็ในคําว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ ๑ ทุกข์เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ ๔. พึงทราบสังเขป ๔ ด้วยคําเพียงเท่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ส่วนทั้งหลาย.
ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ ระหว่างทุกข์กับภพเป็นสนธิที่ ๒ ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบสนธิ ๓ ระหว่างสังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต) ชาติ ชรา และมรณะ เป็นอนาคตัทธา. (กาลที่เป็นอนาคต) ทุกข์และภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน) พึงทราบอัทธา ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้แล.
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ ๕ ด้วยคําว่า นันทิ ตัณหา จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา (อาการ ๔ คือ) อวิชชา สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็นปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคําว่า ชาติ ชรา และมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 125
ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน.
ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้คือ โมหะ ได้แก่อวิชชา การประมวลมา ได้แก่สังขาร ความใคร่ ได้แก่ตัณหา การเข้าไปยึดถือ ได้แก่อุปาทาน เจตนา ได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก.
ในปัจจุปันนัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทําไว้ก่อน ในเพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา.
แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพเป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา.
ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทําไว้แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา.
พึงทราบอาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 126
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มีอาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยพระดํารัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน. ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
แก้บท ขยา วิราคา ปฏินิสฺสคฺคา
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกระทําการพรรณนาไปตามลําดับบท ในบทนี้ว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ฯเปฯ อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ แล้วสรุปข้อความด้วยบทโยชนา.
บทว่า ตสฺมา ติห มีอธิบายว่า ได้แก่ ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) นั่นเอง. (เพราะว่า) ติ อักษร และ ห อักษร เป็นนิบาต. คําว่า สพฺพโส นั่น เป็นคํากล่าวไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตณฺหานํ ได้แก่ตัณหาทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นันทิ. บทว่า ขยา แปลว่า เพราะความสิ้นไปโดยเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค. คําว่า วิราคะ (สํารอก) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคําว่า ขยะ (ความสิ้นไป).อธิบายว่า ตัณหาเหล่าใดสิ้นไปแล้ว ตัณหาเหล่านั้นย่อมเป็นอันสํารอกแล้วบ้าง ดับแล้วบ้าง สละทิ้งแล้วบ้าง สลัดคืนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง คําว่า ขยา นั่น เป็นคําใช้ทั่วไปแก่กิจของมรรคทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้นจึงควรอธิบายประกอบความว่า เพราะสํารอกได้ด้วยมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค) มรรคที่ ๒ (สกทาคามิมรรค) เพราะสละทิ้งได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนา-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 127
คามิมรรค) เพราะสละคืน (เด็ดขาด) ด้วยมรรคที่ ๔ (อรหัตตมรรค).
อีกอย่างหนึ่ง พึงทําอธิบายประกอบความในพระดํารัสตอนนี้ (อีก) อย่างนี้ว่า ปุถุชนพึงหมายรู้ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสําคัญซึ่งปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสํารอกเสียได้ซึ่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสําคัญในปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะดับตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสําคัญจากปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละทิ้งซึ่งตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสําคัญว่า ปฐวีธาตุของเราด้วยตัณหาเหล่าใดเพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้ อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนพึงสําคัญปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ฯลฯ ปุถุชนพึงยินดีปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้. (ความทั้งสองนี้) ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกัน.
บทว่า อนุตฺตรํ คือเว้นจากบุคคลผู้ยิ่งกว่า ได้แก่ประเสริฐกว่าคนอื่นทั้งหมด.
ความหมายของคําว่า "โพธิ"
บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า การตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) การตรัสรู้ที่บัณฑิตสรรเสริญและดี. บทว่า โพธิ หมายถึง ต้นไม้บ้าง มรรคบ้าง สัพพัญุตญาณบ้าง นิพพานบ้าง. อธิบายว่า ต้นไม้เรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปมาภิสมฺพุทฺโธ (แปลว่า แรกตรัสรู้ ณ โคนต้นโพธิ์) และว่า อนฺตรา จ โพธึ อนฺตรา จ คยํ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 128
(แปลว่า ระหว่างต้นโพธิ์กับตําบลคยา). มรรคเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า จตุมคฺเคสุ าณํ (แปลว่า ญาณในมรรค ๔) สัพพัญุตญาณเรียกว่า โพธิ (เช่น) โนอาคตสถานที่ว่า ปปฺโปติโพธิ วรภูมิ เมธโส (แปลว่า พระผู้มีปัญญาอันประเสริฐจอมปราชญ์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ). นิพพานเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคตสถานที่ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํ อสงฺขตํ (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิอันเป็นอมตะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง). แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาอรหัตตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ประสงค์เอาสัพพัญุตญาณ ดังนี้บ้าง.
ถามว่า อรหัตตมรรคของพระสาวกทั้งหลายจัดเป็นโพธิญาณอันยอดเยี่ยมหรือไม่?
ตอบว่า ไม่จัด.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะให้คุณไม่ได้ทุกอย่าง.
เป็นความจริง บรรดาพระสาวกเหล่านั้น อรหัตตมรรคของบางท่านให้ได้เฉพาะอรหัตตผลเท่านั้น. ของบางท่านให้วิชชา ๓ ของบางท่านให้อภิญญา ๖ ของบางท่านให้ปฏิสัมภิทา ๔ ของบางท่านให้สาวกบารมีญาณ.แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณเท่านั้น ส่วนอรหัตตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมให้คุณสมบัติทุกอย่าง เปรียบเหมือนการอภิเษก (ในราชสมบัติ) ของพระราชาย่อมให้ความเป็นใหญ่ในโลกทั้งหมด เพราะฉะนั้น โพธิญาณของใครๆ อื่นจึงไม่จัดว่ายอดเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 129
บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ หมายความว่า รู้ยิ่งแล้ว คือ แทงตลอดแล้ว อธิบายว่า ถึงแล้ว คือบรรลุแล้ว. บทว่า อิติ วทามิ ความว่าเราตถาคตย่อมกล่าว คือบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จําแนก กระทําให้ง่าย ด้วยประการฉะนี้. ในคํานั้นมีอธิบายขยายความดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคต ฯลฯ ย่อมไม่สําคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ย่อมไม่ยินดีปฐวีธาตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะทราบอย่างนี้ว่านันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วมีชราและมรณะ.
อิติ อักษร ในบทว่า อิติ วิทิตฺวา (ที่มา) ในคําว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺสมูลํ ฯเปฯ ชรา มรณนฺติ อิติ วิทิตฺวา นั้น มีความว่า การณะ (เป็นเหตุ) เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า เพราะรู้แจ้ง คือเพราะแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้.
พึงทราบเพิ่มเติมขึ้นอีกนิดหน่อย. เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทนี้อย่างนี้ จึงทรงละตัณหาที่ตรัสไว้ว่า นันทิ นั้นได้แม้ทุกประการ และเพราะตัณหาเหล่านั้นสิ้นไปทั้งหมด พระตถาคตจึงได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้นตถาคตจึงกล่าวว่า พระตถาคตย่อมไม่สําคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดีปฐวีธาตุ อธิบายว่า เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่า พระตถาคตไม่สําคัญ ไม่ยินดี (ซึ่งปฐวีธาตุ)
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทโดยนัยมีอาทิว่า นันทิเป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทรงถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง ฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจึงกล่าวว่า พระ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 130
ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ฯลฯ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ พระตถาคตจึงไม่สําคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดี. ก็ในที่ใดๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัส ยสฺมา (เพราะเหตุใด) ไว้ ตรัสไว้แต่ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) ในที่นั้นๆ ต้องนํา ยสฺมา มาประกอบเข้าด้วย. วิธีนี้เป็นวิธีที่ยุติกันแล้วในทางศาสนา. ในทุกบทก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.
เหตุผลที่พระไม่ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า
บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระสัพพัญุตญาณอันลึกซึ้งอย่างยิ่ง มีการหยั่งถึง ไม่พึงได้ด้วยปัญญาของคนเหล่าอื่น (ปัญญาคนอื่นหยั่งรู้ไม่ถึง) จึงทรงประดับด้วยวาระของปุถุชน ๑ วาระ ด้วยวาระของเสขบุคคล ๑ วาระ ด้วยวาระของพระขีณาสพ ๔ วาระ (และ) ด้วยวาระของพระตถาคต ๒ วาระ รวมเป็นประดับด้วยวาระใหญ่ (สําคัญ) ๘ วาระ และในวาระ (ใหญ่) แต่ละวาระทรงประดับด้วยวาระในระหว่าง (วาระย่อย) ๒๔ วาระ มีวาระว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นต้น แล้วได้ตรัสพระสูตรทั้งหมด ซึ่งเริ่มต้นแต่ตอนจบคําเริ่มต้นจนกระทั่งถึงคําว่า ยาว อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ ด้วยปริยัติจํานวน ๒ ภาณวาร.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสพระสูตรนี้อันประกอบด้วยนัยอันวิจิต และความวิลาสแห่งเทศนาด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ซึ่งไพเราะดุจเสียงของนกการเวก (และ) เป็นเช่นกับได้ทรงราดรดหทัยของชนด้วยน้ำอมฤต เพราะระรื่นหูอยู่อย่างนี้ (ภิกษุเหล่านั้นก็ยังมิได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 131
ชื่นชมพระภาษิต).
บทว่า น เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุํ ความว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมิได้อนุโมทนาพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลย.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะไม่เข้าใจ. ว่ากันว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจเนื้อหาของสูตรนี้ ฉะนั้นจึงไม่ชื่นชม. จริงอยู่ ในสมัยนั้นพระสูตรนั่นแม้จะประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาอย่างนี้ สําหรับภิกษุเหล่านั้นได้เป็นเหมือนคนที่เขาเอาผืนผ้าหนาๆ ผูกปากไว้แล้วเอาของกินที่ถูกใจมาวางตรงหน้า (ไม่สามารถจะกินได้) ฉะนั้น.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบําเพ็ญพระบารมีมาถึง ๔ อสงไขย แล้วได้บรรลุพระสัพพัญุตญาณก็เพื่อสอนคนอื่นให้เข้าใจธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมิใช่หรือ ไฉนพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยที่ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจ (เนื้อหา) เล่า?
ตอบว่า คําตอบนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในการวิจารณ์บทตั้งของสูตรนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ก็เพื่อหักรานมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ฉะนั้น ในที่นี้จึงไม่มีอะไรที่ต้องกล่าวซ้ำอีก.
ก็แล ครั้นได้ฟังสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อหักรานมานะอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงคิดกันว่า ได้ยินว่า ปุถุชนมี (มิจฉาทิฏฐิ) ทิฏฐิเป็นแนวดําเนิน ย่อมหมายรู้ปฐวีนั้นนั่นแล ฝ่ายพระเสขะ พระอรหันต์ และพระตถาคตย่อมทราบอย่างแน่ชัดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนี้เป็นอย่างไร ดังนี้ เป็นผู้หมดมานะ เหมือนอสรพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 132
ฉะนั้น ด้วยระลึกได้ว่า เมื่อก่อนพวกเราย่อมรู้ทั่วถึงพระดํารัสอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างเร็วพลันทีเดียว แต่มาบัดนี้กลับไม่รู้ไม่เห็นที่สุดหรือเงื่อนแห่งมูลปริยายสูตรนี้เลย น่าอัศจรรย์จริงพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง (มีพระปัญญา) ที่ใครๆ ประมาณไม่ได้ทรง (มีพระปัญญาที่ใครๆ ชั่งไม่ได้) ดังนี้แล้วได้พากันไปสู่ที่บํารุงพระพุทธเจ้า และไปฟังธรรมโดยเคารพ.
ภิกษุ ๕๐๐ รูปได้บรรลุอรหัตตผล
ก็แลสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในธรรมสภาสนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พราหมณ์บรรพชิตเหล่านั้นมัวเมาแล้วด้วยความเมาในมานะ ยังถูกทําให้หมดมานะได้ด้วยมูลปริยายเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นยังพูดคุยกันค้างอยู่. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎีไปประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ในธรรมสภา ด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมกับขณะนั้น แล้วได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลบอกเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราตถาคตก็ได้ทําภิกษุเหล่านี้ซึ่งเที่ยวลําพองอยู่ด้วยมานะให้หมดมานะแล้วเหมือนกัน. จากนั้น เพราะเกิดเรื่องนี้เป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคจ้าจึงทรงนําอดีตนิทานนี้มาเล่าว่า:-
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 133
อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี เรียนจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ และเกฏภศาสตร์ และประเภทอักษรสมัยมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้ชํานาญในคัมภีร์ไวยากรณ์ และมหาปุริสลักษณะ ในคัมภีร์โลกายัติ. พราหมณ์นั้นได้สอนมนต์ให้มาณพ ๕๐๐ คน. พวกมาณพที่เป็นคนฉลาดย่อมเรียนได้มาก จําได้เร็ว และแม่ยํา มนต์ที่มาณพเหล่านั้นเรียนแล้วไม่เลอะเลือนเลย. แม้พราหมณ์นั้นก็มิได้หวงแหนวิชาเป็นเหมือนเทน้ำลงไปในหม้อให้มาณพเหล่านั้นเรียนศิลปะจนหมดแล้ว ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นดังนี้ว่า ศิลปะนี้เพียงเท่านี้ ก็เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า.มาณพเหล่านั้นก็เกิดมานะขึ้นมาว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมรู้สิ่งใด แม้พวกเราก็รู้สิ่งนั้น บัดนี้แม้พวกเราก็เป็นอาจารย์ได้แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ขาดความเคารพทอดทิ้งวัตรในอาจารย์อยู่. อาจารย์ทราบแล้วคิดว่า เราจักทําการข่มมานะของมาณพเหล่านั้น. วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นผู้มายังสถานที่บํารุงไหว้แล้วนั่งอยู่ว่า พ่อคุณทั้งหลายเอย อาจารย์จักถามปัญหากะพวกพ่อ (สักข้อหนึ่ง) พวกพ่อจะสามารถกล่าวแก้ได้ไหม? มาณพเหล่านั้นก็พากันรีบเรียนอย่างคนที่เมาการศึกษาว่าถามเลย ท่านอาจารย์ ถามเลย ท่านอาจารย์. อาจารย์จึงกล่าวว่า
กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง แต่ว่าสัตว์ใดเล่า ที่กินกาล ได้เผาไหม้ตัณหาที่เผาไหม้สัตว์ไปด้วยได้?
แล้วกล่าวต่อไปว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงแก้ปัญหานี้ซิ.
มาณพเหล่านั้นคิดแล้วแต่ไม่รู้ (คําตอบ) จึงได้พากันนิ่งเงียบ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 134
อาจารย์จึงกล่าวว่า เอาละพ่อทั้งหลาย วันนี้กลับไปก่อน พรุ่งนี้ค่อย (มา) กล่าวแก้ ดังนี้แล้วส่งมาณพเหล่านั้นกลับไป. มาณพเหล่านั้น (จากอาจารย์มาแล้ว) จับกลุ่มกัน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง (พิจารณาปัญหา) ก็ยังมองไม่เห็นเบื้องต้น ไม่เห็นเบื้องปลายแห่งปัญหานั้น. พวกเขาจึงได้พากันมาบอกอาจารย์ว่า พวกผมไม่เข้าใจความหมายของปัญหานี้เลย. เพื่อต้องการข่มมาณพเหล่านั้น อาจารย์จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
ศีรษะของคนจํานวนมากมีผมดกและใหญ่อยู่บนคอ ในเขาเหล่านี้ใครเล่าเป็นผู้มีหู.
คาถา (นี้) มีอธิบายว่า ศีรษะของคนจํานวนมากปรากฏอยู่ และศีรษะเหล่านั้นทั้งหมดก็มีผม ทั้งหมดเป็นศีรษะใหญ่ตั้งอยู่บนคอ แต่ว่ามือเอื้อมไม่ถึง เช่นเดียวกับผลตาล (ที่มือเอื้อมไม่ถึง) ฉะนั้น ศีรษะเหล่านั้นกับศีรษะเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกัน. แต่ในที่นี้ อาจารย์กล่าวว่า โกจิเทว กณฺณวา ดังนี้ หมายเอาตนเอง. บทว่า กณฺณวา แปลว่าผู้มีปัญญา. ก็ใครกันเล่าที่ไม่มีรูหู?
มาณพเหล่านั้นได้ฟังคาถานั้นแล้ว เป็นผู้เก้อเขิน คอตก (นั่ง) ก้มหน้านิ่งเอานิ้วมือขีดดิน. ลําดับนั้น อาจารย์เห็นว่ามาณพเหล่านั้นมีความละอายใจ แล้วจึงกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงเรียนเอาปัญหาเถิด ดังนี้แล้ว ได้แก้ปัญหา (ให้มาณพเหล่านั้นฟัง).
บทว่า กาล ได้แก่กาลมีอาทิอย่างนี้คือ เวลาก่อนอาหารบ้าง เวลาหลังอาหารบ้าง. คําว่า ภูตานิ นั่น เป็นชื่อเรียกสัตว์. กาลหาได้เคี้ยวกินเนื้อและหนังเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายไม่. ที่แท้แลกลับทําให้อายุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 135
วรรณะ และพละของสัตว์เหล่านั้นสิ้นไป ย่ํายีความเป็นหนุ่มความเป็นสาว ทําความเป็นผู้ไม่มีโรคให้พินาศไป จึงเรียกว่า กิน คือเคี้ยวกิน.
บทว่า สพฺพาเนว สหตฺตนา ความว่า และกาลเมื่อกินอยู่อย่างนั้น ย่อมไม่เว้นอะไรๆ ย่อมกินทั้งหมดทีเดียว และใช่ว่าจะกินแต่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ที่แท้แลยังกินตัวมันเองไปพร้อมกับตัวมันเอง (อีก) ด้วย (คือ) เวลาก่อนอาหาร (ผ่านไป) จะมาเป็นเวลาหลังอาหาร (อีก) ไม่ได้. ในเวลาหลังอาหารเป็นต้นก็มีนัยแบบนี้.
บทว่า โย จ กาลฆโส ภูโต นั่น เป็นชื่อเรียกพระขีณาสพ.ก็พระขีณาสพนั้นเรียกว่า ผู้กินกาล เพราะท่านกินปฏิสนธิกาลในภพต่อไปจนหมดสิ้นแล้วดํารงอยู่.
บทว่า สภูตปจนึ ปจิ ความว่า ตัณหานี้ใดย่อมเผาสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งหลาย พระขีณาสพนั้นเผาตัณหานั้นด้วยไฟคือญาณ ได้แก่ทําให้เป็นเถ้าถ่านไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า ภูตปจนึ ปจิ (แปลว่าเผาตัณหาที่เผาสัตว์). (ในคําว่า ปจนึ) บาลีเป็น ปชฺชนึ ก็มี. หมายความว่า ให้เกิด คือให้บังเกิด.
ลําดับนั้น มาณพเหล่านั้นเห็นเนื้อความของปัญหาปรากฏชัดตามคําแก้ของอาจารย์เหมือนคนเห็นที่เรียบและที่ขรุขระในตอนกลางคืนด้วยแสงสว่างของประทีปพันดวง จึงคิดว่า บัดนี้พวกเราจักอยู่ร่วมกับอาจารย์จนตลอดชีวิต ขึ้นชื่อว่า อาจารย์แล้ว เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ก็พวกเราเกิดความถือตัวว่า ได้ศึกษามามากจึงไม่รู้ความหมายของคาถาแม้เพียง ๔ บาท ขจัดมานะได้แล้ว (หันกลับ) มาทําวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 136
ในสมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาจารย์ ภิกษุเหล่านี้ได้เป็นมาณพ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ทําภิกษุเหล่านี้ซึ่งมีมานะจัดท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ให้หมดมานะ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ภิกษุเหล่านั้นได้ฟังชาดกนี้แล้วคิดได้ว่า แม้เมื่อก่อนพวกเราก็ถูกมานะครอบงําแล้ว จึงขจัดมานะออกให้ยิ่งขึ้นไปอีกได้ เป็นผู้มุ่งหน้า (ปฏิบัติ) กรรมฐานที่เป็นอุปการะแก่ตน. ต่อมาคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบทถึงเมืองไพศาลี แล้วประทับอยู่ที่โคตมกเจดีย์ ทรงทราบว่าภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงตรัสโคตมกสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราตถาคตแสดงธรรมมีเหตุ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตนั้นแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ฯลฯ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ โอวาทจึงเป็นสิ่งที่ควรทําตาม อนุสาสนีเป็นสิ่งที่ควรทําตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเธอทั้งหลาย อย่าเพิ่งยินดี อย่าเพิ่งเอิบอิ่มใจ อย่าเพิ่งโสมนัสใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ (สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ปฏิบัติดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุก็ได้หวั่นไหวแล้ว.
ก็ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในเวลาจบ (พระสูตร) นั้นเอง.