๒. สัพพาสวสังวรสูตร
[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 138
๒. สัพพาสวสังวรสูตร
(๑) อาสวะที่ละได้เพราะการเห็น หน้า 139
(๒) อาสวะที่ละได้เพราะการสังวร หน้า 142
(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา หน้า 143
(๔) อาสวะที่ละได้เพราะความอดกลั้น หน้า 144
(๕) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น หน้า 145
(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา หน้า 145
(๗) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม หน้า 146
อรรถกถาสัพพาสวสังวรสูตร หน้า 148
อธิบายที่มาของคําว่า สาวัตถี หน้า 148
(๑) พรรณนาอาสวธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ หน้า 162
(๒) อาสวะที่ละได้เพราะสังวร หน้า 177
(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา หน้า 182
(๔) อาสวะที่ละได้ด้วยการอดกล้นั หน้า 183
(๕) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น หน้า 187
(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา หน้า 189
(๗) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม หน้า 191
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 138
๒. สัพพาสวสังวรสูตร (๑)
[๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วยการสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะไว้ สําหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะไว้สําหรับภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอะไร? ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นก็มี (๒) ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี (๓) ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี (๔) ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
(๑) ในอรรถกถา เรียก สัพพาสวสูตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 139
(๕) ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี (๖) ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี (๗) ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.
(๑) อาสวะที่ละได้เพราะการเห็น
[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะ. ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้ธรรมอันตนควรมนสิการ.เมื่อเขาไม่รู้ธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน? เมื่อปุถุชนมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ธรรมเหล่านี้ไม่ควรมนสิการ ซึ่งเขามนสิการอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่เป็นไฉน. เมื่อปุถุชนมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมเหล่านี้ควรมนสิการ ซึ่งเขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 140
ปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลอันยืดยาวนาน หรือหนอ หรือเราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลอันยืดยาวนาน ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักไม่เป็น ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันอันยืดยาวนาน ในบัดนี้มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และจักไปไหน?
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น. ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า อัตตาของเรามีอยู่ หรือว่า อัตตาของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อมรู้อัตตาด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้สภาพมิใช่อัตตาด้วยตนเอง หรือว่าเราย่อมรู้อัตตาด้วยสภาพมิใช่ตน. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ได้เป็นผู้ (บงการ) เสวย ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็อัตตาของเรานี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืนติดต่อ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 141
ด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับ ผู้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนําด้วยดีในธรรมของพระอริยเจ้า ผู้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนําด้วยดีในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้ธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ. เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกไม่มนสิการ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (คือ) เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ธรรมเหล่านั้นที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวกมนสิการอยู่? คือเมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมเหล่านี้ที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการอยู่.อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้นไป เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 142
อยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสย่อมเป็นอันเธอละได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่าจะพึงละได้ เพราะการเห็น.
(๒) อาสวะที่ละได้ เพราะการสังวร
[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการสังวร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สํารวมแล้วด้วยความสํารวมในจักขุนทรีย์อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใดพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่สํารวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สํารวมจักขุนทรีย์อยู่อย่างนี้.
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในโสตินทรีย์อยู่ ...
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในฆานินทรีย์อยู่ ...
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในชิวหินทรีย์อยู่ ...
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในกายินทรีย์อยู่ ...
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในมนินทรีย์อยู่ ...
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 143
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สํารวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สํารวมในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร.
(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา
[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ? คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกําจัดหนาว ร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกําเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดํารงอยู่ เพื่อให้เป็นไป เพื่อกําจัดความลําบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกําจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ฉะนี้. พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกําจัดหนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือยาอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ เพียงเพื่อกําจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 144
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.
(๔) อาสวะที่ละได้เพราะความอดกลั้น
[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคําที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์หนาแข็ง กล้า ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 145
(๕) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น
[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วหลีกหนีช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว ที่เต็มด้วยของไม่สะอาด โสโครก.เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญูชนทั้งหลาย พึงกําหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เที่ยวไปในที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก. ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานหรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ.
(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา
[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความบรรเทา? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 146
อดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทําให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.
(๗) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม
[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะอบรม? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชณงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสลัดออก เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชณงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสลัดออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทําความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้อบรมอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 147
จะพึงละได้เพราะอบรม.
[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการสังวร อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใดอันภิกษุจะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความเว้นรอบ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความบรรเทา อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สํารวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทําที่สุดทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีภาคพระเจ้า ฉะนี้แล.
จบ สัพพาสวสังวรสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 148
อรรถกถาสัพพาสวสังวรสูตร
อธิบายที่มาของคําว่า สาวัตถี
[๑๐] สัพพาสวสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ กรุงสาวัตถี.
ในสัพพาสวสังวรสูตรนั้น มีอรรถกถาแก้ตามลําดับบท ดังต่อไปนี้.นักอักษรศาสตร์วิจารณ์กันไว้อย่างนี้ก่อนว่า คําว่า สาวตฺถี คือพระนครอันเป็นสถานที่อยู่ของฤาษีชื่อ สวัตถะ เหมือนคําว่า กากนฺที มากนฺทีฉะนั้น. ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า วัตถุเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ทุกอย่างมีอยู่ในเมืองนี้ ฉะนั้น เมืองนี้จึงชื่อว่าสาวัตถี. ในเมื่อเอาคําว่า "สตฺถ" มารวมไว้ด้วย จึงชื่อว่า สาวัตถี เพราะอาศัยเหตุที่ว่า เมื่อถูกเขาถามว่า มีของอะไรอยู่บ้าง ก็ตอบว่า มีครบทุกอย่าง.
เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างมารวมกันอยู่ในเมืองสาวัตถีตลอดเวลา ฉะนั้น ท่านมุ่งเอาความสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างจึงเรียก (เมืองนั้น) ว่า สาวัตถี. นี้เป็นเมืองของชาวโกศล น่าชื่นชมน่ารื่นรมย์ น่าเพลิดเพลินเจริญใจ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ ประการ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ. เป็นเมืองถึงความเจริญไพบูลย์ มั่งคั่ง กว้างขวาง น่าชื่นชมและอุดมสมบูรณ์ เหมือนเทพบุรีชื่อ อาลกมันทา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 149
ในเมืองสาวัตถีนั้น.
ในบทว่า เชตวเน อธิบายว่า พระราชกุมารทรงพระนามว่า "เชตะ" เพราะทรงรบชนะข้าศึกของพระองค์ หรือเพราะประสูติในเวลาที่พระชนกทรงมีชัยต่อข้าศึกของพระองค์. อีกอย่างหนึ่ง ทรงพระนามว่า "เชตะ" เพราะพระนามอย่างนี้ พระชนกชนนีทรงตั้งให้เพื่อความเป็นสิริมงคล. พระอุทยานของพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ชื่อว่า เชตวัน. เพราะพระอุทยานเชตวันนั้น อันพระราชกุมารทรงพระนามว่า "เชตะ" นั้น ทรงปลูกสร้างทะนุบํารุงให้เจริญงอกงามทั้งพระองค์ก็ทรงเป็นเจ้าของพระอุทยานั้นด้วย ฉะนั้นจึงเรียกว่า เชตวัน. ในพระวิหารเชตวันนั้น.
ในบทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม นี้ มีอธิบายว่า คฤหบดีนั้นชื่อว่า "สุทัตตะ" โดยเป็นชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ แต่มาได้ชื่อว่าอนาถปิณฑิกะ โดยเหตุที่ได้ให้อาหารแก่คนอนาถาทั้งหลายเป็นประจํา เพราะเป็นผู้มั่งคั่งด้วยสมบัติทุกอย่าง และเพราะปราศจากความตระหนี่ ทั้งเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมมีความกรุณาเป็นต้น. สัตว์ทั้งหลายโดยเฉพาะบรรพชิตย่อมยินดีในสวนนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาราม. อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายมาแต่ที่ต่างๆ กัน ย่อมยินดี เพลิดเพลิน อยู่อย่างสบายเพราะสวนนั้นงามไปด้วยไม้ดอกไม้ผล เป็นต้น สมบูรณ์ไปด้วยองค์ประกอบแห่งเสนาสนะ ๕ ประการมีไม่ไกลไม่ใกล้ (โคจรคาม) เกินไปนัก.อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อาราม เพราะดึงดูดสัตว์ผู้ไปถึงสถานที่นั้นไว้ภายในบริเวณของตนนั้นเอง แล้วให้เพลิดเพลินไปด้วยสมบัติมีประการดังกล่าวแล้ว. ความจริง อารามนั้น อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้มอบถวาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 150
สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยการบริจาคทรัพย์ถึง ๕๔ โกฏิ คือบริจาคซื้อที่ดินจากพระหัตถ์ของพระราชกุมารทรงพระนามว่า "เชตะ" ด้วยการเอาเงิน ๑๘ โกฏิ ปู (เต็มบริเวณพื้นที่) บริจาคเป็นค่าก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ๑๘ โกฏิ บริจาคเป็นค่าทําการฉลองพระวิหารอีก ๑๘ โกฏิ ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อารามของอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของอนาปิณฑิกคฤหบดีนั้น คําว่า เชตวเน ในคําว่า เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม นั้น เป็นคําระบุถึงเจ้าของคนแรก. คําว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม เป็นคําระบุถึงเจ้าของคนหลัง.
ถามว่า จะมีประโยชน์อะไรในการระบุถึงเจ้าของทั้ง ๒ นั้น
ตอบว่า มีประโยชน์คือจะทําให้เป็นเยี่ยงอย่างของผู้ต้องการบุญ
จริงอยู่ ในข้อนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะแสดงว่า ผู้ต้องการบุญทั้งหลายย่อมทําบุญเพราะกิตติศัพท์ของท่านทั้ง ๒ นั้นว่า พระราชกุมารพระนามว่าเชตะนั้นทรงบริจาคทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่พระองค์ได้มาด้วยการขายสถานที่ในการสร้างซุ้มประตูและปราสาท และทรงบริจาคต้นไม้ซึ่งมีค่าหลายโกฏิ (ส่วน) อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้บริจาคทรัพย์ ๕๔ โกฏิดังนี้แล้ว ชักชวนชนผู้ต้องการบุญเหล่าอื่นให้ถือชนทั้ง ๒ นั้นเป็นแบบอย่าง.
อธิบายคําว่า อาสวะ
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ว่า สพฺพาสวสํวรปริยายํ โว ภิกฺขเว ดังนี้?
ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะ เริ่มต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 151
ตั้งแต่การชําระอุปกิเลสแก่ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาสวสํวรปริยายํ ความว่า เป็นเหตุสํารวม คือว่า เป็นเหตุให้ระมัดระวังอาสวะทุกอย่าง อธิบายว่าเป็นเหตุให้อาสวะเหล่านี้ที่ภิกษุระวังปกปิดแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไป กล่าวคือ ความดับไปโดยไม่เกิดขึ้น (อีก) คือ อันภิกษุย่อมละได้ ได้แก่ย่อมไม่เป็นไป. ในบทว่า อาสวานํ นั้น ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่าไหลไป ท่านอธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นย่อมไหลไป คือไหลออกทางจักษุบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง อาสวะเหล่านั้น เมื่อว่าโดยธรรมย่อมไหลไปจนถึงโคตรภู. เมื่อว่าโดยโอกาสโลก ย่อมไหลไปจนถึงภวัคคพรหม. เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาสวะ. อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นทําธรรมเหล่านั้นและโอกาสนั้นไว้ภายใน (อํานาจ) แล้วเป็นไป. จริงอยู่ อา อักษรนี้มีความหมายว่า ทําไว้ในภายใน. ที่ชื่อว่า อาสวะ. เพราะเป็นเหมือนของหมักดอง มีน้ำเมาเป็นต้น โดยความหมายว่า หมักอยู่นานดังนี้บ้าง. ความจริง ในทางโลก น้ำเมาที่หมักไว้นาน เขาก็เรียกว่าอาสวะ ดังนี้. ก็ถ้าน้ำเมาเป็นต้นเรียกว่า อาสวะ ได้ เพราะความหมายว่าหมักไว้นานไซร้ กิเลสเหล่านี้ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชา ไม่ปรากฏ (คือไม่ปรากฏว่า) ในกาลก่อนแต่นี้ มิได้มีอวิชชาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าอาสวะ เพราะอรรถว่า ไหลไป คือไหลออกไปสู่สังสารทุกข์ ต่อไปดังนี้บ้าง. ก็คําอธิบาย คําแรกๆ ในรูปวิเคราะห์เหล่านี้ ย่อมใช้ในที่ที่กิเลสทั้งหลายมาโดยชื่อว่า อาสวะ (ส่วน) คําอธิบายคําหลังใช้ในกรรมก็ได้. ก็ไม่ใช่เพียงแต่กรรมกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น ที่เป็นอาสวะ โดยที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 152
แท้แล แม้อุปัทวะนานัปการ ก็ชื่อว่าอาสวะได้ (เหมือนกัน). ความจริงในพระสูตรทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นมูลเหตุให้ก่อการทะเลาะวิวาทก็มาโดยชื่อว่า อาสวะ ในคํานี้ว่า จุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อการสังวรระวังเหล่าอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรมเท่านั้น ดังนี้. กรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ และเหล่าอกุศลธรรมที่เหลือทั้งหลาย ก็ชื่อว่าอาสวะในคํานี้ว่า
อาสวะทั้งหลายของเราที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นเทพหรือคนธรรพ์ ที่เหาะเหินได้และเป็นเหตุให้เราพึงไปสู่ความเป็นยักษ์ ความเป็นมนุษย์ และพึงไปสู่อัณฑชกําเนิด สิ้นไปแล้ว อันเราขจัดแล้ว ทําให้พินาศแล้ว ดังนี้.
การเข้าไปว่าร้ายผู้อื่น ความเดือดร้อน การฆ่า และการจองจําเป็นต้น และอุปัทวะนานัปการที่เป็นเหตุให้สัตว์เสวยทุกข์ในอบาย ก็ชื่อว่า อาสวะ. (เช่น) ในประโยคนี้ว่า (เราตถาคตจะแสดงธรรม) เพื่อระมัดระวังอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม (และ) เพื่อบําบัดอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพ ดังนี้. ก็ในที่ใดอาสวะเหล่านี้นั้นมาโดยประการใดในที่นั้นก็พึงทราบโดยประการนั้น. ก็ในพระวินัย อาสวะทั้งหลายเหล่านี้มีมาแล้ว ๒ อย่าง เช่นในประโยคว่า (เราตถาคตจะแสดงธรรม) เพื่อป้องกันอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม เพื่อบําบัดอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพ ดังนี้ก่อน. ในสฬายตนวรรค มีมาแล้ว ๓ อย่าง (เช่นในประโยค) ว่า ผู้มีอายุ อาสวะเหล่านี้มี ๓ อย่าง คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้. ในสุตตันตปิฎกแห่งอื่น และพระอภิธรรมปิฎก อาสวะ ๓ เหล่านั้นนั่นแล รวมกับทิฏฐาสวะเข้าด้วยมีมาแล้วเป็น ๔ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 153
ว่าโดยบรรยายที่จําแนกอาสวะทั้งหลายมีมา ๕ อย่าง คือ ภิกษุทั้งหลายอาสวะซึ่งเป็นเหตุยังสัตว์ให้เข้าถึงนรกก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่กําเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่วิสัยแห่งเปรตก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มีอยู่ และอาสวะอันเป็นเหตุยังสัตว์ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาต อาสวะมีมา ๖ อย่าง โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ต้องละด้วยสังวรมีอยู่. ส่วนในสูตรนี้อาสวะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล พร้อมด้วยอาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ มีมา (รวม) เป็น ๗ อรรถพจน์ และประเภท (แห่งอาสวะ) ในบทว่า อาสวะ มีเพียงเท่านี้ก่อน.
อธิบายสังวร
ส่วนในบทว่า สังวร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สังวร เพราะอรรถว่า สังวร อธิบายว่า ปิดคือห้าม ได้แก่ไม่ให้เป็นไป. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตให้ภิกษุผู้ต้องการพักผ่อนในกลางวัน ต้องปิดประตูเสียก่อนแล้วจึงพักผ่อนดังนี้. พระอาจารย์กล่าว สังวร ด้วยอรรถว่า ปิดในคําเป็นต้นว่า
ตถาคต เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องห้ามกระแส กระแสเหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้.
สังวรนั้นมี ๕ อย่างคือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่าสีลสังวร. ความจริงปาฏิโมกขศีลท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 154
กล่าวว่า สังวร ในที่นี้. สังวรในคําเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวร. ก็สติ ท่านกล่าวว่า สังวร ในที่นี้.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า เราตถาคตกล่าวญาณว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา นี้ชื่อว่าญาณสังวร. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวญาณว่า สังวร ด้วยอรรถว่าปิดไว้ได้ ด้วยบทว่า ปิถียเร.ขันติสังวรและวิริยสังวรมาในสูตรนี้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ฯลฯ ไม่ยอมให้วิตกซึ่งเกิดขึ้นครอบงําได้ ดังนี้. ก็พึงทราบความที่ขันติและวิริยะ ชื่อว่า สังวร เพราะท่านสงเคราะห์ด้วยอุเทศนี้ว่า สพฺพาสวสํวรปริยายํ นี้.
อีกอย่างหนึ่ง สังวรแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็มาในสูตรนี้เหมือนกัน.บรรดาสังวรทั้ง ๕ อย่างนั้น ขันติสังวรและวิริยสังวรท่านกล่าวไว้ก่อนแล้วทีเดียว. ก็สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นพิจารณาที่อันมิใช่อาสนะนั้นและอโคจรนั้นโดยแยบคายแล้ว นี้ชื่อว่าสีลสังวรในที่นี้. สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว สํารวมระวังจักขุนทรีย์ดังนี้ นี้ชื่อว่าสติสังวร. การพิจารณาด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ชื่อว่า ญาณสังวร. ส่วนการเห็น การส้องเสพ การเจริญ ก็ชื่อว่า ญาณสังวร ด้วยศัพท์ที่ท่านมิได้ถือเอา. ที่ชื่อว่าปริยาย เพราะเป็นเหตุเครื่องกําหนดแห่งธรรมทั้งหลายอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการเกิดขึ้นหรือดับไป. คําใดที่ควรกล่าวในคํานี้ว่า สพฺพาสวสํวรปริยายํ คํานั้นท่านกล่าวอธิบายไว้ด้วยคํามีประมาณเพียงเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 155
อธิบายญาณทัสสนะ
[๑๑] บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ชานโต อหํ เป็นต้นดังต่อไปนี้. บทว่า ชานโต คือรู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต คือเห็นอยู่. บทแม้ทั้งสองมีเนื้อความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน. เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงถึงบุคคล โดยมุ่งถึงลักษณะของญาณด้วยบทว่า ชานโต. ความจริง ญาณมีความรู้เป็นลักษณะ. ทรงแสดงบุคคลโดยมุ่งถึงอํานาจของญาณด้วยบทว่า ปสฺสโต. ความจริง ญาณมีอํานาจในการเห็น. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเปิดเผยไว้ด้วยญาณนั้นแล เปรียบเหมือนคนตาดีมองเห็นรูปด้วยจักษุฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เห็นอยู่ เหมือนจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้รู้อยู่ฉะนั้น สารสําคัญในคําทั้ง ๒ นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเยิ่นเย้อไว้มาก.ข้อความเหล่านั้นไม่เหมาะในอรรถนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ความว่า การละอาสวะ คือการเกิดความสิ้นไปโดยไม่มีเหลือ ได้แก่อาการคือการสิ้นไป หมายความว่าภาวะคือการไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย. ขยะ ศัพท์นี้แล มีความหมายว่าสิ้นอาสวะทั้งในสูตรนี้ และทั้งในประโยคเป็นต้นว่า อาสวานํ ขยา อนาสวฺเจโตวิมุตฺตึ. ส่วนในสูตรอื่น แม้มรรค-ผล-นิพพาน ท่านเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. จริงอย่างนั้น มรรคท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 156
ในเพราะการสิ้นไปแห่งอาสวะของพระเสขบุคคลผู้กําลังศึกษา ผู้ดําเนินตามทางสายตรง (คือมรรคมีองค์ ๘) ญาณ (สัมมาทิฏฐิ) ย่อมเกิดก่อน ต่อแต่นั้น อรหัตตผลจึงมีในลําดับต่อไป ดังนี้.
ผล ท่านกล่าวว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลเป็นสมณะได้เพราะการสิ้นไปแห่งอาสวะ. นิพพานท่านกล่าวว่าธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเห็นโทษของผู้อื่น ผู้มีปกติเพ่งโทษเป็นนิจนั้น เขาย่อมอยู่ห่างไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้.
บทว่า โน อชานโต น อปสฺสโต ความว่า ก็ผู้ใดไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่เราตถาคตไม่กล่าวการสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลนั้น. ชนเหล่าใด กล่าวถึงความบริสุทธิ์ด้วยสังวรเป็นต้น แม้ของบุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็น ชนเหล่านั้นเป็นอันท่านคัดค้านด้วยบทว่า โน ชานโต โน ปสฺสโต นี้. อีกอย่างหนึ่งด้วย ๒ บทแรก (ชานโต ปสฺสโต) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอุบายไว้แล้ว, ด้วย ๒ บทหลังนี้ (โน อชานโต อปสฺสโต) เป็นอันพระองค์ได้ตรัสการปฏิเสธอุบายไว้แล้ว เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ญาณเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมเครื่องปิดกันอาสวะทั้งหลายโดยสังเขป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะทรงแสดงธรรมที่เมื่อภิกษุรู้อยู่จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย จึงทรงเริ่มปุจฉาว่า กิฺจิ ภิกฺขเว ชานโต ดังนี้. ในบทว่า กิฺจิ ภิกฺขเว ชานโต นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 157
ความรู้มีหลายอย่าง ความจริงภิกษุลางรูปผู้มีชาติฉลาดย่อมรู้วิธีทํากลด ลางรูปย่อมรู้วิธีทําจีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นดํารงอยู่ในข้อวัตรกระทํากรรมเช่นนี้อยู่ ความรู้เช่นนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ไม่เป็นปทัฏฐานของมรรคและผล. ส่วนภิกษุใดบวชในศาสนาแล้วรู้วิธีทําเวชกรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นทีเดียว.เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุรู้เห็นธรรมใด ความสิ้นอาสวะจึงเกิดมีได้ เมื่อจะทรงแสดงธรรมนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โยนิโส จ มนสิการํ อโยนิโส จ มนสิการํ ดังนี้.
โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่การทําไว้ในใจโดยถูกอุบาย=การทําไว้ในใจโดยถูกทาง=การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทําไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิกญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ ได้แก่การทําไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่การทําไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือการทําไว้ในใจโดยไม่แยบคาย=การทําไว้ในใจโดยผิดทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา หรือคือการนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทําไว้ในใจซึ่งจิตโดยการกลับกันกับสัจจะ นี้เรียกว่าอโยนิโสมนสิการ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น และแก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 158
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงข้อยุติแห่งเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียฺยนฺติ.
ถามว่า ด้วยคําว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียนฺติ นั้น ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร.
ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะอาสวะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ใส่ใจโดยไม่แยบคาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยแยบคาย เธอย่อมละอาสวะทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเข้าใจว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้นและแก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้. ในข้อนี้มีการพิจารณาโดยสังเขปเพียงเท่านี้ก่อน ส่วนความพิสดารมีดังต่อไปนี้. พระสูตรทั้งสิ้นข้างหน้ามีความเกี่ยวเนื่องกันกับด้วย ๒ บทนี้ คือ โยนิโส อโยนิโส ก่อน. ความจริง พระสูตรทั้งหมดข้างหน้า ท่านกล่าวไว้ด้วยอํานาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลราก. วิวัฏฏะมีการใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลราก. คืออย่างไร? อธิบายว่า การใส่ใจโดยไม่แยบคายเมื่อเจริญขึ้นย่อมให้ธรรม ๒ อย่าง คือ อวิชชา และภวตัณหาบริบูรณ์. ก็เมื่อมีอวิชชา สังขารทั้งหลายจึงเกิดมีขึ้นเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ กองทุกข์จึงมีการเกิดขึ้น. เมื่อมีตัณหา อุปาทานก็เกิดมี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ กองทุกข์จึงมีการเกิดขึ้น. ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยการไม่ใส่ใจโดยแยบคายอย่างนี้ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพกําเนิด คติ ฐิติ และ สัตตาวาสอยู่ร่ําไป เปรียบเหมือนเรือซึ่งถูกแรงลมพัดทําให้โคลง และเปรียบเหมือนฝูงโคซึ่งตกลงไปในแม่น้ำไหลวน และเหมือนโคพลิพัทที่เขาเทียมรถไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 159
ฉะนั้น. วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลรากดังว่ามานี้ก่อน.
ส่วนการใส่ใจโดยแยบคาย เมื่อเจริญขึ้นย่อมทํามรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นข้อแรกให้บริบูรณ์ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ คือ เธอก็จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ จักกระทําให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘. ด้วยบทว่า ยา จ สมฺมาทิฏฺิ สา วิชฺชา นี้ บัณฑิตพึงทราบวิวัฏฏะซึ่งมีการใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลรากอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิดขึ้น และอวิชชาดับไป ความดับแห่งสังขารจึงเกิดมีแก่ภิกษุนั้น ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. พระสูตรทั้งหมดข้างหน้ามีความเกี่ยวเนื่องกันด้วยบททั้ง ๒ นี้ดังกล่าวมานี้. ก็ในสูตรนี้ที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างนี้ เพราะเหตุที่แสดงการละอาสวะไว้ก่อนแล้ว จะกล่าวการเกิดขึ้นทีหลังไม่เหมาะ เนื่องจากว่าอาสวะที่ละได้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก แต่ที่ถูก (คือกล่าว) การละอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว (ต่างหาก) ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว มนสิกโรโต เป็นต้น แม้โดยย้อนอุทเทศ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิโส มนสิกโรโต ความว่า ผู้ยังการใส่ใจโดยไม่แยบคายมีประการดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น.ในบทว่า อุปฺปนฺนา เจว อาสวา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ความว่า เมื่อภิกษุได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ซึ่งตนไม่เคยได้มาก่อน หรือได้วัตถุอันน่าพอใจอย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกแล้ว ไม่ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งปัจจัยหรือวัตถุนั้นว่า งาม เป็นสุข ก็หรือเมื่อภิกษุไม่ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งอารมณ์อย่างอื่นๆ ซึ่งตนไม่เคยไค้เสวยมาก่อนโดยประการใดประการหนึ่ง อาสวะเหล่าใดย่อมเกิดขึ้น. อาสวะเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 160
ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น พึงทราบว่าย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ความจริง อาสวะทั้งหลายที่ชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นในสังสารวัฏฏ์ซึ่งมีที่สุดแห่งเบื้องต้นที่ใครตามไปไม่รู้แล้วโดยประการอื่น ย่อมไม่มี. อาสวะทั้งหลายของภิกษุใดในกาลก่อนไม่เกิดขึ้นในวัตถุหรือในอารมณ์ที่ตนไม่เคยได้เสวยมาก่อนโดยความบริสุทธิ์ตามปกติหรือด้วยอํานาจการอุทเทศ ปริปุจฉา ปริยัติ นวกรรม และโยนิโสมนสิการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมเกิดขึ้นโดยฉับพลันด้วยปัจจัยเช่นนั้น ในภายหลัง อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นพึงทราบว่า ยังไม่ (เคย) เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นดังนี้. ส่วนอาสวะทั้งหลายซึ่งกําลังเกิดขึ้นบ่อยๆ ในวัตถุและในอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ. ขึ้นชื่อว่า ความเจริญแห่งอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกโดยประการอื่นจากนี้ หามีไม่เลย.
ในบทว่า โยนิโส จ โข ภิกฺขเว นี้ ความว่า อาสวะทั้งหลายของภิกษุใด ย่อมไม่เกิดขึ้น โดยความบริสุทธิ์ ตามปกติ หรือโดยเหตุมีอุทเทศ และปริปุจฉาเป็นต้น เหมือนไม่เกิดขึ้นแก่ท่านมหากัสสปะและนางภัททกาปิลานี ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งชัดว่า อาสวะทั้งหลายของเรายังไม่ถึงการเพิกถอนด้วยมรรคหรือหนอ อย่ากระนั้นเลย เราจะปฏิบัติเพื่อเพิกถอนอาสวะเหล่านั้น. ต่อแต่นั้น เธอย่อมเพิกถอนอาสวะทั้งหมดนั้นด้วยมรรคภาวนา อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นของเธอท่านกล่าวว่า ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น. ส่วนภิกษุใด มีสติอยู่ห่างไกล อาสวะทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นโดยเร็วพลัน เพราะความหลงลืมแห่งสติ ต่อแต่นั้น เธอนั้นก็ถึงความสังเวช เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย ย่อมเพิกถอนอาสวะเหล่านั้นได้ อาสวะซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นเรียกว่า อันเธอย่อมละได้ เหมือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 161
พระมหาติสสคุตตเถระผู้ อยู่ในมัณฑลาราม.
ได้ยินว่า ท่านเรียนอุทเทศในวิหารนั้นนั่นเอง ครั้งนั้น กิเลสก็เกิดขึ้นแก่ท่านผู้เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านเพราะอารมณ์อันเป็นวิสภาคกัน.ท่านข่มอารมณ์นั้นด้วยวิปัสสนาแล้วกลับไปวิหาร. อารมณ์นั้นได้ปรากฏแก่ท่านแม้ในความฝัน. ท่านเกิดความสังเวชขึ้นว่า กิเลสนี้เจริญขึ้นแล้วย่อมเป็นเครื่องทําเราให้ตกไปในอบาย ดังนี้แล้ว อําลาอาจารย์แล้วออกจากวิหารไปเรียนอสุภกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่อราคะในสํานักของพระมหาสังฆรักขิตเถระ เข้าไปสู่ระหว่างพุ่มไม้ ลาดผ้าบังสุกุลรองนั่ง ตัดเสียซึ่งราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ลุกขึ้นแล้วไหว้อาจารย์ ในวันรุ่งขึ้นได้บรรลุอุทเทสมรรค. ก็อาสวะทั้งหลายเหล่าใดกําลังเป็นไปยังไม่เกิดขึ้น ขึ้นชื่อว่า การละอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยข้อปฏิบัติย่อมไม่มี.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบทนี้ว่า อุปฺปนฺนา จ อาสวา ปหิยฺยนฺติ ดังนี้แล้ว ทรงขยายเทศนาให้พิสดาร เพื่อจะทรงชี้แจงเหตุแห่งการละ ซึ่งอาสวะที่ละได้ แม้อย่างอื่นโดยประการต่างๆ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละด้วยทัสสนะ มีอยู่ ดังนี้ สมกับที่พระองค์เป็นพระธรรมราชา ผู้ฉลาดในประเภทแห่งเทศนา.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า พึงละด้วยทัสสนะ ในทุกบทก็นัยนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 162
พรรณนาอาสวธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงกระทําให้แจ้งซึ่งบทเหล่านั้นโดยลําดับ จึงทรงตั้งปัญหาว่า ภิกษุทั้งหลายก็อาสวะเหล่าไหนที่ควรละด้วยทัสสนะ ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐานว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับในธรรมวินัยนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถามูลปริยายสูตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนสิกรณีเย ธมฺเม นปฺปชานาติ ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรน้อมนึก คือที่ควรนํามาพิจารณา. บทว่า อมนสิกรณีเย ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ตรงกันข้าม ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ก็เพราะการกําหนดโดยธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ควรใส่ใจ ธรรมเหล่านี้ไม่ควรใส่ใจ ดังนี้ ไม่มี แต่การกําหนดโดยอาการมีอยู่ คือธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจอยู่โดยอาการใด จึงเป็นปทัฏฐานแห่งการบังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ภิกษุไม่ควรทํา การใส่ใจธรรมเหล่านั้นโดยอาการนั้น ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจโดยอาการใด จึงเป็นปทัฏฐานแห่งการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ธรรมเหล่านี้ภิกษุควรใส่ใจโดยอาการนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า อาสวะเหล่าใดของปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วนั้น. บทว่า มนสิกโรโต ความว่า ผู้ระลึก คือนํามาพิจารณา. วา ศัพท์ ในบทว่า อุปฺปนฺโน วา กามสโว นี้ มีสมุจจยะเป็นอรรถ หาได้มีวิกัปเป็นอรรถไม่. ฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในที่นี้ว่า กามาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 163
ย่อมเจริญ เหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้าก็ตาม มีประมาณเท่าใด ฯลฯ ตถาคตกล่าวรอยเท้าช้างว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมได้ความว่าสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้า. และเหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า เพื่อความดํารงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้เป็นสัมภเวสีบ้าง ย่อมได้ความว่า ภูตและสัมภเวสี และเหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า จากไฟบ้าง จากน้ำบ้าง จากการขาดความสามัคคีบ้าง ย่อมได้ความว่า จากไฟ จากน้ำ และจากการขาดความสามัคคี ดังนี้. แม้ในบทนี้ว่า ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า อนุปฺปนฺโน จ กามาสโว อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺโน จ กามาสโว ปวทฺฒติ (กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นและกามาสวะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ). ในบทที่เหลือก็อย่างนี้เหมือนกัน.บรรดาอาสวะเหล่านั้น ความกําหนัดอันประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่ากามาสวะ. ความกําหนัดด้วยอํานาจความพอใจในรูปภพ และความพอใจในฌานซึ่งประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิชื่อว่า ภวาสวะ.แม้ทิฏฐาสวะ. ย่อมรวมลงในภวาสวะเหมือนกันด้วยอาการอย่างนี้. ความไม่รู้ในสัจจะทั้ง ๔ ชื่ออวิชชาสวะ. บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะซึ่งยังไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดีคือใส่ใจในกามคุณ.ภวาสวะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดีชอบใจคือใส่ใจในมหัคคตธรรม. อวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วก็ย่อมเจริญแก่ผู้ที่ใส่ใจในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยธรรมเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัลลาส ๔ พึงทราบเนื้อความดังกล่าวมาอย่างนี้. ธรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 164
ฝ่ายขาวควรให้พิสดารโดยความเป็นข้าศึกกับธรรมตามนัยที่กล่าวแล้ว.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอาสวะไว้ ๓ เท่านั้น?
ตอบว่า เพราะเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์.
ความจริง กามาสวะเป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปณิหิตวิโมกข์. ภวาสวะและอวิชชาสวะนอกนี้ เป็นปฏิปักษ์ต่ออนิมิตตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์ ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า เหล่าชนผู้ให้อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ทั้ง ๓ เหล่านั้น ชนที่ไม่ให้อาสวะเหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ทั้ง ๓ ดังนี้ จึงตรัสวิโมกข์ไว้ ๓ เท่านั้น. คํานี้ว่า อีกอย่างหนึ่ง แม้ทิฏฐาสวะก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วในอาสวกถานี้เหมือนกัน ดังนี้ เป็นอันพรรณนาไว้แล้ว. บทว่า ตสฺส อมนสิกรณียานํ ธมฺมานํ มนสิการา ความว่า เพราะเหตุแห่งการใส่ใจ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ใส่ใจซึ่งธรรมเหล่านั้น. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้. คําว่า อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ดังนี้ นี้เป็นคํากล่าวย้ำโดยไม่แตกต่างกันแห่งอาสวะทั้งหลายที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ปุถุชนนี้ใด ผู้มิได้สดับอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อทรงชี้แจงอาสวะที่พึงละด้วยเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐาน เพราะเหตุที่ปุถุชนนั้นเป็นที่ตั้งแม้แห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้นที่มีการใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย เป็นปัจจัยซึ่งตรัสไว้โดยเป็นสามัญธรรมดาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคายอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น ครั้นทรงแสดงอาสวะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 165
แม้เหล่านั้นโดยบุคคลนั้นนั่นแล ด้วยคําเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาสวะที่พึงละด้วยทัสสนะ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า โส เอวํ อโยนิโสมนสิกโรติ อโหสึ นุ โข อหํ ดังนี้. ก็ในสูตรนี้ เมื่อจะทรงแสดงแม้ทิฏฐาสวะด้วยยกวิจิกิจฉาขึ้นเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. เนื้อความแห่งคํานั้นว่า อาสวะโดยนัยที่ตรัสแล้วอย่างนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นปุถุชน ก็ปุถุชนนี้ใด พระองค์ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อสฺสุตฺวา ดังนี้ ปุถุชนนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคายคือโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่ไม่ถูกทาง.
ถามว่า ใส่ใจอย่างไร?
ตอบว่า คือย่อมใส่ใจว่า เราได้มีแล้วหรือหนอ ฯลฯ สัตว์จักไปไหนดังนี้.
ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร?
ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย โดยประการที่เขามีวิจิกิจฉาทั้ง ๑๖ อย่าง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า อหํ อโหสึ นุ โข ดังนี้ เกิดขึ้น. บรรดาข้อกังขาเหล่านั้น ข้อกังขาว่า อโหสึ นุโข น นุโข (เราได้มีแล้วหรือหนอหรือไม่ได้มีแล้ว) ความว่า ปุถุชน สงสัยความมีและความไม่มีแห่งอัตตาในอดีตเพราะอาศัยอาการคือ สัสสตทิฏฐิและอาการที่เกิดขึ้นลอยๆ คําว่า กึ การณํ (เหตุไร?) ไม่จําเป็นต้องกล่าว (เพราะ) พาลปุถุชนมีพฤติกรรมคุ้มดีคุ้มร้ายเหมือนคนบ้า. อีกอย่างหนึ่ง อโยนิโสมนสิการนั้นเองเป็นเหตุในเรื่องนี้.
ถามว่า อะไรเป็นเหตุแห่งอโยนิโสมนสิการอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 166
ตอบว่า ความเป็นปุถุชนนั่นเองหรือกิจอันมีการไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นต้นเป็นเหตุ.
ถามว่า ก็แม้ปุถุชนย่อมใส่ใจโดยแยบคาย (มีโยนิโสมนสิการเหมือนกัน) มิใช่หรือ หรือใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ปุถุชนไม่ทําไว้ในใจโดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ) (๑) ความเป็นปุถุชนไม่เป็นเหตุสําคัญในข้อนั้น กรรมคือการฟังธรรมและความมีกัลยาณมิตรเป็นต้น (ต่างหาก) เป็นเหตุสําคัญในข้อนี้. ความจริง ตามปกติของตน สัตว์มีปลาและเนื้อเป็นต้นไม่ได้มีกลิ่นหอม แต่กลายเป็นสัตว์มีกลิ่นหอมได้ เพราะมีเครื่องปรุงแต่งเป็นปัจจัย.
บทว่า กึ นุ โข อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ (กําเนิด) เพศและการอุบัติจึงสงสัยว่า เราได้เป็นกษัตริย์แล้วหรือหนอแล ได้เป็นบรรดาพราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วหรือหนอแล.
บทว่า กถํ นุโข ความว่า ปุถุชน ได้อาศัยอาการแห่งทรวดทรงจึงสงสัยว่า เราได้เป็นคนสูงแล้วหรือหนอ ได้เป็นคนเตี้ย คนขาว คนดํา คนมีขนาดพอดี คนที่ไม่ได้ขนาดแล้วหรือหนอแล. ส่วนอาจารย์บางพวกย่อมกล่าวว่า ปุถุชนอาศัยเหตุการเนรมิตของพระอิศวรเป็นต้น แล้วสงสัยโดยเหตุว่า เราได้มีแล้วเพราะเหตุอะไรหนอแล.
บทว่า กึ หุตฺวา กึ อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ (กําเนิด) เป็นต้น ย่อมสงสัยความสืบต่อของตนว่า เราเป็นกษัตริย์แล้วจึงได้มาเป็น
(๑) ปาฐะ เป็น โกว เอวมาห มนสิกโรตีติ แต่ฉบับพม่าเป็น โกวา เอวมาห น มนสิกโรตีติ เห็นว่าจะถูกต้องดีกว่า จึงได้แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 167
พราหมณ์หรือหนอแล. ฯลฯ เป็นเทวดาแล้วจึงได้มาเป็นมนุษย์หรือหนอแล. คําว่า อทฺธานํ ในทุกๆ บท เป็นคําที่ระบุถึงกาลเวลา.
บทว่า ภวิสฺสามิ นุโข น นุโข ความว่า ย่อมสงสัยความที่ตนจะมีหรือจะไม่มีในอนาคตเพราะอาศัยอาการแห่งสัสสตทิฏฐิ และอาการอุจเฉททิฏฐิ. คําที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
บทว่า เอตรหิ วา ปจฺจุปฺปนฺนํ อทฺธานํ ความว่า หรือยึดปัจจุบันกาล แม้ทั้งหมดมีปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นที่สุดในปัจจุบัน.
บทว่า อชฺฌตฺตํ กถํกถี โหติ ความว่า ปุถุชนย่อมเป็นผู้มีความสงสัยในขันธ์ทั้งหลายของตน. สงสัยอย่างไร? (๑) สงสัยความที่ตนมีอยู่ว่าเรามีอยู่หรือหนอแล.
ถามว่า ก็ข้อนี้ถูกแล้วหรือ?
ตอบว่า ในคําว่า ถูกหรือไม่ถูก นี้ จะมีความคิด (กังขา) ไปทําไม เออก็ในเรื่องนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า ลูกของแม่เล็กโกนหัว (ส่วน) ลูกของแม่ใหญ่ไม่ได้โกนหัว พอลูกของแม่ใหญ่นั้นหลับ ญาติทั้งหลายจึงช่วยกันโกนหัว. ลูกแม่ใหญ่นั้นพอตื่นขึ้นก็คิดว่า เราเป็นลูกของแม่เล็กหรือหนอ. ความสงสัยที่ว่า เรามีอยู่หรือหนอแล ก็เป็นอย่างนี้แหละ.
บทว่า โน นุ โขสฺมิ ได้แก่ปุถุชนย่อมสงสัยความที่ตนไม่มี.แม้ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า คนจับปลาคนหนึ่งคิดเห็นขาของตนซึ่งเย็นเพราะแช่อยู่ในน้ำนานว่าเป็นปลา จึงได้ตีอีกคนหนึ่งเฝ้านาอยู่ใกล้ป่าช้ารู้สึกกลัวจึงนอนขดตัว. เขาตื่นขึ้นมาคิดว่า
(๑) ฉ. กินฺติ สทฺโท นตฺถิ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 168
เข่าของตนเป็นยักษ์ ๒ ตน จึงได้ตี. เขาย่อมมีความสงสัยว่า หรือว่าเราไม่มี (ไม่ใช่ตัวเรา) ดังนี้.
บทว่า กึ นุโข ได้แก่เขาเป็นกษัตริย์ (แต่) สงสัยความเป็นกษัตริย์ของตน. ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนผู้เกิดเป็นเทวดา ชื่อว่าไม่รู้ความเป็นเทพย่อมไม่มี แม้เทวดานั้นก็ย่อมมีความสงสัยความเป็นเทวดานั้น โดยนัยเป็นต้นว่า เรามีรูปหรือไม่มีรูปหนอ.
หากมีคําถามว่า กษัตริย์เป็นต้นไม่รู้ความเป็นกษัตริย์เป็นต้นเพราะเหตุอะไร?
พึงตอบว่า ความอุบัติในตระกูลนั้นๆ ของกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้นไม่ประจักษ์. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์โปฏฐลิตะเป็นต้น ก็มีความสําคัญตัวเองว่า เป็นบรรพชิต แม้บรรพชิตก็มีความสําคัญตัวเองว่าเป็นคฤหัสถ์ โดยนัยเป็นต้นว่า กรรมของเรากําเริบแล้วหนอ อนึ่ง แม้มนุษย์ทั้งหลายย่อมมีความสําคัญในคนว่าเป็นสมมติเทพ เหมือนพระราชา.
คําว่า กถํ นุ โขสฺมิ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในบทว่า กถํ นุ โขสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ปุถุชนเมื่อยึดถือว่า ในภายในมีแต่ชีวะล้วนๆ ดังนี้ แล้วอาศัยอาการแห่งทรวดทรงของชีวะนั้น สงสัยอยู่ว่าเราเป็นคนสูงหรือหนอแล หรือว่า เรามีรูปร่างเตี้ย ๔ ส่วน ๖ ส่วน ๘ ส่วน ๑๖ ส่วนเป็นต้น ประการใดประการหนึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่าสงสัยว่า เราเป็นอย่างไรหนอแล. ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้ไม่รู้สรีรสัณฐานอันเป็นปัจจุบันไม่มีเลย.
บทว่า กุโต อาคโต โส กุหึ คามี ภวิสฺสติ ได้แก่สงสัยที่มาและที่ไปของอัตภาพ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 169
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิจิกิจฉา ๑๖ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะใด โดยหัวข้อคือวิจิกิจฉานี้พระองค์ได้ทรงเริ่มเทศนานี้ เมื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะนั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ตสฺส เอวํ อโยนิโส มนสิกโรโต ฉนฺนํ ทิฏฺฐีนํ ดังนี้.มีคําอธิบายไว้ว่า วิจิกิจฉานี้ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นโดยประการใด บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นเองผู้ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย มีความลังเลสงสัยโดยประการนั้น เพราะอโยนิโสมนสิการ ถึงความเป็นสภาพมีกําลัง. วา ศัพท์ ในทุกๆ บทนั้นเป็นวิกัปปัตถะ. อธิบายว่า ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้บ้าง อย่างนี้บ้าง. ก็สัสสตทิฏฐิในบทว่า อัตตาของเรามีอยู่นี้ ย่อมยึดถือว่า อัตตาของตนมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ.
บทว่า สจฺจโต เถตโต ความว่า โดยจริงและโดยแท้. อธิบายว่าโดยการยึดถืออย่างมั่นด้วยดีว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง. ส่วนทิฏฐินี้ว่า อัตตาของเราไม่มี ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือว่าสัตว์ที่มีอยู่ขาดสูญในภพนั้นๆ.
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิแม้ข้อแรกชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะยึดถือว่ามีอยู่ในกาลทั้ง ๓. ทิฏฐิที่ยึดถืออยู่ว่า สิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นมีอยู่ ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ. อนึ่ง ทิฏฐิข้อหลังชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะยึดถือในอดีตและอนาคตว่าไม่มี เหมือนทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดถือทิฏฐิว่า การบูชาทั้งหลายมีเถ้าเป็นที่สุด ฉะนั้น (ส่วน) ทิฏฐิที่ยึดถือในอดีตเท่านั้นว่าไม่มี ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ ดุจทิฏฐิของสัตว์ผู้เกิดขึ้นลอยๆ เท่านั้น.
บทว่า อตฺตนา ว อตฺตานํ สฺชานามิ ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือขันธ์ทั้งหลายโดยมีสัญญาขันธ์เป็นประธานว่า นั่นอัตตา แล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 170
หมายรู้ขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจว่า เราย่อมหมายรู้อัตตานี้ด้วยอัตตานี้.
บทว่า อตฺตนาว อตฺตานํ ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์นั้นแลว่าเป็นอัตตา และยึดถือขันธ์ นอกนี้ว่าเป็นอนัตตา แล้วหมายรู้ขันธ์ ๔ เหล่านั้นด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้อนัตตาด้วยอัตตา).
บทว่า อนตฺตนาว อตฺตานํ ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์ว่าอนัตตา และยึดถือขันธ์ ๔ นอกนี้ว่าอัตตา แล้วหมายรู้ขันธ์ ๔ เหล่านั้นด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้อัตตาด้วยอนัตตา).ทิฏฐิทุกอย่าง (ดังกล่าวมา) จัดเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิทั้งนั้น.
อาการทั้งหลายมีอาทิว่า วโท วเทยฺโย เป็นอาการของการยึดมั่นด้วยสัสสตทิฏฐินั้นเอง. ใน ๒ คํานั้นพึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ที่ชื่อว่า วโท เพราะอรรถว่า ผู้บงการ อธิบายว่า ผู้ทําวจีกรรม. ที่ชื่อว่า เวเทยฺโย เพราะอรรถว่า รู้ อธิบายว่า ทั้งรู้ทั้งเสวย.
ถามว่า เสวยซึ่งอะไร?
ตอบว่า เสวยผลของกรรมดีและกรรมชั่วในภพนั้นๆ.
บทว่า ตตฺร ตตฺร ความว่า ในกําเนิด คติ ฐิติ นิวาส และนิกายหรือในอารมณ์นั้นๆ.
บทว่า นิจฺโจ คือเว้นจากการบังเกิดขึ้นและการเสื่อมไป.
บทว่า ธุโว คือมั่นคง ได้แก่เป็นสาระ.
บทว่า สสฺสโต คือมีอยู่ตลอดกาลทั้งปวง.
บทว่า อวิปริณามธมฺโม ความว่า มีการไม่ละความเป็นปกติของตน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 171
เป็นธรรมดา คือย่อมไม่ถึงความเป็นประการต่างๆ เหมือนกิ้งก่าฉะนั้น.
บทว่า สสฺสติสมํ ความว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมุทรม หาปฐพี และภูเขา ท่านเรียกว่า สัสสติ (สิ่งที่เที่ยง) ตามโวหารของชาวโลก. เสมอด้วยสิ่งที่เที่ยงทั้งหลาย ชื่อว่าสัสสติสมะ. ทิฏฐิอย่างนี้ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า สิ่งที่เที่ยงทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ตราบใด อัตตานี้ก็จักตั้งอยู่เหมือนอย่างนั้นตราบนั้น.
บทว่า อิทํ ในคําว่า อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ทิฏฺิคติ ดังนี้ เป็นต้นเป็นคําชี้แจงคําที่จะพึงกล่าวในบัดนี้อย่างชัดเจน. ก็บทว่า อิทํ นี้ ท่านกล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่องกับทิฏฐิคตะ หากล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่องกับทิฏฐิไม่. ก็ในที่นี้ทิฏฐินั้นเอง ชื่อทิฏฐิคตะเหมือนคูถคตะ อีกอย่างหนึ่ง การดําเนินไปในทิฏฐิ ชื่อทิฏฐิคตะ. ทัสสนะนี้เพราะเหตุที่หยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. อีกอย่างหนึ่ง การดําเนินไปของทิฏฐิก็ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. คําว่า อตฺถิเม อตฺตา เป็นต้นนี้สักว่าเป็นเครื่องดําเนินไปแห่งทิฏฐิ. อธิบายว่า อัตตา หรือใครๆ ที่เที่ยงไม่มีในที่นี้. อนึ่ง ทิฏฐินี้นั้น ชื่อว่า รกชัฏ เพราะอรรถว่า ปราบได้ยาก ชื่อว่ากันดาร เพราะอรรถว่า ข้ามได้ยาก และเพราะอรรถว่า มีภัยเฉพาะหน้า เหมือนความกันดารเพราะทุพภิกขภัย และเพราะสัตว์ร้ายเป็นต้นฉะนั้น. ทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเสียดแทง หรือเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องขัดสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่าดิ้นรนไปต่างๆ เพราะอรรถว่า ดิ้นรนผิดรูป เพราะบางคราวยึดถือสัสสตทิฏฐิ บางคราวยึดถืออุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องผูก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฺิคหนํ ฯเปฯ ทิฏฺิสํโยชนํ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 172
บัดนี้ เมื่อจะแสดงอรรถคือการผูกนั้นนั่นแลของสังโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ทิฏฺิสํโยชนสํยุตฺโต ดังนี้, ข้อนั้นมีเนื้อความสังเขปต่อไปนี้ว่า ปุถุชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์นี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติเป็นต้นเหล่านี้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่จําเป็นต้องพูดมาก (คือกล่าวว่า) เขาย่อมไม่พ้นไปจากวัฏฏทุกข์ทั้งหมดก็ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทิฏฐาสวะซึ่งมี ๖ ประเภท ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว เพราะเหตุที่สีลัพพตปรามาส พระองค์ทรงแสดงไว้ด้วยสามารถกามาสวะเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ความจริง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ภายนอกจากพระพุทธศาสนานี้ ถูกอวิชชาครอบงําย่อมพากันยึดถือศีลและพรต เพื่อความสุขในกามและเพื่อความสุขในภพ และความบริสุทธิ์ในภพ ฉะนั้น ครั้นไม่ทรงแสดงสีลัพพตปรามาสนั้น (ซ้ำอีก) หรือไม่ทรงแสดงสีลัพพตปปรามาสนั้น (อีก) เพราะสีลัพพตปรามาสนั้นพระองค์ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ทิฏฐิแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้ละอาสวะอันจะพึงละด้วยทัสสนะนั้น แล้วแสดงวิธีการละอาสวะเหล่านั้นหรือเพื่อทรงแสดงการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะเหล่านั้นของปุถุชนผู้ไม่ได้ใส่ใจโดยแยบคาย แล้วจึงทรงแสดงวิธีการละของบุคคลผู้ผิดตรงกันข้ามนั้น ในบัดนี้จึงตรัสคําว่า สุตวา จ โข ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความของคํานั้นบัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคําที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง จนถึงบาลีประเทศว่า โส อิทํ ทุกฺขํ ดังนี้ และโดยบุคคลที่ตรงกันข้ามจากบุคคลที่กล่าวมาแล้ว. ก็บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกผู้ได้สดับ เป็นผู้ฉลาดในอริยธรรมและถูกแนะนําด้วยดีในอริยธรรมโดยปัจนีกนัย คือโดยความเป็นข้าศึกต่อบุคคลผู้ไม่รู้และไม่ได้ถูกแนะนําในอริยธรรมโดย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 173
อาการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่งแล บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกด้วยอรรถอันสมควรแก่เหตุนั้น ตั้งแต่วิปัสสนาที่ถึงยอดจนถึงโคตรภู.
ก็ในข้อว่า โส อิทํ ทุกฺขนฺติ โยนิโส มนสิกโรติ ดังนี้เป็นต้นนี้ มีการบรรยายความให้ชัดเจนดังต่อไปนี้. อริยสาวกผู้เจริญกัมมัฏฐานในสัจจะ ๔ นั้น ในชั้นแรกทีเดียว ต้องเรียนกัมมัฏฐานประกอบด้วยสัจจะ ๔ ในสํานักของอาจารย์อย่างนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะโทษคือตัณหา ตัณหาชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ความไม่เป็นไปแห่งทุกข์และทุกข์สมุทัยทั้ง ๒ ชื่อว่านิโรธ ทางให้ถึงความดับชื่อว่ามรรคดังนี้แล้ว โดยสมัยต่อมา เธอก้าวขึ้นสู่ทางแห่งวิปัสสนา ย่อมใส่ใจถึงขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านั้นโดยแยบคายว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ คือ ย่อมรําพึง และพิจารณาเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาโดยยกมนสิการเป็นสําคัญทีเดียว จนถึงโสดาปัตติมรรค. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็ตัณหานี้ใดเป็นสมุฏฐาน คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแหละ ตัณหานี้นั้นชื่อว่าสมุทัย.พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็เพราะทุกข์นี้ด้วยทั้งสมุทัยนี้ด้วยครั้นมาถึงฐานะนี้แล้วย่อมดับไป คือไม่เป็นไป ฉะนั้น ฐานะนี้จึงชื่อว่านิพพาน นี้แลชื่อทุกขนิโรธ. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายถึงมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นเหตุให้ถึงนิโรธว่า นี้คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์คือย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ในข้อนั้นมีอุบาย (กําหนด) ดังนี้ :-
ชื่อว่าความยึดมั่นย่อมมีในวัฏฏะ หามีในวิวัฏฏะไม่. ฉะนั้น พระโยคาวจรกําหนดภูตรูป ๔ ในสันตติของตนโดยนัยเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 174
อาโปธาตุ นี้มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ และกําหนดอุปาทายรูปตามทํานองแห่งภูตรูปนั้นแล้วกําหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ ดังนี้ เมื่อกําหนดรูปขันธ์นั้นก็ย่อมกําหนดธรรม คือจิตและเจตสิก อันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว ว่า ธรรม ๔ ประการนี้เป็นอรูปขันธ์ ต่อแต่นั้นย่อมกําหนดว่าขันธ์ ๔ เบญจขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์ ก็เบญจขันธ์เหล่านั้น โดยสังเขปมี ๒ ส่วนเท่านั้น คือนามและรูป และนามรูปนี้มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น พระโยคาวจรย่อมกําหนดเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น มีอวิชชา ภพ ตัณหา กรรมและอาหารเป็นต้นว่า นี้เป็นปัจจัย. ต่อแต่นั้นพระโยคาวจรกําหนดกิจและลักษณะของตนตามความเป็นจริงของปัจจัย และธรรมซึ่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเหล่านั้นแล้วยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้วเกิดมีขึ้น. ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมเหล่านี้เป็นทุกข์ เพราะความที่ถูกความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น. ยกขึ้นสู่อนัตตลักษณะว่า ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอํานาจ. พระโยคาวจรครั้นยกธรรมเหล่านี้ขึ้นสู่ไตรลักษณ์อย่างนี้แล้วให้วิปัสสนาเป็นไปโดยลําดับย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคได้. ในขณะนั้นเธอย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔ ด้วยการแทงตลอดด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยอาการตรัสรู้ด้วยญาณดวงเดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดโดยการกําหนดรู้ ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอดโดยการละ ย่อมแทงตลอดนิโรธด้วยการแทงตลอดโดยการทําให้แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอดโดยการเจริญ. อนึ่ง เธอย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้โดยการกําหนดรู้ ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้โดยการเจริญ หาใช่ตรัสรู้สัจจะอีกข้อหนึ่งด้วยญาณอีกญาณหนึ่งไม่. ความจริง พระโยคาวจรนี้ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 175
แทงตลอดและย่อมตรัสรู้นิโรธสัจจะโดยความเป็นอารมณ์ และสัจจะที่เหลือโดยความเป็นกิจด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น. ก็ในสมัยนั้นเธอย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมกําหนดรู้ทุกข์ ดังนี้ หรือ ฯลฯ หรือว่าเราย่อมยังมรรคให้เจริญ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อเธอทําให้แจ้งซึ่งนิโรธด้วยสามารถแห่งปฏิเวธโดยทําให้เป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ญาณนั้นชื่อว่าย่อมทําหน้าที่กําหนดรู้ทุกข์บ้าง ทําหน้าที่ละสมุทัยบ้าง และทําหน้าที่เจริญมรรคบ้าง. เมื่อเธอใส่ใจโดยแยบคายโดยอุบายอย่างนี้ เธอย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ วิจิกิจฉามีวัตถุ ๘ สีลัพพตปรามาส เพราะลูบคลําศีลและพรตว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะศีล ความบริสุทธิ์มีได้เพราะพรต. บรรดาอาสวะทั้ง ๔ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาสท่านสงเคราะห์ด้วยทิฏฐาสวะ คือเป็นทั้งอาสวะเป็นทั้งสังโยชน์ วิจิกิจฉาเป็นสังโยชน์อย่างเดียว ไม่เป็นอาสวะ. แต่ชื่อว่าเป็นอาสวะเพราะนับเนื่องในบาลีนี้ว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา อาสวา ดังนี้เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงเรียกว่า ปหาตัพพธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ว่า เป็นอาสวะที่ชื่อว่า ทัสสนปหาตัพพธรรม จึงได้ตรัสไว้. อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐินี้ใด ที่ท่านจําแนกไว้โดยสรูปนั้นแลอย่างนี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่าง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาสักกายทิฏฐินั้นจึงตรัสว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้. ก็เพราะสักกายทิฏฐินั้น พระโยคาวจรย่อมละได้พร้อมกับวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสที่เกิดร่วมกันและมีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ. ความจริง เมื่อพระโยคาวจรละทิฏฐาสวะได้แล้ว กามาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ในจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 176
๔ ดวง ซึ่งเกิดร่วมกับทิฏฐาสวะนั้น พระโยคาวจรย่อมละได้เช่นเดียวกัน.ส่วนภวาสวะซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยสามารถแห่งความสําเร็จความปรารถนาของนาคและครุฑเป็นต้น ในจิตซึ่งเป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงชื่อว่าธรรม ที่มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ อาสวะทั้ง ๓ ที่เหลืออย่างนี้ คืออวิชชาสวะที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนี้ก็ดี อวิชชาสวะอันเป็นตัวทําให้บังเกิดอกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นในโทมนัสจิต ๒ ดวงก็ดี อวิชชาสวะซึ่งสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาจิตเช่นเดียวกันก็ดี พระโยคาวจรย่อมละได้โดยประการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทํานิทเทศเป็นพหุวจนะไว้ฉะนี้แล.ในที่นี้เนื้อความพึงทราบดังว่ามานี้. คําอธิบายของท่านพระโบราณาจารย์ก็เช่นนี้.
บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทัสสนะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อันทัสสนะนั้นพึงละ.
ถามว่า เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ?
ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก.
ถามว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นก่อนกว่ามิใช่หรือ?
ตอบว่า โคตรภูญาณย่อมไม่เห็นเลยก็ไม่ใช่. แต่ว่า โคตรภูญาณนั้นครั้นเห็นแล้วจะทํากิจที่ควรกระทําไม่ได้ เพราะละสังโยชน์ไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรกล่าวว่า ย่อมเห็น ดังนี้. ก็ในเรื่องนี้มีบุรุษชาวบ้านแม้ได้เห็นพระราชาในที่บางแห่งแล้วถวายเครื่องบรรณาการกล่าวอยู่ว่า แม้ในวันนี้เราก็ไม่ได้พบพระราชา เพราะความสําเร็จกิจตนมองไม่เห็นเป็นตัวอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 177
(๒) อาสวะที่ละได้เพราะสังวร
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาสวะอันจะพึงได้ด้วยทัสสนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาสวะอันพระโยคาวจรพึงละด้วยสังวรซึ่งทรงแสดงไขไว้ในลําดับต่อไป จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่พระโยคาวจรพึงละด้วยสังวร ดังนี้. ในบททั้งปวงพึงทราบการสัมพันธ์กันอย่างนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเพียงเนื้อความเท่านั้น.
ถามว่า ก็ขึ้นชื่อว่า อาสวะที่พระโยคาวจรพึงละไม่ได้ด้วยกิจ ๒ อย่างเหล่านี้คือ ด้วยทัสสนะและด้วยภาวนาไม่มีมิใช่หรือ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอาสวะที่พระโยคาวจรพึงละด้วยกิจมีสังวรเป็นต้นไว้แผนกหนึ่งเล่า.
ตอบว่า เพราะอาสวะทั้งหลายที่พระโยคาวจรข่มไว้ได้ในส่วนเบื้องต้นด้วยกิจมีการสังวรเป็นต้น ย่อมถึงการเพิกถอนด้วยมรรค ๔ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการละอาสวะเหล่านี้ในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้นด้วยการข่มไว้ด้วยอาการ ๕ อย่าง จึงตรัสอย่างนี้. ฉะนั้น โสดาปัตติมรรคข้อแรกที่พระองค์ตรัสไว้แล้วนี้ใด และมรรค ๓ ซึ่งพระองค์จักตรัสโดยชื่อว่าภาวนาในบัดนี้ กถาว่าด้วยอาสวะที่พึงละเพราะสังวรเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นบุพพภาคปฏิปทาของโสดาปัตติมรรค และของมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้นแม้ทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือในศาสนานี้. บทว่า ปฏิสงฺขา แปลว่า พิจารณาแล้ว. สงฺขา ศัพท์ ในบทว่า ปฏิสงฺขา นั้น ย่อมใช้ในญาณ โกฏฐาสะ บัญญัติและการนับ. อธิบายว่า สงฺขา ศัพท์ ใช้ในญาณ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า พิจารณาแล้วจึงเสพปัจจัยอย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 178
หนึ่ง ใช้ในโกฏฐาสะ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ ย่อมฟุ้งไป. ใช้ในบัญญัติ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า การบัญญัติเป็นชื่อของธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ. ใช้ในการนับ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า การนับไม่ใช่ทําได้โดยง่ายเลย. ส่วนในที่นี้พึงเห็นความหมายว่าใช้ในญาณ.
ความจริง บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ความว่า พิจารณา คือทราบ ได้แก่เห็นเฉพาะโดยอุบายคือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้ การพิจารณาโทษในอสังวร พึงทราบว่า การพิจารณาโดยแยบคาย. ก็การพิจารณาโทษในอสังวรนี้นั้น พึงทราบโดยนัยแห่งอาทิตตปริยายสูตรเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย จักขุนทรีย์ที่ภิกษุทะลวงแล้วด้วยหลาวเหล็กอันร้อนโชนรุ่งโรจน์โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือเอานิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุไม่ประเสริฐเลย.
ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริยสํวรสํวุโต วิหรติ นี้ มีอธิบายว่า อินทรีย์คือจักษุชื่อจักขุนทรีย์ ที่ชื่อว่า สังวร เพราะกั้นไว้ อธิบายว่า เพราะปิด คือกั้นไว้ได้. คําว่า สังวรนี้ เป็นชื่อของสติ. การสํารวมในอินทรีย์คือจักษุ ชื่อว่าการสํารวมจักขุนทรีย์ ดุจประโยคเป็นต้นว่า กาที่ท่าน้ำ เต่าในบ่อน้ำ กระบือในป่า.
ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริยสํวรสํวุโต วิหรติ นั้น การสํารวมหรือการไม่สํารวมในจักขุนทรีย์ ย่อมไม่มีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สติ หรือความหลงลืมสติ ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาท. อีกอย่างหนึ่ง ในกาลใดรูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดขึ้น ๒ ครั้งแล้วดับไป มโนธาตุฝ่ายกิริยาเกิดขึ้นให้กิจแห่งอาวัชชนะสําเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 179
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นให้ทัสสนกิจสําเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น มโนธาตุฝ่ายวิบากเกิดขึ้นให้สัมปฎิฉันนกิจสําเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น มโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกวิบากเกิดขึ้นให้สันตีรณกิจสําเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้นมโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกฝ่ายกิริยาเกิดขึ้นให้โวฏฐัพพนกิจสําเร็จแล้วดับไป. ในลําดับนั้น ชวนจิตย่อมแล่นไป. อนึ่ง ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริยสํวรสํวุโต วิหรติ นั้น การสํารวมหรือการไม่สํารวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิต ทั้งในสมัยแห่งอาวัชชนจิต เป็นต้น สมัยใดสมัยหนึ่ง การสํารวมหรือการไม่สํารวมย่อมไม่มีเช่นเดียวกัน. แต่ในขณะแห่งชวนจิต ถ้าโทษเครื่องทุศีลความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่รู้ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้านเกิดขึ้นไซร้ นี้เป็นการไม่สังวร. ความไม่สํารวมนั้น แม้เป็นอย่างนี้ ท่านก็เรียกว่าความไม่สํารวมในจักขุนทรีย์.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะเมื่อมีการไม่สํารวมในจักขุนทรีย์นั้น. ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันพระโยคาวจรไม่คุ้มครองแล้ว.
เปรียบเหมือนอะไร?
เปรียบเหมือนเมื่อประตูทั้ง ๔ ด้านในพระนครอันบุคคลไม่คุ้มครองแล้ว ภายในเรือนซุ้มประตูและห้องเป็นต้นอันบุคคลคุ้มครองดีแล้วแม้ก็จริงถึงอย่างนั้น สิ่งของทุกอย่างในพระนครเป็นอันไม่ได้รักษาไม่ได้คุ้มครองเลย.เพราะโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูพระนครพึงลักสิ่งที่ตนปรารถนาได้ฉันใด เมื่อโทษเครื่องทุศีลบังเกิดขึ้นในชวนจิต เมื่อมีการไม่สํารวมในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุไม่คุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 180
แต่เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันภิกษุคุ้มครองดีแล้ว. เปรียบเหมือนอะไร? เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครอันบุคคลคุ้มครองดีแล้ว ภายในเรือนเป็นต้นอันบุคคลคุ้มครองไม่ดีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทุกอย่างภายในพระนครเป็นอันบุคคลรักษาดีแล้ว. เพราะเมื่อปิดประตูพระนครแล้ว โจรทั้งหลายก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นบังเกิดขึ้นในชวนจิต ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุคุ้มครองดีแล้วฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สังวรแม้ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต ท่านเรียกว่า การสํารวมในจักขุนทรีย์. ก็ในที่นี้ สติสังวรนี้พึงทราบว่า พระองค์ทรงประสงค์เอาแล้ว. บุคคลผู้สํารวมแล้วด้วยการสํารวมจักขุนทรีย์ชื่อว่าจกฺขุนฺทฺริยสํวรสํวุโต ผู้เข้าถึงแล้วด้วยการสํารวมจักขุนทรีย์. จริงอย่างนั้น คําใดที่ท่านกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งบทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต นี้ว่า ภิกษุผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการสํารวมปาฏิโมกข์นี้ คํานั้นบัณฑิตพึงรวมเข้าเป็นอันเดียวกันแล้วทราบโดยเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุเป็นผู้สํารวมด้วยการสํารวมจักขุนทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ผู้สํารวมแล้ว เพราะอรรถว่า สังวรระวัง อธิบายว่า กั้น คือปิด. ภิกษุผู้สังวรระวังในจักขุนทรีย์ คือผู้มีจักขุนทรีย์อันระวังรักษาแล้ว อธิบายว่ากั้น คือปิด บานประตูคือสติที่รู้กันว่าการสํารวมทางจักขุนทรีย์ในจักษุทวาร เหมือนคนปิดบานประตูที่ประตูเรือนฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ เนื้อความนี้เท่านั้นดีกว่า. จริงอย่างนั้น เนื้อความนี้นั้นแลย่อมปรากฏใน ๒ บทนี้ว่า ผู้ไม่สํารวมระวังจักขุนทรีย์อยู่ และว่า ผู้สํารวมระวังจักขุนทรีย์อยู่ ดังนี้แล.
บทว่า วิหรติ ความว่า ผู้สํารวมระวังทางจักขุนทรีย์อย่างนี้อยู่ด้วยการอยู่ด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 181
ในบทว่า ยฺหิสฺส เป็นต้น พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่สํารวมระวังจักขุนทรีย์ใด คือไม่กั้นไม่ปิดการระวังทางจักขุนทรีย์อยู่. อีกอย่างหนึ่งอาเทศ เย อักษรเป็น ยํ ก็ได้ ส่วน หิ อักษรเป็นปทปูรณะ ความว่า เย อสฺส.
บทว่า อุปฺปชฺเชยฺย แปลว่า พึงบังเกิดขึ้น.
บทว่า อาสวา วิฆาฏปริฬาหา ได้แก่อาสวะ ๔ และความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากอันทําความคับแค้นเหล่าอื่น.ความจริงกามาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ชอบใจเพลิดเพลินใจซึ่งอิฏฐารมณ์อันมาปรากฏในจักษุทวารด้วยอํานาจความชอบใจในกาม ภวาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยความปรารถนาในภพว่า เราจักได้สมบัติเช่นนี้ในสุคติภพแม้อื่น ทิฏฐาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยึดถือว่าเป็นสัตว์หรือว่าของสัตว์ ความไม่รู้ซึ่งบังเกิดพร้อมกับอาสวะทั้งหมดนั้นแหละชื่อว่าอวิชชาสวะ อาสวะ ๔ ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างว่ามานี้. แม้กิเลสทั้งหลายเหล่าอื่นซึ่งสัมปยุตด้วยอาสวะเหล่านั้น ความเร่าร้อนอันกระทําความคับแค้นหรือวิบากในภพต่อไปของกิเลสเหล่านั้นเหล่าใด แท้จริง กิเลสเป็นต้นแม้เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สํารวมอยู่เหมือนกัน.
บทว่า เอวํส เต ความว่า ด้วยอุบายนี้ อาสวะเหล่านั้นนั่นแหละหามีแก่ภิกษุนั้นผู้สํารวมอยู่อย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ไม่ใช่มีโดยประการอื่น.
ในบทเป็นต้นว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส โสตินฺทฺริยสํวรสํวุโต ก็นัย (เดียวกัน) นี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ อาสวา สํวรา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเพราะแยกในทวารทั้ง ๖ เป็นทวารละ ๔ อาสวะจึงรวมเป็นอาสวะ ๒๔ เรากล่าวว่า พระโยคาวจรควรละเสียด้วยสังวร.ก็ในที่นี้ สติสังวรนั้นแล พึงทราบว่า สังวรในทุกๆ บทนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 182
(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา
[๑๔] คําที่จะพึงกล่าว ในบทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ เป็นต้นทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในสีลกถา ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคนั้นแล.
บทว่า ยฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนอันทําความคับแค้นใจ (พึงเกิดขึ้น) แก่ภิกษุ (ผู้ไม่พิจารณาแล้วเสพ) ปัจจัยหรือบรรดาจีวรบิณฑบาตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อปฏิเสวโต ความว่า ผู้ไม่ (พิจารณา) โดยแยบคายแล้วเสพอย่างนี้. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล ก็ในที่นี้ พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งกามาสวะของภิกษุผู้ปรารถนาจีวรเป็นต้นที่คนไม่ได้ หรือผู้ยินดีจีวรเป็นต้นที่ตนได้แล้วอย่างเดียว. พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งภวาสวะของภิกษุผู้ยินดีด้วยความปรารถนาในภพว่า เราจักได้สมบัติเช่นนี้ในสัมปัตติภพ คือสุคติภพแม้อื่น พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งทิฏฐาสวะของภิกษุผู้ตั้งความสําคัญในตนว่า เราจะได้ ดังนี้ หรือว่า สิ่งนี้จักเป็นของเราดังนี้. ก็อวิชชาสวะเกิดพร้อมกับอาสวะทั้งปวง พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะทั้ง ๔ อย่างดังว่ามานี้แล. ส่วนความเร่าร้อนเพราะวิบาก พึงทราบแม้โดยการบังเกิดขึ้นแห่งเวทนาใหม่. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว อาสวา ปฏิเสวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะเหล่านี้มี ๑๖ อย่าง เพราะแยกอาสวะในปัจจัยแต่ละปัจจัย (มีจีวรเป็นต้น) เป็นปัจจัยละ ๔ อาสวะ. อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า พระโยคาวจรพึงละได้ด้วยการพิจารณาแล้วเสพ กล่าวคือการสํารวมด้วยญาณนี้ ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 183
(๔) อาสวะที่ละได้ด้วยความอดกลั้น
[๑๕] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ขโม โหติ สีตสฺส ความว่าภิกษุพิจารณาโดยอุบายถูกทางแล้วย่อมเป็นผู้ทนต่อความหนาว คือย่อมอดทนอดกลั้นความหนาว จะสั่นสะท้านเพราะความหนาวแม้เพียงเล็กน้อย เหมือนบุรุษผู้ไม่มีความกล้าหาญก็หาไม่ ท่านไม่ยอมละทิ้งกัมมัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่งแล ท่านถูกความหนาวจัดสัมผัสก็ไม่สั่นสะท้าน ย่อมใส่ใจเฉพาะกัมมัฏฐานเหมือนพระโลมสนาคเถระฉะนั้น. ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในเรือนบําเพ็ญเพียรในถ้ำปิยังคุ ณ เจติยบรรพต พิจารณาโลกันตริยนรกที่ตั้งอยู่ในระหว่าง (ทวีป) ในสมัยหิมะตก ไม่ยอมละทิ้งกัมมัฏฐานเลย ให้เวลาผ่านไปในกลางแจ้ง. แม้ในฤดูร้อนเป็นต้น ก็พึงทราบการอธิบายขยายความอย่างนี้. ความจริง ภิกษุใดย่อมอดกลั้นความร้อนแม้มีประมาณยิ่งได้อย่างเดียว ภิกษุนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้อดทนต่อความร้อนได้เหมือนพระเถระนั้นนั่นแล. ได้ยินว่า ในเวลาหลังภัตตาหารในฤดูคิมหันต์ พระเถระนั่งอยู่ภายนอกที่จงกรม. เมื่อท่านใส่ใจถึงกัมมัฏฐานเหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้. ทีนั้น อันเตวาสิกจึงเรียนท่านว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านนั่งในที่นี้เถิด โอกาสนี้เย็นสบาย. พระเถระกล่าวว่า เราจะไม่นั่งในที่นั้นหรอกเพราะกลัวความร้อน ผู้มีอายุ ดังนี้ แล้วนั่งพิจารณาอเวจีมหานรก. ก็ในที่นี้ความเร่าร้อนเพราะไฟพึงทราบว่า อุณฺหํ.ก็เรื่องนั้นท่านกล่าวไว้ด้วยอํานาจความเร่าร้อนอันเกิดจากพระอาทิตย์. ก็ภิกษุใดแม้เมื่อไม่ได้ภัตหรือน้ำดื่มเพียง ๒ - ๓ มื้อแล้ว พิจารณาการเกิดขึ้นในเปตวิสัยของตนในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นที่ตามไปไม่รู้แล้ว ไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 184
หวั่นไหว ไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานและถูกสัมผัสแห่งเหลือบยุงและแดดแม้มีประมาณยิ่งถูกต้อง ก็พิจารณาการเข้าถึงกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานไม่หวั่นไหวไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานเลย และแม้จะถูกสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานถูกต้องก็พิจารณาถึงอัตภาพในกาลก่อน ซึ่งกลิ้งเกลือกอยู่หลายวาระที่ปากของราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ในสงสารที่มีที่สุดเบื้องต้นที่ตามไปไม่รู้แล้วไม่หวั่นไหวไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานเหมือนพระปธานิยเถระ ภิกษุนั้นพึงทราบว่าเป็นผู้อดทนต่อความหิว ฯลฯ สัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานเป็นต้น.ได้ยินว่า งูพิษตัวหนึ่งได้กัดพระเถระผู้กําลังฟังอริยวังสสูตร ในเรือนทําความเพียรชื่อกรรณิการ์ในมหาวิหารชื่อขัณฑเวละ. พระเถระแม้รู้แล้วมีจิตเลื่อมใสนั่งฟังธรรมตามปกติ. กําลังพิษได้แรงกล้าขึ้น (ตามลําดับ). พระเถระได้พิจารณาถึงศีลเริ่มต้นแต่มณฑลอุปสมบทแล้วเกิดปีติขึ้นว่า เรามีศีลบริสุทธิ์. พร้อมกับการบังเกิดขึ้นแห่งปีติ พิษได้แล่นกลับเข้าแผ่นดินไป. พระเถระได้เอกัคคตาจิตในที่นั้นนั่นเองเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหันต์. ก็ภิกษุใดฟังคําพูดหยาบคาย และคําพูดอันสหรคตด้วยอันติมวัตถุ ซึ่งมาจากที่ไกลเพราะเป็นคําพูดที่หยาบคายแล้ว พิจารณาถึงคุณของขันติ ไม่หวั่นไหวด้วยอํานาจการด่าตอบเหมือนพระทีฆภาณกอภัยเถระ. ภิกษุนี้นั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคําหยาบซึ่งมาแต่ไกลได้. ได้ยินว่า พระเถระกล่าวมหาอริยวังสปฏิปทาเพื่อความเป็นผู้ยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัย. ชาวบ้านทั้งหมดต่างพากันมา.มหาสักการะจึงได้เกิดมีแก่พระเถระ. พระมหาเถระบางรูปอดกลั้นสักการะนั้นไม่ได้จึงด่าโดยนัยเป็นต้นว่า พระทีฆภาณกะก่อความวุ่นวายขึ้นตลอดคืน ด้วยกล่าวว่าเราจะกล่าวอริยวงศ์. ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป (เวลาเดิน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 185
ทาง) กลับไปสู่วิหารของตนๆ และได้เดินร่วมทางเดียวกันไปสิ้นหนทางประมาณคาวุตหนึ่ง. พระเถระนั้นก็ได้ด่าพระทีฆภาณกเถระแม้ทุกๆ คาวุต. ครั้นแล้ว พระทีฆภาณกเถระยืนอยู่ในที่ที่หนทางของวิหารทั้ง ๒ แยกกัน ไหว้พระเถระนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นทางของท่านดังนี้. พระเถระนั้นเดินจากไปทําเหมือนไม่ได้ยิน. ฝ่ายพระทีฆภาณกเถระไปถึงวิหารล้างเท้าแล้วนั่งลง. อันเตวาสิกจึงได้กล่าวกะท่านว่า
ท่านผู้เจริญ อะไรกัน ทําไมท่านจึงไม่กล่าวอะไรๆ กะพระเถระนั้นซึ่งด่าบริภาษท่านทุกๆ คาวุต. พระเถระตอบว่า
อาวุโส ความอดทนเป็นหน้าที่ของเรา ความไม่อดทนหาใช่เป็นหน้าที่ของเราไม่ เราเองไม่ (เคย) เห็นการพลาดจากกัมมัฏฐาน (ของเรา) แม้ในเพราะการยกเท้าข้างหนึ่ง. ในที่นี้ควรทราบว่า ถ้อยคํานั้นแหละชื่อว่าถูกต้องตามทํานองคลองธรรม.
เวทนาร่างกาย ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้ถึงทุกข์ ชื่อว่าหนา เพราะอรรถว่า หนา (๑) แน่น ชื่อว่าแข็ง เพราะอรรถว่า หยาบ ชื่อว่ากล้า เพราะอรรถว่า คม ชื่อว่าไม่น่ายินดี เพราะเว้นจากความยินดี ชื่อว่าไม่น่าชอบใจ เพราะอรรถว่า ไม่เป็นที่เจริญใจ ชื่อว่าเป็นเครื่องคร่าชีวิตได้ ภิกษุใดอดกลั้นเวทนานั้นได้ คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ดํารงอยู่ตามปกติ เหมือนพระปธานิยเถระผู้อยู่ที่จิตลดาบรรพต ภิกษุนี้พึงทราบว่าเป็นผู้มีปกติอดกลั้นสิ่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้น ฯลฯ.
ได้ยินว่า เมื่อพระเถระยืนบําเพ็ญเพียรอยู่ตลอดคืน ลมในท้องก็เกิดขึ้น. ท่านไม่สามารถจะอดกลั้นลมนั้นได้จึงได้บิดไปบิดมา. พระเถระผู้
(๑) ปาฐะว่า ทุกฺขาวหนฏฺเน พม่าเป็น พหลตฺเถน เห็นว่าเหมาะจึงแปลแบบพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 186
ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งยืนอยู่ข้างที่จงกรม จึงกล่าวกะท่านว่า อาวุโส ธรรมดาบรรพชิตเป็นผู้มีปกติอดกลั้น ดังนี้. พระเถระนั้นรับว่า ดีละ ผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้นอน (สงบนิ่ง) ไม่ไหวติง.ลมได้แล่นเสียดหัวใจไปจนถึงนาภี. พระเถระข่มเวทนาเจริญวิปัสสนาเพียงชั่วครู่ก็ได้เป็นพระอนาคามีแล้วปรินิพพาน ฉะนี้แล.
บทว่า ยฺหิสฺส ความว่า (อาสวะทั้งหลายย่อมเกิด) แก่ภิกษุนั้นผู้อดกลั้นความหนาวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้.
บทว่า อนธิวาสยโต ความว่าผู้อดกลั้นไว้ไม่ได้ คือทนไว้ไม่ได้.คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในเรื่องนี้พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกความหนาวถูกต้องแล้วปรารถนาความอบอุ่น. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. อธิบายว่า ภวาสวะย่อมมีแก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ความหนาวหรือความอบอุ่นของเราในสัมปัตติภพย่อมไม่มีดังนี้ ความยึดถือว่า ความหนาว ความอบอุ่น ย่อมมีแก่เราดังนี้ ชื่อว่าทิฏฐาสวะ อาสวะซึ่งสัมปยุตด้วยอาสวะทั้งปวง ชื่อว่าอวิชชาสวะ. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ อธิวาสนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะเหล่านี้มีมากมาย เพราะแยกเป็นอย่างละ ๔ ด้วยสามารถแห่งธรรมมีความหนาวเป็นต้น แต่ละอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ควรละเสียด้วยการอดกลั้น กล่าวคือขันติสังวร. ก็ในที่นี้ เพราะขันตินี้ย่อมอดกลั้นธรรมมีความหนาวเป็นต้นได้ คือยกให้อยู่เหนือตนทีเดียว ได้แก่ไม่ใช่ว่าจะอดกลั้นไว้ไม่ได้แล้วสลัดทิ้งเสีย ฉะนั้น ขันตินี้พึงทราบว่า อธิวาสนา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 187
(๕) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น
[๑๖] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จณฺฑํ หตฺถึ ปริวชฺเชติ ความว่า ภิกษุไม่พึงยืนอยู่ในที่ใกล้ช้างตัวดุร้าย ด้วยคิดว่า เราเป็นสมณะดังนี้ เพราะว่าทั้งความตายทั้งความทุกข์ปางตายซึ่งมีช้างนั้นเป็นเหตุพึงมีได้. ภิกษุพิจารณาโดยอุบายคือโดยถูกทางอย่างนี้แล้วย่อมเว้น คือถอยหนีช้างตัวดุร้าย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า จณฺฑํ คือตัวที่ดุร้าย อธิบายว่า ร้ายกาจ.
บทว่า ขาณุํ ได้แก่ตอไม้ตะเคียนเป็นต้น.
บทว่า กณฺฏกฏฺานํ ความว่า สถานที่มีหนาม อธิบายว่า โอกาสซึ่งมีหนามอยู่จํานวนมาก.
บทว่า โสพฺภํ ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันทั่วไปหมด (บ่อ).
บทว่า ปปาตํ ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันเพียงข้างเดียว (เหว).
บทว่า จนฺทนิกํ ได้แก่สถานที่เป็นที่ทิ้งของสกปรกมีน้ำที่เป็นเดนเป็นต้น (บ่อน้ำครํา).
บทว่า โอฬิคลฺลํ ได้แก่โอกาสอันเป็นที่รวมแห่งเปือกตมเป็นต้นเหล่านั้น. สถานที่นั้นเป็นสถานที่ที่เรี่ยราดด้วยของไม่สะอาดแม้มีประมาณถึงหัวเข่า. ก็สถานที่เหล่านั้นแม้ทั้ง ๒ แห่งเป็นสถานชั่วร้ายคล้ายมีอมนุษย ์ฉะนั้น สถานที่เหล่านั้นควรเว้นเสีย. ก็อาสนะอันไม่สมควร ชื่อว่าอนาสนะ.
ในบทว่า อนาสเน นี้ โดยเนื้อความ อนาสนะนั้นพึงทราบว่าได้แก่อาสนะซ่อนอยู่ในที่ลับมีทัพพสัมภาระที่ไม่แน่นอน. ก็ที่เที่ยวไปอันไม่สมควร ชื่ออโคจร แม้ในบทว่า อโคจเร นี้. ที่อโคจรนั้นมี ๕ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 188
โดยแยกประเภทเป็นหญิงแพศยาเป็นต้น.
บทว่า ปาปเก มิตฺเต ได้แก่มิตรปฏิรูป หรือมิตรผู้ชั่วช้า คือผู้ทุศีล.
บทว่า ภชนฺตํ แปลว่า เสพอยู่.
บทว่า วิฺู สพฺรหฺมจารี ความว่า เพือนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต คือผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้. คํานี้เป็นชื่อของภิกษุทั้งหลาย.เพราะว่าภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติธรรมอันเสมอด้วยพรหมนี้ ด้วยคิดว่าเราจะเป็นผู้มีกรรมร่วมกัน และเรียนอุเทศร่วมกัน และมีความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่าสพรหมจารี.
บทว่า ปาปเกสุ าเนสุ ความว่า ในสถานที่ทั้งหลายที่ลามก.
บทว่า โอกปฺเปยฺยุํ ความว่า พึงเชื่อได้ คือพึงน้อมใจเชื่อได้ว่าท่านผู้มีอายุนี้ได้กระทําหรือจักกระทําแน่ ดังนี้.
บทว่า ยฺหิสฺส ความว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่เว้นบรรดาอันตรายมีช้างเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแหละ. ก็ในที่นี้พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ประสบทุกข์ซึ่งมีช้างเป็นต้นเป็นเหตุแล้วปรารถนาความสุขอยู่. ภวาสวะย่อมเกิดมีแก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ทุกข์เช่นนี้ของเราไม่มีในสัมปัตติภพคือในสุคติภพ. การยึดถือว่า ช้างจะเหยียบเรา ม้าจะเหยียบเรา ดังนี้ ชื่อว่าทิฏฐาสวะ. อาสวะที่สัมปยุตด้วยอกุศลธรรมทุกอย่าง ชื่อว่าอวิชชาสวะ.
ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ ปริวชฺชนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะมีมากอย่าง เพราะแยกอาสวะเหล่านี้ออกเป็นอย่างละ ๔ ด้วยอํานาจอันตรายมีช้างเป็นต้นแต่ละอย่าง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 189
ตรัสว่า พระโยคาวจรพึงละเสียด้วยการเว้น กล่าวคือสีลสังวรนี้.
(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา
[๑๗] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ ความว่า พระโยคาวจรพิจารณาเห็นโทษในกามวิตกโดยแยบคาย โดยนัยเป็นต้นว่า วิตกนี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ วิตกนี้มีโทษแม้เพราะเหตุนี้ และวิตกนั้นแลย่อมเป็นไปแม้เพื่อความเบียดเบียนตนเอง ดังนี้แล้วยับยั้งไว้ไม่ได้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้น ได้แก่บังเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์นั้นๆ อธิบายว่า ยกจิตขึ้นเสียแล้วให้กามวิตกหยุดอยู่ไม่ได้ หรือไม่ให้กามวิตกหยุดอยู่ภายในได้.
ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยังไว้ไม่ได้จะทําอย่างไร?
ตอบว่า ย่อมละ. คือทิ้งวิตกนั้นเสีย.
ถามว่า ภิกษุจะละทิ้งวิตกเหมือนคนเอาตะกร้าตักหยากเยื่อทิ้งหรือ?
ตอบว่า หามิได้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรเทา คือถอน ได้แก่แทง หมายความว่านําออกไปซึ่งกามวิตกนั้น.
ถามว่า แทงเหมือนกับบุคคลเอาปฏักแทงโคพลิพัทหรือ?
ตอบว่า หาใช่เช่นนั้นไม่. โดยที่แท้แล้วจะทํากามวิตกนั้นให้ย่อยยับไป คือทํากามวิตกนั้นให้ปราศจากไป ได้แก่ทํากามวิตกนั้น (ให้เป็น) โดยที่มันไม่เหลืออยู่แม้ในภายในของภิกษุนั้น โดยที่สุดแม้เพียงในภวังคจิต (ก็ไม่มี).
ถามว่า ภิกษุจะทําวิตกนั้น ให้เป็นอย่างนั้น ได้อย่างไร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 190
ตอบว่า ย่อมยังกามวิตกนั้นให้ถึงความไม่มี คือย่อมให้ถึงความไม่มีทีละน้อยๆ มีอธิบายว่า ย่อมทําโดยประการที่วิตกเป็นอันเธอข่มไว้ได้อย่างดีด้วยวิกขัมภนปหาน. ในพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกก็นัยนี้เช่นกัน.
ก็ในวิภังค์ท่านกล่าวไว้ว่า ในบทว่า กามวิตกฺโก นี้ วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยกาม คือความดําริผิด ชื่อกามวิตก. ในที่อื่นๆ ก็นัยนี้.
บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ความว่า เกิดแล้ว คืออุบัติแล้ว อธิบายว่า พอแต่สักว่าเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุบรรเทาอกุศลวิตกทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นคราวเดียวได้แล้ว ในวาระที่ ๒ ถึงเธอจะไม่ได้เพ่งเล็ง เธอก็ย่อมบรรเทาอกุศลวิตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วๆ แม้ ๗ ครั้งได้ทีเดียว.
บทว่า ปาปเก อกุสเล ความว่า ที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่าลามก ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะความเป็นกรรมที่ทําด้วยความไม่ฉลาด.
บทว่า ธมฺเม ได้แก่กามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง อีกอย่างหนึ่งได้แก่มหาวิตก ๙ อย่างแม้ทั้งหมด. บรรดามหาวิตก ๙ อย่างเหล่านั้น ๓ อย่างกล่าวไว้แล้ว. วิตกที่เหลืออีก ๖ เหล่านี้ ได้แก่วิตกถึงญาติ วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกที่ประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูต่อผู้อื่น วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะและเกียรติยศ และวิตกที่ปฏิสังยุตด้วยสิ่งอื่น.
บทว่า ยฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนเพราะความคับแค้นใจ พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้บรรเทาไม่ได้ซึ่งวิตกอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาวิตกเหล่านั้น. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 191
ก็ในที่นี้ กามาสวะนั้นแลคือกามวิตก อาสวะซึ่งแปลกออกไปจากกามวิตกนั้น ชื่อว่าภวาสวะ. อาสวะที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนั้นแล ชื่อทิฏฐาสวะ. ความไม่รู้ในวิตกทั้งมวล ชื่ออวิชชาสวะ. พึงทราบแม้การบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะเหล่านี้ ด้วยประการดังพรรณนามานี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ วิโนทนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะมี ประการดังกล่าวแล้วด้วยอํานาจกามวิตกเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าภิกษุจะพึงละได้ด้วยการบรรเทา กล่าวคือวิริยสังวรซึ่งสหรคตด้วยการพิจารณาโทษในวิตกนั้นๆ นี้.
(๗) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม
[๑๘] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษแห่งการไม่อบรมและอานิสงส์แห่งการอบรมโดยอุบายคือโดยถูกทางแล้วควรเจริญสติสัมโพชฌงค์. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. ก็ในอธิการแห่งโพชฌงค์นี้ โพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระเท่านั้นที่เกิดขึ้น เพราะได้บรรลุมรรค ๓ ข้างต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในที่นี้แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เพื่อความไม่หลงงมงายในโพชฌงค์ทั้งหลายของเหล่าภิกษุผู้ทําความเพียรเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าจักพรรณนาโดยนัยแห่งโพชฌงค์เหล่านั้นโดยปะปนกันไปทั้งฝ่ายโลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ. แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะละนัยที่เป็นโลกิยะเสีย แล้วถือเอาเฉพาะนัยฝ่ายโลกุตตระเท่านั้น. ในอธิการแห่งโพชฌงค์นั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยบทข้างต้นทั้ง ๗ ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺฌํ ก่อน โดยเนื้อความโดยลักษณะเป็นต้น โดยลําดับและโดยไม่หย่อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 192
ไม่ยิ่ง. ในโพชฌงค์ ๗ นั้น พึงทราบวินิจฉัยในสติสัมโพชฌงค์ก่อน. ที่ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องระลึก. ก็สตินี้นั้นมีการปรากฏเป็นลักษณะหรือมีการเสนอแนะเป็นลักษณะ. สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า มหาบพิตร ขุนคลังของพระราชาย่อมกราบทูลถึงทรัพย์สมบัติของพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ สมบัติมีเท่านี้ ดังนี้ฉันใด มหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเสนอแนะธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ เลว ประณีต ดํา ขาวและมีส่วนเป็นปฏิปักษ์กัน. ความพิสดารว่า สติปัฏฐานมี ๔ เหล่านี้. สตินั้นมีการเสนอแนะเป็นกิจ. ก็ลักษณะของสตินั้น พระเถระกล่าวไว้ด้วยอํานาจกิจแท้. อีกอย่างหนึ่ง สตินั้นมีการไม่หลงเป็นกิจ. มีภาวะมุ่งหน้าต่ออารมณ์เป็นเครื่องปรากฏ. องค์แห่งธรรมเครื่องตรัสรู้คือสติ ชื่อสติสัมโพชฌงค์.
ในบทว่า โพชฺฌงฺโค นั้น มีวิเคราะห์ว่า องค์แห่งการตรัสรู้หรือแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ฉะนั้น จึงชื่อว่าโพชฌงค์. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? (ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า) ธรรมสามัคคีนี้คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะมากมาย มีความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความหยุด ความประมวลมา กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถามุโยค ความยึดมั่นว่าขาดสูญและเที่ยงแท้ซึ่งบังเกิดขึ้นในขณะแห่งมรรคทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระที่เป็นเหตุตรัสรู้แห่งพระอริยสาวกท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทําอธิบายดังที่กล่าวมานี้.
บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ย่อมตื่นจากความหลับด้วยอํานาจกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ อธิบายว่า ย่อมแทงตลอดอริยสัจทั้ง ๔ หรือทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นเอง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เจริญโพชฌงค์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 193
๗ แล้วย่อมตรัสรู้เฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้นเองเปรียบเหมือนองค์ฌานและองค์มรรคเป็นต้นฉะนั้น.
ก็อริยสาวกนี้ใด ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้มีประการดังกล่าวแล้วเพราะทําอธิบายดังว่ามานี้ อริยสาวกนั้นท่านจึงเรียกว่า โพธิ (ผู้ตรัสรู้) ที่ชื่อว่าโพชฌงค์แม้เพราะเป็นองค์ประกอบของพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้นประดุจองค์ประกอบแห่งเสนาและองค์ประกอบแห่งรถฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์ประกอบของบุคคลผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความแม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทามรรคเป็นต้นว่า
ถามว่า ในบท โพชฺฌงฺคา นี้ ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร?
ตอบว่า ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้.
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้.
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้ตาม
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้เฉพาะ.
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า รู้พร้อม.
พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถและโดยลักษณะเป็นต้นของโพชฌงค์ข้อแรกข้อเดียวก่อนอย่างนี้ว่า โพชฌงค์อันประเสริฐ คือดี ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เมื่อเป็นเช่นนี้ สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ซึ่งสติสัมโพชฌงค์นั้น.
ก็พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌงค์ข้อที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 194
ที่ชื่อว่า ธัมมวิจยะ เพราะอรรถว่า เลือกเฟ้นสัจจธรรมทั้ง ๔ ประการ.
ธัมมวิจยะ นั้น มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีการให้ความสว่างเป็นกิจ มีความไม่หลงงมงายเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า วิริยะ เพราะความเป็นสภาวะที่แกล้วกล้า และเพราะให้ธรรมดําเนินไปโดยถูกวิธี. วิริยะนั้นมีการประคับประคองจิตเป็นลักษณะ มีการอุปถัมภ์จิตเป็นกิจ มีความไม่ท้อแท้แห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า เอิบอิ่ม. ปีตินั้นมีการแผ่ไปเป็นลักษณะ หรือมีความยินดีเป็นลักษณะ มีการเอิบอิ่มของกายและจิตเป็นกิจ มีการฟูขึ้นแห่งกายและจิตนั้นเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวายทางกายและจิต.ปัสสัทธินั้นมีการเข้าไปสงบเป็นลักษณะ มีการย่ํายีความกระวนกระวายทางกายและจิตเป็นกิจ มีความเยือกเย็นอันเกิดจากความไม่ดิ้นรนแห่งกายและจิตเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ซึ่งว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น. สมาธินั้นมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ หรือมีการไม่แส่ไปในอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่งจิตและเจตสิกเป็นกิจ มีความตั้งมั่นแห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะวางเฉย. อุเบกขานั้นมีการพิจารณาเป็นลักษณะ หรือมีการเป็นไปโดยสม่ําเสมอเป็นลักษณะ มีการหักห้ามความหย่อนและยิ่งแห่งจิตเป็นกิจ หรือมีการตัดขาดการตกไปเป็นฝักฝ่ายเป็นกิจ มีการวางตนเป็นกลางเป็นเครื่องปรากฏ. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้แห่งบทที่เหลือทั้งโดยอรรถและโดยลักษณะเป็นต้นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 195
ก็ในคําว่า กมโต นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
สติสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก่อน เพราะสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นอุปการะแก่โพชฌงค์ที่เหลือทั้งหมด เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลายก็เราตถาคตกล่าวสตินั้นแลว่ามีประโยชน์แก่ธรรมทั้งปวง ดังนี้.เบื้องหน้าแต่นั้น ประโยชน์ในการกล่าวโพชฌงค์ที่เหลือไว้ก่อนไว้หลังได้กล่าวไว้แล้วในสุตตะนั้นเอง โดยนัยเป็นต้นว่า เธอมีสติอยู่อย่างนั้น (๑) เลือกเฟ้นธรรมนั้นด้วยปัญญา ดังนี้. ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลําดับดังกล่าวมานี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนูนาธิกโต ดังต่อไปนี้ :-
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโพชฌงค์ไว้เพียง ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน?
ตอบว่า เพราะเป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่และความฟุ้งซ่าน และเพราะประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. อธิบายว่า ในอธิการแห่งโพชฌงค์นี้ โพชฌงค์ ๓ ข้อ เป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดแลจิตเป็นธรรมชาติหดหู่ ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะที่จะเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญวิริยสัมโพชณงค์ เหมาะที่จะเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
โพชฌงค์ ๓ ข้อ เป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
(๑) ปาฐะว่า ตถาคโต แต่ฉบับพม่าเป็น ตถา สโต จึงแปลตามพม่าเพราะเห็นว่าเหมาะกว่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 196
ก็ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้. ก็ในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้ สติสัมโพชฌงค์เป็นเอกให้สําเร็จประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อดังนี้ บาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. บาลีทั้ง ๒ (นั้น) ความหมายก็คือว่า จําต้องปรารถนาในโพชฌงค์ทุกข้อ (เหมือนกัน). พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌงค์นี้แม้โดยไม่ขาดไม่เกินอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพชฌงค์ไว้ ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน เพราะ ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่, ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน, และเพราะสติเป็นประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้ออย่างนี้.
บัณฑิตครั้นทราบอรรถวรรณนาของบททั้ง ๗ ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบอรรถวรรณนาอย่างนี้ ในประโยคเป็นต้นว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ ดังนี้ (ต่อไป).
บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิดขึ้น คือให้บังเกิดขึ้นเฉพาะในจิตสันดานของตนบ่อยๆ.
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ คืออาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกนั้นมี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ความที่วิเวกนั้นเป็นต่างๆ กัน พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคํานี้ว่า อริยธมฺเม อวินีโต ดังนี้. ความจริงวิเวกนี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วินัย ในบทว่า อริยธมฺเม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 197
อวินีโต นั้น. ในวิเวกทั้ง ๕ อย่างนี้ดังกล่าวมานี้ พึงทราบความดังนี้ว่า:-
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ความว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก อาศัยนิสสรณวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคาวจรผู้ตามประกอบการเจริญโพชฌงค์นี้ ในขณะแห่งวิปัสสนา ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยตทังควิเวกโดยกิจ อันอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย แต่ในกาลแห่งมรรคย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจและอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง ๔ อย่างดังนี้บ้าง. เพราะว่าอาจารย์เหล่านั้นไม่ยกโพชฌงค์ขึ้นมาเฉพาะในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีกําลัง และในขณะแห่งมรรคและผลอย่างเดียวเท่านั้น แต่แม้ในกสิณฌาน อานาปานสติกัมมัฏฐาน และในพรหมวิหารฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนาก็ยกขึ้นนาด้วย ทั้งพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายก็ไม่ได้คัดค้าน. เพราะฉะนั้น ตามมติของอาจารย์เหล่านั้นควรกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจอย่างเดียว (๑) ในขณะที่เป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น. และท่านกล่าวว่า ในขณะแห่งวิปัสสนา พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย ดังนี้ฉันใด พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์แม้อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวกก็ฉันนั้น. ในสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิราคะเป็นต้นก็นัยนี้.ความจริง ธรรมมีวิราคะเป็นต้นก็มีวิเวกเป็นอรรถทั้งนั้น. ก็ในธรรมทั้งหลายมีราคะเป็นต้นนี้ โวสสัคคะอย่างเดียวที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือการปล่อยวางโดยการสละ (ปริจจาคโวสสัคคะ) ๑. การปล่อยวางโดยการแล่นไป (ปักขันทนโวสสัคคะ) ๑. บรรดาการปล่อยวางทั้ง ๒ อย่างนั้น
(๑) ปาฐะเป็น เอวํ แต่ตามฉบับพม่าเป็น เอว เห็นว่าเหมาะ จึงแปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 198
การละกิเลสด้วยสามารถตทังคปหานในขณะแห่งวิปัสสนาและด้วยสมุจเฉทปหานในขณะแห่งมรรค ชื่อว่าการปล่อยวางโดยการสละ. ส่วนการแล่นไปสู่พระนิพพานโดยการน้อมไปสู่พระนิพพานนั้นในขณะแห่งวิปัสสนาชื่อว่าการสละโดยการแล่นไป แต่ในขณะแห่งมรรคการแล่นไปสู่พระนิพพานจะมีได้ด้วยสามารถแห่งการทําให้เป็นอารมณ์. แม้โวสสัคคะทั้งคู่นั้นย่อมเหมาะสมในนัยแห่งอรรถกถาอันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนี้.จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมสละกิเลสและย่อมแล่นไปสู่พระนิพพานโดยประการตามที่กล่าวแล้ว. ก็ด้วยถ้อยคําทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึนี้ มีคําอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า กําลังน้อมไป และน้อมไปแล้ว คือจะงอมและงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวาง ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุนี้ผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเจริญโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดยที่สติสัมโพชฌงค์จะงอม และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวางโดยการสละกิเลสและเพื่อการปล่อยวางโดยการแล่นไปสู่พระนิพพาน ฉะนี้แล. ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.
แต่ว่าในที่นี้ นิพพานนั้นเอง ท่านกล่าวว่า วิเวก เพราะสงัดจากสังขตธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวว่า วิราคะ เพราะภาวะแห่งสังขตธรรมทั้งหมดคลายกําหนัดแล้ว และท่านกล่าวว่า นิโรธ เพราะภาวะคือความดับแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย. ก็มรรคนั้นแลมีปกติน้อมไปเพื่อการสละ ฉะนั้น พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก เพราะกระทําวิเวกให้เป็นอารมณ์แล้วเป็นไป. พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิโรธก็อย่างนั้น. พระโยคาวจร ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันงอมแล้ว คืองอมรอบโดยภาวะคือการสละ และโดยภาวะคือการแล่นไปสู่พระนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 199
โดยการถอนกิเลสได้เด็ดขาด เพราะเกิดขึ้นในขณะแห่งอริยมรรคนั้นแล.พึงเห็นเนื้อความดังกล่าวมานี้. ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.
บทว่า ยฺหิสฺส ความว่า อาสวะทั้งหลายและความเร่าร้อนอันทําความคับแค้นใจทั้งหลายย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่เจริญในบรรดาโพชฌงค์ทั้งหลายเหล่านั้นข้อใดข้อหนึ่ง. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล. ก็ในการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะในสูตรนี้พึงทราบนัยดังนี้ อาสวะทั้ง ๓ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ภิกษุไม่ได้อบรมโพชฌงค์ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคเบื้องปลายเหล่านี้ อาสวะเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้เจริญโพชฌงค์เหล่านั้น ดังนี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ ภาวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อันภิกษุพึงละเสียด้วยการเจริญโพชฌงค์ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรค ๓ นี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชมเชยภิกษุผู้ละอาสวะได้ด้วยอาการ ๗ เหล่านี้ และเมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการละอาสวะของภิกษุนั้น และเมื่อจะให้เกิดความขวนขวายแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยการละอาสวะด้วยเหตุเหล่านี้นั่นเอง จึงตรัสว่า ยโต โข ภิกฺขเว ฯลฯ อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น โต อักษรในคําว่า ยโต โข ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ยสฺส โข (ของกาลใดแล) ดังนี้. ส่วนพระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนาว่า เท่ากับ ยมฺหิ กาเล (ในกาลใด) ดังนี้. ข้อว่า เย อาสวา ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่าอาสวะทั้งหลายเหล่าใดที่ภิกษุละได้แล้วด้วยทัสสนะ อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 200
อันภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยทัสสนะนั้นแล และเธอย่อมมีความสําคัญในอาสวะที่ยังละไม่ได้นั้นแลว่า อันตนละได้แล้วก็หามิได้. ในบททั้งปวงมีความพิสดารอย่างนี้.
บทว่า สพฺพาสวสํวรสํวุโต ความว่า เบ็นผู้ปิดแล้วด้วยการปิดอาสวะทุกอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดซึ่งอาสวะทุกอย่าง..
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ ความว่าตัดแล้ว หรือถอนขึ้นได้แล้วซึ่งตัณหาหมดทุกอย่าง.
บทว่า วิวตฺตยิ สํโยชนํ ความว่า ย่อมหมุนกลับซึ่งสังโยชน์แม้ทั้ง ๑๐ คือทําให้หมดมลทิน.
บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ ได้แก่โดยกาล.
บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะบรรลุด้วยการเห็น และเพราะบรรลุด้วยการละมานะ. ความจริง อรหัตตมรรคย่อมเห็นแจ้งมานะด้วยอํานาจกิจ. นี้เป็นการบรรลุด้วยการเห็นของภิกษุนั้น. ก็อรหัตตมรรคอันภิกษุเห็นแล้วด้วยทัสสนะนั้นอันเธอย่อมละได้ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือนการกลับได้ชีวิตของสัตว์ผู้ถูกงูพิษกัดฉะนั้น. นี้เป็นการบรรลุโดยการละของภิกษุนั้น.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ความว่า ที่สุด ๔ อย่างนี้ คือที่สุดคือเขตแดนอันมีในที่สุด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปลายประคดเอวเก่าแล้ว หรือยอดของเขียวสดเหี่ยวแล้ว และที่สุดที่เลวทรามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่งชีวิต และที่สุดคือส่วนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า สักกายะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 201
(ทิฏฐิ) ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง และที่สุดของการนับ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์ เพราะนับปัจจัยทุกอย่างในบรรดาที่สุดทั้ง ๔ อย่างนั้น ภิกษุได้กระทําที่สุดข้อที่ ๔ โน้นแห่งวัฏฏทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะความที่แห่งมานะอันตนเห็นและละได้ด้วยอรหัตตมรรคอย่างนี้. อธิบายว่า เธอได้ทําการขาดตอน คือทําให้หมดไปได้แก่ทําทุกข์ให้เหลืออยู่เพียงร่างกายชาติสุดท้าย.
บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้นมีใจเป็นของตน คือมีใจยินดี หรือเป็นผู้มีใจอันสัมปยุตด้วยปีติและโสมนัส.
บทว่า ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายรับด้วยเศียรเกล้าแล้วทูลชมเชยพระพุทธภาษิต คือพระพุทธดํารัสที่ตรัสดีแล้วได้แก่ที่ทรงปราศรัยแล้ว มีการทําที่สุดทุกข์เป็นปริโยสานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซึ่งคํานี้อย่างนี้ พระสุคตเจ้าตรัสคํานี้อย่างนี้ ดังนี้.
คําที่เหลืออันใดที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวคํานั้นซ้ำอีก เพราะกล่าวไว้ก่อนแล้ว และเพราะเข้าใจได้ง่าย เพราะฉะนั้นผู้ศึกษาพึงพิจารณาคําทั้งหมดตามลําดับบท โดยทํานองแห่งคําที่กล่าวแล้วเทอญ.
จบ อรรถกถาแห่งสัพพาสวสังวรสูตร
จบ สูตรที่ ๒