๕. อนังคณสูตร
[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339
๕. อนังคณสูตร
บุคคล ๔ จำพวก หน้า 334
ความแตกต่างระหว่างคน ๔ จำพวก หน้า 340
ความหมายของอังคณกิเลส หน้า 344
อิจฉาวจรอกุศลที่ยังละไม่ได้ หน้า 352
อิจฉาวจรอกุศลที่ละได้แล้ว หน้า 353
เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ หน้า 360
ขยายความสาเหตุ ๘ ประการ หน้า 363
ขยายความกิเลสดุจเนิน ๓ อย่าง หน้า 363
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339
๕. อนังคณสูตร
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระสารีบุตรแล้ว.
บุคคล ๔ จําพวก
[๕๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณครับ บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔ จําพวกนั้นเป็นไฉน?
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ๑.
ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จําพวกที่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340
กิเลสในภายใน บุคคล ๒ จําพวกที่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จําพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลสเลย รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จําพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
ความต่างระหว่างคน ๔ จําพวก
[๕๕] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคํานี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตรขอรับ เหตุอะไรหนอ? ปัจจัยอะไรหนอ? ที่เป็นเหตุทําให้บุคคล ๒ จําพวกที่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ. ดูก่อนท่านพระสารีบุตร เหตุอะไรหนอ? ปัจจัยอะไรหนอ? ที่เป็นเหตุทําให้บุคคล ๒ จําพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
บุคคลจําพวกที่ ๑
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลสแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่พยายาม จักไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 341
ปรารภความเพียร เพื่อละอังคณกิเลสนั้นเสีย เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทํากาละ. เหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนํามาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ.เจ้าของก็ไม่ใช้และไม่ขัดสีถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นอย่างนี้ สมัยอื่น ถาดทองสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับยิ่งขึ้น ฉันใด.
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังมีอังคณกิเลสอยู่ แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรายังมีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีอังคณกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทํากาละ.
บุคคลจําพวกที่ ๒
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดยังมีอังคณกิเลสอยู่ ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรายังมีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม จักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทํากาละ. เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนํามาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของใช้ ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์ จะเป็นของหมดจดผ่องใส ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 342
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันยังมีอังคณกิเลสอยู่ ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ข้อนี้อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม จักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทํากาละ.
บุคคลจําพวกที่ ๓
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใด ไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต. เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงําจิต (เขา). เขาจักเป็นผู้ยังมีราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอังคณกิเลส ยังมีจิตเศร้าหมอง ทํากาละ. เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนํามาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็นของสะอาดหมดจด แต่เจ้าของไม่ใช้และไม่ขัดถาดนั้น ซ้ำเก็บไว้ในที่ที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ถาดทองสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับ ฉันใด.
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงําจิต (เขา). เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีอังคณกิเลส ยังมีจิตเศร้าหมอง ทํากาละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 343
บุคคลจําพวกที่ ๔
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจัก (ไม่) มนสิการสุภนิมิต เพราะ (ไม่) มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่ครอบงํา. จิตเขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีอังคณกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทํากาละ. เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนํามาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็นของสะอาดหมดจด เจ้าของใช้ขัดสีถาดทองสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ก็พึงเป็นของสะอาดหมดจดยิ่งขึ้น ฉันใด.
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงําจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีอังคณกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทํากาละ.
ท่านโมคคัลลานะ เหตุนี้แล ปัจจัยนี้แล ที่เป็นเหตุทําให้บุคคล ๒ จําพวกที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ. อนึ่ง เหตุนี้แลปัจจัยนี้แล ที่เป็นเหตุทําให้บุคคล ๒ จําพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 344
ความหมายของอังคณกิเลส
[๕๖] ม. ท่านขอรับ คําที่ท่านกล่าวว่า อังคณะๆ ดังนี้ คํานั้นเป็นชื่อของอะไรหนอ?
สา. ท่านครับ คําว่า อังคณะนี้ เป็นชื่อของอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล.
อังคณกิเลสที่ ๑
[๕๗] ท่านขอรับ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ แต่ภิกษุทั้งหลาย อย่าพึงรู้เราว่าต้องอาบัติเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ภิกษุนั้นว่า ต้องอาบัติ เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายรู้เราว่าต้องอาบัติ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๒
[๕๘] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเราในที่ลับ ไม่พึงโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ไม่โจทในที่ลับ เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่าภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่าอังคณะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 345
อังคณะกิเลสที่ ๓
[๕๙] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ บุคคลที่เสมอกันพึงโจทเรา บุคคลที่ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. บุคคลที่ไม่เสมอกันพึงโจทภิกษุนั้น บุคคลที่เสมอกันไม่พึงโจทภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า บุคคลที่ไม่เสมอกันโจทเราไม่ใช่ผู้เสมอกันโจท. ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๔
[๖๐] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถามเราเท่านั้น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทรงซักถามสอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามภิกษุนั้น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายไม่ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า พระศาสดาทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายไม่. ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 346
อังคณะกิเลสที่ ๕
[๖๑] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงแวดล้อมเราเท่านั้นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร อย่าแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหารเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลาย พึงแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร ไม่พึงแวดล้อมภิกษุนั้นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร หาแวดล้อมเราเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหารไม่ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๖
[๖๒] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน ภิกษุอื่นไม่ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉันเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ โนโรงฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉันนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน เราไม่ได้อาสนะอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 347
อังคณกิเลสที่ ๗
[๖๓] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา ภิกษุอื่นควรฉันโนโรงฉันแล้วไม่ต้องอนุโมทนา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา ภิกษุนั้นฉันในโรงฉันแล้วไม่ต้องอนุโมทนา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา เราฉันในโรงฉันแล้วไม่ได้อนุโมทนา ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๘
[๖๔] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอารามเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่าอังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๙
[๖๕] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 348
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอารามเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๐
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๑
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ ถ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 349
กระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่าอังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๒
[๖๖] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ ภิกษุทั้งหลายควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๓
[๖๗] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ ภิกษุณีทั้งหลายควรสักการะ เคารพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 350
นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่นเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุณีทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุณีทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๔
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร อุบาสกทั้งหลายควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.อุบาสกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะเคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า อุบาสกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๕
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ อุบาสิกาทั้งหลายควรสักการะ. เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ อุบาสิกาทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 351
ก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า อุบาสิกาทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๖
[๖๘] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้จีวรที่ประณีต ภิกษุอื่นไม่ควรได้จีวรที่ประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้จีวรที่ประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้จีวรที่ประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้จีวรที่ประณีต เราไม่ได้จีวรที่ประณีต ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๗
[๖๙] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่าถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้บิณฑบาตอันประณีตภิกษุอื่นไม่ควรได้บิณฑบาตอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้บิณฑบาตอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้บิณฑบาตอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้บิณฑบาตอันประณีต เราไม่ได้บิณฑบาตอันประณีต ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๘
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 352
ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้เสนาสนะอันประณีต ภิกษุอื่นไม่ควรได้เสนาสนะอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้เสนาสนะอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้เสนาสนะอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้เสนาสนะอันประณีต เราไม่ได้เสนาสนะอันประณีต ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๙
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่าถ้ากระไรหนอเราเท่านั้นควรได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุอื่นไม่ควรได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.ภิกษุอื่นพึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีตเราไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อิจฉาวจรอกุศลที่ยังละไม่ได้
[๗๐] ท่านครับ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ ยังได้ยินอยู่. แม้เธอจะอยู่ในป่ามีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตตามลําดับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 353
ตรอก ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองอยู่ ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น. อันท่านผู้มีอายุนั้นยังละไม่ได้ ชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ และยังได้ยินอยู่. เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนํามาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทองเป็นของสะอาดหมดจด. เจ้าของเอาซากศพงู ซากศพสุนัข หรือซากศพมนุษย์วางลงในถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยถาดทองสัมฤทธิ์ใบอื่น แล้วเดินไปร้านตลาด. ชนเห็นถาดทองสัมฤทธิ์นั้นแล้ว จะต้องพูดว่า พ่อคุณสิ่งที่ท่านนําไปนี้คืออะไร? น่ารู้ น่าสนใจ. เขาพึงลุกขึ้นเปิดถาดทองสัมฤทธิ์นั้นดู พร้อมกับการเห็นซากศพนั้น ก็เกิดความไม่พอใจ ความเกลียดชัง แม้คนที่หิวก็ไม่ปรารถนาจะบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่บริโภคอิ่มแล้วฉันใด.
อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้แล้ว อันชนทั้งหลายยังเห็น ยังได้ยินอยู่ แม้เธอจะอยู่ในป่า มีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตตามลําดับตรอก ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมอง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุนั้นยังละไม่ได้ อันชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ ยังได้ยินอยู่.
อิจฉาวจรอกุศลที่ละได้แล้ว
[๗๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ อัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 354
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ ยังได้ยินอยู่. แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะท้ายบ้าน รับนิมนต์ ครองคฤหบดีจีวร ถึงอย่างนั้นเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น.ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น อันท่านผู้มีอายุนั้นละได้แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็น และยังได้ยินอยู่ เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ที่บุคคลนํามาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทองเป็นของสะอาดหมดจด เจ้าของเอาข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เลือกเอาของดําออกแล้ว เอาแกงและกับหลายอย่างวางลงในถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยถาดทองสัมฤทธิ์อื่น แล้วเดินไปยังร้านตลาด. ชนเห็นถาดทองสัมฤทธิ์นั้นแล้ว จะต้องพูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ สิ่งที่ท่านนําไปนี้คืออะไร น่ารู้ น่าสนใจ เขาพึงลุกขึ้นเปิดถาดทองสัมฤทธิ์นั้นดู พร้อมกับการเห็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีขาวสะอาดมีแกงและกับหลายอย่างนั้น ก็เกิดความพอใจ ไม่เกลียดชังแม้คนที่บริโภคอิ่มแล้ว ก็ยังปรารถนาจะบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่หิวฉันใด.
อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว อันชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ และยังได้ยินอยู่. แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะท้ายบ้านเป็นปกติ รับนิมนต์ครองคฤหบดีจีวร ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุนั้นละได้แล้ว อันชนทั้งหลายยังเห็น และยังได้ยินอยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 355
อุปมาด้วยช่างทํารถ
[๗๒] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านพระสารีบุตรขอรับอุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่กระผม ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ อุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด.
ม. ท่านขอรับ สมัยกาลครั้งหนึ่ง กระผมอยู่ ณ กรุงราชคฤห์อันเป็นคอกเขา (๑). ครั้งนั้น เวลาเช้า กระผมนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต. ก็สมัยนั้น บุตรนายช่างทํารถชื่อสมีติ ถากกงรถอยู่ อาชีวกชื่อปัณฑุบุตร เป็นบุตรช่างทํารถเก่าเข้าไปยืนอยู่ใกล้นายสมีตินั้น ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทํารถเก่าเกิดความดําริในใจอย่างนี้ว่า กระไรหนอ บุตรช่างทํารถนี้ พึงถากส่วนโค้ง ส่วนคด กะพี้ และปมตรงนี้แห่งกงนี้ออกเสีย. เมื่อเป็นเช่นนี้ กงนี้ก็จะสิ้นโค้ง สิ้นคด สิ้นกะพี้และปม พึงเหลือแก่นล้วนๆ. อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทํารถเก่า มีความดําริในใจ ฉันใดๆ นายสมีติบุตรช่างทํารถก็ถากส่วนที่โค้ง ที่คด กะพี้ และปมแห่งกงนั้น ฉันนั้นๆ.ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทํารถเก่า ดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า นายสมีติบุตรช่างทํารถ ถากเหมือนจะรู้ใจด้วยใจ ฉันใด.ท่านขอรับ บุคคลทั้งหลายก็ฉันนั้น ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ต้องการจะเลี้ยงชีวิต ไม่ออกบวชเป็นอนาคาริกด้วยศรัทธา เป็นคนมักโอ้อวด เจ้ามารยา หลอกลวง ฟุ้งซ่าน ถือตน กลับกลอก ปากกล้า พูดจาเลอะเทอะ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ
(๑) คือมีเขาล้อมเป็นคอก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 356
ความเพียร ไม่มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ ไม่มีความเคารพแรงกล้าในสิกขา เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม มีสติฟันเฟือน ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีปัญญาทราม เป็นดังคนใบ้ ท่านพระสารีบุตรเหมือนจะรู้ใจของบุคคลเหล่านั้นด้วยใจ แล้วถากอยู่ด้วยธรรมปริยายนี้.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่พูดจาเลอะเทอะ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัดปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านพระสารีบุตรนี้แล้วเหมือนหนึ่งว่า จะดื่ม จะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล.
เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษ ที่กําลังสาวกําลังหนุ่ม ชอบแต่งตัว ชําระสระเกล้าแล้ว ได้ดอกอุบล ดอกมะลิ หรือดอกลําดวนแล้ว ประคองด้วยมือทั้ง ๒ ยกขึ้นตั้งไว้บนเศียรเกล้า ฉันใด กุลบุตรทั้งหลายก็ฉันนั้น มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า พูดจา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 357
เลอะเทอะ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะประกอบความเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นคนมักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านพระสารีบุตรนี้แล้ว เหมือนหนึ่งว่า จะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศลดังนี้.
พระมหานาคทั้ง ๒ นั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตแห่งกันและกัน ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อนังคณสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 358
อรรถกถาอนังคณสูตร
[๕๓] อนังคณสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร ...
การขยายความ (เฉพาะ) บทที่ยาก ในพระสูตรนั้น และในพระสูตรทุกสูตรก็จะเหมือนในพระสูตรนี้ เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปข้าพเจ้าจักไม่กล่าวเฉพาะเท่านี้ แต่จะทําการขยายบทที่ไม่เคยขยายความมาก่อนด้วย.
[๕๔] บทว่า จตฺตาโร เป็นการกําหนดนับ. บทว่า ปุคฺคลา ได้แก่สัตว์ ผู้คน และบุรุษ. ด้วยคําเพียงเท่านี้ (บุคคล) ไม่ควรถือว่า พระมหาเถระ (สารีบุตร) มีปกติกล่าวนิยมบุคคล (พวกบุคคลนิยม) เพราะท่านผู้นี้ประเสริฐที่สุดในบรรดาพระสาวกผู้เป็นพุทธบุตรทั้งหลาย ท่านเทศนาไม่ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย.
เทศนา ๒
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือสมมติเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับสมมติ) ๑ ปรมัตถเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์) ๑.
ในจํานวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น สมมติเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า บุคคล สัตว์หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 359
ส่วนปรมัตถเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐานเป็นต้น.
ในจํานวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาแก่เหล่าพุทธเวไนย ผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องสมมติแล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้ ส่วนคนเหล่าใด ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องปรมัตถ์แล้วเข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้ พระองค์ก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนาให้เขาฟัง.
เปรียบเทียบความ
ในการทรงแสดงพระธรรมเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้. อุปมาเหมือนอาจารย์ผู้บรรยายไตรเพท รู้ภาษาถิ่น เมื่อพูดภาษาทมิฬ นักเรียนพวกใดเข้าใจความหมาย ก็จะบอกเขาเหล่านั้นด้วยภาษาทมิฬ. แต่ถ้าพวกใดเข้าใจความหมายด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในจํานวนภาษาทั้งหลาย มีภาษาอันธกะ เป็นต้น ก็จะบอกเขาเหล่านั้นด้วยภาษานั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น มาณพน้อย (นักเรียน) เหล่านั้นได้อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด หลักแหลม จะเรียนศิลปะได้เร็วทีเดียว ฉันใด.
ในข้ออุปไมยนั้น ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทราบว่าเหมือนอาจารย์ พระไตรปิฎกที่อยู่ในภาวะที่จะต้องทรงสอนเหมือนไตรเพท พระปรีชาฉลาดในสมมติ และปรมัตถ์ เหมือนความฉลาดในภาษาถิ่น เวไนยสัตว์ผู้สามารถแทงตลอดด้วยสมมติเทศนาและปรมัตถเทศนา (๑) เหมือน
(๑) ปาฐะ แยกกันเป็น สมฺมติ ปรมตฺถ เทสนา ปฏิวิชฺฌนสมตฺถา เข้าใจว่าคงจะติดกัน และฉบับพม่าก็ติดกัน จึงได้แปลเช่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 360
มาณพน้อย (นักเรียน) ผู้พูดภาษาถิ่นต่างๆ พระธรรมเทศนาว่าด้วยสมมติ และปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนการบอก (ไตรเพท) ด้วยภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์.
และในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา และปรมัตถเทศนานี้ พระโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า:-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าผู้สอนทั้งหลาย ได้ตรัสสัจจะไว้ ๒ อย่าง คือ สมมติสัจจะ ๑ ปรมัตถสัจจะ ๑ ไม่มีสัจจะอย่างที่ ๓ พระพุทธดํารัสเกี่ยวกับสมมติ (สังเกต) ชื่อว่า เป็นสัจจะ เพราะเหตุที่เป็นสมมติของโลก ส่วนพระพุทธดํารัสเกี่ยวกับปรมัตถ์ ชื่อว่า เป็นสัจจะ เพราะเหตุที่เป็นความจริงของธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สําหรับพระโลกนาถศาสดา ผู้ทรงฉลาดในโวหารเทศนา ตรัสถึงสมมติ มุสาวาทจึงไม่เกิดขึ้น (ไม่เป็นการกล่าวเท็จ) ดังนี้.
เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบุคคลกถา (ถ้อยคําระบุบุคคล) ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ
๒. เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
๓. เพื่อทรงแสดงถึงการกระทําของคนโดยเฉพาะตัว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 361
๔. เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม
๕. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
๖. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
๗. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
๘. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.
ขยายความเหตุ ๘ ประการ
เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ละอายแก่ใจอยู่เกรงกลัวบาปอยู่ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงวย โต้แย้งว่านี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาปด้วยหรือ? ดังนี้ แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า บุรุษ กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร (ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป) ดังนี้. มหาชนจะเข้าใจ ไม่พิศวงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ในพระดํารัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน.
แม้ในพระดํารัสที่ตรัสว่า มหาวิหาร มีพระเวฬุวันเป็นต้น ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายสร้างไว้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการกระทําของคนโดยเฉพาะตัว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 362
แม้ในพระดํารัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ปลงชีวิตมารดา บิดา พระอรหันต์ ทําโลหิตุปบาทกรรม (ทําร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต) (และ) ทําลายสงฆ์ให้แตกกัน ดังนี้. ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม.
แม้ในพระดํารัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ย่อมเมตตา (รักใคร่สัตว์ทั้งหลาย) ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในพระดํารัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ระลึกชาติที่เคยอยู่ก่อนของเราได้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการระลึกชาติอยู่มาก่อนได้.
แม้ในพระดํารัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย รับทานดังนี้ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานด้วยหรือ? ดังนี้ แต่เมื่อตรัสว่า บุคคลผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมรับทาน ดังนี้ มหาชนก็เข้าใจ ไม่พิศวงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน.
เพราะว่า ธรรมดาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก ทรงดํารงอยู่ในถ้อยคําของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในการเจรจาของชาวโลกนั้นแหละทรงแสดงธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถาไว้เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลกเสีย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 363
ฉะนั้น ท่านองค์นี้ (พระสารีบุตรเถระ) เมื่อจะไม่ให้ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ดํารงอยู่ในสมมติของโลก แล้วกล่าวคํานี้อาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทเหล่านี้ ดังนี้ เพราะเหตุเป็นผู้ฉลาดในสํานวนโลก เพราะฉะนั้น บุคคลในที่นี้โปรดทราบตามสมมติเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงปรมัตถ์.
บทว่า สนฺโต สํวิชฺชมานา (มีอยู่ หาได้) คือ พอมี หาพบตามสํานวนของโลก. คําว่า ในโลก คือ ในสัตวโลก.
ขยายความกิเลสดุจเนิน ๓ อย่าง
ในที่ลางแห่ง กิเลสพระองค์ตรัสเรียกว่า อังคณะ (เป็นเหมือนเนิน) ในคํามีอาทิว่า สงฺคโณว สมาโน. ดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดากิเลสเพียงดังเนินนั้น กิเลสเพียงดังเนินเป็นไฉน? คือกิเลสเพียงดังเนินได้แก่ราคะ กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่โทสะ กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่โมหะ กิเลสเพียงดังเนิน ในที่บางแห่งหมายถึงมลทินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเปือกตมดังที่ตรัสไว้ว่า พยายามเพื่อจะละมลทินหรือเปือกตมนั้นนั่นแหละ.แต่ในที่บางแห่งหมายถึงพื้นที่ชนิดนั้น (ที่เป็นเนิน) พื้นที่นั้นพึงทราบตามคําที่พูดกัน เช่น เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น. แต่ในพระสูตรนี้ท่านพระสารีบุตรประสงค์เอากิเลสอย่างเผ็ดร้อนนานัปการว่า กิเลสเพียงดังเนิน.
จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ คําว่าอังคณะนี้เป็นชื่อของอกุศลธรรมชั่วช้า มีความปรารถนาเป็นอารมณ์.เป็นผู้เป็นไปกับด้วยกิเลสเพียงดังเนิน ชื่อว่า มีกิเลสเพียงดังเนิน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 364
บทว่า สงฺคโณว สมาโน ผู้มีกิเลสเพียงดังเนินนั่นเอง ยังมีอยู่.
ข้อว่า อตฺถิ เม อชฺฌตฺตํ องฺคณํ (ลางคนไม่รู้ตามความจริงว่า กิเลสเพียงดังเนินของเรา ยังมีอยู่ในภายใน) ความว่า ไม่รู้ว่า กิเลสมีอยู่ในตัวเรา คือในจิตสันดานของเรา คือไม่รู้โดยถ่องแท้ อย่างนี้ว่าธรรมดากิเลสเหล่านี้ หยาบคาย ร้ายแรง ควรละทิ้ง ไม่ควรเอาไว้ คล้ายกับลูกศรอาบยาพิษก็ปานกัน.
ส่วนผู้ใดรู้ว่ามีด้วย รู้อย่างนี้ด้วย (รู้ว่าหยาบช้า) ผู้นั้นท่านพระสารีบุตรเรียกว่า รู้ตามความจริงว่า กิเลสเพียงดังเนินภายในของเรายังมีอยู่. แต่กิเลสที่จะถอนได้ด้วยมรรคยังไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ใด เพราะหักห้ามไว้ได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ตาม ผู้นี้ (นั่นเอง) ท่านพระสารีบุตรเถระประสงค์เอาว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ในพระสูตรนี้.
ข้อว่า นตฺถิ เม อชฺฌตฺตํ องฺคณนฺติ ยถาภูตํ นปฺปชานาติ (ไม่รู้ตามความจริงว่ากิเลสเพียงดังเนินภายในของเราไม่มี) ความว่าไม่รู้ว่ากิเลสทั้งหลายของเราไม่มี เพราะหักห้ามด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มีเพราะถอนได้ด้วยมรรค คือไม่เข้าใจโดยถ่องแท้อย่างนี้ว่า กิเลสเหล่านั้นเมื่อเกิดขึ้น จักทําความพินาศอย่างใหญ่หลวง (เพราะว่า) เป็นกิเลสหยาบช้า ร้ายแรง ควรละทิ้ง ไม่ควรเอาไว้ คล้ายกับลูกศรอาบยาพิษก็ปานกัน.
ส่วนผู้ใดรู้ว่าไม่มีเพราะเหตุอันนี้ด้วย รู้อย่างนี้ด้วย (รู้ว่าหยาบช้า) ผู้นั้นท่านพระสารีบุตรเรียกว่า รู้ตามความจริงว่า กิเลสเพียงดังเนินภายในของเราไม่มี ดังนี้.
บทว่า ตตฺร เท่ากับ เตสุ โยค จตูสุ ปุคฺคเลสุ ในบุคคล ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 365
จําพวกนั้น หรือว่า โยค ทฺวีสุ สงฺคเณสุ ในบุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังเนินทั้ง ๒ นั้น.
บทว่า ยฺวายํ ตัดบทเป็น โย อยํ (แปลว่าบุคคลนี้ใด) ปาฐะ (บาลีเดิม) เป็น ยายํ ดังนี้ก็มี.
คนดี - คนเลว
[๕๕] ท่านพระโมคคัลลานะเรียนถามถึงเหตุอย่างเดียวเท่านั้นแหละ แต่ใช้คําถามด้วยคําทั้งคู่ว่า ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย? ดังนี้.
พึงทราบความสัมพันธ์กัน ในบทว่า เยนิเมสํ เป็นต้นอย่างนี้ว่า บรรดาคนทั้ง ๒ ประเภทนั้น คนหนึ่ง ท่านเรียกว่า เป็นคนประเสริฐ แต่อีกคนหนึ่ง ท่านเรียกว่า เป็นคนต่ําทราม เพราะเหตุใด เพราะปัจจัยใด เหตุนั้นคืออะไร ปัจจัยนั้นคืออะไร?
ในเรื่องเหตุและปัจจัยทั้ง ๒ อย่างนั้น ถึงแม้ว่า คําว่า การรับรู้และการไม่รู้ทั้งคู่นี้เองที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ไม่รู้อยู่ รู้อยู่ เป็นทั้งเหตุ เป็นทั้งปัจจัย ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น พระเถระได้กล่าวย้ำไว้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ในจํานวนคน ๒ ประเภทนั้น ดังนี้เป็นต้น เพื่อแสดงเหตุนั้นให้ชัดกว่าแต่ก่อน เพราะเหตุที่ตนมีปฏิภาณเฉียบแหลม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสตํ ปาฏิกงฺขํ (เขาหวังได้เหตุนั้น) ดังนี้ อธิบายว่า บุคคลนั้น พึงหวังได้เหตุนั้น คือ พึงคาดหมายได้ว่า คนนั้นจักประสบเหตุนี้แหละ ไม่ใช่เหตุอย่างอื่น หมายความว่า เป็นสิ่งที่มีได้แน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 366
ท่านพระสารีบุตรกล่าวหมายเอาการไม่ยังฉันทะให้เกิดขึ้นเป็นต้นที่ท่านได้กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เขาจักไม่ให้ความพอใจเกิดขึ้น.
แม้ในจํานวนข้อความเหล่านั้น ข้อความว่า เขาจักให้ฉันทะเกิดขึ้น คือ เขาเมื่อไม่รู้ ก็จักไม่ให้ความพอใจอยากจะทําเกิดขึ้น เพื่อจะละกิเลสเพียงดังเนินนั้น.
บทว่า น วายมิสฺสติ แปลว่า จักไม่พยายาม คือจักไม่ทําความพยายามให้มีกําลังมากไปกว่านั้นเลย.
ข้อว่า น วิริยํ อารภิสฺสติ (จักไม่ปรารภความเพียร) ความว่า จักไม่ปรารภความเพียร ที่เป็นตัวกําลังเอาเลย อธิบายว่า จักไม่ยังความเพียรให้เป็นไป.
บทว่า สงฺคโณ (กิเลสดุจเนิน) คือมีกิเลสดุจเนินด้วยเนินทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้.
บทว่า สงฺกิลิฏฺจิตฺโต (เป็นผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว) คือเป็นผู้มีจิตมัวหมอง ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวเอามากๆ เพราะเนินคือกิเลสเหล่านั้นเอง ได้แก่เป็นผู้มีจิตถูกกิเลสเพียงดังเนินเหล่านั้นเบียดเบียน มีจิตถูกกิเลสเพียงดังเนินเหล่านั้นเผาลนเอาทีเดียว.
บทว่า กาลํ กริสฺสติ (จักมรณภาพ) คือจักตาย.
บทว่า เสยฺยถาปิ คือ เสยฺยถา นาม เปรียบเหมือนว่า.
บทว่า กํสปาติ (ถาดทองสัมฤทธิ์) คือภาชนะที่ทําด้วยทองสัมฤทธิ์.
บทว่า อาภตา คือเอามา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 367
บทว่า อาปณา วา กมฺมารกุลา วา (จากตลาดหรือตระกูลของช่างทอง) คือ จากร้านตลาด หรือจากบ้านของช่างทองผู้ทําถาดทองสัมฤทธิ์.
บทว่า รเชน (ถูกละออง) คือถูกละอองที่จรมา มีฝุ่นเป็นต้น (ปลิวมาเกาะ).
บทว่า มเลน (ถูกสนิม) คือถูกสนิมโลหะที่เกิดกับถาดทองสัมฤทธิ์นั่นเอง (จับ).
บทว่า ปริโยนทฺธา (จับ) คือเกาะหุ้มอยู่ทั่วไป.
บทว่า น จ ปริโยทเปยฺยํ (ไม่ได้ขัดถู) คือไม่ได้ทําความสะอาด ด้วยวิธีล้างและขัดสีเป็นต้น.
บทว่า รชาปเถ (ทางฝุ่น) คือในที่ที่มีละออง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ (บาลีในพระไตรปิฎก) ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. อธิบายว่า เก็บไว้ในที่ที่ละอองปลิวมาถึง คือในที่ที่ละอองฟุ้ง หรือเก็บไว้ใต้เตียง หรือยุ้งแกลบ หรือภายในภาชนะเหมือนกับเอาละอองโรยใส่.
ในข้อว่า สงฺกิลิฎฺตรา อสฺส มลคฺคหิตา (มีแต่จะมัวหมองมีสนิมเกาะมาก) นี้มีคําอธิบายว่า รังแต่จะมัวหมองขึ้นกว่าเดิม เพราะเก็บไว้ในที่ทางที่มีละออง คือถูกสนิมเกาะขึ้นมากกว่าเดิม เพราะไม่ได้ใช้และไม่ได้ทําความสะอาด มิใช่หรือ?
ก็คําว่า (มีแต่จะมัวหมองมีสนิมเกาะมากมิใช่หรือ) นี้เป็นคําย้อนถาม. เพราะฉะนั้น พึงทราบอรรถาธิบายคําย้อนถามนั้น ดังต่อไปนี้ว่า ท่านขอรับ (โมคคัลลานะ) ถาดทองสัมฤทธิ์ใบนั้น ที่เขาทําอย่างนี้ภายหลังจะหมองมากกว่าเดิม และจะมีสนิมเกาะมากกว่าเดิมจนยากที่จะรู้ได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 368
หรือไม่รู้ได้ว่า เป็นถาดดินหรือเป็นถาดทองสัมฤทธิ์. พระเถระเมื่อจะรับรองคํานี้ จึงกล่าวว่า เป็นอย่างนั้นนั่นแหละท่าน.
พระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) เมื่อจะยืนยันข้ออุปไมยอีกครั้ง จึงได้กล่าวคํามีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข (ก็เหมือนกันนั่นแหละ).
ในคํานั้น ควรทราบการเปรียบเทียบคําอุปมากับคําอุปไมย ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ เปรียบเหมือนถาดสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง การที่บุคคลนั้นเมื่อจะได้บวช ก็กลับได้บวชในสํานักของบุคคลผู้ขวนขวายในอเนสนาทั้งหลายมีเวชกรรม (เป็นหมอ) เป็นต้น เปรียบเหมือนการทอดทิ้งถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว ไว้ในที่ทางที่มีละอองเพราะไม่ได้ใช้สอยเป็นต้น. การทําอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้นแห่งบุคคลนั้น ผู้สําเหนียกอยู่ตามอาจารย์และอุปัชฌายะ ตามลําดับ (และ) การมรณภาพทั้งที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินของบุคคลผู้ดํารงอยู่ในวีติกกมโทษคือการทําอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น (เป็นหมอเหมือนอาจารย์) เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหมองยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้งๆ ที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่แห่งเขาผู้ดํารงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลําดับ คือ การต้องอาบัติทุกกฏ และทุพภาสิต (เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้วกลับมัวหมองขึ้นไปอีก). อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้งๆ ที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ของเขาผู้ดํารงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลําดับ คือ การต้องอาบัติปาจิตตีย์ และถุลลัจจัย การต้องอาบัติสังฆาทิเสส การต้องอาบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 369
ปาราชิก และการทําอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้น (เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหมองยิ่งขึ้นไปอีก).
แต่ในข้อความนี้ว่า จักเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง มรณภาพ ไม่ควรเห็นอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า จักมรณภาพด้วยอกุศลจิต. เพราะสัตว์ทุกตัวตนตายโดยปกติจิต คือโดยภวังคจิตกันทั้งนั้น แต่คนคนนี้ยังไม่ชําระจิตสันดานให้สะอาดก่อนแล้วจึงตาย ดังนี้แล พึงทราบอรรถาธิบายว่าพระสารีบุตรกล่าวข้อความไว้อย่างนี้ หมายเอาอรรถาธิบายข้อนี้.
ในทุติยวารมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริโยทเปยฺยุํ (ควรขัดถู) ความว่า ทําให้สะอาด คือให้เป็นเช่นกับกระจกเงา ด้วยการล้างการขัดและการถูด้วยขี้เถ้าละเอียดเป็นต้น.
ข้อว่า น จ นํ รชาปเถ (ไม่ควรเก็บมันไว้ในที่ทางที่มีละออง) ความว่า ไม่ควรเก็บไว้ในที่ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว แต่ควรวางไว้ในกล่องหรือหีบ หรือห่อ แล้วเอาแขวนไว้ที่ไม้สําหรับแขวนสิ่งของ (นาคทันตะ).คําที่ยังเหลืออยู่ ควรถือเอาตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเถิด.
แต่ในทุติยวารนี้ ควรทราบการเปรียบเทียบ ระหว่างข้ออุปมากับอุปไมยดังต่อไปนี้ว่า ภัพพบุคคล (ผู้พอบรรลุมรรคผลได้) ที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง การที่บุคคลนั้นกลับได้บวชในสํานักของผู้มีศีลเป็นที่รัก เหมือนกับทําการใช้ถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองเป็นต้น แล้วเก็บไว้ในสถานที่ที่สะอาด. อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่าใด ตักเตือนพร่ําสอน (เขา) เห็นความประมาทแม้เพียง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 370
เล็กน้อยก็ทําทัณฑกรรมแล้วให้สําเหนียกบ่อยๆ การมรณภาพขณะที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแห่งเขาผู้สําเหนียกตามอาจารย์และอุปัชฌายะนั้น ดํารงอยู่ในคุณธรรมนี้ คือการประพฤติปฏิบัติชอบนี้ตามลําดับ เหมือนกับภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง แต่สะอาดหมดจดในภายหลัง.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพขณะที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแห่งเขาผู้ดํารงอยู่ในการยืนหยัดอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ การเรียนเอาพระพุทธพจน์พอเหมาะสมสําหรับตนแล้วสมาทานธุดงค์ รับเอาพระกรรมฐานที่เกื้อกูลแก่ตน ทิ้งการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านแล้วอยู่ในเสนาสนะที่สงัดนี้ตามลําดับ เปรียบเทียบกับภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง แต่สะอาดหมดจดในภายหลัง.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพขณะที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ในวาระสุดท้ายนั่นเอง (ปรินิพพาน) แห่งท่านผู้ดํารงอยู่ในการทําบริกรรมกสิณแล้วข่มกิเลสไว้ได้ ด้วยการยังสมาบัติทั้ง ๘ ให้เกิดขึ้น การออกจากฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนาแล้วกั้นกิเลสไว้ได้ด้วยตทังคปหาน (การละกิเลสบางอย่างได้ด้วยองค์นั้น เช่น ละสุภารมณ์ได้ด้วยการพิจารณาอสุภะเป็นต้น) จึงบรรลุโสดาปัตติผลด้วยวิปัสสนา ฯลฯ และการทําอรหัตให้แจ่มแจ้งแก่ตน (เปรียบเหมือนกับภาวะของถาดที่มัวหมองแต่สะอาดหมดจดในภายหลัง).
ในตติยวารมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุภนิมิตฺตํ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา เป็นที่ตั้งของราคะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 371
บทว่า มนสิ กริสฺสติ (จักใส่ใจ) ความว่า เมื่อสุภนิมิตนั้นมีอยู่เขาก็จักระลึกถึงนิมิตนั้น.
บทว่า ตสฺส สุภนิมิตฺตสฺส มนสิการา (เพราะการใส่ใจถึงสุภนิมิตของเขา) ได้แก่เพราะเหตุแห่งการใส่ใจถึงสุภนิมิตของบุคคลนั้น.
บทว่า อนุทฺธํเสสฺสติ (จักตามรบกวน) คือจักเบียดเบียนได้แก่จักครอบงํา (จิตของเขา). อธิบายว่า ราคะพึงทราบว่า เมื่อเกิดขึ้นตัดขาดการปฏิบัติกุศล เป็นอกุศลชวนะเสียเอง ตามขจัดกุศลจิตสถิตอยู่.
คําที่ยังเหลืออยู่ ควรถือเอาตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเถิด.
แต่ในตติยวารนี้ควรทราบการเปรียบเทียบกันระหว่างอุปไมย ดังต่อไปนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีกิเลสน้อยตามปกติ เหมือนกับถาดทองสัมฤทธิ์ที่สะอาด. การที่บุคคลนั้นจะได้บวช (ก็กลับได้บวชในสํานักของบุคคลผู้ขวนขวายในอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น) เหมือนกับการไม่ทําการใช้เป็นต้น ซึ่งถาดทองสัมฤทธิ์ที่สะอาดแล้ว ยังเก็บไว้ในที่ที่มีละออง (อีก). ต่อไปจากนี้ ทุกคํา เหมือนกับในปฐมวารทั้งสิ้น.
ในจตุตถวารมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
ข้อว่า สุภนิมิตฺตํ น มนสิ กริสฺสติ (จักไม่ใส่ใจถึงสุภนิมิต) ความว่า จักไม่ระลึกถึงนิมิตนั้น เพราะไม่มีการเว้นห่างจากสติในเพราะนิมิตนั้น. ถ้อยคําที่เหลือ พึงทราบตามแนวแห่งทุติยวารเถิด. คํามีอาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้แล มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้ในคํามีอาทิว่า ยโตนุโข นั้นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 372
เนินคืออะไร?
[๕๖] บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรผู้ถูกท่านพระมหาโมคคัลลานะที่ประสงค์จะให้ท่านอธิบายว่ากิเลสเพียงดังเนินนั้นให้ชัด โดยประการต่างๆ ถามแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า คําที่ท่านเรียกว่า เนิน เนิน ได้แก่อะไร? ดังนี้ เมื่อจะตอบคําถามนั้น จึงได้กล่าวคํามีอาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ คําว่า เนิน นี้ เป็นชื่อของอกุศลธรรมที่ชั่วช้าแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺฉาวจรานํ (เป็นแดนของอิจฉา) มีเนื้อความว่า (อกุศล) เป็นที่เที่ยวไปแห่งความอยาก คือ ความโกรธและความน้อยใจนานัปการ ที่ข้ามลง คือเป็นไปแล้วด้วยอํานาจแห่งความอยาก.
[๕๗] ข้อว่า ยํ อิเธกจฺจสฺส (เหตุที่ให้ความอยากเกิดขึ้นแก่ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้) มีอรรถาธิบายว่า ความอยากนี้ พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุลางรูปโดยเหตุอย่างใด เหตุอย่างนั้น ที่เป็นฐานแห่งความอยากนั้น มีอยู่ คือยังมี ได้แก่ยังหาได้.
บทว่า อาปนฺโน อสฺสํ เท่ากับ อาปนฺโน ภเวยฺยํ แปลว่า พึงเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว.
ประโยคว่า น จ ภิกฺขู ชาเนยฺยุํ เท่ากับ ภิกฺขู จ มํ น ชาเนยฺยุํ (แปลว่า และขออย่าให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักเรา).
ในเรื่องที่ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักนี้ มีอะไรเป็นเหตุ?
มีความที่เธอเป็นผู้มีความต้องการลาภ เป็นเหตุ.
อธิบายว่า ภิกษุผู้มีความต้องการลาภตามปกติแล้ว ก็เป็นผู้ทําบุญไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 373
และเป็นผู้ที่มนุษย์ทั้งหลายพากันสักการะทําความเคารพ จึงคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว พระเถระทั้งหลายรู้เข้าจะบอกแก่พระภิกษุผู้ปานกลางทั้งหลาย ภิกษุปานกลางทั้งหลายจะบอกแก่ภิกษุทั้งหลายที่ยังใหม่ ภิกษุใหม่ทั้งหลายจะบอกแก่คนทั้งหลายมีคนเฝ้าวิหารเป็นต้น (คนกินเดนในวิหาร) คนเฝ้าวิหารเหล่านั้นจะบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้มารับโอวาท บริษัททั้ง ๔ ก็จะรู้กันไปตามลําดับอย่างนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว อันตรายแห่งลาภก็จะมีแก่เรานั้น น่าละอายใจจริง? ถึงเราจะต้องอาบัติจริงแล้ว ขอภิกษุทั้งหลายอย่ารู้จักเราเลย.
ข้อว่า ยํ ตํ ภิกฺขุํ ภิกฺขู ชาเนยฺยุํ เหตุที่ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ภิกษุนั้น ความว่า เหตุที่จะให้ภิกษุเหล่าอื่น รู้เรื่องภิกษุนั้นมีจริง คือมีอยู่ทีเดียว ไม่ใช่ไม่มี เพราะว่าพระเถระทั้งหลายรู้เข้าแล้ว ก็จะบอกแก่ภิกษุปานกลางทั้งหลาย. เมื่อเป็นอย่างนี้ เธอก็จะเป็นผู้ปรากฏในบริษัททั้ง ๔ โดยนัยที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว. และเธอปรากฏอย่างนี้แล้วจะเป็นผู้อัปยศ เข้าไปบ้านตั้ง ๑๐๐ บ้าน เช็ดเท้าที่ธรณีประตูตั้ง ๑๐๐ แห่งก็จะออกมาด้วยบาตรเปล่า. ต่อแต่นั้นไป ภิกษุทั้งหลายก็จะรู้จักเราว่าเป็นผู้ต้องอาบัติ. อนึ่ง เธอครั้นคิดว่าเราถูกพระภิกษุเหล่านั้นทําให้เสียหายไปแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็จะเป็นผู้ขุ่นเคืองเพราะเหตุอย่างนี้.
ความโกรธ คือความน้อยใจเป็นเนิน
[๕๘] บทว่า อปฺปตีโต (จะเป็นผู้น้อยใจ) คือเธอจะเป็นผู้โกรธเคือง ได้แก่ถูกความโกรธครอบงําด้วย จะเป็นผู้น้อยใจ คือถูกความเสียใจครอบงําด้วยเพราะเหตุการณ์นี้. ในข้อว่า โย เจว โข อาวุโส โกโป โย จ อปฺปจฺจโย อุภยเมตํ องฺคณํ (ท่านผู้มีอายุ ความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 374
โกรธเคืองและความน้อยใจ ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน) นี้ ควรทราบอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ความขุ่นเคือง ที่สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ด้วย ความน้อยใจที่สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ด้วย ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนินและคํานี้ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นเช่นนั้น แต่ความโลภท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเป็นส่วนเบื้องต้นของกิเลสเพียงดังเนินนี้. ส่วนโมหะเป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน ด้วยสามารถแห่งการประกอบเข้าด้วยกัน (กับโลภะ) แล้ว.
[๕๙] บทว่า อนุรโห มํ (ควรฟ้องเราในที่ลับ) มีเนื้อความว่า ภิกษุเช่นกับรูปแรก (ที่ต้องอาบัติ) ปรารถนาให้ภิกษุทั้งหลายพาตนเข้าไปสู่เสนาสนะท้ายวิหารปิดประตู แล้วจึงฟ้อง.
บทว่า านํ โข ปเนตํ (ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุ) หมายความว่าเหตุนี้มีได้ คือภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาด ได้รับแนะนํา แล้วควรเอาภิกษุนั้นไปสู่ท่ามกลางบริษัท ๔ แล้วจึงฟ้องโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทําเวชกรรมในที่ชื่อโน้น. ส่วนข้อความว่า เธอจะเป็นผู้ปรากฏในบริษัท ๔ จะปรากฏอย่างนี้ด้วย ถูกความเสื่อมยศครอบงําแล้วด้วย ทั้งหมดเหมือนกับข้อความในตอนต้นนั่นแหละ.
คนผู้เท่าเทียมกัน
[๖๐] บทว่า สปฺปฏิปุคฺคโล (คนผู้เท่าเทียมกัน) คือคนตรงกันข้ามที่เท่าเทียม.
คําว่า เท่าเทียมกัน คือต้องอาบัติเหมือนกัน.
คําว่า คนตรงกันข้าม คือผู้เป็นโจทก์. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้อง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 375
โดยภิกษุที่ต้องอาบัติเหมือนกัน (เพราะว่า) เธอเข้าใจว่า อาจจะพูด (ค้าน) ได้ว่า ท่านเองก็ต้องอาบัตินี้ ก่อนอื่นท่านจงทําคืนอาบัตินั้นภายหลังจงฟ้องผม. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสนอกันแม้โดยชาติเป็นต้น ชื่อว่า คนเท่าเทียมกัน. อธิบายว่า. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้องโดยภิกษุผู้เสมอกัน ด้วยคุณสมบัติทั้งหลาย แม้มีอาทิอย่างนี้ คือ ด้วยชาติ ด้วยตระกูล ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยความฉลาด (และ) ธุดงค์ของตน (เธอ) เข้าใจว่า ทุกข์อย่างยิ่งที่บุคคลเช่นนั้นกล่าวแล้วย่อมไม่มี. คนตรงข้าม (โจทก์) ที่ไม่คู่ควรกัน ชื่อว่าคนที่ไม่เท่าเทียมกัน ในคํานี้ว่า ไม่ใช่คนที่ไม่เท่าเทียมกัน มีอธิบายว่า คนที่เป็นคู่ศัตรูเป็นคู่ต่อสู้ ชื่อว่าไม่ควรเป็นโจทก์ เพราะไม่เสมอเหมือนกัน โดยอาบัติเป็นต้นเหล่านี้.
ข้อว่า อิติ โส กุปิโต (เพราะเหตุอย่างนี้ เขาจะเป็นผู้โกรธเคือง) มีเนื้อความว่า เพราะเหตุอย่างนี้เขาจะเป็นผู้แค้นเคืองอย่างนี้เพราะการฟ้องของผู้ไม่เท่าเทียมกันนี้.
[๖๑] ในจตุตถวาร (ตอนว่าด้วยอิจฉาวจรที่ ๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ อโห วต (โอหนอ) ปรากฏในคําตําหนิก็มี เช่นว่าเฮ้ยน่าทุเรศจริง ท่านผู้เป็นบัณฑิตของพวกเรา คือว่า เฮ้ยน่าทุเรศจริงท่านผู้เป็นพหูสูต และเป็นผู้บรรลุวิชชา ๓ ของเราทั้งหลาย. ปรากฏในความปรารถนา (ก็มี) เช่นว่า น่าชื่นใจจริง คนทั้งหลายจะต้องอภิเษก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 376
เราผู้ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ไว้ในราชสมบัติ. ในที่นี้ปรากฏในความปรารถนาเท่านั้น.
คําว่า ปุจฺฉิตฺวา ปุจฺฉิตฺวา (ตรัสถามแล้ว) คือ ตรัสถามแล้วตรัสถามเล่า. ภิกษุผู้มีความต้องการลาภนี้อยากให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามตน แต่ต้องการให้ถามปัญหานั้นด้วยถ้อยคําเพื่อให้คล้อยตามไม่ใช่ตรัสถามถึงมรรคผล หรือวิปัสสนา ทําให้มีช่องโหว่ไว้. เพราะว่าภิกษุรูปนี้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามพระมหาเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตร เป็นต้นในท่ามกลางบริษัทอย่างนี้ว่า สารีบุตร โมคคัลลานะ กัสสปะ ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร? คือ จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง แล้วทรงแสดงธรรมไป เห็นพวกมนุษย์กล่าวสรรเสริญคุณของพระเถระเหล่านั้นอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย พระศาสดาทรงพอพระทัย ดังนี้ และเห็นพวกเขาน้อมลาภสักการะไปถวายพระเถระเหล่านั้นอยู่ เพราะฉะนั้น เธอเมื่อปรารถนาลาภสักการะนั้น ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ออกไปยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนท่อนไม้ที่วางไว้.
บทว่า โส กุปิโต (เธอโกรธเคืองแล้ว) ความว่า ภายหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สนพระทัยเธอเลย แต่ตรัสถามพระเถระรูปอื่นแล้วทรงแสดงธรรมไป เพราะฉะนั้น เธอจึงโกรธเคืองทั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระเถระ.
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไร?
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า เราตั้งแต่บวช ไม่รู้จักการออกไปนอกบริเวณพระคันธกุฎี ทุกเวลาไม่เคยห่างเป็นเช่นกับเงา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 377
แม้เพียงแต่จะตรัสถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมเทศนาก็ไม่มี ทรงถามพระเถระที่ทรงเห็นเพียงครู่เดียวเท่านั้น แล้วก็ทรงแสดงธรรม.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระแก่รูปนี้ นั่งตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกับตอไม้ เมื่อไรนะพระเถระผู้เป็นธรรมกัมมิกะ (ทํางานเกี่ยวกับธรรม) จักให้พระแก่รูปนี้ถึงฐานะแห่งอภัพพบุคคล (ผู้ไม่ควรบรรลุมรรคผล) แล้วขับออกไป (จากหมู่คณะ.) เพราะว่าถ้าไม่มีภิกษุรูปนี้ในวิหารนี้ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเจรจากับเราแน่นอน.
พระโกรธ
[๖๒] บทว่า ปุรกฺขตฺวา ปุรกฺขตฺวา (ทําไว้ข้างหน้า ทําไว้ข้างหน้า) คือทําไว้ (ให้อยู่) ข้างหน้า มีคําอธิบายว่า ห้อมล้อม (ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง).
แม้ภิกษุรูปนี้ก็เป็นผู้อยากได้ลาภเหมือนกัน. เพราะว่า ภิกษุรูปนี้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตเข้าบ้านพร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวาร กําลังไหว้เจดีย์ และเห็นอุบาสกทั้งหลายผู้เลื่อมใส (ภิกษุเหล่านั้น) เพราะเห็นคุณธรรมข้อนั้น ของท่านเหล่านั้น แสดง (ทํา) อาการของผู้เลื่อมใสอยู่ เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องการอย่างนี้.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) หมายความว่า ภิกษุแม้รูปนี้โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองต่อภิกษุทั้งหลายและพระเถระ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 378
โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายอย่างไร?
โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นถือเอาเฉพาะจีวรหรือบิณฑบาตที่เกิดขึ้นแก่เรานั้นบริโภคอยู่ แต่ผู้จะมาข้างหลังรับบาตรจีวรของเราก็ไม่มี.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร?
โกรธเคืองพระเถระว่า พระเถระแก่รูปนี้ (ไป) ปรากฏด้วยในที่นั้นๆ เมื่อไรนะ พระธรรมกัมมิกะ จักจับเขาออกไป เมื่อไม่มีพระแก่รูปนี้ ภิกษุทั้งหลายก็จักห้อมล้อมเราคนเดียวเป็นแน่.
[๖๓] บทว่า ภตฺตคฺเค (โรงฉัน) คือ สถานที่สําหรับฉัน (หอฉัน).
บทว่า อคฺคาสนํ (ที่นั่งชั้นยอด) คือ ที่นั่งสําหรับพระสังฆเถระ.
บทว่า อคฺโคทกํ (น้ำที่เลิศ) คือ ทักษิโณทก (น้ำที่ถวายด้วยความเคารพ).
บทว่า อคฺคปิณฺฑํ (บิณฑบาตที่เลิศ) คือ บิณฑบาตสําหรับพระสังฆเถระ.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่ทุกแห่ง คําว่า เลิศ นี้ เป็นคําใช้เรียกสิ่งของที่ประณีต.
บรรดาความปรารถนาทั้ง ๒ อย่างนี้ ความปรารถนาว่า เราคนเดียวควรได้ ดังนี้ ไม่มีโทษหนักมากเท่าไร. แต่ความปรารถนาว่า ภิกษุอื่นไม่ควรได้ ดังนี้ มีโทษหนักมาก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 379
ภิกษุผู้มีความต้องการลาภ รูปนี้เป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส โดยการครองจีวรเป็นต้น บางครั้งก็บวช บางครั้งก็สึก เพราะเหตุนั้น เธอเมื่อภายหลังไม่ได้ที่นั่งเป็นต้น ที่ตนเคยได้นั่งมาแล้วในตอนก่อน จึงคิดอย่างนี้ว่าภิกษุนั้นไม่ควรจะได้. ภิกษุรูปนั้นเมื่อที่นั่งชั้นยอดเป็นต้น ถึงแก่พระเถระทั้งหลาย (พระเถระนั่งแล้ว) สําหรับพระรุ่นกลาง และพระรุ่นไหนเหล่าอื่น ก็ทํานองเดียวกันนั้น บางครั้งก็ได้ที่นั่งธรรมดาสามัญหรือที่นั่งที่ต่ํากว่าที่นั่งทั้งหมด หรือไม่ได้เลย.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) คือ ภิกษุรูปนี้เอง โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ (โกรธเคือง) คนทั้งหลายและพระเถระทั้งหลาย.
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างไร?
(โกรธเคือง) คนทั้งหลายอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้อาศัยเรา จึงได้ภิกษุทั้งหลาย (มา) ในงานมงคลเป็นต้น (เมื่อก่อน) เขาพากันพูดว่าข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าได้กรุณาพาภิกษุจํานวนเท่านี้ (ไป) ทําความอนุเคราะห์แก่กระผมทั้งหลายเถิด แต่เดี๋ยวนี้เขาได้พาเอาพระเถระแก่ ผู้เพียงแต่ได้เห็นชั่วประเดี๋ยวเดียวไป เรื่องนี้ช่างเถิด ต่อไปนี้เมื่อกิจของเขาเหล่านี้เกิดขึ้น เราจักรู้ (แก้มือ).
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า ถ้าธรรมดาไม่มีพระเถระเหล่านั้นไซร้ คนทั้งหลายต้องนิมนต์เฉพาะเราเท่านั้น.
บทว่า อนุโนเทยฺยํ (ควรอนุโมทนา) คือ ควรทําอนุโมทนา.แม้ภิกษุรูปนี้เป็นผู้มีความต้องการลาภ รู้การอนุโมทนาเป็นตอนๆ แบบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 380
ธรรมดาๆ. เธอคิดปรารถนาอย่างนี้ว่า ณ สถานที่อนุโมทนา แม่บ้านจะพากันมามาก พวกเขาจําเราได้แล้ว ต่อไปจักถวายภักษาหารเป็นถาดๆ.
บทว่า านํ (เหตุที่ตั้ง) ความว่า การอนุโมทนา เป็นภาระ (๑) หน้าที่ของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตควรอนุโมทนา.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) หมายความว่า ภิกษุรูปนี้เองจะโกรธเคือง ในเพราะเหตุ ๓ สถาน คือ โกรธเคืองคนทั้งหลาย ๑ โกรธเคืองพระเถระ ๑ โกรธเคืองพระธรรมกถึก ๑.
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างไร?
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนคนเหล่านี้เข้ามาหาเราคนเดียวแล้วขอร้องว่า ขอนิมนต์ท่านนาคเถระของเราทั้งหลายจงอนุโมทนา ขอนิมนต์ท่านสุมนเถระของเราทั้งหลายจงอนุโมทนา แต่วันนี้ไม่พูด (ไม่นิมนต์).
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระสังฆเถระรูปนี้ไม่กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงพากันเข้าไปหาพระนาคเถระ พระสุมนเถระ ผู้เป็นพระประจําตระกูลของท่านทั้งหลาย ท่านผู้นี้จักอนุโมทนา.
โกรธเคืองพระธรรมกถึกอย่างไร?
โกรธเคืองพระธรรมกถึกอย่างนี้ว่า พอท่านพระเถระพูดจบเท่านั้น เห็น (ท่านพระธรรมกถึก) รนราน เหมือนไก่ถูกตี ผู้จะฉุดคร่า
(๑) ปาฐะเป็น อนุโมทนาภาโว แต่ฉบับพม่าเป็น อนุโมทนา ภาโร จึงแปลตามฉบับพม่าความดีกว่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 381
พระรูปนี้ออกไปก็ไม่มี เพราะว่า เมื่อไม่มีพระรูปนี้ เราคนเดียวต้องอนุโมทนา.
[๖๔] บทว่า อารามคตานํ (ผู้มาสู่อาราม) คือ ผู้ประชุมกันอยู่ในวิหาร.
แม้ภิกษุรูปนี้ ผู้มีความต้องการลาภ รู้ธรรมกถาเป็นตอนๆ แบบธรรมดาๆ เธอเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้นั่งประชุมกันฟังธรรมเนืองนิตย์ตลอดทั้งคืนตั้ง ๒ - ๓ ร้อยโยชน์ในที่เช่นนั้น พากันพอใจทีเดียว หรือเห็นภิกษุหนุ่มหรือสามเณรกําลังให้สาธุการด้วยเสียงดังว่า สาธุ สาธุ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พากันถามภิกษุทั้งหลายที่ไปในบ้านในวันที่ ๒ ต่อจากนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระพวกไหนแสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า รูปโน้น รูปโน้น คนทั้งหลายได้ยินดังนั้นแล้วเลื่อมใสจะพากันทําสักการะแก่พระธรรมกถึกมาก. ภิกษุรูปนั้นเมื่อปรารถนาลาภนั้นย่อมคิดอย่างนี้.
[๖๕] บทว่า านํ (เหตุที่ตั้ง) ความว่า การแสดงธรรมเทศนาเป็นภาระของ (ภิกษุทั้งหลาย) ผู้เป็นพหูสูต ผู้ฉลาดในการวินิจฉัย เพราะเหตุนั้น จึงมีคําอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ควรแสดงธรรม.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) ความว่า เมื่อไม่ได้โอกาสกล่าวเพียงคาถาที่ประกอบด้วยบท ๔ บท ก็จะโกรธเคืองตัวเองที่เป็นคนโง่ว่า เพราะเราเขลาเบาปัญญา ที่ไหนจักได้แสดงธรรม.
บทว่า ภิกฺขุนีนํ (ภิกษุณีทั้งหลาย) ความว่า แก่ภิกษุณีทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 382
ผู้มาสู่อารามแล้วประชุมกัน เพื่อรับโอวาท เพื่ออุทเทศ เพื่อการทดสอบหรือเพื่อทําการบูชา.
แม้ภิกษุรูปนี้ผู้มีความต้องการลาภ เธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่าภิกษุณีเหล่านี้บวชจากตระกูลใหญ่ เมื่อพวกเธอเข้าไปนั่งในตระกูลทั้งหลาย คนทั้งหลายจักพากันถามว่า ท่านทั้งหลายพากันรับโอวาทหรืออุทเทศหรือทดสอบ ในสํานักของใคร จากการถามนั้น ภิกษุณีทั้งหลายจักบอกว่าพระคุณเจ้าชื่อโน้น ผู้เป็นพหูสูต ท่านทั้งหลาย จงถวาย (ของ) กระทํา (สักการะ) แก่ท่าน เพราะเหตุนั้น ความต้องการอย่างนี้ จึงเกิดขึ้นแก่เธอ.
บทว่า านํ (เหตุที่ตั้ง) ความว่า เป็นธรรมดากิจวัตรมีการโอวาทเป็นต้น เป็นภาระของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตควรแสดง.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) มีอรรถาธิบายว่า ภิกษุนี้โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถานคือ โกรธเคืองภิกษุณีเหล่านั้นว่า ภิกษุณีเหล่านี้เมื่อก่อนอาศัยเรา จึงได้อุโบสถและปวารณาเป็นต้น แต่บัดนี้ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ไปสู่สํานักของพระเถระแก่ ผู้เพียงแต่ได้เห็นชั่วคราว และโกรธเคืองพระธรรมกถึกว่า พระธรรมกถึกรูปนั้น ได้ให้โอวาทแก่ภิกษุณีเหล่านั้น เร็วไวเหมือนกัน.
บทว่า อุปาสกานํ (แก่อุบาสกทั้งหลาย) มีอรรถาธิบายว่า ธรรมดาอุบาสกทั้งหลายผู้ไปวัด เป็นอุบาสกผู้ใหญ่ สละการงานกันแล้ว เขาเหล่านั้นมอบงานให้ลูกน้องแล้วเที่ยวหาฟังธรรมกัน. ภิกษุรูปนี้ต้องการแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านั้น. เพราะเหตุไร? เพราะคนเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 383
เลื่อมใสภิกษุเหล่านี้แล้ว จักบอกให้อุบาสิกาทั้งหลายทราบบ้าง ต่อไปก็จักพร้อมด้วยอุบาสิกาทั้งหลาย พากันนําลาภและสักการะมาถวายเราคนเดียว เพราะฉะนั้น ควรประกอบเหตุที่ตั้ง เข้ากับผู้อื่นเป็นพหูสูตด้วย.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) มีเนื้อความว่า ภิกษุรูปนี้จะโกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือโกรธเคืองอุบาสกทั้งหลายว่าอุบาสกเหล่านั้นฟัง (ธรรม) ที่อื่นไม่มาวัดเรา ด้วยความตั้งใจว่า พวกเราจะฟัง (ธรรม) ในสํานักของภิกษุประจําตระกูลของพวกเรา ข้อนั้น ช่างเถอะต่อไปนี้ เราจักรู้ไว้ในเมื่อพวกเขามีกิจเกิดขึ้น และโกรธเคืองพระธรรมกถึกว่า ท่านรูปนี้แสดงธรรมให้คนเหล่านี้ฟัง.
บทว่า อุปาสิกานํ (แก่อุบาสิกาทั้งหลาย) ความว่า ธรรมดาอุบาสิกาทั้งหลายผู้มาวัด ได้ประชุมกันเพื่อปูอาสนะและทําการบูชา เป็นต้น หรือเพื่อฟังธรรมในวันอุโบสถ.
คําที่เหลือจากที่ได้อธิบายแล้ว มีนัยเหมือนที่ได้กล่าวแล้วในตอนว่าด้วยอุบาสก.
[๖๖ - ๖๗] บทว่า สกฺกเรยฺยํ คือ ควรทําโดยเคารพด้วยทําให้ดีด้วย. ด้วยคําว่า ควรสักการะ นี้ เธอปรารถนาการที่ทําในตนโดยเคารพและด้วยดี.
บทว่า ครุกเรยฺยุํ (ควรตระหนัก) คือ ควรทําให้หนัก. ด้วยคําว่า ควรตระหนัก นี้ เธอปรารถนาจะให้ภิกษุทั้งหลายตั้งตัวเธอไว้ในฐานะเป็นครู.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 384
บทว่า มาเนยฺยํ (ควรนับถือ) คือ ควรรักใคร่.
บทว่า ปูเชยฺยุํ (ควรบูชา) ความว่า เธอปรารถนาการบูชาด้วยปัจจัยว่า คนทั้งหลายเมื่อสักการะเคารพนับถือเรา ก็ต้องบูชาเราด้วยปัจจัยทั้งหลายอย่างนี้.
บทว่า านํ (เหตุที่ตั้ง) ความว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตและเป็นผู้มีศีล มีประการดังที่กล่าวแล้วว่า เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือ สมควรกะวิธีนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ควรทําแบบนี้ คือ อย่างนี้.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) ความว่า แม้ภิกษุรูปนี้จะโกรธเคือง ในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายว่าภิกษุเหล่านี้สักการะภิกษุนั้น และโกรธเคืองพระเถระว่า เมื่อไม่มีพระเถระรูปนี้ ภิกษุทั้งหลายต้องสักการะเราคนเดียวเท่านั้น. ในวาระ (ตอน) อื่น อีก ๓ วาระต่อจากนี้ ก็มีนัยนี้.
[๖๘] บทว่า ปณีตานํ จีวรานํ (จีวรประณีต) ได้แก่ผ้าจีวรที่มีราคาแพง เนื้อละเอียด มีสัมผัสอ่อนนิ่ม (ห่มสบาย) มีผ้าธรรมดา ผ้าเปลือกไม้ ผ้าไหมที่ฟอกแล้วและผ้าไหมธรรมดา เป็นต้น.
ความปรารถนาว่า เราเท่านั้นควรมีลาภ ไม่ชื่อว่ามีโทษมากมายในที่นี้เลย. แต่มีโทษมากมายคือความต้องการว่า ขออย่าให้คนอื่นมีลาภ.
[๖๙] บทว่า ปณีตานํ ปิณฺฑปาตานํ (บิณฑบาตประณีต) คือบิณฑบาตที่ดีที่สุด เพียบพร้อมไปด้วยรสเนยใส รสน้ำมัน และรสเนื้อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 385
เป็นต้น (๑)
บทว่า ปณีตานํ เสนาสนานํ (เสนาสนะประณีต) คือ ที่นั่งที่นอนมีเตียงและตั่งเป็นต้น ที่มีค่าหลายแสน.
บทว่า ปณีตานํ คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ (บริขารคือยาที่เป็นปัจจัยแก่ผู้ป่วย) คือ ยาชั้นสูงมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น. แม้ทุกวาระควรประกอบเหตุเป็นที่ตั้งเข้ากับด้วยผู้เป็นพหูสูตและผู้มีบุญทั้งหลาย.
บทว่า กุปิโต (ขุ่นเคืองแล้ว) ได้แก่ขุ่นเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถานคือ ขุ่นเคืองคนทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่า คนเหล่านี้ไม่มีการอบรมสั่งสม (บุพพบารมี) เลย เราอยู่ร่วมกันมาตลอดกาลยาวนาน ถึงจะเดินไปตามลําดับเรือนเพื่อต้องการผ้าบังสุกุล หรือว่าเพื่อต้องการบิณฑบาต หรือเพราะเหตุแห่งเนยใสและน้ำมันเป็นต้น คนเหล่านี้ก็ไม่ถวายปัจจัย ๔ ที่ประณีตอะไรแม้แต่วันเดียว แต่พอเห็นหลวงตา ผู้เป็นแขกมาเท่านั้นก็พากันถวายสิ่งที่ท่านต้องการ และขุ่นเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า หลวงตารูปนี้เที่ยวแสดงตนให้คนเหล่านั้นเห็น เมื่อไรภิกษุผู้เป็นธรรมกัมมิกะจะฉุดคร่าแกออกไป เมื่อไม่มีหลวงตารูปนี้ เราคนเดียวต้องมีลาภ.
บทว่า อิเมสํ โข อาวุโส (เหล่านี้แล) หมายความว่า (อกุศลธรรมทั้งหลาย) เหล่านั้นที่เป็นแดนของอิจฉาที่ได้กล่าวแต่หนหลังโดยวาระ ๑๙ วาระ.
[๗๐] บทว่า ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ (ยังเห็นอยู่และได้ยินอยู่) หมายความว่า บาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจร (เป็นแดนอิจฉา)
(๑) ฉบับพม่า เป็น สปฺปิเตลมธุสกฺกราทิปูริตานํ เพียบพร้อมไปด้วย เนยใส, น้ำมัน, น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 386
ไม่ใช่เห็นได้ด้วยจักษุ ไม่ใช่ได้ยินด้วยโสต. แต่ครั้นได้เห็นกายกรรมของบุคคลผู้ละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรยังไม่ได้ ที่เป็นไปแล้วด้วยอํานาจของอกุศลที่เป็นอิจฉาวจร ก็เป็นเหมือนกับได้เห็นแล้ว และครั้นได้ยินวจีกรรมของบุคคลผู้ละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรยังไม่ได้ ที่เป็นไปด้วยอํานาจอกุศลที่เป็นอิจฉาวจร ก็เป็นเหมือนกับได้ยินแล้ว เพราะเป็นอารมณ์ของมโนวิญญาณ. เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า ยังเห็นอยู่และได้ยินอยู่. อธิบายว่า เห็นอยู่ตลอดกาลที่ยังประจักษ์อยู่ (ส่วน) ได้ยินในเวลาที่ผ่านมาแล้วว่า ได้ทราบว่า ภิกษุรูปโน้น ก็เช่นรูปนี้.
บทว่า กิฺจาปิ (ถึงแม้ว่า) เป็นต้น เป็นการกล่าวยกย่องและการตําหนิ. ด้วยคํานั้นท่านยกย่องการอยู่ป่าเป็นวัตร (และ) ตําหนิการละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรยังไม่ได้.
ในข้อนั้น มีการประกอบความดังนี้ว่า ภิกษุนั้นถึงแม้ว่า จะห้ามเสนาสนะท้ายบ้านอยู่ป่าประจํา อยู่ในเสนาสนะอันสงบที่ชายแดน ก็จริงแต่ว่าบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรเหล่านี้ คือประมาณเท่านี้ เธอยังละไม่ได้ถึงเธอจะปฏิเสธลาภฟุ่มเฟือยถือบิณฑบาตเป็นประจําบ้าง จะเว้นการไปบิณฑบาตไม่เป็นที่เป็นทางไปตามลําดับตรอกเป็นปกติบ้าง จะปฏิเสธจีวรที่ชาวบ้านถวายใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุลเป็นประจําบ้าง ก็จริง (แต่เธอก็ยังละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรเหล่านี้ยังไม่ได้).
ส่วนคําว่า เศร้าหมอง ในคําว่า ลูขจีวรธโร (ครองจีวรเศร้าหมอง) นี้ พึงทราบว่า เศร้าหมอง เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ เศร้าหมองเพราะศัสตรา ๑ เศร้าหมองเพราะด้าย ๑ เศร้าหมองเพราะสีย้อม ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 387
ในจํานวน ๓ อย่างนี้ ผ้าตัดให้ขาดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยด้วยศัสตราชื่อว่า เศร้าหมองเพราะศัสตรา ผ้านั้นจะเสื่อมราคา.
ผ้าที่ทอด้วยด้ายหยาบและยาว ชื่อว่า เศร้าหมองเพราะด้าย ผ้านั้นไม่น่าสัมผัส สัมผัสกระด้าง (ห่มสาก).
ผ้าที่ย้อมด้วยสีย้อมผ้า (น้ำฝาด) ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะสีย้อม ผ้านั้นจะเสียสี มีสีไม่สวย.
ถึงภิกษุนั้นจะครองจีวร เศร้าหมองเพราะศัสตรา เศร้าหมองเพราะด้าย หรือเศร้าหมองเพราะสีย้อม ก็จริง. แต่ว่า อกุศลที่เป็นอิจฉาวจรเหล่านี้ เธอยังละไม่ได้ คนยังเห็นอยู่และได้ยินอยู่ โดยที่แท้แล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ที่เป็นปัญญาชน (วิญู) จะไม่สักการบูชาเธอเลย.
คําว่า ตํ ในคําว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้เป็นเพียงนิบาต.
คําว่า กิสฺส เหตุ คือ กิํการณา แปลว่า เพราะเหตุอะไร?มีคําอธิบายไว้ว่า เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นของเธอ ยังเห็นและได้ยินด้วยอยู่คือ เพราะอกุศลธรรมที่ลามกเหล่านั้นของเธอ ยังเห็นกันอยู่และได้ยินกันอยู่. เพราะอกุศลธรรมเหล่านี้ที่เป็นอิจฉาวจรเธอยังละไม่ได้ ที่ว่ามานี้เป็นคําอธิบายว่า เพราะเหตุอะไร นี้.
ต่อไปนี้ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะอธิบายเนื้อความนั้นให้ปรากฏ (ให้ชัด) ด้วย ข้ออุปมา จึงได้กล่าวคํามีอาทิว่า เสยฺยถาปิ (แม้ฉันใด).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณปํ (ซากศพ) ได้แก่ ซากของสัตว์ที่ตายแล้ว ซากของงู ชื่อว่าซากศพงู. (ซากศพของสุนัขและของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 388
มนุษย์) นอกจากนี้ก็เหมือนกัน. และซากศพทั้ง ๓ นี้นั้นแหละพึงทราบว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้แล้ว ในคําอุปมานี้ เพราะความเป็นของปฎิกูลและน่าเกลียดเหลือเกิน. ความจริงซากศพของสัตว์เหล่าอื่นมีสัตว์เลี้ยงและสุกรเป็นต้น คนทั้งหลายปรุงกับเครื่องเผ็ดร้อนเป็นต้น (เครื่องแกง) รับประทานก็มี. แต่ซากศพของสุนัขและมนุษย์เหล่านี้ ถึงจะยังใหม่ คนทั้งหลายก็ยังรังเกียจอยู่ จะกล่าวไปไยถึงซากศพที่ล่วงเลยเวลาไปแล้ว ที่เน่าแล้ว ไม่ต้องพูดถึง.
บทว่า รจยิตฺวา (วางไว้) คือเพิ่มเข้าไป หมายความว่า บรรจุให้เต็ม. มีคําอธิบายไว้ว่า เอาซากศพนั้นบรรจุไว้ในถาดทองสัมฤทธิ์.
บทว่า อฺิสฺสา แปลว่า (ด้วยถาดสัมฤทธิ์) ใบอื่น.
บทว่า ปฏิกุชฺชิตฺวา (ครอบ) คือ ปิด.
บทว่า อนฺตราปณํ (ระหว่างตลาด) คือปากซอยที่มีนหาชนหนาแน่นในท้องตลาด.
บทว่า ปฏิปชฺเชยฺยุํ (พึงดําเนินไป) คือพึงเดินไป.
บทว่า ชฺชฺํ วิย (เหมือนจะน่ารู้น่าสนใจ) ความว่าเหมือนจะเลอเลิศ คือ เหมือนจะน่าพออกพอใจ. อีกอย่างหนึ่ง มีคําอธิบายว่า เหมือนหญิงสาวนําเครื่องบรรณาการมา. ความจริงหญิงสาวเขาเรียกว่า แม่หญิง. บรรณาการที่หญิงสาวนั้นกําลังนํามาเป็นสิ่งที่น่ารู้ ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคําทั้งคู่ ด้วยอํานาจแห่งความเอื้อเฟื้อบ้าง ด้วยอํานาจแห่งการสรรเสริญบ้าง. ปาฐะว่า ชฺํ ชฺํ วิย ดังนี้ก็มี.
บทว่า อปาปุริตฺวา (ไม่ปิด) คือเปิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 389
ข้อว่า ตสฺส สห ทสฺสเนน อมนาปตา จ สณฺเหยฺย (ความที่เขาไม่พอใจพร้อมกับการได้เห็น พึงดํารงอยู่) ความว่า ความที่คนนั้นไม่พอใจพร้อมกับการได้เห็นซากศพนั้นนั่นเอง พึงดํารงอยู่. ก็คําว่า อมนาปตา ความเป็นของไม่น่าพอใจนี้ เป็นชื่อของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นแล้วว่า นี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ.
ในความปฏิกูลและน่าเกลียด ก็มีนัยนี้.
คําว่า ชิฆจฺฉิตานมฺปิ (แม้ผู้หิวแล้ว) คือแม้ผู้หิวโหยแล้ว.
ข้อว่า น โภตฺตุกมฺยตา อสฺส (ความต้องการจะบริโภค คงไม่มี) ความว่า ความประสงค์จะบริโภค คงไม่มี.
ในคําว่า ปเคว สุหิตานํ (จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้อิ่มแล้ว) มีคําอธิบายไว้ว่า แต่สําหรับคนที่หิว ก็คงไม่มีความอยากกินก่อนทีเดียว.ในเรื่องนั้นมีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังต่อไปนี้ (คือ) เพศบรรพชาของคนคนนี้ เช่นกับถาดทองสัมฤทธิ์ที่สะอาด การละอิจฉาวจรยังไม่ได้ เหมือนกับการวางซากศพไว้ การกลบเกลื่อนอิจฉาวจรไว้ ด้วยการอยู่ป่าเป็นประจําเป็นต้น เหมือนกับการเอาถาดทองสัมฤทธิ์ใบอื่นครอบไว้, การไม่ทําสักการะเป็นต้นของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพราะเห็นอิจฉาวจร (ของเธอ) โดยไม่เอื้อเฟื้อถึงธุดงค์มีอารัญญิกังคธุดงค์เป็นต้น เหมือนกับความไม่พอใจของคนเพราะเปิดถาดทองสัมฤทธิ์แล้วเห็นซากศพ.
ส่วนในธรรมฝ่ายขาว พึงทราบอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้. คําว่า กิฺจาปิ เป็นต้นเป็นทั้งคําส่งเสริมเป็นทั้งคํายกย่อง. ด้วยคําว่า กิฺจาปิ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 390
นั้น ท่านพระสารีบุตรส่งเสริมการอยู่ป่าเป็นประจํา ยกย่องการละอิจฉาวจร.
[๗๑] บทว่า เนมนฺตนิโก (ผู้รับนิมนต์) คือปฏิคาหกผู้รับนิมนต์.
บทว่า วิจิตกาฬกํ (ขาวสะอาด) คือปราศจากดําเจือปน.
ในคําว่า กับข้าวหลายอย่าง แกงมากอย่าง นี้ สิ่งที่นําไปได้ด้วยมือเรียกว่า "สูปะ" (กับข้าว) คําว่าแกง คือแกงอ่อม. ด้วยคําทั้ง ๒ นั้น ท่านได้กล่าวคําอธิบายไว้ว่า กับข้าวหลายอย่างมีกับข้าวคือปลา เนื้อ และถั่วเขียวเป็นต้น แกงหลายชนิด มีแกงเนื้อนานาชนิดเป็นต้น. คําที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทอญ. และควรทราบอรรถาธิบาย ในการเปรียบเทียบคําอุปไมยกับคําอุปมา (ต่อไป) การละอิจฉาวจรได้ เหมือนการจัดแจงข้าวสุกข้าวสาลีลงในถาดทองสัมฤทธิ์ การปิดคือการละอิจฉาวจรด้วยการอยู่วัดท้ายบ้านเป็นต้นที่เป็นสมุฏฐานแห่งความปรารถนาน้อย เหมือนการครอบด้วยถาดสัมฤทธิ์ใบอื่น ควรทราบการทําสักการะเป็นต้นของเพื่อนพรหมจารี เพราะไม่ยินดีการอยู่วัดภายในหมู่บ้านเป็นต้นแล้วละอิจฉาวจรได้ เหมือนความพอใจของคนเพราะได้เปิดถาดทองสัมฤทธิ์เห็นข้าวสาลีหุงชั้นดี.
[๗๒] ข้อว้า อุปมา มํ อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ (ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรอุปมาแจ่มแจ้งแก่ผม) ความว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรอุปมาปรากฏแก่กระผม มีอธิบายว่า กระผมประสงค์จะกล่าวอุปมาข้อหนึ่ง (ถวาย).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 391
บทว่า ปฏิภาตุ ตํ (จงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด) คือจงแจ่มแจ้งได้แก่ ปรากฏแก่ท่านเถิด อธิบายว่า นิมนต์กล่าวเถิด.
คําว่า อิท ในคําว่า เอกมิทาหํ เป็นเพียงนิบาต. มีคําอธิบายไว้ว่า สมัยหนึ่ง กระผม.
คําว่า เอกํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในความหมายของสัตตมีวิภัตติ.
บทว่า ราชคฤห์ ในคําว่า ราชคเห วิหรามิ คิริพฺพเช นี้ เป็นชื่อของนครนั้น. นครราชคฤห์ คนเรียกว่า คิริพชะ เพราะตั้งอยู่เหมือนดอก โดยมีภูเขาล้อมรอบ. ท่านพระโมคคัลลานะกล่าวไว้ว่า กระผมอยู่ที่นครนั้น คืออาศัยนครนั้นอยู่.
บทว่า อถขฺวาหํ ตัดบทเป็น อถโข อหํ (แปลว่า ครั้งนั้นแลกระผม). และคําว่า อถ ในคําว่า อถขฺวาหํ นี้ เป็นนิบาต ใช้ในคําเริ่มต้นที่พูดเรื่องอื่น. ศัพท์ว่า โข ก็เป็นนิบาต ใช้ในความหมายเพียงยังบทให้เต็ม.
บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ (ในเวลาเช้า) มีอธิบายว่า เวลา ส่วนต้นของวัน คือในช่วงเช้า.
อีกอย่างหนึ่ง ตอนต้นของวันชื่อว่า ปุพพัณหสมัย มีคําอธิบายว่า ชั่วขณะหนึ่งในตอนเช้า. โดยอาการอย่างนี้จะได้ทุติยาวิภัตติในอัจจันตสังโยค.
บทว่า นิวาเสตฺวา (นุ่งแล้ว) คือครองผ้าแล้ว คําว่า นุ่งแล้วนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งการผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งในวัดนั้นเอง. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบด้วยสามารถแห่งการยืนนุ่ง เพื่อต้องการจะเข้าบ้านมิใช่ว่าก่อนหน้านี้ท่านไม่ได้นุ่งเลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 392
บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย (ถือเอาบาตรและจีวร) หมายความว่ามือถือบาตร ร่างกายครองจีวร.
บทว่า ปิณฺฑาย (เพื่อบิณฑบาต) ความว่า เพื่อต้องการบิณฑบาต.
บทว่า สมิติ เป็นชื่อบุตรของช่างยานคนหนึ่ง.
บทว่า ยานการปุตฺโต (บุตรของช่างยาน) คือลูกของช่างรถ.
บทว่า ปณฺฑุปุตฺโต (ปัณฑุบุตร) ได้แก่ลูกของนักบวชโล้น.
บทว่า อาชีวโก ได้แก่ ชีเปลือย.
บทว่า ปุราณยานการปุตฺโต (บุตรของช่างยานเก่า) ได้แก่ลูกของตระกูลช่างยานเก่า.
บทว่า ปจฺจุปฏฺิโต (ปรากฏตัว) คือเข้าไปยืน (ให้เห็น).โก่งข้างหนึ่งชื่อว่า งอ. คด เช่นกับทางงูเลื้อย (คลองงู).
บทว่า โทสํ (โทษ) ได้แก่กระพี้และปมที่ขรุขระเป็นต้น.
บทว่า ยถา ยถา เป็นนิบาต ใช้ในความหมายถึงกาลเวลา มีคําอธิบายว่า เมื่อใดๆ คือในกาลใดๆ.
บทว่า ตถา ตถา นี้ ก็มีเนื้อความบ่งถึงกาลเหมือนกัน. มีคําอธิบายไว้ว่า ในกาลนั้นๆ. อาชีวกนั้นคิดโดยอนุโลม ตามที่ได้ศึกษามา แต่อีกคนหนึ่ง (นายสมิติ) ถากตรงที่อาชีวกคิดนั่นแหละ ในขณะที่เขาคิด.
บทว่า อตฺตมโน (ชอบใจ) คือถูกใจตน ได้แก่ ดีใจ หมายความว่ามีปีติและโสมนัสจับใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 393
บทว่า อตฺตมนวาจํ นิจฺฉาเรสิ (เปล่งวาจาแสดงความชอบใจ) คือเปล่ง ได้แก่กล่าว อธิบายว่า เผยวาจาด้วยความดีใจ หรือวาจาที่ควรแก่ความดีใจ.
ข้อว่า หทยา หทยํ มฺเ อฺาย (เหมือนรู้ใจ ด้วยใจ) ความว่า เหมือนกับรู้ใจ (เรา) ด้วยใจ (เขา).
บทว่า อสทฺธา (ไม่มีความเชื่อ) คือปราศจากความเชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์.
บทว่า ชีวิกตฺถา (เป็นผู้ต้องการเลี้ยงชีพ) คือ ถูกภัยมีหนี้เป็นต้นบีบคั้นไม่สามารถดํารงชีพภายนอกได้ จึงต้องการเลี้ยงชีพในศาสนานี้.
บทว่า น สทฺธา (ไม่มีศรัทธา) คือไม่ได้บวชด้วยศรัทธา.
บทว่า สา มายาวิโน (เป็นคนโอ้อวดมีมารยา) คือประกอบด้วยมารยาสาไถย (เจ้าเล่ห์โอ้อวด).
บทว่า เกฏภิโน (ผู้หลอกลวง) คือผู้ได้ศึกษากลโกงมาแล้ว มีคําอธิบายว่า ผู้สําเร็จการโอ้อวดตามกําลัง. อธิบายว่า การโอ้อวด เขาเรียกว่า เกราฏิยะ (กลโกง) เพราะทําพร้อมกันไปกับการแสดงคุณค่าของสิ่งไม่จริง โดยการแสดงคุณวิเศษที่ไม่มีจริง.
บทว่า อุนฺนฬา (ถือตัว) คือยกตนขึ้นไป มีคําอธิบายว่ายกมานะเปล่าขึ้น.
บทว่า จปลา (วุ่นวาย) คือประกอบด้วยความวุ่นวาย มีการตกแต่งบาตรและจีวรเป็นต้น.
บทว่า มุขรา (ปากกล้า) คือปากแข็ง มีอธิบายว่า มีคําพูดกร้าว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 394
บทว่า วิกิณฺณวาจา (มีวาจาเลอะเทอะ) คือมีถ้อยคําไม่สํารวมได้แก่ การพูดกันทั้งวันก็มีแต่คําไร้ประโยชน์.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารา (มีทวารไม่ได้ควบคุมในอินทรีย์ทั้งหลาย) คือ มีทวารสําหรับทํากรรม ไม่ได้ระมัดระวังแล้วในอินทรีย์ทั้ง ๖.
บทว่า โภชเน อมตฺตฺุโน (ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค) คือไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ที่พอให้ร่างกายอยู่ไปได้ คือความเป็นผู้มีความพอเหมาะ ในการแสวงหาการรับและการบริโภคที่ควรรู้.
บทว่า ชาคริยํ อนนุยุตฺตา (ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่) คือไม่ประกอบความเพียรที่ทําให้ตื่นตัว.
บทว่า สามฺเ อนเปกฺขวนฺโต (ไม่มุ่งสมณภาวะ) มีอรรถาธิบายว่า ไม่มุ่งสมณธรรม คือเว้นจากการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
บทว่า สิกฺขาย น ติพฺพคารวา (ไม่เคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา) คือไม่มีความเคารพมากในสิกขาบททั้งหลาย ได้แก่มากไปด้วยการต้องอาบัติ.
บทว่า พาหุลฺลิกา (หมกมุ่นอยู่กับปัจจัยมาก) เป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วใน (อรรถกถา) ธรรมทายาทสูตร.
บทว่า กุสีตา (ผู้เกียจคร้าน) เป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วใน (อรรถกถา) ภยเภรวสูตร.
บทว่า ธมฺมปริยาเยน (ด้วยธรรมปริยาย) คือด้วยธรรมเทศนา
บทว่า สทฺธา อคารสฺมา (มีศรัทธา ออกบวช จากเรือน) เป็นต้น มีเนื้อความว่า ตามปกติแล้ว ผู้บวชด้วยศรัทธา ชื่อว่าเป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 395
ศรัทธาออกจากเรือนบวช เป็นอนาคาริยบุคคล (ผู้ไม่มีเหย้าเรือน).
ข้อว่า ปิวนฺติ มฺเ ฆสนฺติ มฺเ (คงจะดื่ม คงจะกิน) หมายความว่า เหมือนกับจะดื่มเหมือนกับจะกลืนกิน คือ เมื่อเปล่งวาจาด้วยความพอใจ ก็เหมือนกับดื่มด่ําด้วยวาจา เมื่ออนุโมทนายิ่งขึ้น ก็เหมือนกับกินด้วยใจ.
บทว่า สาธุ วต (สาธุขอรับ) คือดีแล้วขอรับ.
บทว่า สพฺรหฺมจารี เป็นรัสสะก็ได้ เป็นทีฆะก็ได้ เมื่อเป็นรัสสะข้างหน้าจะมี สารีปุตฺต อยู่ เมื่อเป็นทีฆะ ข้างหน้าจะมี สพฺรหฺมจารี เมื่อใดข้างหน้ามี สารีปุตฺต เมื่อนั้นจะมีเนื้อความว่า ดูก่อนเพื่อนพรหมจารี ท่านพระสารีบุตรให้เราทั้งหลายออกจากอกุศลแล้ว. เมื่อใดมีสพฺรหฺมจารี อยู่ข้างหน้า เมื่อนั้นจะมีเนื้อความว่า ท่านพระสารีบุตรให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายออกจากอกุศลแล้ว (ดํารงอยู่ในธรรม).
บทว่า ทหโร คือ ยังรุ่น.
บทว่า ยุวา คือ อยู่ในวัยหนุ่มสาว.
บทว่า มณฺฑนกชาติโก (ชอบแต่งตัว) หมายความว่า มีสภาพชอบเครื่องแต่งตัว (ปกติชอบแต่งตัว).
บรรดาทั้ง ๒ ประเภทนั้น ลางคนถึงจะรุ่น แต่ก็ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาวเหมือนคนหนุ่มสาว. แต่ลางคนถึงจะเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็ไม่ชอบแต่งตัวเหมือนผู้ที่มีความสงบเป็นสภาพ หรือถูกความเกียจคร้านหรือความเสื่อมครอบงํา ส่วนในที่นี้ประสงค์เอาคนทั้งยังรุ่นทั้งเป็นหนุ่มเป็นสาวและชอบแต่งตัว. เพราะฉะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวไว้อย่างนี้. คําว่า ถือตัว เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ เพราะเป็นสมมติของโลก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 396
บทว่า อิติห เต เท่ากับ เอวํ เต (แปลว่าด้วยประการดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านทั้ง ๒ นั้น).
บทว่า อุโภ มหานาคา (ท่านมหานาคทั้งคู่) หมายถึงผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง ๒ องค์. เพราะว่าท่านอัครสาวกทั้ง ๒ องค์นี้ พุทธบริษัททั้งหลายเรียกว่า มหานาค.
ในคําว่า มหานาค นั้นมีอรรถพจน์ ดังต่อไปนี้
ผู้ไม่ลําเอียงด้วยอคติทั้งหลาย มีฉันทาคติเป็นต้นชื่อ นาคะ.
ผู้ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้ด้วยมรรคนั้นๆ แล้วชื่อว่า นาคะ
ผู้ไม่ทําบาป (ความชั่วที่เป็นเหตุให้กลับมา) มีประการต่างๆ ชื่อว่า นาคะ.
นี้เป็นเนื้อความสังเขปในคําว่า นาคะ. ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้ในมหานิเทศนั้นเทอญ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในกถานี้อย่างนี้ว่า
ผู้ไม่ทําบาปอะไรไว้เลยในโลก สลัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพทุกอย่างและเครื่องผูกทั้งหลายได้ ไม่ต้องอยู่ในภพทั้งมวล เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่ ท่านเรียกว่า นาคะ เพราะความเป็นอย่างนั้น.
นาคใหญ่ ชื่อมหานาคะ. อธิบายว่า มหานาคนั้น ควรบูชากว่าและควรสรรเสริญกว่านาคผู้ขีณาสพเหล่าอื่น.
บทว่า อฺมฺสฺส (ของกันและกัน) ความว่า องค์หนึ่งชมเชยอีกองค์หนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 397
บทว่า สมนุโมทิํสุ (อนุโมทนาพร้อม) ตัดบทเป็น สมํ อนุโมทิํสุ แปลว่า อนุโมทนาเท่าๆ กัน. ในคําอนุโมทนานั้น พระธรรมเสนาบดีกล่าวว่า พระมหาโมคคัลลานะ อนุโมทนาด้วยอุปมานี้ว่า ท่านครับข้อนั้นจงแจ่มแจ้ง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระเถระทั้ง ๒ อนุโมทนาคําสุภาษิตของกันและกัน.
จบ อรรถกถาอนังคณสูตร
จบ สูตรที่ ๕