พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. วิปัสสีสูตร ว่าด้วยพระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงปริวิตก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ก.ย. 2564
หมายเลข  36489
อ่าน  436

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 37

๔. วิปัสสีสูตร

ว่าด้วยพระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงปริวิตก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 37

๔. วิปัสสีสูตร

ว่าด้วยพระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงปริวิตก

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้ปริวิตกว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรเล่าความออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ จักปรากฏ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 38

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี. ชราและมรณะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแลพระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี. ชราและมรณะย่อมมีเพราะชาติเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี. ชาติย่อมมีเพราะภพเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี. ภพย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี. ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ อุปาทานจึงมี. อุปาทานย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี. อุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี. ตัณหาย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี. ตัณหาย่อมมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี. เวทนาย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี. เวทนาย่อมมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี. ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี. ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี. สฬายตนะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อนามรูปมีอยู่ สฬายตนะจึงมี. สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี. นามรูปย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี. นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย... เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี. วิญญาณย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย... เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี. วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 39

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี. สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี. สังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ... ดังพรรณนามานี้. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้.

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี. เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ. เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี. เพราะภพดับ ชาติจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ภพจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ. เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี. เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ. เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี. เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ. เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี. เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี. เพราะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 40

อะไรดับ เวทนาจึงดับ... เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ. เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี. เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ... เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี. เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ... เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี. เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ... เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ. เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี. เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี สังขารจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี. เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ. ก็เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ. เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้.

จบวิปัสสีสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 41

อรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ ๔

ในวิปัสสีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิปสฺสิสฺส ความว่า ได้ยินว่า ดวงตาทั้งหลายของโลกิยมนุษย์ผู้มองดูอะไรๆ ย่อมกลอกไปมา เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรมที่บังเกิดแต่กรรมเล็กน้อย มีกำลังอ่อนเช่นใด แต่ดวงตาของพระโพธิสัตว์นั้น หากลอกเช่นนั้นไม่ เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรม บังเกิดแต่กรรม มีกำลัง มีกำลังมาก พระองค์จึงมองดูด้วยดวงตาที่ไม่กลอกไม่ก็กะพริบนั่นแล เหมือนเทวดาในดาวดึงส์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระกุมารเพ่งดูโดยไม่กะพริบ เพราะฉะนั้น พระวิปัสสีกุมารนั้นจึงเกิดสมัญญาว่า วิปัสสี วิปัสสี นั่นแล.

จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า วิปัสสี เพราะเห็นความบริสุทธิ์ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิปัสสี เพราะเห็นด้วยทั้งดวงตาที่เบิก.

ก็ในที่นี้ดวงตาของพระโพธิสัตว์ทั้งหมด ผู้เกิดในภพสุดท้ายย่อมไม่กลอก เพราะประสาทที่เกิดแต่กรรมอันมีกำลัง มีกำลังแรง.

ก็พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมได้ชื่อด้วยเหตุนั้นนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิปัสสี เพราะพิจารณาเห็น อธิบายว่า เพราะเลือกเฟ้นจึงเห็น.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายนำพระมหาบุรุษผู้ประดับตกแต่งพระวรกายแล้วมาวางไว้บนพระเพลาของพระราชาผู้ประทับนั่งพิจารณาคดีอยู่ในศาล เมื่อพระราชาทรงพอพระทัยที่ได้มหาบุรุษนั้นอยู่บนพระเพลา อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเจ้าของทรัพย์ไม่ให้เป็นเจ้าของทรัพย์. พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งเสียงแสดงความไม่พอพระทัย. พระราชาตรัสว่าพวกท่านพิจารณาทบทวนดูทีหรือว่าเรื่องนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นอย่างไร. พวกอำมาตย์เมื่อพิจารณาทบทวน ก็ไม่เห็นกรณีเป็นอย่าง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 42

อื่นจึงคิดว่า ชะรอยว่าที่ทำไปแล้วอย่างนี้ จักเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ. จึงทำผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ให้เป็นเจ้าของทรัพย์อีก เมื่อทดลองว่ากุมารจะรู้หรือหนอจึงทำอย่างนี้. จึงทำเจ้าของทรัพย์ให้ไม่เป็นเจ้าของทรัพย์อีก. ครั้งนั้นพระราชาทรงพระดำริว่า พระมหาบุรุษคงจะรู้ ตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นผู้ไม่สะเพร่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุมารใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญเล่า จึงรู้คดีเพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พระกุมารนั้นจึงเกิดพระนามโดยประมาณยิ่งว่า วิปัสสี นั้นแล.

บทว่า ภควโต แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยภาคยะ.

บทว่า อรหโต ได้แก่ ผู้มีพระนามอันเกิดขึ้นโดยคุณอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อรหา เพราะกำจัดกิเลสเพียงดังข้าศึกมีราคะเป็นต้นเสียได้ เพราะทรงหักกำแห่งสังสารจักร หรือเพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ได้แก่ ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔ โดยความเพียรของบุรุษ โดยพระองค์เอง เฉพาะพระองค์ โดยชอบ โดยนัย โดยเหตุ.

บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา ความว่า ญาณในมรรค ๔ ท่านเรียกว่า สัมโพธะ ตรัสรู้พร้อม, ก่อนแต่การตรัสรู้นั้นแล.

บทว่า โพธิ ในคำว่า โพธิสตฺตสฺเสว สโต นี้ ได้แก่ ญาณ, สัตว์ผู้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพธิสัตว์ อธิบายว่า ผู้มีญาณ คือผู้มีปัญญา ชื่อว่าบัณฑิต.

จริงอยู่ สัตว์นั้น เป็นบัณฑิต จำเดิมแต่ทรงมีอภินิหาร แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่อันธพาล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโพธิสัตว์.

อนึ่ง ชื่อว่าโพธิสัตว์ แม้เพราะเป็นสัตว์ผู้จะเบิกบาน โดยอรรถวิเคราะห์ว่า บำเพ็ญพระบารมี แล้วจักเบิกบานโดยหาอันตรายมิได้อย่างแน่นอน เพราะได้คำพยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกปทุม ที่โผล่ขึ้นจากน้ำตั้งอยู่ แก่ได้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 43

ที่แล้วจักบานโดยสัมผัสแสงอาทิตย์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ดอกปทุมบาน.

อนึ่ง สัตว์ปรารถนาโพธิ กล่าวคือ ญาณในมรรค ๔ ปฏิบัติอยู่ เหตุนั้น ผู้ที่ยังติดอยู่ในโพธิจึงชื่อว่า โพธิสัตว์ ดังนี้ก็มี. เมื่อพระโพธิสัตว์มีอยู่โดยพระนามที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้.

บทว่า กิจฺฉํ แปลว่า ลำบาก.

บทว่า อาปนฺโน แปลว่า ถึงแล้วเนืองๆ. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า น่าอนาถ สัตว์โลกนี้ ถึงความลำบากเนืองๆ.

บทว่า จวติ จ อุปปชฺชติ จ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิไปๆ มาๆ.

บทว่า นิสฺสรณํ ได้แก่ พระนิพพาน.

จริงอยู่ พระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่านิสสรณะ เพราะสลัดออกจากทุกข์ คือ ชราและมรณะ.

บทว่า กุทาสฺสุ นาม ได้แก่ ในกาลไหนๆ แล.

บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่ โดยการใส่ใจโดยอุบาย คือ (๑) การใส่ใจครั้งแรก.

บทว่า อหุ ปญฺาย อภิสมโย ความว่า ได้แก่ การตรัสรู้ คือ ความประกอบชอบซึ่งเหตุแห่งชราและมรณะด้วยปัญญา อธิบายว่า พระองค์เห็นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยนิโสมนสิการา อหุ ปญฺาย ได้แก่ ได้ตรัสรู้ ด้วยโยนิโสมนสิการ และด้วยปัญญา.

อธิบายว่า ได้แทงตลอดเหตุแห่งชราและมรณะอย่างนี้ว่า เมื่อความเกิดมีอยู่แล ชราและมรณะก็มี.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

บทว่า อิติ หิทํ เท่ากับ เอวมิทํ สิ่งนี้มีด้วยประการฉะนี้.

ด้วยบทว่า สมุทโย นี้ ท่านประมวลการเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นต้นแสดงในฐานะ ๑๑.

บทว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ความว่า ในธรรมที่ไม่เคย


(๑) พม่า. ปถมนสิกาเรน คือ การมนสิการตามคลองธรรม.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 44

สดับมาก่อนแต่นี้ อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ความเกิดขึ้นของสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้ หรือในอริยสัจธรรม ๔.

บทว่า จกฺขุํ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของญาณนั่นเอง.

จริงอยู่ ในที่นี้ ญาณนั่นแลท่านกล่าวว่า จักขุ เพราะอรรถว่าเห็น, กล่าวว่าญาณ เพราะอรรถว่า รู้, กล่าวว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, กล่าวว่า วิชชา เพราะอรรถว่า แทงตลอด, กล่าวว่า อาโลกะ เพราะอรรถว่า สว่าง.

ก็ญาณนี้นั้น พึงทราบว่า ท่านชี้แจงว่าเจือทั้งโลกิยะและโลกุตระในสัจจะ ๔.

แม้ในนิโรธวาระ พึงทราบความโดยนัยนี้แล.

จบอรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ ๔