พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36497
อ่าน  434

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 70

๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 70

๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์

[๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้จักธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน คือ ไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ... ไม่รู้จักภพ... ไม่รู้จักอุปาทาน... ไม่รู้จักตัณหา... ไม่รู้จักเวทนา... ไม่รู้จักผัสสะ... ไม่รู้จักสฬายตนะ... ไม่รู้จักนามรูป... ไม่รู้จักวิญญาณ...

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 71

ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับแห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่าไม่รู้จักธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์หาได้ไม่ และท่านเหล่านั้น มิได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักธรรมเหล่าไหน รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน. คือ รู้จักชราและมรณะ รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ รู้จักความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักชาติ... รู้จักภพ... รู้จักอุปาทาน... รู้จักตัณหา... รู้จักเวทนา... รู้จักผัสสะ... รู้จักสฬายตนะ... รู้จักนามรูป... รู้จักวิญญาณ... รู้จักสังขาร รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร รู้จักความดับแห่งสังขาร รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่ารู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักปฏิปทาให้จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล สมมติได้ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และสมมติได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 72

และท่านเหล่านั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔

ในทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระองค์ตรัสว่า อิเม ธมฺเม นปฺปชานนฺติ เป็นต้น ตามอัธยาศัยของบุคคลผู้ที่สามารถจะแทงตลอดเทศนาที่ตรัสให้เนิ่นช้ามีประมาณเท่านี้ ด้วยคำว่า อิเม กตเม ธมฺเม ดังนี้.

คำที่เหลือก็เหมือนก่อนนั่นเอง.

จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔