พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ธรรมกถิกสูตร ว่าด้วยคุณธรรมของพระธรรมกถึก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36499
อ่าน  694

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 76

๖. ธรรมกถิกสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของพระธรรมกถึก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 76

๖. ธรรมกถิกสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของพระธรรมกถึก

[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถึก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าธรรมกถึก.

[๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 77

เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.

ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชาติ... ภพ... อุปาทาน... ตัณหา... เวทนา... ผัสสะ... สฬายตนะ... นามรูป... วิญญาณ... สังขาร ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.

จบธรรมกถิกสูตรที่ ๖

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๖

ในธรรมกถิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย.

บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด.

บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.

ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ.

บทว่า อนุธมฺมภูตํ ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร.

บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่ เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป.

บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไรๆ ด้วยอุปาทาน ๔.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 78

ทิฏฺธมฺมนิพฺพานปฺปตฺโต คือ บรรลุพระนิพพานในปัจจุบันชาติ.

บทว่า อลํ วจนาย ความว่า ย่อมเหมาะที่จะพูดอย่างนั้น คือควร ได้แก่สมควร.

ในข้อนี้ เพราะธรรมกถึก กล่าวปุจฉาไว้ด้วยนัยอันหนึ่ง ชี้แจงเสขภูมิและอเสขภูมิ ให้ปุจฉาแปลกออกไป ด้วยนัยทั้งสอง ดังพรรณนามาฉะนี้.

จบอรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๖