พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อเจลกัสสปสูตร ว่าด้วยความทุกข์เกิดแต่ปัจจัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36500
อ่าน  482

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 78

๗. อเจลกัสสปสูตร

ว่าด้วยความทุกข์เกิดแต่ปัจจัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 78

๗. อเจลกัสสปสูตร

ว่าด้วยความทุกข์เกิดแต่ปัจจัย

[๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ อเจลกัสสปได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ สถานที่นั้น ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๘] ครั้นแล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะขอถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมจะทรงกระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังไปสู่ละแวกบ้าน แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ อเจลกัสสปก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 79

ภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าขอถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมจะทรงกระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน.

[๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะถามท่านพระโคดมมากนัก.

ภ. ดูก่อนกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม.

ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป.

ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หรือ.

ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 80

กัสสป.

ก. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดมย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หรือ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกความทุกข์แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วย.

[๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เมื่อบุคคลถืออยู่ว่า นั่นผู้กระทำ นั่นผู้เสวย [ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำเอง ดังนี้ อันนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ ไป เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [รู้] อยู่ว่า ผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวยเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ดังนี้ อันนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิ ไป ดูก่อนกัสสป ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ...

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 81

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๕๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว หวังอยู่ จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคล.

อเจลกัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วหวังอยู่ จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส ๔ ปี เมื่อล่วง ๔ ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

[๕๒] อเจลกัสสปได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นท่านกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 82

ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบอเจลกัสสปสูตรที่ ๗

อรรถกถาอเจลกัสสปสูตรที่ ๗

ในอเจลกัสสปสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อเจโล กสฺสโป ได้แก่ นักบวชอเจละ คือ ไม่มีผ้าโดยเพศ ชื่อกัสสปะโดยชื่อ.

บทว่า ทูรโตว ความว่า ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อมเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว.

บทว่า กิญฺจิเทว เทสํ ได้แก่ เหตุการณ์บางอย่าง.

บทว่า โอกาสํ ได้แก่ ขณะ คือ กาลแห่งการพยากรณ์ปัญหา.

บทว่า อนฺตรฆรํ ได้แก่ ภายในบ้าน ชื่อว่า ละแวกบ้าน.

ในคำว่า น ปลฺลตฺถิกาย อนฺตรฆเร นิสีทิสฺสามิ (จักไม่นั่งคู้เข่าในละแวกบ้าน).

ชื่อว่า ภายในบ้านตั้งแต่เสาเขตเป็นต้นไป ในคำว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ อนฺตรฆเร คมิสฺสามิ (เราจักทอดจักษุไปในละแวกบ้าน).

ภายในบ้านนี้แล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

บทว่า ยทากงฺขสิ ได้แก่ มุ่งหวังสิ่งใด.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะตรัสจึงทรงห้ามเสียถึงครั้งที่ ๓.

ตอบว่า เพื่อให้เกิดความเคารพ.

เพราะผู้ถือ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 83

ทิฏฐิ เมื่อเขากล่าวเร็วก็ไม่ทำคารวะ ไม่เชื่อแม้ถ้อยคำ ด้วยเข้าใจว่าการเข้าเฝ้าพระสมณโคดมก็ดี การทูลถามก็ดี ง่ายเพียงแต่ถามเท่านั้น ก็ตรัสตอบทันที. แต่เมื่อห้ามถึง ๒ - ๓ ครั้ง เขาก็ทำความเคารพ ก็เชื่อด้วยเข้าใจว่า การเฝ้าพระสมณโคดมก็ดี การทูลถามปัญหาก็ดี ยาก เมื่อทูลขอถึงครั้งที่ ๓ เขาก็จะตั้งใจฟัง เชื่อคำที่ตรัส.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้เขาทูลขอถึงครั้งที่ ๓ จึงตรัส ด้วยประสงค์ว่า ผู้นี้จักตั้งใจฟัง เชื่อถือ เหมือนอย่างว่า หมอบาดแผลหุงน้ำมันหรือเคี่ยวน้ำอ้อย เมื่อจะหุงน้ำมันหรือเคี่ยวน้ำอ้อย ก็รอเวลาให้น้ำมันอ่อนตัวและน้ำอ้อยแข็งตัวได้ที่ ไม่ปล่อยให้ไหม้ แล้วยกลงเสียฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ทรงรอให้ญาณของสัตว์แก่กล้าเสียก่อน แม้จะทราบว่าญาณของผู้นี้จักแก่กล้าด้วยเวลาเพียงเท่านี้ ก็ทรงให้ขอจนถึงครั้งที่ ๓.

บทว่า มา เหวํ กสฺสป ได้แก่ กัสสปเธออย่าพูดอย่างนั้น.

ทรงแสดงว่า การพูดว่าสิ่งที่ตนเองทำแล้ว จัดเป็นทุกข์ ดังนี้ ไม่ควร ใครๆ ที่ชื่อว่าตน ก่อทุกข์ ไม่มี.

แม้ข้างหน้าก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.

บทว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺนํ ได้แก่ เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ตามที่ต้องการ.

บทว่า อิติ ปุฏฺโ สมาโน ได้แก่ เพราะเหตุไร จึงพูดอย่างนั้น.

นัยว่า อเจลกัสสปนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงถูกถามโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งอันตนเองทำ เป็นทุกข์หรือ ก็ตรัสว่า อย่าพูดอย่างนั้น ทรงถูกถามว่า ไม่มีหรือ ก็ตรัสว่ามี ทรงถูกถามว่า ท่านพระโคดมไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็นทุกข์หรือ ก็ตรัสว่า เรารู้, คำอะไรหนอแลที่เราถามผิดพลาดไปดังนี้ เมื่อจะชำระคำถามของตนตั้งแต่ต้น จึงกล่าวอย่างนี้.

ในบทว่า อาจิกฺขตุ จ เม ภนฺเต ภควา นี้ พึงทราบเนื้อความดัง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 84

ต่อไปนี้ :-

ผู้ที่มีความเคารพในพระศาสดาจะไม่พูดว่า ภวํ แต่จะพูดว่า ภควา.

คำว่า โส กโรติ เป็นอาทิ พระองค์ตรัสเพื่อจะทรงปฏิเสธลัทธิที่ว่า สิ่งอันตนเองทำเป็นทุกข์.

ก็บทว่า สโต ในคำว่า อาทิโต สโต นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ.

เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้ว่า กสฺสป ในคำว่า โส กโรติ โส ปฏิสํเวทยติ เป็นอาทิ ไขความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จะมีความเห็นในภายหลังว่า สิ่งอันตนเองทำเป็นทุกข์.

ก็ทุกข์ในคำว่า สยํกตํ ทุกฺขํ นี้ ท่านประสงค์เอาวัฏทุกข์.

บทว่า อิติ วทํ นี้ ย่อมสัมพันธ์กันด้วย อาทิ ศัพท์แรกและสัสสตศัพท์ ลำดับต่อมา.

ก็ศัพท์ว่า ทีเปติ คณฺหาติ นี้ เป็นพระบาลีที่เหลือในที่นี้.

จริงอยู่ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า เมื่อกล่าวดังนี้ คืออย่างนี้ ย่อมแสดงถึงสัสสตะ คือ ถือสัสสตะแต่ต้นทีเดียว. เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้นเป็นความเห็นของท่าน.

บทว่า เอตํ ปเร ได้แก่ ถือการกะ (ผู้ทำ) และเวทกะ (ผู้เสวย) ว่าเป็นอย่างเดียวกัน อธิบายว่า เข้าถึงการกะและเวทกะนี้นั้นว่า เป็นสภาพเที่ยง.

ก็พระองค์ตรัสคำว่า อญฺโ กโรติ เป็นอาทิไว้ก็เพื่อปฏิเสธลัทธิที่ว่า ทุกข์อันบุคคลอื่นทำ.

ส่วนคำว่า อาทิโต สโต นี้ พึงประมวลมาไว้แม้ในที่นี้.

พึงทราบเนื้อความในข้อนี้ ดังต่อไปนี้ :-

กัสฺสป ในคำว่า อญฺโ กโรติ อญฺโ ปฏิสํเวทยติ เป็นอาทิ ไขความได้ว่า เมื่อถูกเวทนาที่สัมปยุตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในภายหลังอย่างนี้ว่า การกะขาดสูญในที่นี้แล คนอื่นย่อมเสวยสิ่งที่การกะนั้นทำแล้ว ดังนี้.

ครอบงำคือเสียดแทง ก็จะมีลัทธิอย่างนี้ว่า สิ่งที่คนอื่นทำเป็นทุกข์.

คำว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 85

อิติ วทํ เป็นอาทิ พึงประกอบเข้าตามนัยที่กล่าวมา.

ในข้อนี้ มีโยชนา (การประกอบความ) ดังต่อไปนี้ :-

ก็เมื่อกล่าวอย่างนี้ ย่อมแสดงถึงความขาดสูญ คือ ถือเอาความขาดสูญแต่แรก.

เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้นเป็นความเห็นของท่าน.

บทว่า เอตํ ปเร ความว่า เข้าถึงความขาดสูญนั้น.

บทว่า เอเต เต ได้แก่ กัสสป เราตถาคตไม่อาศัยที่สุดโต่ง ๒ อย่างเหล่าใด คือ สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ แสดงธรรม เราตถาคตไม่อาศัย คือละ ได้แก่ ไม่ติดที่สุดโต่ง ๒ อย่างนั้น แสดงธรรมโดยสายกลาง อธิบายว่า ตั้งอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา แสดงธรรม.

หากจะมีคำถามว่า ธรรมข้อไหน.

ก็ตอบว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร.

ก็ในข้อนี้แสดงผลว่า มาจากเหตุ และแสดงความดับของผลนั้นไว้ เพราะเหตุดับ หาแสดงผู้กระทำหรือผู้เสวยไรๆ ไว้ไม่.

ด้วยคำเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันปฏิเสธปัญหาที่เหลือ.

ก็ท่านห้ามปัญหาข้อที่ ๓ ด้วยคำว่า อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม นี้.

ด้วยคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี้ พึงทราบว่า ทรงปฏิเสธการเกิดขึ้นลอยๆ และความไม่รู้.

ท่านปรารถนาภิกขุภาวะในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงกล่าวคำว่า ลเภยฺยํ นี้.

ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาติตถิยปริวาสที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในขันธกะ คือ ปริวาสที่ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ตั้งอยู่ในสามเณรภูมิแล้วอยู่สมาทาน โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้มีชื่อนี้ เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังได้อุปสมบทในพระศาสนานี้ ข้าพระองค์นั้นจะขอปริวาสกับพระสงฆ์ตลอด ๔ เดือน ดังนี้ จึงตรัสว่า โย โข กสฺสป อญฺญติตฺถิยปุพฺโพ.

คำว่า ปพฺพชฺชํ ในบทว่า ปพฺพชฺชํ ลเภยฺยํ นั้น พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจความเป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 86

คำที่สละสลวย. เพราะไม่ต้องอยู่ปริวาสก็ได้บรรพชา. ส่วนผู้ที่ต้องการจะอุปสมบท พึงบำเพ็ญวัตรปฏิปทา ๘ ประการมีการเข้าบ้าน เป็นต้น ให้บริบูรณ์ อยู่ปริวาสโดยไม่ให้ล่วงเวลา.

บทว่า อารทฺธจิตฺตา ได้แก่ ผู้มีใจยินดี เพราะบำเพ็ญวัตร ๘ ประการ.

ในข้อนี้ มีเนื้อความสังเขปเท่านี้.

ส่วนติตถิยปริวาสนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งปัพพัชชาขันธกะ อรรถกถาวินัย ชื่อ สมันตปาสาทิกา.

พระบาลีในที่นี้ว่า อปิจ มยา ส่วนในที่อื่น ปรากฏว่า อปิจ เมตฺถ.

บทว่า ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา ได้แก่ รู้ความต่างบุคคล.

ท่านแสดงว่า คำนี้ว่า บุคคลนี้ ควรแก่ปริวาส บุคคลนี้ไม่ควรแก่ปริวาส ดังนี้ ปรากฏแก่เรา. แต่นั้น ท่านพระกัสสปคิดว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธศาสนาที่บุคคลเลือกสรร ถือเอาสิ่งที่ควรเท่านั้น ทิ้งสิ่งที่ไม่ควร. แต่นั้นท่านก็เกิดความอุตสาหะขึ้นในการบรรพชาอย่างมากจึงกราบทูลว่า สเจ ภนฺเต.

ลำดับต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า เธอมีความพอใจอย่างแรงกล้า จึงทรงดำริว่า กัสสป ควรแก่ปริวาส ดังนี้ จึงตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ไปเถิด ภิกษุให้กัสสปอาบน้ำ ให้บรรพชา แล้วนำมา. ภิกษุนั้นทำตามพระดำรัสแล้ว ให้กัสสปบวชแล้วไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางหมู่พระสงฆ์แล้วให้กัสสปอุปสมบท. ด้วยเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า อลตฺถ โข อเจโล กสฺสโป ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺชํ อลตฺถ อุปสมฺปทํ (อเจลกัสสป ได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว).

คำที่เหลือมีอาทิว่า อจิรุปสมฺปนฺโน ท่านกล่าวไว้แล้วในพราหมณสังยุตแล้วแล.

จบอรรถกถาอเจลกัสสปสูตรที่ ๗