พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อัญญติตถิยสูตร ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36507
อ่าน  508

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 130

๔. อัญญติตถิยสูตร

ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 130

๔. อัญญติตถิยสูตร

ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ ๔

[๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 131

ในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๒] ท่านพระสารีบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ได้กล่าวกะท่านดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ.

ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระสมณโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้อย่างไร พวกข้าพเจ้าพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระสมณโคดมกล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะพึงติเตียนได้.

[๗๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 132

ที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดังนี้.

[๗๔] ท่านพระอานนท์ได้ยินท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในกาลภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลถ้อยคำสนทนาของท่านพระสารี-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 133

บุตรกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ซึ่งได้มีมาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่าทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 134

เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๖] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์นี้แหละ ครั้งนั้นแล อานนท์ ในเวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้คิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล อานนท์ เราได้เข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้งนั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ พอเรานั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ในวาทะทั้ง ๔ นี้ ท่านพระโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้อย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่ท่านพระโคดมกล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดมด้วยคำไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

ดูก่อนอานนท์ เมื่อพวกปริพาชก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 135

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เรากล่าวว่าทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช้ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 136

เคยมี พระเจ้าข้า ในการที่เนื้อความทั้งหมดจักเป็นอรรถอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยบทๆ เดียว เนื้อความนี้ เมื่อกล่าวโดยพิสดารจะเป็นอรรถอันลึกซึ้งด้วย เป็นอรรถมีกระแสความอันลึกซึ้งด้วย พึงมีไหมหนอ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้นเนื้อความในเรื่องนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเองเถิด.

[๗๘] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นจะพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ชราและมรณะ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นที่ตั้งขึ้น มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ชาติเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นที่ตั้งขึ้น มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ภพเล่ามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปทานเป็นที่ตั้งขึ้น มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนั้นว่า ท่านอานนท์ ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 137

พยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์ว่า ท่านอานนท์ ก็ผัสสะเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ก็เพราะผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 138

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดังนี้แล.

จบอัญญติตถิยสูตรที่ ๔

อรรถกถาอัญญติตถิยสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในอัญญติตถิยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาวิสิ แปลว่า เข้าไปแล้ว.

ก็ท่านพระสารีบุตรนั้นเข้าไปแล้วก่อน. แต่ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะท่านพระสารีบุตรออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า จักเข้าไป.

ถามว่า เหมือนอะไร. เหมือนบุรุษผู้ออกไปแล้ว ด้วยคิดว่าจักไปบ้าน แม้ยังไม่ถึงบ้าน เมื่อเขาถามว่า ผู้มีชื่อนี้ไปไหน ก็ตอบว่า ไปบ้าน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น.

บทว่า อติปฺปโค ความว่า ได้ยินว่า ในครั้งนั้น วันที่ออกไปยังเช้านักสำหรับพระเถระ. เหล่าภิกษุที่ออกไปเวลาเช้าตรู่ ย่อมจะชักช้าอยู่จนถึงเวลาภิกขาจาร ในสถานที่เหล่านี้คือ ที่ลานต้นโพธิ์ ที่ลานพระเจดีย์ ที่ครองผ้าเป็นประจำ.

แต่พระเถระคิดว่า เราจักทำการพูดจาคำสองคำกับพวกปริพาชก จนกว่าจะถึงเวลาภิกขาจาร จึงได้ดำริว่า ยนฺนูนาหํ ถ้ากระไร เรา เป็นต้น.

บทว่า ปริพฺพาชกานํ อาราโม ความว่า เขาว่า อารามนั้น อยู่ระหว่างประตูด้านใต้ กับพระเวฬุวัน.

บทว่า อิธ ได้แก่ ในฐานะ ๔ เหล่านี้.

บทว่า กิํวาที กิมกฺขายี ได้แก่ [พระสมณโคดม] ห้ามอะไร บอกอะไร.

พระเถระถามว่า พวกปริพาชกจักให้อะไรในข้อนี้แก่พระสมณโคดม.

บทว่า ธมฺมสฺส จานุธมฺมํ พฺยากเรยฺยาม ความว่า ท่านพระโคดมตรัสเหตุอันใด พวกเราพึงกล่าวเหตุตามสมควรแก่เหตุอันนั้น.

บทว่า สหธมฺมิโก

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 139

วาทานุปาโต ความว่า สหธรรมิกผู้ร่วมประพฤติธรรมไรๆ แม้มีจำนวนน้อย เป็นผู้เป็นไปกับเหตุ ด้วยเหตุแห่งคำอันชนเหล่าอื่นกล่าวแล้ว ชื่อว่าตกไปตามวาทะ เข้าถึงวาทะของพระสมณโคดม ไม่พึงมาถึงเหตุที่เหล่าผู้รู้ควรติเตียนอย่างไร.

ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า เหตุที่น่าติเตียนในวาทะของพระสมณโคดม ด้วยอาการที่เป็นจริง จะไม่พึงมีได้อย่างไร.

บทว่า อิติ วทํ ความว่า บุคคลเมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในวาทะ ๔ เหล่านั้น.

คำว่า เต วต อญฺตฺร ผสฺสา นี้ เป็นคำสาธกปฏิญญาว่า แม้ข้อนั้นมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

อธิบายในข้อนั้น มีดังนี้ว่า ก็เพราะเหตุที่เว้นผัสสะเสีย การเสวยทุกข์ก็ไม่มี ฉะนั้น ข้อนั้น ก็พึงทราบเหมือนคำว่า แม้ข้อนั้นมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

สาธุการนี้ว่า สาธุ สาธุ อานนฺท พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ประทานแก่พระสารีบุตรเถระ แต่ [นั่น] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรึกษากับพระอานนทเถระ.

คำว่า อิท ในคำว่า เอกมิทาหํ นี้ เป็นเพียงนิบาต.

ความว่า สมัยหนึ่ง. คำนี้ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า มิใช่พระสารีบุตรเท่านั้นเข้าไปกรุงราชคฤห์อย่างเดียว ถึงเราก็เข้าไป. มิใช่วิตกนี้เกิดแก่พระสารีบุตรอย่างเดียวเท่านั้น ก็เกิดขึ้นแม้แก่เรา. การกล่าวกับพวกเดียรถีย์นี้ มิใช่เกิดแก่สารีบุตรนั้นอย่างเดียวเท่านั้น การกล่าวนั้น ก็เคยเกิดแม้แก่เรา.

คำ ๒ คำนี้ว่า อจฺฉริยํ อพฺภูตํ เป็นคำแสดงความพิศวง [อัศจรรย์] อย่างเดียว.

ก็ความของคำในคำทั้ง ๒ นั้นว่า ที่ชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะควรแก่การดีดนิ้ว [ปรบมือ]. ชื่อว่า อัพภูตะ เพราะไม่เคยมี ก็มีขึ้น.

บทว่า เอเกน ปเทน ได้แก่ ด้วยบทบทเดียวนี้ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย. ตรัสความคัดค้านบท

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 140

ทั้งหลาย ทุกแห่ง ด้วยบทเหล่านั้น.

บทว่า เอเสวตฺโถ ความว่า นั้นนั่นแล เป็นความแห่งปฏิจจสมุปบาทที่ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

บทว่า ตญฺเเวตฺถ ปฏิภาตุ แปลว่า ในข้อนั้นญาณจงปรากฏในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทำความข้อนั้นให้ลึกซึ้งและมีโอภาสลึกซึ้งด้วยปฏิจจสมุปบาทกถามีชรามรณะ เป็นต้น จึงกล่าวว่า สเจ มํ ภนฺเต เป็นต้น.

ถ้อยคำมีบทใดเป็นมูลเกิดขึ้น ก็ยึดถือบทนั้นแล้วแสดงวิวัฏฏะ จึงกล่าวว่า ฉนฺนํ เตฺวว เป็นต้น.

คำที่เหลือ ความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัญญติตถิยสูตรที่ ๔