พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปัจจยสูตร ว่าด้วยเหตุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36510
อ่าน  850

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 148

๗. ปัจจยสูตร

ว่าด้วยเหตุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 148

๗. ปัจจยสูตร

ว่าด้วยเหตุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ

[๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ (๑) ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา. ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอด


(๑) เหมือนข้อ ๔ - ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 149

ทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชรามรณะ.

เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม เป็นที่ดับชรามรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการเหล่านี้คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับสังขาร.

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 150

ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบปัจจยสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาท (๑) สูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

เมื่อตรัสปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาบทสุดท้าย ตรัสว่า กตมญฺจ ภิกฺขเว ชรามรณํ เป็นต้น.

บทว่า เอวํ ปจฺจยํ ปชานาติ ความว่า อริยสาวกรู้ชัดถึงปัจจัย ด้วยอำนาจทุกขสัจอย่างนี้.

แม้ปัจจยสมุทัยเป็นต้น ก็พึงทราบด้วยอำนาจ สมุทยสัจ เป็นต้นเหมือนกัน.

บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยปัญญาในมรรค.

บทว่า ทสฺสนสมฺปนฺโน เป็นไวพจน์ของบทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน นั้นนั่นเอง.

บทว่า อิมํ สทฺธมฺมํ ได้แก่ มาถึงสัทธรรมคือมรรค.

บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ เห็นสัทธรรมคือมรรคนั่นแหละ.

บทว่า เสกฺเขน าเณน ได้แก่ ด้วยญาณในมรรค.

บทว่า เสกฺขาย วิชฺชาย ได้แก่ ด้วยความรู้แจ้งในมรรค.

บทว่า ธมฺมโสตํ สมาปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงกระแสธรรม กล่าวคือมรรคนั่นเอง.

บทว่า อริโย ได้แก่ ล่วงภูมิของปุถุชน.

บทว่า นิพฺเพธิกปญฺโ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาเจาะแทง.

พระนิพพาน ชื่อว่า


(๑) พระสูตรเป็นปัจจยสูตร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 151

อมตะ ในคำว่า อมตทฺวารํ อาหจฺจ ติฏฺติ. ตั้งอยู่จดอริยมรรคประตูของพระนิพพานนั้นตั้งอยู่แล.

จบอรรถกถาปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๗