พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ภิกขุสูตร ว่าด้วยชราและมรณะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36511
อ่าน  442

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 151

๘. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยชราและมรณะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 151

๘. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยชราและมรณะ

[๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร.

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา. ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 152

ทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะดังพรรณนามานี้ เรียกว่าชรามรณะ.

เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชรามรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ฯลฯ ความตั้งมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับสังขาร.

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติอย่างนี้ฯ ลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทานอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหาอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 153

รู้ทั่วถึงเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูปอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบภิกขุสูตรที่ ๘

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘

ภิกขุสูตรที่ ๘ ก็ง่ายเหมือนกัน.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘