พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ภูตมิทสูตร ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36514
อ่าน  418

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 158

กฬารขัตติยวรรคที่ ๔

๑. ภูตมิทสูตร

ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 158

กฬารขัตติยวรรคที่ ๔

๑. ภูตมิทสูตร

ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ

[๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า ดูก่อนสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหาไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร.

[๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่สอง ฯลฯ แม้ในครั้งที่สองท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สามพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร อชิตมาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 159

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร ก็ยังนิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม.

[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอเห็นไหมว่า นี้คือขันธปัญจก ที่เกิดแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้นดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าข้า บุคคลย่อมเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 160

[๑๐๑] พระพุทธเจ้าข้า บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมเป็นไฉน. บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้นดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความของคำที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๑๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกละๆ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 161

ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหาร ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อนสารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล.

[๑๐๓] ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็นไฉน. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อนสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิต-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 162

ปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างนี้แล.

จบภูตมิทสูตรที่ ๑

กฬารขัตติยวรรคที่ ๔

อรรถกถาภูตมิทสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในภูตมิทสูตรที่ ๑ แห่งกฬารขัตติยวรรคต่อไป.

บทว่า "อชิตปญฺเห ในอชิตปัญหา" ได้แก่ ในปัญหาที่อชิตมาณพทูลถามแล้ว.

บทว่า "สงฺขาตธมฺมาเส ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว" ได้แก่ ผู้มีธรรมอันรู้แล้ว คือมีธรรมอันตรัสรู้แล้ว มีธรรมอันชั่งแล้ว มีธรรมอันไตร่ตรองเสร็จแล้ว.

บทว่า "เสกฺขา เสกขบุคคล" ได้แก่ พระเสขะทั้ง ๗.

บทว่า "ปุถู จำนวนมาก" คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาชน (พระเสขะ) ๗ พวกนั่นแหละ จึงตรัสว่า "ปุถู."

บทว่า "อิธ" คือ ในพระศาสนานี้.

ในบทว่า นิปโก ปัญญา ท่านเรียกว่า เนปักกะ ผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น ชื่อว่านิปกะ อชิตมาณพทูลวิงวอนว่า "ก็พระองค์ผู้ฉลาด ขอได้โปรดตรัสบอก."

บทว่า "อิริยํ ซึ่งความ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 163

ประพฤติ" ได้แก่ ความประพฤติ คือการปฏิบัติที่มีอาจาระความประพฤติดีเป็นแนวทางอยู่.

อชิตมาณพกราบทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ท่านผู้นิรทุกข์" ในอชิตปัญหานี้ มีความสังเขปดังนี้.

"ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ฉลาด ท่านผู้มุ่งการปฏิบัติของพระเสขบุคคล และพระขีณาสพผู้ตรัสรู้ธรรมแล้ว อันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด."

คำว่า ตุณฺหี อโหสิ ได้นิ่งอยู่ ได้แก่ พระสารีบุตรเถระถูกพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามถึง ๓ ครั้ง เพราะเหตุใด จึงได้นิ่งอยู่.

ถามว่า "คงจะสงสัยในปัญหาหรือไม่ก็สงสัยในพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า."

แก้ว่า "มิได้สงสัยในปัญหา."

เล่ากันว่า พระสารีบุตรเถระ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "พระศาสดาทรงมีพระประสงค์จะให้เรากล่าวปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) อันควรบรรลุสำหรับพระเสขบุคคลและพระอเสขะ และปฏิปทานั้น ไม่อาจกล่าวด้วยเหตุมาก คือด้วยอำนาจแห่งขันธ์ ด้วยอำนาจแห่งธาตุ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ และด้วยอำนาจแห่งปัจจยาการ. เมื่อเรากล่าวอยู่ จักอาจกำหนดพระอัธยาศัยของพระศาสดากล่าวหรือไม่หนอ."

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า "เว้นเราเสียแล้ว ชื่อว่าสาวกอื่นผู้ถือบาตรเที่ยวไปอยู่ จะมีปัญญาเสมอกับพระสารีบุตร ย่อมไม่มี แม้เธอจะถูกเราถามปัญหา ก็ได้นิ่งเสียถึง ๓ ครั้ง เธอคงสงสัยในปัญหา หรือไม่ก็สงสัยในอัธยาศัย (ความประสงค์ของเรา). ครั้นทรงทราบว่า "สงสัยในอัธยาศัย" แล้ว เมื่อจะทรงประทานนัยเพื่อกล่าวแก้ปัญหา จึงตรัสว่า "ภูตมิทนฺติ สารีปุตฺต ปสฺสสิ ดูก่อนสารีบุตร เธอเห็นไหมว่า นี้คือขันธปัญจก (ขันธ์ ๕) ที่เกิดแล้ว"

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 164

ในพระบาลีนั้น คำว่า "ภูตํ" แปลว่า เกิดแล้ว ได้แก่ บังเกิดแล้ว.

และคำว่า ภูตํ นี้เป็นชื่อของขันธปัญจก.

เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงประทานนัยแก่พระสารีบุตรเถระว่า "ดูก่อนสารีบุตร เธอจงกล่าวแก้ปัญหานี้ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ ๕" ดังนี้.

และพร้อมกับการประทานนัยการพยากรณ์ปัญหาจึงปรากฏแก่พระสารีบุตรเถระ ด้วยนัยนับร้อยนับพัน ดุจมหาสมุทรอันโล่งเป็นผืนเดียวปรากฏแก่บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ริมฝั่งฉะนั้น.

ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะพยากรณ์ปัญหานั้น ได้กล่าวว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว."

คำว่า ภูตมิทํ ในข้อนั้น แปลว่า "นี้คือ ขันธปัญจกที่บังเกิดแล้ว."

คำว่า "ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ" ได้แก่ ย่อมเห็นโดยชอบด้วยมรรคปัญญา (รู้ทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์) พร้อมด้วยวิปัสสนา.

ข้อว่า ปฏิปนฺโน โหติ ได้แก่ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา เป็นต้น เริ่มแต่ศีล จนถึงพระอรหัตตมรรค.

เพราะเหตุใดพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภความนี้ว่า "ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น."

เพราะขันธปัญจกนี้อาศัยอาหารจึงตั้งอยู่ได้ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงปรารภความข้อนี้ เพื่อทรงแสดงอาหารนั้นทำให้เป็นสภาวนาม.

ปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของพระเสขบุคคลจึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยปริยายนี้แล.

บทว่า ตทาหารนิโรธา เพราะอาหารนั้นดับ คือ เพราะความดับแห่งอาหารเหล่านั้น.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภข้อความนี้.

เพราะขันธปัญจกนั้นย่อมดับเพราะอาหารดับ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงปรารภข้อความนี้ เพื่อทรงแสดงความดับแห่งอาหารนั้น กระทำให้เป็นสภาวนาม. ปฏิปทาของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 165

พระเสขบุคคล จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยปริยายนี้แล.

คำว่า "นิพฺพิทา" เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นการกล่าวบอกเหตุทุกอย่าง.

บทว่า "อนุปาทา เพราะความไม่ยึดมั่น" ได้แก่ พ้นจากอุปาทาน คือความยึดมั่น ๔ ประการ ไม่ถือเอาธรรมไรๆ.

ด้วยคำว่า "สาธุ สาธุ ดีละๆ." นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการพยากรณ์ปัญหาของพระสารีบุตรเถระให้รื่นเริง เมื่อจะทรงพยากรณ์เช่นนั้นแหละด้วยพระองค์เอง จึงตรัสซ้ำว่า "นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว" ดังนี้เป็นต้น.

จบอรรถกถาภูตมิทสูตรที่ ๑