พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร ว่าด้วยการแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่ภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36517
อ่าน  415

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 189

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร

ว่าด้วยการแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่ภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 189

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร

ว่าด้วยการแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่ภิกษุ

[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน. ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 190

ปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของชาตินั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของอุปาทานนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของตัณหา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 191

นั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของเวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 192

นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของสังขารนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 193

อวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗.

จบทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป.

บทว่า สตฺตสตฺตริ แปลว่า เจ็ด และเจ็ดสิบ คือ ๗๗.

กล่าวกันว่า ภิกษุเหล่านั้นผู้กล่าวพยัญชนะ เมื่อมีผู้กล่าวเพิ่มพยัญชนะมากขึ้น ก็สามารถแทงตลอดได้. เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น.

บทว่า "ธมฺมฏฺิติานํ ธรรมฐิติญาณ" คือ ความรู้ในปัจจยาการ ก็ปัจจยาการท่านเรียกว่า ธรรมฐิติ เพราะเป็นเหตุของปวัตติฐิติแห่งธรรมทั้งหลาย.

ญาณในธรรมฐิตินี้ ชื่อว่า ธรรมฐิติญาณ. คำว่า ธรรมฐิติญาณนี้เป็นชื่อของญาณ ๖ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น.

บทว่า ขยธมฺมํ คือ ถึงความสิ้นไปเป็นสภาวะ.

บทว่า วยธมฺมํ คือ ถึงความเสื่อมไปเป็นสภาวะ.

บทว่า วิราคธมฺมํ คือ ถึงความคลายกำหนัดเป็นสภาวะ.

บทว่า นิโรธธมฺมํ คือ ถึงความดับเป็นสภาวะ.

คำว่า สตฺตสตฺตริ อธิบายว่า ใน ๑๑ บท แบ่งเป็นบทละ ๗ จึงรวมเป็น ๗๗.

การบรรลุวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อวิปัสสนาในพระสูตรนี้.

จบอรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔