๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 200
๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 200
๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯลฯ
ชาติเป็นไฉน... ภพเป็นไฉน... อุปาทานเป็นไฉน... ตัณหาเป็นไฉน... เวทนาเป็นไฉน... ผัสสะเป็นไฉน... สฬายตนะเป็นไฉน... นามรูปเป็นไฉน... วิญญาณเป็นไฉน...
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 201
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะเป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 202
ภพเป็นไฉน... อุปาทานเป็นไฉน... ตัณหาเป็นไฉน... เวทนาเป็นไฉน... ผัสสะเป็นไฉน... สฬายตนะเป็นไฉน... นามรูปเป็นไฉน... วิญญาณเป็นไฉน...
[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.
จบทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖
อรรถกถาทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖ ต่อไป.
ข้อว่า "อิติ วา ภิกฺขเว โย วเทยฺย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้" อธิบายว่า ในบริษัทนั้น ผู้ถือทิฏฐิใคร่ที่จะถามปัญหามีอยู่. แต่ผู้นั้นมีธาตุแห่งผู้ไม่กล้าหาญจึงไม่อาจจะลุกขึ้นถามพระทศพล. เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสถามเสียเองตามความประสงค์ของเขา เมื่อจะทรงแก้ จึงตรัสอย่างนี้.
จบอรรถกถาทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖