พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ปฐมเจตนาสูตร ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36521
อ่าน  449

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 204

๘. ปฐมเจตนาสูตร

ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 204

๘. ปฐมเจตนาสูตร

ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์

[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 205

เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบปฐมเจตนาสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมเจตนาสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเจตนาสูตรที่ ๘ ต่อไป.

ข้อว่า ยญฺจ ภิกฺขเว เจเตติ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจสิ่งใด" อธิบายว่า ย่อมจงใจ คือ ยังความจงใจใดให้เป็นไป.

ข้อว่า ยญฺจ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 206

ปกปฺเปติ "ย่อมดำริสิ่งใด" อธิบายว่า ย่อมดำริ คือ ยังความดำริใดให้เป็นไป.

ข้อว่า "ยญฺจ อนุเสติ ย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด" อธิบายว่า ย่อมครุ่นคิด คือ ยังความครุ่นคิดใดให้เป็นไป.

ก็ในข้อความนี้ ความจงใจอันเป็นกุศลและอกุศล ที่เป็นไปในภูมิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาว่า ย่อมจงใจ ความดำริด้วยตัณหาและทิฏฐิในจิตอันเกิดพร้อมด้วยโลภะ ๘ ดวง ทรงถือเอาว่า ย่อมดำริ.

ความครุ่นคิด ทรงถือเอาด้วยที่สุดแห่งเจตนา ๑๒ ที่เกิดพร้อมกัน และด้วยที่สุดแห่งอุปนิสัยว่า ย่อมครุ่นคิด.

ข้อว่า "อารมฺมณเมตํ โหติ สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย" ได้แก่ ธรรมชาติมีเจตนาเป็นต้นนี้ เป็นปัจจัย. และปัจจัยทรงประสงค์เอาว่า อารมณ์ในที่นี้.

ข้อว่า "วิญฺาณสฺส ิติยา เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ" คือ เพื่อความตั้งอยู่แห่งกรรมวิญญาณ.

ข้อว่า "อารมฺมเณ สติ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย" ได้แก่ เมื่อปัจจัยนั้นมีอยู่.

บทว่า ปติฏฺา วิญฺาณสฺส โหติ ความว่า ย่อมเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งกรรมวิญญาณนั้น.

บทว่า ตสฺมิํ ปติฏฺิเต วิญฺาเณ ได้แก่ เมื่อกัมมวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า "วิรุฬฺเห เจริญขึ้นแล้ว" ได้แก่ เมื่อเกิดมูลเหตุแห่งการบังเกิด เพราะสามารถให้กรรมทรุดโทรมไปแล้วชักปฏิสนธิมา.

บทว่า "ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ" แปลว่า ความบังเกิด กล่าวคือภพใหม่.

ขณะที่ความจงใจอันเป็นไปในภูมิ ๓ ไม่เป็นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่จงใจ".

ขณะที่ความดำริเรื่องตัณหาและทิฏฐิไม่เป็นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำว่า "โน จ ภิกฺขเว เจเตติ ก็ภิกษุไม่ดำริ," ด้วยบทว่า โน จ ปกปฺเปติ ท่านกล่าวถึงขณะแห่งความดำริด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิไม่เป็นไป.

กิริยาที่เป็นกามาพจร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 207

คือความครุ่นคิด ในวิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทรงถือเอาด้วยคำว่า "อนุเสติ ย่อมครุ่นคิด."

ในคำว่า "อนุเสติ" นี้ ทรงถือเอาผู้ที่ยังละความครุ่นคิดไม่ได้.

ข้อว่า "อารมฺมณเมตํ โหติ อารัมมณปัจจัยนั้นย่อมมี" หมายความว่าเมื่อความครุ่นคิดมีอยู่ ความครุ่นคิดนั้นจึงเป็นปัจจัย (แห่งกัมมวิญญาณ) โดยแท้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งกัมมวิญญาณเป็นสิ่งที่ใครห้ามไม่ได้.

ในบทว่า "โน จ เจเตติ ก็ภิกษุไม่จงใจ" เป็นต้น กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทที่ ๑. ตัณหาและทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ตรัสไว้ในบทที่ ๒. ความครุ่นคิดที่บุคคลครุ่นคิด โดยที่สุดที่ยังละไม่ได้ในธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ตรัสไว้ในบทที่ ๓.

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อมิให้ฉงนในพระสูตรนี้ ควรทราบหมวด ๔ ดังนี้คือ ย่อมจงใจ ย่อมดำริ ย่อมครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ แต่ดำริ และครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด หมวด ๑.

ในหมวด ๔ นั้น การกำหนดธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนัยที่ ๑.

กุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓ และอกุศลเจตนา ๔ ทรงถือเอาว่า "จงใจ" ในนัยที่ ๒.

ตัณหาและทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ทรงกล่าวว่า "ไม่ดำริ" ความครุ่นคิด โดยที่สุดแห่งอุปนิสัยในกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ ก็ดี โดยที่สุดแห่งปัจจัยที่เกิดพร้อมกันในอกุศลเจตนา ๔ ก็ดี โดยที่สุดแห่งอุปนิสัยก็ดี ทรงถือเอาว่า "อนุสโย ครุ่นคิด." กุศลและอกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทรงกล่าวว่า "ไม่จงใจ" ในนัยที่ ๓.

ตัณหาและ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 208

ทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ทรงกล่าวว่า "ไม่ดำริ" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามจิตที่มาในพระสูตร แล้วทรงถือเอาอุปนิสัยโดยที่สุดที่ยังละไม่ได้ ในกุศลจิต อกุศลจิต วิปากจิต กิริยาจิต ที่เป็นไปในภูมิ ๓ และรูปด้วยคำว่า "ย่อมครุ่นคิด." นัยที่ ๔ เช่นกับนัยก่อนแล.

บทว่า ตทปฺปติฏฺิเต แปลว่า เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า "อวิรุฬฺเห ไม่เจริญขึ้นแล้ว" ได้แก่ เมื่อเกิดมูลแห่งการไม่บังเกิด เพราะสามารถให้กรรมทรุดโทรมแล้วชักปฏิสนธิมา.

ถามว่าก็ในวาระที่ ๓ นี้ท่านกล่าวถึงอะไร.

แก้ว่า กล่าวถึงกิจของอรหัตตมรรค.

จะกล่าวว่า การกระทำกิจของพระขีณาสพบ้าง นวโลกุตรธรรมบ้าง ก็ควร.

แต่ในวาระนี้ มีอธิบายว่า ระหว่างวิญญาณกับภพใหม่ในอนาคตเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหาเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง.

จบอรรถกถาปฐมเจตนาสูตรที่ ๘