พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมปัญจเวรภยสูตร ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36524
อ่าน  1,018

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 213

คหปติวรรคที่ ๕

๑. ปฐมปัญจเวรภยสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 213

คหบดีวรรคที่ ๕

๑. ปฐมปัญจเวรภยสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า.

[๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้พ้นขาดจากปาณาติบาต สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 214

หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะมุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาท สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว.

[๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 215

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนาอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ครอบงำได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้.

[๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 216

โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา.

[๑๕๕] ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า.

จบปฐมปัญจเวรภยสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 217

คหปติวรรคที่ ๕

อรรถกถาปฐมปัญจภยเวรสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัญจภยเวรสูตรที่ ๑ แห่งคหปติวรรคต่อไป.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด.

บทว่า ภยานิ เวรานิ ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุก่อภัยและเวร.

บทว่า "โสตาปตฺติยงฺเคหิ ด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ" อธิบายว่า องค์แห่งโสดาปัตติ มี ๒ อย่าง คือ องค์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องต้นเพื่อได้เฉพาะโสดาปัตติมรรคที่มาอย่างนี้ คือ สัปปุริสสังเสวะ (การคบสัตบุรุษ) สัทธัมมสวนะ (การฟังธรรมของสัตบุรุษ) โยนิโสมนสิการ (การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย) ธัมมานุธัมมปฏิบัติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) ซึ่งเรียกว่า องค์แห่งโสดาปัตติมรรค ๑ องค์แห่งบุคคลผู้มีคุณธรรมอันได้แล้ว บรรลุโสดาปัตติมรรคแล้วดำรงอยู่ ซึ่งเรียกว่า องค์แห่งโสดาบัน ๑.

คำว่า โสตาปนฺนสฺส นี้ เป็นชื่อของผู้มีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวเป็นต้น ในพระพุทธเจ้า คำนี้แลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในที่นี้.

บทว่า อริโย แปลว่า ผู้ไม่มีโทษ คือ ผู้ไม่มีการติเตียน.

บทว่า าโย ได้แก่ ญาณที่รู้ปฏิจจสมุปบาทตั้งอยู่บ้าง ปฏิจจสมุปบาทธรรมบ้าง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า ญายธรรม.

แม้อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านก็เรียกว่า ญายธรรม.

บทว่า "ปญฺาย ด้วยปัญญา" ได้แก่ ด้วยวิปัสสนาปัญญาที่เกิดขึ้นต่อๆ กันไป.

บทว่า "สุทิฏฺโ โหติ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว" ได้แก่ อันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี ด้วยอำนาจการเห็นเกิดขึ้นต่อๆ กัน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 218

บทว่า "ขีณนิรโย มีนรกสิ้นแล้วเป็นต้น" อธิบายว่า นรกของเราสิ้นแล้ว เพราะไม่เกิดขึ้นในนรกนั้นต่อไปอีก เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

บทว่า โสตาปนฺโน แปลว่า ถึงกระแสแห่งมรรค.

บทว่า "อวินิปาตธมฺโม มีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา" ได้แก่ มีอันไม่ตกต่ำเป็นสภาวะ.

บทว่า "นิยโต เที่ยง" ได้แก่ เที่ยงโดยกำหนดความเป็นชอบ กล่าวคือมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค).

บทว่า "สมฺโพธิปรายโน จะตรัสรู้ในภายหน้า" ได้แก่ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือมรรค ๓ เบื้องสูง เป็นเบื้องหน้า คือเป็นทางของเรา เพราะเหตุนั้น เรานั้นจึงชื่อว่าจะมีการตรัสรู้ในเบื้องหน้า. อธิบายว่า จะตรัสรู้พระสัมโพธิญาณนั้นแน่แท้.

บทว่า "ปาณาติปาตปจฺจยา เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย" ได้แก่ เพราะกรรมคือปาณาติบาตเป็นเหตุ.

สองบทว่า "ภยํ เวรํ ภัย เวร" โดยเนื้อความเป็นอันเดียวกัน.

และขึ้นชื่อว่า เวรนี้มี ๒ อย่าง คือ เวรภายนอก ๑ เวรภายใน ๑ ก็เมื่อบิดาของคนคนหนึ่ง ถูกบุคคลหนึ่งฆ่าตาย เขาจึงคิดว่า "ข่าวว่า บิดาของเราถูกผู้นี้ฆ่าตายเสียแล้ว แม้เราก็จักฆ่ามันให้ตายเหมือนกัน" ดังนี้ จึงเอาศัสตราพกติดตัวไป.

เจตนาอันเป็นเหตุก่อเวร อันเกิดขึ้นแล้วในภายในของผู้นั้น นี้ชื่อว่า เวรภายนอก.

ส่วนบุคคลนอกนี้เกิดความคิดว่า "ข่าวว่า บุคคลนี้เที่ยวเพื่อจะฆ่าเรา เรานี่แหละจักฆ่ามันก่อน" นี้ชื่อว่า เวรภายใน.

แม้เวรทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็จัดเป็นเวรในปัจจุบันนั่นเอง. ส่วนความจงใจที่เกิดขึ้นแก่นายนิรยบาล ผู้เห็นเขาเกิดในนรกถือค้อนเหล็กอันลุกโพลงด้วยคิดว่า "เราจักฆ่ามัน" นี้เป็นเวรภายนอกอันจะมีในภายหน้า. ผู้ที่มีความคิดมาว่า ผู้นั้นเกิดความ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 219

จงใจขึ้นว่า ผู้นี้มาเพื่อจะประหารเราผู้ไม่มีความผิด เรานี่แหละ จักฆ่ามันก่อน. นี้ชื่อว่า เวรภายในอันจะมีในภายหน้า.

อนึ่ง เวรที่เป็นภายนอกนี้นั้น ในอรรถกถา ท่านเรียกว่า "เวรส่วนบุคคล."

สองบทว่า "ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ทุกข์ โทมนัส" โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง.

ก็ในข้อนี้มีอธิบายอย่างไร. แม้ในบทที่เหลือก็มีอธิบายอย่างนั้น.

พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งเวรโดยนัยมีอาทิว่า "ผู้นี้ได้ทำลายสิ่งของของเราเสียแล้ว ผู้นี้ได้ประพฤติ (ผิด) ในภรรยาของเราแล้ว ประโยชน์ถูกผู้นี้ทำลายแล้ว เพราะกล่าวเท็จ กรรมชื่อนี้อันบุคคลนี้ก่อ (กระทำ) แล้วด้วยเหตุเพียงเมาสุรา" ดังนี้.

บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวอันตนบรรลุแล้ว.

บทว่า อริยกนฺเตหิ ได้แก่ ศีล ๕.

เพราะว่า ศีล ๕ เหล่านั้น เป็นที่ปรารถนา คือเป็นที่รักของพระอริยเจ้าทั้งหลาย. พระอริยเจ้าทั้งหลายถึงไปสู่ภพก็ไม่ละศีล ๕ เหล่านั้น. เพราะฉะนั้น ศีล ๕ เหล่านั้น จึงเรียกว่า "เป็นที่ปรารถนาของพระอริยเจ้า."

ข้อที่เหลือซึ่งควรกล่าวในที่นี้ทั้งหมดนั้น ได้กล่าวแล้วในอนุสสตินิเทศ ในวิสุทธิมรรคแล.

จบอรรถกถาปฐมปัญจภยเวรสูตรที่ ๑