พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ทุกขนิโรธสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36526
อ่าน  481

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 222

๓. ทุกขนิโรธสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 222

๓. ทุกขนิโรธสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.

[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น... เพราะอาศัยลิ้นและรส... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์.

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 223

ดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น... เพราะอาศัยลิ้นและรส... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์.

จบทุกขนิโรธสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุกขนิโรธสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในทุกขนิโรธสูตรที่ ๓ ต่อไป.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์ ทุกข์คือความเวียนว่ายตายเกิด.

เหตุเกิดในบทว่า สมุทยํ มี ๒ อย่างคือ เหตุเกิดที่เป็นชั่วขณะ ๑ เหตุเกิดคือปัจจัย ๑. ภิกษุแม้เห็นเหตุเกิดคือปัจจัย ก็ชื่อว่าเห็นเหตุเกิดที่เป็นไปชั่วขณะ ถึงเห็นเหตุเกิดที่เป็นไปชั่วขณะ ก็ชื่อว่าเห็นเหตุเกิดคือปัจจัย.

ความดับในบทว่า อฏฺงฺคโม มี ๒ อย่างคือ ความดับสนิท ๑ ความดับคือการแตกสลาย ๑. ภิกษุแม้เห็นความดับสนิท ก็ชื่อว่าเห็นความดับคือการแตกสลาย ถึงเห็นความดับคือการแตกสลาย ก็ชื่อว่าเห็นความดับสนิท.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 224

บทว่า เทเสสฺสามิ ได้แก่ เราจักแสดงความเกิดและความดับ ซึ่งชื่อว่าความบังเกิดและความแตกแห่งวัฏทุกข์นี้. อธิบายว่า พวกเธอจงฟังเหตุเกิดและความดับนั้น.

บทว่า ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะทำให้เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัยและอารัมมณปัจจัย.

บทว่า อยํ โข ภิกฺขเว ทุกฺขสฺส สมุทโย ได้แก่ นี้ชื่อว่าเป็นความบังเกิดแห่งวัฏทุกข์.

ข้อว่า อฏฺงฺคโม แปลว่า ความแตกสลาย.

วัฏทุกข์ย่อมเป็นอันถูกทำลายแล้ว หาปฏิสนธิมิได้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุกขนิโรธสูตรที่ ๓