พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ญาติกสูตร ว่าด้วยความประชุม ๓ ประการเป็นผัสสะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36528
อ่าน  481

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 226

๕. ญาติกสูตร

ว่าด้วยความประชุม ๓ ประการเป็นผัสสะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 226

๕. ญาติกสูตร

ว่าด้วยความประชุม ๓ ประการเป็นผัสสะ

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่คิญชกาวสถะ [มหาปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ] ใกล้บ้านพระญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ลับ ทรงเร้นอยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและเสียง... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น... เพราะอาศัยลิ้นและรส... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 227

[๑๖๗] เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและเสียง ฯลฯ เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๖๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ใกล้้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้หรือ ภิกษุนั้นทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ เธอจงศึกษาเล่าเรียน ทรงจำธรรมปริยายนี้ ธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

จบญาติกสูตรที่ ๕

อรรถกถาญาติกสูตรที่ ๕

ในญาติกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า าติเก ได้แก่ ใกล้บ้านแห่งหมู่พระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย.

บทว่า คิญฺชกาวสเถ ได้แก่ ในมหาปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 228

ธมฺมปริยายํ ได้แก่ เหตุแห่งธรรม.

บทว่า อุปสฺสุติ ได้แก่ เข้าไปยืนแอบฟัง. อธิบายว่า ยืนอยู่ในที่ที่ตนเข้าไปแล้วสามารถได้ยินพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้.

เล่ากันว่า ภิกษุนั้นมาเพื่อจะกวาดบริเวณพระคันธกุฎี ได้ละทิ้งการงานของตนเสีย แล้วไปยืนฟังเสียงประกาศธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.

บทว่า อทฺทสา ความว่า เล่ากันว่าในครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการปัจจยาการแต่ต้น ทรงรำพึงว่า "สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้ สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้" สังขารได้ปรากฏเป็นกลุ่มเดียวกันจนถึงภวัคคพรหม.

พระศาสดาทรงละมนสิการแล้ว เมื่อจะทรงกระทำการสาธยายด้วยพระวาจา ได้ทรงจบพระเทศนาลงตามอนุสนธิ เมื่อทรงพระรำพึงว่า มีใครได้ฟังธรรมปริยายนี้บ้างไหมหนอ จึงได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล."

บทว่า อสฺโสสิ โน ได้แก่ ได้ฟังแล้วหรือหนอ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺโสสิ โน ความว่า ได้ฟังแล้วหรือไม่ได้ฟังเราผู้กำลังกล่าวอยู่.

ในบทว่า อุคฺคณฺหาหิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุฟังนิ่งอยู่ทำให้คล่อง ชื่อว่า ย่อมศึกษา.

เมื่อสืบต่อบทต่อบททำให้คุ้นเคยด้วยวาจา ชื่อว่า ย่อมเล่าเรียน.

เมื่อกระทำความคล่องโดยประการทั้งสอง ให้บรรลุความทรงจำได้ ชื่อว่า ย่อมทรงจำไว้ได้.

บทว่า อตฺถสญฺหิโต ได้แก่ อาศัยเหตุ.

บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่ เป็นที่ประดิษฐานเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.

วัฏฏะ (ความเวียนว่ายตายเกิด) และวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาญาติกสูตรที่ ๕