พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยมหารุกขสูตร ว่าด้วยต้นไม้มีอาหารกับภิกษุมีความพอใจในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36539
อ่าน  398

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 264

๖. ทุติยมหารุกขสูตร

ว่าด้วยต้นไม้มีอาหารกับภิกษุมีความพอใจในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 264

๖. ทุติยมหารุกขสูตร

ว่าด้วยต้นไม้มีอาหารกับภิกษุมีความพอใจในธรรม

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะ มาตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้วคุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 265

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖

ในทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเทียบก่อนแล้วตรัสเนื้อความในภายหลัง ความต่างกันมีเพียงเท่านี้.

จบอรรถกถาทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖