พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36544
อ่าน  513

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 292

มหาวรรคที่ ๗

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 292

มหาวรรคที่ ๗

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น พระตถาคตตรัสว่า "จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย."

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 293

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ. ตถาคตตรัสว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน.

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล.

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 294

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

มหาวรรคที่ ๗

อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสุตวตาสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรคต่อไป.

บทว่า "อสุตวา ผู้มิได้สดับ" ได้แก่ ผู้เว้นจากการเรียน การสอบถาม และการวินิจฉัย ในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น.

บทว่า "ปุถุชฺชโน ปุถุชน" ได้แก่ ชื่อว่าปุถุชน เพราะเหตุที่ยัง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 295

กิเลสมากนานัปการเป็นต้นให้เกิด.

จริงอยู่ ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนาให้เกิด.

ข้อความทั้งปวงนั้น ควรทำให้พิสดาร.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในของพวกชนจำนวนมาก คือนับไม่ได้ หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้นี้ชื่อว่าปุถุ เพราะถึงการนับไว้แผนกหนึ่งทีเดียว.

ชื่อว่าชน เพราะแยกจากพระอริยเจ้าผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าปุถุชน.

ด้วยบททั้งสอง คือ อสุตวา ปุถุชฺชโน ดังกล่าวแล้วนี้นั้น ท่านถือเอาอันธปุถุชน ในจำนวนปุถุชน ๒ จำพวกที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ตรัสไว้ว่า ปุถุชนมี ๒ จำพวก คืออันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.

ด้วยบทว่า อิมสฺมิํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกายที่เห็นประจักษ์อยู่ในปัจจุบัน.

บทว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺมิํ แปลว่า ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔. อธิบายว่า บังเกิดแต่มหาภูตรูป ๔ ชื่อว่าสำเร็จแต่มหาภูตรูป ๔.

บทว่า นิพฺพินฺเทยฺย แปลว่า พึงหน่าย.

บทว่า วิรชฺเชยฺย แปลว่า ไม่พึงยินดี.

บทว่า วิมุจฺเจยฺย แปลว่า พึงเป็นผู้ใคร่จะพ้น.

บทว่า อาจโย แปลว่า ความเจริญ.

บทว่า อปจโย แปลว่า ความเสื่อม.

บทว่า อาทานํ แปลว่า การบังเกิด.

บทว่า นิกฺเขปนํ แปลว่า ความแตกสลาย.

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่มหาภูตรูป ๔ เหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะมีความเจริญ ความเสื่อม ความบังเกิด และความแตกสลาย.

อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำรูปที่มิได้ประกอบ (ในการ) เพื่อกำหนดรูปในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ แล้วทรงกระทำรูปที่ประกอบแล้วในกาย เพื่อกำหนดว่า ไม่มี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 296

รูป.

เพราะเหตุไร. เพราะว่าการถือมั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้น มีกำลังเกินประมาณ.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่การถือมั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นรูปที่ไม่ควรกำหนด เมื่อจะทรงนำออก จึงตรัสอย่างนั้น เพื่อทรงตั้งไว้ในความไม่มีรูป.

คำทั้งปวงมี จิตฺตํ เป็นอาทิ เป็นชื่อของมนายตนะนั่นเอง.

ก็มนายตนะนั้น เรียกว่า จิต เพราะเป็นที่ตั้งแห่งจิต เพราะเป็นโคจรแห่งจิต เพราะมีจิตเป็นสัมปยุตธรรม เรียกว่า มนะ เพราะอรรถว่าน้อมไป และเรียกว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง.

บทว่า นาลํ แปลว่า ไม่สามารถ.

บทว่า อชฺโฌสิตํ แปลว่า ถูกตัณหากลืน คือร้อยรัดยึดไว้.

บทว่า มมายิตํ ได้แก่ ถือเอาว่า นี้ของเราด้วยการยึดว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา.

บทว่า ปรามฏฺํ ได้แก่ เป็นอันถูกทิฏฐิยึดถือเอาโดยประการอื่น (นอกพระพุทธศาสนา).

คำว่า เอตํ มม นั่นของเรา เป็นการยึดถือด้วยอำนาจตัณหา. ความวิปริตแห่งตัณหา ๑๐๘ เป็นอันถือเอาด้วยคำนั้น.

บทว่า เอโสหมสฺมิ เป็นการยึดถือด้วยอำนาจมานะ. มานะ ๙ เป็นอันถือเอาด้วยคำนั้น.

บทว่า เอโส เม อตฺตา นั่นคืออัตตาของเรา เป็นการยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ. ทิฏฐิ ๖๒ เป็นอันถือเอาด้วยคำนั้น.

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะยึดถือรูปนี้ไว้ตลอดกาลนาน ฉะนั้น จึงไม่สามารถจะหน่ายได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปรํ ภิกฺขเว นี้.

แก้ว่า เพราะรูปที่ ๑ เป็นอันภิกษุนั้นกระทำให้เป็นรูปที่ไม่สมควรจะกำหนด ทำอรูปให้เป็นรูปที่สมควร.

เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นออกจากการยึดถือรูป ถืออรูป ดังนี้ จึง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 297

ทรงปรารภพระเทศนานี้ เพื่อทรงคร่าออกซึ่งก็ยึดถือนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตโต อุปคจฺเฉยฺย ความว่า พึงถือเอาว่าเป็นอัตตา.

บทว่า ภิยฺโยปิ ความว่า แม้จะเกินกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่า รูปที่ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี มีอยู่หรือ.

รูปที่เป็นไปในปฐมวัย อยู่ไม่ถึงมัชฌิมวัย, รูปที่เป็นไปในมัชฌิมวัย อยู่ไม่ถึงปัจฉิมวัย, รูปที่เป็นไปก่อนอาหาร อยู่ไม่ถึงหลังอาหาร, รูปที่เป็นไปหลังอาหาร อยู่ไม่ถึงปฐมยาม, รูปที่เป็นไปในปฐมยาม อยู่ไม่ถึงมัชฌิมยาม, รูปที่เป็นไปในมัชฌิมยาม อยู่ไม่ถึงปัจฉิมยาม, มีอยู่มิใช่หรือ.

อนึ่ง รูปที่เป็นไปในเวลาเดิน อยู่ไม่ถึงเวลายืน, รูปที่เป็นไปในเวลายืน อยู่ไม่ถึงเวลานั่ง, รูปที่เป็นไปในเวลานั่ง อยู่ไม่ถึงเวลานอน. แม้ในอิริยาบถหนึ่ง รูปที่เป็นไปในเวลายกเท้า อยู่ไม่ถึงย้ายเท้า, รูปที่เป็นไปในเวลาย้ายเท้า อยู่ไม่ถึงเวลาย่างเท้า, รูปที่เป็นไปในเวลาย่างเท้า อยู่ไม่ถึงเวลาหย่อนเท้า, รูปที่เป็นไปในเวลาหย่อนเท้า อยู่ไม่ถึงเวลาเหยียบพื้น, รูปเป็นไปในเวลาเหยียบพื้น อยู่ไม่ทันถึงเวลายันพื้น.

สังขารทั้งหลาย ทำเสียงว่า ตฏะ ตฏะ ลั่นเป็นข้อๆ ในที่นั้นๆ เหมือนงาที่เขาใส่ไว้ในภาชนะร้อนฉะนั้นหรือ.

แก้ว่า ข้อนั้นย่อมเป็นจริงอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อประทีปกำลังลุกโพลง เปลวไฟไม่โพลงล่วงส่วนแห่งไส้นั้นๆ ย่อมแตก [เทียะๆ] ในที่นั้นๆ อนึ่งเล่าเมื่อประทีปกำลังลุกโพลงตลอดคืนยังรุ่ง ด้วยอำนาจที่เนื่องด้วยความสืบต่อ ท่านก็เรียกว่าประทีปฉันใด แม้ในที่นี้ กายแม้นี้ ท่านแสดงให้เป็นเหมือนตั้งอยู่ตลอดกาลนานอย่างนั้น ด้วยอำนาจความสืบต่อก็ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 298

ก็บทว่า รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า อญฺเทว อุปฺปชฺชติ อญฺํ นิรุชฺฌติ ความว่า จิตใดเกิดขึ้นและดับไปในเวลากลางคืน จิตดวงอื่นนอกจากจิตดวงนั้นนั่นแลย่อมเกิดขึ้นและดับไปในกลางวัน. แต่ไม่ควรถือเอาอรรถอย่างนี้ว่า จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นที่ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแลย่อมดับไป.

บทว่า รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ นี้ ท่านถือเอาความสืบต่ออันน้อยกว่าความสืบต่อเดิมแล้วกล่าวด้วยอำนาจความสืบต่อนั่นเอง.

ก็จิตดวงเดียวเท่านั้นชื่อว่าสามารถเพื่อตั้งอยู่ สิ้นคืนหนึ่งหรือวันหนึ่งย่อมไม่มี.

จริงอยู่ ในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในมิลินทปัญหาว่า มหาบพิตร ข้าวเปลือก ๑๐๐ เล่มเกวียน ๑ บั้น ๗ สัดกับ ๒ ทะนาน ไม่ถึงการนับ คือไม่ถึงเสี้ยว ไม่ถึงส่วนของเสี้ยวแห่งจิตที่เป็นไปในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว.

บทว่า พฺรหาวเน แปลว่า ป่าใหญ่.

ด้วยคำว่า ตํ มุญฺจิตฺวา อํ คณฺหาติ ตํ มุญฺจิตฺวา คณฺหาติ ทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า ลิงนั้นไม่ได้กิ่งไม้ที่จะพึงจับ ก็ไม่ลงสู่พื้นดิน โดยที่แท้เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่นั้นจับเอาแต่กิ่งไม้นั้นๆ เที่ยวไปเท่านั้น.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีอุปมาเป็นเครื่องเทียบเคียงดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ ป่าอันถือเอาเป็นอารมณ์ พึงทราบเหมือนป่าใหญ่ในป่า จิตอันเกิดขึ้นในป่าคืออารมณ์ พึงทราบเหมือนลิงที่เที่ยวไปในป่านั้น การได้อารมณ์เหมือนการจับกิ่งไม้. ลิงนั้นเที่ยวไปในป่าปล่อยกิ่งไม้นั้นๆ แล้วจับกิ่งไม้นั้นๆ ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น เที่ยวไปในป่าคืออารมณ์ บางคราวยึดเอารูปารมณ์เกิดขึ้น บางคราวยึดเอาอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง บางคราวยึดเอาอตีตารมณ์ หรือ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 299

อนาคตารมณ์ บางคราวยึดเอาอารมณ์ปัจจุบัน บางคราวยึดเอาอารมณ์ภายใน หรืออารมณ์ภายนอก.

เหมือนอย่างว่า ลิงนั้นเที่ยวไปในป่าไม้ได้กิ่งไม้ ไม่พึงกล่าวว่าลงแล้วบนภาคพื้นดิน. แต่จับเอากิ่งไม้กิ่งหนึ่ง แล้วนั่งอยู่ฉันใด แม้จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เที่ยวไปในป่าคืออารมณ์ ไม่พึงกล่าวว่า ไม่ได้อารมณ์ที่ยึดเหนี่ยวอย่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่พึงทราบว่า ในการเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง จิตยึดเอาอารมณ์แล้วจึงเกิดขึ้น.

ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจากรูปแล้วให้ตั้งการยึดในอรูป นำออกจากอรูปให้ตั้งในรูป.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์จะแยกรูปนั้นออกเป็น ๒ ส่วน จึงเริ่มแสดงว่า ตตฺร ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก พึงทราบความอุปมาครั้งบุรุษผู้ถูกงูพิษกัดดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า บุรุษคนหนึ่งถูกงูพิษกัด. ลำดับนั้นหมอผู้ฉลาดคนหนึ่ง มาด้วยหมายใจว่า จะถอนพิษงูนั้นออก แล้วทำให้คายพิษร่ายมนต์ว่า ข้างล่างเป็นครุฑ ข้างบนเป็นนาค แล้วไล่พิษไว้ข้างบน. หมอนั้นรู้ว่า พิษถูกยกขึ้นจนถึงส่วนขอบตาแล้ว คิดว่า แต่นี้ไปเราไม่ยอมให้ขึ้นไป เราจะตั้งไว้ในที่ๆ ถูกกัดนั่นเอง จึงร่ายมนต์ว่า ข้างบนเป็นครุฑ ข้างล่างเป็นนาค จึงรมควันที่แผล เอาไม้เคาะ ปลงพิษลงตั้งไว้ในที่ๆ ถูกกัดนั่นเอง. เขารู้ว่าพิษตั้งอยู่ในที่นั้น จึงทำลายพิษ โดยการทายาขนานเยี่ยม แล้วให้อาบน้ำ กล่าวว่า ขอท่านจงมีความสบายเถิด แล้วหลีกไปตามประสงค์.

ในข้อนั้นกาลที่ภิกษุเหล่านี้ถือเอาประมาณยิ่งในรูป พึงทราบเหมือนการตั้งอยู่ของพิษในกายของบุรุษผู้ถูกอสรพิษกัด. พระตถาคตเหมือนหมอ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 300

ผู้ฉลาด. กาลที่ภิกษุเหล่านั้นอันพระตถาคตให้ทำการยึดถือจากรูป แล้วให้ตั้งอยู่ในอรูป เหมือนเวลาที่หมอร่ายมนต์แล้วไล่ยาพิษไว้ข้างบน กาลที่ภิกษุเหล่านั้นอันพระตถาคตให้นำการยึดถือจากอรูป แล้วให้ตั้งอยู่ในรูป เปรียบเหมือนเวลาที่หมอไม่ให้พิษที่แล่นขึ้นข้างบนจนถึงขอบตา แล้วไล่ลงด้วยกำลังมนต์อีก แล้วตั้งไว้ในที่ๆ ถูกอสรพิษกัด.

พึงทราบกาลที่พระศาสดาทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อนำการยึดถือออกจากอารมณ์ทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบทำลายยาพิษที่หยุดไว้ในที่ถูกอสรพิษกัดด้วยการทายาขนานเยี่ยม.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ พระองค์ตรัสเหมือนการมรรค.

ด้วยบทว่า วิราคา วิมุจฺจติ ตรัสผล.

ด้วยบทว่า วิมุตฺตสฺมิํ เป็นต้น ตรัสปัจจเวกขณญาณ.

จบอรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๑