พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อัตถิราคสูตร ว่าด้วยความเพลิดเพลินอาหาร ๔ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36547
อ่าน  432

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 325

๔. อัตถิราคสูตร

ว่าด้วยความเพลิดเพลินอาหาร ๔ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 325

๔. อัตถิราคสูตร

ว่าด้วยความเพลิดเพลินอาหาร ๔ อย่าง

[๒๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 326

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว เพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้น คือ ๑. กวฬีการาหาร หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร อาหาร ๔ อย่างนี้แล เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่ามีความโศก มีธุลี (คือราคะ) มีความคับแค้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในผัสสาหารไซร้... ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้... ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 327

ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น.

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียวหรือสีบานเย็น ช่างย้อมหรือช่างเขียนพึงเขียนรูปสตรีหรือบุรุษให้มีอวัยวะน้อยใหญ่ได้ครบถ้วนที่แผ่นหินขาว แผ่นกระดาน ฝาผนัง หรือที่ผืนผ้า แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในผัสสาหารไซร้... ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้... ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 328

เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น.

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ในที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มีในผัสสาหาร... ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร... ไม่มีในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในอาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ในที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น.

[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรือนยอด [ปราสาท] หรือศาลามีสองยอด หน้าต่างด้านทิศตะวันออก อันบุคคลเปิดไปทางเหนือหรือทางใต้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแสงสว่างส่องเข้า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 329

ไปทางหน้าต่าง จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างนั้น จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิ. ที่แผ่นดิน พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแผ่นดินไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิ. ที่น้ำ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิ. ไม่ตั้งอยู่เลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้... ในผัสสาหารไซร้... ในมโนสัญเจตนาหารไซร้... ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น.

จบอัตถิราคสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 330

อรรถกถาอัตถิราคสูตรที่ ๔

ในอัตถิราคสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของโลภะนั่นเอง.

จริงอยู่ โลภะนั้น เรียกว่า ราคะ ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า นันทิ ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เรียกว่า ตัณหา ด้วยอำนาจความอยาก.

บทว่า ปติฏฺิตํ ตตฺถ วิญฺาณํ วิรุฬหํ ความว่า ตั้งอยู่และงอกงาม เพราะสามารถทำกรรมให้แล่นไปแล้วชักปฏิสนธิมา.

บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในบทต้นๆ ในที่ทุกแห่ง.

บทว่า อตฺถิ ตตฺถ สงฺขารานํ วุฑฺฒิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสังขารซึ่งมีวัฏฏะเป็นเหตุต่อไปของนามรูปซึ่งตั้งอยู่ในวิบากวัฏฏ์นี้.

บทว่า ยตฺถ อตฺถิ อายติํ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ ความว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.

ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.

ก็กรรมที่เกิดพร้อมและกรรมที่อุดหนุน (สหกรรมและสสัมภารกรรม) เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนแผ่นกระดานฝาและแผ่นผ้า กรรมอันเป็นตัวปรุงแต่งย่อมสร้างรูปในภพทั้งหลาย เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน ย่อมสร้างรูปที่แผ่นกระดานเป็นต้นที่บริสุทธิ์ ในอุปมาเหล่านั้น คนบางคนเมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่เป็นญาณวิปปยุต กรรมนั้น (ของเขา) เมื่อจะสร้างรูป ย่อมไม่ให้ความสมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่วรรณะไม่งาม ทรวดทรงไม่ดี ไม่น่าพอใจแม้ของบิดามารดา เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ไม่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 331

ฉลาดสร้างขึ้น เป็นรูปวิกลบกพร่อง ไม่น่าพอใจฉะนั้น.

อนึ่ง คนบางคนเมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่เป็นญาณสัมปยุต กรรมนั้น (ของเขา) เมื่อสร้างรูป ย่อมให้ความสมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่มีวรรณะงาม ทรวดทรงดี เหมือนประดับตกแต่งตัวแล้ว เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ฉลาดสร้างขึ้นเป็นรูปงาม ทรวดทรงดี เป็นที่น่าพอใจ ฉะนั้น.

ก็ในอุปมานี้ พึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์อาหารเข้ากับวิญญาณ คือระหว่างอาหารกับนามรูป เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า วิบากวิถี สงเคราะห์เข้ากับรูป ระหว่างนามรูปกับสังขาร เป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างสังขารกับภพต่อไป เป็นสนธิหนึ่ง.

บทว่า กูฏาคารํ ได้แก่ เรือนที่ติดช่อฟ้าอันหนึ่งสร้างไว้.

บทว่า กูฏาคารสาลา ได้แก่ ศาลาที่ติดช่อฟ้า ๒ อันสร้างไว้.

ในคำว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบว่ากรรมของพระขีณาสพก็เสมอกับรัศมีแห่งพระอาทิตย์ ก็รัศมีแห่งพระอาทิตย์มี แต่รัศมีนั้นตั้งอยู่อย่างเดียว เพราะไม่มี จึงชื่อว่าไม่ตั้งอยู่.

เพราะไม่มีนั่นเอง กรรมของพระขีณาสพจึงไม่ตั้งอยู่.

จริงอยู่ กายเป็นต้นของพระขีณาสพนั้นมีอยู่ แต่กรรมที่พระขีณาสพเหล่านั้นทำ ไม่จัดเป็นกุศลและอกุศล ตั้งอยู่ในทางแห่งกิริยา ไม่มีวิบาก กรรมของท่านชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีนั่นเองแล.

จบอรรถกถาอัตถิราคสูตรที่ ๔