๗. นฬกลาปิยสูตร ว่าด้วยปัจจัยให้มีชราและมรณะ
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 353
๗. นฬกลาปิยสูตร
ว่าด้วยปัจจัยให้มีชราและมรณะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 353
๗. นฬกลาปิยสูตร
ว่าด้วยปัจจัยให้มีชราและมรณะ
[๒๖๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๖๔] ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ชราและมรณะ ตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าชราและมรณะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโกฏฐิตะ ชราและมรณะ ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.
โก. ท่านสารีบุตร ชาติ ตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าชาติบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 354
สา. ท่านโกฏฐิตะ ชาติ ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ชาติบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ.
โก. ท่านสารีบุตร ภพตนทำเอง ฯลฯ อุปาทานตนทำเอง... ตัณหาตนทำเอง... เวทนาตนทำเอง... ผัสสะตนทำเอง... สฬายตนะตนทำเอง... นามรูปตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่านามรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้.
สา. ท่านโกฏฐิตะ นามรูปตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ นามรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.
โก. ท่านสารีบุตร วิญญาณตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าวิญญาณบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้.
สา. ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ วิญญาณบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.
[๒๖๕] โก. เราทั้งหลายเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตร ในบัดนี้เอง อย่างนี้ว่า ท่านโกฏฐิตะ นามรูปตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 355
ไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.
อนึ่ง เราทั้งหลายรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตรในบัดนี้เอง อย่างนี้ว่า ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.
ท่านสารีบุตร ก็เนื้อความของภาษิตนี้ เราทั้งหลายจะพึงเห็นได้อย่างไร.
[๒๖๖] สา. ดูก่อนอาวุโส ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบให้ท่านฟัง ในโลกนี้บุรุษผู้ฉลาดบางพวกย่อมรู้ชัดเนื้อความของภาษิตได้ แม้ด้วยอุปมา.
อาวุโส ไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกัน ฉันใด เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล.
ถ้าไม้อ้อ ๒ กำนั้น พึงเอาออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ถ้าดึงอีกกำหนึ่งออก อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ฉันใด เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ. ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 356
[๒๖๗] โก. น่าอัศจรรย์ ท่านสารีบุตร ไม่เคยมีมา ท่านสารีบุตร เท่าที่ท่านสารีบุตรกล่าวนี้ เป็นอันกล่าวดีแล้ว ก็แลเราทั้งหลาย พลอยยินดีสุภาษิตนี้ของท่านสารีบุตรด้วยเรื่อง ๓๖ เรื่องเหล่านี้.
ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก.
ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
ถ้าภิกษุหลุดพ้น เพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ ภพ... อุปาทาน... ตัณหา... เวทนา... ผัสสะ... สฬายตนะ... นามรูป... วิญญาณ... สังขารทั้งหลาย... อวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก.
ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
ถ้าภิกษุหลุดพ้น เพราะความหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะความไม่ถือมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบัน.
จบนฬกลาปิยสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 357
อรรถกถานฬกลาปิยสูตรที่ ๗
ในนฬกลาปิยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เพราะเหตุไรท่านพระมหาโกฏฐิตะจึงถามว่า กิํ นุ โข อาวุโส. เพราะเพื่อจะทราบอัธยาศัยของพระเถระว่า ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างไร.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านถามว่า เหล่าภิกษุในอนาคตจักรู้ว่า พระอัครสาวกทั้งสองในอดีต วินิจฉัยปัญหานี้แล้ว ดังนี้ก็มี.
พระเถระกล่าวคำนี้ว่า อิทาเนว โข มยํ ดังนี้ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า นามรูปที่กล่าวว่ามีวิญญาณเป็นปัจจัยนั้นแล เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ.
ก็ในบทว่า นฬกลาปิโย นี้ ท่านมิได้นำเอามัดเหล็กเป็นต้นมาเปรียบเทียบ แต่ท่านเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อแสดงภาวะแห่งวิญญาณและนามรูปว่า ไม่มีกำลังและมีกำลังเพลา.
ในฐานะประมาณเท่านี้ว่า นิโรโธ โหติ ท่านกล่าวว่าเทศนาด้วยปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๕) เป็นปัจจุบัน.
บทว่า ฉตฺติํสาย วตฺถูหิ ความว่า ด้วยเหตุ ๓๖ ประการ คือใน ๑๒ บทที่ท่านแจกไว้หนหลัง แต่ละบทมี ๓ เหตุ.
และในที่นี้ คุณของพระธรรมกถึกเป็นที่ ๑ การปฏิบัติเป็นที่ ๒ ผลของการปฏิบัติเป็นที่ ๓ ในผลของการปฏิบัตินั้น ท่านกล่าวเทศนาสมบัติด้วยนัยที่ ๑ กล่าวเสขภูมิด้วยนัยที่ ๒ กล่าวอเสขภูมิด้วยนัยที่ ๓.
จบอรรถกถานฬกลาปิยสูตรที่ ๗