๒. สูตรที่ ๒ - ๑๒
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 390
สูตรที่ ๒ - ๑๒
๒. นขสิกขาสูตร
๓. โยคสูตร
๔. ฉันทสูตร
๕. อุสโสฬหิสูตร
๖. อัปปฏิวานิยสูตร
๗. อาตัปปสูตร
๘. วีริยสูตร
๙. สาตัจจสูตร
๑๐. สติสูตร
๑๑. สัมปชัญญสูตร
๑๒. อัปปมาทสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 390
๒. สูตรที่ ๒ - ๑๒
[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชราและมรณะตามเป็นจริง พึงกระทำความศึกษาเพื่อความรู้ในชราและมรณะตามเป็นจริง.
[เปยยาลอย่างนี้ พึงกระทำกิจอันเป็นไปสัจจะ ๔]
พึงกระทำความเพียร... พึงกระทำฉันทะ... พึงกระทำความอุตสาหะ... พึงกระทำความไม่ย่อท้อ... พึงกระทำความเพียรแผดเผากิเลส... พึงกระทำความเป็นผู้กล้า... พึงกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ... พึงกระทำสติ... พึงกระทำสัมปชัญญะ... พึงกระทำความไม่ประมาท... ดังนี้แล.
จบอันตรเปยยาลที่ ๙
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัตถุสูตร
๒. นขสิกขาสูตร
๓. โยคสูตร
๔. ฉันทสูตร
๕. อุสโสฬหิสูตร
๖. อัปปฏิวานิยสูตร
๗. อาตัปปสูตร
๘. วีริยสูตร
๙. สาตัจจสูตร
๑๐. สติสูตร
๑๑. สัมปชัญญสูตร
๑๒. อัปปมาทสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 391
จบอันตรเปยยาลอันเป็นหัวข้อพระสูตร
เบื้องต้นมีหัวข้อพระสูตร ๑๒ หัวข้อ รวมเป็น ๑๓๒ สูตร มีเปยยาลในระหว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสัจจะ ๔.
จบหัวข้อในอันตรเปยยาลทั้งหลาย.
อันตรเปยยาลวรรคที่ ๙
อรรถกถาสัตถุสูตรเป็นต้น
เบื้องหน้าแต่นี้ ๑๒ สูตรที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า สตฺถา ปริเยสิตพฺโพ ดังนี้ ชื่อว่า อันตรเปยยาลวรรค.
พระสูตรทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวตามอัธยาศัยของเวไนยบุคคลผู้ตรัสรู้โดยประการนั้นๆ.
ในบทเหล่านั้น. บทว่า สตฺถา ได้แก่ ผู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม พระสาวกก็ตาม ซึ่งเป็นที่อาศัยของผู้ได้มรรคญาณ นี้ชื่อว่าศาสดา ศาสดานั้นพึงแสวงหา.
บทว่า สิกฺขา กรณียา ได้แก่ พึงทำสิกขาทั้ง ๓ อย่าง.
บรรดาโยคะเป็นต้น บทว่า โยโค ได้แก่ การประกอบ.
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจในกุศล คือความเป็นผู้ใคร่จะทำ.
บทว่า อุสฺโสฬฺหิ ได้แก่ ความเพียรที่มีประมาณยิ่งที่ทนต่อสิ่งทั้งปวง.
บทว่า อปฺปฏิวานี แปลว่า ไม่ถอยกลับ.
บทว่า อาตปฺปํ ได้แก่ ความเพียรอันทำกิเลสให้ร้อนทั่วคือวิริยะนั่นเอง.
บทว่า สาตจฺจํ ได้แก่ การกระทำเป็นไปติดต่อ.
บทว่า สติ ได้แก่ สติที่กำหนดสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจชราและมรณะเป็นต้น.
บทว่า สมฺปชญฺํ ได้แก่ ญาณเช่นนั้นแหละ.