พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สัมผัสสสูตร ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36571
อ่าน  392

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 409

๒. สัมผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 409

๒. สัมผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ.

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตธาตุ ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานธาตุ ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ โผฏฐัพพสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายธาตุ มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุอย่างนี้แล.

จบสัมผัสสสูตรที่ ๒

อรรถกถาสัมผัสสสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสัมผัสสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปฺปชฺชติ ผสฺสนานตฺตํ ได้แก่ ผัสสะมีสภาพต่างกัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 410

ย่อมเกิดขึ้น.

ในผัสสะนั้น จักขุสัมผัสเป็นต้น ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ เป็นต้น มโนสัมผัส ประกอบด้วยปฐมชวนะ ในมโนทวาร.

เพราะฉะนั้น ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า บทว่า มโนธาตุํ ปฏิจฺจ ได้แก่ ปฐมชวนะสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนทวาราวัชชนะ อันเป็นกิริยามโนวิญญาณธาตุ.

จบอรรถกถาสัมผัสสสูตรที่ ๒.