พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. โนเวทนาสูตร ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36574
อ่าน  454

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 413

๕. โนเวทนาสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 413

๕. โนเวทนาสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ เป็นไฉน.

จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนาหามิได้ จักขุธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้ ฯลฯ มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนาหามิได้ มโนธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสหามิได้.

ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 414

อาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ อย่างนี้แล.

จบโนเวทนาสูตรที่ ๕

อรรถกถาโนเวทนาสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในโนเวทนาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

ท่านแสดงนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรที่ ๓ และสูตรที่ ๔ รวมเป็นอันเดียวกัน.

ใน ๔ สูตรมีสูตรที่ ๒ เป็นต้น ท่านไม่ถือเอามโนธาตุว่ามโนธาตุ แต่ถือเอามโนทวาราวัชชนะว่า มโนธาตุ.

เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้นๆ ก็สูตรเหล่านั้นทั้งหมด ท่านแสดงตามอัธยาศัยของผู้รู้.

แม้ในสูตรอื่นแต่นี้ ก็มีนัยนี้แล.

จบอรรถกถาโนเวทนาสูตรที่ ๕