๗. สัญญาสูตร ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 415
๗. สัญญาสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 415
๗. สัญญาสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา
[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
[๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 416
เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ เป็นไฉน.
รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ ฯลฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะอย่างนี้แล.
จบสัญญาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗
พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปธาตุ ความว่า รูปารมณ์ มีการโพกผ้าสาฎกเป็นต้น ของตนหรือของผู้อื่น ดำรงอยู่ในคลองจักษุ.
บทว่า รูปสญฺา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 417
รูปสัญญา ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ.
บทว่า รูปสงฺกปฺโป ความว่า ความดำริ ประกอบด้วยจิต ๓ ดวง มีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น.
บทว่า รูปฉนฺโท ได้แก่ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่า มีความพอใจในรูป.
บทว่า รูปปริฬาโห ได้แก่ ชื่อว่าปริฬาหะ เพราะอรรถว่า ตามเผาในรูป.
บทว่า รูปปริเยสนา ความว่า เมื่อความเร่าร้อนเกิดขึ้น การพาเอาเพื่อนเห็นและเพื่อนคบไปแล้ว แสวงหาเพื่อได้รูปนั้น.
ส่วนในที่นี้ สัญญา สังกัปปะ และฉันทะ ได้ในชวนวาระเดียวกันบ้าง ในชวนวาระต่างกันบ้าง.
ส่วนปริฬาหะและปริเยสนา ได้ในชวนวาระต่างกันอย่างเดียว.
ในบทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ธาตุนานตฺตํ นี้ พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า สัญญามีสภาพต่างกันมีรูปสัญญาเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุมีสภาพต่างกันมีรูปเป็นต้น.
จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗