พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ผัสสสูตร ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36578
อ่าน  419

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 419

๙. ผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 419

๙. ผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๓๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 420

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ฯลฯ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา รูปผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัส รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ รูปลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริเยสนา ฯลฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ธรรมสัมผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ ธรรมสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสะ ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสชาเวทนา ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 421

ธรรมปริฬาหะ ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาอย่างนี้แล.

จบผัสสสูตรที่ ๙

อรรถกถาผัสสสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในผัสสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปฺปชฺชติ รูปสญฺา ได้แก่ สัญญา ย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า รูปสงฺกปฺโป ได้แก่ ความดำริประกอบด้วยจิต ๓ ดวง ในอารมณ์นั้นแล.

บทว่า รูปสมฺผสฺโส ได้แก่ ผัสสะอันถูกต้องอารมณ์นั้นๆ.

บทว่า เวทนา ได้แก่ เวทนาเมื่อเสวยอารมณ์นั้นแล.

ธรรมมีฉันทะเป็นต้น มีนัยตามที่กล่าวแล้วแล.

บทว่า รูปลาโภ ความว่า อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา เรียกว่า รูปลาภะ.

นัยที่รวมไว้ทั้งหมดนี้ ครั้งแรก ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความเกิดขึ้นของธรรมทั้งปวง ในอารมณ์เดียวเท่านั้น. อีกนัยหนึ่งผสมกับอารมณ์ที่จรมา.

ครั้งแรก ธรรม ๔ เหล่านี้ คือ รูปสัญญา รูปสังกัปปะ ผัสสะ เวทนา มีอยู่ ในอารมณ์เป็นประจำสำหรับหน่วงเหนี่ยวรูปไว้.

จริงอยู่ อารมณ์ประจำ เป็นอารมณ์ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ย่อมปรากฏเหมือนมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ส่วนอารมณ์ที่จรมา ทำให้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่มีอยู่ ฟุ้งขึ้นตั้งอยู่.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 422

ในข้อนั้นมีเรื่องดังนี้ ได้ยินว่า บุตรอำมาตย์คนหนึ่ง อันคนอยู่ในบ้านห้อมล้อมอยู่ท่ามกลางบ้าน ทำการงาน. ก็สมัยนั้น อุบาสิกาของเขาไปยังแม่น้ำ อาบน้ำเสร็จแล้ว ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ อันหมู่นางพี่เลี้ยงแวดล้อม กลับไปเรือน.

เขาเห็นแต่ไกล ให้เกิดความสำคัญขึ้นว่า มาตุคามผู้เป็นแขกจักมี ดังนี้แล้ว จึงส่งบุรุษไป ด้วยกล่าวว่า แน่ะพนาย ท่านจงไป จงรู้หญิงนั่นเป็นใคร.

เขาไปเห็นหญิงนั้นแล้วกลับมา ถูกถามว่า หญิงนั่นเป็นใครเล่า จึงบอกตามความเป็นจริง อารมณ์ที่จรมาย่อมฟุ้งขึ้นอย่างนี้ ความพอใจที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น ชื่อว่ารูปฉันทะ. ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะทำรูปฉันทะนั้นแลให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า รูปปริฬาหะ. การพาเอาเพื่อนไปแสวงหารูปนั้น ชื่อว่ารูปปริเยสนา. อารมณ์ อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา ชื่อว่าลาภะ.

ฝ่ายพระจุฬติสสเถระผู้อยู่ในอุรุเวลา กล่าวว่า ผัสสะและเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในท่ามกลาง ตามลำดับ แม้ก็จริงถึงกระนั้น แต่เมื่อเปลี่ยนลำดับ สัญญา ที่เกิดขึ้นในอารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่ารูปสัญญา.

ความดำริในรูปนั้นแล ชื่อว่ารูปสังกัปปะ. ความพอใจในรูปสังกัปปะนั้น ชื่อว่ารูปฉันทะ. ความเร่าร้อนในรูปฉันทะนั้น ชื่อว่ารูปปริฬาหะ. การแสวงหาในรูปปริฬาหะนั้น ชื่อว่ารูปปริเยสนา. อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา ชื่อว่ารูปราคะ ส่วนการถูกต้องในอารมณ์ที่ได้แล้วอย่างนี้ ชื่อว่าผัสสะ. การเสวย ชื่อว่า เวทนา.

เขาย่อมได้ธรรมสองหมวดนี้คือ รูปผัสสะ และรูปสัมผัสสชาเวทนา.

คนทั้งหลายถือเอาอารมณ์ ชื่อวาระแห่งอารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัด แม้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 423

อื่นอีก.

จริงอยู่ อารมณ์ (คือรูป) ที่เขาวางล้อมไว้ด้วยม่านและกำแพง หรือว่าปิดบังได้ด้วยหญ้าและใบไม้เป็นต้น. เมื่อแลดูอารมณ์นั้นอยู่คิดว่า รูปอารมณ์นั้นอันเราเห็นแล้วครึ่งหนึ่ง เราไม่เห็นรูปอารมณ์ชัด สัญญาที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น ชื่อว่ารูปสัญญา.

ความดำริเป็นต้นที่เกิดขึ้นในรูปนั้นแล พึงทราบว่า ชื่อว่ารูปสังกัปปะ ความดำริในรูปเป็นต้นดังนี้.

อนึ่ง ในอารมณ์นี้ สัญญา สังกัปปะ ผัสสะ เวทนา ฉันทะ ได้ในชวนวาระเดียวกันบ้าง ในชวนวาระต่างกันบ้าง.

ปริฬาหะ ปริเยสนา ลาภะ ได้ในชวนวาระต่างกันเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาผัสสสูตรที่ ๙