พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สนิทานสูตร ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36581
อ่าน  609

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 430

๒. สนิทานสูตร

ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 430

๒. สนิทานสูตร

ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง

[๓๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น.

[๓๕๖] ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น. อย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

พยาบาทสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะพยาบาทธาตุ ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา ความพอใจในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 431

พยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

วิหิงสาสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา การแสวงหาวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทา ไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้.

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อัพยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น.

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อัพยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 432

ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

อัพยาบาทสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุ ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทสัญญา ความพอใจในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอัพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอัพยาบาท การแสวงหาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาท อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

อวิหิงสาสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ ความดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา ความพอใจในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา การแสวงหาในอวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ไม่พึงถึงความพินาศฉิบหาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 433

หนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบบรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้.

จบสนิทานสูตรที่ ๒

อรรถกถาสนิทานสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสนิทานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สนิทานํ นั่น เป็นภาวนปุงสกลิงค์ อธิบายว่า มีเหตุมีปัจจัยเกิดขึ้น.

ในบทว่า กามธาตุํ ภิกฺขเว ปฏิจฺจ นี้ กามวิตกก็ดี กามาวจรธรรมก็ดี ชื่อว่า กามธาตุ โดยแปลกกัน ก็เป็นอกุศลทั้งหมด ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน.

ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแนบแน่น ความบ่นถึง ความยกขึ้นแห่งจิต ความดำริผิด อันประกอบด้วยกาม นี้ท่านเรียกว่า กามธาตุ.

เบื้องต่ำทำอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนทำปรนิมมิตวสวัตตีเทพเป็นที่สุด ที่ท่องเที่ยวไปภายในสถานที่นี้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนับเนื่องในสถานที่นี้ นี้ท่านเรียกว่า กามธาตุ.

อกุศลธรรม แม้ทั้งปวง ชื่อว่า กามธาตุ ดังนี้.

ในข้อนี้ มีถ้อยคำ ๒ อย่าง คือ รวมกันทั้งหมด (และ) แยกกัน.

ถามว่า อย่างไร.

ตอบว่า ถ้อยคำนี้ว่า ก็พยาบาทธาตุ และวิหิงสาธาตุ เป็นธรรมที่ท่านถือเอาแล้วด้วยกามธาตุ ศัพท์อย่างเดียว ชื่อว่า รวมกันทั้งหมด.

ส่วนถ้อยคำนี้ว่า ธรรมที่เหลือ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 434

เป็นกามธาตุ ชื่อว่า แยกกัน เพราะธาตุทั้งสองเหล่านั้นมาแล้วแผนกหนึ่ง.

ในข้อนี้ ควรถือเอาถ้อยคำนี้.

ชื่อว่า กามสัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามธาตุนี้ ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ หรือด้วยอำนาจการประกอบพร้อม (สัมปโยค).

บทว่า กามสญฺํ ปฏิจฺจ ความว่า ชื่อว่า ความดำริในกาม ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา ด้วยอำนาจประกอบพร้อม (สัมปโยค) หรือด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย.

เนื้อความในบททั้งปวง ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล.

บทว่า ตีหิ าเนหิ แปลว่า ด้วยเหตุ ๓ อย่าง.

บทว่า มิจฺฉา ปฏิปชฺชติ ความว่า ดำเนินตามปฏิปทาที่ไม่เป็นจริง คือข้อปฏิบัติที่ไม่นำออกจากทุกข์.

ในบทว่า พฺยาปาทธาตุํ ภิกฺขเว นี้ พยาบาทวิตกก็ดี พยาบาทก็ดี เป็นพยาบาทธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น พยาบาทธาตุเป็นไฉน.

ความตรึก ความวิตก ประกอบด้วยพยาบาท ฯลฯ นี้ท่านเรียกว่า พยาบาทธาตุ.

ความอาฆาต ความโกรธตอบ ความโกรธ ความโกรธเคือง ของจิตในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ฯลฯ ความที่จิตไม่พอใจ นี้ท่านเรียกว่า พยาบาทธาตุ.

ชื่อพยาบาทสัญญา ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทธาตุนี้ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเป็นต้น.

คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

ในบทว่า วิหิํสาธาตุํ ภิกฺขเว นี้ วิหิงสาวิตกก็ดี วิหิงสาก็ดี เป็นวิหิงสาธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น วิหิงสาธาตุเป็นไฉน.

ความตรึก ความวิตก ที่ประกอบด้วยวิหิงสา ฯลฯ นี้ท่านเรียกว่า วิหิงสาธาตุ.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ด้วย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 435

เชือกบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง การโบย การทำให้ลำบาก การเบียดเบียน การบีบคั้น การโกรธ การเข้าไปฆ่าผู้อื่น นี้ท่านเรียกว่า วิหิงสาธาตุ.

ชื่อวิหิงสาสัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุนี้ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเป็นต้น. คำที่เหลือแม้ในบทนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

บทว่า ติณทาเย ได้แก่ ในป่าคือป่าหญ้า.

บทว่า อนยพฺยสนํ ได้แก่ ความไม่เจริญ คือพินาศ.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ความว่า พึงเห็นอารมณ์ เหมือนป่าหญ้าแห้ง อกุศลสัญญา เหมือนคบเพลิงหญ้า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เหมือนสัตว์มีชีวิตอาศัยหญ้าและใบไม้ เมื่อเขาไม่พยายามรีบดับคบเพลิงหญ้า ที่ตั้งไว้ในป่าหญ้าแห้ง สัตว์มีชีวิตเหล่านั้น ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่ละอกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นด้วยวิกขัมภนปหาน ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า วิสมคตํ ความว่า อกุศลสัญญา ตกเข้าไปสู่อารมณ์ที่รบกวนเพราะราคะ เป็นต้น.

บทว่า น ขิปฺปเมว ปชหติ ได้แก่ ไม่รีบละเสีย ด้วยอำนาจวิกขัมภนะเป็นต้น.

บทว่า น วิโนเทติ ได้แก่ ไม่นำออกเสีย.

บทว่า น พฺยนฺตีกโรติ ได้แก่ กระทำอกุศลสัญญานั้นให้หมดสิ้นโดยไม่เหลือ แม้สักว่า ภังคขณะ.

บทว่า น อนภาวํ คเมติ ได้แก่ ไม่ให้ถึงความไม่มี.

น อักษรพึงนำมาใช้ในทุกบทอย่างนี้.

บทว่า ปาฏิกงฺขา ได้แก่ พึงหวัง คือ ปรารถนา.

ในบทว่า เนกฺขมฺมธาตํุ ภิกฺขเว นี้ เนกขัมมวิตกก็ดี กุศลธรรมทั้งปวงก็ดี เป็นเนกขัมมธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น เนกขัมมธาตุเป็นไฉน.

ความตรึก ความวิตกที่ประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 436

เนกขัมมะ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะนี้ท่านเรียกว่า เนกขัมมธาตุ.

แม้ในข้อนี้ ก็มีถ้อยคำ ๒ อย่าง ก็ธาตุทั้งสองนอกนี้ ย่อมถือเอาด้วยเนกขัมมธาตุศัพท์ เพราะนับเนื่องในกุศลธรรม นี้ชื่อว่ารวมกันทั้งหมด ส่วนธาตุเหล่านั้น พึงแสดงไว้ต่างหาก กุศลทั้งปวงที่เหลือ เว้นธาตุเหล่านั้นเสีย เป็นเนกขัมมธาตุ เพราะฉะนั้น เนกขัมมธาตุนี้ จึงไม่แยกกัน.

ชื่อเนกขัมมสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุนี้ ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น.

ธรรมมีวิตกเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัญญาเป็นต้น ตามสมควร.

ในบทว่า อพฺยาปาทธาตุํ ภิกฺขเว นี้ อัพยาบาทวิตกก็ดี อัพยาบาทก็ดี เป็นอัพยาบาทธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น อัพยาบาทธาตุเป็นไฉน.

ความตรึก ที่ประกอบด้วยอัพยาบาท ฯลฯ นี้ ท่านเรียกว่า อัพยาบาทธาตุ.

ความรัก ความมีไมตรีต่อกัน ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ท่านเรียกว่า อัพยาบาทธาตุ.

ชื่ออัพยาบาทสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุนี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

แม้ในบทว่า อวิหิํสาธาตุํ ภิกฺขเว นี้ อวิหิงสาวิตกก็ดี กรุณาก็ดี เป็นอวิหิงสาธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น อวิหิงสาธาตุเป็นไฉน.

ความตรึกที่ประกอบด้วยอวิหิงสา ฯลฯ นี้ท่านเรียกว่า อวิหิงสาธาตุ.

ความกรุณา ความสงสาร การช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้ท่านเรียกว่า อวิหิงสาธาตุ.

ชื่ออวิหิงสาสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุนี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

คำที่เหลือ พึงทราบตามแนวที่กล่าวแล้วในบททั้งปวงแล.

จบอรรถกถาสนิทานสูตรที่ ๒