พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. กุสิตสูตร ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยสติและปัญญา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36591
อ่าน  380

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 461

๑๒. กุสิตสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยสติและปัญญา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 461

๑๒. กุสิตสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยสติและปัญญา

[๓๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้าก้น ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 462

เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

จบกุสิตสูตรที่ ๑๒

[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ในทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้นนั้น]

จบทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตติมสูตร

๒. สนิทานสูตร

๓. คิญชกาวสถสูตร

๔. หีนาธิมุตติสูตร

๕. จังกมสูตร

๖. สตาปารัทธสูตร

๗. ปฐมอัสสัทธมูลกสูตร

๘. ทุติยอัสสัทธมูลกสูตร

๙. อหิริกมูลกสูตร

๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร

๑๑. อัปปสุตสูตร

๑๒. กุสิตสูตร.

อรรถกถาอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘ เป็นต้น

สูตรที่ ๘ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรวมธรรมมี อัสสัทธา เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรม ๓ อย่าง.

ในบรรดาสูตรเหล่านั้น สูตรที่ ๘ พระองค์ตรัสธรรมมีอัสสัทธา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 463

เป็นมูลเป็นต้น ๕ ครั้ง (แต่ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง ด้วยอำนาจธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว.

สูตรที่ ๙ พระองค์ตรัสธรรมมีอหิริกะเป็นมูล ๔ ครั้ง (แต่ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง.

สูตรที่ ๑๐ พระองค์ตรัสธรรมมีอโนตตัปปะเป็นมูล ๓ ครั้ง (แต่ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง.

สูตรที่ ๑๑ ตรัสธรรมมีอัปปัสสุตะ (มีสุตะน้อย) เป็นมูล ๒ ครั้ง (แต่ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง.

สูตรที่ ๑๒ ตรัสธรรมมีกุสิตะ (ความเกียจคร้าน) เป็นมูล ๑ ครั้ง มีธรรม ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

ในสูตร ๕ สูตร แม้ทั้งปวง จึงมีธรรม ๓ อย่าง รวม ๑๕ อย่าง. ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรม ๑๕ อย่างเหล่านี้ คือ พระสูตร ก็มี. นี้ชื่อว่า ติกเปยยาละ.

จบอรรถกถาอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘ เป็นต้น

จบทุติยวรรคที่ ๒