พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ทุกขสูตร ว่าด้วยสุขและทุกข์แห่งธาตุทั้ง ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36604
อ่าน  345

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 499

๕. ทุกขสูตร

ว่าด้วยสุขและทุกข์แห่งธาตุทั้ง ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 499

๕. ทุกขสูตร

ว่าด้วยสุขและทุกข์แห่งธาตุทั้ง ๔

[๔๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ... อาโปธาตุนี้... เตโชธาตุนี้... วาโยธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ.

[๔๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้จักมีสุขโดยส่วนเดียว อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ อาโปธาตุนี้... เตโชธาตุนี้... วาโยธาตุนี้ จักมีสุขโดยส่วนเดียว อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 500

ถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ ดังนี้.

จบทุกขสูตรที่ ๕

อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เอกนฺตทุกฺขา ความว่า ทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนคนเดินไปแล้วหยุดอยู่เกิดความร้อนฉะนั้น.

บทว่า ทุกฺขานุปติตา ได้แก่ อันทุกข์ติดตาม.

บทว่า ทุกฺขาวกฺกนฺตา ได้แก่ อันทุกข์ก้าวลง มีทุกข์หยั่งลง คือเป็นปัจจัยแก่ทุกขเวทนา.

พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้.

ท่านกล่าวทุกขลักษณะไว้ในสูตรนี้.

จบอรรถกถาทุกขสูตรที่ ๕