พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ตติยสมณพรหมณสูตร ว่าด้วยเป็นสมณะเป็นพราหมณ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  3 ก.ย. 2564
หมายเลข  36609
อ่าน  461

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 503

๑๐. ตติยสมณพรหมณสูตร

ว่าด้วยเป็นสมณะเป็นพราหมณ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 503

๑๐. ตติยสมณพรหมณสูตร

ว่าด้วยเป็นสมณะเป็นพราหมณ์

[๔๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 504

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์บางจำพวก ย่อมไม่ทราบชัดซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ ย่อมไม่ทราบชัดซึ่งอาโปธาตุ... ซึ่งเตโชธาตุ... ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิดแห่งวาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๔๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัดซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ ย่อมทราบชัดซึ่งอาโปธาตุ... ซึ่งเตโชธาตุ... ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิดแห่งวาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้.

จบตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐

จบจตุตถวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 505

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จตัสสสูตร

๒. ปุพพสูตร

๓. อจริสูตร

๔. โนเจทสูตร

๕. ทุกขสูตร

๖. อภินันทนสูตร

๗. อุปปาทสูตร

๘. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

จบธาตุสังยุตที่ ๒

อรรถกถาอุปปาทสูตรที่ ๗ เป็นต้น

ใน ๓ สูตรสุดท้าย (สูตรที่ ๘ - ๙ - ๑๐) ท่านกล่าวสัจจะ ๔ เท่านั้น.

จบจตุตถวรรคที่ ๔

จบอรรถกถาธาตุสังยุตที่ ๒