พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปัพพตสูตร ว่าด้วยเรื่องกัป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36614
อ่าน  421

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 513

๕. ปัพพตสูตร

ว่าด้วยเรื่องกัป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 513

๕. ปัพพตสูตร

ว่าด้วยเรื่องกัป

[๔๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 514

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

[๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวที่จะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบปัพพตสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 515

อรรถกถาปัพพตสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปัพพตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สกฺกา ปน ภนฺเต ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้นคิดว่า พระศาสดาตรัสว่า มิใช่ทำได้ง่าย จะตัดอย่างไรก็ไม่ได้ เราอาจจะให้พระองค์ทำอุปมาได้ไหม. เพราะฉะนั้น เธอจึงกราบทูลอย่างนี้.

บทว่า กาสิเกน ความว่า ด้วยผ้าเนื้อละเอียดมากอันสำเร็จด้วยด้ายที่เขาเอาฝ้าย ๓ ชนิดมาทอรวมกันเข้า. บุรุษพึงเหวี่ยงไปประมาณเท่าใดด้วยการทำให้เรียบด้วยผ้านั้น. คือให้เหลือประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด.

จบอรรถกถาปัพพตสูตรที่ ๕