พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สาสปสูตร ว่าด้วยเรื่องกัป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ย. 2564
หมายเลข  36615
อ่าน  669

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 515

๖. สาสปสูตร

ว่าด้วยเรื่องกัป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 515

๖. สาสปสูตร

ว่าด้วยเรื่องกัป

[๔๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

[๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 516

ภิกษุ เหมือนอย่างว่า นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้นโดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อหนึ่งเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบสาสปสูตรที่ ๖

อรรถกถาสาสปสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในสาสปสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อายสํ นครํ ได้แก่ เมืองล้อมด้วยกำแพงเหล็ก. แต่ไม่ควรเห็นว่า ภายในเกลื่อนด้วยปราสาทชั้นเดียวเป็นต้นต่อกันไป.

จบอรรถกถาสาสปสูตรที่ ๖